Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
แหล่งความรู้ โฮมเธียเตอร์ โปรเจคเตอร์ และเครื่องฉายดิจิทัลในบ้านเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-OLED เทคโนโลยีการแสดงผลด้านภาพที่กำลังจะมาแทนจอ LCD หรือ LED ในเร็ววันนี้ .. 2/1/2556 21:18
-ขออนุญาตสอบถามครับ การใช้โปรเจคเตอร์ฉายกลางแปลงครับ.. 2/1/2556 13:22
-ผมจะซื้อโปรเจคเตอร์ระบบlcosมีท่านใดใช้ระบบนี้บ้างครับยังไม่มีคนตอบ
-อยู่ว่างๆเลยรองDellในห้องคับ.. 19/12/2555 8:40
-รูปจอที่ผมจะสั่งตัดใหม่ครับ 8เมตร จอมุข 16:9 ครับ.. 16/12/2555 20:57
-ทดลองกางจอ 6 เมตร ตัดใหม่ครับ.. 14/12/2555 15:51
-ใครจะเป็นคนแรกน้อ...ที่จะสั่งเครื่องนี้มาเล่นโฮมเธียเตอร์บ้าง.. 14/12/2555 12:39
-เปิดร้านใหม่ T6 เชียงราย.. 11/12/2555 2:02
-มีวิธีทำเครื่องฉายภาพแบบมือทำมาให้ชมครับยังไม่มีคนตอบ
-...ถึงแล้ว...1610.จาก ป๋า JTR .แกะกล่องเช็คอุปกรณ์พืื้นฐาน..... 7/12/2555 18:51
-ฉายวันพ่อและลองจอ.. 7/12/2555 16:07
-ต้องการติดด่อป๋าจุ๋มครับ.. 6/12/2555 21:51
-หาโปรเจคเตอร์ Panasonic PT-LB20E มือสองราคาถูก ด่วนยังไม่มีคนตอบ
-มาแว้ว เครื่องเล่น BD เล่นไฟล์ MKV ได้ราคาสองพันกว่าบาทครับ.. 2/12/2555 20:11
-เทคโนโลยีความคมชัดระดับ 4K มีชื่อเป็นทางการแล้วว่า .. 1/12/2555 0:38
-สมาชิกท่านใดมีความเข้าใจช่วยบอกหน่อยครับ.. 30/11/2555 12:31
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 939

OLED เทคโนโลยีการแสดงผลด้านภาพที่กำลังจะมาแทนจอ LCD หรือ LED ในเร็ววันนี้


         จากข่าวที่บริษัทโซนี่และพานาโซนิค สองบริษัทผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ทางด้านอีเล็คโทรนิคส์ยักษใหญ่ของญี่ปุ่นและของโลก  ที่หันมาจับมือผนึกกำลังกันเพื่อหาทางกลับคืนบัลลังค์จ้าวตลาดสินค้าทางด้านอีเล็คโทรนิคส์ของโลก คืนจากฝั่งเกาหลี ที่มีซัมซุงและแอลจี (ลัคกี้โกล์ดสตาร์)ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในขณะนี้


         โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการแสดงผลทางด้านจอภาพ ที่ค่ายญี่ปุ่นสู้ฝั่งเกาหลีไม่ได้เลย  เพราะถ้าขืนปล่อยให้ค่ายเกาหลีมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  และฝั่งญี่ปุ่นได้แต่มองตาปริบๆคงมีแต่ความเจริญฮวบๆเป็นแม่นมั่น  ดังนั้นค่ายญี่ปุ่นต้องหาทางที่จะกลับมาทวงความเป็นจ้าวตลาดคืน  อย่างแรกที่เพิ่งเริ่มทำก็คือการแถลงข่าวจับมือเป็นพัธมิตรกันของโซนี่และพานาโซนิคส์ ในการที่จะปัดฝุ่นเทคโนโลยีที่เกือบจะได้เกิดแล้ว อย่าง OLED ออกมาวางตลาดโลกกับเขาซักที (หลังจากปล่อยให้จอ lcd และ led ผงาดขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีจอภาพยอดนิยมไปทั่วโลกอยู่ในเวลานี้) และประเทศไทยเองก็เป็นประเทศที่หลายๆบริษัทต่างก็มาเปิดโรงงานผลิต(ประกอบ)จอภาพ LCD และ LED กันเป็นที่เอิกเริก ทั้ง ซัมซุง เจวีซี แอลจี โตชิบ้า ต้าถุง ฯลฯ ผมก็เลยเห็นว่าควรจะหาข้อมูลองค์ความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังจะมาในอนาคตแน่ๆคือ OLED นำเสนอเป็นข้อมูลให้แฟนๆ JTR ได้อ่านกัน จะได้รู้ข้อมูลและเท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยอีกทางหนึ่ง






ความเห็น

[1]


               ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเทคโนโลยี OLED กันก่อนว่ามีรายละเอียดเบื้องต้นที่สำคัญและมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง 

               ปัจจุบันหากกล่าวถึงจอภาพที่เป็นที่นิยม และรู้จักกันดีคงหนีไม่พ้นจอ LCD  หรือ Liquid Crystal Display แต่อีกไม่นานจอ LCD  หรือว่า LED  ก็จะถูกแทนที่ด้วยจอ OLED  ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษมากกว่าลองจินตนาการถึงทีวีที่มีความกว้างขนาด 80 นิ้ว แต่มีความหนาแค่ 1 ใน 4 นิ้ว ประหยัดไฟกว่าทีวีปกติที่ใช้กันอยู่ แถมยังม้วนเก็บได้ หรือแม้กระทั่งจอภาพที่ติดอยู่กับเสื้อผ้าเองก็ตาม ซึ่งในเบื้องลึกถึงความเป็นมาของ OLED จะมีรายระเอียดดังต่อไปนี้
               OLED หรือ Organic light-emitting diodes เป็นจอภาพที่ทำด้วยฟิลม์บางของสารประกอบอินทรีย์ และเปล่งแสงเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า OLED ให้ความสว่างได้มากกว่า สมจริงกว่า และประหยัดพลังงานกว่าจอปกติที่ใช้กันทั่วไปหรือแม้กระทั่งจอ LCD หรือ LED               โครงสร้างของ OLED  จะมีลักษณะคล้ายกับแซนวิส (Sandwich)ซึ่ง OLEDs ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำไฟฟ้าที่เป็นของแข็ง ทำจากวัสดุอินทรีย์มีทั้งที่เป็น Polymer และ โมเลกุลขนาดเล็ก ที่มีความหนาประมาณ 100-500 นาโนเมตร หรือบางกว่าเส้นผมของคน 200 เท่า โครงสร้างลักษณะ แซนวิส ของ OLED  อาจมีชั้นสารอินทรีย์ 2 ชั้น หรือ 3 ชั้นเป็นองค์ประกอบ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงแบบที่เป็น 2 ชั้น โดยองค์ประกอบทั้งหมดของจอมีดังนี้



  1. Substrate ชั้นนี้เป็นชั้นที่เป็นหน้าของจอ ทำจาก กระจก หรือ ฟลอย์ ถ้าทำจากพลาสติกใส จะทำให้จอ OLEDs มีความยืดหยุ่นได้สูง 
  2. Anode (ขั้วบวก) ทำด้วยวัสดุโปร่งใส (Indium Tinn Oxide ; ITO) ซึ่งทำหน้าที่ดึงอิเล็กตรอน เมื่อมีการไหลของกระแสอิเล็กตรอน 
  3. Organic layer หรือชั้นของสารอินทรีย์ ซึ่งทำจากสารประกอบอินทรีย์ หรือโพลิเมอร์ของสารอินทรีย์ ในชั้นนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
    • conducting layer ซึ่งทำจากโมเลกุลของสารอินทรีย์ที่เป็นสี ทำหน้าที่ส่ง hole ของอิเล็คตรอนจาก anode ซึ่งมีหลายชนิดตัวอย่างของสารในชั้นนี้ เช่น polyaniline 
    • Emissive layer ในชั้นนี้ก็เป็นสารอินทรีย์แต่แตกต่างจากชั้น conducting layer โดยจะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายอิเล็คตรอนจาก cathode ชั้นนี้เป็นชั้นที่ทำให้เกิดการเปล่งแสง ตัวอย่างของสารที่นำมาใช้ในชั้นนี้เช่น polyfluorene 
  4.  Cathode (ขั้วลบ) ชั้นนี้อาจโปร่งใสหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของ OLED  ชั้นนี้ทำหน้าที่เป็นตัวให้อีเล็กตรอน ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอน
การสร้างชั้นของสารอินทรีย์ สามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้
  1. Vacuum desposition หรือ vacuum thermal evaporation (VTE) ทำในสภาพสุญญากาศโดย ค่อย ๆ ให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์เพื่อให้เกิดการระเหย จากนั้นโมเลกุลของสารอินทรีย์จะไปจับตัวเป็นแผ่นฟิลม์ บนแผ่นจอที่ถูกทำให้เย็น ซึ่งเป็นวิธีการที่แพงเนื่องจากต้องใช้สารอินทรีย์เป็นจำนวนมาก 
  2. Organic vapor phase desposition (OVPD) ทำในสภาวะที่มีความดันต่ำ มีความร้อนภายใน มีก๊าซพาหะ และโมเลกุลของสารอินทรีย์ที่ระเหยอยู่ จากนั้นโมเลกุลของสารอินทรีย์จะจับตัวเป็นแผ่นฟิลม์บางบนแผ่นจอที่เย็น การใช้ก๊าซพาหะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต OLED  
  3. Inkjet printing โดยการสเปร์ยสารอินทรีย์ลงบนแผ่นจอ หลักการคล้ายกับการที่หมึกพ่นลงบนกระดาษระหว่างที่มีการพิมพ์ วิธีนี้จะสามารถควบคุมสารอินทรีย์ให้ลงตามตำแหน่งที่ต้องการจึงไม่จำเป็น ต้องใช้สารอินทรีย์จำนวนมากเหมือน 2 วิธีข้างต้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการผลิต และสามารถที่จะสร้าง OLED  ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นจอทีวี หรือ จอภาพขนาดใหญ่ได้

OLED  เปล่งแสงได้ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า อิเล็คโทรลูมิเนเซนส์(electroluminescence) โดยมีลำดับดังนี้ คือ



1.เมื่อแบตเตอรี่หรือแหล่งพลังงานให้กระแสไฟฟ้าผ่าน OLED
2. กระแสไฟฟ้าผ่านจาก cathode ไปยัง ขั้ว anode ผ่านชั้นของสารอินทรีย์ (กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอน)
- cathode จะให้อิเล็กตรอนแก่ชั้นของสารอินทรีย์ emissive layer
- anode จะเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน จาก conductive layer (ทำให้เกิด อิเล็กตรอน holes ในชั้น conductive layer )



3. ที่บริเวณจุดเชื่อมต่อของชั้น emissive และ conductive layer ที่นี้อิเล็กตรอนจะรวมตัวเข้ากับ hole
- เนื่องจากอิเล็กตรอนมีระดับพลังงานทีสูงกว่า holes จึงต้องมีการลดระดับของพลังงานลง
- การลดระดับพลังงานของอิเล็กตรอนคือการเปลี่ยนรูปของพลังงานไปสู่รูปพลังงานอื่น เช่น ความร้อน
หรือ แสง ในกรณีนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานแสง
4. OLED  เกิดการเปล่งแสง
5. สีของแสงที่ปรากฏออกมาจะขึ้นอยู่กับชนิดของโมเลกุลของสารอินทรีย์ในชั้น emissive layer ซึ่งในการผลิต จอ full colour OLED  จะใช้สารอินทรีย์หลาย 3 ชนิด ในชั้น emissive layer ได้แก่ สารอินทรีย์ที่ให้แสงสีน้ำเงิน แดง และเขียว สารทั้ง 3 ชนิดนี้จะถูกเคลือบอยู่บน OLED  เพียงหนึ่งแผ่นเพื่อให้เกิดสีสันต่าง ๆ
6. ความเข้มของแสง และความสว่างที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับกระแสอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้น หากมีกระแสมากแสงก็จะมีความสว่างมากขึ้น โดยปกติจะใช้กระแสไฟฟ้าที่ประมาณ 3-10 โวลต์

สำหรับตัว OLED มีอยู่สองประเภทคือ
  • Passive matrix OLED Displays
  • Active matrix OLED Displays

แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน ออกเป็น Passive matrix OLED (PMOLED) PMOLED  ในแต่ละชั้นจะมีลักษณะเป็นแถบแยกออกจากกัน ทั้งชั้นของ cathode ชั้นของสารอินทรีย์ และชั้นของ anode โดยชั้นของ cathode และ anode จะวางในแนวขวางซึ่งกันและกัน ตรงกลางจะมีชั้นของสารอินทรีย์ดังภาพข้างล่าง

ภาพประกอบ
การทำงานของ PMOLED  เมื่อมีการปล่อยกระแสไหลผ่านในแต่ละช่อง cathode และ anode จะมีการเปล่งแสงของฟิล์มบาง ณ ตำแหน่งที่ขั้ว cathode และ anode วางตัดกัน ดังนั้นการควบคุมการเปล่งแสงของ OLED ชนิดนี้จึงขึ้นกับการเลือกช่องทางเดินของกระแส ข้อดีของ OLED ชนิดนี้คือสร้างได้ง่าย แต่ต้องใช้พลังงานมากกว่า OLED ชนิดอื่น ๆ และต้องการกระแสจากวงจรภายนอก OLED ชนิดนี้เหมาะสำหรับทำจอภาพขนาดเล็ก ความกว้าง ประมาณ 2-3 นิ้ว ซึ่งจะพบได้ในโทรศัพท์ PDA และเครื่องเล่น MP3 ขนาดเล็ก แต่ถึงแม้จะใช้กระแสนอกวงจรแต่ OLED ชนิดนี้ก็ยังประหยัดพลังงานกว่า LCD ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

Active matrix OLED (AMOLED)
AMOLEDs จะเป็นชั้นที่ต่อเนื่องทั้งชั้น ทั้งชั้นของ cathode ชั้นของสารอินทรีย์ และชั้น anode แต่ในชั้น anode จะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง (thin film transistor, TFT) ซึ่งฟิล์มบางนี้จะเป็นวงจรในตัวเองและควบคุมการเกิดภาพได้เองลักษณะของ OLED ชนิดนี้แสดงดังภาพ

ภาพประกอบ AMOLEDs ใช้พลังงานน้อยกว่า PMOLEDs เนื่องจากลักษณะโครงสร้างแบบฟิล์มบาง ไม่เพียงแต่จะต้องการพลังงานน้อย แต่ AMOLEDs ยังสามารถขยายให้มีขนาดใหญ่ได้ด้วยเหตุนี้ Active matrix OLEDs จึงเหมาะสำหรับทำจอวีดีโอ จอคอมพิวเตอร์ จอทีวีขนาดใหญ่ หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่

ภาพประกอบ

OLED ยังแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ดังต่อไปนี้ คือ

1.Transparent OLED
จะประกอบด้วยชั้นที่โปร่งแสงทุกชั้น (ทั้งจอ cathode และ anode) เมื่อปิดจอ แสงจากภายนอกจะสามารถผ่านจอ Transparent OLEDได้ถึง 85 % และเมื่อเปิดจอกระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งเข้าระบบ และเปลี่ยนเป็นแสงส่องผ่านออกมาจากจอได้ทั้งสองด้านซึ่งด้วเทคนิคนี้จะ สามารถสร้างจอภาพ (Display) ที่มองเห็นภาพได้ทั้ง 2 ด้าน Transparent OLED สามารถสร้างได้จากทั้งแบบ active และ passive matrix
โครงสร้างของ Transparent OLED เป็นดังนี้

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

2.Top-emitting OLED
ทำด้วยจอทึบแสง หรือสะท้อนแสง โดยปกติจอภาพแบบนี้จะเป็นพวก Active matrix ส่วนใหญ่จอแบบนี้จะถูกนำไปใช้กับ smart card โครงสร้างจอประเภทนี้แสดงดังรูป

ภาพประกอบ


3.Foldable OLED
เป็น OLED ที่จอทำด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง เช่น แผ่นฟลอยด์โลหะ หรือ พลาสติก OLED ประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบา และมีความทนทานสูง เหมาะจะใช้สำหรับ โทรศัพท์ และ PDA เพื่อช่วยลดปัญหาหน้าจอแตก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากเมื่อโทรศัพท์ถูกส่งไปซ่อม นอกจากนั้น OLED แบบนี้ยังสามารถเย็บติดกับเส้นใยผ้าเพื่อทำเป็นเสื้อผ้าฉลาด เช่น เสื้อผ้าช่วยชีวิตที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ชิพสามารถตรวจสอบความผิดปกติของร่าง กายได้ หรือโทรศัพท์ที่ติดอยู่บนผ้าได้
4.White OLED เป็น OLED ที่ให้แสงขาว ซึ่งประหยัด และมีคุณภาพดีกว่าแสงที่ได้จาก หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่ง OLED ประเภทนี้จะทำให้เห็นสีแท้จริง เช่นเดียวกันแสงสว่างตามธรรมชาติมีแนวโน้มว่าเมื่อทำให้ OLED นี้มีขนาดใหญ่ จะสามารถใช้แทนแสงฟลูออเรสเซนต์ ที่ใช้ตามบ้านและตึกต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าการใช้หลอดไฟธรรมดา



จุดเด่น และจุดด้อยของ OLED
OLED มีจุดเด่น เหนือกว่าจอภาพแบบอื่น ๆ ดังนี้
- ชั้นจอ และชั้นของสารอินทรีย์ที่นำมาใช้ใน OLED มีความบางกว่า เบากว่า และมีความยืดหยุ่นสูงกว่า จอปกติที่ใช้กันโดยทั่วไป
- เนื่องจากชั้นกำเนิดแสงของ OLED มีความบาง มีน้ำหนักน้อยมาก OLED และเมื่อนำพลาสติกมาทำจอของ OLED แทนกระจก จะทำให้จอสามารถยืดหยุ่นได้อย่างดี
- OLED ให้ความสว่างมากกว่า จอปกติ เนื่องจากสามารถนำพลาสติกที่มีความบางมากมาทำจอได้ ทำให้การผ่านของแสงเกิดขึ้นได้ดี ซึ่งสำหรับจอปกตินั้นทำด้วยแก้ว ซึ่งแก้วจะดูดซับแสงบางส่วนไว้ทำให้แสงที่ออกมามีความสว่างลดลง
- OLED สามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวเองทำให้ใช้พลังงานน้อยกว่าจอแบบอื่น ๆ
- OLED ง่ายต่อการขยายขนาด เพราะสามารถสร้างจอ OLED จากพลาสติกได้ ซึ่งสามารถสร้างให้เป็นขนาดใหญ่ได้โดยมีความปลอดภัยสูง เทียบกับจอธรรมดาซึ่งทำได้ยากมาก
- OLED มีมุมมองกว้างถึงประมาณ 170 องศา ซึ่งกว้างกว่ามุมมองของจอปกติที่มีมุมมองประมาณ 130 องศา เนื่องจาก OLED สามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวเองทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้นกว่าเดิม


จุดด้อยของ OLED
จากที่กล่าวมาดูเหมือนว่า OLED จะมีความสมบูรณ์พร้อมแต่ก็ยังมีปัญหาบางประการที่นักวิทยาศาสตร์จำเป็นจะ ต้องแก้ไข เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- อายุการใช้งาน ฟิล์มที่ให้กำเนิดสี แดง และสีเขียวของ OLED จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประมาณ 10,000 ถึง 40,000 ชั่วโมง แต่ สำหรับสีน้ำเงิน จะมีอายุการใช้งานสั้นเพียง 1,000 ชั่วโมง
- ณ. ปัจจุบันขั้นตอนการผลิตยังคงมีราคาสูงเนื่องจากยังไม่สามรถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงปริมาณได้
- สารอินทรีย์ที่ใช้ทำ OLED จะเสียหายได้ง่ายเมื่อโดนน้ำ หรือ ออกซิเจน

การใช้งาน OLED ในปัจจุบัน และอนาคต
ปัจจุบัน OLED ถูกนำมาใช้เป็นจอภาพขนาดเล็ก สำหรับ โทรศัพท์ PDA และ กล้องดิจิตอล ซึ่งมีหลายบริษัทได้ผลิตออกมาจำหน่ายแล้ว เช่น บริษัท Sony บริษัท Kodak ยังมีอีหลายบริษัทที่มีการผลิต จอ TV และ จอคอมพิวเตอร์ต้นแบบที่มีขนาดใหญ่ เช่น บริษัท Samsung ซึ่งการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับ OLED กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตจอภาพที่ใช้อยู่อาจเป็นจอแบบ OLED ทั้งหมด เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งในด้านความเร็ว ความเหมือนจริง หนังสือพิมพ์ในอนาคตอาจเป็นจอ OLED ที่สามารถแสดงข่าวสดได้อย่างรวดเร็ว และมีลักษณะเหมือนกับหนังสือพิมพ์ปัจจุบันคือ สามารถม้วนเก็บใส่ลงในกระเป๋าเสื้อผ้า หรือกระเป๋าเอกสารได้



ประวัติความเป็นมา
                    เริ่มจากในปี ค.ศ 1950  มีการวิจัยถึงการค้นพบความสว่างเรืองแสงในวัสดุอินทรีย์ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกของโลก  ต่อเนื่องมาจนถึงปี 1987 มีสองวิศวกรของบริษัทโกดัก คือ Ching W. Tang และ Steven Van Slyke นำเอาผลการวิจัยมาค้นคว้าและพัฒนาเป็นเทคโนโลยี OLED แต่ที่เป็นจุดเริ่มจริงๆเลย ก็คือในปี ค.ศ 1996 บริษัท ไพโอเนียร์ของญี่ปุ่น ได้นำเทคโนโลยี OLED มาใช้เป็นจอแสดงผลขนาดเล็กระดับตวามละเอียดไม่มากนักคือ 256 x 64 ในเครื่องเสียงติดรถยนต์ของไพโอเนียร์ เป็นครั้งแรกของโลกเลยก็ว่าได้ ในชื่อ PMOLED

      
          ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ มีการนำเอาเทคโนโลยี OLED มาใช้เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆอาทิ จอภาพของโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกๆจอภาพ OLED ส่วนใหญ่จะแสดงผลเป็นจอขนาดเล็กเท่านั้น ยังไม่พัฒนาเป็นจอภาพขนาดใหญ่  แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยี OLED มีหลายๆประเทศทั่วโลก รวมทั้งบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัทต่างก็ซุ่ม ทำโครงการวิจัยและพัฒนากันอยู่อย่างเงียบๆกันมานานแล้ว  ในส่วนของประเทศไทยเราเองก็มีการทำการวิจัยกันหลายหน่วยงาน อาทิเช่น
          
- ศูนย์นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
- ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (NANOTEC)
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ด้านการสังเคราะห์โพลิเมอร์เปล่งแสง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
ที่มาของข้อมูล :

http://www.nanotec.or.th/nanotec_th/index.php?status=knowledge&s_status=k_01#

http://en.wikipedia.org/wiki/OLED

cybertheater.com





ถ้าเป็นจอที่เปล่งแสงด้วยตัวเอง (ไม่ต้องมีไฟส่องหลัง) แบบนี้

แสดงว่า ถ้าถึงวันที่ทำออกมาใช้ได้จริง อาจได้จอที่สว่างพอจะสู้แสงกลางวัน แบบเดียวกับจอ LED ในสนามฟุตบอล อะไรทำนองนั้นได้เลย แม่นบ่ครับป๋า


นี่ยังไม่นับที่ว่าอาจทำเป็นจอที่ม้วน/พับได้อีกตะหาก ลองนึกดู ว่าถ้าอีกหน่อย หน่วยหนังเร่ก็ไม่ต้องมีเครื่องฉายแล้ว เอาม้วนจอขึ้นโครง แล้วเอาเครื่อง Player อะไรก็ช่างมาต่อเข้าไป วางลำโพง& เครื่องเสียง...แล้วฉายมันตั้งแต่กลางวันไปเลย เพราะจอสู้แสงแดดได้ : )



อ๊ะๆ


"...โครงสร้างของ OLED  จะมีลักษณะคล้ายกับแซนวิส (Sandwich)..."



พิมพ์ผิดๆๆ




















(แซวเสร็จ ก็เผ่นออกจากกระทู้ด้วยความเร็วแสง...)



ผมเชื่อว่าในอนาคตต้องมีหนังกลางแปลงฉายตอนกลางวันแน่นอนครับ..เครื่องฉายหนังแบบดั่งเดิมคงจะกลายเป็นของสะสมไว้ฉายดูเองภายในบ้านซะแล้ว...กาลเวลาที่เปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่งมีการพัฒนาที่เร็วมากๆ..ได้ดูกันจะๆในชาตินี้ไม่ต้องรอชาติหน้าให้เสียเวลาครับ..


บักโหน่ง..บักเวร500..บัก%76!@$^&(*())_+(%^%$&@%$^(*)(_+FH(()_@..ด่า 9 ๔ู๕๖!@$%%^&^*(&*(($FF#%HCILS#$**)!@##%&^&



555 ด่าเป็นชุดเลยครับ ฟังไม่ทันเลยนั่น

เฮ้อ เทคโนโลยีมันจะล้ำกันไปไหนครับเนี่ย ... ไม่ตามแล้วนะ โกรธ เพิ่งถอย LED มายังดูไม่คุ้มเลย ... บ่น งุบงิบงุบงิบ




หากเทคโนโลยี  แบบนั้น รุ่นใหม่ออกมาจริง ๆ 

พวกของเก่า  เช่น  Plasma    LCD    และ  LED   ราคาคงจะตกรูดมหาราช  เลยนะครับ อีกหน่อย  ทีวี LED  50   กว่านิ้ว  ราคาอาจไม่ถึงสองหมื่นก็เป็นได้ครับ

แล้ว ทีวี จอแก้ว  29  นิ้ว  จะเหลือ  สักกี่พันครับ เนี่ย

แต่ข้อเสีย  :  ผมว่า นะครับ     ราคาที่ตกลงมาก ๆ ตามกลไกของตลาด ย่อมจะทำให้คุณภาพของสินค้าออกมา  ด้อย ลง  ด้อยลง และห่วยลง ตามกลไกตลาดก็ได้นะครับ  เพราะบริษัท ต้องลดต้นทุนของสินค้า เพื่อให้ขายออกมาสู้กับคู่แข่งได้  เมื่อราคาูถูกลง  อายุการใช้งานของสินค้า อาจจะถูกลง และลดลงตามด้วย  เคยได้ยินมาเหมือนกันว่า  ทีวี พวกจอบาง ๆ  บางยี่ห้อ พอถึงวัน หมดประกัน พร้อมใจกันเสียก็มี ครับ



สมัยก่อน ไม่เกิน 5 ปีที่แล้ว  ทีวี  42  นิ้ว Plasma   ราคาเหยียบแสน    เดี๋ยวนี้ ไม่ถึงสองหมื่น บาท


ไปเดินห้าง  ที่เชียงใหม่  เห็นทีวี  52  นิ้ว ของ LG   สามมิติทะลุจอ เปิดโชว์ไว้ พอสวมไว้เท่านั้น เหมือนออกมาจากจอเลย 5555 ราคา  ห้าหมื่นต้น ๆ เท่านั้นเอง แถมแว่น อีก 4 อัน


อยากซื้อไว้มาดู แทนโปรเจคเตอร์เหมือนกัน  เห็นทีวีแล้ว ชัดโคตร ๆ  แต่ ........... กลัว เหมือนกันว่า จะทนหรือหรือเปล่า  ใช้ไปหมดประกัน 3 ปีแล้วเสีย  ยกส่งซ่อม ช่างบอกซ่อมไม่คุ้ม  อะไหล่ไม่มี มันเป็นชิป เสียต้องยกชุดเลย  ซื้อใหม่ดีกว่า  อันนี้ กรรม กรรมจริง ๆ ของผู้บริโภค ครับ   เสียแล้วต้องโยนทิ้ง  เหมือนกับ

เครื่องปริ้นท์เตอร์เลย  ทั้งอิงค ์เจต และเลเซอร์  เสียแล้วโยนทิ้งเลย   ซ่อมไม่คุ้ม  เผลอ ๆ บางยี่ห้อ พอหมึกหมดแล้วโยนทิ้งได้เลย  ซื้อตลับหมึกใหม่  ราคาห่างจากตัวเครื่องนิดเดียว  ตอนนี้ เครื่องปริ ้นท์เตอร์จะกลายเป็นวัสดุสำนักงานเสียแล้ว  ไม่ใช่เป็น  ครุภัณฑ์แล้วครับ



เออ อันนี้จริงแฮะ


พวก gadget สมัยนี้ ถ้าไม่เสียตอนหมดประกัน ก็เสียตอนเรากำลังเบื่อๆอยากๆ ว่าจะซื้อใหม่ดีรึเปล่าอยู่พอดี (รู้ใจกันจริงจิ๊ง) 

ไม่เหมือนทีวี 29" ที่บ้าน ป๊ะป๋าซื้อมาเืกือบยี่สิบปีแล้วหละมัง ตั้งแต่ตอนราคาเฉียดครึ่งแสนไปนิดเดียวโน่นแหละ จนถึงวันนี้ สีสันดูแทบไม่ได้&ความคมชัดลดน้อยถอยลง แต่มันก็ยังหน้าด้านเปิดติดอยู่ได้ ไม่ยอมพังจริงๆซักที --"



ว่าแต่ป๋าจุ๋มชมผมว่าอะไรเหรอครับ? Google Translate ก็แปลไม่ออกแฮะ

(ทำหน้าบ๊องแบ๊ว แววตาใสซื่อ ประหนึ่งเด็กอนุบาลประมาณนั้น)



เวรกรรม... ซื้อ LCD TV มา ยังผ่อนไม่หมดเลย มีแบบใหม่มาอีกแล้ว ที่ซื้อมา 32 นิ้วตอนนั้น ราคาตั้ง 15,XXX ตกรุ่นซะงั้น


สงสัยต้องเตรียมบอกขาย เครื่องเก่าที่บ้านซะแล้ว


กลัวว่า Organic จะแปลว่าซีดเร็วอ่ะดิครับ
จริงๆแล้วตัวจอ LCD (ส่วนที่ใช้กั้นแสง) ก็สร้างจากสาร Organic
ฟิล์ม Eastman color ก็เป็น Organic dye





OLED หลบไป ตอนี้ ต้อง TV 4 K แล้วครับ และในปี 2020 มาแน่ครับ 8 K


ตามเทคโนโลยีไม่ทันจริงๆแหมมานขยันเอาออกมาให้เกิดกิเลสต้องเสียตังค์เนาะ


แอลจี หรือ lucky goldstar  แห่งเกาหลีใต้ นำทีวีโอแอลอีดี ออกมาแสดงในงาน CES 2013 ที่ ลาสเวกัส  พร้อมกับประกาศว่ามีแผนที่จะผลิต   ออกจำหน่ายในตลาดโลกทั้งยุโรป อเมริกา และทวีปเอเซีย  ในช่วงต้นปี   2013 ของไตรมาสแรกนี้  ในภาพเป็น ทีวีโอแอลอีดี ขนาด  55  นิ้ว มีความหนาแค่  4  มิลลิเมตร โดยมีราคาอยู่ที่  11  ล้านวอน  หรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ  315,000  บาทไทย ครับ...





เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 16

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113172129 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :StevenTaf , Ilushikiha , RaymondZoxia , พีเพิลนิวส์ , สืบสันต์ , นนท์ , HAN , ya , นุกูล , Tongkam ,