Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
หนังจีนในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-รายการ:TALK ABOUT MOVIEแนะนำหนังน่าสะสม(คนตัดคน-GOD OF GAMBLERS,賭神 THE COLLECTION-1989-1997)by Samuel ร.. 10/9/2562 16:47
-5หนังในตำนานของนักแสดงกังฟูผู้เป็นตำนาน”BRUCE LEE”(บรู๊ช ลี).. 6/9/2562 22:37
-เก่งกับเฮง-Mr.Boo:The Private eyes(1976).. 6/9/2562 22:36
-เฮงกำลัง-3(3-เฮงไม่จำกัด)Security Unlimited(1981).. 6/9/2562 22:35
-เปิดตำนานเก่งกับเฮง(2คน2โกง)Games Gamblers play(1974).. 6/9/2562 22:33
-Jade Dynasty 诛仙 (2019) ยังไม่มีคนตอบ
-7 เซียนซามูไร.. 16/8/2562 15:40
-กล้าแล้วต้องบ้า..ยังไม่มีคนตอบ
-JOURNEY TO CHINA Trailer .. 26/7/2562 20:59
-Only The Cat Knowsยังไม่มีคนตอบ
-หงส์ทองคะนองศึก.. 11/4/2562 21:25
- โคตรพยัคฆ์หยินหยาง 2018.. 7/1/2562 23:47
-วันนี้ไม่กลับบ้าน ปี 2512.. 11/12/2561 22:18
-THE WAY OF THE DRAGON 1972 ไอ้หนุ่มซินตึ๊งบุกกรุงโรม .. 18/11/2561 8:35
-จอมคนกระบี่เงา.. 6/11/2561 16:27
-วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ .. 3/10/2561 15:16
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1116

The Bare-Footed Kid – ตายไม่ว่า ขอให้เห็นหน้าเธอ (1993, Johnnie To)


The Bare-Footed Kid – ตายไม่ว่า ขอให้เห็นหน้าเธอ (1993, Johnnie To)

The Bare-Footed Kid เป็นผลงานการสร้างของชอว์บราเดอร์ ให้ตู้ฉีฟง รับหน้าที่เป็นผู้กำกับ หนังเป็นการรีเมกหนังเก่าเมื่อปี 1975 เรื่อง Disciples of Shaolin (ชื่อไทยว่า ไอ้หนุ่มหมัดจ้าวพลัง นำแสดงโดย ฟู่เซิง, ชิกวนชุน) ของ จางเชอะ คนทำหนังเครื่องหมายการค้า คนหนึ่งของชอว์บราเดอร์เอง หนังยังได้ หลิวเจียเหลียง ที่กำกับคิวบู๊ในฉบับเก่า มารับหน้าที่เดิมอีกครั้ง หนังโดดเด่นด้วยสองดารานำที่มาแรงพอสมควรในยุคนั้นอย่าง กัวะฟู่เฉิง และอู๋เชี่ยนเหลียน ที่กำลังโด่งดังกับหนังเรื่อง ผู้หญิงข้า ใครอย่าแตะ

ตัวตู้ฉีฟงนั้นโด่งดังมาจาก การทำหนังประเภทอาญากรรมตำรวจจับผู้ร้าย แต่อันที่จริงแล้วเขาเริ่มต้นอาชีพผู้กำกับ ด้วยการทำหนังกำลังภายใน กับหนังที่ชื่อว่า The Enigmatic Case สร้างเมื่อปี 1980 นำแสดงโดยหลิวสงเหยิน กับจงฉู่หลง ไม่ต้องสงสัยว่าสำเร็จหรือล้มเหลว กับการทำหนังแนวนี้ เพราะหลังจากหนังเรื่องนี้ ต้องรออีก 6 ปีกว่าตู้ฉีฟงจะได้มีโอกาศกำกับหนังเป็นเรื่องที่สอง และเดียวกับหนังกำลังภายในที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน เกือบ 30 ปีของเขา กำกับหนังแนวนี้ออกมาอีกแค่หนึ่งเรื่อง และ The Bare-Footed Kid ก็กลายเป็นหนังกังฟู กำลังภายในแท้ๆ เรื่องสุดท้ายของตู้ฉีฟง นั้นเอง

The Bare-Footed Kid เล่าเรื่องในยุคข้าวยากหมากแพง ทุกหนแห่งเต็มไปด้วยความอดอยาก บรรดาชายหนุ่มเดินทางสู่เมืองใหญ่เพื่อหาโอกาศในชีวิต เช่นเดียวกับ ไอ้หนุ่มบ้านนอก กวานฟงโหย่ว (กัวะฟู่เฉิง) เข้าเมืองมาด้วย เนื้อตัวสกปรก ไม่มีเงินติดตัวแม้แต่น้อย ไม่มีกระทั่งรองเท้าจะใส่เดิน เดินทางจากบ้านเกิด สู่เมืองใหญ่ หวังเพียงเพื่อแสวงหาความรุ่งเรืองในชีวิต เช่นเดียวกับชายหนุ่มรุ่นราวอีกหลายร้อยคน ที่เดินกันดาดเดื่อนเต็มถนน ส่วนใหญ่เชื่อมั่นในฝีมือของตน

อย่างน้อยกวานฟงโหย่วก็ยังโชคกว่าหลายๆ คนที่เดินทางมาที่นี่ เขายังมีเป้าหมาย สถานที่ที่บิดาได้ออกปากให้เดินทางมาเมื่อท่านสิ้น กระดาษแผ่นเล็กๆ เขียนอักษรที่แม้แต่เจ้าตัว ก็ยังอ่านไม่ออก ต่อมาถึงได้ความหมายที่เขียนไว้บทนั้น เป็นชื่อ ของโรงทอผ้าที่ชื่อว่า “ซื่อจี่” สถานที่พักอาสัยของ ท่านลุง ต้วน ต้วนชิงหยุน หรือที่ใครๆ ที่นี่เรียก พี่ต้วนหนาน (ตี้หลุง) สหายของบิดาผู้ล่วงลับ ที่อาศัย พร้อมกับทำงานเป็นคนงาน ณ โรงทอผ้าแห่งนี้ ที่ช่วยฝากฝั่งเขากับ เถ้าแก่เนี่ย (จางม่านอวี้) ให้อาศัยอยู่ที่นี้ในฐานะคนงานด้วยกัน กวานฟงโหย่ว เริ่มต้นชีวิตในฐานะคนงานโรงทออย่างเรียบง่าย และขยันขั้นแข็ง มีความสุขตามอัตภาพ เขายังได้พบ หวงเลี่ยน (อู๋เชี่ยนเหลียน) สาวน้อยลูกคนเดียวของ ท่านหม่า (ฉินเผ่ย) ปราชณ์ผู้รอบรู้ประจำเมือง

ท่ามกลางชีวิตอันเรียบง่าย เพียงเวลาไม่นาน กวานฟงโหย่วก็ได้รับรู้ถึงวิบากกรรม ความยากลำบากที่โรงทอ และเถ้าแก่เนี้ย ต้องเผชิญ นางถูกกลั่นแกล้งบีบคั้นจาก โรงผ้าซื่อเทียน โรงทอขนาดใหญ่ในตัวเมือง ที่ต้องการแย่งชิง สูตรย้อมผ้าอันเก่าแก่ ทั้งบีบคั้นด้วยกำลัง กดดันด้วยอำนาจเงิน และลอบกัดทำร้ายด้วยชนชั้นสกปรก

กวานฟงโหย่ว ไม่อาจทนเห็นพวกพ้อง เจ็ดปวดกับความกดขี่กังแกได้ ชายหนุ่มที่เคยฝึกฝนฝืมือจากบิดา มาตั้งแต่บ้านนอก ตัดสินใจตอบโต้ด้วยตัวเองโดยพละการ ด้วยการบุกเดี่ยวไปยังโรงผ้าซื่อเทียน เพื่อสั่งสอน แย่งชิงสัญญาเงินกู้ที่พวกพ้องของเขาติดค้างอยู่ คืนมาได้สำเร็จ

หารู้ไม่ว่านั้นกลับสร้างปัญหาที่ใหญ่โตตามมามากมาย ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น อาจจะลุกลามใหญ่โต สร้างปัญหาให้กับโรงทอซื่อจี่มากมาย ลุงต้วน ไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรได้เลย ได้แต่ออกปากให้เขา กลับบ้านนอกไปเสีย ก่อนที่เหตุการณ์จะรุนแรงกว่านี้ขึ้นไปอีก ยังไม่ทันจะได้รับความสำเร็จ กวานฟงโหย่ว ถูกผลักใสให้กลับสู่บ้านนอก ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้พบเจอกับความสำเร็จใดๆ ที่คาดหวัง เขาก็เหมือนคนหนุ่มทั่วไป ฝันไกล ทะเยอทะยาน และไม่สามารถรอคอยความสำเร็จ ที่มองไม่เห็นได้นาน ความตกต่ำที่เกิดขึ้น ยิ่งปั่นทอนกำลังใจของชายหนุ่มขึ้นไปอีก

เมื่อไร้หนทางให้เลือกเดิน กวานฟงโหย่ว ตัดสินใจ มุ่งหน้าไปสู่ เวทีประลองยุทธประจำเมือง จุดหมายปลายทางของชายหนุ่ม ชาวยุทธทุกคน ที่นี่เขาจะสามารถถีบตัวเองให้สูงขึ้นได้ ด้วยมือ และเท้าของตัวเอง ด้วยฝีมืออันโดดเด่น กวานฟงโหย่ว ได้รับชัยชนะอย่างสวยงามในเวทีประลอง ฝีมือของเขาสร้างความประทับใจแก่ เคอเหอปู้ (Kenneth Tsang) ผู้มีอิทธิพลแห่งเมือง ที่มีกิจการมากมาย รวมทั้งโรงฝึกมวย มันรับกวานฟงโหย่วเข้าเป็นครูฝึกประจำสำนัก ชายหนุ่มกำลังมองเห็นตัวเอง ก้าวไปสู่หนทางอันรุ่งโรจน์ โดยหารู้ไม่ว่า เคอเหอปู้ นั้นมีเบื้องหลังอันชั่วร้ายมากมาย กวานฟงโหย่ว กลายเป็นเครื่องมือของคนชั่วโดยไม่รู้ตัว สร้างความเจ็บปวดให้แก่ทุกคนที่อยู่รอบตัวเขา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของ กวานฟงโหย่ว อย่างแสนสาหัส

ผมเองไม่เคยดูงานต้นฉบับที่ชื่อว่า Disciples of Shaolin มาก่อนนะครับ แต่ดู The Bare-Footed Kid แล้วก็ชวนให้นึกถึงประเด็นที่สามารถพบเห็น ได้บ่อยครั้งมากในงานของจางเชอะ โดยเฉพาะในงานที่ชื่อว่า Boxer From Shantung (1972, นักชกจากชานตุง) หนังทั้งสองเรื่องมีตัวละครเอก ที่ใกล้เคียงกันมาก หนุ่มบ้านนอกผู้พกความคาดหวังมาสู่เมืองใหญ่ ใจความสำคัญของเรื่องนั้น พูดถึงประเด็นเดียวกัน อย่างเรื่องของ ความฝัน ความทะเยอทะยาน ของเพศชาย

ความทะเยอทะยาน ความรุ่งเรือง เป็นทั้งสิ่งที่หล่อเลี้ยง และทำลายเรา ในเวลาเดียวกัน ชีวิตกวางฟงโหย่วช่วงเวลาหนึ่งเพียงรองเท้าคู่เดียว ความฝันประการเดียวที่มีอยู่ก็คือ การฝึกสะกดชื่อตัวเองให้ได้ เพียงเวลาไม่นานความความ ต้องการเรียบง่ายเช่นนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เงินทอง ทรัพย์สินสมบัติ ความยิ่งใหญ่ ได้รับการยอมรับ กว่าจะถึงจุดนั้น ต้องเหยียบร่างของผู้อื่นให้ตัวเองสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ที่สำคัญก็คือ เหยียบย่ำ ลืมเลือน แม้กระทั่งตัวตน ความฝัน ของตัวเอง

ในตอนนึงของเรื่อง กวานฟงโหย่ว ต้องการแสดงให้คนรักของเขา เห็นถึงความรุ่งเรืองที่เกิดขึ้น ความเขาเปลี่ยแปลงไปแค่ไหน ด้วยของขวัญมากมาย เสื้อผ้าสวยหรู แต่สำหรับ หญิงสาวอย่าง หวงเลี่ยน แล้วนั่นแทบไม่มีค่า นางถามเขาว่า “ท่านมีเงินทองมากมาย มีรองเท้าคู่ใไหม่ แล้วท่านเชียนชื่อของตัวเองได้รึยัง”

หากตัวละครของกัวะฟู้เฉิง สะท้อนภาพของความรุ่งเรื่อง ก็ยังมีอีกสองตัวละคร ที่สะท้อนภาพอย่างเดียวกัน อดีตพระเอกชอว์บราเดอร์ อย่างตี้หลุง บทต้วนหนานจอมยุทธผู้สมธะ และตัวละครไร้ตัวตนในเรื่อง อย่าง “พ่อผู้ล่วงลับ” ของกวางฟงโหย่ว ด้วยรายละเอียดบางประการ (โดยเฉพาะอาวุธ “แส้เหล็ก” มรดกจากบิดา ถึงกวานฟงโหย่ว อันเป็นอาวุธที่เคยเห็น เดวิด เจียงใช้ในหนังอยู่สองสามเรื่อง) ทำให้ผมเชื่อว่าโดยสนิทใจเลยะนครับ ว่าตัวละครตัวนี้ เป็นการอ้างอิงอย่างจงใจ ถึงบทบาทเก่าๆ ของ เดวิด เจียง นักแสดงหนุ่มหน้าเศร้า ผู้มักจะรับบทสหายของตี้หลุง ที่มักจะจบชีวิตลงอย่างสง่างามในตอนท้ายเรื่อง

พูดให้ชัดก็คือ ต้วนหนาน และบิดาของกวางฟงโหย่ว นั้นเป็นเหมือนภาพวัยชรา ของตัวละคร มากมายกายกองที่ ที่ตี้หลุง และเดวิด เจียง เคยแสดงไว้ในวัยหนุ่ม The Bare-Footed Kid เล่าเรื่องที่ เป็นเหมือนตอนจบที่ถูกฉีกทิ้ง ในหนังจอมยุทธอีกหลายร้อยเรื่อง ชีวิตปั้นปลายแห่งความทะเยอทะยาน ที่ผ่านความฉูดฉาดสวยงามมากมาย และบั้นปลายมักจะจบลงอย่างเจ็บปวด เดียวดาย

ความทะเยอทะยาน เคยบดขยี้คนหนุ่มรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้แหลกสลายเป็นฝุยฝง ไม่ตายก็เหลือเป็นเพียงเศษซาก แห่งความรุ่งเรืองในอดีต อย่างเช่นที่ ต้วนหนาน บอกกันกวานฟงโหย่วว่า “พวกเราเคยป็นนักรบที่เก่งกาญ มีฝีมือที่ไร้ผู้ต้าน แล้วชีวิตในบั้นปลาย เป็นไง ข้าต้องใช้ชีวิตอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ส่วนพ่อเจ้า ถูกทำร้ายสูญเสียวระยุทธ และตายลงอย่างอเน็จอนาจที่บ้านนอก”

หนังของจางเชอะนั้นนำเสนอเรื่อง “อุดมคติ” แห่งเพศชายเป็น ใจความสำคัญมาตลอด ความยิ่งใหญ่ ของจิตใจแห่งความทะเยอทะยาน ความยิ่งหใญ่ของการสร้างชื่อ สร้างตำนานส่วนตัว ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว บ่อยครั้งจางเชอะมากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ ด้วยน้ำเสียงแห่งความเชิดชู แต่ในบางกรณีเขาก็ตั้งคำถาม ถึงการ “แลก” เพื่อให้ได้มาซึ่ง อุดมคติแห่งเพศชายนี้ ไม่ว่าจะเป็นความสุขส่วนตัว คนรัก หรือชีวิต

นอกจากเนื้อหา ที่สามารถขุดเอารากเงา จิตวิญญานของชอว์บราเดอร์ (โดยเฉพาะจากจางเชอะ) ได้อย่างค่อนข้างถึงแก่นแล้ว หนังยังดึงเอา จิตวิญญานทางคิวบู๊แบบดั่งเดิมของชอว์ กลับมาด้วย ด้วยการเรียกใช้บริการ ผู้กำกับบู๊ที่เป็นตำนานอย่าง หลิวเจียเหลียง มารับหน้าที่เดิมที่เคยทำไว้ในหนังฉบับปี 1975 อีกครั้ง

The Bare-Footed Kid ประกอบไปด้วยคิวบู๊มากมายทั้งดวลเดี่ยว และตะลุมบอน ซัดกันด้วยหมัด และเท้า รวมถึงประหัสประหารกันด้วยชีวิต ฉากต่อสู้ที่เด่นที่สุด ถือเป็นฉากจำของหนัง เห็นจะหนีไม่พ้นฉากประลองยุทธ ณ เวทีใต้ ที่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่มากจุใจอย่างที่คิด ไอเดียหลักของคิวบู๊ใน The Bare-Footed Kid ดูจะมุ่งไปรื้อฟื้นแนวทางแบบ คิวบู๊ประเภทสังเวยเลือดในยุค 60 – 70 ตามแนวทางของจางเชอะมากกว่า เน้นฉากตัวเอกตะลุมบอล ประเภทเดี่ยวรุมหมู่ ตัวละครประกอบตกตาย นอกกันเกลื่อนกลาด แสดงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของตัวเอก ก่อนที่จะจบท้ายด้วยฉากละแลงเลือด เพื่อนำเสนอภาพความตายอันยิ่งใหญ่ของตัวละคร

ในด้านดารานำ The Bare-Footed Kid ได้พระเอกนางงเอก ที่ถือว่าเป็นขวัญใจวัยรุ่นแห่งยุค ทั้งคู่ทำหน้าที่ในระดับที่เรียกว่า ดีเท่าที่จะดีได้นะครับ อย่างกัวะฟู่เฉิง นั้นนอกจากรูปร่างหน้าตาได้เปรียบแล้ว การแสดงคิวบู๊ก็ไม่เลวทีเดียว ส่วนนางเอกสาวอู๋เชี่ยนเหลืยนใน พ.ศ. นั้นก็ดูสอาดบริสุทธิ์เหลือเกิน เคมีของพระนางวัยใสก็ดูเข้ากันได้ดี น่าเสียดายที่ทั้งสอง ต้องถูกบดบังรัศมี ด้วยพลังการแสดงที่ดีกว่าจากทั้งตี้หลุง และจางม่านอวี้

จะว่าไปแล้ว The Bare-Footed Kid มีแกนที่แข็งแรงอยู่ไม่น้อย เลยนะครับ นอกจากฐานะหนังกังฟูเรื่องนึง ที่สร้างเพื่อคารวะหนังเก่าๆ ของชอว์บราเดอร์ แล้วตัวหนังเองยังมีเนื้อหา และตัวละครที่น่าสนใจ อยู่พอสมควร ผู้กำกับตู้ฉีฟง และคนเขียนบทเหยาไนไห่ เล่าเรื่องได้อย่างมีชั้นเชิง น่าเสียดายที่หนังไม่อาจจะสมบูรณ์แบบได้ ด้วยหลายๆ ปัญหาที่มาจากข้อจำกัดต่างๆ ทั้งจากแนวทางการทำหนังของผู้กำกับเอง และความกดดันจากนายทุน ในช่วงปีที่หนังออกฉาย ตู้ฉีฟง พึ่งประสบความสำเร็จมาจาก การอำนวยการสร้างหนังนักเลงโรแมนติก เมโลดราม่า เรื่อง “ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ” (A Moment of Romance) ทั้งสองภาค เห็นได้ชัดว่า ตู้ฉีฟง นำจุดเด่นของการเร้ามารมในหนังโรแมนติกชุดนั้น มาใช้กับ The Bare-Footed Kid ก็ถือว่าทดทอนพลังในฐานะหนังกังฟูของหนังไปพอสมควร

ปัญหาประการสำคัญอีกข้อของหนังนั้น ที่อยู่ความ “ห้วน” เกินไปของการเล่าเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเมินจากความยาว (Runtime) ของหนังทั้งเรื่อง ที่มีอยู่เพียงแค่ 80 นาทีเท่านั้น หนังประเภทกังฟู กำลังภายในนั้นลำพัง แค่ฉากต่อสู้ก็กินเวลากันเป็นครึ่งชั่วโมงแล้ว ใน The Bare-Footed Kid นั้นผู้กำกับคงทะเยอทะยานที่จะเล่าเรื่องอันลึกซึ้ง และมีลูกล่อลูกชนอยู่พอสมควร แต่เวลาอันน้อยนิดทำให้อย่างพัฒนาเนื้อเรื่อง เป็นไปแบบรวบรัดเกิดเหตุ

เมื่อประเมินปีที่หนังออกฉาย ในปี 1993 นั้นเป็นยุคที่เรียกกันว่า “เกิดใหม่” ของหนังกังฟู กำลังภายใน The Bare-Footed Kid ก็เป็นหนึ่งในนั้น หนังอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบซะทีเดียว แต่ก็งานอีกชิ้นที่ไม่ควรพลาด

  • Credits
    บริษัทผู้สร้าง – 
    Cosmopolitan Film Productions Co., Ltd.
    กำกับ – Johnnie To
    อำนวยการสร้าง – Mona Fong
    บทภาพยนตร์ – Yau Nai Hoi
    กำกับภาพ – Horace Wong Wing-Hang
    ตัดต่อ - Wong Wing-Ming
    ดนตรีประกอบ – William Hu Wei-Li
    กำกับศิลป์ – Bruce Yu Ka-On, Raymond Chan Gam-Hiu
    กำกับคิวบู๊ – Lau Kar-Leung
    แสดงนำ - Aaron Kwok Fu-Sing, Maggie Cheung Man-Yuk, Ti Lung, Ng Sin-Lin, Paul Chun Pui, Kenneth Tsang Kong, Eddie Cheung Siu-Fai, Wong Yat-Fei
  • Thailand Distribution- เข้าฉายเมื่อปี 2536 โดยสหมงคลฟิลม์ ชื่อไทยว่า “ตายไม่ว่า ขอให้เห็นหน้าเธอ” ออกเป็นแผ่น VCD DVD ออกในชุดหนังชอว์บราเดอร์ ฉบับรีมาสเตอร์โดย United Home Entertainment เมื่อปี 2550
  • Rating – 4/5
         ที่มา: mihk2002.wordpress.com/2008/03/26/the-bare-footed-kid/


ความเห็น

[1]


สุดยอดครับเรื่องนี้ เก็บดีวีดีไว้แล้วครับ ชอบๆๆ


ได้ข่าวส่า กัวฟู่เฉิง จะมีผลงานออกมาอีกเรื่อง ไซอิ๋ว 2 รอติดตามกันต่อไปนะครับ


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112735204 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :BoxerBral , DavidoosGot , Vilianarab , Vikisrx , JustinzeDew , Juliqpw , GordonFella , Michailrzd , IlyiaMug , Vikimyg ,