Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
หนังจีนในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ฤทธิ์จักรพญายม ภาค 1-2 .. 23/2/2556 10:24
-สอบถามหนัง เกิดมาใหญ่ ก็ต้องใหญ่ หรือ สั่งใหญ่ถล่มใหญ่ ครับ.. 20/2/2556 10:16
----+++ PIF 5 เรื่องควบ อโหสิกิ๋วก๋ากิ้วกระตุกเส้นมอร์เตอร์ไซค์หม่าจง +++.. 19/2/2556 10:40
-หนังเสียงโรงเท่าที่มีครับ.. 17/2/2556 21:26
-อยากทราบข้อมูลเจ้าหนูคนนี้ครับ.. 13/2/2556 12:44
-“จา พนม” จะพบ “หงจินเป่า” ในภาคต่อหนังแอ็คชั่น “ทีมล่าเฉียดนรก Sha Po Lang 2″.. 13/2/2556 2:21
-โครงการตามหาเสียงโรง ครั้งที่ 5 .. 12/2/2556 22:34
-หนังเก่าน่าสะสมจากบิ๊กซี 3 เรื่องร้อยครับ.. 6/2/2556 18:24
-Iceman Cometh - บ้าทะลุศตวรรษ ( 1989 ) อีกเรื่องที่น่าสะสม!.. 5/2/2556 9:22
-เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้...คนสุดท้าย.. 4/2/2556 13:26
-โครงการ ตามหาเสียงโรง 4 มาอีกกกกกก...... 2/2/2556 0:13
-สอบถามชื่อหนังครับ.. 31/1/2556 0:10
-เตรียมรอชม ยอดปรมาจารย์ “ยิปมัน”(The GrandMasters) หนังชีวประวัติอาจารย์กังฟู ยิปมัน ฉบับหว่องกาไว .. 31/1/2556 0:07
-ตามหาหนังเรื่อง ไอ้ซาลาเปาโหด.. 26/1/2556 13:37
----> หนังจีนชุด ในความทรงจำ.. 23/1/2556 14:42
-หนังเรื่องอะไรครับ ขอความรู้หน่อยครับ.. 23/1/2556 11:09
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1116

The Killing Fields คิลลิ่งฟิลด์ แผ่นดินของใคร


ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ.2527) โดยคว้างรางวัล
ออสการ์ดาราประกอบยอดเยี่ยมจากบทบาทของ ดร.เฮง งอร์ ผู้รอดชีวิต
จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา

เรื่องเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ.2516) ซิดนีย์ ชานเบิร์ก นักข่าวคนสำคัญ
ของนิวยอร์กไทม์ทราบข่าวการทิ้งระเบิดผิดเป้าหมายของเครื่องบิน
อเมริกันที่เมืองเนี้ยกหลวง เขาพร้อมด้วยดิธปรานล่ามชาวกัมพูชาได้
พยายามหาหนทางที่จะไปยังเมืองนี้เพื่อหาข่าวที่แท้จริงให้ได้ แม้ว่าจะมี
อุปสรรคจากการขัดขวางของทั้งฝ่ายกัมพูชาและอเมริกันมากเพียงใดก็ตาม

ที่เนี้ยกหลวง พวกเขาได้ภาพข่าวและเรื่องราวที่แท้จริงบนความเสียหาย
และซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือน และการเสียชีวิตของผู้คนจำนวน
มากที่อเมริกันบอกว่าเสียหายไม่กี่หลังคาเรือน และมีผู้เสียชีวิตไม่กี่สิบคน
แล้วได้เห็นการสำเร็จโทษเขมรแดงของพวกทหาร เลยถูกนำไปกักกันตัว
จนกระทั่งกลุ่มนักข่าวอเมริกันชุดหลังกำลังเดินทางมาถึงเพื่อทำข่าวตามที่
ทางการได้จัดฉากไว้ ทั้งคู่จึงได้รับการปล่อยตัว

ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ.2518) กองกำลังเขมรแดงปิดล้อม
กรุงพนมเปญไว้หมด นายพลลอนนอลผู้นำประเทศและบรรดาบุคคลสำคัญ
ต่างอพยพออกไปจนหมด ซิดนีย์ตั้งใจที่อยู่ต่อเพื่อทำข่าวพร้อมด้วยเพื่อน
นักข่าว เช่น อัล ร็อคออฟ จอห์น สเวน ปรานตัดสินใจอยู่ด้วยความผูกพัน
กับบ้านเกิดและตัวของซิดนีย์ แต่ได้อพยพครอบครัวออกไปก่อน

เมื่อเขมรแดงเข้ายึดกรุงพนมเปญได้ จึงเริ่มนโยบายจัดระเบียบสังคมด้วย
การกวาดล้างศัตรูให้สิ้นซาก ซิดนีย์และพรรคพวกเกือบถูกฆ่าตายโดยพวก
เขมรแดงเพราะการเข้าไปทำข่าวความโหดร้ายของสงครามและการกระทำ
ที่ป่าเถื่อนของเขมรแดง ปรานได้ช่วยชีวิตพวกเขาไว้ด้วยการเจรจาต่อรอง
ว่าพวกเขาเป็นนักข่าวฝรั่งเศสและเลื่อมใสในพรรคคอมมิวนิสต์และจะ
เผยแพร่ชัยชนะของเขมรแดงออกไป (ในเรื่องตอนนี้เขาพูดแต่ภาษาเขมร
และไม่มีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษเลย ผมต้องอาศัยชาวเขมรที่รู้จักมาช่วย
ดูและถ่ายทอดรายละเอียดให้เป็นภาษาไทยอีกทีครับ)

ทั้งหมดจึงได้เข้าลี้ภัยในสถานทูตฝรั่งเศสรอเวลาอพยพออกไปยังชายแดน
ไทย ระหว่างทาง ทุกๆ คนได้เห็นขบวนอพยพของผู้คนนับหมื่นออกไป
จากกรุงพนมเปญตามคำสั่งของเขมรแดงด้วยความยากลำบากและทุลัก
ทุเล (ตามคำสั่งบอกว่าอเมริกากำลังจะกลับมาทิ้งระเบิดอีกครั้ง จึงให้ทุก
คนอพยพหลบภัย แต่ที่จริง เป็นแผนลวงให้ประชาชนออกไปจากเมือง
เพื่อไปทำงานในระบบนารวมที่วางแผนเอาไว้)

ที่สถานทูตฝรั่งเศส ซึ่งกลายเป็นที่ลี้ภัยของชาวต่างชาติเนื่องจากเขมรแดงละเว้นไว้ แต่ก็ได้คาดคั้นเอาตัวบุคคลสำคัญของอดีตรัฐบาลลอนนอลออก
ไปกำจัด (ตามประวัติศาสตร์บอกว่า คือ พระองค์เจ้าสีสวัด สิริมาตักและ
ครอบครัวพระญาติองค์หนึ่งของสมเด็จสีหนุและเป็นผู้สนับสนุนลอนนอลให้
ปฏิวัติสมเด็จสีหนุ

พระองค์เจ้าท่านนี้ไม่ได้ลี้ภัยออกจากเขมรในเวลานั้น และไม่มีผู้ใดพบเห็น
ท่านอีกเลยหลังจากนั้น) แล้วเขมรแดงจึงสั่งการให้ชาวเขมรทุกคนต้องออก
จากสถานทูตให้หมด มีเพียงชาวต่างชาติเท่านั้นที่จะลี้ภัยออกไปได้ และ
ยังสั่งให้ตรวจหนังสือเดินทางของทุกๆ คนเพื่อสกัดชาวเขมรที่อาจแฝงตัว
ออกไปด้วย

ซิดนีย์และเพื่อนๆ พยายามหาวิธีช่วยปรานด้วยการปลอมพาสพอร์ตขึ้นมา
แต่ขาดรูปถ่ายซึ่งทั้งร็อคออฟและสเวนต้องใช้ความพยายามอย่างมากใน
การถ่ายและล้างอัดภาพของปรานในสภาวะที่ไร้เครื่องมือและอุปกรณ์ใด ๆ
ซึ่งสำเร็จในช่วงสั้นๆ แต่ก็ล้มเหลวในท้ายที่สุด เพราะรูปถ่ายสลายไป
ดิธปรานจึงต้องออกจากสถานทูตไปตายเอาดาบหน้า

ซิดนีย์กลับมายังอเมริกา พยายามสืบหาตัวดิธปรานเพื่อช่วยเหลือทุก ๆ
ทาง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่เขาได้อุปถัมภ์ครอบครัวของปรานเป็น
อย่างดี และยังปลอบใจภรรยาของปรานว่า ปรานยังไม่ตาย

ในขณะที่ปรานต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในค่ายแรงงานแห่งหนึ่งที่เขมร
แดงจัดตั้งขึ้น ภายในค่าย นอกจากงานที่แสนหนักแล้ว ยังมีการอบรมเพื่อ
ล้างสมองทุกๆ คนให้ยอมรับสังคมใหม่ที่อังก้า (องค์กรปกครองที่เขมรแดง
จัดตั้ง) ได้สร้างขึ้น เด็กๆ ทุกคนจะต้องไม่มีครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์
แบบพ่อแม่ลูก แล้วยังเป็นสายสืบคอยหาตัวพวกชนชั้นกฎุมพีที่แอบซ่อน
ตัวปะปนอยู่

แล้วอังก้าจึงเริ่มแผนการกวาดล้างอีกระลอกด้วยการหลอกลวงให้ผู้ที่เป็นปัญญาชนแสดงตัวออกมา โดยสัญญาว่าจะให้ทำงานที่ดีกว่าเดิม แต่เป็น
การหลอกคนเหล่านี้ไปฆ่าจนหมด ครั้งหนึ่งด้วยความอดอยาก ดิธปรานได้
แอบไปดูดเลือดจากคอวัวในคอก แล้วถูกจับได้ จึงถูกรุมทำร้ายและกำลัง
จะถูกฆ่า

แต่ได้รับการอภัยจากเจ้าหน้าที่อังการ์รายหนึ่งซึ่งเคยรู้จักกับเขาตอนทำ
ข่าวกับซิดนีย์ ดิธปรานได้ตัดสินใจแอบหลบหนีออกจากค่ายในวันหนึ่ง
ระหว่างทาง เขาได้เดินข้ามทุ่งสังหารที่เต็มไปด้วยกองกระดูกและซากศพ
นับพันที่เรียงรายอยู่ในที่นา ซึ่งซากศพเหล่านี้เองคือบรรดาปัญญาชน
และคนชั้นปกครองที่หลงกลแสดงตัวต่ออังก้าตามแผนการที่ลวงออกมาฆ่า
ซึ่งนับเป็นฉากที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและความสะเทือนอารมณ์แก่คน
ทุกคนที่ดูหนังเรื่องนี้

ที่อเมริกา ซิดนีย์ขึ้นรับรางวัลนักข่าวแห่งปีจาก AIFPC แล้วกล่าวรำลึก
และให้เครดิตแก่ปรานในผลงานชิ้นนี้ เขายังคงระลึกและพยายามหาตัว
ปรานตลอดมา แล้วจึงมีการถกเถียงกับอัลในห้องน้ำเล็กน้อย ต่อมา ซิดนีย์
ได้รำพึงรำพันกับพี่สาวของเขาว่า ปรานต้องอยู่ในกัมพูชาก็เพราะความ
ดื้อดึงของเขาเองที่อยากอยู่ในกัมพูชาโดยไม่ได้ประเมินความร้ายแรง
ของสถานการณ์

แล้วตัดกลับมาที่ดิธปรานซึ่งได้หลบหนีมายังค่ายแรงงานอีกแห่ง หัวหน้า
ค่ายที่ชื่อ แพ็ต มอบหมายให้เขาดูแลกิม ลูกชายวัย 3 ขวบและมีสถานะ
ที่ดีกว่าค่ายเดิม เขาโกหกหัวหน้าค่ายว่าเขาเคยเป็นคนขับแท็กซี่ที่ไร้การ
ศึกษาในกรุงพนมเปญ แต่หัวหน้าค่ายยังคงไม่เชื่อเขา พยายามหาทาง
จับผิดอยู่ตลอดเวลา (ผมต้องอาศัยชาวเขมรที่รู้จักมาช่วยดูและถ่ายทอด
รายละเอียดให้เป็นภาษาไทยเช่นเคยครับ)

จนกระทั่งมีข่าวลือว่าทหารเวียดนามได้เริ่มบุกเข้ามาแล้ว ด้วยความอยากรู้
ดิธปรานจึงแอบเปิดวิทยุเพื่อรับฟังข่าวภาษาอังกฤษ แล้วก็ถูกจับได้ในที่สุด

ตอนเช้า แพ็ตได้เจรจากับปรานเป็นภาษาอังกฤษเพื่อไม่ให้สมาชิกคน
อื่น ๆของอังก้ารู้ เขาบอกว่าเขาได้ทุ่มเทให้กับการปฏิวัติและภรรยาของ
เขาต้องเสียชีวิตในการปฏิวัติด้วย และบอกถึงปัญหาความขัดแย้งใน
อังก้า ความรุนแรงของการสังหารเพื่อนร่วมชาติอย่างอำมหิตที่เขาไม่ได้
คิดว่าจะพบ และที่สำคัญ เขาเป็นห่วงลูกชายคนเดียวของเขามากที่สุด
และแล้ว ข่าวลือเรื่องการบุกเข้ามาของทหารเวียดนามก็เป็นจริง

ป้อมค่ายแบบชาวบ้านของเขมรแดงถูกทำลายโดยเครื่องบินไอพ่นของเวียดนาม (ฉากนี้ คล้ายๆ กับการสะท้อนภาพตอนที่เครื่องบินอเมริกันบินทำลายป้อมค่ายของเวียดกงเหมือนกัน) ภายหลังการโจมตี มีการชำระ
ความกับชาวบ้านบางคนด้วยการยัดข้อหาว่าเป็นสายลับของเวียดนาม
แล้วจัดการยิงทิ้งเสีย ซึ่งแพ็ตได้พยายามคัดค้านอย่างเต็มที่กับลูกน้องเขา
แต่ลูกน้องอ้างว่าอังก้าสั่งมา ห้ามเถียง (ตอนดูครั้งแรกก็ไม่เข้าใจครับว่า
เขายิงชาวบ้านทิ้งทำไม ก็ต้องอาศัยชาวเขมรคนเดิมมาช่วยดูและถ่ายทอด
รายละเอียดให้เป็นภาษาไทยอีกครั้งครับ)

แพ็ตแอบบอกให้ปรานหนีไปพร้อมกับลูกชายของเขา โดยได้ให้แผนที่การหลบหนีและเงินดอลลาร์จำนวนหนึ่ง ส่วนตัวเขาลงไปสั่งการให้หยุดการฆ่า
ชาวบ้านทิ้ง แต่ลูกน้องกลับยิงใส่เขาตายคาที่ แล้วทั้งหน่วยก็ตกอยู่ภายใต้
การบังคับบัญชาของคนใหม่ที่ได้กวาดต้อนชาวบ้านให้ไปร่วมกับหน่วย
อื่น ๆ เพื่อต่อสู้กับเวียดนามต่อไป (กรรมของชาวบ้านจริงๆ ครับ)

ปรานวางแผนหลบหนีจากกัมพูชาเพื่อไปยังค่ายลี้ภัยในประเทศไทยพร้อม
ด้วยสหายร่วมตาย 2-3 คน ต้องผ่านความยากลำบากนานับประการ และ
ต้องคอยหลบภัยทั้งจากเขมรแดงและเวียดนาม เพราะไม่มีทางแน่ใจว่า
ฝ่ายใดกันแน่ที่จะเป็นมิตร แล้วเมื่อใกล้ชายแดน

เพื่อนคนหนึ่งอุ้มกิมเดินข้ามป่าแล้วเหยียบกับระเบิดแบบเลิกกด ปรานตะโกนบอกให้เขายืนนิ่งๆ ส่งกิมมาให้ แล้วเขาจะหาทางช่วย แต่เพื่อนก็
ตื่นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก พอขยับเท้าขึ้นระเบิดก็ทำงาน เพื่อนของเขา
และกิมถูกสะเก็ดระเบิดตาย ปรานอุ้มศพของกิมวิ่งมาด้วยความเจ็บปวด
และโศกเศร้า และต้องเผาศพของกิมด้วยความรันทด แล้วเขาก็ต้องฟันฝ่า
ไปแต่ผู้เดียวจนมาถึงเขตแดนของประเทศไทยด้วยความตื้นตัน

ซิดนีย์ได้ทราบข่าวของปรานด้วยความยินดีเป็นที่สุด เขารีบเดินทางมายัง
ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย แล้วก็พบกับดิธปราน ด้วยความปลื้มปิติ ทั้งคู่
สวมกอดกัน ซิดนีย์เอ่ยปากขอให้ปรานยกโทษให้เขา แต่ปรานบอกว่า
ไม่จำเป็นต้องยกโทษให้เลย

ภาพยนตร์เรื่องคิลลิ่งฟิลด์นี้ ตั้งแต่การออกฉายมีการใช้ชื่อภาษาไทยแตก
ต่างกันไป ในวีดีโอใช้ชื่อว่า ล้างชาติ ล้างแผ่นดิน ในโรงหนังใช้ชื่อ
แผ่นดินของใคร พอมาเป็นดีวีดียุคใหม่ ใช้ชื่อ ทุ่งสังหารตรงตามชื่อ
ภาษาอังกฤษเดิม ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ได้พยายามสะท้อนถึงเรื่องราวทาง
ประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวดของชาวกัมพูชาที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน
อย่างบ้าคลั่ง ระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบอุดมคติของเขมรแดงที่ทำให้
ชีวิตของชาวกัมพูชาต้องถอยหลังกลับไปอย่างมาก (เทียบกับเวียดนาม
ถึงแม้จะมีการต่อสู้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อในการรวมชาติสักแค่ไหน แต่พอ
รวมชาติกันแล้ว ก็ไม่มีการสังหารล้างผลาญกันอย่างนองเลือดแบบใน
กัมพูชา แต่ไม่ได้หมายความว่า ชาวเวียดนามอยู่ดีมีสุขกันนะครับ พวก
เขาก็ต้องทนทุกข์ยากอยู่นานจนยุคหลังสงครามเย็น ทุกๆ อย่างจึงดีขึ้น)

ความโหดร้ายทารุณที่ปรากฏในหนังไม่เกินเลยความจริงแต่อย่างใด แต่มี
หลายเรื่องที่ไม่ได้นำมาถ่ายทอดไว้ เพราะจะเป็นฉากที่ทารุณเกินไป ด้วย
เหตุนี้เอง การเข้ามารุกรานกัมพูชาของเวียดนามในครั้งนั้น ก็พอจะมองได้
ว่าเป็นวีรบุรุษผู้ปลดปล่อยได้ในอีกแง่มุมหนึ่ง (คล้ายๆ กับกรณีที่
แทนซาเนียส่งกองทหารบุกยูกันดา โค่นล้มประธานาธิบดีอมนุษย์
อีดี้ อามินลงจากอำนาจ)

แง่คิดอีกอย่าง คือ อเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจที่มีพฤติกรรมน่ารังเกียจที่สุด
ยุยงส่งเสริมให้ชาติโน้นชาตินี้รบกันเอง ขนกองกำลังมาช่วยซะใหญ่โต แต่
พอจะเลิกก็เลิกแบบง่ายๆ เปิดก้นหนีกลับบ้านไปอย่างโกลาหล ทิ้งปัญหา
ไว้ให้คนในชาตินั้นต้องรับกรรม (แต่ที่จริงแล้ว สภาพสังคม การเมือง การ
ปกครองของรัฐบาลกัมพูชาก่อนหน้านั้นก็เป็นชนวนให้เกิดปัญหานี้ด้วย
เหมือนกัน ลองอ่านเรื่องถกเขมรของท่านอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมทย์ แล้วจะเข้าใจขึ้นครับ)

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์แบบบริสุทธิ์ฉันพี่น้องของ ดิธปรานกับซิดนีย์
ชานเบิร์กก็ยังเป็นการสะท้อนถึงแง่มุมที่ดีของคนอเมริกันและคนกัมพูชา
ดิธปรานเปรียบเสมือนตัวแทนของชาวกัมพูชาที่ต้องผจญกรรม ต่อสู้ ฝ่าฟัน
อุปสรรคความยากลำบากมาได้ เพื่อไปสู่ชะตาชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าในประวัติ
ศาสตร์จริง พวกเขาจะต้องใช้เวลายาวนานอย่างมากก็ตาม


+
+
+
+

ความเห็น

[1]


เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำโดยทีมงานชาวอังกฤษ เนื้อหาภายใน
เรื่องจึงไม่มีฉากโม้ใส่ไข่แบบฮอลลีวู้ด ทุกฉากเป็นไปอย่างชีวิตจริง
สมเหตุสมผล มุมกล้องในการสื่อสารกับคนดูส่วนใหญ่จะเป็นแบบให้คนดู
เป็นผู้สังเกตการณ์เสียมากกว่า การแสดงของดาราทุกคนนับได้ว่าเป็นไป
ตามมาตรฐานมืออาชีพ ทั้งแซม วอเตอร์สตันในบทซิดนีย์ ชานเบิร์ก จอห์น
มัลโควิช ในบทของอัล ร็อคออฟ จูเลี่ยน แซนด์ ในบทของจอห์น สเวน
แม้แต่
ดร. เฮง งอร์ ที่เป็นดาราสมัครเล่น และเพิ่งเล่นหนังเป็นครั้งแรก
แต่ก็ทำได้อย่างเกินหน้าดาราอาชีพหลายคน

ตัวหนังไม่ได้เน้นความสนุกตื่นเต้นแบบโลดโผน แต่เน้นความสะเทือนใจสะเทือนอารมณ์ชวนให้ติดตาม โดยเฉพาะตอนท้ายเรื่องที่ดิธปรานมาถึง
ชายแดนไทย แล้วตัดกลับมาที่ซิดนีย์ ถ้าเป็นผู้กำกับคนอื่นๆ คงกำกับให้
ปรานกระโดดโลดเต้นด้วยความยินดี แต่จอฟฟรีย์กลับให้ปรานยืนนิ่งด้วย
ความตื้นตันและซาบซึ้ง แล้วจึงตัดกลับมาที่ซิดนีย์ที่วิ่งมาด้วยความลิงโลด
ยินดีเมื่อได้รับทราบข่าวของปราน นับว่าเป็นไปได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆ ใน
การสะกดอารมณ์คนดู

จากนั้น เพียงไม่กี่อึดใจก็ตัดกลับมาที่ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ซิดนีย์พบ
กับปรานแล้วโผเข้ากอดกันด้วยความปลื้มปิติ ช่วงนั้น หนังได้เปิดเพลง
อิมเมจินของจอห์น เลนนอน ซึ่งฉากจบได้สร้างให้เพลงนี้ดังกระฉ่อนขึ้นมา
อีกครั้ง

ใครๆ ก็ตามที่ดูหนังเรื่องนี้คงเกิดความรู้สึกทั้งหดหู่ เจ็บปวด และตื้นตันใจ
กับทั้งยังรู้สึกโชคดีที่ชาติของเราไม่ได้มีโชคชะตาที่เข้าสู่กลียุคแบบ
กัมพูชายิ่งในบรรยากาศการเมืองที่แตกแยกแบบนี้ ผมคิดว่า ถ้าทุกคน
ได้ดูหนังเรื่องนี้ก็คงได้สำนึกว่า ความแตกแยกขัดแย้งรุนแรงจนต้องแตกหัก
ไม่ได้มีผลดีอะไรเลย มีแต่เสียกับเสียเท่านั้น

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2529
ได้มีการนำหนังเรื่องนี้กลับมาฉายอีกครั้ง นัยว่าเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ให้
ประชาชนตระหนักว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากพวกคอมมิวนิสต์เกิดเรือง
อำนาจ

ช่วงที่มีการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในประเทศไทย ได้มีผู้ช่วยผู้กำกับและบรรดา
คนทำงานเกี่ยวกับภาพยนตร์ทั้งหลายของประเทศไทยได้ไปร่วมงานกำกับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ตรงนี้เอง ที่เป็นจุดเปลี่ยนและจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ
วงการภาพยนตร์ไทยให้ก้าวไปสู่การถ่ายทำภาพยนตร์ให้ทันสมัย เป็นมือ
อาชีพมากยิ่งขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ได้นำเอาบทเรียนสำคัญนี้ไปใช้ใน
การถ่ายทำภาพยนตร์ไทยยุคใหม่ๆ ทั้งในด้านเนื้อหา การอัดและตัดต่อ
เสียงเทคนิคการถ่ายทำ เอฟเฟกต์ต่างๆ

รวมไปถึงบทบาทของดาราที่ต้องมีความสมจริงสมจังมากขึ้น จัดได้ว่าเป็นแรงกระตุ้นการพัฒนาหนังไทยในก้าวสำคัญอย่างหนึ่ง (ลองสังเกตดูนะครับ ภาพยนตร์แบบไทยๆ ในยุคตั้งแต่ก่อนปี 2528 นั้น การถ่ายทำ การ
ตัดต่อ การกำกับศิลป์ และบทบาทดารายังคงมีลักษณะแบบลิเกผสมละคร
เวทีอยู่ มามีพัฒนาการที่เป็นจริงเป็นจังในช่วงหลังปี 2528-30 นี่แหละ)

ตอนที่เขียนบทความนี้ ได้ทราบมาว่านางเบนาซี บุตโต (เข้าใจว่าชื่อของ
นางน่าจะสะกดมาจากภาษาสันสกฤตที่อ่านแบบไทยๆ ว่า เบญญาศรี
พุทธโธ) ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของปากีสถานถูกสังหารจากมือระบิดพลีชีพ
ก็ให้รู้สึกแย่ว่า ทำไม คนบางกลุ่มในโลกจึงไม่ได้มีความคิดเห็นถึงคุณค่า
ของชีวิต และคุณประโยชน์ของความแตกต่าง แต่กลับพยายามกวาดล้าง
ทำลายกันด้วยเหตุผลทางจริยธรรมส่วนตัวที่ไม่เคยไตร่ตรองว่า ข้อไหนผิด
ข้อไหนถูก และก็ยังรู้สึกโชคดีที่ประเทศไทย และสังคมไทยเราไม่มีการ
กระทำหรือแม้แต่ความคิดที่จะทำอย่างนั้น
ซึ่งเป็นเพราะเรามีสิ่งยึดเหนี่ยว
อันสำคัญ คือ คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่บอกให้รู้รัก
สามัคคี และยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน

ชื่อเรื่อง : แผ่นดินของใคร (Killing Field)

ดารานำแสดง :

  • แซม วอเตอร์สตัน (ซิดนีย์ ชานเบิร์ก)
  • ดร. เฮง เอส งอร์ (ดิธปราน)
  • จอห์น มัลโควิช (อัล ร็อคออฟ)
  • จูเลี่ยน แซนด์ (จอห์น สเวน)

กำกับ : โรแลนด์ จอฟฟรีย์

อำนวยการสร้าง : เดวิด พัทนั่ม

ปีที่ออกฉาย : ค.ศ. 1985 (พ.ศ.2528)

รางวัลออสการ์สาขาดาราประกอบชายยอดเยี่ยม ดร. เฮง เอส งอร์
รางวัลออสการ์สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม คริส เมนเกส
รางวัลออสการ์สาขาตัดต่อยอดเยี่ยม จิม คลาร์ก

คำพูดจากภาพยนตร์

บอกภรรยาผมด้วยว่า ผมรักเธอ และช่วยดูแลลูกๆ ของผมด้วย
ผมไม่อยากให้ใครทำไม่ดีกับเธอ
(ปรานกล่าวร่ำลากับซิดนีย์เมื่อต้องออกไปจากสถานทูต)


+
+
+
+



+
+


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112732844 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Vilianarab , Vikisrx , JustinzeDew , Juliqpw , GordonFella , Michailrzd , IlyiaMug , Vikimyg , ct832 , ct832 ,