Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน
รูป
หนังไทยในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-Photo Book of Mitr Chaibuncha 2020.. 1/1/2563 1:34
-ห้องหนังไทย.. 27/10/2554 13:41
-หลานม่า.. 17/4/2567 18:35
-"สิงห์ล่าสิงห์".. 29/12/2566 15:29
-"ชุมทางเขาชุมทอง"ยังไม่มีคนตอบ
-ชู้ .. 29/12/2566 15:11
-มนต์รักนักพากย์ พ.ศ. 2566.. 22/10/2566 19:14
-ภาพยนตร์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2500.. 19/10/2566 16:38
-มนต์รักนักพากย์ .. 1/10/2566 17:42
-บังเอิญรักข่อยฮักเจ้า.. 18/3/2566 2:07
-"วัยอลวน5".. 7/1/2566 1:48
-หนุมาน WHITE MONKEY.. 16/11/2565 14:15
-มายาพิศวง (Six Characters)ยังไม่มีคนตอบ
-SAMARITAN Trailer (2022)ยังไม่มีคนตอบ
-บุพเพสันนิวาส ๒ ยังไม่มีคนตอบ
-ตัวอย่าง SIAM SQUARE ปี 2527 4K.. 26/4/2565 9:10
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 533

"รักที่ขอนแก่น" หนังไทยเรื่องสุดท้ายของ "เจ้ย อภิชาติพงศ์


                                                    

    ความสำเร็จจากเทศกาลหนังเมืองคานส์เมื่อปี 2553 ทำให้ชื่อของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล กลายเป็นผู้กำกับอีกคนที่น่าจับตามองมากที่สุด แต่หลังจากหายไปนานถึง 5 ปี ล่าสุดชื่อขออภิชาติพงศ์ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับหนังเรื่องใหม่ที่ถูกเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีนี้ (2558) พร้อมกับการประกาศว่าจะเป็นหนังไทยเรื่องสุดท้ายของเขาอีกด้วย

การมิกซ์เสียงภาพยนตร์เรื่อง 'รักที่ขอนแก่น' ผลงานล่าสุดของ เจ้ย - อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับรางวัลปาล์มทองคำ เป็นการทำงานขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะส่งหนังไปที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมือง คานส์ ครั้งที่ 68 หลังจากถูกคัดเลือกให้ฉายในสาย Un Certain Regard หรือภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง เล่าเรื่องราวของหญิงวัยกลางคนที่ต้องดูแลทหารหนุ่ม ซึ่งจมดิ่งไปกับอาการหลอนได้แรงบันดาลใจมาจากสภาพสังคมในวัยเด็ก ที่เคยอาศัยอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของพ่อและแม่ในจังหวัดขอนแก่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรถึง 11 ประเทศ งบประมาณกว่า 30 ล้านบาท และใช้เวลาเตรียมงานนานถึง 5 ปี เพื่อให้ออกมาดีที่สุด เนื่องจากจะเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องสุดท้ายของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ กล่าวว่า "เรื่องนี้มันละเอียดขึ้นเยอะ เหมือนกับที่บอกว่ามันอาจจะเป็นเรื่องสุดท้าย เราใช้เวลาในการหาข้อมูลเยอะ หนังมันค่อนข้างมีเรื่อง มันจะมีความก้ำกึ่งระหว่างความตลกกับเศร้าเจออยู่ โดยส่วนตัวคิดว่าดูง่ายกว่าเรื่องอื่น ขณะเดียวกันก็ทดลองมากขึ้น"

การเลือกบุคคลที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์การทำงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในหนัง เป็นอีกแนวทางการทำงานของอภิชาติพงศ์ที่อยากให้เกิดความท้าทายและสร้างการ เรียนรู้ไปพร้อมกับทีมงาน ซึ่งชื่อของอภิชาติพงศ์เป็นหนึ่งในผู้กำกับไม่กี่คนที่นักวิจารณ์มองว่าน่า จับตาที่สุด ทั้งยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศด้วยการทำภาพยนตร์ที่มีความเฉพาะตัว แต่แฝงไว้ด้วยแนวคิดและความเชื่อแบบไทย ซึ่งต่างชาติให้ความสนใจไม่น้อย ทั้งแสงศตวรรษ สัตว์ประหลาด และลุงบุญมีระลึกชาติ

                                                 เรื่องนี้มันละเอียดขึ้นเยอะ เหมือนกับที่บอกว่ามันอาจจะเป็นเรื่องสุดท้าย เราใช้เวลาในการหาข้อมูลเยอะ หนังมันค่อนข้างมีเรื่อง มันจะมีความก้ำกึ่งระหว่างความตลกกับเศร้าเจืออยู่ โดยส่วนตัวคิดว่าดูง่ายกว่าเรื่องอื่น ขณะเดียวกันก็ทดลองมากขึ้น"

"รักที่ขอนแก่น" (Cemetery of Splendour) ผลงานล่าสุดของ "เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ผู้กำกับรางวัลปาล์มทองคำ อยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายชองโพสต์โปรดักชั่นก่อนจะส่งหนังไปฉายครั้งแรกของโลกที่ "เทศกาลหนังเมืองคานส์ ครั้งที่ 68" ในสาย Un Certain Regard (ภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง)

หนังเล่าเรื่องราวของหญิงวัยกลางคนที่ต้องดูแลทหารหนุ่ม ซึ่งจมดิ่งไปกับอาการหลอน ซึ่งผกก.ได้แรงบันดาลใจมาจากสภาพสังคมในวัยเด็ก ที่เคยอาศัยอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของพ่อและแม่ในจังหวัดขอนแก่น


ก้าวต่อไปหลังจากวางแผนเกษียณตัวเองจากวงการหนังไทย คือการเดินทางไปสร้างภาพยนตร์ที่อเมริกาใต้ ซึ่งอภิชาติพงษ์ให้ความสนใจพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอนเป็นพิเศษ เนื่องจากมองว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณและการรักษาโรค ตลอด 10 ปีในวงการแผ่นฟิล์มของผู้กำกับวัย 45 ปีคนนี้ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ทำให้สุขใจทุกครั้ง เพราะการได้ถ่ายทอดความคิดและความเป็นตัวเองผ่านภาพยนตร์คือสิ่งที่ฝันไว้ เสมอ

ประวัติโดยสังเขปของ เจ้ย อภิชาติพงษ์

                                              

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ชื่อเล่น "เจ้ย" ต่างประเทศเรียก "Joe") เกิดวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513กรุงเทพมหานคร เติบโตในจังหวัดขอนแก่น โดยเป็นบุตรชายของ นายสุวัฒน์ วีระเศรษฐกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาพยนตร์ จากสถาบันศิลปะชิคาโก (Art Institute of Chicago) เริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ อภิชาติพงศ์มักทดลองโดยยึดหลักโครงเรื่องที่อิงมาจากละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ การ์ตูน และภาพยนตร์เก่า ๆ มักได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองเล็ก ๆ มักใช้นักแสดงที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่ใช่มืออาชีพ และใช้บทสนทนาสด

พ.ศ. 2543 ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาวเรื่องแรกของเขา ดอกฟ้าในมือมาร (Mysterious Object at Noon) ได้เข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมากมาย และได้รับคำวิจารณ์พร้อมรางวัล 4 รางวัล และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในปี 2543 โดยนักวิจารณ์นิตยสาร The village voice อภิชาติพงศ์เปิดบริษัทภาพยนตร์ Kick the Machine โดยผลิตภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ประจำปี พ.ศ. 2545ประเทศฝรั่งเศส ถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Jury Prize และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเข้าเลือกในสายประกวดหลักของเทศกาลภาพ ยนตร์เมืองคานส์

พ.ศ. 2551 อภิชาติพงศ์ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัล (ส่วนของภาพยนตร์สายหลัก) ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008



ขอบคุณข้อมูลจากเวบ ไทยพีบีเอสและเวบ Deknang ครับ.



ความเห็น

[1]


คลิปภาพและข่าวจากเวบเดลินิวส์ออนไลน์ครับ

https://www.youtube.com/watch?v=xQpC9AYfTl8&spfreload=10




ภาพโปสเตอร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ..




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112936543 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :kurskmFoofs , MichaeledIgh , พีเพิลนิวส์ , Tongkam , เอก , Pojja , กิต , H.Teo , Oil , หลอม ,