Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน
รูป
หนังไทยในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-โรงแรมนรกยังไม่มีคนตอบ
-Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่ายังไม่มีคนตอบ
-องค์บาก 1 ONG BAK ปี 2546.. 28/4/2562 19:37
-10อันดับหนังรักไทยที่ดีที่สุดยังไม่มีคนตอบ
-“ดอกฟ้าในมือโจร”.. 10/4/2562 21:30
-สี้น 3 ต่อน.. 20/3/2562 0:31
-ชู้ ภาพยนตร์ไทย เปี๊ยก โปสเตอร์.. 13/3/2562 22:42
- “เสือเฒ่า” ภาพยนตร์ไทยคลาสสิก.. 11/2/2562 22:44
-Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน.. 31/1/2562 23:51
-อีก้อ ฉายปี 2527.. 6/1/2562 20:58
-เฉิ่ม (2005, dir: คงเดช จาตุรันต์รัศมี).. 26/12/2561 11:40
-เทพธิดาบาร์ 21.. 20/12/2561 18:55
-กาลครั้งหนึ่ง กับสัญญาหน้าฝน.. 20/12/2561 18:51
-มนต์รักอสูรปี 2521.. 7/12/2561 23:12
-เพลงสุดท้ายปี 2528 THE LAST SONG.. 5/12/2561 14:50
-หงษ์หยก ปี พ.ศ. 2499.. 24/11/2561 20:03
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 533

รวมรูปโปสเตอร์หนังไทยเก่าในอดีต หามาให้รับชมกันครับ


   พอดีไปเจอภาพและโปสเตอร์หนังไทยในอดีตในเวบ http://www.plengpakjai.net ซึ่งมีสมาชิกผู้ใช้ชื่อว่า  " ทนาย " ได้โพสรูปโปสเตอร์หนังไทยเก่าๆไว้หลายๆเรื่อง รวมทั้งลงรายละเอียดของภาพยนตร์แต่ละเรื่องเอาไว้พอสังเขป ผมเห็นว่าน่าจะเป็นสาระประโยชน์แก่สมาชิกพีเพิลซีนที่ชื่นชอบภาพยนตร์ไทย  ก็เลยขออนุญาตนำข้อมูลรายละเอียดจากเวบข้างต้น..มาลงเป็นข้อมูลได้รับทราบกันครับ

  หมายเหต..ภาพโปสเตอร์ทั้งหมดที่เห็นเป็นภาพ  ที่ฝากไฟล์ภาพไว้ที่เวบฝากไฟล์ภาพ..ซึ่งเมื่อถึงระยะเวลานึง....ภาพทั้งหมดจะถูกลบทิ้งโดยระบบ...ดังนั้นขอแนะนำว่าท่านควร copy  เซพเก็บภาพโปสเตอร์เหล่านี้ไว้ในเครื่องของท่าน..เพื่อเก็บความประทับใจเหล่านี้ไว้นานๆ



ทรชนเดนตาย (2512)

    ผู้กำกับ: มารุต
    นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, โสภา สถาพร, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์


ขอ
เพิ่มนิดนึงนะครับ คือเรื่องราวของโสภา สถาพร
ไม่น่าเชื่อว่าชื่อของเธอแทบไม่ติดอยู่ในความทรงจำของผมเลย ทั้งๆ
ที่งานแสดงของเธอ ก็มีอยู่มากพอสมควร

ว่าไปแล้วผมว่ายังจำดาราแสดงประกอบได้มากกว่าดาราแสดงนำซะอีก  ก็เลยถือโอกาสทบทวน ทำความรู้จัก โสภา สถาพรกันซักหน่อยครับ


 
   โสภา เกิดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อจริงคือ โสภา พัคค์สุนทร
เติบโตที่จังหวัดจันทบุรี เริ่มแสดงภาพยนตร์จากการชักชวนของชาลี
อินทรวิจิตรและศรินทิพย์ ศิริวรรณ เรื่องแรกคือเรื่อง เอื้อมเดือน พ.ศ.
2506 กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2507
ได้รับบทนำเป็นเรื่องแรกคือเรื่อง ดวงตาสวรรค์ คู่กับสมบัติ
เมทะนีและพิศมัย วิไลศักดิ์ ในภาพยนตร์เรื่องถัดมา ได้แสดงคู่กับ เพชรา
เชาวราษฎร์ มิตร ชัยบัญชา และชนะ ศรีอุบล ในเรื่อง ชาติเจ้าพระยา (2508)
และเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น


           โสภา สถาพร
รับบทนางเอกเต็มตัวในเรื่อง ศึกเสือไทย (2508) คู่กับ สมบัติ เมทะนี
และมีผลงานอีกมากมาย เช่น เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509) คู่กับไชยา สุริยัน,
สิงห์สันติภาพ (2509) คู่กับลือชัย นฤนาท และอีกหลายเรื่องเช่น ชาติกระทิง
(2509), เหนือเพชฌฆาต (2510), พันดง (2511), วังสีทอง (2511), ดวงใจคนยาก
(2511), เกิดเป็นชาย (2512)

      ในระยะหลัง โสภา สถาพร
มีผลงานแสดงน้อยลง ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอคือเรื่อง ลูกเจ้าพระยา
(2520) คู่กับสมบัติ เมทะนี และ เพชรา เชาวราษฎร์ เธอออกจากวงการแสดง
และสมรสกับ จอห์น เอ บาโชว์ ครูสอนภาษาอังกฤษชาวอเมริกัน
ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

       โสภา สถาพร
เสียชีวิตที่กรุงเทพมหานคร ด้วยโรคตับแข็งและหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะอายุได้
59 ปี แต่เคลื่อนย้ายศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่
28 มีนาคม 2549 [/size]














ความเห็น

[1] [2]




ชื่อเรื่อง - ตลาดพรหมจารีย์
กำกับการแสดง - สักกะ จารุจินดา
นำแสดงโดย: สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ดวงดาว จารุจินดา, ราชันย์ กาญจนมาศ,  เปียทิพย์ คุ้มวงศ์
ปีที่ฉาย - พ.ศ. 2516

    จากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประเภทดาราประกอบหญิงยอดเยี่ยมในปี 2517




ชื่อเรื่อง - ไอ้แมงดา
กำกับการแสดงโดย - ชาย มีคุณสุต
ดาราแสดง - กรุง ศรีวิไล, สรพงษ์ ชาตรี, ปิยะมาศ โมนยะกุล, ธัญรัตน์ โลหะนันท์,
ปีที่ฉาย - พ.ศ.2519

*** เรื่องนี้มีคนไทยคนแรกที่ได้รับฉายาว่า บรู๊ซลีเมืองไทยร่วมแสดงด้วย คือ วรสิทธิ์ รสสุธาธรรม  น่าเสียดายหาดูภาพของวรสิทธิ์ยากจริงๆ


กำกับการแสดงโดย -    วิน วันชัย
แสดงโดย -     สิงหา สุริยง  นัยนา ชีวานันท์  ไพโรจน์ ใจสิงห์ เมตตา รุ่งรัตน์ ล้อต๊อก ชูศรี มีสมมนต์
ฉาย     29 มกราคม พ.ศ. 2520

บิน เดี่ยว เป็นภาพยนตร์ไทย สร้างจากบทประพันธ์ของเศก ดุสิต เรื่องอินทรีแดง ออกฉายเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2520 กำกับการแสดงโดยวิน วินชัย นำแสดงโดย สิงหา สุริยง (แสดงเป็นอินทรีแดง) นัยนา ชีวานันท์ ไพโรจน์ ใจสิงห์ เมตตา รุ่งรัตน์ ล้อต๊อก และชูศรี มีสมมนต์ มีคำโปรยว่า "บู๊ระเบิด ฮาบั้น สนุกสุดยอด"


เป็นอินทรีแดงอีกเวอร์ชันหนึ่ง จำไม่ได้ว่าได้ดูหรือเปล่า  ได้ดูแต่"อินทรีแดง" ซึ่งเป็นเวอร์ชันเก่ากว่านั้นครับ



























เพชรตัดเพชร

           เพชร
ตัดเพชร เป็นภาพยนตร์ไทยสร้างจากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต และ ส. เนาวราช
สร้างโดย ปริญญา ทัศนียกุล แห่งบริษัทสหการภาพยนตร์ไทยจำกัด
มีผู้กำกับการแสดงถึง 3 ท่านคือ วิจิตร คุณาวุฒิ
(เจ้าของฉายาเศรษฐีตุ๊กตาทอง) พร้อมสิน สีบุญเรือง (พันคำ)และประกอบ
แก้วประเสริฐ

         เป็นภาพยนตร์ในระบบ 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป
สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม ตามแบบมาตรฐานโลก นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา
ให้มาประกบกับการกลับมาของพระเอกเก่า ลือชัย นฤนาท
เป็นจุดขายอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ และนางเอกคู่ขวัญ เพชรา เชาวราษฎร์
มาร่วมแสดง และมีนักแสดงสาวจากฮ่องกงเรจิน่า ไป่ปิง นอกจากนี้ยังมี เกชา
เปลี่ยนวิถี อดุลย์ ดุลยรัตน์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช พร้อมดาราอีกมากร่วมแสดง

 
       จุดเด่นที่ทำให้หนังโด่งดังมากก็คือ การทำถ่ายด้วยฟิล์ม 35 ม.ม.
แล้วมาบันทึกเสียงพากย์ เสียงแบ็คกราวน์ลงในฟิล์ม
ทำให้มีความสมจริงในเรื่องคุณภาพเสียงซึ่งต่างจากหนัง 16 ม.ม.
ในยุคนั้นที่ใช้การพากย์สดๆ
ฉากวิวทิวทัศน์ของเกาะฮ่องกงก็เป็นที่ตื่นตาตื่นใจคนไทยสมัยนั้น
บทบู๊ก็เล่นได้มันสะใจโดยเฉพาะฉากที่มิตรต่อยกับลือชัย

         
และฉากที่มิตรขับรถยนต์หนีตำรวจ พอรถวิ่งลงน้ำก็แล่นไปได้เหมือนเรือ
ฉากที่มิตรทิ้งขวดเป๊ปซี่เต็มถนนสกัดการติดตามและที่ทุกคนจดจำ และยังมีเพลง
เพชรตัดเพชร ร้องโดย คณะสุเทพโชว์ วงดนตรีซิลเวอร์แซนด์ และเพลงดวงใจ
ร้องโดย สวลี ผกาพันธ์ ซึ่งเป็นเพลงดังของหนังเรื่องนี้

           ภาพยนตร์เรื่องเพชรตัดเพชรออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2509 ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์




       นำกลับมาสร้างใหม่
 
           เพชรตัดเพชรได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2527
โดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับการแสดงโดยสักกะ จารุจินดา นำแสดงโดย สรพงศ์
ชาตรี สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ โกวิท วัฒนกุล เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ สมชาย
สามิภักดิ์ รอง เค้ามูลคดี อัญชลี ไชยศิริ สุพรรณี จิตต์เที่ยง อภิรดี
ภวภูตานนท์ อโนเชาว์ ยอดบุตร
และสร้างใหม่บนหน้าจอโทรทัศน์ในสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อ พ.ศ.
2544 นำแสดงโดย เจตริน วรรธนะสิน อัมรินทร์ นิติพน พัชราภา ไชยเชื้อ และ
กัลยกร นาคสมภพ



















เรื่อง คะนองกรุง ในสมัยโน้นผมจะเรียกติดปากว่า สี่สาวคะนองกรุง
ใจจริงในสมัยเด็กๆ ก็ไม่ได้อยากจะดูเรื่องนี้เลยครับ  แต่ว่าโรงหนังที่ผมดู เป็นโรงหนังชั้นสาม ค่าตั๋วเข้าชมตอนนั้น 5 บาท
ฉายควบกับเรื่อง "สุดหัวใจ" ครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมอยากดูมากๆ เพราะดูจากหนังตัวอย่าง ก็ให้รู้สึกว่าเป็นหนังตลกเบาสมอง

เรื่อง สุดหัวใจ ผมค่อนข้างจะแน่ใจว่าใบปิดหนัง ไม่น่าจะเป็นรูปอย่างนี้นะครับ  จำได้ว่าน่าจะเป็นรูปที่ พระเอก (สมบัติ) ขับรถที่มันขาดกลางไปกับนางเอกนี่แหละ
น่าจะเป็นรูปอย่างนั้นนะ














งู
เก็งกอง เป็นภาพยนตร์เขมรมหากาพย์แห่งความรัก เกี่ยวกับธิดางู ออกฉายในปี
พ.ศ. 2513 นำแสดงโดยดี เศวตและเจีย ยุทธร กำกับโดยเตีย ลิมกุน
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในกัมพูชา
รวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ยังมีภาคต่อ ภาค 2 ที่ได้อรัญญา
นามวงศ์นำแสดงคู่กับดาราเขมร
(ไทยวิกิ)


(ภาพจากเว็บ thaifilm)

เรื่อง
นี้แม้ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติเขมร
แต่ในสมัยเด็กผมได้ดูโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นหนังเขมร
เพราะไม่ว่าจะหนังไทยหรือหนังเขมร
ก็ต้องมีการพากย์ไทยโดยนักพากย์ที่มีชื่อเสียงทั้งนั้น
ก็เลยไม่มีความรู้สึกว่ากำลังดูหนังต่างชาติ แต่ดูแล้วความรู้สึกในสมัยเด็กๆ นั้นคือ สยองและขยะแขยง



เล็บ
ครุฑ สร้างจากอาชญนิยายเรื่องดังของพนมเทียน
เป็นภาพยนตร์แนวจารชนสืบสวนสอบสวนในยุคสงครามเย็นที่มีตัวเอกเป็นนายตำรวจ
ชื่อ "ชีพ ชูชัย" ที่ปลอมตัวเพื่อสืบสวนหาความจริง
นี่เป็นเวอร์ชันที่ฉายในปี 2511
เล็บครุฑ ตอนประกาศิตจางซูเหลียง
นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, พิศมัย วิไลศักดิ์, ปรียา รุ่งเรือง, เกชา เปลี่ยนวิถี, อบ บุญติด



ทรชนคนสวย [2510]
กำกับการแสดงโดย อุบล ยุคล ณ อยุธยา
นำแสดงโดย - มิตร ชัยบัญชา อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา รุจน์ รณภพ แมน ธีระพล สมควร กระจ่างศาสตร์









มงกุฎเพชร

ผู้กำกับ: ส. อาสนจินดา
บทประพันธ์:
นัก แสดง: มิตร ชัยบัญชา, พิศมัย วิไลศักดิ์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, เอื้อมเดือน อัษฎา, ชนะ ศรีอุบล, ทักษิณ แจ่มผล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ชฎาพร วชิรปราณี, ฤทธี นฤบาล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
ระบบถ่ายทำ: ฟิล์ม 16 มม.
วันที่เข้าฉาย: 5 มีนาคม 2508





นักแสดง    :    สมบัติ, เนาวรัตน์, สะอาด, มานพ
ผู้กำกับ    :    ฉลอง ภักดีวิจิตร

ปีที่ออกฉาย   : 2523





เกิดเป็นหงส์ (2509)

    ผู้กำกับ: วิจิตร คุณาวุฒิ
    นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, เอื้อมเดือน อัษฎา, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปริม ประภาพร



 


นกขมิ้น (2508)

ผู้กำกับ: พันคำ
นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์,
ประจวบ ฤกษ์ยามดี, กิ่งดาว ดารณี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิตร




ทับเทวา (2507)

ผู้กำกับ: เนรมิต
นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, พิศมัย วิไลศักดิ์, ภาวนา ชนะจิต,
ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปรียา รุ่งเรือง, วรรณา แสงจันทร์ทิพย์





กัปตันเครียวฉลามเหล็ก [2506]

กำกับการแสดง - คุณาวุฒิ

ดาราแสดงนำ - มิตร ชัยบัญชา,  เมตตา รุ่งรัตน์





สิงห์สันติภาพ (2509)

ผู้กำกับ: ประกอบ แก้วประเสริฐ

นำแสดงโดย: ลือชัย นฤนาท, โสภา สถาพร

เมตตา รุ่งรัตน์, ทม วิศวชาติ, อัญชนา วงศ์เกษม








วิญญาณรักแม่นาค (2505)

ค่าย เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์

ดารานำ - ปรียา รุ่งเรือง


หนังผีไทยคลาสสิค ที่จับเอามาสร้างเมื่อไร ถ้าไม่แหวกกฎเกณฑ์จนหลุดโลกเลยเถิดเกินไป มักทำรายได้เป็นกอบเป็นกำเสมอ

โดยเฉพาะดาราผีคลาสสิคอย่างคุณป้าปรียา รุ่งเรือง แม้ผมจะไม่ได้ทันเกิดดูบทแม่นาคที่ป้าแกเล่นในยุคแรกๆ

แต่ก็ทันได้ดู ซีรีย์แม่นาคทางโทรทัศน์ โดนเฉพาะตอนที่แมวดำข้ามโลงศพแม่นาค แล้วโลงล้มจนศพแม่นาคกลิ้งออกมาจากโลง

บรื๋อออ.. เล่นเอาเป็นเด็กดี (ไม่ยอมออกจากบ้านตอนค่ำ) อยู่พักนึง



ลมเหนือ (2512)

ผู้กำกับ: ดอกดิน กัญญามาลย์
นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์,
อดุลย์ ดุลยรัตน์, แมน ธีระพล, ชฎาพร วชิรปราณี, เมตตา รุ่งรัตน์






แม่ย่านาง (2513)

ผู้กำกับ: เนรมิต
นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, พิศมัย วิไลศักดิ์, โสภา สถาพร, ส.อาสนจินดา




ชื่อเรื่อง : จอมโจรมเหศวร [2513]

เรื่องเดิม : ชีวิตของเสือมเหศวร จากการเรียบเรียงของ พ.ต.ท.ลิขิต วัฒนปกรณ์ และ พร น้ำเพชร

ผู้กำกำกับ : อนุมาศ บุนนาค

ผู้สร้าง : พลสัญห์ ศรีหาผล

ผู้เขียนบท : ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง

ผู้แสดง : มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, แมน ธีระพล, เมตตา รุ่งรัตน์,

เยาวเรศ นิศากร, ชุมพร เทพพิทักษ์, มารศรี อิศรางกูร, มเหศวร เภรีวงษ์ ฯลฯ




อินทรีทอง (2513) (อินทรีแดง)

    ผู้กำกับ: มิตร ชัยบัญชา

    นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, ครรชิต ขวัญประชา, ม.ร.ว.ประสิทธิ์ศักดิ์ พูนสวัสดิ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, สีเทา, ไกร ครรชิต, ทานทัต วิภาตะโยธิน

    บทประพันธ์: เศก ดุสิต

อินทรี ทอง เป็นภาพยนตร์ไทย 35 ม.ม เสียงในฟิล์ม ที่สร้างจาก บทประพันธ์ของ เศก ดุสิต โดย สมนึก เหมบุตร ซึ่งมิตร ชัยบัญชาขอเป็นผู้กำกับการแสดงด้วยตนเองเป็นครั้งแรก มิตร ชัยบัญชา รักและหลงใหลในบท อินทรีแดง อย่างมาก ถึงขนาดยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพื่อให้งานแสดงออกมาสมจริงสมจัง จนเป็นสาเหตุให้มิตรเสียชีวิต ขณะถ่ายทำฉากอินทรีทองโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2513 เวลา 16.21น.

อินทรีทอง ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ที่โรงภาพยนตร์เพชรรามา





เรื่อง : เสือเหลือง [2509]

ผู้กำกับ: รังสี ทัศนพยัคฆ์

ดารา : มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, มิสอันฮวา, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทักษิณ แจ่มผล, อดุลย์ ดุลยรัตน์

เรื่องนี้ ก็เป็นหนังคุณภาพ ที่ได้ ฉลอง ภักดีวิจิตร มาเป็นตากล้องให้ด้วยตนเอง




เรื่อง : 9 เสือ [2510]

ผู้กำกับ :  พันคำ

นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, สุมาลี ทองหล่อ, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์



อัศวินดาบกายสิทธิ์

         อัศวิน ดาบกายสิทธิ์ หรือ อภินิหารดาบทองคำ เป็นภาพยนตร์จีนกำลังภายใน ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา กำกับโดย เฉิน เลียก ปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกง ถ่ายทำที่ฮ่องกงและไต้หวัน

         ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องแรก ที่มิตรร่วมแสดง และเป็นเรื่องเดียวจาก 3 เรื่องที่มิตรร่วมถ่ายทำจนจบก่อนจะเสียชีวิต  มิตรถ่ายภาพยนตร์จีนค้างอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง จอมดาบพิชัยยุทธ (2514) ซึ่งได้เปลี่ยนนักแสดงนำเป็น ลือชัย นฤนาท แสดงต่อ และอีกเรื่องให้ ไชยา สุริยัน แสดงแทน โดยหลังจากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง บ้านสาวโสด มิตรเดินทางไปฮ่องกงพร้อมกับเพชราและคณะ ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เพื่อถ่ายทำปิดกล้อง ก่อนจะกลับมาเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตในวันที่ 8 ตุลาคม ในการถ่ายทำเรื่อง อินทรีทอง

         ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการถ่ายทำเป็นสองเวอร์ชัน มีกว่าง หลิน ดาราชาวฮ่องกง รับบทนางเอกสำหรับฉบับที่ฉายในต่างประเทศ และเพชรา เชาวราษฎร์ รับบทนางเอกสำหรับฉบับที่ฉายในประเทศไทย เดิมทีภาพยนตร์จะใช้ชื่อไทยว่า อภินิหารดาบทองคำ หรือ ดาบอาญาสิทธิ์  แต่เมื่อฉายจริงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อัศวินดาบกายสิทธิ์

        หลังจากมิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต ผู้สร้างได้แก้ปัญหาการถ่ายทำฉากที่ค้างอยู่ โดยใช้นักแสดงสมัครเล่นจากจังหวัดชัยภูมิ ชื่อ ชาติ ชัยภูมิ ซึ่งมีหน้าตาท่าทางคล้ายมิตรมาก มาแสดงแทน




        มิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฎร์ ระหว่างการถ่ายทำ อัศวินดาบกายสิทธิ์ (2513)ซึ่งเป็นชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นทางการ แต่ระหว่างถ่ายทำ ได้ตั้งชื่อ ภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า อภินิหารดาบทองคำ และ เคยกลับมาฉายใหม่ ที่โรงหนังแอมบาสเดอร์ แต่เปลี่ยนชื่อว่า " ฤทธิ์ดาบชัยบัญชา "



นักแสดงนำจาก อัศวินดาบกายสิทธิ์ (2513) เพชรา รับบทนางเอกฉบับไทย และกว่าง หลิน รับบทเดียวกันในฉบับฮ่องกง

อัศวินดาบกายสิทธิ์ (2513)

ผู้กำกับ: เฉิน เลียก ปิน
นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, เถียนเหย่, ซิ เจียง




ดาบคู่สะท้านโลกันต์ (2514)

นำแสดงโดย: ไชยา สุริยัน, เพชรา เชาวราษฎร์, เจียงปิง, หลีสวน, อี้หยวน

ภาพยนต์ เรื่องนี้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ มิตร ชัยบัญชา รับงานแสดงไว้ แต่จากการเสียชีวิตของเขา ทำให้ทางผู้สร้างหนังต้องเปลี่ยนเป้าหมาย

หานักแสดงเข้ามารับงานแทน ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ได้เปิดกล้องไปแล้วหรือยัง ผมได้ทันดูเรื่องนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว  ตอนดูไม่มีความรู้สึกว่ากำลังดูหนังไทยเลยแม้แต่น้อย









จอมดาบพิชัยยุทธ (2514)

กำกับการแสดง : อูเทียนฉือ

นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, ลือชัย นฤนาท, สุทิศา พัฒนุช, ถั่งชิง, เถียนเหย่, ฟ่างหลิน





ศาลาลอย (2515)

ผู้กำกับ: ชุติมา สุวรรณรัตน์

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, โขมพัสตร์ อรรถยา
































เรื่อง - บ้า (2516)

ผู้กำกับ: พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, พิศมัย วิไลศักดิ์, เมตตา รุ่งรัตน์, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, กำธร สุวรรณปิยะศิริ





ดับสุริยา (2519)

ผู้กำกับ: พันธุ์เทพ อรรถไกวัลวที

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, พิศมัย วิไลศักดิ์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, ศิริขวัญ นันทศิริ, ธัญญรัตน์ โลหะนันท์, มานพ อัศวเทพ












สิงห์สั่งป่า (2506)

    ผู้กำกับ: น้อย กมลวาทิน
    นำแสดงโดย: รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สมบัติ เมทะนี, เทียมแข กุญชร ณ อยุธยา, แพร ไพรงาม, ประจวบ ฤกษ์ยามดี















2 พยัคฆ์ (2523)

    ผู้กำกับ: เนรมิต, จิตติน
  นำแสดงโดย: สรพงศ์ ชาตรี, จารุณี สุขสวัสดิ์, ลักษณ์ อภิชาติ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ดวงชีวัน โกมลเสน





ทองประกายแสด (2517)

ผู้กำกับ: รุจน์ รณภพ

นำแสดงโดย: วันทนา บุญบันเทิง, ลักษณ์ อภิชาติ, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, นิรุตต์ ศิริจรรยา, สุริยา ชินพันธุ์, คธา อภัยวงศ์


เรื่อง
ทองประกายแสด ผมถือว่าในยุคของที่ผมได้ทัน เขาถือว่าเป็นหนังผู้ใหญ่ เด็กๆ
อย่างผมดูไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็ได้เอามาฉายทางทีวีเหมือนกัน

จริงๆ
แล้ววันทนา บุญบันเทิง เธอก็แสดงหนังซีรีย์ประจำช่อง 7 อยู่เหมือนกัน
ละครที่เธอเล่น เธอก็เป็นนางเอกเหมือนกัน เป็นละครประเภทจักรๆ วงศ์ๆ

โดย
เล่นประจำวันอังคาร ถ้าจำไม่ผิดก็คงจะเป็นสังกัดของวิเชียร นิลลิกานนท์
หรือไงนี่แหละ เธอแสดงโดยใช้ชือว่า พรพรรณ วัลยา นะถ้าจำไม่ผิด
ซึ่งดาราดังๆ

ที่ร่วมแสดงละครประจำวันอังคารของช่อง 7 เราก็คุ้นๆ
กันหลายครับ เช่น คม อัครเดช, ลักษณ์ อภิชาติ, ทักษิณ แจ่มผล, วิเชียร
นิลลิกานนท์





เจ้าแม่สไบทอง (2513)

ผู้กำกับ: วินิจ ภักดีวิจิตร

นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ปริม ประภาพร, ฤทธี นฤบาล, ชุมพร เทพพิทักษ์


ไม่
แน่ใจว่า เรื่องนี้ได้ผ่านหูผ่านตาผมาบ้างหรือไม่ เพราะต้องยอมรับกันว่า
หนังผีไทยในสมัยก่อน สร้างออกมาแบบสยองขวัญไม่ใช่ย่อย
ใส่มุขตลกไม่มากเหมือนปัจจุบัน

จนหนังสยองขวัญผีไทยกลายเป็นหนังตลกไปหมด




น้อยใจยา (2509)

ผู้กำกับ: ดอกดิน กัญญามาลย์

นำแสดงโดย: ไชยา สุริยัน, เพชรา เชาวราษฎร์, ทักษิณ แจ่มผล, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, ดอกดิน กัญญามาลย์, น้ำเงิน บุญหนัก


เนื่อง
ได้ภาพเก็บไว้ โดยไม่มีชื่อหนัง ก็เลยหาอยู่นานว่าเรื่องนี้
คือใบปิดของภาพยนตร์เรื่องอะไรกันแน่  เห็นชื่อของ "ธม ธาตรี"
ซึ่งเป็นนามปากกาเดิมของ เชิด ทรงศรี
เล่นเอาหลงประเด็นหาข้อมูลผิดไปเลย  คิดไม่ถึงว่านี่เป็นหนังของดอกดิน กัญญามาลย์






สมิงสาว [2506]

กำกับการแสดง - น้อย กมลวาทิน

นำแสดงโดย - รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สมบัติ เมทะนี, และพร้อมด้วยดาราตลก ที่หลายท่านเกิดไม่ทันดู


ไม่
ใช่ว่าจะประชดประชันอะไร สำหรับการเกิดไม่ทันได้ดูเรื่องนี้ครับ 
เพราะดาราใหญ่อย่างป้ารัตนาภรณ์ ตอนที่ผมทันได้ดู ก็รับบทเป็นดาราอาวุโส
(ระดับอายุกลางคน)

อย่างเรื่อง "ลูกคนยาก" ซีรีย์ช่อง 7 ที่มีสุริยา
ชินพันธ์ เป็นพระเอก มีป้ารัตนาภรณ์ เป็นแม่พระเอกนี่ ก็ยังพอทันได้ดู
แต่เรื่องที่ป้าเป็นนางเอก ยังไม่ทันได้เห็นจริงๆ ซักเรื่อง





ป้อมปืนตาพระยา (2511)

ผู้กำกับ: ส.อาสนจินดา

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, เกชา เปลี่ยนวิถี, ชนะ ศรีอุบล, โสภา สถาพร, เมตตา รุ่งรัตน์


เรื่องนี้ ผมเข้าใจว่าน่าจะสร้างไว้ก่อนที่เขมร จะถูกเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งประเทศ  แต่ที่ตาพระยา จ.ปราจีนฯ (ตอนนั้น)

มัก
จะเป็นจุดล่อแหลมต่อการปะทะทั้งในฐานะอำเภอติดชายแดนระหว่างประเทศ
และในฐานะเมืองเถื่อนที่พวกนอกกฎหมาย หรือหลบหนีคดีทางการชอบกันนัก

จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว





เสือภูพาน (2512)

    ผู้กำกับ: วินิจ ภักดีวิจิตร

    นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวส


หนัง
บู๊ๆ ของไทยในสมัยก่อน มักจะใช้โลเกชันอ้างอิงเป็นพื้นที่ที่เรียกกันว่า
สีแดงบ้าง สีชมพูบ้าง (ไม่เกี่ยวกับกีฬาสีปัจจุบันนะครับ)

เพราะ
พื้นที่ดังกล่าว มักถูกแทรกแซง สอดแนวความคิดการปกครองอีกแบบหนึ่ง
เป็นการต่อสู้ทั้งทางการปกครอง
และแนวความคิดทางเมืองที่ต้องการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงอินโดจีนตามทฤษฎีโดมิโน่

การขัดแย้งจะเป็นอย่างไรก็ช่างเถอะ มันผ่านไปแล้ว แต่เรื่องราวความขัดแย้งนั้นก็สามารถก่อให้เกิดหนังบู๊ได้หลายๆ เรื่อง




ระห่ำลำหัก (2518)

    ผู้กำกับ: วิจารณ์ ภักดีวิจิตร

    นำแสดงโดย: พิศมัย วิไลศักดิ์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, โสภา สถาพร, สายัณห์ จันทรวิบูลย์























สวนสน (2515)

ผู้กำกับ: เนรมิต, ชาลี อินทรวิจิตร

นำแสดงโดย: พิศมัย วิไลศักดิ์, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ช้องมาศ ภุมรา, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปริม ประภาพร





เทพบุตรจอมโกง (2514)

    ผู้กำกับ: ณัฐ อรุณฤทธิ์

    นำแสดงโดย: ครรชิต ขวัญประชา, อรัญญา นามวงศ์, ภูมิ เพชรพนม, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร, สมพงษ์ พงษ์มิตร



[/url]

ตะวันหลั่งเลือด (2506)

กำกับการแสดง : ทวี ณ บางช้าง

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, บุศรา นฤมิตร, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, แมน ธีระพล


*** ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นหนังบู๊เปิดตัวเรื่องแรก ของสมบัติ เมทะนี ในระบบ 35 มม. เสียงในฟิล์ม ***





กำแพงเงินตรา (2513)

    ผู้กำกับ: รังสี ทัศนพยัคฆ์

    นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สมพงษ์ พงษ์มิตร


เรื่อง ราวที่ว่าด้วยการมีลูกสาวสวย ผู้เป็นพ่อต้องไว้หนวดและเจ้าชู้มากเมีย ก็ต้องเพลียหัวใจกำนันสิงห์ (ล้อต๊อก) ผู้แสนดุและร่ำรวยด้วยเงินตรา มีลูกสาวแสนสวยคือ เพชรา เชาวราษฏร์ และ มิสอันฮวา ก็ต้องหวงเป็นธรรมดา แต่มีหรือที่ มิตร ชัยบัญชา จะหวั่นเกรง ก็เธอทั้งสวยแถมรวยถึงมีพ่อแสนดุ เขาก็ต้องฟันฝ่ากำแพงเงินตราและพ่อตาที่น่ากลัวเพื่อคว้าหัวใจเธอมาครองให้ ได้




เสือข้ามแดน (2508) ชื่ออื่น... ร้อยป่าภาคพิเศษ

    ผู้กำกับ: เนรมิต

    นำแสดงโดย: มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พันคำ, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ประมินทร์ จารุจารีต







นางไม้ (2508)

    ผู้กำกับ: ประทีป โกมลภิส

    นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, ภาวนา ชนะจิต, เมตตา รุ่งรัตน์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สิงห์ มิลินทราศัย, ไสล พูนชัย





ลูกยอด (2514)

    ผู้กำกับ: จารุกร

    นำแสดงโดย: เพชรา เชาวราษฎร์, โสภา สถาพร, กรุง ศรีวิไล, ชุมพร เทพพิทักษ์, ประมินทร์ จารุจารีต


ใน ปี 2514 ซึ่งเป็นช่วงที่มิตรเสียชีวิต บรรดาผู้สร้างหนังต่างก็พากันปั้นพระเอกใหม่กันอย่างคึกคัก และ กรุงก็คือหนึ่งในจำนวนนั้น ชื่อ กรุง ศรีวิไล เป็นชื่อพระเอกในนิยายเรื่อง ลูกยอด ของอรวรรณ ที่ถูกนำไปใช้เป็นชื่อของพระเอกใหม่ไปด้วยนั่นเอง

** ภาพนี้ได้มาจากเว็บไทยฟิลม์ครับ






จระเข้ (2523)

ดาราแสดง - นาท ภูวนัย มานพ อัศวเทพ


เรื่อง นี้ ไม่ได้ตามข้อมูลว่า ท่านใดเป็นผู้กำกับการสร้าง  ในใบโฆษณาบอกว่าทุ่มทุนสร้างถึง 15 ล้าน โดยการร่วมมือกันระหว่างประเทศถึง 5 ชาติ

ผมว่าทำได้ดีไม่แพ้ โคตรไอ้เคี่ยมนะ



เรื่อง - กระเบนธง (2509)

กำกับการแสดง - ส. อาสนจินดา

 นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, ชนะ ศรีอุบล, โสภา สถาพร, อดุลย์ ดุลยรัตน์, รุจน์ รณภพ, ชุมพร เทพพิทักษ์




8 เหลี่ยม 12 คม (2519)

กำกับการแสดง - พยุง พยกุล

นำแสดงโดย - สมบัติ เมทะนี, นาท ภูวนัย, ไพโรจน์ ใจสิงห์, นัยนา ชีวานันท์, ปริศนา ชบาไพร, รุ้งลาวัลย์





     เสือน้อย (2523)

    ผู้กำกับ: พร ไพโรจน์

    นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, สรพงศ์ ชาตรี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, วิยะดา อุมารินทร์, นิรุตต์ ศิริจรรยา, มานพ อัศวเทพ



เรื่องนี้ ทันได้ดูครับ เพราะยังจำได้ว่า ในสมัยพวกวิกหนังเร่  ไปเปิดฉายเก็บตังค์ราคาถูกในบ้าน บัตรผ่านประตู 5 บาท

แต่ก็ยังไม่วาย  หึหึหึ  แอบมุดรั้วไปดูฟรีจนได้




ขังแดง (2524)

ผู้กำกับ: วินิจ ภักดีวิจิตร

นำแสดงโดย: ปิยะมาศ โมนยะกุล, สรพงศ์ ชาตรี, นพพล โกมารชุน, นิศา แสงศิลป์, ฉวีวรรณ บุญปรก, สุพรรณี จิตต์เที่ยง


ไม่ ได้ดูเองนะครับเรื่องนี้  เห็นว่าสร้างครั้งแรกในปี 2517 ในชื่อขัง 8 ในปี 2524 ดูข้อมูลจากวิกิฯ ก็ยังเขียนว่าขัง 8 แต่ในใบปิดกลับเป็นขังแดง






เทวดาเดินดิน (2519)

    ผู้กำกับ: ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

    นำแสดงโดย: สรพงศ์ ชาตรี, วิยะดา อุมารินทร์, ต่อลาภ กำพุศิริ, น้ำเงิน บุญหนัก, บู๊ วิบูลย์นันท์, กิตติ ดัสกร





อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527)

ผู้กำกับ: ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

นำแสดงโดย: สรพงศ์ ชาตรี, วิชชุดา มงคลเขตร์, สุเชาว์, ไกรลาศ,



ชีวิต หลังการติดคุกมันเปรียบเสมือนตราบาปที่คอยตัดสินชะตาชีวิตให้ ทองพูน โคกโพ ต้องพบกับการดูถูกดูแคลนจากสภาพสังคมภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนทางที่จะเป็นคนดีของสังคมช่างยากลำบาก สำหรับไอ้ขี้คุกขี้ตะรางอย่างเขาทั้งๆ ที่พยายามดิ้นรน เพื่อค้นหาอิสรภาพและการยอมรับจากสังคมให้ได้ สถานการณ์ได้บีบบังคับให้เขาต้องกลับมาหยิบปืนฆ่าคนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มันคือบทพิสูจน์ของความดีครั้งสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเค้าต้อง เปลี่ยนไป





อัศวิน 19 (2519)

กำกับการแสดง - ส.อาสนจินดา

แสดงโดย - กรุง ศรีวิไล,  อรัญญา นามวงศ์,  นิรุตติ์ ศิริจรรยา,  เรวดี  ปัตตะพงษ์,







โทน (2513)

    ผู้กำกับ: เปี๊ยก โปสเตอร์

    นำแสดงโดย: ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จารุวรรณ ปัญโญภาส, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, สังข์ทอง สีใส


โทน เป็นภาพยนตร์ไทย เรื่องแรกที่กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ เข้าฉายเมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ระบบถ่ายทำ ฟิล์ม 35 มม. สี นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จารุวรรณ ปัญโญภาส, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, สังข์ทอง สีใส มีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย ดิ อิมพอสซิเบิ้ล และ สังข์ทอง สีใส ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ทำให้สังข์ทองเป็นดาราชื่อดังและได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่สร้างปรากฏการณ์ เขียนบทให้นางเอกโดนข่มขืน

โทน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ผู้สร้างตั้งใจจะหนีจากคำประณามที่ว่าหนังไทยน้ำเน่า เปี๊ยก โปสเตอร์ กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ลูกแรกของหนังไทยสมัยใหม่และกลายเป็นผู้สร้างหนังไทย ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน 2 ทศวรรษต่อมา

โทน เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ สุวรรณฟิล์ม ที่สร้างเพื่อเปลี่ยนยุคหนัง 16 มม. สู่มาตรฐานโลก โดยให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ เขียนบทหนังและกำกับการแสดงครั้งแรกในชีวิต แม้ว่าเงินทุนสร้างจะบานปลายและถูกติงเรื่องการเลือก ไชยา สุริยัน มาเป็นพระเอกและยังนำดาราหน้าใหม่ๆมาแสดง จนสายหนังไม่กล้าซื้อในช่วงแรก แต่ทีมงานสุวรรณฟิล์มก็ฝ่าฟันและทำภาพยนตร์ออกมาจนสำเร็จ เมื่อออกฉาย ปากต่อปาก บอกต่อในเรื่องความมีเหตุผลของบทหนัง และยังมีเพลงไพเราะ 7 เพลง ซึ่งร้องโดย สังข์ทอง สีใส และวงดิอิมพอสซิเบิ้ล เป็นแรงส่งช่วยให้หนังมีความสมบูรณ์มากขึ้นจนสามารถทำรายได้สูงถึง 6 ล้านบาท พลิกประวัติศาสตร์หนังไทยในยุคนั้น





มนุษย์หมาป่า (2530)

    ผู้กำกับ: สมหมาย คำสอน

    นำแสดงโดย: สรพงศ์ ชาตรี, นีรนุช อติพร, ชุติมา กาวินละ, อภิรัตน์ มณีรัตน์, มัลลิกา สมบัติเจริญ, ไพโรจน์ ใจสิงห์





พระรถเมรี (2524)

    ผู้กำกับ: เนรมิต

    นำแสดงโดย: ทูน หิรัญทรัพย์, สุพรรษา เนื่องภิรมย์, อำภา ภูษิต, ดามพ์ ดัสกร, รณ ฤทธิชัย, ดวงชีวัน โกมลเสน






ลูกเจ้าพระยา (2520)

    ผู้กำกับ: ชรินทร์ นันทนาคร

    นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, เพชรา เชาวราษฎร์, สุริยา ชินพันธุ์, ปิยะมาศ โมนยะกุล, ประจวบ ฤกษ์ยามดี






รักข้ามขอบฟ้า (2514)

ผู้กำกับ: ส. อาสนจินดา

นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร






ยอดมวยสยาม (2516)

นำแสดงโดย : ดวงดาว จารุจินดา, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ฟางเหย่, อภิเดช ศิษย์หิรัญ, โขมพัสต์ อรรถยา, บาหยัน พันธุ์โสภา





คนภูเขา (2522)

    ผู้กำกับ: วิจิตร คุณาวุฒิ

    นำแสดงโดย: มนตรี เจนอักษร, วลัยกร เนาวรัตน์, สุภาวดี เทียนสุวรรณ, พิสิษฐ์ อนุชิตชาญชัย, เพชรรัช อินทรกำแหง, โรเบิร์ต คีธ







วัยตกกระ (2521)

    ผู้กำกับ: ชนะ คราประยูร

    นำแสดงโดย: สรพงศ์ ชาตรี, ทาริกา ธิดาทิตย์, สมภพ เบญจาธิกุล, นิรุตต์ ศิริจรรยา, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชูศรี มีสมมนต์





ความรักครั้งสุดท้าย (2518)

    ผู้กำกับ: ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

    นำแสดงโดย: ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์, สรพงศ์ ชาตรี, สมภพ เบญจาธิกุล, วิทยา ศุภพรโอภาส





เสน่ห์บางกอก (2509)

    ผู้กำกับ: วิจิตร คุณาวุฒิ

    นำแสดงโดย: ภาวนา ชนะจิต, พร ภิรมย์, พยงค์ มุกดา, จิราวรรณ รุทธศิริ







แผลเก่า (2520)

กำกับการแสดง : เชิด ทรงศรี

นักแสดง : สรพงษ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง, ส.อาสนจินดา, ชลิต เฟื่องอารมณ์, เศรษฐา ศิระฉายา, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ    


  เนื้อ เรื่องย่อ: สร้างจากบทประพันธ์คลาสสิกของ ไม้ เมืองเดิม เรื่องราวความรักของ ไอ้ขวัญ กับ อีเรียม ที่สุดท้ายกลายเป็นโศกนาฏกรรม ณ ปลายทุ่งคุ้งน้ำบางกะปิ ทำสถิติรายได้สูงสุดเมื่อออกฉายครั้งแรก ลบสถิติภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เข้าฉายในเวลานั้นทั้งไทยและเทศ นอกจากนี้ “แผลเก่า” ยังได้ไปประกาศศักดาของภาพยนตร์ไทยโดยคว้ารางวัลชนะเลิศจากงานประกวด ภาพยนตร์ ณ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2524 และเป็นภาพยนตร์ไทยที่ถูกเรียกร้องให้นำกลับมาฉายใหม่บ่อยที่สุดเรื่องหนึ่ง





อุกาฟ้าเหลือง (2523)

    ผู้กำกับ: ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล

    นำแสดงโดย: ยมนา ชาตรี, อรวรรณ เชื้อทอง, ส.อาสนจินดา, กิตติ ดัสกร, เตือนตา ตรีมงคล, โสธร รุ่งเรือง






เลือดสุพรรณ (2524)

ผู้กำกับ - เชิด ทรงศรี

นำแสดงโดย - ไพโรจน์ สังวริบุุตร,  ลลนา สุลาวัณย์, ส อาสนะจินดา








สันติ-วีณา (2497)

กำกับการแสดงโดย : มารุต

นำแสดงโดย : พูนพันธ์  รังควร,  เรวดี  ศิริวิไล


สันติ-วีณา เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 ระบบ 35 ม.ม. ไวด์สกรีน สีอีสต์แมน เสียง(จริงขณะถ่ายทำ) ผลงานชิ้นแรกของบริษัท หนุมานภาพยนตร์ โดย รัตน์ เปสตันยี ซึ่งเป็นทั้งผู้อำนวยการ ถ่ายภาพ และ ลำดับภาพ สร้างเพื่อส่งประกวด ในงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2497 บทประพันธ์โดย โรเบิร์ด จี นอร์ท เขียนบทโดย คุณาวุฒิ กำกับโดย มารุต และบันทึกเสียงโดย ปง อัศวินิกุล

จุด เด่นนอกจากเรื่องราวของความรักแล้ว การถ่ายภาพเพื่อแสดงวิถีชีวิตในชนบทไทยยังงดงามตื่นตา สะท้อนความเชื่อทางสังคม ขนบประเพณีและศาสนา เคยฉายทางโทรทัศน์ปลายยุคทีวีขาวดำ และทางช่อง 7 สี ช่วงแรกของสถานี ต่อมาฟิล์มต้นฉบับเรื่องนี้หายสาบสูญไป

บทความในนิตยสาร investor ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 กล่าวว่าอาจจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดที่มีการสร้างมา สิ่งที่เกิดเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น

สร้าง ใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2519 กำกับโดย มารุต เช่นเดิม นำแสดงโดย นาท ภูวนัย, นัยนา ชีวานันท์, สมภพ เบญจาธิกุล และ พูนพันธ์ รังควร รับบทเป็นพ่อ

        สันติ-วีณา เป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรม เพื่อผูกมิตรกับประเทศสังคมนิยมในขณะนั้น ในช่วงเวลานั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายที่จะถ่วงดุลทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา ที่พยายามเข้ามาแผ่อำนาจเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แม้ทางไทยจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากอเมริกา แต่ก็พยายามที่จะเป็นมิตรกับประเทศในภูมิภาคอย่างโซเวียตด้วย เมื่องทางสถานทูตรัสเซียขอซื้อภาพยนตร์ สันติ-วีณาไปฉาย เนื่องจากมีรางวัลที่ญี่ปุ่นการันตี ทางรัฐบาลไทยก็ยินดี และข่าวที่เผยแพร่ออกมาเป็นรูปแบบของการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม และเป็นไปในรูปของเอกชน

หลังจาก สันติ-วีณา ไปฉายในต่างประเทศแล้ว วงการภาพยนตร์ไทยก็มีแนวโน้มถ่ายทำในระบบ 35 มม. มากขึ้น เพื่อสะดวกในการนำไปฉายในต่างประเทศ ต่อมารัสเซียติดต่อซื้อภาพยนตร์ 16 มม. เช่น สาวเครือฟ้า ศรีปราชญ์ (เนื่องจากช่วงนั้นส่วนใหญ่ยังนิยมถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.)

         ภาพยนตร์ได้รับรางวัลจากการประกวดที่ประเทศญี่ปุ่น 3 รางวัล คือ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ) และรางวัลพิเศษเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ จากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา สำหรับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น และได้ไปฉายประกวดในงานชุมนุมสัปดาห์ภาพยนตร์เอเชีย (Asian Film Week) ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2500

ภาย หลังการประกวด รัตน์นำฟิล์มต้นฉบับของภาพยนตร์กลับประเทศไทย แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์ จึงจำเป็นต้องทิ้งฟิล์มเนกาทีฟไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะส่งกลับไปเก็บรักษาที่ห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ แต่ก็เกิดอุบัติเหตุ ฟิล์มภาพยนตร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งทางเรือ ทำให้ฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา” ไม่มีฟิล์มเนกาทีฟหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย แต่มีหลักฐานว่าเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทาง สหภาพโซเวียต และ สาธารณรัฐประธิปไตยประชาชนจีน ได้ซื้อก๊อปปี้ไปฉาย จึงอาจจะยังหลงเหลือฟิล์มภาพยนตร์เหลืออยู่ในโลกก็เป็นได้






สันติ วีณา (2519)

    ผู้กำกับ: มารุต

    นำแสดงโดย: นาท ภูวนัย, นัยนา ชีวานันท์, สมภพ เบญจาธิกุล, มารศรี (สันติ วีณา), เสถียร ธรรมเจริญ, จวง (สันติ วีณา)







นางละคร (2512)

    ผู้กำกับ: ส.อาสนจินดา

    นำแสดงโดย: พิศมัย วิไลศักดิ์, สมบัติ เมทะนี, นฤพนธ์ ดุริยะพันธ์, โรจนา พรเมธา





เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)

    ผู้กำกับ: ภรณี สุววรณทัต

    นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี, เพชรา เชาวราษฎร์, เทิ่ง สติเฟื่อง, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ท้วม ทรนง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม




 

ภูตพิศวาส (2523)

ผู้กำกับ: แสนยากร และ เมตตา

นำแสดงโดย: จตุพล ภูอภิรมย์,  เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ล้อต๊อก, ชูศรี, สีเทา, วิยะดา อุมารินทร์







เรื่อง : อ้อมอกเจ้าพระยา (2515)

กำกับโดย : ร้อยคำ

นำแสดงโดย : ยอดชาย เมฆสุวรรณ, อรัญญา นามวงศ์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จีราภา ปัญศิลป์, จินฟง


เรื่อง ราวของ "กล้า" กัปตันเรือสินค้า พบรัก "เซาะไน" หญิงชาวจีนในฮ่องกงซึ่งเธอแอบหนีเตี่ยมาใช้ชีวิตตามลำพังเมื่อเตี่ยมาตามจึง พาเธอกลับไป โดยที่กล้าไม่รู้สาเหตุกล้าเสียใจกลับมากรุงเทพก็ลาออกจากงาน เซาะไนก็เสียใจเธอจึงหนีเตี่ยมาตามหากล้าที่เมืองไทย

ขณะเธอนำรูป ถ่ายกล้าเที่ยวถามคนไปทั่วเธอก็ถูกชายคนหนึ่งหลอกไปปล้ำหมายข่มขืน แต่เคราะห์ยังดีมีคนมาช่วยให้หนีรอดมาได้ จากนั้นก็คิดฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงน้ำ "จิระพร" มาห้ามเธอไว้และได้พาเธอมาอาศัยอยู่บ้าน "เก่ง" เพื่อนชายของจิรพร เมื่อได้เห็น เซาะไน ก็คิดรักต่อมาเขารู้ความจริงว่าเซาะไนมาตามหากล้าพี่ขายของเขาเองในที่สุด เซาะไนได้พบกันกล้าอีกครั้ง เป็นครั้งที่ทั้งสองคนสมหวังที่สุดในชีวิต



เรื่อง ดวง ไม่ใช่ภาพยนตร์สะท้อนสังคมอะไร เหตุเพราะเนื้อหานั้น จับเอาแต่สิ่งเล็กสิ่งน้อยในสังคมมายำรวมกัน "ดวง" ..เป็นหนังที่ท้าทายเปี๊ยก โปสเตอร์มากเสียยิ่งกว่าเรื่อง "โทน" เหตุเพราะ "โทน" ล้วนได้นักแสดงชั้นนำ แต่เรื่อง "ดวง" เอาดารานำ ซึ่งเป็นดาราใหม่ทั้งคู่ ...จึงต้องพิถีพิถันในการกำกับอย่างมาก เพราะการที่จะสร้างดาราใหม่ให้โด่งดังไปคู่กับภาพยนตร์เรื่องแรกที่แสดงไม่ ใช่เรื่องง่าย ในสมัยนั้น เป็นอะไรที่ยากมาก แถมองค์ประกอบของเรื่อง ก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เหมือนดั่งบทประพันธ์ที่ออกวางจำหน่าย

แต่ถ้าใครได้ดูเรื่อง ดวง จะเห็นถึง ความแปลกใหม่ของภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ฉาก ไตเติ้ล มุมกล้อง (เช่นเอากล้องไปวางติดกับโช๊ค-ล้อหน้าของมอเตอร์ไซค์ เพื่อถ่ายฉาก ล้อหมุน-ของรถสิบล้อ คันที่พาดวงเข้ากรุง และฉากการขับรถไล่ตามกันต่างๆ) รวมไปถึงการตัดต่อ ที่ดูจะรวบรัดกลมกลืนได้ดีว่าเรื่องโทน แถมยังมีการนำเอาธรรมชาติสวยงามมาใส่ในหนังมากกว่าไปถ่ายในโรงถ่าย หลังจากที่เรื่อง ดวง เข้าฉายต้อนรับปีใหม่ 2515 ในวันที่ 29 ธันวาคม 2514 ปรากฎว่ารายได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุน พอมีกำไรนิดหน่อย แต่สิ่งที่เปี๊ยก โปสเตอร์ได้กับเรื่องนี้ก็คือความเชื่อมั่นในการทำหนังสวนกระแสหนังไทยเพิ่ม มากขึ้น








เงาะป่า (2523)

    ผู้กำกับ: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล, เปี๊ยก โปสเตอร์

    นำแสดงโดย: จตุพล ภูอภิรมย์, ศศิธร ปิยะกาญจน์, ภิญโญ ปานนุ้ย


        เงาะ ป่า เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 บทภาพยนตร์นั้นดัดแปลงจาก บทพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ร่วมกับอัศวินภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นำแสดงโดย จตุพล ภูอภิรมย์ รับบท ซมพลา,ศศิธร ปิยะกาญจน์ รับบท ลำหับ,ภิญโญ ปานนุ้ย รับบท ฮเนาและ ปู จินดานุช รับบท คนัง โดยมี หม่อมปริม บุนนาค และ คุณเกียรติ เอี่ยมพึ่งพร เป็นผู้อำนวยการสร้าง ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้จตุพลได้รับรางวัล ตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2523 แต่เขามารับรางวัลไม่ได้เนื่องจากเสียชีวิตไปก่อน

     เรื่องราวของหนึ่งหญิงสองชายชาวป่า ตอนเริ่มต้นกล่าวว่าได้เค้าเรื่องจากคำบอกเล่าของยายลมุด หญิงเฒ่าชาวเงาะ เมืองพัทลุง แล้วดำเนินเรื่องว่า คนัง (ปู จินดานุช) เงาะชาวพัทลุงกำพร้าพ่อแม่ อยู่กับพี่ชายชื่อ แค วันหนึ่งคนังชวนเพื่อนชื่อ ไม่ไผ่ ไปเที่ยวป่าพบ ซมพลา (จตุพล ภูอภิรมย์) เงาะหนุ่ม ล่ำสันแข็งแรง เก่งในทางใช้ลูกดอก ซมพลาหลงรัก ลำหับ (ศศิธร ปิยะกาญจน์) พี่สาวไม่ไผ่ ลำหับ เป็นคู่หมั้นของ ฮเนา (ภิญโญ ปานนุ้ย) ซมพลาได้พบไม้ไผ่ก็ดีใจ สอบวิธีเป่าลูกดอกให้ไม้ไผ่และคนัง ซมพลาเผยความในใจที่มีต่อลำหับให้ไม้ไผ่ฟัง ไม้ไผ่เต็มใจช่วย ออกอุบายให้ซมพลาได้พบกับลำหับ ลำหับยินดีรับรักซมพลา พอถึงวันแต่งงานของฮเนากับลำหับ ไม้ไผ่กับคนังได้ช่วยซมพลาพาลำหับหนี ฮเนากับรำแก้ว พี่ชายออกติดตาม ซมพลานำลำหับไปซ่อนไว้ในถ้ำแล้วออกไปหาอาหาร พบฮเนาเข้าเกิดต่อสู้กัน รำแก้วเข้าช่วยน้องชาย ใช้ลูกดอกเป่าถูกซมพลา ลำหับเห็นซมพลาหายไป จึงออกตามหา พบซมพลาขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา ก็เสียใจฆ่าตัวตายตาม ฮเนาได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ รู้ตัวว่าเป็นเหตุให้ทั้งสองต้องเสียชีวิต จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายตามไปด้วย




เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523)

    ผู้กำกับ: ปกรณ์ พรหมวิทักษ์

    นำแสดงโดย: ปิยะ ตระกูลราษฎร์, วัลลภา วรรณพร, สิงห์ มิลินทราศัย, สุพรรณ บูรณพิมพ์, สยมภู ทศพล, ต้น โตมร








เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 31

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112919027 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :พีเพิลนิวส์ , AntonGeods , เอก , GermanFoup , Carlosincof , autogNer , Pojja , Tongkam , กิต , H.Teo ,