Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
หนังฝรั่งในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
----> ภาพยนตร์ยุค 80 ที่เข้ามาฉายในบ้านเรา (พ.ศ. 2523-2532).. 3/2/2559 11:32
-เกี่ยวกับห้องหนังฝรั่ง.. 27/1/2557 15:21
-บทวิจารณ์ภาพยนตร์ Saturday Night Fever และ กรีส (Grease) .. 13/1/2556 14:20
-บทวิจารณ์ฉบับเต็ม ของภาพยนตร์คลาสิค ยอดเยี่ยมแห่งยุค CINEMA PARADISO.. 26/12/2555 12:22
----> ภาพยนตร์ที่เข้ามาฉายในบ้านเรา ยุค 90 ... ภาค 1 (พ.ศ. 2533).. 29/6/2555 11:05
-HorizonAmericanSaga 2024ยังไม่มีคนตอบ
-Sisu สิสู้…เฒ่ามหากาฬยังไม่มีคนตอบ
-โปรแกรมภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 100 ปี วอร์เนอร์ บราเธอร์สยังไม่มีคนตอบ
-the fabelmans.. 26/2/2566 14:51
-ดิ่งน่านฟ้าเดือดเกาะนรก .. 18/1/2566 12:01
-AVATAR 2 The Way of Water 4K HDR ยังไม่มีคนตอบ
-INDIANA JONES 5ยังไม่มีคนตอบ
-The Little Mermaidยังไม่มีคนตอบ
-Elvis.. 28/6/2565 20:29
- Willow ศึกแม่มดมหัศจรรย์ 2022ยังไม่มีคนตอบ
-JurassicWorldDominion จูราสสิคเวิลด์ทวงคืนอาณาจักร.. 11/2/2565 13:54
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 790

โรมรำลึก (Roman Holiday)หนังรักโแมนติกแห่งปีพ.ศ.2496 ที่คงความคลาสิคตลอดกาล.



         กระทู้นี้ขอเอาใจ..เหล่าส.ว.ทั้งหลายที่เกิดทันและได้รับชมหนังคลาสิคเรื่องนี้ที่คงความคลาสิคดูกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ..แม้ว่าจะเป็นหนังขาวดำไม่ใช่หนังสี..เรื่องของเรื่องก็คือเฮียแอ๊ดผู้วิปลาสหนังดังในอดีต..แกไปเจอม้วนวีดีโอของซีวีดีที่มีเสียงพากย์อมตะของทีมเสียงเอกในอดีตที่พากย์เสียงไทยของหนังเรื่องนี้เอาไว้..และมีผู้ที่ชื่นชอบหนังเรื่องนี้ที่ลงทุนสั่งซื้อแผ่นบลูเรย์จากนอกของหนังเรื่องนี้ส่งแผ่นไปให้เฮียแอ๊ดโมใส่เสียงไทยและแปลงเป็นแผ่นดีวีดี...ซึ่งหนังเรื่องนี้แม้ผมจะเกิดไม่ทันปีที่ออกฉาย..แต่ก็ได้มีโอกาสรับชมจากทางทีวีช่องสามที่นำกลับมาฉายให้ชมกันในอดีต..ยังประทับใจในความอมตะและความน่ารักของนางเอก ออเดย์.. แฮปเบิร์น ดารานำของหนังเรื่องนี้อยู่มิรู้คลาย..ก็เลยให้เฮียแอ๊ดส่งแผ่นบลูเรย์พร้อมเสียงไทยจากม้วนวีดีโอเทปมาที่ผมเพื่อจะทำการโมลงแผ่นบลูเรย์ให้เสร็จสมบูรณ์...ซึ่งน่าจะตรงประสงค์กับความวิปลาสของเฮียแอ๊ด.พอดี..ซึ่งถ้ามีหนังดังในอดีตที่โดนใจและมีไฟล์เสียงพากย์ไทยยุคเสียงเอกที่พากย์เอาไว้.รวมทั้งตัวผมเองมีไฟล์บลูเรย์เก็บเอาไว้อยู่แล้ว..ก็คงจะไม่พลาดที่จะโมใส่เสียงไทยลงในไฟล์บลูเรย์ให้เสร็จสมบูรณ์ตามความประสงค์ของเฮียแอ๊ดและอีกหลายๆคนที่ชื่นชอบหนังดังในอดีต..ซึ่งมีหลายๆเรื่องที่มีคิวจะทยอยนำมาใส่เสียงไทย อาทิ.ยอดคนแดนเถื่อน, ล่องแก่งธนูเลือด,โลกบ้าๆบอๆ., ราชสีห์ดินระเบิด,แข่งบันลือโลกฯลฯ เป็นต้น..หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมอย่างไร..ก้จะมานำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในหน้ากระทู้นี้อีกครั้งครับ.โปรดติดตาม..


+

ความเห็น

[1]


สำหรับคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทัน.และยังไม่ทราบรายละเอียดในข้อมูลของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า.มีความอมตะและคคลาสิคอย่างไร?..ผมขออนุญาตนำบทวิจารณ์และบทความของภาพยนตร์เรื่องนี้ของ ท่านอาจารย์ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดัง.ที่ให้รายละเอียดและข้อมูลภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเยี่ยมยอด.นำเสนอให้เพื่อนๆสมาชิกพีเพิลซีนได้รับทราบเป็นองค์ความรู้และเป็นสาระในอีกทางหนึ่งด้วย...
ต้องขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ประวิทย์  แต่งอักษร เจ้าของบทวิจารณ์มาณ.โอกาสนี้ด้วยครับ...

          

ไม่ว่าข้อเท็จจริงในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จะเป็นอย่างไร แต่หนังเรื่อง Roman Holiday พยายามจะเชื่อว่า ครั้งหนึ่ง-โลกของเรายังสวยสดงดงาม ผู้คนก็ยังคงมีจิตใจที่อ่อนโยน โอบอ้อมอารี และอานุภาพของความรักอยู่เหนืออานุภาพของเงินตรา

กล่าวอีกนัยหนึ่ง นี่คือหนังที่ถูกสร้างด้วยจุดประสงค์เพื่อนำพาผู้ชมหนีไปจากโลกของความเป็น จริง และให้ความรู้สึกเหมือนกับมันเป็น ‘วันหยุดพักผ่อน’ อันสุดแสนรื่นรมย์ตามชื่อเรื่อง

ส่วนที่นับว่าน่าทึ่งก็คือ กาลเวลาที่ผ่านพ้นไปกว่าห้าสิบปี-แทบจะไม่ได้ทำให้หนังดูเชยหรือพ้นยุคพ้น สมัยทั้งในแง่ของเนื้อหาและกลวิธีในการนำเสนอแต่อย่างใด และนั่นต้องยกให้เป็นเครดิตของคนสองคน หนึ่งก็คือวิลเลี่ยม วายเลอร์ ผู้กำกับที่นอกจากจะได้ชื่อว่าเน้นความประณีตและพิถีพิถันในส่วนของงาน โปรดักชั่นแล้ว ยังเก่งกาจในการสร้างอารมณ์ร่วม-โดยไม่ทิ้งร่องรอยแห่งการพยายามบีบเค้น อย่างมีพิรุธ

อีกคนหนึ่งก็คือดัลตัน ทรัมโบ คนผูกเรื่องและเขียนบทภาพยนตร์ที่ช่วยทำให้ Roman Holiday ไม่ได้เป็นแค่หนังตลกโรแมนติกที่ล่องลอยอยู่ในโลกของความฟุ้งเฟ้อเพ้อฝัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากในด้านหนึ่ง มันถูกถ่วงไว้ด้วยเนื้อหาที่ขึงขังจริงจัง และแง่คิดที่คมคาย

ข้อมูลหนึ่งที่หลายคนอาจจะไม่ล่วงรู้-ก็คือ เงื่อนไขเริ่มต้นของ Roman Holiday ไม่ได้มาจากเรื่องในจินตนาการ ทว่าทรัมโบได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์จริงของเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่สองแห่งสหราชอาณาจักร...

     รื่องมีอยู่ว่า หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่หก พระราชบิดา เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตผู้ซึ่งได้ชื่อว่าทรงมีพระสิริโฉมงดงาม-ได้รับโปรด เกล้าให้เป็นผู้แทนพระองค์ของพระราชินีอลิซาเบ็ธไปในการรัฐพิธีต่างๆหลาย ครั้งหลายครา และนั่นรวมถึงการเสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกระชับสัมพันธไมตรี และครั้งหนึ่ง ระหว่างที่ทรงพำนักอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มีกระแสข่าวลือแพร่สะพัดออกมาว่า พระองค์ทรงแอบไปมีความสัมพันธ์ในทางโรแมนติกกับใครบางคน กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมกับทางสำนักพระราชวัง กระทั่งในที่สุด พระองค์ทรงถูกเรียกตัวให้กลับประเทศทันที

แต่เรื่องของเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต-ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งและไม่ใช่ทั้ง หมดของปูมหลังความเป็น อีกส่วนหนึ่งที่ใครๆคงมองเห็นได้ชัดเจนก็คือการที่หนังของวายเลอร์ นำเอาหนังตลกโรแมนติคเรื่อง It Happened One Night ของแฟรงค์ คาปร้า(Mr.Smith Goes to Washington, It’s a Wonderful Life) ที่ว่าด้วยเรื่องของนักหนังสือพิมพ์หนุ่มที่จับพลัดจับผลู ร่วมผจญภัยไปกับลูกสาวมหาเศรษฐีที่หนีออกจากบ้าน-มาทำการรีไซเคิลนั่นเอง

อันที่จริงแล้ว ตัวคาปร้าก็หมายมั่นปั้นมือที่จะได้เป็นคนกำกับ Roman Holiday ด้วยซ้ำ ทว่าด้วยเหตุผลอย่างน้อยสองประการที่ทำให้เขาจำเป็นต้องถอนตัว ข้อแรกเกี่ยวข้องกับการที่คาปร้าได้รับแจ้งจากบริษัทพาราเมาท์ ซึ่งเป็นต้นสังกัด-ว่า หน่วยงานเซ็นเซ่อร์ของอังกฤษเตือนว่า ตัวหนังจะต้องถูกคว่ำบาตรอย่างแน่นอน-ถ้าหากเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใด พาดพิงถึงเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต หรือส่อแสดงถึงพฤติกรรมนอกลู่นอกทางของพระองค์

อีกข้อหนึ่ง-เกี่ยวข้องกับความไม่เชื่อมั่นในหนังเรื่องนี้ของบริษัทพารา เมาท์เองที่ยื่นเงื่อนไขที่คาปร้ายอมรับไม่ได้ว่า หนังเรื่องนี้จะต้องถ่ายทำกันภายใต้งบประมาณที่จำกัด และไม่มีการยกกองไปถึงประเทศอิตาลี-ซึ่งถือเป็นการสิ้นเปลืองและยุ่งยากใน แง่ของการควบคุม รวมทั้งให้ใช้ฟิล์มฟุตเตจในห้องสมุด (stock footage) แทนสำหรับช็อทที่จำเป็นต้องแสดงถึงสภาพบ้านเมือง

ในที่สุด คาปร้าก็ถ่ายโอนโครงการสร้างหนังเรื่องนี้ให้กับวิลเลี่ยม วายเลอร์รับช่วงไปแทน ซึ่งภายหลังจากการเจรจาต่อรองกับสตูดิโออีกหลายรอบ เงื่อนไขหลายๆอย่างก็ผ่อนปรนพอสมควร ตั้งแต่ทุนสร้างที่ได้รับเพิ่มขึ้น(แต่ถึงอย่างนั้น พาราเมาท์ก็ยังคงยืนยันให้ถ่ายหนังเรื่องนี้ด้วยฟิล์มขาวดำ) และการใช้สถานที่จริงในกรุงโรมสำหรับการถ่ายทำหนังตลอดทั้งเรื่อง

อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องวุ่นๆอีกบางเรื่องที่อยู่เบื้องหลังหนังที่ในภาพลักษณ์เบื้อง หน้าดูสะอาดสะอ้านและไม่มีพิษไม่มีภัยอะไร และมันเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง

ดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น เครดิตของคนสร้างเรื่องและเขียนบทได้แก่ดัลตัน ทรัมโบ แต่ถ้าตรวจสอบจากตัวหนังฉบับดั้งเดิม ก็จะพบว่าผู้เขียนบทตามที่ระบุไว้ในรายชื่อต้นเรื่อง-ก็คือ เอียน แม็คเคลแลน ฮันเตอร์ และจอห์น ดีห์ตัน โดยที่ฮันเตอร์เป็นคนคิดเรื่อง...

ข้อเท็จจริงก็คือ ทรัมโบเป็นหนึ่งในสิบบุคคลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด(หรือที่ในเวลา ต่อมา พวกเขาได้รับการขนานนามว่า Hollywood Ten) ที่ปฏิเสธการไปให้ปากคำตลอดจนความร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบพฤติการณ์อัน ไม่เป็นอเมริกัน หรือ House Un-American Activities Committee (HUAC) ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อจัดการกับบุคคลที่มีความคิดโอน เอียงหรือฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์

ผลลัพธ์ก็คือ ทรัมโบและคนอื่นๆไม่เพียงพบตัวเองถูกขึ้นบัญชีดำ และหางานทำไม่ได้ในฮอลลีวู้ด หากในฤดูใบไม้ผลิของปี 1950 พวกเขาทั้งสิบคนยังต้องระเห็จเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำเป็นเวลาตั้งแต่หก เดือนจนถึงหนึ่งปี ช่วงระหว่างนี้เองที่ทรัมโบเขียนบทหนังเรื่อง Roman Holiday แต่ก็อย่างที่รู้กัน เขาไม่อาจจะใส่ชื่อของตัวเองลงไป เพราะสตูดิโอจะไม่มีวันยอมซื้อบทหนังหรืออนุมัติให้สร้างอย่างแน่นอน และต้องไหว้วานให้เอียน แม็คเคลแลน ฮันเตอร์ เพื่อนนักเขียนบทด้วยกัน ยอมรับสมอ้าง-ว่าเป็นเจ้าของผลงาน

ส่วนที่นับว่าเย้ยหยันก็คือ บทหนังของทรัมโบไม่เพียงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ในปี 1954 เท่านั้น หากมันยังชนะรางวัล และที่กลายเป็นเรื่องตลกร้ายสุดๆก็คือ ไม่มีใครขึ้นไปรับมอบเกียรติยศอันสูงส่งนี้ เพราะฮันเตอร์ซึ่งถูกใช้ชื่อบังหน้าแทนทรัมโบ-ก็เพิ่งจะถูกขึ้นบัญชีดำ และหลบหนีอยู่ตรงไหนซักแห่งในประเทศเม็กซิโก

อย่างไรก็ตาม หลังจากเรื่องวุ่นวายยุ่งเหยิงในทางการเมืองผ่านพ้นไป เครดิตของคนสร้างเรื่อง-ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นของทรัมโบ (โดยที่เครดิตของฮันเตอร์ในฐานะคนเขียนบท-ก็ยังคงไว้เหมือนเดิม) และภรรยาหม้ายของเขาก็ได้รับมอบตุ๊กตาทองย้อนหลังในปี 1993 หรือราวสี่สิบปีนับจากหนังออกฉายครั้งแรก และราวสิบเจ็ดปีนับจากที่ทรัมโบอำลาโลกใบนี้

แต่ไม่ว่าเรื่องราวเบื้องหลังจะปั่นป่วนเพียงใด Roman Holiday ก็ยังคงเป็นหนังที่คนจดจำในฐานะของเรื่องโรแมนติกพาฝัน-ที่ให้น้ำหนักกับแง่ มุมความรักเป็นสำคัญ..

หนังเปิดเรื่องด้วยหนังข่าวที่รายงานความเคลื่อนไหวของเจ้าหญิงแอนน์ (ออเดรย์ เฮพเบิร์น) แห่งราชอาณาจักรสมมติแห่งหนึ่งในยุโรป ซึ่งอยู่ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านของพระองค์เพื่อกระชับ สัมพันธไมตรี แม้ประโยคหนึ่งของคนรายงานข่าวจะบอกว่า เจ้าหญิงผู้ทรงมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา-ไม่ได้ส่อแสดงให้เห็นถึง ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าในตลอดช่วงหนึ่งอาทิตย์ของปรากฏตัวต่อสาธารณชน แต่ข้อเท็จจริงในฉากถัดมาก็คือ พระองค์ก็เหมือนกับเด็กสาวทั่วไปที่อยากจะสนุกตามวิสัยของคนรุ่นราวคราว เดียวกัน และไม่ต้องการถูกผูกมัดด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่โต ภารกิจที่น่าเบื่อและเต็มไปด้วยพิธีรีตอง หรือการต้องแสดงออกอย่างสำรวมตามแบบอย่างของคนที่เป็น ’เจ้าหญิง’ พึงกระทำ

ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากว่า ภายหลังจากที่พระพี่เลี้ยงบรรยายสรุปตารางการทำงานในวันรุ่งขึ้นอันแน่น เอียดให้ทรงรับทราบ จู่ๆ พระองค์ก็เกิดหมดความอดทน และ ‘เบรกแตก’ ขึ้นมา ร้อนถึงหมอหลวงต้องเข้ามาฉีดยาเพื่อผ่อนคลายเส้นประสาทของพระองค์ (หนึ่งในอารมณ์ขันที่ตอกย้ำความไม่ซีเรียสของเนื้อหา-ก็คือฉากที่ท่านนายพลฯ ซึ่งเข้ามาดูอาการของเจ้าหญิง ถึงกับเป็นลมในทันทีที่ได้เห็นเข็มฉีดยา) แต่ก่อนที่ยาจะออกฤทธิ์ เจ้าหญิงแอนน์ก็หาทางพาตัวเองหลบหนีออกมาจากสถานทูตในยามค่ำคืน และมันไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการผจญภัยที่เจ้าหญิงบอกในเวลาต่อมา เธอจะทะนุถนอมความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่รู้ลืม แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตของเธอ

อย่างที่ผู้ชมสามารถคาดเดา คนที่บังเอิญมาพบเจ้าหญิงนอนไม่ได้สติอยู่ข้างถนนในกรุงโรม-ก็คือ โจ แบรดลี่ย์ (เกรกอรี่ เป็ค) นักหนังสือพิมพ์ถังแตกชาวอเมริกัน ตรงไหนซักแห่งแถวๆนี้เองที่หนังค่อยๆหันเหตัวเองออกจากโลกของความเป็นจริง และนำคนดูเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ

สิ่งที่ผู้ชมค่อยๆซึมซับเกี่ยวกับตัวโจ-ก็คือ เขาไม่ได้เป็นคนที่เลวร้ายอะไร หลังจากที่ชายหนุ่มเห็นว่าการปล่อยให้หญิงสาวซึ่งเขาเข้าใจว่าเมามายจนครอง ตัวไม่อยู่-หลับใหลในสภาพเช่นนี้ คงจะไม่เป็นผลดีต่อสวัสดิภาพของเธอ ในที่สุด เขาก็จัดแจงหอบหิ้วหญิงสาวกลับไปค้างคืนที่ห้องพักของเขา (อีกหนึ่งในอารมณ์ขันของหนังได้แก่ตอนที่เจ้าหญิงแอนน์ได้เห็นอพาร์ทเมนต์ ขนาดเท่ารังหนูของโจ เธอเอ่ยปากอย่างสะลึอสะลือขึ้นว่า “นี่เรากำลังอยู่ในลิฟท์ใช่มั้ย”) และตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ ผู้ชมก็ได้เห็นว่าโจปฏิบัติกับหญิงสาวตามควรแก่อัตภาพ และเป็นสุภาพบุรุษเพียงพอที่จะไม่ได้หาเศษหาเลยทั้งๆที่โอกาสเอื้ออำนวย (ดังจะเห็นได้จากช่วงหนึ่ง เจ้าหญิงแอนน์ถึงกับบอกให้โจช่วยถอดเสื้อผ้าของเธอ แต่เขาก็ไม่ได้ตอบสนองคำสั่งนั้นอย่างครบถ้วนกระบวนความ)..






จริงๆแล้ว ถ้าจะบอกว่าหนังไม่มีแง่มุมในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมเลย-ก็อาจจะไม่ถูกต้อง ทีเดียว เพราะเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมฉกฉวยของโจ-โดยเฉพาะภายหลังจากที่ เขาพบว่าสาวจรจัดที่นอนอยู่ในห้องพักของเขาเป็นถึงเจ้าหญิง ไม่ได้มุ่งบอกว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ตัวละครเป็นคนเห็นแก่ตัว และไร้คุณธรรม เท่ากับการสะท้อนให้เห็นว่า ทั้งหลายทั้งปวง มันกลั่นกรองมาจากแรงบีบคั้นในทางเศรษฐกิจและสภาพสังคม

จากคำบอกเล่าของตัวละคร เขาไม่ได้เป็นเพียงแค่เป็นนักหนังสือพิมพ์ไส้แห้งเท่านั้น แต่ยังมีสภาพการทำงานที่เรียกได้ว่าตกเป็นเบี้ยล่างของเจ้านายที่ชื่อเฮนเนส ซี่มาเป็นเวลายาวนาน ความมุ่งหวังสูงสุดของเขาก็คือการได้ไปจากสำนักข่าวแห่งนี้ และกลับนิวยอร์กซักที และแล้วโอกาสทองนั้นก็มาเยือน เมื่อเขาเสนอที่จะขายบทสัมภาษณ์เจ้าหญิงแอนน์อย่างชนิดเจาะลึกทุกประเด็น เพื่อแลกกับเงินก้อนโต ทั้งนี้โดยมีเออร์วิ่ง(เอ็ดดี้ อัลเบิร์ต) ทำหน้าที่เป็นตากล้องพาพาราซซี่ แน่นอนว่า ตัวเจ้าหญิงแอนน์เองนอกจากจะไม่รู้ไม่เห็นกับแผนการนี้ เธอยังเชื่ออย่างไร้เดียงสาว่าโจเป็นชายหนุ่มที่จิตใจงดงาม และปราศจากความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง

แต่กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ผู้ชมตระหนักดีตั้งแต่ต้นว่าพระเอกของเราจะไม่มีวันทำในสิ่งที่น่าผิดหวัง และเสื่อมเสียเช่นนั้น และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในอีกไม่ช้าไม่นาน ‘ความเป็นมนุษย์’ ในตัวโจจะได้รับการกอบกู้กลับคืน เนื้อหาในส่วนที่จับใจผู้ชมมากที่สุด-ก็คือ ตอนที่ชายหนุ่มแสดงให้เห็นว่า เขาตัดสินใจเลือกที่จะกระทำในสิ่งที่ ‘ถูกต้องและเหมาะควร’ แม้ว่าสุดท้ายแล้ว มันหมายถึงการสูญเสียโอกาสที่เขาจะได้ปลดแอกตัวเอง

คงไม่จำเป็นต้องบอกว่า สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหญิงแอนน์กับโจ แบรดลี่ย์ลงเอยอย่างไร เพราะผู้ชมสามารถมองเห็นถึง ‘ความเป็นไปไม่ได้’ ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถึงอย่างนั้น การผจญภัยร่วมกันระหว่างคนทั้งสอง-ก็เป็นช่วงที่น่าสนุกสนาน ชวนติดตาม และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ตัวหนังตราตรึงอยู่ในความประทับใจของ ผู้ชม ข้อสำคัญ การใช้ประโยชน์จากการถ่ายทำในสถานที่จริง-ก็อยู่ในระดับที่ไม่มากหรือน้อย เกินไป รวมทั้งไม่ทำให้รู้สึกว่า หนังมุ่งมั่นที่จะขายวิวทิวทัศน์

ตรงกันข้าม หลายๆฉากกลับช่วยเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดให้กับหนัง อาทิ ฉากน้ำพุเทรวี่(ในช่วงที่พระเอกเฝ้าคอยนางเอกนอกร้านตัดผม), ฉากบันไดสเปน(ที่พระเอกแกล้งทำเป็นได้เจอกับนางเอกอีกครั้งโดยบังเอิญ) หรือฉากรูปปั้นบนฝาผนังที่ชื่อว่า  month of truth ซึ่งเป็นฉากที่ทำให้ตำนานเบื้องหลังเกี่ยวกับประติมากรรมชิ้นนี้ขจรขจาย....

      

แต่ความจริงที่ต้องยอมรับก็คือ หนังเรื่อง Roman Holiday จะไม่มีทางผ่านบททดสอบในแง่ของการเวลาได้อย่างทนทานเพียงนี้-ถ้าหากปราศจาก ออเดรย์ เฮพเบิร์น และถึงแม้ว่าข้อมูลจากหลายแหล่งจะพยายามบอกว่า Roman Holiday ไม่ใช่ผลงานการแสดงเรื่องแรกของเฮพเบิร์น เพราะเธอได้บทเล็กๆน้อยๆมาก่อนหน้านี้ไม่น้อยกว่า 6-7 เรื่อง อีกทั้งยังเคยมีประสบการณ์ในการเล่นละครเวที แต่ไม่มีทางปฏิเสธได้เลยว่า นี่คือการค้นพบครั้งสำคัญทั้งในความเป็น ’ดวงดาวจรัสแสง’ ของเธอ และทักษะทางการแสดง เฮพเบิร์นแสดงเป็นเจ้าหญิงแอนน์ได้อย่างไม่มีที่ติจริงๆ บุคลิกของเธอผสมผสานทั้งความบริสุทธิ์ อ่อนหวาน และไร้เดียงสา แต่ขณะเดียวกัน-ก็เปราะบางอ่อนไหว

ฉากที่ทำนบทางอารมณ์ของเธอพังทลายในตอนต้น-อธิบายอย่างชัดแจ้งและจับต้อง ได้ถึงความกดดันที่คนเป็นเจ้าหญิงต้องเผชิญ ขณะที่ช่วงที่เธอกับโจร่อนเร่พเนจรไปทั่วกรุงโรม ภาพของเจ้าหญิงแอนน์ผู้งามสง่าที่ผู้ชมได้เห็นตอนต้นก็เลือนหายไป กลายสภาพเป็นเด็กสาวธรรมดาๆที่เปี่ยมไปด้วยความร่าเริงแจ่มใสและความมีชีวิต ชีวา

กล่าวได้ว่าบทเจ้าหญิงแอนน์เป็นเหมือนของขวัญที่ฟ้าประทานมาให้กับเฮ พเบิร์น และส่งให้เธอได้แจ้งเกิดอย่างเต็มภาคภูมิ มองในแง่นี้แล้ว-ก็ต้องชื่นชมในความใจกว้างของเกรกอรี่ เป็ค ซึ่งตอนนั้น เขาเป็นดาราใหญ่อยู่แล้ว-ที่ยอมปล่อยให้นักแสดงโนเนมอย่างเฮพเบิร์น แย่งความเด่นในทุกฉากที่ออกร่วมกัน และถ้าจะกล่าวอย่างไม่เกรงใจแฟนๆของเกรกอรี่ เป็คแล้ว บทโจ แบร็ดลี่ย์เป็นบทที่ไม่เข้ากับบุคลิกที่ดูผึ่งผาย และไม่ค่อยจะขี้เล่นของเขาซักเท่าไหร่ และคนหนึ่งที่น่าจะเล่นบทนี้ได้ดีกว่าอย่างแน่นอน-ก็คือวิลเลี่ยม โฮลเด้น ซึ่งในปีถัดมา เขาก็ได้ร่วมแสดงกับเฮพเบิร์นอย่างเข้าขาและลื่นไหลในหนังของบิลลี่ ไวลเดอร์เรื่อง Sabrina (1954)

ไม่ว่าจะอย่างไร ส่วนที่นับว่าเป็นคุณค่าอีกประการหนึ่งของหนัง-ได้แก่การที่มันไม่ได้สาละวน อยู่กับการสร้างความซาบซึ้งให้กับผู้ชม แต่ลงเอยด้วยการบอกให้ผู้ชมได้รับรู้ว่า ทั้งเจ้าหญิงแอนน์ และโจ-ต่างก็ได้เรียนรู้อะไรบางอย่างเพิ่มเติม

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น นอกจากความรักแล้ว โจได้พบว่า เขาเองก็ยังหลงเหลือความเป็น ’คน’ และไม่ใช่นักตลบตะแลงปลิ้นปล้อน หรือนักฉวยโอกาสอย่างที่เงื่อนไขแวดล้อมพยายามหล่อหลอมให้เขาเป็น ขณะที่ตัวเจ้าหญิงแอนน์เอง ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านพ้นไป-ได้ทำให้เธอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ และฉากที่บอกถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการก็คือตอนที่เธอกล่าวกับท่าน ทูตว่า เขาไม่จำเป็นต้องอ้างถึงคำว่า ‘หน้าที่ความรับผิดชอบ’ กับเธออีกต่อไป

“ถ้าหากไม่ใช่เพราะฉันตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบของฉันต่อราชวงศ์ และต่อประเทศชาติแล้ว ฉันคงจะไม่กลับมาหรอกคืนนี้…หรือตลอดไป”

หนังอาจจะไม่ได้บอกว่า เรื่องราวของเจ้าหญิงแอนน์นับจากนี้-เป็นอย่างไร แต่ด้วยท่าทีเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น และความสำนึกในพระราชภาระแท้จริง ผู้ชมก็มีเหตุผลอันหนักแน่นที่จะเชื่อได้ว่า ในที่สุดแล้ว พระองค์ก็น่าจะลงเอยด้วยการเป็นเจ้าหญิงที่ดีและเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของ เหล่าพสกนิกร..


โรมรำลึก-ROMAN HOLIDAY (1953)

กำกับ,อำนวยการสร้าง-วิลเลี่ยม วายเลอร์/บทภาพยนตร์-เอียน แม็คเคลแลน ฮันเตอร์และจอห์น ดีห์ตัน จากเรื่องของดัลตัน ทรัมโบ/กำกับภาพ-แฟรงค์ เอฟ.แพลนเนอร์, อองรี อเลกอง/กำกับศิลป์-ฮาล เปไรร่า, วอลเตอร์ ไทเลอร์/ลำดับภาพ-โรเบิร์ต สวิงค์/ออกแบบเครื่องแต่งงาย-เอดิธ เฮด/ดนตรี-จอร์เจส โอริค/ผู้แสดง-เกรกอรี่ เป็ค, ออเดรย์ เฮพเบิร์น, เอ็ดดี้ อัลเบิร์ต, ฮาร์ทลี่ย์ พาวเวอร์/ขาวดำ/ความยาว 119 นาที




โทษทีป๋าต้นฉบับเป็นแผ่นดีวีดี 9 ครับ ภาพชัดแจ๋ว สำหรับเสียงพากย์นั้นไม่ทราบว่าเป็นทีมใหนแต่พากย์พอใช้ได้ครับ
ส่วนเสียงเอกนั้นอยู่ในหนังเก่าหาดูยากเรื่อง บารั๊บบัส ครับ



บ่เป็นหยังดอก.เอียแอ๊ด.ไม่ว่ากันอยู่แล้วจ๊ะเดี๋ยวเรื่องไหนที่ทำการโมเสร็จแล้วจะส่งไปให้เบิ่งจ๊ะ..รอซักหน่อยน้า..อิอิ.


วันนี้ส่งเสยีงไทยไปให้ป๋าอีก 30 เรื่องครับ


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 5

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112936682 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Robertsmimb , kurskmFoofs , MichaeledIgh , พีเพิลนิวส์ , Tongkam , เอก , Pojja , กิต , H.Teo , Oil ,