Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
หนังฝรั่งในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-JURASSIC PARK 1993 ตอนกำเนิดใหม่ ไดโนเสาร์.. 18/1/2563 17:09
-MIDWAY 2019.. 11/1/2563 14:35
-CLEOPATRA คลีโอพัตรา.. 9/1/2563 14:54
-สวัสดีปีใหม่-2563/HAPPY NEW YEAR-2020 BY TALK ABOUT MOVIE .. 8/1/2563 21:41
-THE GREAT ESCAPE 1963 “แหกค่ายมฤตยู” .. 8/1/2563 21:41
- Star Wars: The Rise of Skywalker สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ยังไม่มีคนตอบ
-Top Gun Maverick ยังไม่มีคนตอบ
-007 GOLDENEYE 1995 ตอน รหัสลับทลายโลก.. 15/12/2562 18:34
-007 THE LIVING DAYLIGHTS 1987 ตอน..พยัคฆ์สะบัดลาย.. 14/12/2562 20:25
-007-คนที่4(1987-1989) แอ๊กชั่นถึงใจสุดขีดความระห่ำ.. 14/12/2562 13:29
-หนังแอ๊กชั่นเพลง น่าสะสม “ถนนโลกีย์”STREETS OF FIRE(1984).. 14/12/2562 13:28
-007 GOLDFINGER ตอน จอมมฤตยู 007.. 13/12/2562 21:34
-007 DIAMONDS ARE FOREVER 1971.. 12/12/2562 20:45
-007 YOU ONLY LIVE TWICE 1967.. 10/12/2562 22:19
-Wonder Woman 1984ยังไม่มีคนตอบ
-007 ON HER MAJESTY S SECRET SERVICE 1969.. 7/12/2562 20:42
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 790

มนต์รักเพลงสวรรค์ (the sound of music)ยอดภาพยนตร์เพลงอมตะของโลก


ในช่วงว่างๆของวัน.ผมเผอิญๆได้เข้าไปอ่านบทความในเวบบล๊อคของท่านอาจารย์ ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ระดับครูชื่อดัง.ที่ผมมักจะนำเอาบทวิจารณ์ภาพยนตร์ของอาจารย์ท่านมานำเสนอบ่อยๆ.ให้เพื่อนๆสมาชิกพีเพิลซีนได้อ่านเป็นสาระประโยชน์ร่วมกัน.ในโอกาสนี้ผมขอนำเสนอบทวิจารณ์ภาพยนตร์อมตะเรื่องนี้ของท่าน อาจารณ์ ประวิทย์ แต่งอักษร. กันอีกครั้งครับ.ต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ประวิทย์ แต่งอักษรมาณ.โอกาสนี้ด้วยครับ.



ก่อนหน้าที่หนังเรื่อง Titanic จะครองหัวใจคนทั้งโลกด้วยเรื่องราวความรักระหว่างชนชั้น และโศกนาฏกรรมที่บีบเค้นอารมณ์ ยังมีหนังอีกเรื่องที่ประสพความสำเร็จอย่างครึกโครมในระดับเดียวกันหรือ เหนือกว่าด้วยซ้ำ รวมทั้งกลายเป็นตำนานที่ผู้คนยังคงกล่าวขานและนึกถึงโดยเฉพาะเมื่อครบวาระ แห่งการเฉลิมฉลอง จนสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่านี่คือหนังที่เป็นที่รักและหวงแหนมาก ที่สุดเรื่องหนึ่ง

หนังเรื่องนั้นก็คือ The Sound of Music หรือในชื่อไทยว่า มนต์รักเพลงสวรรค์

ถ้าหากจะวัดความสำเร็จกันอย่างคร่าวๆทั้งทางด้านผลรางวัลและด้วยตัวเลข รายได้ The Sound of Music สร้างปรากฏการณ์ที่หน้าประวัติศาสตร์ต้องจารึก หนังได้รางวัลลูกโลกทองคำหนังยอดเยี่ยมในสาขาหนังเพลงหรือหนังตลก ตามด้วยการถูกเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ในสิบสาขา และกวาดมาได้ห้า-จากหนังเยี่ยม, ผู้กำกับ, ลำดับภาพ, ดนตรีและบันทึกเสียง

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆทองๆ กระแสความคลั่งไคล้ส่งผลให้กลุ่มผู้ชมจำนวนมหาศาลแห่แหนกันไปดูหนังเรื่อง นี้ซ้ำมากกว่าหนึ่งรอบ จนทำให้ระยะการออกฉายของหนังเรื่อง The Sound of Music กินเวลายาวนานเกินกว่าสี่ปีครึ่ง นับจากเดือนมีนาคม ปี 1965 จนถึงธันวาคม ปี 1969 ทำรายได้รวมทั้งสิ้น 159 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือถ้าหากปรับเปลี่ยนตัวเลขให้สอดคล้องกับค่าเงินในปัจจุบัน-ก็จะเท่ากับ 950 เหรียญโดยประมาณ ถือเป็นหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลอันดับสองรองจาก Gone with the Wind

แต่ตัวเลขรายได้ก็ไม่ได้หยุดลงเพียงแค่นี้ ในการหวนกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อปี 1973 หนังยังคงได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามไม่แตกต่างจากครั้งแรก กระทั่งเมื่อหนังถูกนำออกแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในอีก 3 ปีให้หลัง ผลสำรวจระบุชัดเจนว่าเรตติ้งผู้ที่เปิดโทรทัศน์ชมในช่วงที่หนังออกฉาย-พุ่ง สูงเป็นประวัติการณ์

ทั้งหมดนี้-ยังไม่ได้รวมความสำเร็จจากยอดจำหน่ายในรูปของซาวด์แทร็ค, วิดีโอเทป, เลเซอร์ดิสค์ จนถึงดีวีดี.-ซึ่งล้วนแล้วติดอันดับต้นๆของตารางการทำเงินทั้งสิ้น

คำถามก็คือ อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้คนตกหลุมรักหนังเรื่องนี้ ใครที่ได้ดู The Sound of Music-คงค้นพบคำตอบได้ด้วยตัวเอง-ว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่ถ้าหากจะมีองค์ประกอบไหนที่ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้-ก็คงเป็น เรื่องของเพลงที่นอกจากจะไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีอะไรซับซ้อนและง่ายต่อการจดจำแล้ว มันยังสนับสนุนให้เรื่องเดินหน้าไปอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยสีสัน ทั้งยังทำหน้าที่ในการอธิบายความนึกคิดของตัวละคร สร้างแรงบันดาลใจให้ฮึกเหิม ปลอบประโลมเมื่อตกอยู่ในภาวะท้อถอย หรือกระทั่งถูกใช้เพื่อสะท้อนแก่นหลักของเนื้อหา





ความเห็น

[1]


สองคนที่มีบทบาทอย่างยิ่งกับความสำเร็จในส่วนนี้ก็คือริชาร์ด ร็อดเจอร์สกับออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่สอง-ในฐานะคนเขียนทำนองกับเนื้อร้องตั้งแต่เมื่อครั้งยัง เป็นละครเพลงบรอดเวย์ แต่ขณะเดียวกัน-ก็ไม่ควรมองข้ามบทบาทสำคัญของเออร์วิน คอสตัลในฐานะผู้ควบคุมและดำเนินการทางด้านดนตรีของหนัง รวมทั้งความสามารถของเออร์เนสต์ เลห์แมน คนเขียนบทกับโรเบิร์ต ไวส์ ผู้กำกับ-ในการผสมผสานองค์ประกอบทั้งด้านภาพและเสียงได้อย่างกลมกลืนสอด คล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เพื่อย้อนให้ผู้อ่านได้เห็นว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ The Sound of Music ไม่ใช่เรื่องของ ความฟลุ้คหรือโชคช่วย แต่เป็นเรื่องของฝีมือและความสามารถล้วนๆ ต่อไปนี้คือต้นกำเนิดและเรื่องราวความเป็นมาของหนังที่นั่งอยู่ในหัวใจของ ผู้ชมทั่วโลก

สำหรับคนที่เป็นแฟน-คงจะรับรู้เป็นอย่างดีว่าเนื้อหาของ The Sound of Music ไม่ได้ผูกขึ้นจากจินตนาการที่เลื่อนลอย แต่สร้างจากเรื่องจริงของหญิงชาวออสเตรียที่ชื่อมาเรีย ฟอน แทร็พพ์



จากคำบอกเล่าของมาเรียในหนังสืออัตตชีวประวัติ-ระบุว่าเธอเกิดและเติบโต ใกล้ๆเทือกเขาแอลพ์ในออสเตรียเมื่อปี 1905 เล่ากันว่าตอนเด็กๆเธอเป็นทอมบอยที่แก่นแก้ว ถึงขนาดหนีออกจากบ้านตอนอายุแค่ 16 ปีเท่านั้น ในปี 1924 มาเรียตัดสินใจอุทิศตนเองรับใช้พระผู้เป็นเจ้า-ด้วยการสมัครเป็นแม่ชีฝึกหัด แต่สองปีให้หลัง แม่อธิการลงความเห็นว่าเธอยังไม่พร้อมกับการเป็นแม่ชีจริงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงสาวได้ทบทวนในสิ่งที่ตัวเองใฝ่ฝัน แม่อธิการตัดสินใจส่งมาเรียไปที่บ้านของบารอนเก-ออร์ก ฟอน แทรพพ์ อดีตกัปตันแห่งกองทัพเรือออสเตรียที่เกษียณอายุและภรรยาเสียชีวิต-เพื่อคอย ดูแลเด็กๆทั้งเจ็ดคน





ปัญหาที่มาเรียพบในครอบครัวฟอน แทรพพ์ก็คือความห่างเหินระหว่างตัวกัปตันกับลูกๆ แต่ด้วยอุปนิสัยร่าเริงและรักสนุกของมาเรีย-ก็สามารถทำให้ช่องว่างตรงนี้หาย ไป เธอไม่ได้ชนะใจเพียงแค่เด็กๆเท่านั้น แต่รวมถึงตัวกัปตันที่กำลังจะหมั้นหมายกับเศรษฐินีสูงศักดิ์จากเวียนนา-ด้วย จนทำให้กำหนดการดังกล่าวต้องล้มเลิกไป และในที่สุด กลายเป็นตัวมาเรียนั่นเองที่เข้าสู่พิธีวิวาห์กับกัปตันฟอน แทรพพ์ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ 1927

สิ่งที่หนังไม่ได้บอกเล่าก็คือเหตุการณ์หลังจากนี้ ครอบครัวฟอน แทรพพ์ประสพปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักหน่วง-อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตก ต่ำ และต้องหารายได้จุนเจือด้วยการร้องเพลง

อย่างไรก็ตาม พรสวรรค์และความสามารถของมาเรียกับเด็กๆ-ส่งให้พวกเขาชนะเลิศการประกวดร้อง เพลงในเทศกาลดนตรีแห่งเมืองซอลส์เบิร์กเมื่อปี 1936 ผลพวงที่ติดตามมาก็คือ พวกเขาได้รับเชิญให้ไปแสดงคอนเสิร์ตในหัวเมืองสำคัญทั่วยุโรป

เรื่องเลวร้ายไม่ได้ยุติเพียงเท่านั้น เดือนมีนาคม ปี 1938 กองทัพนาซีของฮิตเลอร์ยึดครองออสเตรียพร้อมประกาศการรวมประเทศ กัปตันฟอน แทรพพ์ถูกเรียกตัวให้เข้าประจำการในกองทัพเรืออีกครั้ง แต่ด้วยความเกลียดชังนาซีมาตั้งแต่ต้น เขาตัดสินใจพาครอบครัวหนีออกจากออสเตรีย ทว่าไม่ใช่ด้วยการเดินเท้าข้ามเทือกเขาแอลพ์อย่างในหนัง ทั้งหมดอาศัยรถไฟมุ่งหน้าไปบริเวณพรมแดนประเทศอิตาลี

ลังจากนั้น ครอบครัวฟอน แทรพพ์ก็เริ่มต้นแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้ง-เพื่อแลกกับห้องพักและค่าอาหาร จุดหมายปลายทางของพวกเขา-ก็คืออเมริกา ปี 1939 ทั้งหมดได้รับอนุญาตให้โอนสัญชาติเป็นอเมริกันและยังคงตระเวณทัวร์คอนเสิร์ต ตลอดช่วงเวลา 16 ปี ก่อนที่พวกเขาจะลงหลักปักฐานที่เมืองสโตว์ มลรัฐเวอร์มอนต์









กัปตันฟอน แทร็พพ์เสียชีวิตในปี 1947 ส่วนมาเรีย-ซึ่งมีลูกกับกัปตันฟอน แทร็พพ์อีกสองคนใช้ชีวิตอย่างยืนยาวและมีความสุขในแคมพ์ดนตรีที่เธอตั้งชื่อ ว่า’ลิตเติ้ลออสเตรีย’ที่มลรัฐเวอร์มอนต์ จนกระทั่งอายุได้ 82 ปี เธอจึงเสียชีวิตในปี 1987

แน่นอนว่าเธอได้ดู The Sound of Music ทั้งที่เป็นละครเพลงบรอดเวย์และฉบับหนัง-ซึ่งเธอบ่นให้ได้ยินเพียงแค่ว่ามา เรียทั้งสองฉบับออกจะเป็นคนอ่อนหวาน สะอาดสดใสเกินไป

สิ่งที่ไม่ค่อยมีคนได้รับรู้ก็คือ ก่อนหน้า The Sound of Music ทั้งฉบับละครเพลงและหนัง เรื่องของมาเรีย ฟอน แทร็พพ์เคยถูกนำไปสร้างเป็นหนังออกฉายในประเทศเยอรมันเมื่อปี 1956 ชื่อว่า Die Trapp Familie หนังประสพความสำเร็จอย่างกว้างขวางในยุโรป และเป็นเพราะหนังเยอรมันเรื่องนี้-ที่ไปสะดุดสายตาของวินเซนต์ โดเนฮิว ผู้กำกับหนุ่มจากบริษัทพาราเมาท์ซึ่งมองเห็นอย่างปรุโปร่งว่าเหมาะสำหรับการ ดัดแปลงเป็นละครเพลง



ริชาร์ด ร็อดเจอร์สกับออสการ์ แฮมเมอร์สไตน์ที่สอง-แสดงออกอย่างกระตือรือร้นในทันทีที่ถูกทาบทามให้เกี่ยว ข้องกับโครงการนี้ เพราะทั้งสองเห็นว่านอกจากโครงเรื่องจะสอดคล้องกับลักษณะของละครเพลงแล้ว เนื้อหายังผสมเรื่องกึ่งเทพนิยายแบบซินเดอเรลล่าที่ลงเอยอย่างสวยงามด้วย อีกทั้งฉากหลังก็เป็นเหตุการณ์ต่างถิ่น(exotic)ที่เปิดโอกาสให้ดึงเอาสิ่ง ที่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านมาดัดแปลงเข้ากับเรื่อง

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างมาเรียกับกัปตันฟอน แทร็พพ์-ก็เกือบจะเป็นการย้อนรอยความสัมพันธ์ของแอนนากับพระเจ้ากรุงสยามใน The King and I ละครเพลงที่ถือเป็นงานโบว์แดงของคนทั้งสอง

ต่ทั้งร็อดเจอร์สกับแฮมเมอร์สไตน์-ร่วมด้วยคนเขียนบทละครยังต้องปรับ เปลี่ยนแก้ไขรายละเอียดอีกหลายส่วนกว่าที่ทุกอย่างจะลงตัว เป็นต้นว่ากรอบเวลาถูกบีบให้กระชับมากขึ้น โดยให้เหตุการณ์เริ่มต้นในปี 1938 ก่อนหน้าเยอรมันจะบุกออสเตรียไม่นาน และจบลงเมื่อครอบครัวฟอน แทร็พพ์หนีจากออสเตรีย หรือการเปลี่ยนให้ลูกคนโตเป็นผู้หญิงเพื่อจะได้แทรกซับพล็อตในส่วนความ สัมพันธ์ระหว่างเธอกับเด็กหนุ่มส่งเอกสารที่ในภายหลังแปรพักตร์เข้าร่วมเป็น หนึ่งในยุวชนนาซี.



ว่าไปแล้ว นี่ถือเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของร็อดเจอร์สกับแฮมเมอร์สไตน์-ในการใช้ความ สัมพันธ์ของตัวละครระดับรองที่มักจะลงเอยอย่างไม่สมหวัง-เพื่อตอกย้ำแก่น สำคัญของเรื่อง ถ้าใครจำได้ ความสัมพันธ์ของทับทิมกับคนรักใน The King and I ก็ถูกนำเสนอด้วยจุดหมายคล้ายกัน

ฉบับละครเพลงบรอดเวย์เปิดแสดงครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปี 1959 ผลลัพธ์ในแง่ของคำวิจารณ์ไม่ดีนัก เนื่องจากส่วนใหญ่มองว่าละครจงใจบีบอารมณ์เกินไป แต่สิ่งที่สร้างความประทับใจให้ทั้งกับผู้ชมและนักวิจารณ์เหมือนกัน-ก็คือ เสียงเพลงที่ไพเราะ









The Sound of Music กวาดรางวัลโทนี่ทั้งหมดถึง 7 รางวัล รวมทั้งละครเพลงยอดเยี่ยม แต่ความสำเร็จของฉบับละครเพลง-ก็ยังจำกัดในวงแคบเมื่อเปรียบกับสิ่งที่เกิด ขึ้นกับหนัง

ตัวตั้งตัวตีคนสำคัญในการดัดแปลงละครเพลงให้กลายมาเป็นหนัง-ก็คือ เออร์เนสต์ เลห์แมน นักเขียนบทคนสำคัญที่ได้ดูละครเพลงเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงต้น แต่เขายังต้องรออีกหลายปีกว่าที่บริษัททะเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ซึ่งได้สิทธิ์ในการสร้างหนังเรื่องนี้-จะพร้อมในแง่ของการลงทุน เพราะเพิ่งบาดเจ็บจากความล้มเหลวอย่างชนิดวินาศสันตะโรกับหนังเรื่อง Cleopatra

วิลเลี่ยม วายเลอร์ ยอดผู้กำกับจาก Ben-Hur เป็นตัวเลือกแรกที่ถูกชักชวนให้มากำกับหนังเรื่องนี้ แต่วายเลอร์กำลังเตรียมทำหนังอีกเรื่อง โครงการทั้งหมดจึงตกถึงมือของโรเบิร์ต ไวส์ เจ้าของเครดิตสวยหรูในฐานะผู้กำกับร่วมจาก West Side Story(1960) หนังที่ถือกันว่าเป็นหนังเพลงที่ดีที่สุดของทศวรรษ 1960



ไวส์กับเลห์แมน-ช่วยกันขัดเกลารายละเอียดอีกหลายส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับตัว หนัง สองสามเพลงในฉบับละครเวทีถูกตัดทิ้ง รวมทั้งสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งของอีกหลายเพลงเพื่อให้กลมกลืน อย่างเช่นเพลง “My Favorite Things”ถูกนำมาใส่ในช่วงที่เด็กๆกลัวเสียงฟ้าร้อง-แทนที่เพลง “Lonely Goatheard” หรือเพลง “Do-Re-Mi”-ก็ไม่ได้ร้องในทันทีที่มาเรียมาถึงบ้านฟอน แทร็พพ์ แต่ถูกเลื่อนออกไปในช่วงที่กัปตันฟอน แทร็พพ์ไปทำธุระในเวียนนา



นอกจากนี้ สองเพลงที่ถูกเขียนเพิ่ม-จากฝีมือของริชาร์ด ร็อดเจอร์สเพียงลำพัง(เนื่องจากแฮมเมอร์สไตน์เสียชีวิตตั้งแตในปี 1960)ได้แก่ “Something Good”-ที่บอกความในใจของมาเรียที่ไม่คาดฝันว่าตัวเองจะได้พบสิ่งดีงามใน ชีวิตอย่างที่เป็นอยู่นี้ และเพลง “I Have Confidence”-ที่มาเรียร้องเพลงปลุกปลอบตัวเองจากการถูกส่งให้ต้องเผชิญโลก กว้างเพียงลำพัง

การได้จูลี่ แอนดรูว์สมารับบทนำของเรื่อง-ช่วยทำให้หนังยิ่งเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดมากขึ้น จริงๆแล้ว บทมาเรียไม่ใช่บทที่เรียกร้องความสามารถในทางการแสดงเท่าใดนัก แต่แอนดรูว์สได้เปรียบนางเอกคนอื่นๆในรุ่นราวคราวเดียวกัน-ตรงที่เธอสามารถ ร้องเพลงได้ ด้วยบุคลิกภาพที่อ่อนหวานน่ารักบวกกับน้ำเสียงที่กังวานสดใส แอนดรูว์สประสพความสำเร็จกับบทนี้อย่างมหาศาลโดยเฉพาะในแง่ที่สามารถสร้าง การจดจำให้กับผู้ชมอย่างไม่รู้ลืม

งานกำกับภาพ-ที่ไปถ่ายทำกันถึงเมืองซอลส์เบิร์ก ประเทศออสเตรียถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเติมแง่มุมชวนตื่นตาตื่นใจ ให้กับหนัง อย่างเช่นฉากคลาสสิกช่วงเปิดเรื่องที่เป็นเฮลิคอปเตอร์ช็อท-ถ่ายให้เห็นมา เรียร้องเพลงด้วยอารมณ์เบิกบานเหนือทุ่งหญ้าบนเทือกเขาแอลพ์ หรือฉากมาเรียพาเด็กๆไปปิคนิกและเที่ยวเล่นในตัวเมืองซอลส์เบิร์ก-ที่โชว์ ทิวทัศน์งดงามและบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์

ความสำเร็จของผลงานในส่วนนี้ไม่ได้ส่งผลต่อความประทับใจของผู้ชมเท่านั้น แต่ยังทำให้คนจากทั่วสารทิศแห่กันไปเที่ยวเมืองซอลส์เบิร์ก จนบริษัทท่องเที่ยวหลายแห่งต้องจัดทัวร์ที่เรียกว่า ’ตามรอย The Sound of Music’


อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่หลงรักหนังเรื่องนี้ นักวิจารณ์หลายต่อหลายคนเห็นว่าหนังจงใจสร้างภาพที่ฟุ้งฝันเกินจริง รวมทั้งยังหาทางออกให้กับทุกปัญหาง่ายดายเกินไป-ซึ่งว่าไปแล้ว นี่คือข้อกล่าวหาเรื้อรังของหนังเพลงนับตั้งแต่ในยุคสตูดิโอเฟื่องฟู-แทบทุก เรื่อง

สิ่งที่นักวิจารณ์คนสำคัญอย่างพอลลีน เคล-รับไม่ได้อย่างยิ่งก็คือความเจ้ากี้เจ้าการของคนทำหนังที่พยายามใช้ เทคนิคอันหลากหลายเข้ามากำหนดอารมณ์และความนึกคิดของผู้ชม ทั้งเสียงเพลงที่ตั้งใจขับกล่อมผู้ชมให้เคลิ้มคล้อยลืมตัว หรือการถ่ายภาพแบบ soft focus ในห้วงเวลาที่ต้องการสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวล-โดยไม่ต้องสนใจเรื่องความแนบ เนียนในการนำเสนอ

เธอถึงกับระบุในข้อเขียนของนิตยสาร New Yorker ทำนองว่าความสำเร็จของหนังเรื่องนี้-สร้างความยากลำบากให้กับใครก็ตามที่ อยากจะนำเสนอผลงานแปลกใหม่ทั้งในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ หรือความกล้าหาญที่จะแหวกออกไปจากขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันมาต่อเนื่องยาว นาน

สิ่งที่เคล-ละไว้ฐานที่เข้าใจก็คือความสำเร็จของ The Sound of Music กลายเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผู้ชมพึงพอใจกับการได้อยู่ในโลกใบเก่าที่คุ้นเคย โลกที่ทุกอย่างล้วนเป็นสูตรสำเร็จที่ถูกนำมารีไซเคิลอย่างซ้ำซากนับครั้งไม่ ถ้วน

แต่ก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า คำวิจารณ์ในทางลบ-เกือบไม่ได้ส่งผลกระทบกระเทือนแม้แต่น้อย ผู้คนยังชื่นชอบและยังดูหนังเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พร้อมๆกับแฟนรุ่นใหม่ที่ยังคงเพิ่มจำนวนและสมทบให้กระแสความคลั่งไคล้ดำเนิน ไปอย่างไม่ขาดสาย

35 ปีที่ผ่านพ้น-จึงเป็นเพียงข้ออ้างที่นักดูหนังทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่จะได้หวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขสม และวันเก่าๆที่แสนหวาน





พวกเขาอยู่ที่ไหน

            ความผูกพันระหว่างผู้ชมกับบรรดาตัวละครใน The Sound of Music ดูเหมือนจะไม่ได้จบลงเพียงแค่เครดิตในช่วงท้ายเรื่องเท่านั้น คนจำนวนไม่น้อยยังคงติดตามข่าวคราวและความเคลื่อนไหวของบรรดานักแสดงใน เรื่อง และนี่คือความคืบหน้าล่าสุดของครอบครัวฟอน แทร็พพ์

            จูลี่ แอนดรูว์สปัจจุบันอายุ 66 ปี ยังคงเล่นละครเพลงบรอดเวย์ ล่าสุดเพิ่งจะอำลาบทสำคัญอีกบทในชีวิตการแสดง-เรื่อง Victor/Victoria

            คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์-อายุ 72 ปี ยังคงมีผลงานด้านภาพยนตร์ให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดที่เพิ่งผ่านสายตาผู้ชมในบ้านเราจาก The Insider เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วเพิ่งคว้ารางวัลโทนี่ในฐานะผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยมจากละครบรอดเวย์ เรื่อง Barrymore

            ชาเมียน คาร์ร ในบทลิเซิ่ล พี่สาวคนโต อายุของเธอในหนังคือ 16 ย่าง 17(ตามเนื้อเพลง “Sixteen Going on Seventeen”) แต่อายุจริงของเธอในตอนนั้น 21 ปี ปัจจุบัน 56 ปี เป็นคุณแม่ลูกสอง และเปิดบริษัทรับออกแบบภายใน ลูกค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งก็คือไมเคิล แจ็คสัน-ที่สารภาพว่าหลงรักเธอตั้งแต่เมื่อครั้งได้ดูหนัง

            เฮเธอร์ เมนซี่ ในบทลุยซ่า อายุ 49 ปี หลังจากความสำเร็จของ The Sound of Music เมนซี่ตัดสินใจถ่ายนู้ดลงในนิตยสารเพลย์บอยฉบับเดือนสิงหาคม ปี 1973 หลังจากนั้นเธอได้แสดงหนังทีวี.เรื่อง Logan’s Run เธอแต่งงานกับนักแสดงอีกคน โรเบิร์ต ยูริคจากหนังทีวี.ซีรี่ย์สเรื่อง Vegas ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูกสองเหมือนกัน

            นิโคลัส แฮมมอนด์ ในบทลูกชายคนโต-ฟรีดิค อายุ 48 ปี เขาได้ปรากฏตัวในหนังหลายเรื่อง รวมทั้ง Spiderman หย่าขาดกับอดีตภรรยาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ปัจจุบันอยู่ในออสเตรเลียและยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของหนัง, ละครเวที รวมทั้งโทรทัศน์

            ดเวน เชส ในบทเคิร์ท ลูกชายคนเล็ก อายุ 48 ปี ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการแสดงอีกเลยหลังจากเรียนจบ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านธรณีวิทยา ปัจจุบันเป็นคนออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับงานด้านธรณีวิทยาและ ธรณีฟิสิกส์

            แอนเจล่า คาร์ทไรท์ หรือบริกิตต้า อายุ 46 ปี เปิดร้านกิฟท์ช็อพในเมืองโทลูค่า เลค แคลิฟอร์เนีย หลังจากความสำเร็จของ The Sound of Music เธอยังได้แสดงหนังทีวี.ซีรี่ย์อีกเรื่อง นั่นคือ Lost In Space

            เดบบี้ เทิร์นเนอร์ ในบทมาร์ธ่า อายุ 42 ปี ทำธุรกิจทางด้านดอกไม้และเป็นนางแบบ แต่งงานและมีลูกสามคน ช่วงหนึ่งในชีวิตของเทิร์นเนอร์-เคยเป็นนักสกีอาชีพในยูท่าห์

            คิม คาแร็ธ ในบทลูกสาวคนสุดท้อง เกรเทิ่ล ปัจจุบันอายุ 41 ปี ยังคงเป็นนักแสดง เธอบ่นให้ใครต่อใครได้ยินเรื่อยๆว่า ในวิดีโอเทปของหนังเรื่อง The Sound of Music ที่เป็นภาพเต็มจอ หรือเวอร์ชั่น pan-and-scan คนที่ยืนริมขอบเฟรมด้านใดด้านหนึ่งจะต้องถูกตัดทิ้ง และโชคร้ายมักจะตกอยู่กับเธอที่ถูกกำหนดให้ยืนซ้ายสุดหรือขวาสุดเสมอ





นี่เป็นหนังในดวงใจอีกเรื่องที่ดูแล้วดูอีกไม่เคยเบื่อเลยครับ...เป็นหนังที่ดีจริงๆมีเพลงเพราะๆให้ฟังทั้งเรื่องครับ


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 5

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112734488 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :BoxerBral , DavidoosGot , Vilianarab , Vikisrx , JustinzeDew , Juliqpw , GordonFella , Michailrzd , IlyiaMug , Vikimyg ,