Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
หนังจีนในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-หย่งชุน หมัดสั้นสะท้านบู๊ลิ้ม830216.. 6/12/2555 19:39
-หนังจีนกำลังภายในยุคตี้หลุ๋ง หว่านจือเหลียงสมัยหนุ่มๆ75262.. 5/12/2555 13:26
-กระทู้นี้..ผีมาตามนัด1144132.. 26/11/2555 22:52
-ใบปิดหนังจีน เวอร์ชั่นไทย แชร์กันชม3243363.. 19/11/2555 17:22
-เอาโปสเตอร์หนังจีนมาให้เบิ่งกัน ลองทายดูซิว่ามีชื่อไทยว่าชื่ออะไร?71923.. 19/11/2555 16:02
-แนะนำช่อง GRAND ดูหนังจีนเก่า ๆครับ68453.. 12/11/2555 14:04
-หนัง เลิฟซีน เฉินหลงวัยกระเตาะ ALL IN THE FAMILY80440ยังไม่มีคนตอบ
-ปกหนังดีๆบางส่วน..ของว่านจือเหลียงสวยๆครับ64444.. 11/11/2555 22:52
-รายชื่อหนังจีน ชอว์ บราเดอร์ ที่ทำขายในประเทศไทย ทั้งดีวีดี และวีซีดี309561.. 29/10/2555 16:12
-โครงการ 7 stephen chow vol. 21789147.. 28/10/2555 18:42
-วิ่งปล้นฟัด..77644.. 26/10/2555 20:24
-ใหญ่สั่งมาเกิด ภาค 3 ... เรียกน้ำย่อยกันหน่อย1881730.. 25/10/2555 9:48
-โครงการ ตามล่าเสียงโรง ภาค 2636110.. 22/10/2555 13:30
-ฤทธิ์งู ฤทธิ์หมอ - The Killer Snakes (1974)68925.. 19/10/2555 16:02
-อิทธิฤทธิ์พญางู - The Snake Prince (1976)52837.. 19/10/2555 5:42
-CHiNESE ZODiAC (เฉินหลง)93677.. 18/10/2555 1:16
เลือกหน้า
[<<] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [>>]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1115

(ID:10632) โกวเล้ง ... สุดยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายใน


ว่าด้วยเรื่องราวงานเขียนของโกวเล้ง ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และทีวี ซึ่งคงจะไม่ครบทั้งหมด แต่พยายามสืบหามาให้ได้มากที่สุดครับ

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับท่านที่ชอบงานของโกวเล้งครับ



ความเห็น

[1] [2] [3] [4] [5] [6]


(ID:114834)

เริ่มด้วยประวัติก่อนครับ

โก้วเล้ง (Gu Long)  มีชื่อจริงว่า สงย่าวฮวา หรือ ฮิ้มเอี้ยวฮัว (Syong Yaohua) เกิดในฮ่องกง  เมื่อปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1937) บิดาเป็นชาวมณฑลกังไส (มณฑลเจียงซี - Jiangxi Province ) ซึ่งอพยพไปอยู่ฮ่องกง  โก้วเล้งจบการศึกษาภาคประถมที่ฮ่องกง แต่เมื่อปี พ.ศ. 2495 ขณะอายุได้ 14 ปี ก็เดินทางไปศึกษาต่อยังไต้หวันเพียงลำพัง  โดยพักที่ Juifang Town ในกรุงไทเป ตอนแรกที่พำนักอยู่ไต้หวันนั้น ยังมีการติดต่อกับครอบครัวทางฮ่องกง ค่าใช้จ่ายในไต้หวันเป็นครอบครัวทางฮ่องกงจัดส่งให้ แต่อีกสี่ปีให้หลังก็ขาดการติดต่อ นับแต่นั้นโก้วเล้งมีชีวิตอย่างลำบากยากแค้น ไร้บ้านช่องคืนกลับ สาเหตุที่ขาดการติดต่อ โก้วเล้งหาได้เปิดเผยไม่

 โก้วเล้งผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนตั้งแต่วัยรุ่น เคยผ่านช่วงชีวิตตกต่ำจนถึงขีดสุด เคยผ่านห้วงวิกฤตระหว่างความเป็นความตาย ผ่านความรัก ความแค้น ความเหงา มาสารพัด

วันหนึ่งโก้วเล้งเต็ดเตร่อยู่ในตรอกเล็ก ๆ ของถนนฮั้วเพ้งตั้งโล้ว กลางกรุงไทเป ในตัวมีเงินเพียงยี่สิบกว่าเหรียญไต้หวัน มาตรว่าสามารถกินอาหารตามแผงได้ แต่ปัญหาด้านที่พักอาศัยจะทำอย่างไร ?

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อฉบับบ่าย ในยามอับจนสิ้นหนทาง โก้วเล้งพบพานเพื่อนผู้มีนำใจ ท่านหนึ่ง หาที่ซุกหัวนอนที่ถนนโพ่วเซี้ยให้ พร้อมกับจุนเจืออาหาร ภายหลังเมื่อโก้วเล้งเอ่ยถงเพื่อนผู้มีพระคุณท่านี้ ยังเคารพนับถือไม่เสื่อมคลาย

หลังจากนั้นไม่นาน โก้วเล้ง หางานทำชั่วคราวได้ที่วิทยาลัยฝึกหัดครู พอมีรายได้เลี้ยงชีพ ทางหนึ่ง ทำหน้าที่เขียนกระดาศษไข พิมพ์โรเนียวและตรวจปรูฟสิ่งพิมพ์ ทางหนึ่ง สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใน มหาวิทยาต้ากัง คณะอักษรศาสตร์ แผนกภาษาต่างประเทศ (ขณะที่โก้วเล้งเรียนอยู่นั้นมหาวิทยาลัยต้ากัง ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยว่าว่า Tamkang English Junior College ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Tamkang University) จนสำเร็จการศึกษา ได้ปริญญาบัตรมาใบหนึ่ง ภาษาอังกฤษของโก้วเล้งดีเยี่ยม ทว่าคนภายนอกรู้ไม่มากนัก

ภายหลังจบการศึกษา โก้วเล้งสอบเข้าทำงานในคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันประจำกรุงไทเป ตำแหน่งบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด (ช่วงเวลานั้นมีทหารอเมริกันอยู่ที่เกาะไต้หวัน และ เกาะคีมอยหลายหมื่นคน)

ประมาณปี พ.ศ. 2503 นิยายกำลังภายในที่ไต้หวัน เฟื่องฟูอย่างยิ่ง ระหว่างนั้น ไต้หวันมีสองนักเขียนชื่อดัง อ้อเล้งเซ็ง กับ จูกั๊วแชฮุ้น ครองความยิ่งใหญ่อยู่ ทางการไต้หวันก็สนับสนุน (เพราะงมงายในหนงสือดีกว่าฟุ้งซ่านทางการเมือง) โก้วเล้งใช้เวลาว่างระหว่างทำงาน ทดลองเขียนส่งไปให้กับ สำนักพิมพ์ลื่อสี

โก้วเล้งเริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเมื่ออายุ 23 ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เรื่องแรกคือ "เทพกระบี่โพยม" หรือ ซังเกี่ยมซิ้งเกี่ยม (Cangqiong Shen Jian) แต่คงวนเวียนอยู่ในแนวทางเก่าๆ โดยใช้นามปากกาว่า พ่อเกี่ยมเล้าจู๊ มีความยาว 12 เล่ม ได้รับค่าต้นฉบับเล่มละ 800 เหรียญไต้หวัน (ประมาณ 400 บาทเศษ) โดยเขียนเล่มละสี่หมื่นสองพันตัว คิดเฉลี่ยแล้ว อักษรหนึ่งพันตัวมีราคาประมาณ 19 เหรียญไต้หวัน (ไม่ถึงสิบบาท) เท่านั้น

แรกผลักดันให้โก้วเล้งเขียนนิยายกำลังภายใน ไม่มีเหตุผลหรูหราเลิศลอยอันใด โก้วเล้งกล่าวว่า เพียงเพื่อหาเงินเท่านั้น
เรื่องที่ประสบความสำเร็จจนพอมีชื่อเสียงขึ้นมาบ้างก็คือ ศึกษาเลือด เป็นแนวรักขัดแย้ง ในสายเลือดและความคิด มีอารมณ์เป็นแกน แทนการฆ่าล้างแค้น

ต่อจากนั้นคือ พิฆาตทรชน (เกี่ยมตั๊กบ๊วยเฮียม) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดแต่งโดย Shangguan Din, ฉั่งกิมข่วยเง็ก อิ้วเฮียบลก, ซิกฮุ้นอิ้ง โกวแชตึ่ง, เซียวกี่เกี่ยม ภายหลังโก้วเล้งบอกว่า เรื่องเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่ใช้ไม่ได้ แทบปราศจากแนวความคิด และแบบฉบับของตัวเอง ถัดจากนั้นคือ เพียวเฮียงเกี่ยมโหงว, ฮู่ฮวยเล้ง, ศึกศรสวาท (เช้งยิ้นจี่), นักสู้ผู้พิชิต (อ้วงฮวยโซยเกี่ยมลก)

จวบจนกระทั่ง บู๊ลิ้มงั่วซือ (ราชายุทธจักร, 2509) แนวการเขียนของโก้วเล้งค่อยเปลี่ยนแปลง สลัดหลุดจากแนวทางของผู้อื่น อาศัยความคิดและแบบฉบับของตัวเอง

โก้วเล้งเคยกล่าวว่า "จนถึงเรื่อง ราชายุทธจักร (อู่หลินไว่เส่อ) วิธีการเขียนของข้าพเจ้าจึงค่อยๆเปลี่ยนไป ค่อยๆ ห่างออกจากแบบอย่างของผู้อื่นทีละน้อย"

ตอนนั้น นิยายกำลังภายในที่จัดพิมพ์จำหน่าย มีจำนวนหลายร้อยหลายพันเล่ม แบบฉบับของนิยายกำลังภายในที่ขายดีทั่วไป มักเป็นเรื่อง ลึกลับซับซ้อน พลิกความคาดหมาย ตัวเอกได้คัมภีร์วิทยายุทธ์ ยาวิเศษหรือผลไม้พันปีเพิ่มพูนกำลังฝีมือ โครงเรื่องบางประการแทบยึดมั่นเป็นแบบฉบับ นักอ่านที่เจนจัด ขอเพียงอ่านตอนแรกเริ่ม ก็คาดเดาตอนอวสานได้

ตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุด เป็นเหตุให้โก้วเล้งมีโอกาสศึกษาวรรณกรรมตะวันตกจำนวนมาก ดังนั้น ยอมรับวรรณกรรมต่างประเทศ สลัดหลุดจากกฏเกณฑ์ของนิยายกำลังภายในทั่วไป ยุทธจักรนิยายของโก้วเล้งจึงมีโฉมหน้า และแบบฉบับที่เป็นเอกเทศเฉพาะ

หลังจากนั้นก็เริ่มเขียนนิยายในแนวทางของตนเอง ผลงานของโก้วเล้งที่เป็นที่รู้จักได้แก่ เซี่ยวฮื่อยี้ (เจวี่ยไต้ซวงเซียว, 2510), จอมกระบี่มากน้ำใจ, เล็กเซียวหง, อาวุธของโก้วเล้ง, จอมดาบหิมะแดง,  จอมโจรจอมใจ (ชอลิ่วเฮียง, 2510),  ฤทธ์มีดสั้น (ตอเช้งเกี่ยมแขะบ้อเช้งเกี่ยม, 2511)

นอกนั้นยังมี จับอิดนึ้ง (2512) และ ยอดขุนโจร (ฮวยเป๋งจับอิดนึ้ง, 2517) เขียนถึงตัวเอกที่ถูกตราหน้าเป็นโจร แต่มีคุณธรรมล้ำฟ้า, ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ (ลิ้วแช ฮู้เตี๊ยบ เกี่ยม, 2512) เขียนถึงชีวิตของมือสังหาร ความรัก ก็อดฟาเธอร์ของจีน), วีรบุรุษสำราญ (ฮัวลักเอ็งฮ้ง, 2514) เขียนถึงตัวเอกหลายคน มีสีสันแตกต่างกัน และร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ซาเสียวเอี้ย (2518) เขียนถึงชีวิตของวีรบุรุษนักเลง สอดแทรกปรัชญาไว้อย่างลึกซึ้ง ). อินทรีผงาดฟ้า (2519) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดเขียนโดย Sima Ziyan เป็นเรื่องชีวิตการต่อสู้ของลูกผู้ชายซึ่งยึดมั่นในความรัก

จากนั้นคำว่า "นิยายแบบโก้วเล้ง" "สำนวนแบบโก้วเล้ง" "บทสนทนาแบบโก้วเล้ง" ซึ่งมักแฝงด้วยสำเนียงเยาะเย้ยอยู่สามส่วนยามเอ่ยจากปากของผู้อื่น จึงค่อยๆก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น (จากเดียวดายใต้เงาจันทร์ โก้วเล้งรำพัน)

แม้ว่าผู้อ่านบางคนจะไม่รู้หรือจำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่ก็สามารถจดจำชื่อตัวละครได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความสามารถของโก้วเล้งในการสร้างบุคลิกภาพของตัวละครได้หนักแน่นและใกล้ชิดกับจิตวิญญาณของผู้คน ตัวละครอย่าง ชอลิ้วเฮียง, ลี้คิมฮวง, เอี๊ยบไค, อาฮุย ต่างพากันโลดแล่นในจินตนาการของผู้อ่าน บ้างก็เติบโตมาพร้อมกันในโลกจินตนาการ

แม้ว่าโก้วเล้งจะออกตัวว่า แรงดลใจที่ทำให้เขาเขียนนิยายยุทธจักร ไม่ใช่หลักการเลิศหรูประการใด "เพียงแต่ต้องการหาเงินกินข้าวเท่านั้น" แต่โก้วเล้งก็เห็นว่า "นิยายกำลังภายในก็เป็นรูปแบบหนึ่งของนวนิยาย ที่มันสามารถดำรงอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีคุณค่าในการคงอยู่ของมัน"

โก้วเล้งรู้สึกขื่นขมกับการเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในของตนอยู่ตลอดเวลา เพราะในสายตาของคนส่วนใหญ่ นวนิยายกำลังภายในมิเพียงมิใช่วรรณกรรม กระทั่งไม่อาจนับเป็นนวนิยาย โก้วเล้งกล่าวว่า
"เขียนนวนิยาย เขียนมา 20 ปีแล้ว นวนิยายที่เขียนเป็นเช่นไร? นวนิยายกำลังภายใน คือ นวนิยายชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่นวนิยาย ในสายตาผู้อื่น"

โก้วเล้งให้ความหวังกับนักเขียนรุ่นใหม่ว่า "ความสำเร็จในอนาคตของพวกเขา ย่อมจะสูงกว่าข้าพเจ้าอย่างแน่นอน สูงกว่าสามหมื่นหกพันแปดสิบเท่า ขอเพียงพวกเขาสามารถจดจำถ้อยคำหนึ่งไว้ได้ เป้าหมายสูงสุดของการเขียนหนังสือคือ การสร้างสรรค์จากการเปลี่ยนแปลง"

หลังจากปี 1975 งานเขียนของเขาถึงกับแย่ลง รูปแบบสไตล์การเขียนถูกลอกเลียนแบบโดยนักเขียนรุ่นใหม่ เมื่อสไตล์การเขียนแบบโก้วเล้งเสื่อมถอยหมดความนิยม ทำให้ความนิยมของนิยายกำลังภายในลดลงไปด้วย 

ชีวิตแต่หนหลังของโก้วเล้ง ขณะที่ผู้อื่นแบกกระเป๋าไปโรงเรียน ก็ระเหเร่ร่อนในยุทธจักรแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเงินทองจากการเขียนหนังสือ จึงจับจ่ายราวก้อนกรวดไม่เสียดาย โก้วเล้งไม่ยอมอยู่เงียบเหงา ชมชอบคบหาสหายที่สุด ร้านอาหาร บาร์และตลาดโต้รุ่ง เป็นสถานที่ซึ่ง เป็นสถานที่ซึ่งโก้วเล้งมักไปเยี่ยม เยือนอยู่เสมอ อาศัยสุรานัดพบ อาศัยสถรานัดพบสหาย

ผลจากการดิ่มสุราอย่างหนัก โก้วเล้งต้อง ล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็ง ม้ามโตและเลือดออกทางกระเพราะ แข็งออกโรคพยาบาลถึงสามครั้งสามครา

ก่อนสิ้นใจไม่กี่วัน โก้วเล้งยังร่ำดื่มอย่างเต็มที่ เป็นเวลาสามวันสามคืน หวังให้ตัวเองเมามายพันปี โก้วเล้งกล่าวว่า หากอดสุรา กลับมิสู้ตาย นับเป็นการดื่มสุราครั้งสุดท้าย เท่ากับยุติชีวิตลงด้วยสุราอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 อายุได้ 48 ปี มีงานเขียนมากกว่า 80 เรื่อง

ที่มา : www.jadedragon.net




(ID:114852)

มาเริ่มที่นวนิยายแนวกำลังภายในเรื่องแรกของโกวเล้ง

เทพกระบี่โพยม ... ไทยยังไม่มีแปล

กระบี่พิษเหมยหอม ... แปลโดย ว. ณ เมืองลุง ในชื่อ พิฆาตทรชน


+


(ID:114853)

ถัดมาอีก 2 เรื่อง ยังไม่มีแปลเป็นไทย จนมาถึง ... ดาวแปลกเดือนลี้ลับ แปลโดย ว. ณ เมืองลุง ในชื่อ เพลิงอาฆาต

เนื้อเรื่องถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง

1981 - Chivalry Deadly Feud (ไต้หวัน) นำแสดงโดย หวังกวงสง ไป่อิง จงหัว ... ฉายในไทยชื่อ ฤทธิ์ดาบสะท้านบู๊ลิ้ม

1982 - Bloody Mission (ฮ่องกง) นำแสดงโดย หลิวหย่ง จิงลี่ ฉีเส้าเฉียน ชิกวนชุน ... ไม่ทราบว่าฉายไทยชื่ออะไร


+
+


(ID:114859)

รู้แต่ชื่อมานานแต่ก็พึ่งจะรู้ประวัติก็วันนี้ล่ะครับ แล้วอยากทราบว่าใครแต่งเรื่องมังกรหยกครับ




(ID:114918)

ขอบคุณท่านพี่แอ๊ดครับ

มังกรหยก เป็นของกิมย้งครับ ... สำหรับกิมย้งต้องถือว่าเป็นอันดับ 1 มีชื่อเสียงมานาน เป็นทั้งนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ โดยก่อตั้ง นสพ หมิงเป้า ชื่อดังของจีน และได้มีนิตยสารนิยายสำหรับนักอ่านด้วยเล่มนึง

อาจจะเรียกได้ว่า ถ้าโกวเล้งไม่ได้รับโอกาสจากกิมย้ง คงไม่มีโกวเล้งในทุกวันนี้ ... มีอยู่ครั้งนึง กิมย้งเขียนนิยายลงนิตยสารเล่มนั้นไม่ทัน มีพื้นที่หน้าเหลือ จึงให้โอกาสโกวเล้ง เอานิยายที่เค้าเขียนไว้มาลงแทน ซึ่งนิยายเรื่องนั้นก็คือ เซียวฮื้อยี้ ... ผลคือ โกวเล้ง โด่งดัง กลายเป็นขวัญใจนักอ่านทันที




(ID:114943)

บันทึกดาวเดี่ยว ... แปลโดย น.นพรัตน์ ในชื่อ ดาวเดี่ยวไม่เดียวดาย

กระบี่ไผ่เซียงฮุย ... แปลโดย ว. ณ เมืองลุง ในชื่อ เทพบุตรจอมสังหาร

ปี 1980 กระบี่ไผ่เซียงฮุย ได้ถูกนำโครงเรื่องไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Revenger (ฮ่องกง) นำแสดงโดย ตี้หลุง ถังเต้าเหลียน หลิงหยุน ... ฉายในไทยชื่อ ศึกสายเลือดเหยี่ยวทองคำ


+ +
+


(ID:114947)

กระดิ่งพิทักษ์บุปผา ... แปลโดย น.นพรัตน์ ในชื่อ มังกรไม่ตาย

1981 นำไปทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Beauty Escort (ฮ่องกง) นำแสดงโดย หลิงหยุน เหมียวเข่อซิ่ว เฉินหุ้ยเหมี่ยน ... ฉายในไทยชื่อ ศึกกระดิ่งสวาท


+
+


(ID:114948)

พิรุณกระบี่กระจายหอม ... แปลโดย น.นพรัตน์ ในชื่อ กระบี่กระจายหอม

1977 ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Lost Swordship (ไต้หวัน) นำแสดงโดย เถียนเผิง ... ฉายในไทยชื่อ จั่นเจา เทพบุตรดาบบิน


+
+


(ID:114972)

สุดยอดครับแล้วอย่าลิมเอาประวัติของกิมย้งและท่านอื่นๆมาให้อ่านบ้างนะครับเพราะบางทีพวกเราดูแต่หนังแต่ไม่เคยทราบประวัติของผู้ประพันธ์เรื่องเลย สุดยอดครับ

ข้าน้อยขอคาระวะด้วยจอกสุราพันถ้วย...




(ID:114994)

โอว ท่านพี่ ข้าน้อยมิบังอาจ มิบังอาจ ... 55 สำนวนแบบจอมยุทธ์ซะหน่อย

ขอบคุณที่ท่านพี่ชอบนะครับ สำหรับกิมย้ง ถือว่าเป็นปรมาจารย์ทางด้านนี้ ย่อมไม่พลาดอยู่แล้วครับ แต่ที่ลงของโกวเล้งก่อนเพราะว่าเขียนไว้เยอะ และพอผมหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็เจอว่า นำมาทำเป็นหนังหลายเรื่องครับ

กิมย้ง แต่งนวนิยายทั้งหมด 15 เรื่อง แต่ต้องยอมรับว่า ทุกเรื่องล้วนเป็นงานอมตะทั้งสิ้น เช่น มังกรหยก นั่นไงครับ




(ID:115035)
เยี่ยมเลยครับกระทู้นี้ เพราะผมเองก็เป็นแฟนหนังสือของมังกรโบราณท่านนี้เหมือนกัน

โกวเล้งและกิมย้ง แม้จะเป็นสหายรักต่างวัย และยังเป็นสุดยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายในด้วยกันทั้งคู่ แต่กลวิธีการเขียนของทั้งสองท่านกลับแตกต่างกัน

กิมย้ง แทบจะเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เพราะผลงานของท่านหลายเรื่องสามารถสร้างชื่อเสียงในแดนโพ้นทะเลอย่างเมืองไทย มาเลเซียหรือสิงคโปร์ แนวทางของท่านคือมีเนื้อหาพล็อตเรื่องที่หนักแน่นรัดกุม หลายเรื่องมีการอิงประวัติศาสตร์สร้างความเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี ผลงานของท่านผ่านการปรับปรุงมามากมายหลายครั้ง และสามารถเพิ่มคุณค่าได้ตลอดเวลาที่มีการปรับปรุงผลงาน

โกวเล้ง ก็มีชื่อเสียงในโพ้นทะเลไม่แพ้กัน แต่ผลงานของท่านมักจะอยู่บนเนื้อหาที่ผูกเรื่องอย่างหลวม ๆ ไม่เน้นที่พล็อตเรื่อง แต่เน้นที่อารมณ์ของเรื่อง อารมณ์ของตัวละคร รวมทั้งยังใช้กลวิธีการเขียนและสำนวนที่แตกต่างไปจากนักเขียนท่านอื่น ด้วยข้อความที่กระชับสั้น แต่แฝงไว้ด้วยอารมณ์

โกวเล้งยังเป็นนักเขียนที่ผ่านการดูหนังมามาก หลายครั้งที่เขียนออกมาเหมือนกับกำลังชมภาพยนตร์ มีการตัดต่อในตัวเสร็จสรรพ ทำให้ได้อรรถรถในแบบที่นักเขียนยุคนั้นไม่เคยทำ

ตัวละครของกิมย้งและโกวเล้งก็มีความแตกต่างกัน ตัวละครของกิมย้งมักจะมีความห้าวหาญ หลายคนเป็นตัวละครในอุดมคติ (เช่น ก๊วยเจ๋ง) แม้ยุคหลังตัวละครจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น (เช่นเหล็งฮู้ชง,อุ้ยเซี่ยวป้อ) แต่เนื่องจากเนื้อหาที่โดดเด่นทำให้ หลายครั้งเนื้อหาจะน่าสนใจกว่าตัวละคร

สำหรับโกวเล้ง ตัวละครจะมีความปุถุชนสูงกว่า (เช่นเล็กเซี่ยวหงส์, เซียวฮื้อยี้) หนังสือเองก็มักจะบรรยายถึงพฤติกรรมของตัวละครมากกว่าจะเล่าเรื่องราวของเนื้อหา หรือจะเรียกว่าการกระทำของตัวละครในหนังสือของโกวเล้งเป็นการกำหนดทิศทางของเรื่อง

เขียนมายืดยาวก็เพื่อจะบอกความเหมือนความต่างของสองสุดยอดนักเขียนนวนิยายกำลังภายใน (อันที่จริงมีอีกหลายท่านแต่ขอไม่กล่าวถึงในที่นี้) และยังมีอีกหลายความเหมือนความต่างของท่านทั้งสองที่จะขอเขียนถึงในโอกาสถัดไป

สำหรับผลงานของโกวเล้ง ผมเคยอ่านผ่านตาน่าจะมากกว่าแปดส่วน (นับเฉพาะที่มีการแปลเป็นภาษาไทย) รวมทั้งที่มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ก็มีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะการสร้างของชอว์บราเดอร์ ซึ่งผมคงขออนุญาตพี่เสือในการเสริมข้อมูลในบางโอกาสนะครับ






(ID:115036)
สำหรับข้อมูลเรื่องผลงานงานเก่ายุคแรกของโกวเล้ง ผมมีอีกข้อมูลที่แย้งกับท่านเสืออยู่เล็กน้อย 

ผลงานในยุคแรกของโกวเล้งที่ว่ามีเรื่องศึกสายเลือด อยู่ด้วยนั้นหลายท่านบอกว่าไม่น่าจะใช่ ด้วยเหตุดังนี้

ยุคแรกของโกวเล้งใช้อีกนามปากกาว่าเซียงกัวเตี้ย เขียนเรื่องพิฆาตทรชน แต่เขียนไว้ไม่จบ ภายหลังมีผู้อื่นมาเขียนต่อจนจบ 

จากนั้นคนผู้นั้นก็ไปเขียนเรื่องศึกสายเลือด (คนละเรื่องกับหนังทีวีชุดนะครับ) และนำนามปากกาเซียงกัวเตี้ยไปใช้อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้แปลโดยคุณ ว. ณ เมืองลุง หลายคน (รวมทั้งสำนักพิมพ์ในเมืองไทย) จึงคิดว่าเป็นผลงานของโกวเล้ง

แต่ถ้าจะดูจากรายชื่อผลงานของโกวเล้งที่คุณ น.นพรัตน์ เคยรวบรวมไว้ จะไม่มีเรื่องศึกสายเลือดรวมอยู่ด้วย

เป็นเสนอข้อมูลในอีกมุมมองครับ ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วย





(ID:115054)

เยี่ยมเลยครับเพราะผมเองยอมรับว่าไม่เคยรู้ข้อมูลเหล่านี้เลยครับ

อย่าลืมเอาข้อมูลของหนังจีนรักๆจากไต้หวันมาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ โดยเฉพาะผู้กำกับที่ชื่อหลีสิง นี่สุดยอดครับ




(ID:115081)

ขอบคุณท่านพี่ Marino ครับผม ... ผมเองต้องยอมรับเลยว่า ไม่ใช่นักอ่านนวนิยายเลยครับ ตอนเด็กๆ อ่านแต่การ์ตูน ประมาณว่าหนังสือเล่มไหนไม่มีภาพล่ะก้อ ไม่แตะ 55 มาลองอ่านก็ตอนโตแล้วน่ะครับ ซึ่งก็อ่านงานของทั้ง 2 ท่านนี้น้อยมาก ... น้อยมากจริงๆ

สำหรับเรื่อง ศึกสายเลือด ผมขอยกข้อความจากการเรียบเรียงของท่าน น.นพรัตน์ ในหนังสือ โกวเล้ง มังกรเมรัย ตามนี้ครับ

""ยังมีงานเขียนยุคแรกของโกวเล้ง ยังใช้นามปากกาอื่นอีกสองชื่อ กล่าวคือใช้ชื่อ ผ่อเกี่ยมจือเซ็ง เขียนเรื่อง เกี่ยมขี่จือเฮียง (พลังกระบี่ตำราหอม) และใช้นามปากกา เซียงกัวเตี้ย เขียนเรื่อง เกี่ยมตั๊กบ๊วยเฮียง (กระบี่พิษดอกเหมย) ... โกวเล้งเขียน เกี่ยมตั๊กบ๊วยเฮียง ไม่จบ ทางสำนักไต้หวันจึงจัดหานักเขียนอื่นมาเขียนแทน โดยใช้นามปากกาเซียงกัวเตี้ยต่อไป ซึ่งนักเขียนที่ใช้นามปากกานี้ เป็นเด็กหนุ่มสามพี่น้อง และผลงานที่สร้างชื่อให้แก่เซียงกัวเตี้ยมากที่สุดคือเรื่อง ฉิกโป่วกังคอ (ซึ่งก็คือ ศึกสายเลือด นี่เอง)""

พอดีว่าประวัติที่ผมนำมาลงไว้ที่ข้างต้น ผมก็อปปี้มาจากแหล่งอื่นครับ เลยไม่ได้แก้ไขบทความของท่านที่เขียนไว้ครับผม ... ขอบคุณสำหรับการทักท้วงมานะครับ

สำหรับข้อมูลอื่นๆ เข้ามาเสริมได้เลยครับท่านพี่ เพราะผมรู้น้อยจริงๆ ... กว่าจะล่าชื่อหนังที่มาจากงานของโกวเล้งได้นี่ ลมแทบจับครับ 55 หาข้อมูลเสริมจากหลายแหล่งมาก ทั้งไทย อังกฤษ จีน โดยเฉพาะภาษาจีนนี่สุดยอดครับ ผมก็งูๆ ปลาๆ แค่จีนกลาง แต่ชื่อต่างๆ ที่นักแปลทั้ง 2 ท่านของบ้านเรา (ว. ณ เมืองลุง , น.นพรัตน์) แปลออกมาเป็นจีนแต้จิ๋ว ซึ่งผมไม่รู้เลย

ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่นามปากกา โกวเล้ง นี่ไงครับ จีนกลางจะอ่านว่า กู่หลง (กู่ = เก่า โบราณ , หลง = มังกร , กู่หลง = มังกรโบราณ) พอเป็นแต้จิ๋ว ก็อ่านเป็น โกวเล้ง




(ID:115082)

ภาษาจีนวันละคำวันนี้ ขอเสนอคำว่า ... (เลียนแบบคุณปัญญาจากรายการ เพชฌฆาตความเครียด ใครรู้จัก แสดงว่าเป็น ส.ว. อิอิ)

คำว่า ... ฉิง เหริน เจี้ยน (ฉิง = รัก , เหริน = คน , เจี้ยน = ธนู) แปลกันตรงๆ ว่า ศรคนรัก ... แต่ถ้าเป็นแต้จิ๋วจะอ่านว่า เช้ง ยิ้น จี่ ... ดูดิ คนละทางกันเลยนั่น

น.นพรัตน์ แปลไว้ในชื่อ ศึกศรสวาท ... เรื่องนี้ผมสงสัยว่าจะถูกดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์ตอนนึงของ ชอลิ้วเฮียง แต่ไม่ชัวร์นะครับ ขอละไว้ก่อน เดี๋ยวมาพูดถึงกันอีกทีในส่วนของ ชอลิ้วเฮียง


+


(ID:115083)

ประวัติวีรบุรุษธวัชใหญ่ ... แปลโดย น.นพรัตน์ ในชื่อ ธวัชล้ำฟ้า

1982 ชอว์ฯ จับมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Clan Feuds นำแสดงโดย ตี้หลุง ไป่เปียว หลอเมิ่ง ซุนเจี้ยน หลี่ลี่ลี่ ... ฉายในไทยชื่อ เจ้าอินทรีคะนองศึก


+
++


(ID:115084)

และมีการทำเป็นซีรี่ย์ 3 ครั้ง (เท่าที่พบ) ตามนี้ครับ

1986 TV ไต้หวัน นำโดย เมิ่งเฟย หยางลี่ชิง กวนชง

1989 TVB ฮ่องกง นำโดย ซือซิ่ว เฉินถิงเหว่ย หลิวชิงหวิน

2007 CCTV จีน ร่วมแสดงโดย เหวินเจ้าหลุน


+ +
+


(ID:115304)

บันทึกซักล้างบุปผาชำระกระบี่ ... แปลโดย ว. ณ เมืองลุง ในชื่อ นักสู้ผู้พิชิต

1982 ชอว์ฯ จับมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง The Spirit Of The Sword นำแสดงโดย หลิวหย่ง กู้กวนจง เยี่ยะหัว หลอลี่ ... ฉายในไทยชื่อ ฤทธิ์ดาบสุริยามหากาฬ

**บ้านเรา United ตั้งชื่อว่า ฤทธิ์ดาบสุริยะมหากาฬ**


+
++


เลือกหน้า
[1] [2] [3] [4] [5] [6]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 103

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112929163 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :GermanFoup , HelenViefs , DonaldSap , Davidfable , พีเพิลนิวส์ , AntonGeods , เอก , Carlosincof , autogNer , Pojja ,