Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
แหล่งความรู้ โฮมเธียเตอร์ โปรเจคเตอร์ และเครื่องฉายดิจิทัลในบ้านเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-benq ms517 กับจอ6เมตร จะไหวไหมครับ มือใหม่อยากลองครับ.. 25/10/2557 18:00
-ขอวิธีการปรับสึและภาพdell1610hdอย่างเข้าใจง่ายครับ.. 9/10/2557 15:09
-แผ่นรวมแสง หาซื้อได้ที่ไหนครับ.. 29/9/2557 2:09
-"แม็คอินทอช" ตำนานเกริกไกรแห่งวงการเครื่องเสียง.. 26/9/2557 6:47
-ONKYO TX-NR3030 และ TX-NR1030 รีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์แอมป์ตัวล่าสุดที่มีตัวถอดรหัส Dolby Atmos!.. 22/9/2557 15:21
-DEll 4320 ในที่สุดความฝันก็เป็นจริง เด๊วของมา จะนำมาให้ชมครับ กว่าจะขอแม่บ้านได้แทบตายครับ ... ดีนะเธอรู้ว่าคนมันรักมันชอบ.. 22/9/2557 11:18
-ข้อมูลความรู้เรื่องตู้ลำโพงนั้นสำคัญไฉน.?ยังไม่มีคนตอบ
-ข้อมูลความรู้.ความเป็นมาและเป็นไปของเทปคาสเซท.. 18/9/2557 15:55
-น่าใช้รึเปล่าครับ BEN Q MW721.. 16/9/2557 13:16
-A-1 เครื่องเล่น Media Player รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Egreat ที่เตรียมจะออกมาเขย่าวงการในเร็วๆนี้... 15/9/2557 21:40
-อยากให้มีการพูดถึงการใช้โนตบุคในการฉายมั่งครับ.. 6/9/2557 12:17
-ข้อมูลความรุ้...เจมส์ บูลโล แลนซิ่ง.ผู้ให้กำเนิดลำโพงชื่อดังคับโลกยี่ห้อ JBL.. 6/9/2557 0:07
-มือใหม่ครับ ขอสอบถามหน่อย.. 28/8/2557 20:53
-ช่วยพิจารณาด้วยครับ .. 12/8/2557 16:19
-BenQ TW523P รุ่นนี้เป็นไงครับ.. 6/8/2557 20:41
-จอแบบจนๆๆแต่เจ๋ง.. 3/8/2557 17:06
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 940

ข้อมูลความรู้เรื่องตู้ลำโพงนั้นสำคัญไฉน.?


บทความเกี่ยวกับเรื่องตู้ลำโพงของคุณเบญจรงค์เซียนเครื่องเสียงและแผ่นเสียงซึ่งเขียนบทความความรู้อยู่ที่เวบซิโด้บอร์ดและเม็ดทรายบอร์ด.ผมเห็นว่าน่าจะเป็นสาระประโยชน์แก่เพื่อนๆสมาชิกเวบพีเพิลซีนแห่งนี้.ก็เลยขออนุญาติคัดลอกบทความจากคุณเบญจรงค์..มาลงเป็นสาระประโยชน์แก่ผู้สนใจในห้องโฮมเธียเตอร์นี้ครับ พร้อมกับขอขอบคุณคุณเบญจรงค์เจ้าของบทความมาณ.โอกาสนี้ด้วยครับ...


***คำว่า"ลำโพง"เป็นภาษาไทยแท้ ให้ความหมายสื่อไปถึง
อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียง
ให้เราได้ยิน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า"Transducer"หรือ"Speaker"
สาเหตุที่บ้านเราเรียกว่าลำโพง ก็คงมาจากรูปลักษณ์ภายนอกที่
ดูคล้ายดอกไม้ไทยชนิดหนึ่งนั่นคือ"ดอกลำโพง"ซึ่งไม่ค่อยพบ...


เห็นได้ง่ายนัก เนื่องจากเครื่องเล่นจานเสียงสมัยก่อนมักติดตั้ง
อุปกรณ์เปล่งเสียงเป็นลักษณะปากบานแบบปากแตร เพื่อขยาย
คลื่นเสียงให้มีความดังเพียงพอ ผู้ผลิตบางเจ้าก็ทำการตกแต่ง
ปากแตรให้มีลวดลายสวยงามสะดุดตา เผอิญมันดันมาคล้ายดอก
ลำโพง คนไทย(โบราณ)ก็เลยเรียกมันอย่างนั้น จวบจนปัจจุบัน....



ต่อมามีการพัฒนาตัวขับเสียง(Driver)เป็นรูปกรวยอย่างที่
เราเห็นกันทุกวันนี้(ชาวบ้านยังเรียกว่า"ดอกลำโพง"อยู่) โดยมี
โครงเป็นโลหะและไดอะแฟรมเป็นกระดาษหรือวัสดุซึ่งมีมวลเบา
ทำหน้าที่ผลักอากาศเป็นคลื่นเสียง ตัวขับเสียงขนาดใหญ่เรียกว่า
"วูฟเฟอร์"(Woofer) ใช้สำหรับเปล่งเสียงความถี่ต่ำ(เสียงทุ้ม)
จะเห็นว่าโครงด้านหลังไดอะแฟรม(กรวย)จะทำเป็นช่องโปร่ง
เพื่อไม่ให้อากาศด้านหลังทำตัวเป็นแรงต้านการขยับเข้าออก
ของกรวย แต่ก็มีข้อเสียคือ คลื่นความถี่ด้านหน้าและด้านหลัง
กรวยจะเกิดการการหักล้าง ณ จุดที่คลื่นทั้งสองด้านมาพบกัน
ทำให้เสียงความถี่ต่ำ ๆหายไป วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือ หาแผง
ไม้มากั้นไม่ให้คลื่นเสียงทั้งสองด้านมาพบกันได้ อาจใช้วิธียึด
ติดกับผนังห้อง โดยให้คลื่นด้านหน้าและหลังกรวยอยู่คนละห้อง
ถึงแม้จะแก้ปัญหาการหักล้างของคลื่นเสียงได้ แต่ก็ยุ่งยากในทาง
ปฎิบัติ อีกวิธีนึงก็คือทำตู้แบบเปิดฝาหลัง เพื่อให้คลื่นด้านหลังกรวย
ใช้เวลาเดินทางนานขึ้นกว่าจะมาพบกับคลื่นทางด้านหน้า ซึ่งจะ
ไม่เกิดการหักล้างกันเนื่องจากคลื่นเดินทางคนละเวลา แต่ก็ต้อง
ทำตู้ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะหน่วงเวลาคลื่นด้านหลังกรวยได้ ซึ่งก็
ไม่ใช่เรื่องหมู ๆอีก
       สรุปคือยังไงก็ต้องทำตู้ ลืมบอกไปนิดนึงครับ ตู้(ฝรั่งเรียก"Box"
หรือกล่อง)ใช้เฉพาะกับตัวขับเสียงแบบไดนามิค(Dynamic) และมีผล
ต่อเสียงความถี่ต่ำ(20 - 200 เฮิทซ์)เท่านั้น ซึ่งเป็นย่านความถี่ของ
เครื่องดนตรีหลายชนิดเช่น เบส, กลอง, ไปป์ออแกน หากลำโพงไม่
สามารถถ่ายทอดเสียงความถี่ต่ำนี้ได้ การฟังเพลงย่อมขาดอรรถรส
จึงเป็นภาระของนักฟิสิคส์ที่ต้องมาช่วยกันคิดหาวิธีการ ทดลองไป
ทดลองมาก็ได้แบบตู้สำหรับการตอบสนองเสียงทุ้ม(Bass Loading)
มา 6 แบบหลัก ๆ แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อไม่ดีแตกต่างกันไป...




  1. แบบปิดทึบ(Air Suspension) แนวคิดนี้อาศัยอากาศที่ถูกขัง
อยู่ภายในตู้ ทำหน้าที่คล้ายสปริงในขณะกรวยขยับเข้าออก ข้อดีคือ
คลื่นความถี่ทั้งสองด้านของวูฟเฟอร์ไม่มีทางจะมาหักล้างกันได้เลย
คุณภาพเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเชิงกลของวูฟเฟอร์เป็นสำคัญ
ตู้แบบนี้ทำใหญ่มากไม่ได้ เพราะอากาศภายในตู้จะไม่หนาแน่นพอที่
จะอัด-คลายให้ทำงานคล้ายสปริงได้ จะทำเล็กเกินไปก็ไม่ได้อีก เพราะ
อากาศที่น้อยไปจะต้านการขยับตัวของกรวย ผลคือเสียงทุ้มจะแข็ง
ส่วนข้อเสียของตู้แบบนี้ก็คือ คลื่นด้านหลังกรวยที่ถูกขังจะไปดันผนัง
ภายในทำให้ตู้สั่นกระพือ(Resonant)ได้ง่าย ส่งเสียงรบกวนออกมา
แข่งกับวูฟเฟ่อร์ ฟังแล้วน่ารำคาญอย่าบอกใคร วิธีแก้ไขคือ ต้องบุ
วัสดุซึมซับเสียงประเภทสำลีหรือใยแก้วไว้ภายในให้มากพอ ในทาง
ปฏิบัติจริงไม่ง่ายนัก ต้องเพิ่ม-ลดแล้วทดลองฟังเสียง จับตู้แล้วไม่สั่น
แกะเข้าแกะออกอยู่นั่นแหละกว่าจะลงตัว ตามขอบมุมก็ต้องอัดกาวให้
สนิท อากาศภายในจะต้องไม่รั่วออกมาอย่างเด็ดขาด....



2. แบบมีช่องหรือท่อเพิ่มเสียงทุ้ม(Bass Reflex) พัฒนาต่อยอด
จากแบบปิดทึบนั่นคือ ถ้าตู้มีช่องให้อากาศภายในถ่ายเทออกมาได้
การสั่นจะลดน้อยลง แต่เสียงทุ้มจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม ถ้าช่องเปิดมี
ขนาดเล็กเสียงทุ้มจะบูม(ดังกว่าความถี่่อื่น ๆ) แสดงว่ามีการเสริมกัน
ของเสียงที่ความถี่นั้น จึงมีแนวคิดที่จะดึงเสียงความถี่ต่ำ ๆ(ซึ่งตู้แบบ
ปิดทึบตอบสนองไม่ได้)ขึ้นมาให้ได้ยิน การปรับแต่งความถี่แรก ๆใช้วิธี
เจาะเป็นช่องหลาย ๆขนาดแล้วทดลองฟังเสียง แต่จะสิ้นเปลืองไม้
หากชิ้นที่เจาะช่องนั้นให้เสียงไม่น่าพอใจ ภายหลังจึงใช้วิธีเจาะเป็นช่อง
ขนาดเดียวแล้วใส่ท่อเข้าไป และปรับแต่งความถี่โดยเปลี่ยนความยาว
ของท่อแทนซึ่งไม่ทำให้เสียชิ้นไม้นั้น อีกทั้งสามารถขยายขนาดตู้ได้
ถึงสองเท่าครึ่งของแบบปิดทึบ ตู้ใหญ่การสั่นยิ่งลดน้อยลง ตั้งแต่ปลาย
ทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา ตู้แบบนี้ได้รับความนิยมและผลิตออกมาขาย
มากที่สุด ยุคนั้นการเลือกซื้อลำโพงมักตัดสินกันที่เสียงทุ้มเป็นหลัก
จะเรียกว่าเป็นยุค"บ้าเบส"ก็คงไม่ผิดนัก.....




3. แบบเขาวงกต(Labyrinth หรือ Transmission Line) แนว
คิดคล้ายแบบเบสรีเฟล็กซ์ แต่เพิ่มความยาวท่อเป็นทางยึกยัก เพื่อ
หน่วงเวลาคลื่นด้านหลังกรวย ให้เหลือแต่เฉพาะช่วงความถี่ต่ำสุด
ที่สามารถเล็ดรอดออกมาเสริมกับคลื่นด้านหน้า ตู้แบบนี้สร้างยาก
และมีราคาสูง เพราะต้องใช้ทักษะฝีมือในการประกอบที่ซับซ้อน แต่
ให้เสียงเบสที่สะอาดชัดเจนเป็นธรรมชาติมาก ๆ.....



4. แบบปากบาน(Horn) ใช้หลักการอัดคลื่นเสียงด้านหน้า
หรือหลังกรวยผ่านช่องแคบ ๆก่อนปล่อยออกสู่ที่โล่ง ตู้แบบนี้ใช้
กำลังวัตต์จากแอมปลิไฟเออร์น้อย แต่ให้เสียงที่ดัง(ประสิทธิภาพสูง)
เหมาะกับห้องฟังขนาดใหญ่ หรืองานแสดงกลางแจ้ง...



  5. แบบตัวขับเสียงกำมะลอ(Passive Radiator) ตู้แบบนี้มอง
ผ่าน ๆนึกว่ามีวูฟเฟอร์หลายตัว แต่มีอยู่ตัวนึงที่เป็นตัวหลอก นั่นคือ



มีโครงกับไดอะแฟรมแต่ไม่มีแม่เหล็ก อาศัยคลื่นภายในตู้มาดันกรวย
ให้สั่นผลักอากาศด้านหน้าเสริมอีกแรงนึงคล้ายแบบเบสรีเฟล็กซ์ เพียง
แต่มันจะสั่นตัวเองเฉพาะที่ความถี่ต่ำมาก ๆเท่านั้น......


6. แบบแบนด์พาส(Bandpass) เป็นตู้แบบล่าสุดที่พัฒนาโดย
"Bose" มีขนาดเล็กกระทัดรัดแต่ให้เสียงทุ้มลึกน่าประทับใจ นิยมใช้
กับชุดเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ หรือแม้แต่ลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์
ประเภท 2.1 แชนแนล(ตู้ซับฯ) ก็เป็นตู้แบบแบนด์พาสเหมือนกัน

        ตัวผมเองเคยฟังมาแล้วทุกแบบ สมัยเป็นหนุ่มก็ชอบเบสหนัก ๆ
ลำโพง JBL กับ Cerwin Vega นี่ให้เสียงถูกหูมาก(ตู้แบบเบสรีเฟล็กซ์)
เมื่อไม่กี่ปีก่อนมีโอกาสได้ฟังลำโพงที่ผลิตโดยคนไทย(จำยี่ห้อไม่ได้)
เป็นตู้แบบเขาวงกตซะด้วย ตัวตู้ภายนอกทำได้เนี๊ยบเหมือนเฟอร์นิเจอร์
ที่วางโชว์ตามห้างเลย เสียงก็ดีด้วย เบสนิ่ม ๆ จังหวะจะโคนไล่เรียง
กันออกมาเป็นลูก ๆน่าประทับใจทีเดียว จะติก็ตรงราคาค่อนข้างสูง
และไม่เหมาะกับการฟังดัง ๆ เนื่องจากวูฟเฟอร์มีขนาดเล็ก แต่เรื่อง
ความละเอียดของเสียงโดยรวมนี่ใช้ได้เลยครับ ฟังนาน ๆก็ไม่รู้สึกเหนื่อย
เหมือนพวกเบสหนักที่ผมเคยชอบสมัยเป็นหนุ่มซะอีก.....









ความเห็น


เลือกหน้า
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 0

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117961256 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,