ของผมก็ใช้แบบเดียวกันกับ ดร. ปวีณ ครับ
เหมาะ ๆ กันทั้งนั้นเลย ของคุณแอ๊ด สตูดิโอ ชุดมือหมุนเป็นรุ่นร้อยน๊อตยึดสกรู ส่วนใช้ไฟฟ้าทำเฟืองทดยังไงครับ ?? ใช้มอเตอร์จักรเย็บผ้าพอไหมครับ จะได้เร่งได้ เบาได้
ของคุณปวีณ และคุณอนุกูลเป็นรุ่นหนีบแต่มีตัวที่ไม่ได้กรอก็มีอีก กรอด้านเดียว ทีนี้ผมสงสัยว่าเราจะสังเกต ยังไง ว่าต้องกรอไปและเช็คฟิล์มตลอดม้วนหรือไม่ แต่ผมทราบเพียงเบื้องต้นว่าเอาม้วนเต็มส่องฟิล์มดูภาพกลับหัวก็แปลว่ากรอแล้ว แต่ถ้าภาพดูยากมีวิธีสังเกตุอื่น ๆหรือไม่ครับ
ตำแหน่งการไหลของฟิล์มผ่านเครื่องฉาย
รีลบนจะต้องหมุนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนรีลล่างหมุนตามเข็มนาฬิกาอยู่แล้ว สังเกตเส้นซาวด์ต้องอยู่ด้านซ้ายเสมอ
ตอนกรอฟิล์มกลับนี่ก็สำคัญ เพราะความถนัดในการกรอแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันครับ เช่น ผมถนัดด้านขวา รีลตัวส่งจะอยู่ด้านซ้าย เส้นซาวด์ก็อยู่ด้านซ้าย ภาพบนฟิล์มหัวตั้งปกติ ส่วนรีลรับ (ตัวกรอ) เวลาหมุนก็หมุนทวนเข็มนาฬิกา ตัวรีลก็จะหมุนในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกรอเสร็จแล้วก็จะกลับมาอยู่ในลักษณะพร้อมที่จะฉาย กล่าวคือ ภาพบนฟิล์มหัวกลับ เส้นซาวด์อยู่ด้านซ้าย
ส่วนคนที่ถนัดกรอด้านซ้าย ที่กล่าวมาเมื่อสักครู่นี่ก็จะตรงกันข้ามนะครับ
ตอบคุณกิตติครับ
การใช้มือจับ จับได้ครับแต่อย่าจับตลอดเพราะมันจะบาดมือเอา จับบ้าง ปล่อยบ้าง (ผมโดนมาหลายครั้งแล้วครับ)
เว้นแต่ไปเจอฟิล์มเก่าจริง ๆ (โดยเฉพาะฟิล์มธรรมดาที่หนามเตยเริ่มแตก หรือฟิล์มทองที่ฉายซ้ำบ่อย ๆ อย่างเช่น ฟิล์มโป๊ยเซียน) อันนี้ต้องเช็คละเอียดครับ คือต้องกรอทีละคืบ ทีละคืบ ช้าแต่ชัวร์ครับ
ส่วนภาพประกอบที่โชว์ให้ดูนี้ ต้องตัดทิ้งครับ ไม่งั้นเจอปัญหาตอนฉายแน่นอน บางทีก็ตัดเพียง 3 - 5 เฟรม หรือบางทีก็เป็นคืบ เป็นฟุตเลยก็เคยมี แล้วแต่ว่าจะเสียหายมากน้อยแค่ไหน
ของคุณโหน่งก็สวยงามมาก แต่สงสัยช่วงโต๊ะว่าจะแคบหรือกำลังดี ถ้าใส่รีลรีลตัวส่ง แล้วช่วงฟิล์ม แคบไปหน่อยไหม
ของผมมีตัวกรอ แต่เป็นรุ่น 16 มม และ 8 มม ครับ
16มม ครับ