Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
แหล่งความรู้ โฮมเธียเตอร์ โปรเจคเตอร์ และเครื่องฉายดิจิทัลในบ้านเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-วันว่างกับ INFOCUS SCREENPLAY 4805.. 19/11/2550 9:49
-ความรู้รอบตัวเรื่อง" ระบบเสียง "ในการชมภาพยนตร์.. 22/10/2550 16:41
-เก้าอี้ดูหนังมาถึงแล้วครับ.. 24/9/2550 23:17
-ข้อมูลและข่าวคราวของโปรเจ็คเตอร์รุ่นใหม่ๆที่กำลังทยอยออกมาขายปลายปีนี้และปี 2008.. 5/9/2550 18:29
-ข้อมูลโดยสังเขปของโฮมเธียเตอร์โปรเจ็คเตอร์ไฮเอนด์ OPTOMA HD81LV ระดับ FULL 1080P.. 24/8/2550 9:25
-ข้อมูลความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี HD-DVD และ Blu Ray.. 5/8/2550 1:53
-ซินเกียวบันเทิงครับ(โชว์).. 3/8/2550 17:20
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 940

ข้อมูลความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี HD-DVD และ Blu Ray


มาเริ่มที่ HD-DVD ที่มีบ.โตชิบ้า กับ บ. NEC เป็นผู้นำกันก่อนครับ
HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง (high definition) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.)

HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโย, ไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
รายละเอียดตัวแผ่น HD-DVD
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ (อธิบายเพิ่มเติม layer = ชั้นของการเก็บข้อมูล)โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร)

ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ 7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p
เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2003 ทางสมาคม DVD Forum ได้ลงความเห็นให้ HD DVD เป็นฟอร์แมตแผ่นบันทึกข้อมูลรุ่นถัดไป ต่อจากดีวีดี ในขณะเดียวกันแผ่นแบบ Blu-ray ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยไม่ผ่าน DVD Forum (สมาคมผู้กำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีวีดีโอความคมชัดสูง ของอเมริกา)ในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามที่จะรวมฟอร์แมตให้เหลือเพียงแบบเดียวหลายครั้ง แต่ก็ประสบความล้มเหลวจนผลิตภัณฑ์จริงวางจำหน่ายทั้งสองฝั่งในที่สุด
ภาพแรกเป็นโลโก้ของ HD-DVD ครับ ส่วนภาพถัดมาเป็นภาพโครงสร้างของแผ่น HD-DVD ซึ่งประกอบไปด้วย ชั้นแรกคือ Disc Surface ผิวหน้าของแผ่นที่เคลือบด้วยพลาสติกประเภทโพลีเมอร์เพื่อป้องกันการขูดขึด
ชั้นที่สองถัดมา คือชั้นที่มีข้อมูลบรรจุอยู่(Substrate Layers)ซึ่งถ้ามีข้อมูลไม่มากนักไม่เกิน 15GB ก็จะมีข้อมูลแค่ layerเดียว หรือชั้นเดียว แต่ทว่าถ้าข้อมูลมีเยอะมากยกตัวอย่าง ถ้าหนังบางเรื่องมีความยาวประมาณสามชั่วโมงขึ้นไป ก็ต้องบันทึกข้อมูลเพิ่มอีกหนึ่งชั้นรวมเป็น 30 GB(กิ๊กกะไบต์)
ชั้นที่สาม คือ ชั้นที่ผนึกหรือยึดติด(Bonding Layer) ระหว่างชั้นข้อมูลทั้งสอง ดังภาพครับ
ส่วน Pits ก็คือ หลุมข้อมูลที่เกิดจากเขียนข้อมูล(Burn)จนเกิดเป็นหลุมกระจิ๋วหลิวมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น
เป็นหมื่นๆแสนๆหลุม เพื่อที่เวลาที่โดนยิงด้วยลำแสงเลเซอร์สีฟ้าและสะท้อนกลับเข้าหัวอ่านเพื่อประมวลผลและถอดหรัสดิจิตอลออกมาเป็นภาพอีกทีนึง
อธิบายแบบคร่าวๆนะครับ ประเดี๋ยวจะยิ่งงงหนักกันไปใหญ่ ผมขอตัดข้อมูลทางทฤษฏีออกนะครับ เพราะมีศัพท์ภาษาอังกฤษทางวิชาการเยอะ ประเดี๋ยวจะสับสนงงงวยกันไปใหญ่ แต่ถ้าต้องการอ่านแบบลงลึกในรายละเอียดก็รบกวน
ไปอ่านที่เวปlink นี้ครับผม มีให้อ่านกันตาแฉะเป็นภาษาไทยครับ

http://technology.msnth2.com/article.asp?id=4323

http://3g.siamphone.com/articles/2006/bluray/page.htm




ความเห็น

[1]


ทีนี้ก็มาถึง Blu-Ray ที่มีโซนี่ กับ ฟิลิปส์ เป็นหัวโจกผลักดันให้เกิดกันบ้างครับ
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอ ียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm

ประวัติ

มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB

ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB

ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที





อ่านแล้วยังไม่สะใจงั้นลองไปอ่านเวป link รายละเอียดของ Blu-Ray กันอีกสักเวปครับ เป็นภาษาไทยครับผม

http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2002&ofsm=10&id=CM&g3s=3&ha lfmonth=0&mag_no=119&element_id=405779&mag_g=&g3as =
หวังว่าข้อมูลนี้คงเป็นสาระความรู้แก่ทุกท่านที่สนใจนะครับ



ขอบคุณมากๆครับพี่


เอาไว้ให้ราคาถูกลงกว่านี้ก่อนค่อยซื้อมาเล่นเนาะ 5555


หวัดดีครับพี่ JRT ไม่ได้คุยกันซะนานเลย

โอ๊วว....เห็นการนำเสนอข้อมูลของพี่รงค์แล้ว ได้ความรู้มากๆเลยทีเดียว
อัดแน่นด้วยสาระดีจริง.....ขอบคุณมากครับที่นำมาเสนอให้ได้อ่านกัน



update ครับ
ตอนนี้ Blu-Ray ก๊อปได้แล้ว( ก๊อปลง Harddisk) เห็นมากะตาเลย
แต่ปัญหาคือ หนังเรื่องนึงตั้ง 40 GB ไม่รู้จะเก็บใส่อะไร
ถ้าจะหั่นใส่แผ่น DVD เวลาเล่นคนต้องคอยเปลี่ยนม้วนกันหนุกหนานเลย
อีกอย่างนึงต้องเครื่องแรงๆอย่าง P4 Dual Core ถึงจะเล่นแล้วไม่กระตุก เครื่องหน่อมแน้มที่ผมใช้อยู่ลองเล่นดูแล้วกระตุกน่าเกลียดมาก
คาดว่าคงต้องรออีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี เทคโนโลยีนี้จึงจะถึงรากหญ้า เหมือนที่ DVD ใช้เวลาเกือบ 5 ปีกว่าจะลงมาถึงรากหญ้า และทำให้ LD ต้องล้มหายตายจากไป

อันนี้เล่าสู่กันฟัง เพราะเทคโนโลยี แผ่นซีดี หรือแม้แต่การสร้างไมโครชิพ ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากการพิมพ์ฟิล์มหนัง ( มั๊ง)
เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลด้วยแสง มันพัฒนาตามๆกันมากับ เทคโนโลยีการผลิตไมโครชิพ
มันก็เลยกำลังเจอทางตันแบบเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไมโครชิพ
ไมโครชิพใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกับการอัดรูป คือใช้สารไวแสงแบบพิเศษไปฉาบบนแผ่นซิลิคอน แล้วเอาฟิล์มรูปวงจรต้นฉบับทาบ แล้วก็เอาไฟส่อง จากนั้นเอาแผ่นซิลิคอนนั้นไปล้างเหมือนเราล้างฟิล์ม ก็ได้เป็นวงจรออกมา เอามาขายแพงๆ นั่นล่ะครับ
ต้นฉบับวงจรมีขนาดเท่าจอหนังในตอนออกแบบ แล้วทำให้เล็กลงเหลือเท่าเหรียญบาทโดยวิธีการเดียวกับการย่อรูป
โดยใช้วิธีการค่อยๆย่อลงทีละนิด
ความละเอียดในการก๊อปชิพถูกจำกัดโดยความละเอียดของแสงที่ใช้ในการถ่าย dye (ความละเอียดในที่นี้หมายถึงความยาวคลื่น , ความยาวคลื่นมากความถี่ต่ำ ความยาวคลื่นน้อยความถี่สูง )
เดิมทีเราก็ใช้สีแดง เพราะสีแดงควบคุมง่าย ผลิตเลนส์ง่าย สร้างภาพคมชัดบนฉากง่าย ( วงจรไฟฟ้าจะผิดพลาดไม่ได้ ภาพเบลอนิดเดียว เจ๊งทั้งชิพ) แต่สีแดงมีความยาวคลื่นมาก จึงสร้างวงจรได้ไม่ละเอียดมากนัก ชิพพวกนั้นเลยยัดวงจรได้ไม่เยอะ
ต่อมาเทคโนโลยีกระจกเราเก่งขึ้น เราก็พัฒนามาเรื่อยๆจากสีแดง ก็ไปเป็นสีเขียว แล้วก็สีน้ำเงิน แผ่นซิลิคอนเล็กๆเลยอัดวงจรได้มากขึ้นเรื่อยๆ

แผ่น CD เก็บข้อมูลก็เหมือนกัน มันใช้แสงไปขีดเส้นบนแผ่น dye ก็เหมือนกันคือ ยิ่งความยาวคลื่นเล็กลง ความละเอียดในการขีดเส้นก็สูงขึ้นด้วยจึงเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
สิ่งที่ทำให้ การใช้แสงสีน้ำเงินมาบันทึกข้อมูลพัฒนาได้ช้ากว่าเทคโนโลยีการผลิตชิพนั้น เนื่องมาจากว่า เราเพิ่งคิดค้นแสงเลเซอร์สีน้ำเงินได้ไม่นาน รวมถึงการผลิตเลเซอร์ไดโอดด้วยซึ่งใช้ในการสร้างหัวอ่านและเขียน
ปัจจุบันนี้การผลิตชิพได้ก้าวเลยแสงสีน้ำเงิน ไปเป็น ยูวี แล้ว และเจอทางตัน เพราะความถี่ที่สูงกว่านั้นก็เป็นแสง X-Ray ซึ่งกระจกและเลนส์ ทำอะไรมันไม่ได้ จนกว่าเราจะค้นพบวิธีฉายหนังด้วยแสง X-Ray ตอนนี้เทคโนโลยีการผลิตชิพ ก็เจอทางตัน
น่าใจหายที่แผ่น CD ที่เราใช้บันทึกข้อมูลเดินทางมาถึงสีน้ำเงินแล้ว นั่นหมายความว่า มันใกล้จะเจอทางตันแบบเดียวกับการผลิตชิพ
ถ้ามันใช้สีม่วง หรือ ยูวี เมื่อไหร่ ก็จบ.

เมื่อไม่นานมานี้ผมเจอวิศวกรจากสถานี NHK คนนึงในงานประชุมวิชาการ เขาเป็นคนรับผิดชอบระบบจัดเก็บทุกอย่างที่ออกอากาศ( Archive)ของสถานี NHK เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้สถานีเก็บของไว้มากมายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถานีมา มีทั้งฟิล์ม ม้วนเทป และม้วนดิจิทัล ซึ่งมันเปลืองที่เก็บมาก ตอนนี้กำลังเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด จะไม่มีฟิล์ม ไม่มีเทปอีกต่อไป แต่พอถามว่าถ้าไม่ใช้เทปแล้วจะเก็บลงอะไรDVD หรอ เดี๋ยวมันก็ล้าสมัยอีกหรือว่า blu-ray ม๊ะ เขาตอบว่า
เขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้อะไร แต่ไม่ใช่แบบที่ผมคิด
เขาว่า blu-ray ที่ใครๆว่าทันสมัย จริงๆแล้วเป็นเทคโนโลยีที่ตกรุ่นแล้ว ตอนนี้มีตัวใหม่กำลังพัฒนาอยู่ในแลป ใช้การเขียนข้อมูลแบบ 3 มิติเหมือนรูป ฮอลโลแกรม คือถ้าเอียงมุมนึงก็เห็นรูปนึง เอียงอีกมุมนึงก็เห็นอีกรูปนึง
นั่นหมายความว่าแผ่น CD แผ่นเดิมๆ จากที่เราเคยเขียนข้อมูลในระนาบเดียวและอ่านได้อย่างเดียว ก็กลายเป็นเขียนทับที่เดิมได้เรื่อยๆ แค่เอียงมุมในการอ่านและเขียนเอา ก็จะบันทึกข้อมูลเพิ่มอีกหลายเท่าในพื้นที่เท่าเดิม
ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่านะครับ อันนี้ไม่ยืนยัน เพราะเขาเป็นคนญี่ปุ่น ไม่รู้ว่าเกทับคนไทยเฉยๆหรือเปล่า
แต่ถ้าจริง ก็คงอีกนานเพราะของที่มีอยู่ยังโกยเงินไปไม่เป็นที่น่าพอใจ

ต่อมานอกเรื่องนิด
เขาเล่าต่ออีกว่า ตอนนี้กำลังทำโปรเจคเกี่ยวกับสารคดีเรื่องนึงของ NHK นั่นคือเรื่องทางสายไหม เรื่องนี้ถ่ายทำร่วมกับ CCTV ของจีน นั่นเอง ถ้าผมจำไม่ผิดเรื่องนี้เคยออกช่อง 11
เรื่องก็คือว่า ทาง NHK รื้อโกดัง แล้วเจอฟิล์มต้นฉบับของสารคดีเรื่องนี้ ซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มิล อายุก็ 27 ปีแล้ว สีมันเลยซีดหมด เห็นแล้วก็รู้สึกเสียดายสารคดีเรื่องนี้มากๆ จึงเริ่มโครงการที่จะถ่ายมันลงเป็น HD
แล้วทำการ Retouch ทีละเฟรม โอ้แม่เจ้า ใช้คนทำ 4 คน
เขาว่าตอนนี้ทำได้ครึ่งนึงแล้ว อีกไม่นานเราจะได้ดู ทางสายไหม แบบใหม่รูปแบบ HD ครับผม ( อันนี้เขาคงไม่โม้เพราะ เขามาบรรยายเรื่องนี้)

จบข่าวครับผม



เอาไว้ให้ราคาถูกลงรับรองได้เล่นแน่นอนครับท่าน


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 7

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116990080 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Akimoxagew , Landyxogew , RobertMIGH , Landexpzgew , Charlesfroms , Gregorydruct , LavillKer , BrianerpGep , Kristenmswony , AnthonykDraib ,