Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ยังจำกันได้ไหม SOUNDCHECK TRAILERS.. 12/7/2555 8:17
-วิธีฉายหนังต่อฟิล์มของต่างประเทศยังไม่มีคนตอบ
-From Film to Digital.. 6/7/2555 19:21
-มาดูตัวอย่างหนังที่ขายบน EBAY จากแล็บในประเทศไทย.. 3/7/2555 17:41
-ทำไมฟิล์มหนังบางเรื่องถึงมีแต่ซาวส์แทร็ค.. 3/7/2555 16:28
-Cinema Kinoton Endless loop.. 3/7/2555 15:40
-ลีลาผู้หญิงฉายหนังด้วยฟิล์ม.. 3/7/2555 15:35
-ฟิล์ม 70 มม... 27/6/2555 13:53
-การสาวฟิล์ม.. 12/6/2555 1:38
-VITAFILM น้ำยาทำความสะอาดและรักษาฟิล์มภาพยนตร์ ผลิตภัณฑ์จากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีขายในบ้านเรา (ต้องสั่งนำเข้ามา).. 9/6/2555 17:16
-อยากได้น้ำยาทำความสะอาดฟิล์มสไลด์.. 30/5/2555 1:26
-ฉายหนังด้วยฟิล์ม..ยังไม่มีคนตอบ
-อยากทราบว่าฟิล์มสรรเสริญในภาพเป็นเวอร์ชั่นไหน?.. 6/12/2554 18:05
-ขอถามเรื่องฟิมล์เก่า.. 15/11/2554 23:03
-ตัวทำลายฟีลม์ที่น่ากลัวกว่า.... 4/11/2554 18:50
-มีน้ำยาหรือน้ำมันอะไรที่ใช้ล้างฟิล์มที่มีกลิ่นได้บ้างหรือเปล่าครับ.. 5/9/2554 0:28
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 167

ตัวทำลายฟีลม์ที่น่ากลัวกว่า..




..การทำลายที่ผมหมายถึงก็คือฟีลม์เป็นรอยเส้นขีดข่วนฝนตก เป็นดาวแดง ฟีลม์ไหม้ ฯลฯ..

.. ความเห็นส่วนตัวผมว่า สิ่งที่น่ากลัวและทำลายฟีลม์มากที่สุดก็คือเครื่องฉายที่ไม่สมบูรณ์ เครื่องฉายที่พิการ เครื่องฉายที่ถูกดัดแปลงโดยช่างที่ไม่มีความรู้เรื่องหลักการกลไกของเครื่องฉาย..


..ลูกกลิ้งทุกตัวต้องมีความสมบูรณ์ ต้องกลมลื่นไหล รวมถึงลูกกลิ้งที่ขารีลทุกตัวด้วย ถ้าลูกกลิ้งฝืดติดขัดก็จะทำให้เกิดการสึกเสียดสีกับฟีลม์จนเป็นรอยเส้นผนตกนั่นแหละ


..การใส่ฟีลม์แล้วปล่อยให้มีระยะลูปฟีลม์มากเกินจนฟีลม์ไปโขกกับผนังในเครื่อง.


..การให้แสงผ่านฟีลม์มากๆแล้วระบายความร้อนไม่พอเพียงก็ทำให้ฟีลม์ใหม้ได้


..ผมรู้สึกเสียดายฟีลม์และเป็นห่วงหากมีการนำฟีลม์หนังไปฉายกับเครื่องฉายที่พิการ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมฟีลม์จึงมีรอยเส้นฝนตกตลอดทั้งเรื่อง..


..จะช่วยให้รอยเส้นขีดข่วนฝนตกบนฟีลม์ลดน้อยลงได้อย่างไรกันดีหนอ..










ความเห็น

[1]


เอ่อ แก้ยากนิดนึงครับเรื่องนี้...


เพราะมีจริงๆ ที่บางหน่วยฉาย บางคน คือไม่เข้าใจ และ/หรือไม่สนใจจริงๆ ว่าสภาพเครื่องฉายตัวเองจะเน่าหนอนยังไงก็ช่าง ขอแค่ลากฟิล์มผ่านเครื่องได้ก็เป็นพอ หนังป่นปี้ยังไง ไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของตู

ยิ่งมาเจอกับหัวฉายบางยี่ห้อ/รุ่น ที่ค่อนข้างอันตรายต่อฟิล์มอยู่แล้วโดยธรรมชาติ - ก็ได้แก่เครื่องตระกูลโตกีว่า T54/T60 และเครื่องทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ที่ลอกแบบมาจากตัวนี้แหละครับ

- การใช้คันเหลื่อม ทำให้ฟิ์มต้องหักเลี้ยวมากกว่า 90องศาถึงสองตลบติดๆกัน สุมเสี่ยงต่อการขาด/หลุดอย่างมาก
- ประตู่ฟิล์มที่สั้น บวกกับการใช้คนเหลื่อม ทำให้ต้องใช้สปริงกดตะเกียบหนักกว่าเครื่องอื่นๆ แปลว่า เสียงดังกว่า ฟิล์มถูกออกแรงกระทำมากกว่า กลไกมีโอกาสสึกหรอมากกว่า
- กระปุกจำปาที่ออกแบบผิดพลาดตั้งแต่ต้น ทำให้มีปัญหาน้ำมันซึมตั้งแต่วันแรก ยันวันสุดท้ายของการใช้งาน
- หากฟิล์มพ้นจากจำปามาได้ ก็จะเจอกับด่านหฤโหด ตรงแถวๆหัวซาวนด์อีกที ที่ฟิล์มจะต้องเลี้ยวตลบ 180 องศา กลับไปกลับมาอีกหลายที กว่าจะพ้นมาถึงหนามเตยตัวสุดท้ายได้ เพิ่มโอกาสเสียงที่ฟิล์มจะขาดได้มากขึ้นไปอีก
- พอเหอะ เยอแล้ว คิดไม่ออกละ


ข้อดีประการเดียวของเครื่องตระกูลนี้ เห็นจะได้แก่ความ อึด ถึก ทน อย่างมหาวายร้าย กับความเรียบง่ายของกลไก ที่มีชิ้นส่วนไม่กี่ชิ้น เลยยังเป็นที่นิยมของหน่วยหนังส่วนใหญ่อยู่ต่อไป


อ้อ ถ้าอยากรู้ว่าในโลกนี้ จะมีหัวฉายขนาดพกพา แต่คุณภาพการฉาย+ความทะนุถนอมฟิล์มเหมือนหัวโรงอยู่รึเปล่า? ลองถามเี่สี่ยวัฒน์ ณ สันป่าตองดูละกันครับ อิอิอิ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117962161 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,