Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ตามไปดูหนังกลางแปลงเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ76710ยังไม่มีคนตอบ
-งานนมัสการศาลเจ้าพ่อมอดินแดง89459.. 28/11/2551 17:15
-ถามไว้ก่อนครับ ( กันเหนียว )79127.. 27/11/2551 8:46
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ77310ยังไม่มีคนตอบ
-พระราชบัญญัติภาพยนตร์ 1010712.. 23/11/2551 14:38
-เทศกาลหนังอักษร ดูยังไงโลกก็ยังร้อน 88182.. 22/11/2551 4:23
-เทศกาลหนังวิทยาศาสตร์ 18- 28 พ.ย. 51 นี้993712.. 22/11/2551 4:19
-เทศกาลหนังยุโรป 2008 มาแล้วว107654.. 22/11/2551 4:09
-เทศกาลหนังกลางแปลงฤดูหนาว 106624.. 21/11/2551 4:56
-++++บรรยากาศงานลอยกระทงที่โคราช 12 พ.ย. 2551 (หน้าอนุสาวรีย์ย่าโม)118548.. 19/11/2551 4:29
-เทศกาลภาพยนตร์เพื่อคนพิการ (29 พ.ย. 2551)81342.. 16/11/2551 5:53
-ดูฟรี: ปลุกตำนานหนังใต้ดินสุดขบถจากญี่ปุ่น107082.. 16/11/2551 5:49
-หนังขายยา : ตำนานความบันเทิงบ้านทุ่ง137741.. 16/11/2551 5:21
-หวานขม BitterSweet BOYdPOD the Short Film1073818.. 15/11/2551 5:19
-หนังกลางแปลง เมื่อปี พศ.2531 ที่สุพรรณบุรี105819.. 15/11/2551 5:18
-รำลึก...หนังเร่153638.. 8/11/2551 5:12
เลือกหน้า
[<<] [190] [191] [192] [193] [194] [195] [196]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 3122

(ID:1590) พระราชบัญญัติภาพยนตร์


 »มีข่าวความคืบหน้า เกี่ยวกับ พรบ.ภาพยนตร์ (เซ็นเซอร์หนัง) มาฝากครับ หลังจากที่ พรบ.ดังกล่าว ได้คลอดออกมา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา

กฎหมายลูกพระราชบัญญัติภาพยนตร์ ใกล้คลอด

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งมาตรา 91 กำหนดให้ดำเนินการออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องให้เสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับนั้น ขณะนี้คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย วธ.ได้พิจารณาเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ประกาศ หรือคำสั่ง ตามที่คณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายเสนอแล้ว ดังนี้ ร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ ได้แก่ 1.กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2.กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดประเภทภาพยนตร์ 3.กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ 4.กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และ 5.กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์

นายวีระ กล่าวต่อไปว่า ส่วนร่างประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติมี 7 ฉบับ ได้แก่ 1.การกำหนดสัดส่วน ระหว่างภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศที่นำออกฉายในโรงภาพยนตร์ 2.หลักเกณฑ์ ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์และสื่อโฆษณา 3.กำหนดเวลาฉายภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ 4.การกำหนดหมายเลขรหัสลักษณะเครื่องหมายการอนุญาต และประเภทของภาพยนตร์ หรือคำบอกแจ้งว่า ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และสื่อโฆษณาผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตแล้ว 5.การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต 6.หลักเกณฑ์ในการตรวจพิจารณาวีดิทัศน์และสื่อโฆษณา 7.หลักเกณฑ์และวิธีการในการแยกพื้นที่การให้บริการร้าน วีดิทัศน์และกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และ 8.การขอความเห็นและค่าป่วยการในการให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์

โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดประเภทภาพยนตร์ หรือเรตติ้ง แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้

  1. ภาพยนตร์ประเภทที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู
  2. ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป เนื้อหาต้องไม่มีเรื่องของเพศ ภาษา ที่มีความรุนแรง
  3. ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป
  4. ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีภาพ เสียง เนื้อหาที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมหรือภาษาที่ไม่เหมาะสมและต้องใช้วิจารญาณในการดู
  5. ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จะไม่มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่เปิดเผยอวัยวะเพศ สาธิตวิธีการก่ออาชญากรรม และวิธีการใช้สิ่งเสพติด
  6. ภาพยนตร์ประเภทที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู จะมีเนื้อหาแสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือผู้อื่น แต่ต้องไม่แสดงให้เห็นอวัยวะเพศ มีเนื้อหาสาธิตวิธีการก่ออาชญากรรม ใช้สิ่งเสพติดได้ และ7.ภาพยนตร์ประเภทที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร จะมีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ขัดต่อศีลธรรม มีเนื้อหาที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์ เห็นอวัยวะเพศในลักษณะลามกอนาจาร

ทั้งนี้ วธ.จะนำกฎกระทรวง และประกาศ ทั้ง 13 ฉบับ เสนอให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 24 ก.ย.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป.

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 กันยายน 2551



ความเห็น

[1]


(ID:16084)

สาระสำคัญ และมาตราที่เกี่ยวข้อง
ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ..

มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติประกอบด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธรมนกรรมการ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดดีกรมส่งเสริมการส่งออก อธิบดีกรมสรรพากร เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักข่าวพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกรมสารนิเทศ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้ส่งคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินเจ็ดคนเป็นกรรมการ

ให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกิจการภาพยนตร์ กิจการวีดิทัศน์ หรือการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน

มาตรา 18 คณะกรรมการพิจารณ์และวีดิทัศน์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. อนุญาตการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร

  2. ตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร

  3. อนุญาตการนำวีดิทัศน์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร

  4. อนุญาตการนำสื่อโฆษณาออกโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ในราชอาณาจักร

  5. อนุญาตการส่งภาพยนตร์หรือวีดีทัศน์ออกไปนอกราชอาณาจักร

  6. ปฎิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

มาตรา 20 ผู้ใดประสงค์จะสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมด้วยบทภาพยนตร์ เค้าโครง และเรื่องย่อของภาพยนตร์ที่จะสร้างต่อนายทะเบียนกลาง และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ที่จะใช้สร้างภาพยนตร์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 23 ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง สิ่งแวดล้อม และเกียรติภูมิของประเทศไทย

มาตรา 24 ในกรณีที่การสร้างภาพยนตร์มีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องดำเนินการปรับปรุงสิ่งดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 25 ภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์

มาตรา 26 ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์กำหนดด้วยว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด ดังต่อไปนี้

  1. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป

  2. ภาพยนตร์ที่ผู้มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี ต้องดูร่วมกับผู้ปกครอง

  3. ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีดู

  4. ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร

มาตรา 27 ภาพยนตร์ดังต่อไปนี้ ไม่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตตามมาตรา 25

  1. ภาพยนตร์ข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  2. ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อดูเป็นการส่วนตัวและไม่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ

  3. ภาพยนตร์ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่หรือส่งเสริมการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น

  4. ภาพยนตร์ที่ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศตามที่คณะกรรมการกำหนด

  5. ภาพยนตร์ที่ฉายทางโทรทัศน์และผ่านการตรวจพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แล้ว

  6. ภาพยนตร์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 29 ในการพิจารณาอนุญาตภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ถ้าคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เห็นว่าภาพยนตร์ใดมีเนื้อหาที่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาธรรม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือก่อให้เกิดความเสื่อมทราบทางจิตใจของประชาชน ให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีอำนาจสั่งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขหรือตัดทอนก่อนอนุญาต หรือจะไม่อนุญาตก็ได้

มาตรา 61 เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. เข้าไปในสถานที่ที่มีการสร้างภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ร้านวีดิทัศน์ สถานที่ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สื่อโฆษณาหรือการกระทำใดที่อาจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

  2. ตรวจ ค้น อายัด หรือยึดภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสื่อโฆษณาในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น

  3. สั่งให้หยุดการสร้างภาพยนตร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 หรือมาตรา 23 วรรคหนึ่ง

  4. สั่งห้ามการฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ที่ฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 47 วรรคหนึ่ง

  5. สั่งให้หยุดการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาที่ฝ่าฝืนมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 47 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 42

เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม (1) หรือทำการอันตาม (2) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้

การค้นตาม (2) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรอันเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอามายค้นมาได้ หลักฐานดังกล่าวจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ให้ดำเนินการค้น อายัด หรือยึดหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

มาตรา 75 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

มาตรา 78 ผู้ใดนำผู้ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเข้าไปในโรงภาพยนตร์เพื่อดูภาพยนตร์ตามมาตรา 26 (2) โดยมิได้เป็นผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 79 ผู้ใดนำภาพยนตร์ตามมาตรา 26 (4) ออกเผยแพร่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 88 ให้รัฐมนตรีแต่ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ได้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธานกรรมการ อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อธิบดีกรมสรรพากร เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกรมสารนิเทศ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นกรรมการ ทำหน้าที่คณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน และให้รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมที่ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมแต่งตั้งตามมาตรา 7 เป็นเลขานุการ




(ID:16085)

บทสัมภาษณ์

ชลิดา เอื้อบำรุงจิต

ผู้กำกับภาพยนตร์และตัวแทนเครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์

เนื้อหาสาระในร่างพรบ.ภาพยนตร์ฯ มีหลายมาตราที่เป็นปัญหา และเนื่องจากเป็นการพยายามรวมพรบ.ที่จะประกาศยกเลิกสองฉบับเข้าด้วยกันจึงมีลักษณะของการตัดแปะตัดยัดค่อนข้างมาก ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากในหลายเวที

เริ่มจากคำนิยามของคำว่า "ภาพยนตร์" และ "วีดิทัศน์" ที่อาจก่อให้เกิดความสับสนได้ ซึ่งในร่างพรบ.ฉบับใหม่นี้ คำว่า "วีดิทัศน์" ไม่ได้หมายถึง วิดีโอ วีซีดีอีกต่อไป แต่หมายถึงสิ่งที่เกิดจากการบันทึกภาพและเสียงที่สามารถฉายติดต่อกันได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็คือเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบ

ส่วนวีดิโอ วีซีดีก็กลายเป็นคำนิยามของภาพยนตร์ไป จึงน่าจะสร้างความสับสนอยู่มากพอสมควร ถึงแม้ว่ารัฐจะอ้างว่าเมื่อบัญญัติไว้เป็นกฎหมายแล้ว ทุกคนก็ต้องปฏิบัติตาม แต่ในการบังคับใช้จริงจะเกิดความสับสนแน่นอน เพราะถ้าวีดิทัศน์หมายถึงภาพยนตร์ ร้านวีดิทัศน์ก็จะหมายถึงร้านเกม คงไม่ใช่ร้านวีดิโออย่างที่เคยเข้าใจกัน แต่ร้านเช่าเหล่านั้นกลับไม่ถูกพูดถึงในร่างพรบ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับนี้เลย

ทั้งนี้ คิดว่าการที่รัฐดึงประเด็นเกี่ยวกับเกมขึ้นมา เนื่องจากขณะในยังไม่มีพรบ.ด้านคอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาก็มี พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งน่าจะมีการพูดถึงรวมอยู่ในนั้นแล้ว ก็เท่ากับว่าเป็นการออกกฎหมายซ้ำซ้อนและทำให้ไม่แน่ใจว่า เจตนารมณ์ของร่างพรบ.ภาพยนตร์คืออะไรกันแน่ เพราะเท่าที่เห็น ร่างตัวนี้พยายามจะเข้ามาควบคุม และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แน่นอนว่าจะก่อปัญหาต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีหน้าที่วางแผนนโยบายต่างๆ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นตัวแทนจากภาครัฐ มีสัดส่วนเยอะมาก ก็ย่อมจะกลับไปสู่ปัญหาเดิมๆ ที่เป็นอยู่ เพราะคณะกรรมการขาดความรู้ขาดความใจในเรื่องของภาพยนตร์ ศิลปวัฒนธรรม จึงยากเหมือนกันที่คนกลุ่มนี้จะเข้ามาเป็นผู้วางนโยบาย

ด้านการจัดเรทติ้ง หรือการแบ่งประเภทผู้ชม แม้จะมีการจัดออกเป็น 4 ประเภท/กลุ่ม แต่ก็ยังคงมีการให้อำนาจคณะกรรมตัดต่อบางฉาก หรือห้ามฉายภาพยนตร์ได้อยู่ หรือเป็นการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ การใช้สองระบบนี้ เป็นการขัดแย้งในตัวกฎหมายเอง เพราะหากมีการกำหนดเรทติ้งแล้ว ก็เหมือนกับการยอมรับให้ฉายได้เพียงจะต้องมีการจัดประเภทโรงภาพยนตร์ที่จะฉาย ซึ่งก็คือการจำกัดโดยสถานที่ แต่เมื่อมีการห้ามฉายขึ้นมา ก็ไม่แตกต่างอะไร เพราะคณะกรรมการก็ยังคงมีอำนาจในการแบนหนัง โดยไม่ต้องระบุเหตุผลด้วย

ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็มีการถกเถียงกันแล้วว่า ในกรณีที่ร้ายแรง เช่น การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลามกอนาจาร ล้วนแต่มีกฎหมายอื่นๆ ที่สามารถลงโทษผู้สร้างภาพยนตร์ที่เข้าข่ายเหล่านี้อย่างรุนแรง เฉียบขาดได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องรอพรบ.ตัวนี้ออกมา อีกทั้งผู้ผลิต ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ชมและประชาชนก็จะทำให้หนังเรื่องนั้นๆ ไม่สามารถฉายได้อยู่แล้ว (เป็นการเซ็นเซอร์ตัวเองและด้วยกลไกทางสังคม) จึงไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมหากมีเรทติ้งแล้ว ต้องมีการห้ามฉายด้วย

ส่วนข้ออ้างที่ใช้เสมอว่า การทำพรบ.ฉบับนี้เป็นการทำเพื่อการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ก็พบว่าการแบ่งช่วงในส่วนของเรทติ้ง ไม่ใช่การแบ่งเพื่อกลุ่มเด็กและเยาวชนเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นช่วงที่กว้างเกินไป ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเลย (เช่น วัยเด็ก วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนปลาย เป็นต้น) ไม่ได้คำนึงถึงพัฒนาการทางความคิด และการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยเลย

แต่ระบุเพียงว่าถ้าไม่ใช่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็เป็นบุคคลทั่วไปสามารถดูได้หมด ซึ่งหนังทั่วไปบ้างเรื่องมีฉากที่ใช้ความรุนแรงมากมาย จึงไม่แน่ใจว่าทำพรบ.นี้เพื่อใครกันแน่

ไม่เพียงเท่านั้น ในมาตรา 29 ที่ระบุว่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่มีเนื้อหาบ่อนทำลายศีลธรรมอันดีของชาติ ตรงจุดนี้น่าจะต้องมีการระบุให้ชัดเจนลงไปเลยว่า ไม่ให้ผลิตเนื้อหาอย่างไรบ้าง เพราะถ้าระบุกว้างอย่างนี้ก็ไม่ต่างจากเดิม ที่สามารถตีความ และให้อำนาจคณะกรรมการทั้ง 17 คนเข้ามาดูแลจัดการมากขึ้น แและสามารถตัดทอน หรือห้ามฉายได้โดยอาศัยเพียงวิจารณาของคนกลุ่มเดียวมากลั่นกรอง แน่นอนว่าเรายังอาจไม่มีระบบที่ดีกว่านี้ ฉะนั้นจึงไม่ควรให้คนกลุ่มเดียวมีอำนาจมากจนเกินไป

ส่วนตัวแล้วต้องการให้กฎหมายให้ความยุติธรรมต่อประชาชน ทั้งผู้ผลิตและผู้ชมด้วย ในแง่ที่ว่าควรจะลดขอบเขตการใช้อำนาจของคณะกรรมการลง เพราะว่าการจัดเรทติ้ง ก็จะมีการกลั่นกรอง คัดกรองหนังไปยังคนดูอยู่แล้ว อาทิ ผู้บริโภคสามารถรับสารจากบทวิจารณ์หนังจากสื่อมวลชนได้ คนดูก็สามารถตัดสินใจได้ก่อนจ่ายเงินซื้อตั๋วไปนั่งดู ทั้งนี้ไม่เหมือนกับการเปิดโทรทัศน์ที่ผู้ชมอาจจะบังเอิญเปิดไปเจอภาพต่างๆ ได้โดยไม่ตั้งใจ ด้านบทลงโทษก็หนักเกินไป เช่น การจำคุก ทำให้ดูเหมือนว่า ผู้ผลิต ผู้ชมเป็นดังอาชญากร ซึ่งในความเป็นจริงการชมภาพยนตร์ก็เหมือนกับการอ่านหนังสือ จึงไม่ได้ใช้บทลงโทษที่รุนแรงขนาดนั้น

อีกประเด็นที่พูดกันมากคือ ร่างพรบ. ฉบับนี้ รัฐมองแต่เรื่องของอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้คำนึงถึงกลุ่มคนทำหนังที่ไม่ใช่เพื่อการค้า แต่ก็ยังต้องนำออกฉายและเผยแพร่ แต่กลับต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเข้ารับการเซ็นเซอร์ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคหนึ่งของคนทำหนังเล็กๆ ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการเบียดขับให้คนทำหนังอินดี้ต่างๆ เหล่านี้หลุดออกจากระบบไปจริงๆ ไม่ใช่เพราะว่าเกรงว่าหนังของตัวเองไม่ผ่านเซ็นเซอร์ แต่ไม่มีเงินมามากกว่า ทั้งนี้ประเด็นนี้เป็นปัญหาในต่างประเทศ ในหลายๆ แห่งมาแล้ว ฉะนั้นหากรัฐจะเข้ามาดูแลตรวจสอบก็ไม่น่าจะต้องให้เสียค่าธรรมเนียม

"ขณะนี้ มีเสียงคัดค้านร่างพรบ.ภาพยนตร์กันมาก แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมรัฐบาลพยายามรีบเร่งผลักดันกฎหมายตัวนี้ให้ออกมาใช้ ในเมื่อหลายมาตรายังมีปัญหาอยู่ และก็เป็นกฎหมายที่ยังไม่มีความชัดเจนในตัวเอง ไม่ทราบว่าทำไปเพื่ออะไรและใครกันแน่ สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงเรื่องของอำนาจเท่านั้นเอง จึงอยากให้รัฐทบทวนให้มากขึ้น รวมไปถึงผู้ผลิต ผู้ชม ผู้บริโภคในฐานะประชาชนก็คงต้องช่วยกันส่งเสียงออกไปให้รัฐได้รับรู้และตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน" ชลิดา กล่าว




(ID:16086)

บทวิจารณ์บางส่วน

"ควบคุม ปราบปราม และแบนหนัง"

เขียนโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

 

 

ร่าง พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี พ.ศ. .ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่รวมกฎหมายที่จะประกาศยกเลิกสองฉบับเข้าด้วยกัน ระหว่างพรบ.ภาพยนตร์พ.ศ. 2473 (ซึ่งยอมรับว่าล้าหลังอย่างมาก รัฐมีอำนาจควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ) และพรบ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 - ก็เป็นหนึ่งในประเด็นเผ็ดร้อนที่ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด ทั้งยังกล่าวได้ว่า ร่าง พรบ.ภาพยนตร์ฯ นี้ ทำให้คนในวงการทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพต่างหวั่นผวาไปตามๆ กัน แม้จะมีการรณรงค์คัดค้านและให้คณะรัฐมนตรีทบทวนหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็พบว่าร่างพรบ. ฉบับนี้ก็สามารถผ่านครม.ไปได้

รัฐยึดเก้าอี้ ประชาชนไร้พื้นที่

เครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์และประชาชนที่คัดค้านต่างเห็นว่า ร่างพรบ.นี้มีเจตนาที่จะให้อำนาจรัฐควบคุมมากกว่าที่ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม เนื้อหาสาระของร่างกฎหมายก็ไม่ได้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม อย่างเปิดเผยและโปร่งใส หรือคำนึงถึงการปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อกับประชาชน ที่สำคัญกลับเปิดช่องให้รัฐเข้ามาปิดกั้นและควบคุมสื่อมวลชนภายใต้ข้ออ้างเรื่อการขัดต่อศีลธรรมอันดีงามและความมั่งคงของรัฐ

ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและเกณฑ์การพิจารณาภาพยนตร์

ประกอบด้วยข้าราชการโดยตำแหน่งถึง 16 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 7 คน เช่น ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อธิบดีกรมศาสนา อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อธิบดีกรมสรรพากร เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฯลฯ

ในขณะที่ข้อเสนอของภาคประชาชน คือควรมีการคานกันระหว่าง 3 ส่วนเท่าๆ กัน คือ ตัวแทนภาครัฐ 1 ส่วน ตัวแทนผู้ประกอบการ 1 ส่วน และตัวแทนภาคประชาชนหรือผู้ชม 1 ส่วน แต่คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ส่วนใหญ่กลับเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมาก่อให้เกิดปัญหาบ่อยครั้ง เนื่องจากขาดความเข้าใจต่อความเปลี่ยนแปลงในการผลิตสื่อภาพยนตร์ในปัจจุบัน

กอปรกับ ผลการศึกษาร่างพรบ.ฉบับดังกล่าวโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) มีข้อสังเกตว่าร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ นี้ถือว่ามีการควบคุมสิทธิเสรีภาพหนักมาก เช่นในมาตรา 23 ระบุว่าต้องสร้างภาพยนตร์ที่ไม่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี หรืออาจกระทบต่อความมั่นคง สิ่งแวดล้อม และเกียรติภูมิของประเทศไทย คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่จะเผยแพร่ หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าบ่อนทำลายศีลธรรม ขัดต่อความสงบเรียบร้อย กระเทือนหรือศีลธรรมอันดีก็มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้เผยแพร่ได้

กลุ่มผู้ทำหนัง เห็นว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนทำหนังอย่างหนัก พิมพ์ผกา โตวีระ ผู้กำกับภาพยนตร์กล่าวว่าตามพ.ร.บ.นี้ ภาครัฐทำตัวเหมือนเป็นผู้ปกครอง ไม่เข้าใจว่าคนทำหนังก็มีศักดิ์ศรี ซึ่งมีเรียนรู้ที่จะเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่แล้ว กฎหมายนี้ไม่ได้ทำหน้าที่กฎหมายอย่างที่ควรจะเป็น วิธีคิดหรือมุมมองยังคงเป็นแบบอนุรักษ์นิยม

ภาคประชาชนจึงมีข้อเสนอให้ยุติการดำเนินการในรัฐบาลนี้ไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาพิจารณาอีกครั้ง

 

เอาเรทติ้ง - ไม่เอาเซ็นเซอร์

ไม่เพียงเท่านี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังใช้ระบบการควบคุมสื่อสองระบบ คือระบบการจัดระดับเนื้อหาภาพยนตร์ (Rating) แต่ยังคงจะใช้ระบบเซ็นเซอร์ (Censor) ที่ให้อำนาจคณะกรรมการในการสั่งห้ามฉาย ซึ่งเมื่อเลือกใช้ระบบเรทติ้งแล้ว ไม่ควรนำการเซ็นเซอร์มาใช้อีก

ระบบเรทติ้งน่าจะเป็นระบบที่เหมาะกับการกำกับดูแลสื่อภาพยนตร์ แต่ในกฎหมายก็ยังไม่มีความชัดเจนในมาตรฐานการจัดเรทติ้ง ทั้งยังมีการกำหนดให้มีการห้ามสร้างห้ามฉาย ทั้งๆ ที่ในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สามารถคุ้มครองศีลธรรมอันดีของประชาชนและความมั่นคงของรัฐได้อยู่แล้ว และเป็นกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย

นอกจากนี้ หลายฝ่ายเล็งเห็นว่าระบบการเซ็นเซอร์ส่งผลโดยตรงต่อจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เรื่องที่จะนำเสนอในภาพยนตร์ไทยมีจำกัด และเมื่อสร้างภาพยนตร์เสร็จแล้ว ภาพยนตร์อาจถูกห้ามฉายหรือถูกตัดทอน หรือลบทิ้ง ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจภาพยนตร์ รวมทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของภาพยนตร์ และที่สำคัญที่สุดการเซ็นเซอร์เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร รวมทั้งเป็นการปิดกั้นการับรู้และการเข้าถึงข้อมูล

การปรับปรุง ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ซึ่งเครือข่ายประชาชน เช่น คปส. คนทำหนัง คนทำเว็บไซต์ สื่อทางเลือก และวิทยุชุมชนที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่การจองจำสิทธิเสรีภาพสื่อ และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

แม้ว่าหลายหน่วยงานอาจจะมีเจตนาดีในการผลักดันกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีการทำประชาพิจารณ์ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการนักวิชาชีพด้านนี้หลายครั้ง แต่ข้อเสนอของภาคประชาชนก็ไม่เคยปรากฏอยู่ในร่างพรบ.เลย ซ้ำร้ายยังเน้นเพียงการ "ควบคุม และปราบปราม" สื่อมากกว่าสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา เป็นเพียงกฎหมายที่ต้องการจะสืบทอดอำนาจของทหารเท่านั้นเอง

 

ร่างพรบ.ใหม่ กับบริบททางสังคมใหม่ๆ

ศ.ดร.สไลทิพย์ จารุภูมิ อาจารย์ประจำภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นต่อร่างพรบ.ฉบับนี้ว่า แม้ว่าร่างพรบ. ฉบับนี้มีเจ้าภาพเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และได้พยายามจัดเวทีระดมรับฟังความคิดเห็นมาหลายครั้ง แต่ก็จะพบว่า ข้อเสนอของภาคประชาชนไม่ได้ถูกนำไปบรรจุอยู่ในร่างพรบ.เลย การนำระบบเรทติ้งและระบบเซ็นเซอร์มาให้ก็ยังขาดความชัดเจน นอกจากนี้ สิ่งที่หลายฝ่ายกำลังผลักดันอยู่ก็คือ การกำหนดให้ภาพยนตร์เป็นสื่อมวลชน จึงน่าจะต้องสร้างความแตกต่างให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากเดิม แต่สิ่งที่ปรากฏอยู่โดยรวมกลับพบว่า ร่างพรบ.ตัวนี้จำกัดเสรีภาพประชาชนอย่างมาก และระบบเซ็นเซอร์ก็ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย

นอกจากนี้ ศ.ดร.สไลทิพย์ กล่าวต่อว่า การอ้างถึงศีลธรรมอันดีของประเทศ หรือเพื่อปกป้องเด็ก-เยาวชนของชาติ และให้สามารถตัดเนื้อหาบางส่วน หรือห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น ซึ่งเป็นการเซ็นเซอร์ไม่น่าจะเหมาะสมกับประเทศไทย น่าจะใช้ระบบเรทติ้งมากกว่า ซึ่งก็สามารถจัดประเภทผู้ชมให้เหมาะสมกับภาพยนตร์ได้ แต่การเซ็นเซอร์โดยที่อำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดอยู่ที่คณะกรรมการ ก็ต้องถามว่า 'ใคร' เป็นกรรมการ ซึ่งก็มีแต่คนของภาครัฐ และมีมาตรฐานอย่างไรบ้าง ต้องทำออกมาให้ชัดเจน

"มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการทำหนัง และสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ เนื่องจากการผลิตหนังที่มีฐานผู้ชมน้อย ไม่ครอบคลุม อาจทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุน (ซึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ถดถอยได้) อีกทั้ง สำหรับผู้ผลิตภาพยนตร์ก็จะใช้วิจารณญาณในการเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็ยอมรับว่าการเซ็นเซอร์ไม่ใช่มีแต่ข้อเสียทั้งหมด ก็สามารถทำได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นเซอร์หรือจัดเรทติ้ง ผู้ที่เข้าเป็นกรรมการต้องมาจากหลายฝ่าย เป็นองค์กรอิสระที่ส่งตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ร่วมกัน จากทั้งฝ่ายวิชาการวิชาชีพ และผู้บริโภคด้วย"

"แน่นอนว่า ในขณะนี้ประเทศไทยต้องการ พรบ.ฉบับใหม่เข้ามาดูแลเรื่องภาพยนตร์ แทนฉบับเก่าซึ่งล้าหลังไปมาก (ซึ่งมีลักษณะไปทางอำนาจนิยมสูง จัดการเบ็ดเสร็จโดยข้าราชการ คือ ฉบับปี 2473 ซึ่งมีใช้มาก่อนการปฏิรูปทางการเมืองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ในปี 2475) ฉะนั้น พรบ.ฉบับใหม่ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับบริบททางการเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่นกัน" ศ.ดร.สไลทิพย์ กล่าว





(ID:16087)

กระทรวงวัฒนธรรมขอเชิญทุกท่าน "สู่ความเข้าใจกับ พรบ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์"

ขณะนี้ พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้ไปสักระยะหนึ่งแล้ว

แต่ดูเหมือนว่า ประชาชนทั่วไปจะไม่ได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของพระราชบัญญัติฉบับนี้มากนัก

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทุกคนได้ "สู่ความเข้าใจในการใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์" มากขึ้น ทางสำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดทำบทความเรื่อง "สู่ความเข้าใจในการใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์" ขึ้น ซึ่งบทความดังกล่าวมีทั้งหมด 13 ตอน เขียนโดย นส. อมรรัตน์ เทพกำปนาท ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งบทความดังกล่าว มีให้ดาวน์โหลดกันที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้

http://movie.culture.go.th/สความเขาใจพรบภาพยนตรฯ/tabid/202/Default.aspx




(ID:16088)
ไม่รู้ว่า พรบ.ฉบับนี้ จะมีผลกระทบต่อหนังกลางแปลงอย่างใดบ้าง นอกจากผู้สร้างหนังที่พากันคัดค้านแล้ว



(ID:16145)
ข่าวเกี่ยวกับหนังตามหน้าหนังสือพิมพ์ เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งทุกวันกลับเป็นเรื่องปกติที่มีภาพลักษณะดังกล่าว



(ID:16214)
ระบบเซ็นเซอร์ไทยกับศิลปะในสังคมประชาธิปไตย
(By: ศริยา สมุทรพยนต์)

จากการสัมมนาเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับการเซ็นเซอร์และจัดเรตติ้งภาพยนตร์ในประเทศไทย มีคำถามหนึ่งที่ทำให้รู้สึกสะดุดใจคือ คำถามผู้ร่วมสัมมนาที่เป็นคนดูหนังว่า อยากดูหนังแบบไหน อยากให้คนทำหนังทำหนังแบบไหนให้ดู ซึ่งคงเป็นคำถามที่ธรรมดาในบริบทของการคุ้มครองเยาวชนจากภัยของสื่อ แต่ในอีกแง่หนึ่ง คำถามนี้ทำให้อดไม่ได้ที่จะนึกถึงสถานะของการเป็นสินค้าในตลาดชิ้นหนึ่งเหมือนกับสินค้าอื่น ๆ ของภาพยนตร์ในระบบทุนนิยม คำถามนี้ฟังดูไม่แตกต่างเลยจากคำถามที่ใช้ในการวิจัยตลาดเพื่อออกแบบสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภค
 
แม้ว่านี่อาจจะเป็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ กับภาพยนตร์ในหลาย ๆ มุมโลก แต่คงเป็นเรื่องที่น่าสิ้นหวังสำหรับผู้ที่ยังเชื่อมั่นในศิลปะภาพยนตร์ หากหน้าที่หลักของศิลปะภาพยนตร์ต่อสังคมเป็นเพียงแค่การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สิ่งสำคัญที่ทำให้ศิลปะยังคงยืนหยัดอยู่ในโลกและอารยธรรมมนุษย์มาจนถึงทุกวันนี้ คือการที่ศิลปะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการนำผู้คนไปสู่อาณาจักรทางความคิดและจิตวิญญาณที่กว้างไกลกว่าที่ระบบสังคมจะเอื้ออำนวยให้ โดยธรรมชาติแล้ว ศิลปะมักจะก้าวไปล่วงหน้ากว่าสังคมในขณะนั้น
 
ในขณะเดียวกัน ลักษณะสำคัญสองประการของระบอบประชาธิปไตยคือความเชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคนในสังคม และความอดทน (Tolerance) ต่อความแตกต่างของผู้อื่น แต่เราจะพูดคุยกันในเรื่องความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไรในสังคมที่การแบ่งชนชั้นและการใช้อิทธิพลยังเข้มแข็งแต่อ่อนแอทางวุฒิภาวะอย่างสังคมไทย ในสังคมที่สิ่งที่เรารู้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันคือ ระบบมาเฟียที่พัฒนามาจากระบบเจ้าขุนมูลนายเก่าที่ผู้มีอำนาจเป็นเสมือนเจ้านายเหนือหัว ส่วนที่เหลือเป็นไพร่ทาสที่ต้องทำตามคำสั่งหรือส่งส่วยให้เจ้านายเพื่อความอยู่รอดหรือการได้มาซึ่งอภิสิทธิ์พิเศษโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความชอบธรรมเป็นหลัก
 
เราคงอยู่ได้ต่อไปอย่างชินชากับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความหวังว่าความเปิดกว้างของศิลปะจะเป็นแหล่งพักพิงสุดท้ายที่จะปกป้องเราจากความเลวร้ายเหล่านี้ จนกระทั่งวันหนึ่งมันเกิดขึ้นกับสิ่งใกล้ตัวเรา
 
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ แสงศตวรรษ บอกเราว่า ในที่สุด เราก็หนีไม่พ้นจากวงจรอุบาทว์ วงจรที่โดยเนื้อแท้แล้วมีเพียงมาตรฐานเดียวคือ มาตรฐานของการใช้อำนาจบาตรใหญ่ตามอำเภอใจ
 
ความอดทนในระบอบประชาธิปไตยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อในสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้อื่น ในขณะที่ความอดทนในระบอบอำนาจนิยมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เชื่อในสิทธิที่เท่าเทียมกันของผู้อื่น
 
การกระทำที่ดูเหมือนเผิน ๆ อาจจะเหมือนกับเป็นแบบเดียวกันกลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในกระบวนทัศน์ (Paradigm) หรืออยากเรียกให้ง่ายขึ้นว่า ชุดทางความคิด ค่านิยมและหลักปฏิบัติ
 
หากเรามองจากจุดของความแตกต่างอย่างสุดขั้วของทั้งสอง Paradigm นี้ จะเห็นได้ว่า การเสนอทางแก้ไขปัญหากับผู้มีอำนาจภายใต้ Paradigm ของระบอบอำนาจนิยมเป็นการแก้ปัญหาในเชิงรูปแบบ
 
แม้ว่าการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเซ็นเซอร์เป็นระบบเรตติ้งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเปลี่ยนแปลงในวิธีปฏิบัติ แต่หากโครงสร้างอำนาจยังคงอยู่ในลักษณะที่ยังให้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตแก่ผู้มีอำนาจ ก็จะเป็นเหมือนการปล่อยให้เชื้อไฟที่สะสมกันมายาวนานและต่อเนื่องยังคงหล่อเลี้ยงวงจรอุบาทว์ให้สามารถเติบโตและดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 
ในระบอบประชาธิปไตย โครงสร้างการจัดสรรอำนาจจะต้องมีทั้งฝ่ายอำนาจและฝ่ายถ่วงดุลอำนาจ (Checks and Balances)  เพื่อป้องกันการใช้อำนาจอย่างขาดสำนึก สิ่งที่สำคัญคือต้องมีระบบตรวจสอบและติดตามที่โปร่งใส ซึ่งคงหวังพึ่งได้ยากที่จะให้เกิดขึ้นในกรอบของระบบการเมืองและสังคมอันอ่อนแอของเรา
 
หากเรายังสามารถยึดถือศิลปะเป็นแหล่งพึ่งพิงสุดท้ายได้ มันน่าจะถือเป็นแนวทาง "นอกระบบ" ในการถ่วงดุลอำนาจในกรณีนี้ ผู้เขียนขอเสนอให้มีการรวมตัวของผู้เสพและสร้างงานศิลปะเป็นองค์กรหรือหน่วยงานในการเผยแพร่/สร้างสรรค์ผลงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามการใช้อำนาจคุกคามศิลปะให้เป็นที่รับรู้แก่สาธารณชนทั้งในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง จะเป็นในรูปแบบของสื่อนอกหรือในกระแสก็ตามแต่ ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบเซ็นเซอร์หรือไม่ก็ตาม
 
เสียงคุกคามครั้งนี้ดังเกินกว่าที่เราจะเมินเฉยได้อีกต่อไป  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องยุติบทบาทของการตกเป็นเหยื่อของศิลปะ และใช้พลังของศิลปะในการทำหนึ่งในหน้าที่ที่มันทำได้ดีที่สุดคือ การตั้งคำถามและท้าทายสถานภาพเดิม (The Status Quo) เพื่อเป็นอาวุธในการโต้ตอบและเรียกคืนพื้นที่อันชอบธรรมของมันในสังคม




(ID:17284)

กองเซ็นเซอร์ ณ กระทรวงวัฒนธรรมลั่น ค่ายหนังอย่าซื้อหนังโหดๆ มาให้เสียเวลา เพราะหนังที่ทำลายศีลธรรมของชาติ โดนแบนแน่นอน!!?

Posted พฤศจิกายน 6, 2008 by เครือข่ายคนดูหนัง
Categories: บทความ

Tags: ,

 

นายปรีชา กันธิยะ ประธานคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ (ก�งเซ็นเซ�ร์)
นายปรีชา กันธิยะ    ประธานคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์)

แม้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 จะประกาศออกมาแล้วแต่ถึงวันนี้ "กฏกระทรวง" ที่กำหนดเพื่อสร้างฐานในการพิจารณาก็ยังไม่เห็นโฉมหน้า

ดังนั้นผู้ประกอบการภาพยนตร์ทั้ง "ไทย" และ "ต่างประเทศ" จึงต้องรับทราบด้วยว่าการกำหนดประเภทของ "ภาพยนตร์" หรือที่เรารู้กันคือ การกำหนดเรตติ้ง ก็ยังไม่สามารถทำได้

เมื่อยังไม่ได้นำมาฉายในโรงจึงมีเจ้าของภาพยนตร์หลายเรื่องที่คิดว่า คณะกรรมการฯ จะให้เรตติ้ง ได้ ส่งภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ควรส่งเสริมมาให้ตรวจพิจารณากันมาก

นั่นคือทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่อง ต้องถูกห้ามฉาย ด้วยข้อหาต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความรุนแรง หรือเรื่องที่ ทำลายศีลธรรมอันดีงาม

หลายเรื่อง ลงทุนทำโฆษณา มากกว่าที่ลงทุนซื้อด้วยซ้ำไป แต่เมื่อนำไปพิจารณาปรากฏว่า หนังไม่ผ่าน แต่การที่เสียเงินโฆษณาไปแล้วได้สร้าง ความอึดอัด ให้กับคณะกรรมการพิจารณา

ปัญหาทุกอย่างเป็นเพราะ เจ้าของภาพยนตร์ นำภาพยนตร์มาให้พิจารณาก่อนฉายบางเรื่องเชื่อไหมว่า
ส่งเช้า เพื่อเข้าฉายเย็น.!!

" ผมบอกเลยว่า เจ้าของหนังบางราย ไม่เห็นความสำคัญของการตรวจพิจารณา" คณะกรรมการฯท่านหนึ่งเผยความในใจว่า "เราเห็นใจผู้ประกอบการส่วนใหญ่เข้าใจดี แต่มีส่วนหนึ่งที่ฉวยโอกาสซื้อหนังราคาแค่ไม่กี่พันบาทที่เคยต้องห้าม แล้วนำมาให้คณะกรรมการตรวจใหม่หวังจะได้เรตติ้ง จึงควรเข้าใจด้วยว่าภาพยนตร์ที่ทำลายศีลธรรมของชาติ ไม่สามารถฉายได้"

"มีบางรายส่งภาพยนตร์สยองขวัญมาให้ตรวจซึ่งหากเป็นประเภทพวก "ผีหลอกจิตหลอน" แล้วก็พร้อมที่จะพิจารณาให้" คณะกรรมการฯท่านนั้นเอ่ยต่อด้วยสีหน้าเครียด "แต่อยากจะแนะเจ้าของภาพยนตร์ที่ซื้อมาจากต่างประเทศได้ทราบว่า ประเภทเกมซาดิสต์ที่คนดูนำไปเลียนแบบได้นั้นคณะกรรมการไม่ให้ผ่านแน่ นอนจึงอยากขอร้องเจ้าของภาพยนตร์ที่ซื้อมา "อย่าซื้อมาเลย" เพราะในยุคนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ดูสนุกและสร้างความสุขอีกเยอะ เพราะคนไทยในปัจจุบันมีอาการเครียดอยู่แล้ว เมื่อนำภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเครียดมาเสนอ คนดูก็ยิ่งจะเครียดมากขึ้น จึงไม่มีใครอยากจะดูทำให้เสียเงินโฆษณาเปล่าๆ"

ก็อาจจะเป็นด้วยการพิจารณาอย่างจริงจังของคณะกรรมการฯ ทำให้ผมทราบว่า เวลานี้ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเครียดมากๆไม่ผ่านการพิจารณาแล้วก็เลยแวะไปดูหนังเรื่อง "โปรแกรมหน้าวิญญานอาฆาต" เพราะข่าวว่า ทำรายได้ดีทั้งที่บ้านเมืองอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเครียด

พอดูแล้วทำให้เกิดความสบายใจและเข้าใจในการทำงานของคณะกรรมการฯ ที่บอกเราว่าภาพยนตร์แนวผีหรือหนังสยองขวัญหากผ่านการพิจารณาแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรสามารถดูได้อย่างสบายใจ

หากจะมีความเครียดอยู่บ้างน่าจะเป็นความเครียดของ "พวกค้าเทปผีซีดเถื่อน" มากกว่าเพราะ "โปรแกรมหน้าวิญญานอาฆาต" คือเป็น ความอาฆาต ของ "ผู้สร้าง" ที่มีต่อผู้ประกอบอาชีพ "ก๊อบปี้ภาพยนตร์" หรือผู้ที่นิยมการ "ละเมิดลิขสิทธิ์" เพื่อนำไปขายอย่างผิดกฎหมายเรียกว่า ใครทำหนังผี ต้องเป็นผีทุกคน.!!

แต่ถ้าเรื่องนี้ ไม่ได้ผล เรื่องหน้าควรสร้างให้ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ตายกันซะบ้างก็ดี..!!

จากบทความของ วิภา วดี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2551

.




(ID:17285)

จากบทความของ วิภา วดี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2551

.


จากบทความนี้ ชี้ให้เห็นได้ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการทั้งเจ็ดคน ที่ไม่ได้มาจากการคัดเลือกของประชาชน หรือแม้แต่จะมาจากการคัดสรรที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (เนื่องจากเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งมาโดยรัฐมนตรี ที่ใช้อำนาจตามที่บทเฉพาะกาลได้กำหนด แต่งตั้งขึ้นมา ก่อนที่จะมีคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติชุดสมบูรณ์ที่มีทั้งคนจากภาครัฐและเอกชน) มองว่าตนเป็นผู้ชี้ชะตา และกำหนดว่า ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีนั้น คืออะไร และใช้อคติของตนเอง ในการตัดสินแทนประชาชนชาวไทย ในทุกชนชั้น กว่า 60 ล้านคนทั่วประเทศ

อีกทั้งต้องอย่าลืมด้วยว่า พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ความจริงแล้ว ไม่ได้ต่างจากกฎหมายเจ็ดชั่วโคตร (ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนตัว) หรือกฎหมายหวยบนดิน(ร่างพระราชบัญญัติสลากกินแบ่ง) เนื่องจากพรบ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับนี้ ได้ผ่านการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยที่ไม่ครบองค์ประชุุม ซึ่งในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้กฎหมายทั้งสองฉบับเป็นโมฆะ ไม่สามารถบังคับใช้ได้

อนึ่ง สำหรับภาพยนตร์ที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีความเห็นว่า ทำลายศีลธรรมของชาติและไม่ให้ฉาย ก็อาทิ SAW V, Frontier(s), Scar 3D, Funny Games และ Halloween เป็นต้น




(ID:17334)

แล้วไอ่เรื่อง อเมิกันพาย ภาค ล่าสุดหล่ะครับแก้ผ้ากันทั้งเรื่อง มีแต่เรื่องลาจก.....มีดื่มเหล้าเบียร์ด้วย เห็นแล้วเจ็บใจ มันผ่านออกมาได้ไง แถมฉายในโรงที่สารคามอิกต่างหาก




(ID:17335)

ใครเป็นคนเซ็นเซอร์อยากเห็น บางอย่างน่าเซ็นเซอร์ไม่เซ็น บางอย่างไม่น่าดันเซนเซอร์ซะงั้น




(ID:17336)
สงสัยเซ็นเฉพาะหนังไทย 5555



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 12

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116979886 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Maciedetpailt , RobertMIGH , Xavierlam , Sandrafem , Carrra , นนท์ , Bryantoxymn , Jerekioxgew , ProlBlask , Sallycgriet ,