Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง เครื่องฉายหนัง-โครง-จอเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-สาวฟิล์ม ฝรั่งยังชม61278.. 8/7/2555 17:41
- MY T60 YAMA และ M77.989935.. 4/7/2555 11:41
-ฉายฟิล์ม 35 แล้วมีภาพเบลอแนวตั้ง ซ้อนอยู่ เกิดจาก.....1571132.. 3/7/2555 15:02
-การบันทึกเสียงลงฟิล์ม ภาพยนตร์ และการเล่นกลับ ( Sound on film 1943)964415.. 2/7/2555 1:01
-เมื่อ IMAX เจอจอคู่ DMAX จากจีนแผ่นดินใหญ่ อะไรจะเกิดขึ้น?85615.. 30/6/2555 12:49
-ทำสีt6097557.. 29/6/2555 7:35
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ43703.. 29/6/2555 5:40
-ยังจำได้ใหม T54 ของใคร1262427.. 27/6/2555 12:42
-ถ่าน 80 แอมป์ ลองแสง624421.. 27/6/2555 9:04
-จิ้งจกตัวนี้เพิ่งไปเก็บมาจากโรงหนังเก่านำมาอาบน้ำแล้วใหม่กิ๊กเลย74158.. 26/6/2555 13:15
-เตาถ่าน 1981336.. 23/6/2555 23:11
-ถามเรื่อง สวิตซ์ชิ่ง47602.. 22/6/2555 21:30
-ยกเลิก...ปูเสื่อรอ Tokiwa T60 & Shinkyo M791594433.. 22/6/2555 11:41
-มาดูต้นแบบของเครื่องฉายหนังกันครับ...758016.. 18/6/2555 15:21
-อยากดูสวิทชิ่งเตาถ่านครับ54374.. 18/6/2555 15:08
-สาวกเทคนิค สำรวยภาพยนตร์ จ.สุพรรณบุรี97797.. 17/6/2555 14:22
เลือกหน้า
[<<] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [>>]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 932

(ID:11182) การบันทึกเสียงลงฟิล์ม ภาพยนตร์ และการเล่นกลับ ( Sound on film 1943)


เป็นการอธิบายหลักการพื้นฐานที่ดูจากภาพ ก็เข้าใจได้ครับ



ความเห็น

[1]


(ID:120224)
ขอบคุณครับพี พ่อน้องมะปราง ที่เข้ามาชม เสียดายครับกว่าจะพัฒนามาถึงปัจจุบัน ดิจิตอลกำลังเข้ามาแทนที่ เสียดายครับ



(ID:131961)

หลายคนยังเข้าใจว่าฟิล์มที่ฉายเป็นโพสิตีฟ  หายสงสัยกันสะที  มันคือฟิล์มเนกาตีฟครับ  มันรับภาพจากฟิล์มเนกาตีฟ(ฟิล์มถ่ายทำ)    มันเลยกลับสีมาเป็นตรงตามจริง   แต่ถ้านำฟิล์มโพสิตีฟจริงๆมาพิมพ์  สีมันก็ยังคงเหมือนฟิล์มเนกาตีฟจากกล้อง  เพราะฟิล์มโพสิตีฟ มันไม่กลับสีไปตรงข้ามกับภาพที่มันรับมาบันทึก ^^




(ID:131985)
แต่ถ้านำฟิล์มโพสิตีฟจริงๆมาพิมพ์  สีมันก็ยังคงเหมือนฟิล์มเนกาตีฟจากกล้อง  เพราะฟิล์มโพสิตีฟ มันไม่กลับสีไปตรงข้ามกับภาพที่มันรับมาบันทึก ^^ 
^
^
^
อันนั้นเค้าเรียก Reversal Film...


ส่วนฟิล์มที่ใช้สำหรับพิมพ์ออกมาจากเนกาทีฟเพื่อนำออกฉาย นิยมเรียกว่า Positive Film กันทั้งโลกอยู่แล้ว
หรือถ้าอยากลอง ก็ลองไปสั่งให้แลปเอาฟิล์มเนกาทีฟ มาพิมพ์จากเนกาทีฟต้นฉบับดูก็ได้นะ แล้วรอดูละกัน ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง...



(ID:131986)
อ้อ เพิ่งดูคลิปที่เอามาแปะ...



ขอยืนยันว่า จะซาวน์ดขาวดำ/ซาวนด์ฟ้า โนโน/เซอร์ราวนด์ หลักการก็ยังคงเดิมอยู่ครับ : )



(ID:131995)
อ้างอิงจาก

(ID:131985) 
แต่ถ้านำฟิล์มโพสิตีฟจริงๆมาพิมพ์  สีมันก็ยังคงเหมือนฟิล์มเนกาตีฟจากกล้อง  เพราะฟิล์มโพสิตีฟ มันไม่กลับสีไปตรงข้ามกับภาพที่มันรับมาบันทึก ^^ 
^
^
^
อันนั้นเค้าเรียก Reversal Film...


ส่วนฟิล์มที่ใช้สำหรับพิมพ์ออกมาจากเนกาทีฟเพื่อนำออกฉาย นิยมเรียกว่า Positive Film กันทั้งโลกอยู่แล้ว
หรือถ้าอยากลอง ก็ลองไปสั่งให้แลปเอาฟิล์มเนกาทีฟ มาพิมพ์จากเนกาทีฟต้นฉบับดูก็ได้นะ แล้วรอดูละกัน ว่าผลจะออกมาเป็นยังไง...








คิดง่ายๆคือ  เนกให้สีตรงข้ามกับสีที่มากระทบเยื้อไวแสง    โพ ให้ภาพสีตรงกับสีที่มากระทบเยื้อไวแสง     ถ้าต้นฉบับเป็นเนก  แล้วประกบพิมพ์กับฟิล์มก๊อปปี้ที่เป็นโพ บรรลัยเกิดครับ    เพราะโพมันยังคงสีเดิมของฟิล์มต้นฉบับเนกไว้  คือโพ มันไม่กลับสีให้  ^^  เด็กนิเทศภาพยนตร์ทุกคนผ่านบทเรียนนี้มาทั้งนั้นครับ

(Admin) จาก .. โหน่ง  30/6/2555 20:05






(ID:131996)
จากย่อหน้าแรกของดาต้าชีท  ฟิล์ม Agfa Print CP 3 ของ AGFA  ที่ใช้สำหรับพิมพ์ฟิล์มฉาย ที่หนังไทยนิยมกันตอนนี้ 

Technical Data 
CP30 
Colour print film
AGFA PRINT CP30 is a multilayer colour print film designed for use in optical or contact printers for making 
colour release prints from original colour negatives, duplicate negatives or internegatives. 
AGFA PRINT CP30 is characterized by its consistency, excellent sharpness, very fine grain and outstanding 
dye stability. 
AGFA PRINT CP30 combines excellent detail reproduction in highlight areas with impressive deep neutral 
blacks. 

ในแถบแดงระบุชัดเจนว่า  เนก เจอกับ เนก เป็น  internegatives  สำหรับฉาย

อันนี้โกดักก็บอกเป็นฟิล์มที่ใช้พิมพ์กับฟิล์มที่ลุ๊คต่างกัน  
Now, there?s a new choice in motion picture print ?lms?
KODAK VISION Premier Color Print Film. A ?lm with a
different look. Richer blacks. More saturated colors.
Cleaner performance. A ?lm worthy of the KODAK
VISION Film family name.
โกดักก็บอก ฟิล์มเค้าสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ต้นฉบับเนก ต้นฉบับโพก็เปนได้ และ สำเนาเนกกับเนก

Post-production Information

This is a projection-contrast color print film, primarily intended for optical projection onto a theatre screen. Film-to-video transfers are best made from preprint materials such as original negatives, master positives, or duplicate negatives. Excellent transfers can also be made from prints especially for telecine transfer using KODAK Color Teleprint Film 5381 (35 mm).



Read more: http://motion.kodak.com/motion/Products/Distribution_And_Exhibition/2393/tech2393.htm



(ID:132009)
"AGFA PRINT CP30 ... for making colour release prints from original colour negatives, duplicate negatives or internegatives. "


ที่ยกมา ก็ระบุชัดๆอยู่แล้วนิ ว่าสำหรับพิมพ์จาก NEGATIVE





"... เนก เจอกับ เนก เป็น  internegatives  สำหรับฉาย..."


เจอแบบนี้เข้าไป ผมว่าผมปูพื้นให้ใหม่เลยดีกว่า จะได้ไม่หลงทางไปมากกว่านี้



กรรมวิธีเพื่อให้ได้มา ซึ่งฟิล์มสำหรับฉายขึ้นจอ...

1.ถ่ายทำด้วยฟิล์ม Reversal เมื่อล้างออกมา ได้ฟิล์มที่มีสิตามจริง (Positive Image) ถ้าเป็นภาพนิ่ง ก็คือฟิล์ฺมสไลด็นั่นแหละ ฟิล์มนี้ เอาไปฉายดูได้เลย ไม่ต้องทำก็อปปี้อะไรอีก เจตนาคือสำหรับ Home use หรือการใช้งานจำนวนจำกัด ที่ไม่ต้องการทำสำเนาเพิ่มเติม

หนังไทยยุคหลังสงครามโลก->การจากไปของมิตร ชัยบัญชา นิยมใช้ฟิล์ม 16mm Reversal ถ่ายทำ-ตัดต่อ-ฉาย ในตัวเดียวกันหมดนี่แหละ เพื่อลดต้นทุนลงให้ต่ำที่สุด เมื่อมีฟิล์มก็อปปี้เดียวเที่ยวทั่วไทยแบบนี้ จึงเป็นเหตุให้เราหาหนังไทยในยุคที่ว่านี้ เหลือรอดมาให้ดูน้อยถึงน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ฉายกันจนป่นปี้หมด แล้วก็ปล่อยทิ้งขว้างกันไป


จริงๆถ้าหากหนังได้รับความนิยมมากๆ บางเรื่องก็มีการทำก็อปปี้เพิ่มเหมือนกัน ตามหลักการก็ควรจะใช้  Reversal duplicate Film ซึ่งเป็นฟิล์มที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับทำสำเนาจากต้นฉบับที่เป็น  Reversal Film อยู่หรอก แต่ในทางปฏิบัติ พบเห็นได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ก็พิมพ์เอาจาก Reversal Film ด้วยกันตรงๆนี่แหละ จึงไม่แปลกที่ตัวก็อปปี้จะสีสันย่ำแย่กว่าต้นฉบับเอามากโขอยู่ ในมือผมตอนนี้ก็มีตัวอย่างฟิล์มลักษณะนี้อยู่ แต่เป็นของลูกค้า ไม่ใช่ของผม เลยยังไม่อยากโพสต์ให้ดู



(ID:132011)
คราวนี้ มาถึงกรรมวิธีสำหรับผลิตฟิล์มจำนวนมาก สำหรับฉายในโรงกันบ้าง

2.ต้นฉบับ ถ่ายด้วยฟิล์ม Negative ซึ่งจะได้ภาพที่สีกลับกับความจริง (Negative Image) ขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว อะไรทำนองนี้ แน่นอนว่าเอาไปฉายดูไม่ได้อยู่แล้ว 

เพื่อที่จะให้ได้ฟิล์มสำหรับฉายดู ก็ต้องเอาไปพิมพ์ใส่ POSITIVE PRINT FILM อีกที ซึ่งฟิล์มนี้ จะกลับสีอีกรอบ เพื่อให้ได้ภาพที่สีถูกต้อง ตรงกับความจริง แล้วค่อยเอาฟิล์มตัวนี้ไปฉายอีกที


ใช่ โดยหลักการแล้วทำงานเหมือนกัน แต่ประเด็นก็คืิอ NEGATIVE FILM ? POSITIVE PRINT FILM
ย้ำอีกที ฟิล์มสำหรับถ่ายทำ เป็นคนละตัวกับฟิล์มที่ใช้ฉาย แม้ว่าจะมีคุณสมบัิติในการกลับสีภาพเหมือนกัน


ข้อแตกต่างเท่าที่ผมจำได้
-ร่องหนามเตยไม่เหมือนกัน เพราะหนามเตยในกล้องถ่ายกับเครื่องฉาย จะต่างกันนิดหน่อย ลองไปค้นดูด้วยคำว่า BH perfs กับ KS perfs ดูละกัน ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องทำให้ต่างกัน? ผมขอยกยอดไว้ก่อน ยังไม่พูดตอนนี้เพราะจะนอกประเด็นเกินไป ถ้าอยากรู้จริงๆเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที
-Color Curve ก็ต่างกัน จนไม่สามารถใช้แทนกันได้
-contrast ก็ต่างกัน ฟิล์ม Positive สำหรับฉาย จะคอนทราสสูงกว่า เพื่อให้สีสันดูเข้มสวยเมื่อฉายขึ้นจอ
-Negative Film เนื้อจะเป็น Celluloid อยู่ ในขณะที่ Positive Print เดี๋ยวนี้จะเป็น Polyester (ที่เรียกกันติดปากว่าฟิล์มทอง)กันหมดแล้ว เพราะเซลลูลอยด์ สามารถใช้น้ำยาต่อเข้าด้วยกันได้(สะดวกในการตัดต่อ) และถ้าเกิดซวย ฟิล์มติดขัดขณะถ่ายอยู่ อย่างเก่งก็จะขาดแคว่กไป แต่จะไม่ลากกลไกกล้องให้พังไปด้วย ในขณะที่ฟิล์มโพลิเอสเตอร์ เน้นความเหนียวทนเป็นหลัก เพื่อให้ทนต่อการถูกฉายผ่านเครื่องเป็นร้อยเป็นพันครั้งโดยไม่ขาดเสียก่อน แต่ก็ต้องแลกกับการที่ไม่สามารถใช้น้ำยาต่อได้แล้ว ต้องต่อด้วยเทปกาวอย่างเดียว




(วกกลับเข้าเรื่อง)
วิธีการ Negative->Positive นี้ เหมาะกับการสั่งพิมพ์จำนวนไม่มาก หลักสิบก็อปปี้ เต็มที่ก็หลักร้อยต้นๆ แบบหนังไทยเมื่อก่อน ที่ฉายเฉพาะในบ้านเรา เพราะถ้าสั่งพิมพ์จำนวนมากๆ ก็แปลว่าต้องลากฟิล์มต้นฉบับผ่านเครื่อง Printer มากๆรอบไปตามนั้นด้วย เสี่ยงต่อความเสียหายที่(อาจ)เกิดขึ้นได้

แล้วแบบนี้ หนัง Hollywood ระเบิดภูเขา เผากระท่อม ฉายพร้อมกันทั่วโลก 5,000 โรง จะสั่งพิมพ์ฟิล์มกันยังไงดี?



(ID:132013)
ก็มาถึงวิธีที่ 3 สำหรับพิมพ์ฟิล์มจำนวนมากๆ ของหนังฮอลลีวู้้ดทุนนิยมทั้งหลายกันบ้าง

3.ต้นฉบับ ถ่ายด้วยฟิล์ม Negative เหมือนกับข้อ 2. ทุกอย่าง

แต่เมื่อผ่านขั้นตอนการตัดต่อ ใส่เอฟเฟค ทำไตเติ้ล ฯลฯ สารพัดแล้ว แทนที่จะพิมพ์ลง POSITIVE PRINT FILM ตรงๆ ก็จะพิมพ์ใส่ฟิล์มที่เรียกว่า INTERPOSITIVE FILM (IP)เสียก่อน ส่วนตัว Original Negative ก็อัญเชิญไปเก็บรักษาในห้องเก็บ ไม่ต้องเสี่ยงนำออกมาใช้งานให้เสียหายอีก

INTERPOSITIVE FILM ตัวนี้ คล้ายๆจะเป็น POSITIVE PRINT FILM แต่...
-สีพื้นยังเป็นสีส้มๆ เหมือน Negative อยู่
-คอนทราสต่ำมาก เพราะต้องเผื่อไว้สำหรับเอาไปพิมพ์ต่อ
-แน่นอน ไม่มีเส้นซาวนด์
-แต่นิยม Grade สีมาแล้วเรียบร้อย เพื่อที่จะได้เอาไปพิมพ์ต่อไปแบบ One-light printing ได้ทันที โดยไม่ต้องมานั่งปรับแสงปรับสีอะไรกันทุกฟุตอีก


หลังจากตัว Negative ต้นฉบับถูกเก็บเข้ากรุไปแล้ว ก็จะใช้ INTERPOSITIVE FILM ตัวนี้เป็นต้นฉบับตัวแม่สุด นำไปพิมพ์ INTERNEGATIVE FILM (IN)ขึ้นมาอีก อย่างน้อยก็หลายๆชุด

INTERNEGATIVE FILM ตัวนี้ ก็จะถือว่าเป็น สำเนาถูกต้อง ของ Negative ต้นฉบับ มักจะถูกจัดพิมพ์ขึ้นมาหลายๆชุด สุดแท้แต่ความต้องการในการใช้งาน



แต่ละชุด ก็จะถูกจัดส่งไปยังห้องแล็ปทั่วทุกมุมโลก เพื่อนำไปพิมพ์เป็น POSITIVE PRINT FILM สำหรับฉา่ยในโรงในที่สุด


สรุปว่า สำหรับหนังฝรั่งฟอร์มใหญ่ ระเบิดภูเขาเผากระท่อมที่เราได้ดู ต้องผ่านขั้นตอนตามนี้...

Original Negative -> Inter positive (IP) -> Inter negative (IN) ->  POSITIVE PRINT


กี่สิบเรื่อง กี่ร้อยเรื่อง ก็ต้องมาตามขั้นตอนนี้หมด

ลองประเมินประมาณดูเล่นๆ ว่าจะมีฟิล์มกี่ชุด ในแต่ละขั้นตอน

Original Negative - หนึ่งเดียวชุดนี้ อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว

Inter positive - โดยทั่วไปคงสั่งพิมพ์แค่ชุดเดียว แต่ถ้าอยากทำเผื่อไว้อีกซัก 2-3 ชุดก็คงไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด

Inter negative - สั่งไปเลย 50 ชุด 100 ชุด จะได้กระจายไปให้ห้องแล็ปทั่วโลกช่วยกันทำ หนังจะได้ออกทันฉาย

Positive Print - สมมุติอย่างห้องแล็ปบ้านเรา ซึ่งไม่ใช่แค่พิมพ์ฟิล์ฺมสำหรับฉายในเมืองไทยอย่างเดียว แต่พิมพ์ฟิล์มส่งโรงหนังในประเทศรอบบ้านเราด้วย สมมุติไปเลย 300 ก็อปปี้
แสดงว่า หนังเรื่องหนึ่งเรื่องใด อาจมีฟิล์มฉายทั้งหมดได้ถึง 50*300=15,000 ก็อปปี้





...ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการใช้งาน สามารถฉายพร้อมกันได้ทั่วโลกแล้ว






ลืมไป จริงๆเมื่อก่อนจะมีอีกวิธีหนึุ่งคือ original negative->reversal internegative->positive print แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยม ผมก็จำไม่ค่อยได้แล้วว่าทำไม สรุปว่าเดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว ผมเลยไม่อธิบายดีกว่า



(ID:132016)
ส่วน KODAK VISION Premier Color Print Film ที่ยกมานั่น ก็เป็น Positive Film สำหรับพิมพ์เพื่อฉายในโรงอยู่แล้ว





"...โกดักก็บอก ฟิล์มเค้าสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ต้นฉบับเนก ต้นฉบับโพก็เปนได้ และ สำเนาเนกกับเนก..."


อ่านแล้วไม่เข้าใจว่ะครับ ="=



ถ้าข้างบนนั่น หมายถึงย่อหน้าข้างล่างนี่ละก็...
This is a projection-contrast color print film, primarily intended for optical projection onto a theatre screen. Film-to-video transfers are best made from preprint materials such as original negatives, master positives, or duplicate negatives. Excellent transfers can also be made from prints especially for telecine transfer using KODAK Color Teleprint Film 5381 (35 mm).


เอางี้ ผมแปลให้ทีละวรรคทีละตอนเลยดีกว่า


This is a projection-contrast color print film, primarily intended for optical projection onto a theatre screen. 
ระบุชัดเจน ว่าเป็นฟิล์มคอนทราสสูง เหมาะสำหรับการนำไปก็อปปี้เป็นฟิล์มสำหรับฉายดู



Film-to-video transfers are best made from preprint materials such as original negatives, master positives, or duplicate negatives.
ส่วนในขั้นตอนการสำเนาลงวิดีโอ แนะนำให้ใช้ฟิล์มในขั้นตอนก่อนหน้านี้ เช่น 
Original Negative(วิ่งกลับขึ้นไปอ่านข้างบนอีกที) 
Master Positive - ก็คือ Inter Positive ที่ผมพูดถึงข้างบน
Duplicate Negative - ก็คือ Inter Negative นั่นแหละ


Excellent transfers can also be made from prints especially for telecine transfer using KODAK Color Teleprint Film 5381 (35 mm).
หรือถ้าจะเทเลซีนจากโพซิทีพจริงๆ แนะนำให้ใช้ KODAK Color Teleprint Film  หมายเลข 5381 โดยเฉพาะจะดีกว่า


ซึ่งเป็นคนละตัวกับ KODAK VISION Premier Color Print Film 2393 ที่ยกมานี่



(คราวนี้คงชัดแล้วนะ)



(ID:132017)
หมายเหตุ


1.ทั้งหมดที่ว่ามา เขียนจากความทรงจำ ที่เห็นป๊ะป๋าล้างอัดรูป ล้างฟิล์ม ก็อปปี้สไลด์ ฯลฯมาตั้งแต่เด็ก+ขวนขวายหาอ่านเอาเองเพิ่มเติม จึงไม่มี Reference ใดๆ แนะนำให้ Google Search เพิ่มเติมถ้าต้องการยืนยันความถูกต้อง

2.ส่วนความรู้เรื่อง Video/การ Telecine อันนี้หาอ่านเพิ่มเิติมเอาเอง ตลอดช่วงประมาณ 2 ปี นับตั้งแต่เริ่มรับทำเทเลซีนมา และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมุ่งมาทางนี้มากกว่าทางเรื่องการฉายฟิล์มแล้ว
(สองปีที่แล้วยังคิดอยากได้หัวโรง+เตาหลอด3โล+เครื่องเสียงครบสูตรอยู่ แต่ตอนนี้ไม่ค่อยแล้ว จะหาวิธีพัฒนาระบบเทเลซีนของตัวเองเสียมากกว่า)



(ID:132026)


ไม่ได้บอกว่าฟิล์มถ่าย กับฟิล์มฉาย ตัวเดียวกันครับ  เรื่องรูหนามเตยต่างกัน  ก็มีในบทเรียนภาพยนตร์ครับ   แต่มันเป็นเนกกาตีฟเหมือนกัน  ฟันธง  โทรไปถามแลปได้ทุกแลปเลยครับ  


ฟิล์ม โพสิตีฟ  มีแต่ฟิล์มสำหรับกล้องเท่านั้นครับ   สำหรับงานที่ถ่ายแล้วล้างฉายดูได้เลย  ^^   แนะนำให้ไปหาเอกสารการสอนภาพยนตร์ ทั้ง 6 เล่ม(ขนาดสมุดโทรศัพท์)  ของมสธ. มาอ่านครับ  ห้องสมุดประชาขนทุกจังหวัดจะมี  

แล้วกระบวนการในฟิล์มแลป ชนิดฟิล์มสำเนาที่ใช้  มันไม่เหมือนโฟโต้แลปนะครับ  

รู้มั้ยครับ  ว่ากระดาษสีที่ใช้ปริ้นรูป เป็นเนกกาตีฟ  ไม่เชื่อลองเอาฟิล์มสไลด์มาอัด  ล้างออกมาสีจะเนกกาตีฟ   ก็น่าจะรู้นะครับ  เพราะกระดาษไดเร็กปริ้นรุป จากฟิล์มสไลด์ มันเป็นกระดาษคนละตัวกับที่ใช้ปริ้นจากฟิล์มเนก ... ^^ 





(ID:132029)
พอละ ผมขี้เกียจเถียงด้วยแล้ว









ถ้าอยากจะเรียกฟิล์ม Reversal ว่า Positive Film ก็เชิญละกัน ผมขอเรียกตามที่ชาวโลกเค้าเรียกกันดีกว่า...



(ID:132041)

 Reversal  ฟิล์มที่ให้สีตรงตามจริง  ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์  ถูกครับ เรียก 
 Reversal  จะเรียกว่า โพสิตีฟก็ไม่ผิด  แต่เค้าไม่เอา Reversal มาพิมพ์รีลีสพริ้นกัน มันทั้งแพง และไม่คุ้ม  เค้าจึงนิยมเอา เนกาตีฟมาประกบพิมพ์กันครับ  ^^   ราคาถูกกว่ากันเยอะ  คิดง่ายๆคือ  ฟิล์ม GOLD 100  กับ EXTRACHROME 100  อะไรมันถูกกว่ากัน  บางที IQ ก็สำคัญนะครับ  กับการเผยแพร่อะไรในวงกว้าง  อะไรที่เราจับมาทั้งชีวิต  อย่าคิดว่าเข้าใจถูกเสมอไป  เทน้ำออกจากแก้วบ้าง  หาตำราที่เชื่อถือได้มาอ่านบ้าง เช่นตำราที่เขียนโดยศาสตราจารย์จากนิเทศจุฬา กับคณาจารย์จากคณะวารสารศาสตร์ธรรมศาสตร์  พอจะเชื่อได้มั้ยครับ 




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 14

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116956498 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , ProlBlask , RobertMIGH , Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley , Robbsf ,