Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ
(ID:47634)
แล้วทำไมใบพัดจึงตัดแสง 48 ครั้ง ครับ ทำไมมันไม่บังแค่ 24 ครั้ง ใน 1 วินาที
(ID:47642)
ถูกครับบัง 24 ครั้งครับ และเปิด 24 ครั้ง รวม 1 วินาทีจะ 24+24 = 48
Straight Shutter ชัตเตอร์ตรง
Conical Shutter ชัตเตอร์กรวย
Barrel Shutter ชัตเตอร์ถัง
แปลมาตรงตัวเลย ข้อดีด้อยเป็นไง ไม่เคยใช้ครับ เคยแต่ถ่ายหนัง อิอิ
(ID:47664)
ถ้ามันบังแค่ 24 ครั้งต่อวินาที มันจะไม่ลายตา และแสบตาเหมือนไฟสโตรบตามเธคหรือครับ มังน่าบัง 48 เปิด 48 นา จะเอา บัง 24 ครั้ง และเปิด 24 ครั้ง รวม 1 วินาทีจะ 24+24 = 48 มารวมกันได้ยังไงครับ ยัง งง
บังก็ส่วนบัง เปิดก็ส่วนเปิดซีครับ
(ID:47676)
มันก็แบ่งกันคนละครึ่งครับ ถ้าครึงนึงของการเห็นภาพคือ 24 ภาพต่อ วินาที ช่วงเวลาอีกทั้งหมดของครึ่งของวินาทีคือ จอมืดเพราะถูกชัตเตอร์ปิดช่องแสงไว้ 24 ครั้ง คือจอจะมืด สลับกับมีภาพ ไง
(ID:47691)
ใช่เป็นเช่นนี้ ตอนแรกก็เข้าใจว่า 1/24 วินาที มานับจริงๆ ไม่ใช่นี่หว่า
(ID:47721)
ครับ แต่ภาพตอนแพนกล้อง เราจะเหนว่ามันกระพริบชัดมาก
(ID:47732)
ถ่ายด้วยฟิล์มนี่แหละ ก้เกิดจากเฟรมเรทมันน้อยไปไง 24 ถือว่าน้อย แต่ที่ไม่ใช้มากกว่า24 เพราะยิ่งมาก ยิ่งเปลืองฟิล์มมาก แค่นี้กองถ่ายยังเจอค่าฟิล์ม 4500 ทุกๆ ความยาว4 นาทีเลย แพง
***อีกนิด เรื่องลูป ก่อน และหลัง ประตูฟิล์ม ก็ระวังอย่าให้ เล็ก หรือวงใหญ่ไป
(ID:131962)
คนที่นี่แปลกๆครับ คนที่เพิ่งมารู้ที่นี่ก็เงียบ คนที่รู้แล้วก็เงียบ ไม่ค่อยตอบ ไม่ค่อยขอบคุณกัน 5555555 ไม่ได้ทวงบุญคุณนะครับ แต่มันเป็นสปิริต
(ID:131966)
เอ๊า ถึงจะเป็นกระทู้เก่า ผมก็ยังไม่เคยได้อ่าน ก็ขอบคุณมากๆ นะครับ เรื่องภาพพริ้วนี่โลกแตกจริงๆ หลายครั้งที่ผมปรับตั้งใบชัตเตอร์(ใบพัดตัดแสง) ยังไงก็ไม่เข้า บนได้ล่างพริ้ว พอล่างได้บนก็พลิ้วจนแทบถอดใจ มารู้ที่หลังว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ คือ ใบพัดถูกซอยออกให้เล็กลง จุดประสงค์เพื่อให้แสงผ่านได้เต็มที่ แต่ก็แลกกับการปรับตั้งที่ยากมากๆ บางครั้งภาพพริ้วจะไม่หายขาด ต้องมีเล็ดลอดให้เห็นบ้าง อยู่ที่ฝีมือในการซอยของช่างที่ดัดแปลง ผมขอเดิมๆ ดีกว่า ลองดูภาพตัวอย่างครับ ...
(ID:131975)
วะ ต้องกลับมาตอบกระทู้เก่าตั้ง 2 ปีที่แล้วอีกจนได้
เฉลยก็ละกัน...
-Straight Shutter ใบพัดแบบตรงๆธรรมดา เหมือนเครื่อง T60 นี่แหละ หรือถ้าเป็นหัวโรงก็อย่างเช่นยี่ห้อ Century เป็นต้น ออกแบบง่ายดี เข้าใจการทำงานได้ไม่ยาก แต่ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถวางไว้ใกล้ประตูฟิล์มได้มากนัก ต้องการองศาในการตัดแสงมาก ก็เลยต้องทำใบใหญ่หน่อยเข้าว่า
-Conical Shutter ใบพัดทรงกรวย แบบที่ใช้ในเครื่องซินเกียว M6,M77,super GR หรือหัวโรงก็เช่น Simplex การออกแบบจะยุ่งยากกว่าหน่อย เพราะต้องคำนึงถึงพื้นทีใน 3 มิติเลย แต่ถ้าทำได้ ก็จะมีประสิทธิภาพกว่าใบพัดแบบตรงธรรมดาๆ เพราะสามารถวางใบไว้ใกล้ประตูกว่า การตัดแสงจึงดีกว่าในขนาดใบที่เท่ากัน
-Barrel Shutter ใบพัดทรงกระบอก พบเห็นในหัวฉาย Tokiwa หัวโรง/หัวจีนแดงเกือบทุกรุ่น ออกแบบง่ายดี เพราะทุกอย่างวางอยู่ในระนาบเดียวกันหมด และ(โดยทฤษฎี)จะตัดแสงได้ดีที่สุด เพราะใบพัดทั้งสอง จะช่วยกันตัดแสงจากทั้งด้านบน+ด้านล่าง จึงน่าจะตัดแสงได้ไวที่สุด
แต่ในทางปฎิบัติ เมื่อใบหนึีงอยู่ใกล้ประตู ก็แปลว่าอีกใบจะอยู่ใกลประตู(มากด้วย) ยิ่งใกลออกไป ยิ่งทำให้การตัดแสงด้อยประสิทธิภาพลง ยิ่งหัวเล็กๆอย่างเซี่ยงไฮ้ 104 ใบพัดลุกเท่าปลากระป๋อง ตัดแสงยังไงก็ไม่ขาด ถือเป็นข้อด้อยที่สุดแล้วของหัวฉายนี้
(ไม่เป็นไร หัวนี้ผมเก็บไว้ทำงานเทเลซีนอย่างเดียว ไม่ได้ต้องการแสงบานบุรีอะไรขนาดนั้นอยู่แล้ว เลยไม่ใช่ปัญหาสำหรับผม)
(ID:131977)
มาอ่านดูดีๆ ผมว่าจขกทสับสนระหว่าง Frame Rate กับ Refresh Rate แล้วว่ะ
สอนหนังสือมันตรงนี้เลยละกัน
Frame Rate - จำนวนเฟรมภาพที่ใช้ตอนถ่ายทำ ก็นับกันตรงๆไปเลยว่ากี่ภาพ/วินาที?
-ถ้าเป็นหนังเีงียบแบบสมัยก่อน ก็ 16 Frames/sec. คือวินาทีละ 16 ภาพ
-พอมาเป็นหนังเสียง ก็จำต้องเพิ่ม Frame Rate ขึ้นเป็น 24 Fps นอกจากเพือการเคลื่อนไหวที่นิ่มนวลขึ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ Linear Speed ของฟิล์มมากพอที่จะให้"เสียง"ที่คุณภาพดีพอด้วย
แล้วเรื่องมันก็เริ่มมายุ่งขึ้น เมื่อถือกำเนิดทีวีขึ้นมาในโลก ทำให้ต้องมีระบบที่เรียกว่า Interlace Scan ขึ้น เพื่อเอาชนะข้อจำกัดของเทคโนโลยีในสมัยนั้นๆ
เดี๋ยวมาโพสต์ต่อ พักแป๊บนึง...
(ID:131979)
เอ้า ต่อๆๆ
หะแรกเลย ช่วงที่กำลังลองผิดลองถูกกันอยู่นั่นแหละ ก็พยายามทำให้ระบบทีวี แสกนภาพ+แสดงผล แบบเฟรมต่อเฟรม เหมือนฟิล์มหนังนั่นแหละ พบปัญหาว่า...
1.เฟรมเรทที่ 25 fps (สมมุติเอาทีวีระบบ PAL บ้านเราเป็นหลักละกัน) ช้าเกินไปสำหรับการแสดงผลบนจอทีวี CRT (ทีวีจอแก้วนั่นแหละ) เพราะเส้นแสกนต้องวิ่งกวาดทั้งจอ วินาทีละ 25 ครั้ง กระพริบมาก ปวดตาตายกันพอดี
2.แต่ถ้าจะเพิ่มเฟรมเรทให้มากกว่านี้ ก็แปลว่า ข้อมูลมีมากขึ้น วงจรก็ต้องทำงานมากขึ้น แบนด์วิธ(ในการออกอากาศ)ก็มากขึ้นตาม
แล้วจะทำไงดีหว่า...
(ID:131980)
ขอคั่นรายการ ด้วยการกลับไปอธิบายเรื่อง Refresh Rate ก่อนนิดนึงดีกว่า
Refresh Rate หมายถึง ความถี่ในการแสดงผลของภาพเคลื่อนไหวนั้นๆ ว่าใน 1 วินาที ระบบแสดงภาพ(จอทีวี จอหนัง จอฯลฯ) จะแสดงภาพกี่ครั้ง? หน่วยนับก็มักจะเป็น Hz (กี่ครั้ง/วินาที)
ความถี่ในการแสดงภาพ ไม่จำเป็นต้องเท่ากับความถี่ตอนถ่ายทำ
นั่นแปลว่า ตอนถ่ายหนังมา 24FPS แต่จะแสดงผล 2 ครั้ง ต่อเฟรม (สาเหตุที่ทำให้ใบพัดของเครื่องฉาย ต้องมี 2 แฉก) เพื่อให้ Refresh Rate=24*2=48 Hz
ทำไปทำไม? - เพราะถ้าแสดงผลที่ 24 hz แปลว่า ภาพกระพริบ 24 ครั้ง ในทุกๆ 1 วินาที สายตาคนเราจะรับไม่ได้ ปวดหัวตายกันพอดี
แต่ถ้าเบิ้ล refresh Rate ขึ้นไปเป็น 48 Hz แล้วละก็ สายตาคนเราจะเริ่มมองไม่ค่อยออกแล้วว่าภาพมัน"กระพริบ"อยู่ จะมองเห็นเป็นแสงสว่างต่อเนื่องได้ สายตาจึงไม่ล้า นั่งดูหนังได้จนจบเรื่อง
อ้อ จริงๆความถี่ต่ำสุดของ Refresh Rate ที่รับได้ ถ้าผมจำไม่ผิด จะขึ้นกับความสว่างของภาพที่ฉายด้วย ยิ่งภาพสว่างมาก ก็จะยิ่งมองออกว่า"กระพริบ"ได้ง่ายขึ้น (แปลว่า เครื่องฉายสว่างเกินงานไป ก็ใช่ว่าจะดี)
แต่ถ้าจำไม่ผิด ขั้นต่ำสุดๆ ยังไงๆก็จะต้องไม่น้อยกว่า 40 Hz รึไงนี่แหละ คือถ้าน้อยกว่านี้ละก็ ยังไงก็จะกระพริบแน่นอน
(ID:131981)
เอ้า กลับมาที่ระบบทีวีกันต่้อ
ในขณะที่การเพิ่ม Refresh Rate ของเครื่องฉายฟิล์ม ทำได้ง่ายๆด้วยการเพิ่มใบพัดเป็น 2 แฉกอย่างที่ว่า แต่กับจอทีวีในยุคจอหลอด CRT ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ก็เลยตันอยู่ที่ข้อจำกัด 2 ข้ออย่างที่ว่าในโพสต์ก่อน
...จนกระทั่งมีคนคิดค้นระบบ Interlace Scan ขึ้นมาได้
Interlace Scan ก็คือแทนที่เส้นแสกนของหน้าจอทีวี จะวิ่งพรวดเดียวจากบนลงล่าง เรียงตั้งแต่เส้นบนสุดไปเส้นล่างสุด ก็จะใช้วิธีแสกนข้ามเส้น 2 รอบแทน
รอบแรก แสกนเส้นคี่ 1,3,5,7,9...ไปจนตกจอก่อน
รอบที่สอง วิ่งกลับขึ้นไปแสกนเส้นคู่ 2,4,6,8,10...จนตกขอบล่างจออีกรอบ
พอขึ้นเฟรมใหม่ ก็กลับไปแสกนเส้นคี่อีกรอบ วนอยู่อย่างนี้ไปตลอด
ผลที่ได้ก็คือ...
1.Refresh Rate เพิ่มขึ้นเท่าตัว จาก 25 Hz กลายเป็น 50Hz ก็คือ กระพริบเร็วขึ้น สายตาคนเราก็จะมองไม่(ค่อย)ออก ดูผ่านๆเหมือนเป็นภาพฉายต่อเนื่องได้แล้ว
2.ปริมาณข้อมูลเ่ท่าเดิม วงจรทำงานเ่ท่าเดิม Bandwidth เท่้าเดิม ไม่ต้องเบิ้ลอะไรทั้งสิ้นแล้ว
สรุปว่า win-win ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย สบายไป
แล้วเราก็ใช้แบบนี้กันมาตลอด จนกระทั่ง...
(ID:131983)
...พอเข้าสู่ยุคปัจจุบัน เมื่อเริ่มมีเทคโนโลยีทีวี LCD เข้ามาแทนที่ทีวีหลอดจอ CRT แบบเดิมๆ
จอ LCD สามารถแสดงผลได้ต่อเนื่อง ไม่มีการกระพริบแบบหลอดจอ CRT อีกแล้ว
นั่นแปลว่า เราสามารถทำให้ Refresh Rate = Frame Rate ได้ โดยที่ไม่ต้องปวดหัวเรื่องภาพกระพริบอีกต่อไป
อุปกรณ์ถ่ายทำ อย่างเช่นกล้องวิดีโอรุ่นหลังๆ ก็เลยเพิ่ม Progressive Mode มาให้ นั่นก็คือ บันทึกภาพทีละทั้งเฟรม พร้อมๆกันหมด เหมือนกับการถ่ายด้วยฟิล์มหนัง ไม่ต้องมาแบ่งเป็นเส้นคู่เส้นคี่ให้ปวดหมองอีกต่อไป
(กลายเป็นว่า ภาพที่ดูกระตุกนิดๆ ของฟิล์มหนังนั่นแหละ เป็นตัวที่ทำให้เกิด "Film Look"ที่บางคนชอบกันนักกันหนา)
มาตรฐานของไฟล์วิดีโอ Full HD ในวันนี้ สมมุติลงแผ่น Blu-Ray ละกัน จะรองรับทั้ง Interlace 50i และ Progressive 25p (ถ้าจะไล่กันจริงๆก็คือจะมีตั้งแต่ 24p,25p,30p,50i และ 60i)
ปัญหามันมีอยู่ว่า เผอิญกล้องวิดีโอบางรุ่นในตอนนี้ ถ่าย Full HD ไปถึง 50p 60p แล้วโน่น ก็คือเท่ากับ 50FPS 60FPS เต็มๆ เฟรม ชัดๆ คมๆ กันอย่างนั้นเลย ซึ่งมันเกินเสปคปัจจุบันของแผ่น Blu-Ray แล้วด้วยซ้ำ
ซึ่งผมก็พยายามตามข่าวอยู่ห่างๆว่า เค้าจะเอายังไงกันต่อ? จะขยับขยายเสปคตามรึเปล่า?
หมายเหตุ - พอดีกล้องที่ซื้อมาใหม่ มีให้เลือกแค่ 25p กับ 50i ก็เลยยังไม่ต้องคิดอะไรมาก ใช้ๆไปก่อนดีกว่า
(ID:131984)
ปอลอ ขออภัยที่โพสต์ๆมา ออกไปทางวิดีโอซะมาก แต่จำเป็นต้องโพสต์ จะได้เข้าใจแบบม้วนเดียวจบ ยกระบบกันไปเลย
ปอลอสอง ไม่อยากทวงบุญคุณ แต่จะรอฟังความเห็นของคุณๆๆๆๆ มากกว่า
(ชักหิวข้าวละ เดี๋ยวหนีไปกินข้าวก่อนละกัน)
เลือกหน้า [1] [2] จำนวนหัวข้อทั้งหมด 28
ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117970259
ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jamessak , Landexpzgew , OrlandoneMon , เอก , Robertbaito , Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น ,