Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-Cinema Kinoton Endless loop12551.. 8/2/2557 11:56
-สมาชิกท่านใดจำชื่อหนังเรื่องนี้ได้บ้างครับ22727.. 26/12/2556 6:18
-(เศษฟิล์ม) ตัวอย่างหนังไทย หาดูได้ยาก และบางเรื่อง (อาจจะ) สูญหายไปแล้ว1171329.. 28/11/2556 22:55
-คลิป ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี1185429.. 24/11/2556 13:27
-70 mm film projector14480ยังไม่มีคนตอบ
-อุปกรณ์เอาฟิล์มใส่รีลแบบเซราะกราว (ลูกทุ่ง) ให้คุณม่อมครับ521544.. 28/9/2556 22:20
-วงจรภาคจ่ายไฟ ซาวด์แดงครับ705916.. 23/9/2556 7:54
-เบื้องหลังผู้ที่ทำซับไทยในหนังต่างประเทศ และซับอังกฤษในหนังไทย (ซับตอก)17243.. 20/9/2556 12:15
-ข้อมูลเกี่ยวกับฟิล์มภาพยนตร์สำหรับถ่ายทำ861931.. 16/9/2556 21:45
-ฟิล์มหนังปีนี้ เวลาเปลี่ยนม้วนไม่มีจุดดำแล้วเหรอครับ16482.. 26/8/2556 12:49
-เอามาฝากจากfacebook starpicครับ16272.. 21/8/2556 11:49
-ตามล่าหารีล!!14282.. 9/8/2556 16:30
-การซื้อฟิล์มหนังที่กำลังฉายในโรง23302.. 3/8/2556 18:08
-Film Chemistry: "The Alchemist In Hollywood" ASC 194015230ยังไม่มีคนตอบ
-ADHESIVE RESIDUE ภัยเงียบที่พีงระวัง159010.. 21/7/2556 22:41
-รวม ภาพ (ยี่ห้อ) ฟิล์มภาพยนตร์ที่ใช้ในบ้านเรา ฉบับ (เกือบ) สมบูรณ์468720.. 16/7/2556 12:16
เลือกหน้า
[<<] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 166

(ID:5405) คลิป ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี


มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งสำหรับการแสดงมหรสพทุกชนิดนั่นคือ จะต้องพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการยืนตรงต่อบทเพลงสรรเสริญพระบารมี เฉกเช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์ ก่อนที่หนังจะฉาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบมาก่อนว่า ช่วงระยะเวลาของการยืนสงบนิ่งต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เพียงแค่นาทีกว่า ๆ นี้ มีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย

คุณโดม สุขวงศ์ จาก หอภาพยนตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า ธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงภาพยนตร์แล้ว โดยเฉพาะโรงหนังญี่ปุ่นหลวง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งแรกในสยาม และเป็นโรงแรกที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดิน

ธรรมเนียมนี้อาจได้แบบอย่างมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในปกครองของอังกฤษ มีการฉายพระบรมรูปพระราชินีอังกฤษและบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี คือเพลง "God Save the Queen ; ก็อด เซฟ เดอะ ควีน" เมื่อจบรายการฉายภาพยนตร์ ให้ผู้ชมยืนถวายความเคารพ

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสชวา เมื่อ พ.ศ. 2439 มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บรรจบกัน 2 ประการ คือ ได้ทอดพระเนตรประดิษฐกรรมผลิตภาพยนตร์ที่พระตำหนักเฮอริเคนเฮาส์ เมืองสิงคโปร์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ผู้แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย ชื่อ มิสเตอร์ ยี.เอช. แวนสัชเตเลน ที่เมืองดยกชาการ (อ่านว่า ดะ-ยก-ชา-การตา) หรือจาร์การตาในปัจจุบัน

เมื่อเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้ มิสเตอร์ เฮวุดเซน ครูแตรทหารมหาดเล็ก แต่งทำนองเพลงคำนับรับเสด็จอย่างเพลง God Save the Queen โดยพระราชทานทำนองเพลงที่นายแวนสัชเตเลนแต่งให้ นายเฮวุดเซนได้นำทำนองเพลงนั้นมาปรับปรุงเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเป็นต้นเค้าของทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้อยู่ โดยบทที่บรรเลงในปัจจุบัน สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์คำร้อง ส่วนทำนองประพันธ์โดย นายปโยตร์ สซูโรฟสกี้ ชาวรัสเซีย

ต่อมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแก้คำในวรรคสุดท้าย จาก "ดุจจะถวายชัย ฉะนี้"  เป็น "ดุจจะถวายชัย ไชโย" และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456

เพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เอง ที่ภายหลังเมื่อมีภาพยนตร์เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนังเงียบ ซึ่งจะต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมทำการบรรเลงดนตรีประกอบการฉาย วงดนตรีดังกล่าวจึงได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพเมื่อภาพยนตร์ฉายจบ โดยในช่วงแรก ๆ เป็นการบรรเลงแต่เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงมีผู้ผลิตกระจกที่เป็นพระบรมรูปของพระเจ้าแผ่นดิน หรือ แลนเทิร์น สไลด์ (Lantern Slide) โดยทำการฉายกระจกพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินขึ้นบนจอด้วย และถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด แต่ในที่สุดก็มีระเบียบออกมาบังคับใช้ เมื่อ พ.ศ. 2478 พอเข้าสู่ยุคภาพยนตร์เสียงในฟิล์มแล้ว โรงภาพยนตร์ทุกโรงก็ยังคงฉายสไลด์พระบรมรูปและเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี

ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นการฉายสไลด์พระบรมฉายาลักษณ์และเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนการฉายภาพยนตร์ จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นการจัดทำเป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจฉายประกอบเพลง และกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอก็มีความแตกต่างกันไปอีกด้วย

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการฉายสไลด์พระบรมรูปพร้อมกับเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีในขณะนั้นว่า มีเจ้าของโรงภาพยนตร์บางแห่งไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ โดยนำสไลด์กระจกรูปของบุคคลอื่น เช่น ผู้นำชาติอื่น ๆ  หรือผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ มาฉายพร้อมกับเปิดเพลงและมีถ้อยคำปลุกใจให้ผู้ชม ซึ่งผิดธรรมเนียมปฏิบัติและไม่สมควรอย่างยิ่ง จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาตรวจสอบโรงภาพยนตร์อยู่เนือง ๆ

นอกจากนี้ ยังเคยมีบุคคลบางคนได้เสนอแนะให้ยกเลิกการฉายภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ โดยให้เหตุผลว่า มีโรงภาพยนตร์บางแห่งได้ฉายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะหนังที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร หรือเนื้อหาที่มีความรุนแรง ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะสมเท่าไหร่ แต่เรื่องดังกล่าวก็หายไปเพราะไม่มีใครเห็นด้วย ปัจจุบันถือว่า การฉายภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมี ถือเป็นระเบียบที่ทางโรงภาพยนตร์จะต้องถือปฏิบัติ และได้กลายเป็น "จารีต" ที่ผู้ประกอบการล้วนแล้วแต่ทำด้วยความจงรักภักดีกันทั้งสิ้น

สำหรับการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมี จะต้องทำหนังสือส่งไปที่สำนักพระราชวังเพื่อขอใช้พระบรมฉายาลักษณ์ต่าง ๆ หรืออาจจะขอคัดพระบรมฉายาลักษณ์เท่านั้น และเมื่อดำเนินการผลิตเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องนำมาผ่านตรวจจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจภาพยนตร์แต่อย่างใด



.....



(คัดลอกจากกระทู้เก่า และแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนโดยเจ้าของกระทู้)


เท่าที่สำรวจและจากประสบการณ์การดูหนัง ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ได้ผลิตออกมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 เวอร์ชั่น ทั้งที่ผลิตโดยร้านขายอุปกรณ์ฉายหนังที่เฉลิมกรุง และฉบับที่ผลิตขึ้นเฉพาะโรงภาพยนตร์ของตนเองครับ


เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ผลิตขึ้นเฉพาะโรงภาพยนตร์ของตนนั้น


 


เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มี 6 เวอร์ชั่นดังนี้ (ต่อจากชุด "ใบโพธิ์" ที่ผลิตโดย "เป็ดทอง")


 


* ชุดแรก เริ่มต้นด้วยภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่วางอยู่บนโต๊ะ ไปจบที่จุดเทียนชัยถวายพระพรที่ท้องสนามหลวง พิมพ์ที่กันตนา


 


* ชุดที่สอง "ในหลวงของเรา" เริ่มต้นด้วยภาพเด็กถือธงชาติเดินผ่าน ไปจบที่คำว่า "ทรงพระเจริญ" แทรกบนท้องฟ้า พิมพ์ที่สยามพัฒนาฟิล์ม


 


* ชุดที่สาม (ไม่ทราบชื่อ) เริ่มต้นด้วยภาพเด็กฝรั่งกล่าวให้ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในภาพจะมีช่วงหนึ่งที่นำเสนอ "พระมหาชนก" ด้วย


 


* ชุดที่สี่ (ไม่ทราบชื่อ) เริ่มต้นด้วยภาพพระบรมฉายาลักษณ์ตามที่ต่าง ๆ เช่น แสตมป์, นักมวยในการแข่งขันกีฬา ฯลฯ


 


* ชุดที่ห้า "สามัคคี" ที่มีภาพที่ผู้คนช่วยกันเข็นรถเมล์ ชุดนี้มีทั้งแบบไม่มีเนื้อเพลง และมีเนื้อเพลง


 


* ชุดที่หก "พลังความสุข จากพ่อของแผ่นดิน"


 


อีจีวี จะมีชุด กราฟฟิค ขึ้นต้นด้วยภาพเรือสุพรรณหงส์ และเพลงประสานเสียง แต่ภายหลังจากที่มารวมกับเมเจอร์แล้ว ก็ใช้ฟิล์มแบบเดียวกันกับที่เมเจอร์ใช้ ฯ ครับ


 


เซ็นจูรี่ ใช้ชุด ดนตรีแจ๊ส


 


เอสเอฟ ซีนีมา มี 2 ชุด ซึ่งนำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นภาพส่วนพระองค์จริง ๆ และภาพพระราชกรณียกิจครับ


 


ในส่วนของฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ผลิตในลักษณะ "ทั่วไป" (General Use) กล่าวคือ โรงภาพยนตร์หรือหนังกลางแปลงชอบแบบไหนก็ซื้อไปใช้ได้ เท่าที่มีข้อมูล (ทั้งจากการสังเกต และฟิล์มของตนเอง) สารมารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ


 


กลุ่มแรกก็คือ ระบบเสียงเป็นแบบโมโน น่าจะไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น


 


กลุ่มที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบ DOLBY SR (แทรคออพติคเป็น สเตอริโอ ซ้าย-ขวา ไม่มีแทรคดิจิตอล) และ DOLBY DIGITAL (ที่กล่องฟิล์มจะระบุข้อความ DOLBY SR-D) ก็น่าจะไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น เช่นกัน


 


กระทู้นี้จึงขอนำเสนอ คลิปซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในโรงภาพยนตร์ และหนังกลางแปลงที่เป็น General Use เท่านั้นครับ


 


ส่วนที่เป็นแบบเฉพาะของโรงภาพยนตร์นั้น จขกท. จะไม่นำมาลง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา แต่เชื่อว่าผู้ที่เคยเข้าไปดูในเว็บ YOUTUBE ก็จะทราบกันอยู่แล้วนะครับ และข้อความร่วมมือ สมาชิกที่เข้ามาชมนั้น งดโพสต์ หรือกระทำด้วยวิธีการใด ที่ทำให้ปรากฏคลิปเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นแบบเฉพาะของโรงภาพยนตร์ เพราะจะทำให้ทางเว็บเดือดร้อนครับ

ประกาศเรื่องสำคัญ: ขณะนี้ ผมมีความจำเป็นต้องลบคลิปเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ปรากฏในกระทู้นี้ออกไปเป็นการชั่วคราวก่อนครับ

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน


ความเห็น

[1] [2]


(ID:50013)

เพลงสรรเสริญพระบารมี ชุดที่ผลิตเพื่อใช้ในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก

 

จากหลักฐานพอประมาณได้ว่า น่าจะเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ. 2523 หรือ พ.ศ. 2524 ที่เริ่มฉายฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนหนังเรื่องยาว




(ID:50014)

ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี อีกหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะมาจากร้านขายอุปกรณ์การฉายภาพยนตร์แถวเฉลิมกรุงครับ

 

ชุดนี้ ผลิตโดยร้านใหญ่จัดทำ (ปัจจุบันย้ายออกไปอยู่แถวยานนาวา) ซึ่งนำเสนอในแบบเพลงร้องครับ

 

สำหรับคลิปนี้ ผมเอาตัวไฟล์จากฟิล์มที่เป็นแบบบรรเลงของท่าน W/M มาใช้ แล้วแทรกที่เป็นเพลงร้องแทน เนื่องจากว่า ผมมีฟิล์มชุดนี้ที่เป็นเพลงร้อง แต่สีเริ่มเฟดแล้วครับ เลยใช้วิธีนี้แทน ซึ่งก็ตรงกันกับฟิล์มที่ผมมีครับ




(ID:50018)

ส่วนคลิปนี้เป็นแบบบรรเลงครับ

 

ผมไปร้านใหญ่จัดทำ เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาที่ผ่านมา ก็ได้ความว่า ฟิล์มชุดนี้ไม่มีแล้วครับ ที่ผมได้ไปนั้นเป็นชุดสุดท้ายของทางร้านแล้ว เพราะตอนนั้นทางร้านได้สั่งพิมพ์ไว้จำนวนหนึ่ง ก็มีลูกค้าทยอยซื้อไปเรื่อย ๆ จนเหลือชุดสุดท้ายที่ผมมีนั้นแหละครับ

 

ที่สำคัญ ฟิล์มเนกาตีฟก็หายไปอีก หายไปพร้อมกับแล็บที่พิมพ์ฟิล์มครับ เพราะแล็บที่ล้างและพิมพ์ฟิล์มนั้นเป็นแล็บระดับล่าง




(ID:50021)

ส่วนคลิปนี้เป็นแบบบรรเลงครับ

 

สำหรับฟิล์มชุดนี้ ภาพเป็นอัตราส่วน 1.33 : 1 คาดว่าน่าจะเป็นการทำขึ้นมาเพื่อใช้ฉายต่อจากหนังตัวอย่างหรือฟิล์มโฆษณาที่เป็น FLAT (ตัดซีน) ในยุคนั้น ซึ่งในตอนนั้นทางโรงน่าจะยังไม่มีเลนส์ตัดซีนครับ ดังนั้นเวลาฉายจึงฉายแต่เลนส์ในเพียงอย่างเดียว




(ID:50022)

ส่วนคลิปนี้เป็นแบบเพลงร้องครับ

 

ภาพบนฟิล์มเป็นอัตราส่วน 1.33 : 1 เหมือนกัน




(ID:50026)

สำหรับฟิล์มชุดนี้ ผมเคยเห็นช่วงทศวรรษของปี พ.ศ. 2530 ครับ

 

ฟิล์มชุดนี้สันนิษฐานว่าเป็นของคุณเจี๊ยบ สมาชิกของเรานี่เอง

 

ฟิล์มชุดนี้ ช่วงต้นมีรอยถลอกบ้าง ช่วงท้ายเพลงขาดตอนไปนิด แต่ก็ถือว่าสมบูรณ์ครับ ที่สำคัญก็คือ หายากแล้วครับ




(ID:50030)

สำหรับฟิล์มชุดนี้ ผมเคยเห็นช่วงทศวรรษของปี พ.ศ. 2530 ครับ

 

ฟิล์มชุดนี้มาจาก จ. พิจิตร ครับ ชุดนี้เป็นเพลงบรรเลง ส่วนที่คุณอุ้ย ธวัชชัยมีนั้น เป็นแบบเพลงบรรเลง และภาพมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยครับ




(ID:50031)

นอกจากนี้ ก็มีเพิ่มเติมอีกว่า ยังมีฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี (เสียงโมโน) ที่นอกเหนือจาก 6 คลิปที่กล่าวมา อยู่ 2 ชุด

ชุดหนึ่งอยู่ที่บริการหนังกลางแปลงที่ จ. พิจิตร ครับ ชุดนี้ผมไปดูมาแล้วด้วยตนเอง (คนละเวอร์ชั่นกับคลิปบนครับ)

 

อีกชุดหนึ่งอยู่ที่ กรุงเทพ ฯ นี่แหละครับ

 

และอาจจะยังมีชุดอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่นำเสนอไปแล้ว แต่ยังหาไม่เจอเท่านั้นเอง

 

ต่อไปนี้เป็นฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ผลิตในยุคระบบเสียงดอลบี้ ดิจิตอลครับ

 

จากข้อมูลที่มาจากประสบการณ์การดูหนัง หรือจากภาพถ่ายที่ผมเก็บไว้ พบว่ามีไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น ทั้งที่ผลิตโดยเป็ดทอง หรือผู้ผลิตรายอื่น ๆ

 

ตัวอย่างเช่น

 

เพลงสรรเสริญพระบารมี ในอัลบั้ม เพลงแห่งชาติ ทั้งที่เป็นแบบบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ และแบบบรรเลงด้วยวงเครื่องสาย ก็นำมาสร้างสรรค์กับตัวฟิล์ม เพราะจำได้ว่าตอนดูหนังที่นครสวรรค์ ในโรงแฟรี่ เธียเตอร์ และธนารุ่งโรจน์รามา จะใช้แบบบรรเลงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ ส่วนที่ศรีไกรลาสใช้แบบบรรเลงด้วยวงเครื่องสาย กระทั่งปี พ.ศ. 2541 จึงมีเวอร์ชั่น จิ๊กซอว์ ออกมา ซึ่งทั้งโรงศรีไกรลาส และธนา ฯ ก็เปลี่ยนไปใช้เวอร์ชั่น จิ๊กซอว์ แทน

 

สำหรับคลิปนี้ เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ใช้ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในอัลบั้ม เพลงแห่งชาติ ที่เป็นแบบวงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ครับ




(ID:50070)

เพลงสรรเสริญพระบารมี เวอร์ชั่น "จิ๊กซอว์"

 

ก็ยังมีให้เห็นตามโรงภาพยนตร์ทั่วไปครับ รวมทั้งหนังกลางแปลงด้วย

 

ตัวฟิล์มชุดนี้ มีทั้งแบบสโคป และแบบตัดซีนครับ



(ID:50072)

เพลงสรรเสริญพระบารมี เวอร์ชั่น "สายฝน" (ส่วนใหญ่ชอบเรียกกันว่า "หยาดฝน")

 

โรงภาพยนตร์ตามชานเมือง และต่างจังหวัด รวมทั้งหนังกลางแปลงก็ใช้ชุดนี้ครับ

 

ผลิตโดยร้านเป็ดทอง มีทั้งแบบสโคป และแบบตัดซีนเช่นกัน ซึ่งราคาขายปลีกล่าสุด (ของร้าน) อยู่ที่ 1,500 บาท ซึ่งมีแต่แบบสโคปเท่านั้นครับ




(ID:50077)

จริง ๆ แล้วก็ยังมีเวอร์ชั่น "จิตรกรไทย" ด้วยครับ ผลิตโดยร้านเป็ดทอง เช่นกัน ตัวเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นแบบเดียวกับที่เครือเมเจอร์ใช้อยู่ในทุกวันนี้ แต่มีความแตกต่างในช่วงท้ายของเพลง ฟิล์มชุดนี้อยู่ที่ผมครับ คงต้องรออีกสักพักใหญ่ ๆ จึงจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป

 

ก็ถือว่าข้อมูลตรงนี้ยังไม่สมบูรณ์ ก็น่าจะเกิน 60 เปอร์เซ็นต์แล้วครับ




(ID:50101)

ขออนุญาตใช้สิทธิพาดพิงครับครูนุ (เลียนแบบในสภา) ผมมีเวอร์ชั่นตอนที่ช่วงท้ายเป็น

รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ(ภาพนิ่ง)..เป็นเวอร์ชั่นที่ออกปีไหนครับ 

รูปนี้เป็นเวอร์ชั่นที่อ้างถึง...เป็นของคุณโอ เทพมงคลครับ




(ID:50127)

รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ (ภาพนิ่ง)..เป็นเวอร์ชั่นที่ออกปีไหนครับ 

ตำตอบ ช่วงกลางถึงปลายของทศวรรษ พ.ศ. 2520 ครับ (ประมาณ พ.ศ. 2525 ขึ้นไป ไม่เกิน พ.ศ. 2529)

 

ต้องขอบคุณคุณอุ้ย ธวัชชัย ที่ช่วยรื้อฟื้นความจำ เพราะชุดนี้ เมื่อตอนเป็นเด็กเคยเห็นจากหนังกลางแปลง (จำชื่อบริการไม่ได้) ที่กาญจนบุรี และเป็นครั้งสุดท้ายก่อนย้ายตามพ่อแม่ไปอยู่ที่ จ. กำแพงเพชร ต่อมามาเห็นอีกทีจากหนังกลางแปลงของบริษัท โค้ก เมื่อนานมาแล้วครับ




(ID:50179)
รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ (ภาพนิ่ง)

ใช่เวอร์ชั่น สีธงชาติที่ข้างจอซ้ายขวา ใช่มั้ยครับ?




(ID:50206)
ขอค้านกั๊บทั่นประธาน...
(เอามั่งๆ อิอิอิ)



คือผมมั่นใจว่า จะต้องมีเพลงสรรเสริญเวอร์ชั่นที่เก่าๆ กว่าที่เห็นอยู่นี้ หลงเหลืออยู่อีกแน่นอนครับ!

เพราะคำนึงถึงที่ครูนุบอกว่า ธรรมเนียมการเปิดเพลงสรรเสริญฯเริ่มมาตั้งแต่ก่อนพศ.2480 โน่นแล้วละก็ ช่วงระหว่างปี 2480-2520 ก็น่าจะนานพอ ที่จะมีการผลิตเพลงสรรเสริญฯที่เป็นฟิล์มสำหรับฉายขึ้นมา(น่าจะหลายเวอร์ชันด้วยซ้ำ)แล้วละครับ


ซึ่งผมเชื่อว่า ถ้ารวบรวมเพลงสรรเสริญในยุคที่เป็น General Use ทั้งหมดที่มี (คือ ก่อนยุคโรงหนัง Multiplex ทำเองใช้เอง โดยประมาณละกัน) น่าจะไม่ต่ำกว่า 20-30 เวอร์ชั่นก็เป็นได้

เอาว่า เท่าที่ผมนึกออก ก็จะมีเวอร์ชันที่เป็นเพลงบรรเลงอีกอย่างน้อยๆ 1-2 เวอร์ชัน ที่ผมเคยเห็นตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก แต่ปัจจุบัน ยังไม่พบว่ามีสมาชิกทั่นใหนมีครอบครองอยู่เลย


สรุปว่า ใครที่มีเวอร์ชันอื่นๆ นอกเหนือจากที่เห็นอยู่ในกระทู้นี้แล้ว ช่วยกันเข้ามาแจ้งให้ทราบด้วย จะขอบคุณหลายๆเลยนะครับ



(ID:50210)
เกือบลืม...


-เพลงสรรเสริญฯ V. 2.2 กับ 2.3 ผมว่าภาพคล้ายๆกันเลย เพียงแต่อันหนึ่งเป็นสโคป อีกอันไม่ใช่เท่านั้นเอง คิดว่าน่าจะเก่าพอๆกันนั่นแหละ

-แล้วตกลง V. 2.2 นี่ ไม่มีฟิล์มเนกาทีฟต้นฉบับเหลือแล้วเหรอครับ!?!?!? เวรของกรรม T_T
(จำได้ว่า เป็นเวอร์ชันที่ผมเห็นบ่อยที่สุด สมัยเด็กๆด้วย)

-อ้อ ส่วนใน V.4 นั่น ไม่ใช่ของคุณเจี๊ยบหรอกครับ ของผมเองตะหาก อิอิอิ (และได้ยินว่า มีสมาชิกท่านอื่น มีฟิล์มเวอร์ชันนี้ ที่สภาพสมบูรณ์กว่านี้อยู่ด้วยนะ)


-สุดท้ายละ เข้าใจว่าในรูปของคุณอุ้ย น่าจะเป็นตัวเดียวกับใน v.5 รึเปล่าครับ??
(สนใจจะเอามาถ่ายลงแผ่นมั้ยครับ??? อิอิอิอิอิ)



(ID:50224)

ขอแก้ไขเพิ่มเติมจาก W/M นิดหนึ่งครับ

 

เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่เริ่มใช้ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2520 จะเป็นกระจกสไลด์นะครับ

 

แต่ถ้าหลังจากนั้นไปแล้ว เพลงสรรเสริญพระบารมีจะเป็นฟิล์มภาพยนตร์ครับ

 

ในคลิปที่เป็น V 2.1 และ V 2.2 นั้น ร้านใหญ่จัดทำเป็นผู้ผลิตทั้งคู่ครับ คือใช้เนกาตีฟภาพชุดเดียว แต่เนกาตีฟเสียงมีทั้งแบบร้องและบรรเลง ทีนี้เวอร์ชั่นที่เป็นเพลงร้อง ภาพช่วงท้ายจะเหลือยาวหน่อย ไม่เหมือนเพลงบรรเลง พอเพลงจบก็ตัดภาพเลย

 

ที่น้องอ๊อฟ (บัญชาภาพยนตร์ จ. พิจิตร) ถามมานั้น คิดว่าน่าจะเป็นฟิล์มตัวที่ผมไปเห็นที่ร้าน เมื่อปีก่อนนั่นแหละครับ




(ID:50251)

"-สุดท้ายละ เข้าใจว่าในรูปของคุณอุ้ย น่าจะเป็นตัวเดียวกับใน v.5 รึเปล่าครับ??
(สนใจจะเอามาถ่ายลงแผ่นมั้ยครับ??? อิอิอิอิอิ)"

 

สนใจเหมือนกันครับ..พี่โหน่ง..เดี๋ยวคงได้ใช้บริการในเร็วๆนี้แน่นอน

(โดยเฉพาะ โฆษณาฮอนด้า) ..อิอิอิๆๆ




เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 27

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112925224 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :GermanFoup , HelenViefs , DonaldSap , Davidfable , พีเพิลนิวส์ , AntonGeods , เอก , Carlosincof , autogNer , Pojja ,