Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-เสือโจรพันธุ์เสือ470912.. 18/10/2555 19:50
-เมื่อฟิล์มกำลังจะหมดไป..24451.. 3/10/2555 12:26
-...เลิกไปอีกรายละครับ...29943.. 19/9/2555 0:51
-อยากรู้มากเลยครับพี่20257.. 20/8/2555 21:23
-วิธีเอาฟิล์มเข้าเครื่องฉาย 35 มม.26261.. 10/8/2555 16:00
-ฟิล์มหนังตัวอย่าง ที่หายาก 21171844.. 18/7/2555 0:52
-RED ONE vs Kodak 250D 27594.. 16/7/2555 12:45
-ขอคำแนะนำเรื่องเก็บฟิล์ม54065.. 16/7/2555 7:53
-ฟิล์มเป็นเส้นหรือเส้นฝนตก มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างครับ48763.. 16/7/2555 4:42
-เครื่องตัดต่อฟิล์มหนัง 35 ม.ม.23431.. 16/7/2555 3:21
-ปัญหาฟิล์มหนังที่สายหนังนำมาฉายหรือปล่อยเช่าจากประสบการณ์ที่เจอคือหนังมา 6 ม้วนจะถูกนำมาตัดให้เหลือ 5 ม้วน จะพบว่าตอนท้ายม้วนน้ำหนักของรีลจะหนักมากและไม่มีแรงหมุนแต่ถ้าเป็นแบบเดิมๆคือ 6 ม้วนไม่มีปัญหา539213.. 16/7/2555 2:53
-ทำไมผู้กำกับหนังเขาจึงนิยมสร้างหนังตัดซีน843924.. 16/7/2555 2:46
-เคยสงสัยไหม ว่าทำไมฟิล์มหนัง เวลาฉายจะต้องหันเอาด้านอาบน้ำยาเข้าหาหลอด ?50814.. 13/7/2555 15:45
-ท่านใดทราบมั่งว่า รหัสเหล่านี้ในฟิล์ม มีความหมายอย่างไรบ้าง23965.. 13/7/2555 4:29
-อยากรู้จริงๆครับ! ว่าเธอคนนี้! เขาชื่ออะไร! ยังมีชีวิตอยู่ไหม! ผมเห็นเธอตั้งแต่เป็นเด็กเหมือนกัน!520410.. 13/7/2555 3:02
-ยังจำกันได้ไหม SOUNDCHECK TRAILERS338420.. 12/7/2555 8:17
เลือกหน้า
[<<] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 166

(ID:1733) ทำไมผู้กำกับหนังเขาจึงนิยมสร้างหนังตัดซีน


  ปกติแล้วจอหนังทั่วไปนั้นทำเพื่อรองรับหนังสโคบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่มาตอนนี้มีแต่หนังตัดซีน ซึ่งจะมีปัญหาตอนที่ฉายก็คือหนังไม่เต็มจอ ชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องก็บ่นว่าหนังไม่เต็มจอ ฉะนั้นหน่วยหนังก้ต้องไปตัดจอหนังตัดซีนอีก เพื่อตามให้ทันกับการสร้างหนังระบบนี้ออกมา ผมจึงขอตั้งคำถามว่าทำไมผู้กำกับถึงสร้างหนังระบบตัดซีนออกมา ทั้งๆที่ระบบสโคปก็ดีอยู่แล้วและจอหนังปกติก็เป็นจอสโคปอยู่แล้ว ผมอยากทราบว่าข้อดีของหนังตัดซีนมันมีข้อดีอยู่ตรงไหนครับ ขอบคุณครับ เพราะผมไม่เข้าใจจริงๆครับ รบกวนท่านผู้รู้ตอบหน่อยครับ

 



ความเห็น

[1] [2]


(ID:17343)

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ...แต่ขอเดาเอาเองว่า

1.อาจจะลดต้นทุนการผลิตหรือเปล่า

2.ทุกวันนี้หนังกลางแปลงลดน้อยถอยลงเลยต้องทำแบบที่ว่าไว้ฉายโรงอย่างเดียวล่ะครับท่านเน้นฉายโรงเป็นหลัก

3.อื่นๆต้องหาคนมาตอบเพิ่มครับ




(ID:17373)
เอ้า ร่วมด้วยช่วยเสริม

1.จริงครับ เรื่องของต้นทุนก็มีส่วน ถือถ้าถ่ายเป็นตัดซีน(จริงๆเค้าเรียก Flat) ค่าเช่ากล้อง/เลนส์ถ่ายก็ถูกกว่าเลนส์สโคป การถ่ายทำก็ง่าย ไม่ยุ่งยาก

2.ตอนฉายกลางแปลงมีปัญหา แต่ตอนฉายโรงเค้าไม่มีปัญหา เค้าก็เลยถือว่าไม่มีปัญหาครับ หรือพูดตรงๆ(อย่าเสียใจนะ)ก็คือ เดี๋ยวนี้ผู้สร้างหนัง ให้น้ำหนักกับการฉายกลางแปลงค่อนข้างน้อยแล้วครับ

3.ตอนเอาฉายทางทีวีก็ง่ายกว่า ถ้าฉายแบบ Letterbox คือ มีขอบดำบนล่าง ขอบดำก็ไม่หนามาก พอหยวนๆได้อยู่ หรือถ้าฉายแบบ Full Screen คือเอาเต็มจอเข้าว่า ก็จะตกซ้ายขวาไม่มาก แต่ถ้ามีการวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนถ่ายแล้วละก็ อาจใช้วิธีถ่ายมาเต็มๆเฟรม 4ต่อ3 อยู่แล้ว ตอนฉายโรงก็บังเฟรมบน-ล่างตามปรกติ แต่พอฉายออกทีวีก็ใส่เต็มๆเฟรมไปเลย แบบนี้ก็จะกลายเป็นว่า ตอนฉายออกทีวี กลับจะเห็น"เยอะ"กว่าตอนฉายในโรงไปซะงั้น


ปอลอ เดาไปตั้งเยอะ มันต้องถูกซักข้อละวะ(อ้าว)



(ID:17382)


ทำแบบโรงหนังสิ ม่านสีดำ ให้จินตนาการเอาเอง


นึกถึงหนังเรื่องที่ฉายสโคป ในโรงหนัง


เมื่อฉายตัวอย่างที่เป็นตัดซีนจบ จอก็จะค่อยๆ เลื่อนให้กว้างขึ้น  

ตัวเลื่อนนั่นคือม่านที่ใช้ผ้าสีดำปิดไว้




(ID:17418)

ถ้าจะประหยัดฟิล์ม 35 มมเต็ม ฯฯ แต่ใช้งานได้ครึ่งเดียว  น่าจะกอ็ปเป็น ฟิล์ม 16  มม เสียหมดเรื่องไปเลย จะได้ประหยัดฟิล์ม




(ID:17426)

เท่าที่จำได้ เมื่อครั้งตอนช่วงหนังโฆษณา (ที่เป็นหนังขายยานะครับ) เค้าถ่ายแบบ FLAT เพราะจะสะดวกเวลาตอนเอาไปฉายออกอากาศทางทีวี (เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2527 นั่นคือช่วงที่เคยดูโฆษณาจากทีวี ซึ่งตอนนั้นยังมีการถ่ายทำเป็นฟิล์มอยู่ พร้อม ๆ กับการเข้ามาของ วิดีโอ VHS สำหรับบ้าน และระบบเบต้า สำหรับงานออกอากาศ) เพราะสัดส่วนภาพมันจะดูไม่ออก แต่ถ้าฟิล์มโฆษณาที่ถ่ายแบบสโคป จะเสียรายละเอียดด้านข้างอย่างมาก แต่ถ้าปรับแบบเครื่องฉายที่สวมเลนส์ในภาพก็จะยืด ดูแล้วไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (หมายถึงตอนออกอากาศทางทีวีนะครับ)

 

มาถึงช่วงปี พ.ศ. 2530 หรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย หนังไทยเรื่อง "กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน" ถือว่าเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ถ่ายในระบบ FLAT แบบนี้ น่าเสียดายที่ยังไม่มีโอกาสได้ดู แต่กลับไปปรากฏอีกที เป็นหนังไทยเรตอาร์ เรื่อง "เพื่อน" ครับ ที่เริ่มเห็นขอบดำ (กรุณาอย่าคิดลึก) ปรากฏบนจอหนังเป็นครั้งแรก ๆ ตอนนั้น จุ๊ยเจริญ ฯ เอามาฉาย ต้องเอาเลนส์สโคปตัวนอกออกครับ เลนส์ FLAT อาจจะมีเข้ามาแล้ว (หรือยัง ?) ถ้ามีราคาคงแพงมาก

 

จนเวลาผ่านไปหลายปี น่าจะช่วงปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาหนังไทยก็ค่อย ๆ เปลี่ยนระบบภาพมาเป็น FLAT เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นระบบสโคป ยังพอให้เห็นอยู่บ้าง (ล่าสุดก็เรื่อง โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต) ส่วนหนังฝรั่งกับหนังจีน เอาแน่นอนไม่ได้ครับ บางทีก็ FLAT บางทีก็สโคป

 

นอกจากนี้อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการตัดต่อ ในการ Transfer ภาพจากฟิล์มลงสู่วิดีโอ เทป เบต้าแคม (เทเลซีน) เพื่อนำไปลำดับภาพผ่านคอมพิวเตอร์ หรือไปทำ CG ก่อน แล้วค่อย Transfer ลงฟิล์มเนกาตีฟ รวมทั้งเครื่องพิมพ์ฟิล์มที่สามารถปรับรูปแบบของภาพได้ทั้ง 2 ระบบ คือ FLAT และสโคป ก็สามารถทำได้ตามที่เจ้าของหนังต้องการครับ

 

อย่างว่าแหละครับ เดี๋ยวนี้คนที่ดูหนังกลางแปลงที่อาจจะเคยชินกับการดูหนังแบบสโคปมานาน พอมีหนังแบบ FLAT ออกมา ก็ต้องมีเสียงบ่นจากผู้ชม ซึ่งอาจจะไม่คุ้นเคย ยิ่งถ้าคืนไหนฉาย 2 เรื่อง 2 ระบบ คือ FLAT กับสโคป อย่างละเรื่อง โดยใช้เครื่องฉายเพียงเครื่องเดียว อาจจะเสียอารมณ์ก็ตอนเปลี่ยนเลนส์ แต่บางคราวก็ขี้เกียจเปลี่ยน คือฉายด้วยเลนส์ FLAT ตัวเดียว ทั้งหนัง FLAT กับ หนังสโคป ซึ่งเลนส์ FLAT กับฟิล์มระบบสโคป ภาพที่ออกมา ทั้งยืด ทั้งล้นครับ




(ID:17427)


ผมว่าเขาเอาไว้รองรับพวกทีวี lcd , plasma มากกว่าเพราะภาพที่ออกมาจะพอดีจอเลย คือ 16:9 หรือ 1.75:1 นั่นเอง ผมสังเกตุจากด้านหลังของแผ่น dvd เขาจะเขียนบอก อัดตราส่วนบอกไว้ด้วย หรือง่ายๆ ลองเอาฟิล์มไปส่องเทียบหน้าจอดูพอดีเลย และระบบทีวีในอนาคตจะเป็น 16:9 หมดสังเกตุจากตลาดขายทีวีดูเขาจะเน้นทีวี lcd , plasma เพราะอุปกรณ์ใหม่ๆจะเป็น 16:9 หมดที่ทำงานผมสั่งรถ hd มาแล้ว 1คันแต่สัญญาณ out put มีให้เลือกเป็นสองระบบ คือ 16:9 และ 4:3 และก็ทุกวันนี้สัญญาณที่มาจากต่างประเทศเวลาถ่ายทอดสดก็เป็น 16:9 แล้วเรามาแปลงเป็น 4:3 อีกทีครับ ( centercut ) ภาพด้านข้างบนล่างจะหายไป...





(ID:17445)

ตอนนี้สบายใจได้ หนังไทยเริ่มมีการถ่ายสโคปแล้ว เพราะมี บริษัท จอกว้างฟิล์ม ของค่าย จีทีเอช

เช่น สี่แพร่ง บอดี้ศพ#19  และ โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต




(ID:18269)
ตอนถ่าย ปัจจุบันไม่มีกองไหนใช้เลนส์ อนามอฟิคแล้วครับ หรือที่เรียกว่าซีเนมาสโคป  เพราะมันจะลดคุณภาพความคมชัดลง  จะใช้เลนส์ธรรมดา ไม่มีการบีบภาพในแนวนอน แต่จะอยู่กับการเลือกใช้ฟิล์มเกท(ประตูฟิล์ม) และกราวน์กลาส(จอวิวไฟเดอร์ในกล้อง ที่มีเส้นกรอบภาพ 4:3 หรือ 1.85:1 ไวด์ ประตูฟิล์มที่นิยมกันในหนังไทยจะเป็น 1.85:1 ส่วนหนังฝรั่งประตูฟิล์มจะเป็น 4:3 full frame แล้วติดกราวน์กลาส 1.85:1 ซึ้งบางครั้งจะถ่ายติดไมค์บูมมาด้วยในส่วนบนเหนือหัวผู้แสดง จะเห็นในก๊อปปี้ที่หนังกลางแปลงเอามาฉายเมื่อก่อน ซึ่งความคมชัดจะสูงมาก ถ้าเทียบกับหนังที่ต้องใช้เลนส์สโคป ถ้าเป็นก๊อปปี้ที่ส่งฉายโรง ทางแลปก็จะพิมพ์ฟิล์มเปนแบบ ไวด์บนฟิล์มเลย ซึ้งตอนฉายจะต้องใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสสั้นลง เพื่อกรอบไวด์บนฟิล์มจะได้ใหญ่ขึ้นพอดีกับขนาดจอ ซึ่งการพิมพ์แบบนี้จะไม่ต้องใช้เลนส์สโคปในการฉาย ทำให้คุณภาพความคมชัดไม่ลดลง



(ID:18270)

แต่ที่หนัง GTH  มีฟิล์มที่ฉายด้วยเลนส์สโคปได้นั้น  ค่ายหนังเค้าเอาใจโรงหนังต่างจังหวัด และหนังกลางแปลงครับ  เพราะรู้ว่าชอบฉายแบบนี้  ถึงจะเสียความคมชัดลงไปบ้างแต่ก็เสียไปเกือบ 20 % นะ  ก็แค่สั่งแลปให้พิมพ์ก๊อปปี้ รีลีสแบบ โบลวอัพ ขยายจากไวด์ 1.85:1 ในฟิล์มต้นฉบับ ขึ้นมาเป็นแบบบีบภาพให้เต็มเฟรม 4:3 ตอนฉายจึงต้องเอาเลนส์ขยายสโคปมาขั้น ซึ่งมันจะลดทอนความคมชัดลงไปอีก แต่คนฉายดูเท่ 555555 กำ... ผมว่าเอาฟิล์ม 1.85:1  ไปฉายจะคมชัดกว่านะ  แค่เปลี่ยนเลนส์นิดหน่อย ตอนเด็กๆผมยังชอบดูหนังฝรั่ง หรือหนังฮ่องกงที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคปฉาย  เพราะภาพมันคมชัดกว่าเห็นๆ เรื่องแรกที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคป รู้สึกจะเป็นเรื่อง หย่าเพราะมีชู้นะ เท่าที่ดูจากกลางแปลงมา ( 1.85:1 หรือที่ในเวบนี้เรียกกันว่า ตัดซีน)




(ID:18457)

อยากรู้ว่าอันไหนกว้างกว่าครับ ระหว่าง 2.40 : 1 กับ 2.35:1

จะได้ดูดีวีดีให้ถูก




(ID:18462)
ถ้า หนังเรื่องใหน ถ่ายมาแบบสโคปแท้ๆ และแายด้วยเลนส์สโคปดีๆ ภาพชัดส่วยกว่า Flat แน่นอนอยู่แล้วครับ พื้นที่รับภาพใหญ่กว่าเห็นๆ


แต่กรณีฉายด้วยเลนส์สโคป อายุ 40 ปี ข้างในมีแต่ฟาร์มเห็ด+ขนม้า(ขนแมวเล็กไป)ละก็ -_______-"



(ID:18521)

สรุปแล้ว ผู้สร้าง มองหนังกลางแปลงเป็นลูกเมียน้อยใช่เปล่าครับ จึงให้ความสำคัญกับการที่จะนำไปฉายในโรง และผลิตเป็นดีวีดีออกขาย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็น่าเสียดายนะครับ




(ID:18522)
2.35 จอจะแคบกว่า 2.40 แล้วแต่ชอบครับ ปรกติสัดส่วนมาตรฐานของ Anamorphic คือ 2.35 ครับ ใครเคยต่อหนังที่เป็น scope print จะรู้ดีว่า รายต่อเฟรมมันเล็กมาก เวลาฉายมันจะเห็นรอยขูดที่ขอบบนและขอบล่างของเฟรม  เขาเลยตกลงกันให้บีบประตูฟิล์มลงนิดนึงเพื่อซ่อนรอยต่อพวกนี้ สำหรับหนังบางเรื่องที่ยังตัดต่อที่เนกาตีฟอยู่ครับผม   แต่หนังที่ตัดต่อเป็นดิจิทัลแล้ว ก็จะไม่มีรอย
  หนังที่ถ่ายด้วยระบบ Cinemascope เต็มระบบ ภาพจะชัดกว่า 1:85:1  เนื่องจากใช้พื้นที่เฟรมมากกว่าครับ
จะมีหนัง Cinemascope บางระบบที่มีให้เห็นน้อยแล้ว คือระบบ Technicscope ที่จะถ่ายเนกาตีฟใช้พื้นที่ครึ่งนึงของปรกติโดยไม่ใช่เลนส์บีบภาพ ( 1 เฟรมสูงเท่าแค่หนามเตยแต่ 2 รู) แล้วไปโบลว์ให้เต็มเฟรม 4 รูหนามเตยในแลป Titanic ฉากแรกที่เป็นภาพใต้น้ำใช้เทคนิกนี้ครับ
   การที่เลนส์สโคปไปขยายภาพในแนวนอนแล้วทำให้เกิดความผิดเพี้ยนนั้นจริงครับ แต่ความเพี้ยนที่เกิดในแนวนอนนั้นจับผิดด้วยตาทำได้ยากครับ เพราะสายตาเราจับผิดความผิดพลาดในแนวตั้งได้ง่ายกว่า
ส่วนการขยายภาพด้วยเลนส์ตัดซีนนั้นจะเห็นเกรนของภาพชัดกว่าสโคปครับ นอกจากนี้การฉายหนังในสัดส่วน 1.85:1 ยังทำให้หนังเต้น( jump and weave)ง่ายกว่าสโคปด้วยครับ
อย่างไรก็ตาม คุณภาพการฉายขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์  เหมือนท่านโหน่งว่านั่นล่ะครับ



(ID:18542)

เรื่องเลนส์นี่ผมว่าสำคัญมากครับโดยเฉพาะเลนส์ที่เรียกกันว่าเลนส์ใน ถ้า Focus แล้วไม่เห็นเกรนหรือมีอาการแสงแฟร์(อาการฟุ้งของแสงส่วนเกิน)รอบๆจอเป็นบริเวณกว้างก็แสดงว่าเลนส์หมดคุณภาพแล้วครับ สมาชิกที่เล่นกล้องน่าจะรู้เรื่องนี้ดี ดังนั้นเลนส์จึงมีหลายเกรดหลายราคาครับ

ถ้าได้เลนส์ดีแล้วภาพไม่นิ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นเวรกรรมของคนที่ชอบจับผิดภาพครับเพราะมันคงน่ารำคาญน่าดู หัวเครื่องฉายที่เหมาะกับการฉายหนังประเภทฟิล์ม 1.85:1 น่าจะเป็นหัวนอกหรือหัวที่มีหนามเตยอยู่ใต้ประตูครับประเภทจีนแดง, รัสเซีย, ซินเกียว,... รวมทั้งตระกูลหัวโรงทั้งหลาย หัวที่ไม่น่าเอามาฉายมากที่สุดน่าจะเป็น Yamakiwa, Tokiwa ทั้งของในและนอก โดยเฉพาะเมื่อฟิล์มโดนน้ำมันมาเนี่ยเต้นน่ารำคาญหัวใจซะจริงๆ อัดประตู้แล้วก็ยังเอวไม่ค่อยจะอยู่ แต่ถ้าเป็นฟิล์มใหม่ไม่มีน้ำมันอันนี้ส่วนใหญ่จะเดินได้ปกติครับ




(ID:18616)
หายากนะครับความรู้ในเชิงลึกแบบนี้ .....



(ID:18631)

ฟิล์มสโคปที่จอแคบคือฟิล์มแบบอะไรครับ

แบบหนังเรื่อง น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ




(ID:18652)
ฟิล์มสโคปที่จอแคบ ก็คือฟิล์มสโคปนั่นล่ะครับ  ต้นฉบับจะเป็นตัดซีน แต่โบลวเป็นสโคป โดยให้ขอบบนพอดีเฟรม ผลคือทำให้ขอบข้างไม่เต็มจอ
 จุดประสงค์คือเพื่อทำให้กลางแปลงเอาไปฉายได้ เพราะไม่ต้องใช้เลนส์ตัดซีนช่วยตอนฉายครับ เรื่องนางนาค ก็เป็นปริ๊นแบบนี้ครับ
ภาพจะไม่ค่อยชัด  แต่ข้อดีคือ ฉายควบหนังที่เป็นสโคปได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ครับผม



(ID:19036)
แต่ช่วงหลังๆก็เห็นหนังไทยทำระบบสโคบทั้งนั้นแล้วครับ หนังฝรั่งส่วนมากก็จะเป็นหนังสโคปกันทั้งนั้น



เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 24

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112896107 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :HoustonDab , Lindahoisy , DJWrepe , zubdokaback , Jabeabe , FuriousPelt , toplinkmd , พีเพิลนิวส์ , Pojja , HelenViefs ,