Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-เสือโจรพันธุ์เสือ470012.. 18/10/2555 19:50
-เมื่อฟิล์มกำลังจะหมดไป..24401.. 3/10/2555 12:26
-...เลิกไปอีกรายละครับ...29893.. 19/9/2555 0:51
-อยากรู้มากเลยครับพี่20227.. 20/8/2555 21:23
-วิธีเอาฟิล์มเข้าเครื่องฉาย 35 มม.26241.. 10/8/2555 16:00
-ฟิล์มหนังตัวอย่าง ที่หายาก 21168944.. 18/7/2555 0:52
-RED ONE vs Kodak 250D 27554.. 16/7/2555 12:45
-ขอคำแนะนำเรื่องเก็บฟิล์ม54045.. 16/7/2555 7:53
-ฟิล์มเป็นเส้นหรือเส้นฝนตก มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างครับ48743.. 16/7/2555 4:42
-เครื่องตัดต่อฟิล์มหนัง 35 ม.ม.23401.. 16/7/2555 3:21
-ปัญหาฟิล์มหนังที่สายหนังนำมาฉายหรือปล่อยเช่าจากประสบการณ์ที่เจอคือหนังมา 6 ม้วนจะถูกนำมาตัดให้เหลือ 5 ม้วน จะพบว่าตอนท้ายม้วนน้ำหนักของรีลจะหนักมากและไม่มีแรงหมุนแต่ถ้าเป็นแบบเดิมๆคือ 6 ม้วนไม่มีปัญหา538913.. 16/7/2555 2:53
-ทำไมผู้กำกับหนังเขาจึงนิยมสร้างหนังตัดซีน843224.. 16/7/2555 2:46
-เคยสงสัยไหม ว่าทำไมฟิล์มหนัง เวลาฉายจะต้องหันเอาด้านอาบน้ำยาเข้าหาหลอด ?50784.. 13/7/2555 15:45
-ท่านใดทราบมั่งว่า รหัสเหล่านี้ในฟิล์ม มีความหมายอย่างไรบ้าง23935.. 13/7/2555 4:29
-อยากรู้จริงๆครับ! ว่าเธอคนนี้! เขาชื่ออะไร! ยังมีชีวิตอยู่ไหม! ผมเห็นเธอตั้งแต่เป็นเด็กเหมือนกัน!520010.. 13/7/2555 3:02
-ยังจำกันได้ไหม SOUNDCHECK TRAILERS338020.. 12/7/2555 8:17
เลือกหน้า
[<<] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 166

(ID:657) เคยสงสัยไหม ว่าทำไมฟิล์มหนัง เวลาฉายจะต้องหันเอาด้านอาบน้ำยาเข้าหาหลอด ?



เห็นวันนี้บอร์ดเงียบๆกัน  ขอเปิดประเด็นให้อ่านกันแก้เซง นะครับ

ตอบ.. เพราะทำแบบนี้แล้วภาพที่ได้จะชัดกว่า หันด้านอาบน้ำยาเข้าหาเลนส์     ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ?
 คำตอบของปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวเครื่องฉายครับ  แต่อยู่ที่กระบวนการในการปริ๊น นั่นเอง
โครงสร้างของฟิล์มจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ แผ่นพลาสติก(base) และ น้ำยา(Emulsions) ( ดูรูปที่ 1)
ตอนที่มันเป็นเนกาตีฟอยู่ในกล้องถ่าย เราจะหันด้านที่เป็นน้ำยาเข้าหาเลนส์ เพื่อให้แสงวิ่งเข้าหาด้านที่อาบน้ำยาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านตัวแผ่นพลาสติกก่อน
ผลคือ ภาพที่ได้จะชัดกว่าหันอีกด้านเข้าหาเลนส์
ถ้าเราเอาเนกาตีฟมาฉาย ก็จะต้องหันด้านอาบน้ำยาเข้าหาเลนส์ครับ
แต่เมื่อเราจะนำเอาเนกาตีฟนั้นมาปริ๊น ทำโดยเอาฟิล์มต้นฉบับมาประกบกับฟิล์มใหม่แล้วส่องไฟ ซึ่งก็มีอยู่ 2 แบบ คือ
1 หันด้านที่อาบน้ำยาเข้าประกบกัน  (รูปที่ 2)
2 หันฟิล์มไปทางเดียวกัน (รูปที่ 3)
ข้อแตกต่างของการประกบฟิล์มทั้ง 2 แบบคือ แบบที่ 1 จะให้ภาพที่ชัดกว่าแบบที่ 2 เพราะด้านที่เป็นน้ำยา หรือส่วนที่จะสร้างเป็นภาพ จะอยู่ชิดกันมากที่สุด
ผลคือทำให้ภาพที่ได้ กลับซ้ายขวา เนื่องจากต้องกลับด้านฟิล์มต้นฉบับเพื่อนให้ด้านอาบน้ำยา อยู่ติดกับฟิล์มใหม่ ตากจากแบบที่ 2 ซึ่งได้ภาพที่ไม่กลับซ้ายขวา
ดังนั้นวิธีแก้คือ ตอนเรานำเอา ปริ๊นของแบบที่ 1 มาฉาย เราจึงต้องกลับด้านฉายให้ด้านที่อาบน้ำยาเข้าหาหลอด และหันด้านพลาสติกเข้าหาเลนส์
เนื่องจากคุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าแบบที่ 2 มันจึงถูกประกาศเป็นมาตรฐาน และเราก็เลยต้องฉายแบบนี้เรื่อยมา
ก่อนหน้าที่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน แต่ละ LAB อาจจะปริ๊นไม่เหมือนกัน แต่เราก็ไม่ได้พบปัญหา เนื่องจาก ฟิล์ม 35 มีหนามเตย 2 ด้าน
ไม่เหมือนกับ 16มม และ 8มม ที่กลับด้านฉายไม่ได้

สรุป
ต้นฉบับจากกล้อง จะหันด้านน้ำยาเข้าหาเลนส์ครับ
แต่ตอนก๊อปเขาจะหันด้านน้ำยาเข้าหากัน ทำให้ภาพที่เกิดบน ก๊อป มันกลับซ้ายขวา  ตอนเอามาฉายเลยต้องกลับด้าน เอาด้านน้ำยาเข้าหาหลอด
                                                                                 จบข่าว

 
*อ้างอิง http://www.kodak.com/US/en/motion/support/h1/printingP.shtml



ความเห็น

[1]


(ID:6099)
ถ้าเป็นฟิล์ม 16 มม. แบบหนามเตย 2 ด้าน ไม่มีเสียง ในกรณีที่ด้านที่ฉายปกติเกิดแตกเสียหาย คนฉายก็จะกลับอีกด้านหนึ่ง ซึ่งหนายเตยไม่แตกฉายต่อไปได้ แต่ภาพจะกลับข้างกัน (อันนี้คนที่เคยฉายหนังกลางแปลง ยุค หนังไทย 16 มม. เล่าประสบการณ์ถ่ายทอดมาอีกทีครับ เพราะถ้าหนังเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ดังมาก ๆ แล้วเรื่องนั้นฉายบ่อยจนฟิล์มเริ่มเสียหาย ก็ต้องแก้ปัญหากันด้วยวิธีนี้ครับ)



(ID:6636)
เข้ามามั่ววง(ประจำเลยนะเอ็ง...)

ถ้าเป็นฟิล์ม 35 คิดว่า 99.995% คงเป็นแบบหันน้ำยาเข้าเตาหลอดหมดละมังครับ เพราะหนัง 35 แทบทั้งหมด ต้องใช้กระบวนการ negative-positive (จะได้มีหลายๆก็อปปี้) เลยเป็นการบังคับให้เป็นมาตรฐานไปโดยปริยาย

ส่วนฟิล์ม 16มม. มีทั้งที่เป็น negative-positive อย่างข้างบน และที่เป็น reversal (ถ่ายม้วนใหน ฉายดูก็ม้วนนั้นด้วย) แบบหนังไทยสมัยก่อน แบบนี้เวลาฉายด้วยกัน ก็ปวดหัวคนฉายหน่อยครับ เพราะระนาบของภาพอยู่คนละแนวกัน เดี๋ยวก็ชัด เดี๋ยวก็ไม่ชัด
เออ ที่คุณอนุกูลพูดเลยทำให้ผมถึงบางอ้อ เพราะผมมีหนังไทย 16 มม.เก็บอยู่ 2-3 ม้วน (ไม่เต็มเรื่อง ปนๆกันมาแล้วครับ) ก็สงสัยอยู่ว่าทำไมบางท่อนถึงต่อกลับซ้ายกลับขวามา ที่แท้ก็หลบร่องหนามเตยที่แตกนี่เอง หายสงสัยละ



(ID:18279)
ฟิล์มที่เราฉายๆ กัน  เป็นฟิล์มเนกาตีฟครับ  ถ้าขืนเอาต้นฉบับที่เป็นเนกาตีฟ  มาพิมพ์ใส่ฟิล์มโพซิตีฟ  มันก็จะออกมาเปนเกกาตีฟตามเดิมครับ  จริงมั้ย  จึงต้องเอาเนกาตีฟ พิมพ์ใส่เนกาตีฟ ล้างออกมาสีจะกลับมาตรงตามจริง ถูกมั้ย อิอิอิ



(ID:133182)

อ้างอิง *** ตอนที่มันเป็นเนกาตีฟอยู่ในกล้องถ่าย เราจะหันด้านที่เป็นน้ำยาเข้าหาเลนส์ เพื่อให้แสงวิ่งเข้าหาด้านที่อาบน้ำยาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านตัวแผ่นพลาสติกก่อน
ผลคือ ภาพที่ได้จะชัดกว่าหันอีกด้านเข้าหาเลนส์  ***


ที่เจ้าของกระทู้บอกมาแบบนี้  ถูกไม่หมดครับ  ในความเป็นจริง  ฟิล์มที่ใช้ถ่าย  จะหันไปรับภาพได้ด้านเดียวครับ  คือด้านที่มีสารไวแสง จะเป็นด้านที่เป็นสีน้ำตาลอ่อน   ส่วนด้านหลังที่เป็นสีดำ  มันเป็นเซฟตี้ครับ  ป้องกันแสงมาโดนสารไวแสงที่อยู่อีกด้าน  คือมันจะไม่ยอมให้แสงผ่านเบสมาโดนสารไวแสงเลยครับ  เพื่อป้องกัน กรณีเผลอไปเปิดฝาแมกกาซีนโดยไม่ได้ตั้งใจ  มันก็จะโดนแสงแค่ตรงขอบๆครับ  ไม่ไปโดนบริเวณที่บันทึกภาพแล้วด้านในๆ  สรุปคือ  ถ้าหันด้านหลังที่เป็นสีดำเซฟตี้ไปรับภาพ  มันก็จะถ่ายไม่ติดครับ  *.*  




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 4

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112737385 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Michaelphobe , Vikigoz , Julirag , Jabeabe , Clarazkamic , KennethsAmara , SherinkaTrelf , BoxerBral , DavidoosGot , Vilianarab ,