Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-โรงหนังเก่าในญี่ปุ่น80ยังไม่มีคนตอบ
-งานมนต์ตรัง620ยังไม่มีคนตอบ
-5 ตำนาน โรงหนังยืนเดี่ยวที่ดีที่สุด!!1190ยังไม่มีคนตอบ
-สำรวจโรงหนังร้าง ยุค 80...1601.. 20/8/2566 18:48
-‘ชุมแพซีนีเพล็กซ์’ โรงหนังขายตั๋ว 60 บาท1750ยังไม่มีคนตอบ
-Old Cinema Halls of Jalandhar City1770ยังไม่มีคนตอบ
-Major Cineplex 2480ยังไม่มีคนตอบ
- SF Cinema1930ยังไม่มีคนตอบ
-อาชีพเจ้าของโรงภาพยนตร์5561.. 30/10/2564 16:41
-The Cinerama Dome4450ยังไม่มีคนตอบ
-อมรา อัศวนนท์โชว์ตัว โรงหนังศรีเมือง จ.ตรัง5150ยังไม่มีคนตอบ
- 35mm Cinema Projecto6410ยังไม่มีคนตอบ
-อดีต ผู้จัดการโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์6320ยังไม่มีคนตอบ
-เรื่องสกาล่า...7280ยังไม่มีคนตอบ
- Shiela Cinema7190ยังไม่มีคนตอบ
-ปิด ตำนานโรงภาพยนตร์ สกาลา9214.. 26/6/2563 16:29
เลือกหน้า
[<<] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 247

(ID:24665) เรื่องเล่าสายหนังในอดีตที่น่าสนใจ


ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่วิวัยครับ

เรื่องเล่าสายหนังในอดีตที่น่าสนใจ

บอกเล่า โดยตำนานนักสู้ ผู้บุกเบิกโรงหนังโรงแรกของชาวตรัง

 

   พอมาถึงเดือนตุลาคมทุกปีผู้เขียนทำบุญใหญ่ถึงคุณพ่อนายโกวิท จิตต์แจ้ง หรือนายเว้ง จิตต์แจ้ง ก่อนท่านจะจากไปในวัย 82 ปีเมื่อพ.ศ. 2536 ผู้เขียนคุยกับพ่อขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชวิธี ว่าจะขอบันทึกเรื่องราวของพ่อไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไปในฐานะผู้บริหารและเป็นเจ้าของโรงหนังมืออาชีพที่ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ขอให้ท่านเล่าให้ฟังทุกเรื่องให้หมด  ในมนต์เสน่ห์ของฟิล์มภาพยนตร์ พ่อทำหนังด้วยความรู้ความสามารถด้วยจิตวิญญาณของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ท่านเป็นนักเรียนเก่าปีนังจบการศึกษาเรื่องสีแสงเสียงรุ่น 1 มีอาจารย์ชาวอังกฤษสอนและอาจารย์ชาวจีนสอน จึงได้ความรู้มากมายมี ทั้งตำราทั้งอังกฤษจีนหลายเล่มเมื่อ

 

จบมาก็เปิดร้านขายวิทยุไฟฟ้าเครื่องเสียงชื่อ “ร้านไทยนำพานิช” เป็นร้านแรกของตรัง เท่านั้นไม่พอ ยังลงทุนเปิดโรงหนังโรงแรกชื่อ “ทับเที่ยงภาพยนตร์ “ ด้วยควบคู่ไปด้วย ในปี 2480

 

  วันนี้นำเรื่องที่ท่านเล่าตอนเดินทางไปหาซื้อหนังที่กรุงเทพฯหรือขอเช่ามาฉายแบ่งกันกับเจ้าของบริษัทหนังย้อนกลับไปในยุคหลังสงครามเมืองไทยไม่มีหนังฉาย เจ้าของโรงหนังต้องใช้วิ่งหาหนัง ต้องดิ้นรนหา มาฉายให้ได้ ที่ทับเที่ยงภาพยนตร์ก็มีปัญหา สมัยนั้นคนดูมากทุกวันพ่อจึงต้องหาหนังมาฉายเมื่อ 60ปี ก่อนสภาพเป็นอย่างไรกับการชมภาพยนตร์ คือราคาแสนถูกมาก เพียง 3 หรือ 4 บาทเท่านั้นโรงหนังพัดลมแบบ สแตนอโลนคลาสสิกโรงหนังมีคุณค่ายิ่งกว่าการฉายหนัง ดูหนังแล้วได้ความรู้และยังทำให้เกิดปัญญาสมัยนั้น ยังไม่มีสื่ออื่นๆคนจึงนิยมพาลูกหลานไปดูหนังกันมากทุกวัน

คุณพ่อเล่าว่าภาพยนตร์ใหม่ของอเมริกันไม่มีมาฉายเลยในภาระสงคราม มีแต่หนังของเอเชีย เช่นหนัง ญี่ปุ่นจีน มีอินเดียบ้าง ซึ่งคนก็ไม่นิยมเท่าไร โชคดีที่พ่อซื้อหนังไว้ใน   สต๊อกไว้หลายเรื่อง  เช่นชาลี แชบปลิน อ้วนผอมจอมตลก หนังคาวบอยบิลลี่เดอะคิตจึงขุดเอามาใช้ได้เน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ใหม่ว่าหนังน่าสนใจหานักพากษ์ดีๆก็ได้ผลแฮะคนแห่มาดูแน่นตึงใยยุคข้าวยากหมากแพง

 

โชคดีที่พ่อมีเพื่อนที่ดีกันส่งหนังมาให้ฉายในระยะสามปีส่งฟิล์ม มาทางรถไปใส่ในลังไม้ฉำฉ่าปิดอย่างดีส่งมาถึงบ้านทุกสัปดาห์ เช่นเรื่องโตนงาช้างภาพยนตร์ไทย ปี 2485 อำนวยการสร้างโดย

ม.จ. ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล โดยคุณแท้ ประกาศวุฒิสาร เป็นผู้ประสานงานให้ พร้อมทั้งเรื่องขุนช้างขุนแผน ต้นฉบับปี 2484 และเรื่องพระเจ้าช้างเผือก ฉบับของอ.ปรีดี  พนมยงค์ ก็ได้มาฉายทุกเรื่อง ได้รับการต้อนรับจากประชาชนมากมาย

 

พ่อเล่าว่าติดต่อหนังเดินทางขึ้นรถไฟไปกรุงเทพฯไปที่ ที่โรงหนังเฉลิมกรุงซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทสหศินิมา เจ้านี้จัดจำหน่ายแต่หนังฝรั่งดีๆคุณภาพ พ่อไปพบกับคุณชุณห์ ปิณฑานนท์ ท่านเป็นประธานบริษัทนี้ ส่วนผู้จัดการบริษัท คือคุณประพาศ   นิลอุบลมี

ผู้ช่วย คือคุณแท้ ประกาศวุฒิสารที่สนิท กับพ่อดี จึงได้หนังดีมาตลอดเวลาแต่ราคาค่อนข้างสูงแต่หนังคุณภาพ

 

และอีกบริษัทหนึ่งราคาลดลงหน่อย มีหนังมากมายเป็นร้อยมีหนังญี่ปุ่น ไทย จีน แขก ส่วนใหญ่เป็นหนังกลางเก่ากลางใหม่ทั้งหนังพูดในฟิล์มและหนังเงียบที่พ่อเล่าให้ฟังคือของ..เฮียเฮี้ยงบริษัทดัง ใช้ชื่อว่า เอเชียฟิลม์ เจ้าของผู้จัดการเป็นเพื่อนพ่อ พูดกวางตุ้งเหมือนกัน ท่านมีชื่อว่า คุณหิรัญ เงยไพบูรณ์ ใครๆเรียกว่า เฮียเฮี้ยง หนังกระป๋องแดงทั้งวงการหนังเพราะว่ากระดาษที่ปิดฝากระป๋องหนังทุกม้วนจะมีชื่อภาพยนตร์เขียนกำกับไว้ว่าเรื่องอะไร มีกี่ม้วนลำดับที่เท่าไร เป็นกระดาษแดงจึงเห็นชัด ใครๆจึงเรียกหนัง

กระป๋องแดง เฮียสนิทสนมกับพ่อ ไปกรุงเทพฯที่ไร เฮียเฮี้ยงต้องพาไปกินข้าวแถวเยาวราชประจำไม่เคยขาดเพราะ บ.จัดจำหน่ายหนัง เอเซียฟิล์มอยู่ถนนเจริญกรุง

และยังมีสายหนังจีนอยู่แถวห้าแยก เยาวราชอยู่ใกล้ๆโรงหนังดังโอเดียน บ.นี้จัดจำหน่ายหนังจีนเป็นหลักผู้จัดการเป็นคนสิงค์โป ให้หนังเรื่องแม่น้ำวิปโยคให้พ่อมาฉายที่ตรัง

  ตอนไปครั้นนั้นประมาณ2496 พ่อให้ทีมงานถ่ายภาพโรงหนังโอเดียนไว้สองภาพกำลังฉายเรื่องเจ้าหนูท่องทะเลที่เห็นนี้เป็นภาพในอดีตที่หาชมยากมีให้ชมที่เว็บพีเพิลซีนที่เดียวเท่านั้นครับ

เรื่องราวโรงหนังจะมีมาเสนออีกในตอนต่อไปครับ วิวัย จิตต์แจ้งเขียนเรียบเรียงบท

 




ความเห็น


เลือกหน้า

จำนวนหัวข้อทั้งหมด 0

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112731823 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Vikisrx , JustinzeDew , Juliqpw , GordonFella , Michailrzd , IlyiaMug , Vikimyg , ct832 , ct832 , Vikijmv ,