Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-อีกความทรงจำที่กลายเป็นอดีต - วิสต้า 12 ห้วยแก้ว เชียงใหม่782613.. 5/2/2560 19:04
-Kings Theatre in Brooklyn, 1979 Documentary12670ยังไม่มีคนตอบ
-Cinema Of Tomorrow - Today (1966)12310ยังไม่มีคนตอบ
-โรงหนังคิงส์ตรัง22342.. 31/8/2559 12:45
-แจ้งข่าวความภูมิใจ ไปเจอโรงหนังมา15530ยังไม่มีคนตอบ
-เทพนครรามา นครพนม64112.. 17/8/2559 23:50
-โรงภาพยนตร์ ศรีเทพ ซีเนเพล็กซ์ นครพนม1017312.. 17/8/2559 23:36
-Tudor Cinema in Ireland showing 16mm Movies12031.. 7/8/2559 15:14
-"เก่าแต่เก๋า" โรงหนังเก่ากลางกรุง (ลิโด/สกาล่า) gamanspace gamanspace14051.. 17/7/2559 11:13
-ประวัติและความเป็นมาของโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน.12922.. 6/7/2559 2:40
-นายเว้ง จิตต์แจ้ง...24372.. 1/5/2559 19:32
-CINEMA PLAZA13131.. 20/4/2559 13:42
-โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์22101.. 2/4/2559 14:54
-เปลี่ยนไปตามกาลเวลา...14930ยังไม่มีคนตอบ
-Passione Cinema12000ยังไม่มีคนตอบ
-Das Kino KurTheater Tutzing12040ยังไม่มีคนตอบ
เลือกหน้า
[<<] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 247

(ID:22473) นายเว้ง จิตต์แจ้ง...



ขอขอบคุณข้อมูลจากพี่วิวัยครับ...


นายเว้ง จิตต์แจ้งตำนานนักสู้ผู้บุกเบิกโรงหนังโรงแรกของชาวตรัง


จากคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ท้องถิ่น วิวัย จิตต์แจ้ง


จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ปีที่6 ฉบับที่ 33 พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2559


(หน่วยกู้หนัง มานัสศักดิ์ ดอกไม้ )

ต้นปี ๒๕๕๘ ท่านรองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้แนะนำให้หน่วยกู้หนังรู้จักบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่ง

เป็นอดีตผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงแรมชวลิต แอมบาสซาเดอร์ เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ (เรื่อง อีก้อ ของ

คุณไพฑูรย์ รตานนท์) และยังเป็นอดีตผู้ดำเนินงานผลิตแผ่นเสียงและเทปอีกหลายชุด


ปัจจุบัน ท่านมีความหลงใหลในเรื่องประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ท้องถิ่นในจังหวัดตรัง ประกอบกับทางครอบครัวของท่าน

ทำธุรกิจโรงหนัง จึงเป็นแรงผลักดันให้ท่าน ตั้งใจศึกษาเก็บรายละเอียดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในแง่มุมต่าง

 ๆ ที่เกี่ยวกับจังหวัดตรัง


ท่านผู้นี้คือคุณวิวัย จิตต์แจ้ง หรือ วัยน้อย เจ้าของบทความ ภูมิหลังแลตรัง ในหนังสือพิมพ์มติตรัง(หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

ในจังหวัดตรัง)

และเมื่อได้สนทนากับคุณวิวัยทางโทรศัพท์ ท่านได้เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของโรงหนังในเมืองตรังอย่างสนุกสนานและ

เพลิดเพลิน เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องหนึ่งที่ทำให้หน่วยกู้หนัง รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่เป็นเกียรติประวัติที่น่า

ยกย่อง จนทำให้หน่วยกู้หนัง อดใจรอไม่ไหว ต้องขออนุญาตนัดสัมภาษณ์คุณวิวัยในหัวข้อเรื่อง นายเว้ง จิตต์แจ้ง

ตำนานนักสู้ ผู้บุกเบิกโรงหนังโรงแรกของชาวตรัง


ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ ที่โรงแรมเอเชีย


ประวัติโดยย่อ


นายเว้ง จิตต์แจ้ง เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๕๔ ที่ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของกำนันพันผัก จิตต์แจ้ง กับ

นางเลี่ยง จิตต์แจ้ง มีพี่น้องรวม 4 คน นายเว้งเป็นทายาทลำดับที่สาม 


เมื่ออายุได้สามขวบ กำนันพันผัก ได้ส่งเด็กชายเว้ง ข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่กับญาติที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนเพื่อ

เรียนหนังสือ และเมื่ออายุครบ ๑๖ ปี จึงได้กลับมาเมืองไทย นายเว้งได้เล่าเรื่องการเดินทางกลับมาจากเมืองจีนให้คุณ

วิวัยฟังว่า โดยสารมากับเรือสำเภาของจีน ใช้เวลาเดินทางเดือนกว่า ๆ ระหว่างอยู่ในเรือ ต้องผจญภัยกับคลื่นลม อาศัย


นั่งอ่าน หนังสือสามก๊กภาคภาษาจีนเป็นเพื่อนมาคลอดทาง จนถึงกรุงเทพฯและ ได้มาต่อรถไฟไปยังจังหวัดตรัง


นายเว้งอยู่ที่ตรังได้ ๒ ปี กำนันพันผักได้ส่งไปเรียนต่อที่ ปีนัง ประเทศมาเลเชีย สมัยนั้นชาวตรังนิยมส่งลูกไปเรียน

หนังสือที่ปีนัง เพราะมีเรือเมล์วิ่งจากกันตัง ไปปีนังทุกสัปดาห์ พอเรียนจบกลับมาทำงานกับบริษัทฟอร์ดตรัง มีหน้าที่

เขียนจดหมายภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ติดต่อต่างประเทศ 


ทำงานได้สักพักกำนันพันผักได้มอบหมายให้นายเว้ง ไปดูแลสวนยางที่ห้วยยอด ๒ ปี และที่ห้วยยอดนี้เองนายเว้งได้

พบรัก กับ นางสาวยิ่ง ยุ่นเซ้งเว้ง สาวสวยเมืองห้วยยอด และต่อมาทั้งสองคนจึงได้แต่งงานกัน ชุดเจ้าบ่าวเจ้าสาว

ออกแบบพิเศษจากช่างผีมือสวยทันสมัย เป็นการจัด พิธีมงคลสมรสที่ยิ่งใหญ่มากมี กำนันพันผัก จิตต์แจ้งเป็นประธาน

 มีชาวทับเที่ยงมารวมงานจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ตรงกับ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่กงก๊วน ( เป็นสมาคม

จีนที่ทับเที่ยง )


ปี ๒๔๗๙ หลังจากแต่งงานได้ ๓ ปี นายเว้ง มีความคิดจะทำโรงหนัง แต่กำนันพันผักผู้เป็นพ่อ อยากให้นายเว้งทำธุระ

กิจส่งออกสินค้า ไปต่างประเทศมากกว่า นางเลี่ยงผู้เป็นแม่รักลูกชายมาก จึงสนับสนุนให้เงินมา สองหมื่นห้าพันบาท

 บวกกับเงินที่นายเว้งเก็บหอบรอบริบอีกก้อนหนึ่ง มาซี้อตัวอาคารโรงละครเก่าเพื่อมาปรับปรุงขยายให้ใหญ่โตขึ้นเป็น


โรงหนัง ขนาดความจุ ๗๐๐ ที่นั่ง เป็นโรงไม้สองชั้น ส่วนที่ดินเจ้าของเดิมไม่ยอมขาย จึงได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเป็น


เวลา 20 ปี นายเว้งได้สั่งเครื่องฉายหนัง และ เครื่องปั่นไฟมาติดตั้ง เสร็จเรียบร้อย ในปี ๒๔๗๙ และได้ฤกษ์เปิดใน

เดือนมกราคม ปี ๒๔๘๐ใช้ชื่อว่า โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ เป็นโรงหนังโรงแรกที่ชาวตรังได้ยลโฉม การมีโรงหนัง

ทำให้เมืองตรังที่เงียบเหงากลับเจริญขึ้นมาทันตาเห็น ชาวตรังในเวลานั้นนิยมปั่นจักรยานมาหาของกินและดูหนังกัน

 ทำให้ทุกค่ำคืนที่เมืองตรัง สว่างไสวมีชีวิตชีวา




ความเห็น

[1]


(ID:196799)

หน้าโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์จะมีวงดนตรีบรรเลงเพลงมาร์ชสี่เหล่า เพื่อเรียกความสนใจจากคนดู พอเสียงแตรวงขึ้น

เพลงมาร์ชสี่เหล่า ทุกคนทำกิจกรรมอะไรอยู่ก็จะทิ้งหมด วิ่งหน้าตั้งมุ่งตรงไปที่หน้าโรงหนัง ซึ่งจะมีนักแสดงผู้หญิง

 โชว์การแสดงบนเวที แต่งกายด้วยชุดกระโปรงยาว ชุดสีสวยสด พร้อมนักดนตรีบรรเลงประกอบ นักดนตรีที่เล่นมี

ประมาณ ๘-๑๐ คน เครื่องดนตรีที่เล่นก็มีกลอง ฉิ่งฉับ ทรัมเปตทรัมโปนและคารีเนท พอหนังฉายก็จะเข้าไปบรรเลง

เพลงต่อในโรง ก่อนหนังจะฉายสัก ๑๕ นาที จะมีนักร้อง ๒-๓ คน มาขับร้องโชว์บนเวที เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นคือ

 ไวโอลินและเปียโน ช่วงนี้ภายในโรงหนังจะมีอาหารมาขายเช่น โอเลี้ยงใส่กระป๋องนม , ลูกบ๊วย , เม็ดกะจี้ ซาลาเปา

เป็นต้น พอหนังฉาย ตอนฉากบู๊ทั้งปี่ กลองและฉิ่งฉับ จะบรรเลงเพลงเร็วมากคนดูก็จะเป่าปากหัวเราะกระทืบเท้าเป็นที่

ชอบอกชอบใจ ตอนเศร้าก็จะบรรเลงเพลงเบา ๆ 


แม้ในปี 2480 จะเป็นยุคหนังเสียงก็ตาม แต่โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ยังคงฉายหนังเงียบอยู่ จนถึงปี 2481 นายเว้งก็

อยากให้โรงหนังของตน พัฒนาขึ้นเทียบเท่าโรงหนังในกรุงเทพฯ จึงลงมือทำเครื่องฉายหนังเสียเอง โดยอาศัยความรู้

ที่เรียนมา และตำราจากต่างประเทศจนสำเร็จ


นอกจากทำโรงหนังแล้ว นายเว้งได้เปิดร้านวิทยุเป็นร้านแรกของเมืองตรัง ชื่อร้านไทยนำพานิช ขายเครื่องเสียง วิทยุ

และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด นายเว้งสามารถซ่อมวิทยุและเครื่องเสียงได้ด้วย มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ จนคนจากที่อื่น ๆ

 ในจังหวัดใกล้เคียงต่างมาให้นายเว้งซ่อม แม้กระทั่งในปี ๒๔๘๕ ทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่ายทหารที่เมืองตรัง วิทยุ

โทรคมนาคมของทหารเกิดเสีย ทหาร ญี่ปุ่นยังต้องมาเชิญแบบแกมบังคับ ขอให้นายเว้งไปช่วยซ่อม 


สร้างเนื้อสร้างตัวจากเสือไทยบุกเมืองตรัง


หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง จังหวัดตรังมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะขายยางพาราได้ในราคาสูง ทำประมงก็ดี ทำ

เหมืองแร่ก็ดี คนจึงอยากหาความสุข และการดูหนังก็เป็นความบันเทิงที่มีราคาถูกที่สุด จึงเป็นโอกาสที่ดีของโรงหนัง

ทับเที่ยงภาพยนตร์ที่จะได้เงิน นายเว้งจึงเดินทางไปในที่ต่างๆในกรุงเทพ ฯ เพื่อไปหาซื้อหนังดังๆ หลายเรื่อง กลับมา

ฉายที่ตรัง และ ที่ศาลาเฉลิมกรุงนี้เองทำให้ นายเว้งได้รู้จัก คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการ

แสดง (ผู้สร้างภาพยนตร์) ประจำปี ๒๕๔๒ และ( ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องสุภาพบุรุษเสือไทย) การรู้จักกันในครั้งนี้ ทำให้

ต่อมาภายหลัง บุคคลทั้งสองได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ เสือไทยบุกเมืองตรัง


ปี ๒๔๙๒ งาน เฉลิมพระชนม์พรรษา ฉลองรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนตรังมักจะเรียกสั้น ๆ ว่า “งานหลองรัฐ” เป็นงานที่ใหญ่มาก

 ชาวตรังและจังหวัดใกล้เคียง จะมาเที่ยวงานนี้เยอะมาก มีทั้งหมด ๑๐ วัน เริ่มตั้งแต่ วันที่ ๕-๑๔ ธ.ค.


นายเว้งจึงได้พยายามให้ หนังเรื่องสุภาพบุรุษเสือไทย มาฉายให้ทันกับ“งานหลองรัฐ” จึงได้ติดต่อกับคุณแท้ เพื่อขอ

หนังมาฉายด้วยความเพื่อนที่สนิทสนมกันมาก คุณแท้ก็ยินดีให้หนัง และทีมงานมาช่วยอีกประมาณ10 ชีวิตและเมื่อถึง

วันที่ สุภาพบุรุษเสือไทย มาฉายให้ชาวตรังได้ชมในวัน“งานหลองรัฐ” ก็ได้สร้างปรากฏการณ์หลายอย่างเช่นการนำ

 พระเอกสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ และทีมพากษ์ มาโชว์ตัวก่อนหนังฉายทุกรอบ ทำให้แฟนหนังตื่นตัวกันมากจนต้องเพิ่มวัน

ฉาย ขายตั๋วจนห้องขายตั๋วพัง เกิดความวุ่นวายที่ ผู้ที่ชมแล้วก็บอกกันปากต่อปาก จนวันรุ่งขึ้นแฟนหนังที่อยากดูหนัง

สุภาพบุรุษเสือไทย อดทนรอไม่ไหว ต้องไปซื้อตั๋วหนังถึงที่บ้านนายเว้ง หนังเรื่องนี้ฉายทั้งหมด10 วัน ทำรายได้

มากกว่าแสนบาท ทำให้กลาย เป็นแชมป์รายได้สูงสุด เท่าที่หนังไทยและหนังต่างประเทศเคยเข้ามาฉาย หนังเรื่อง

สุภาพบุรุษเสือไทย จึงถือว่าเป็นหนังในตำนานที่สร้างเนื้อสร้างตัวให้กับนายเว้งและ โรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ยังมี


โอกาสได้ฉายหนังดัง ๆ อีกหลายเรื่อง เช่น สาวเครือฟ้า , ๗ เซียนซามูไร ( SEVEN SAMURAL)


แซมซั่น เดไลล่าห์ ( SAMSON AND DELILAH ) วิมานลอย ( GONE WITH THE WIND ) ฯลฯ


ถึงตอนนี้บรรยากาศการดูหนังของชาวตรังนับว่าคึกคักมาก ทำให้นายทุนกล้าที่จะลงทุน จนเกิดโรงหนังเฉลิมตรังขึ้นมา

 เพื่อมารองรับความต้องการของคนดูที่มากขึ้น โรงหนังเฉลิมตรังนับว่าเป็นโรงหนังที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง จุคนได้ถึง

 ๑,๒๐๐ ที่นั่ง ตั้งอยู่ตรงสถานีรถไฟ นับว่าเป็นทำเลที่ดีมาก ส่วนแชมป์เก่าโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ของนายเว้งได้

หมดสัญญาเช่าลง ทำให้โรงหนังคู่บ้านคู่เมืองตรัง ต้องปิดตำนานตัวเองลง


ผนึกพลังสามประสาน


ภายหลังการปิดตัวลงของโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ได้ ๒ ปีช่วงนี้นายเว้งได้พักชีวิตโรงหนังไว้ชั่วคราว และได้หันไป

ทำธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์หนังกลางแปลงในจังหวัดตรัง ในนามร้านไทยนำพานิช และเมื่อได้เวลาทวงบัลลังก์แช้มป์กลับ

คืนมา นายเว้งจึงได้วางแผนสร้าง โรงหนังขนาดใหญ่ที่ทันสมัยและสวยงาม จึงชวนคุณสิน ฮูมะนี มาร่วมหุ้นทำโรง

ภาพยนตร์
โรงหนังนี้มีชื่อว่า โรงหนังคิงส์ แต่ชาวตรังมักเรียกติดปากว่า โรงหนังคิงส์ตรัง ก่อสร้างด้วยปูน ไม่ใช่เป็นแบบโรงหนัง

ไม้แต่เก่าก่อน จุคนได้ ๙๕๐ ที่นั่ง


คุณวิวัยบอกว่า นายเว้งต้องการชื่อโรงหนังที่ฟังแล้วเป็นมงคลและมีบารมี โรงหนังคิงส์ตรัง ได้เปิดฉายเป็นครั้งแรกให้

ชาวตรังได้ชมในปี ๒๕๐๑ ด้วยเรื่อง GIANTนำแสดงโดย ร็อคฮัดสัน (Rock Hudson) , เอลิซาเบธเทย์เลอร์

 (Elizabeth Taylor)และเจมส์ดีน (James Dean) หนังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่นายเว้ง ยังไม่หยุดแต่เพียง

เท่านี้ ต้องการน็อคชนะอย่างเด็ดขาด จึงต้องเอาหนังดีฟอร์มยักษ์ เรื่องบัญญัติ ๑๐ ประการ (THE TEN

 COMMANDMENTS) มาฉายที่ โรงหนังคิงส์ตรัง ให้ได้แต่อีกโรงหนึ่ง ก็มีความต้องการเช่นเดียวกัน นายเว้ง 



จึงต้องเดินทางไปหาดใหญ่ ไปหาคุณสกลผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยใต้ (ตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์ทางภาคใต้)

 ย้อนไปในสมัยโรงหนังทับเที่ยงภาพยนตร์ ยังมีลมหายใจอยู่คุณสกลกับนายเว้งเคย ทำธุรกิจซื้อขายหนังมาก่อน และ

ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากหนังเรื่องจอมสลัดแดง (THE CRIMSON PIRATE ) และหนังเรื่องนี้ยังแจ้งเกิด นัก

พากษ์หนัง นามว่าชัยเจริญ บุคคลทั้งสามต่างทำงานเข้าขารู้ใจกัน จึงสนิทสนมกันและยังไปมาหาสู่กันเสมอ คุณสกล

จึงช่วยเดินเรื่องให้นายเว้ง ได้หนัง บัญญัติ 10ประการมาฉาย และเมื่อครบองค์ประกอบทั้งสามอย่าง ที่หนังประสบ

ความสำเร็จ คือมีโรงหนังใหม่ทันสมัย หนังฟอร์มยักษ์ และนักพากษ์ชื่อดัง ชัยเจริญโรงหนังคิงส์ตรัง พร้อมแล้วที่จะ

ฉายบัญญัติ ๑๐ ประการ และเมื่อประชาชนได้ชมหนังเสร็จ ก็เกิดปรากฎการณ์ กระแสปากต่อปาก หนังดีพากย์ได้

รสชาติถึงแก่นแท้ ทำให้ชาวตรังและจังหวัดใกล้เคียงเหมารถกันมาชม จนต้องเพิ่มรอบ เป็นวันละ ๒ รอบและเพิ่มเป็น

วันละ 3รอบในวันหยุดฉายทั้งหมด ๑๐ วัน ทำรายได้มากกว่าแสนบาท และโรงหนังคิงส์ตรัง ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่

 ๆ อีกหลายอย่างเช่น การนำวงดนตรีบางกอก ชะ ชะ ช่า ที่มีปรีชา บุญเกียรติ ,สมพงษ์วงศ์รักไทย และชุติมา สุวรรณ

รัตน์ เป็นหัวหน้าวง มาเล่นที่โรงหนังคิงส์ได้ และสามารถเชิญ มิตร ชัยบัญชา พระเอกเบอร์หนึ่งในยุคนั้น มาโชว์ตัวได้

เป็นครั้งแรก ก่อนโรงหนังทุกโรงในจังหวัดตรัง และจังหวัดอื่นๆที่ใกล้เคียง




(ID:196800)

นอกเหนือจากปรากฏการณ์ที่สำคัญแล้ว โรงหนังคิงส์ตรัง ยังได้สร้างแฟนประจำนักดูหนังตัวจิ๋วให้เป็นตัวยงได้นั้นคือ

 คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา(รางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๓๒) ที่ได้ชมภาพยนตร์จีนกำลังภายใน และเห็นคำบรรยายปรากฎขึ้นบนจอ

 เป็นคำกลอนที่ประทับใจ จึงจดจำได้อย่างแม่นยำ จนเป็นแรงบันดาลใจตั้งแต่วัยเด็กว่าจะแปลคำบรรยายให้ได้ อย่างที่

เห็นในโรงหนังคิงส์ตรัง ภายหลังคุณจิระนันท์ก็ได้เป็นนักแปลบท บรรยายภาพยนตร์ สมความตั้งใจในวัยเด็ก


และเอกลักษณ์ของนายเว้ง ที่ชาวตรังจำได้เสมอคือการแต่งตัวของนายเว้ง ที่ดูดีอยู่ตลอดเวลามีความรู้ และ ความใจ

กว้างของนายเว้ง กล่าวคือ หน้าโรงหนังคิงส์ตรัง จะมีร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่ง ในร้านกาแฟนั้น จะมีโต๊ะอยู่สองตัวเป็นที่รู้

กันดีของคนในทับเที่ยงว่าเป็น โต๊ะของ นายหัวเว้ง ใครมานั่งโต๊ะตัวนี้สามารถกินกาแฟและอาหารโดยไม่ต้องจ่ายเงิน

 เพราะนายเว้งได้มาสั่งไว้ว่าใครมากินกาแฟและอาหารที่โต๊ะตัวนี้ ให้ไปเก็บเงินที่นายเว้งได้เลย


และเมื่อ โรงหนังคิงส์ตรัง ใกล้ หมดสัญญาเช่า นายเว้ง ได้ย้ายมาอยู่ที่ลาดพร้าว เพราะคิดถึงลูก ๆ ที่มาเรียนหนังสือที่

กรุงเทพ ฯจึงมอบหมายให้ลูกน้องและทีมงานปฎิบัติงานแทน ทางทีมงานได้เปลี่ยนชื่อโรงหนังคิงส์ตรังเป็นเฉลิมรัฐ

 และเมื่อสัญญาเช่าโรงหนังหมดลง โรงหนังเฉลิมรัฐก็เลิกกิจการ และทุบโรงหนังทิ้งไปในปี 2521 บั้นปลายชีวิตของ

นายเว้งได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับลูกหลานที่บ้านลาดพร้าว


และเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๖ นายเว้งจิตต์แจ้ง ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบในวัย ๘๒ ปี เหลือไว้เพียงตำนาน

นักสู้ผู้บุกเบิกโรงหนังโรงแรกของชาวตรัง ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ศึกษาชีวิตต่อไป



ขอขอบคุณคุณวิวัย จิตต์แจ้ง ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบ




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 112895663 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :HoustonDab , Lindahoisy , DJWrepe , zubdokaback , Jabeabe , FuriousPelt , toplinkmd , พีเพิลนิวส์ , Pojja , HelenViefs ,