Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
หนังจีนในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
----> หนังจีนชุด ในความทรงจำ.. 23/1/2556 14:42
-หนังเรื่องอะไรครับ ขอความรู้หน่อยครับ.. 23/1/2556 11:09
-ขอถามชื่อหนังครับ.. 19/1/2556 17:00
-ตามล่าเสียงโรง 3 ผีกัดพริกขี้หนู....... 18/1/2556 22:05
-ประวัติโดยสังเขปของยอดนักเขียน "โกวเล้ง ".. 18/1/2556 10:11
-ประวัติโดยสังเขปของยอดนักเขียน " กิมย้ง ".. 18/1/2556 10:07
-ไท้เก็ก - Drunken Tai-Chi (1984).. 18/1/2556 9:41
-ตามหาเสียงโรง กิ๋ว ก่า กิ้ว จิ๋วแต่ตัว ภาค 2.. 17/1/2556 18:48
-กระทู้รวมมิตรหนังจีน ยุค70 แนวดราม่า น้ำตาท่วมจอดูแล้วร้องไห้ไปด้วยกันครับ .. 6/1/2556 21:40
-มังกรคาบแก้ว.. 6/1/2556 20:20
-หนังเรื่องนี้..มีชื่อไทยว่าอะไร..เชิญกูรูหนังจีนมาเฉลยครับ.. 30/12/2555 0:21
-รวมผลงานของ คู่หูอ้วนผอม ก๊กซิวหมั่น ถังเสี่ยวหลง.. 13/12/2555 15:31
-ซือแป๋แซ่ตลก.. 12/12/2555 23:05
-4 ผู้ยิ่งใหญ่ เสี้ยวลิ้มยี่ - Ninja VS Shaolin Guards (1984)ยังไม่มีคนตอบ
-ขอเป็นฮีโร่ โก้ทั้งคู่ - Pantyhose Hero (1990).. 9/12/2555 19:44
-108 ท่า ไอ้แก่ยาจก - Blind Fist Of Bruce (1979).. 9/12/2555 19:42
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34] [35] [36] [37] [38] [39] [40] [41] [42] [43] [44] [45] [46] [47] [48] [49] [50] [51] [52] [53] [54] [55] [56] [57] [58] [59] [60] [61] [62] [63] [64] [65] [66] [67] [68] [69] [70]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1117

ประวัติโดยสังเขปของยอดนักเขียน " กิมย้ง "






หนังสือ: กิมย้ง โกวเล้ง ยอดยุทธจักรหนังสือกำลังภายใน
จากข้อมูลของ ว.ณ เมืองลุง ในหนังสือมังกรเจ้ายุทธจักรเล่ม 4 กิมย้งมีชื่อจริงว่า จงเหลียงหยง เกิดที่เมืองไห่หนิง มณฑลเจ๋อเจียง ในสมัยราชวงศ์ชิง (พระนางซูสีไทเฮา) จบมหาวิทยาลัยฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน และทำงานด้านหนังสือพิมพ์มาตลอด ได้รับยกย่องว่าเป็นนักหนังสือพิมพ์ชั้นยอด เป็นนักวิจารณ์การเมืองชั้นเยี่ยม

ในช่วงที่บ้านเมืองเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อ ตุง กับฝ่ายประชาธิปไตยของเจียง ไคเช็ก จึงดิ้นรนออกจากจีน และในปี 2490 ก็ย้ายไปอยู่ฮ่องกง ต่อมาในปี 2492 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ และเจียง ไคเช็กได้หนีไปตั้งหลักอยู่ที่ไต้หวัน กิมย้งตัดสินใจไม่ไปไหน อยู่ที่ฮ่องกงไปตลอด โดยทำงานทั้งหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในปี 2498 จึงลองเขียนนิยายด้านยุทธจักร เรื่องแรกคือ “จือเกี่ยมอึงชิ่วลก” หรือจอมใจจอมยุทธ์ ต่อมาได้แก่ “เพ็กฮ้วยเกี่ยม” “เซาะซัวปวยฮู้”

กระทั่งเล่มที่ 4 กิมย้งก็แจ้งเกิดเต็มตัวในเรื่อง “เสี่ยเตียวเอ็งย้งตึ่ง” หรือ “มังกรหยก” เรื่องราวความรักและการผจญยุทธจักรของก้วยเจ๋ง-อึ้งย้ง นั่นเอง ผลงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เฮียงกั้งเซียงป่อ ซึ่งคนอ่านติดกันงอมแงม บางครั้งที่กิมย้งเขียนต้นฉบับไม่ทัน จึงต้องมีมือสำรองช่วยเขียนให้ไปก่อน บางครั้งโอเค บางครั้งเตลิดออกนอกลู่นอกทาง จนกิมย้งต้องโยงเรื่องกลับคืนมา

หลังประสบความสำเร็จสูงสุดจากมังกรหยกภาค 1 กิมย้งมีเงินตั้งตัวชนิดเปิดหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อ “หมิงเป้า” จากนั้นจึงเขียนมังกรหยก ภาค 2 รุ่นเอี้ยก้วย-เซียวเหล่งนึ่ง” เป็นที่โด่งดังไม่แพ้กัน กิมย้งเริ่มเขียนยุทธจักรนิยายตั้งแต่ปี 2498-2514 รวมทั้งสิ้น 14 เรื่อง (ใน 16-17 ปี) ได้แก่ 8 เทพอสูรมังกรฟ้า อุ้ยเซี่ยวป้อ กระบี่เย้ยยุทธจักร (เดชภัมภีร์เทวดา) ดาบมังกรหยก ตอนหลังเลิกเขียนเพราะไม่ค่อยมีเวลา เนื่องจากต้องดูแลกิจการหนังสือพิมพ์ กระทั่งหลังๆพอมีเวลาว่างมากขึ้น จึงรื้อเรื่องเก่าที่เขียนไว้ทั้ง 14 เรื่องมาตรวจทาน รีไรต์ให้สมบูรณ์กว่าเดิม จนเป็นหนังสือที่มีนักแปลของไทยแปลมาให้อ่าน ได้แก่ หนังสือที่มีนักแปลของไทยแปลมาให้อ่าน ได้แก่ ฉบับประยูร-จำลอง พิศนาคะ ใช้ชื่อมังกรหยก และว. ณ เมืองลุง ใช้ชื่อมังกรเจ้ายุทธจักร

ข้อมูลคล้ายกัน

ประวัติของกิมย้ง

ตอบ กิมย้งปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่ง "โกวเล้ง" เจ้าของฉายาอัจฉริยะปีศาจ กล่าวถึงกิมย้งไว้ว่า "กิมย้งเป็นนักเขียนที่ข้าพเจ้านับถือที่สุดเสมอมา"

กิมย้ง ชื่อจริง จงเหลียงหยง แปลว่าระฆังชั้นเยี่ยม เกิดที่เมืองไห่หนิง มณฑลเจ๋อเจียง ในตระกูลบัณฑิต

จบการศึกษามหาวิทยาลัยฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน จากนั้นก็ทำงานหนังสือพิมพ์มาตลอด จนกระทั่งในยุคที่กลุ่มคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุงชิงอำนาจกับกลุ่ม ประชาธิปไตยของเจียงไคเช็ก กิมย้งจึงดิ้นรนย้ายไปฮ่องกงในปี 2490

ว. ณ เมืองลุง เล่าประวัติกิมย้งไว้ว่า ในปี 2492 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะและปกครองจีนนับแต่นั้น กิมย้งก็ปักหลักอยู่ซะที่ฮ่องกง ไม่ไปทั้งแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน

ชีวิตทำงานที่ฮ่องกง วนเวียนอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ แต่ก็ไม่ขึ้นไปอยู่แถวหน้า จึงลองหันไปเขียนนิยายในปี 2498

เรื่องแรก "จอมใจจอมยุทธ์" เขียนด้วยสำนวนที่สละสลวย เนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ คล้ายใช่แต่ไม่ใช่ จึงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

แต่ที่มาแจ้งเกิดชนิดดังสะเทือนฟ้าสะเทือนดินก็คือ เสี่ยเตียวเอ็งย้งตึ่ง หรือ "มังกรหยกภาค 1" (ก้วยเจ๋ง-อึ้งย้ง) เป็นผลงานที่ยอมรับว่าเป็นบทประพันธ์ชั้นครู ว่ากันว่ามุมไหนที่มีคนจีนอาศัย ที่นั่นต้องมีคนอ่านเรื่องนี้อย่างหลงใหล

ความยิ่งใหญ่ของมังกรหยก ทำให้นักเขียนจนๆ รายหนึ่งกลายเป็นเศรษฐี เพราะสำนักพิมพ์ต่างๆ แย่งกันซื้อด้วยการประมูลราคา พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก รับค่าลิขสิทธิ์ปรีดิ์เปรมไปเลย


เมื่อเขียนจบภาค 1 นี้แล้ว ยังรวบรวมสมัครพรรคพวกออกหนังสือพิมพ์รายวันหมิงเป้า จากนั้นเขียนมังกรหยกภาคสอง เลี้ยงหนังสือพิมพ์นานถึง 3 ปี จนกลายเป็นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งของฮ่องกง ภายหลังงานหนังสือพิมพ์ยุ่งมาก จนทำให้กิมย้งไม่มีเวลาเขียนหนังสืออีก และยุติการเขียนในปี 2514 รวมผลงานทั้งสิ้น 14 เรื่องเท่านั้น

แต่แค่ 14 เรื่องนี่ก็มีผู้มาขอซื้อลิขสิทธิ์ไปทำละครชุด ภาพยนตร์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และทำท่าว่าจะมีอีกหลายเวอร์ชั่นในอนาคต

ผลงาน 14 เรื่องที่ว่า ได้แก่ 1.จอมใจจอมยุทธ์ ตามด้วย 2.เพ็กฮ่วยเกี่ยม 3.จิ้งจอกภูเขาหิมะ 4.มังกรหยก 5.มังกรหยกภาคสอง 6.จิ้งจอกอหังการ 7.นิยายขนาดสั้น แป๊ะเบ๊เซาไซฮวง เป็นเรื่องที่กิมย้งปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด 8.นิยายขนาดสั้น อวงเอียงตอ (ดาบสันนิวาส) 9.กระบี่ใจพิสุทธิ์ (มังกรสะท้านบู๊ลิ้ม) 10.ดาบมังกรหยก 11.แปดเทพอสูรมังกรฟ้า 12.เฮี้ยบแขะเฮ้ง (ลำนำจอมยุทธ์) 13.กระบี่เย้ยยุทธจักร (เดชคัมภีร์เทวดา) และ 14.อุ้ยเสี่ยวป้อ เป็นเรื่องสุดท้ายที่นักวิจารณ์ยกให้เป็นผลงานที่สมบูรณ์แบบที่สุด

ปัจจุบันกิมย้งยังคอยดูแลกิจการหนังสือพิมพ์หมิงเป้า
งานเขียนของ กิมย้ง ถือเป็นเอกในบรรดานักนิรมิตเรื่องจีนกำลังภายในทั้งหลาย ความรอบรู้ทางประวัติศาสตร์ ความคมคายในเชิงปรัชญา กับทักษะในการสร้างเรื่องและสรรค์ตัวละครออกมาโลดแล่น..." (อ้างอิง : จิ้งจอกอหังการ น.นพรัตน์ แปล พิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสำนักพิมพ์ปัจจุบัน)

กิมย้ง เป็นนักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน ชื่อดังของฮ่องกง มีชื่อจริงว่า จาเลี้ยงย้ง เขียนนิยายกำลังภายในทั้งหมด 15 เรื่อง เป็น เรื่องขนาดสั้น 3 เรื่อง และเรื่องขนาดยาว 12 เรื่อง นิยายเรื่องแรกของ กิมย้ง คือเรื่อง จือเกี่ยมอึ้งชิ้วลก ( Shu Jian En Chau Lu : จอมใจจอมยุทธ์ ) ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรกราว ๆ พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ซึ่งเนื้อเรื่องเรื่องนี้ ได้เค้าจากตำนานที่เล่าขานกันว่า พระจักรพรรดิ์เคี่ยนหลงฮ่องเต้ (เฉียนหลงฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์เช็ง (ชิง) มีสายเลือดจีน(ชาวฮั่น) แสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างอำนาจกับเชื้อชาตินิยม นิยายเรื่องนี้ทำให้กิมย้ง ติดอันดับในยุทธจักรนิยายกำลังภายในทันที เป็นพื้นฐานความสำเร็จในเรื่องต่อ ๆ ไป แต่มีข้อด้อยที่ตัวละครเอกไม่เด่น ความเด่นกลับไปตกอยู่กับหัวหน้าหน่วยพรรค ดอกไม้แดงทั้งหมด 14 คน ซึ่งมี ตั้งแกลก (เฉินเจียลั่ว)ตัวเอกของเรื่อง เป็นหัวหน้าใหญ่ แม้ผู้แต่งจะพยายยามเน้นให้ประมุขพรรค คือ ตั้งแกลก เด่นกว่าคนอื่นก็ตาม แต่ไม่ถึงกับประทับใจผู้อ่านมากนัก แต่กระนั้นก็ยังจัดเป็นวรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

เรื่องถัดมาคือ เรื่อง เพ็กฮ้วยเกี่ยม (Bi Xue Jian : เพ็กฮ้วยเกี่ยม กระบี่เลือดเขียว) เรื่องนี้ กิมย้ง พยายามใช้กลวิธีการประพันธ์แบบใหม่ จากคำตามท้ายเรื่องของ กิมย้ง ได้กล่าวไว้ว่า ตัวเอกที่แท้จริงของเรื่องนี้คือ อ้วงชงฮ้วง และรองลงไป คือ กิมจั๊วนึ้งกุน (เทพบุตรงูทอง แฮ่เซาะงี้) ซึ่งทั้งคู่ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่เรื่องราวถูกนำมาเล่าย้อน ควบคู่ไปกับพฤติการณ์ของตัวเอกอีกคนหนึ่งคือ อ้วงเซ้งจี่ (หยวนฉงจื้อ) เป็นความแปลกใหม่ที่ยังทำได้ไม่ดีนัก

เมื่อเขียนเรื่อง เส้อเตียวเอ็งฮ้งตึ่ง (She Diao Yin Xiong Zhuan : มังกรหยก ภาค 1) เรื่องมังกรหยกภาค 1 เสนอความขัดแย้งระหว่างชาติพันธ์ คือ จีนกับมองโกลเป็นแก่นหลักของเรื่อง ส่วนแก่นเรื่องรอง คือความรักชาติ (จีน) การแก้แค้น (ของก๊วยเจ๋ง) ตัวละครทุกตัวค่อนข้างเป็นแบบฉบับ ในแนวจินตนิยม ไม่สู้เหมือนคนจริงนัก แต่แฝงไว้ด้วยความสนุกสนาน ในด้านการวางโครงเรื่องนั้น เหง่ยคัง นักวิจารณ์ชาวฮ่องกง ยกย่องมังกรหยก ภาค 1 ว่า ประณีตแนบเนียนดั่ง เสื้อสวรรค์ไร้ตะเข็บ คือ เรื่องดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล การผูกปมและคลี่คลายเรื่องสมจริง ไร้ที่ติ ซึ่งเรื่องนี้ได้สร้างฐานะของกิมย้งให้เป็นปรมาจารย์นิยายกำลังภายในอย่าง เต็มภาคภูมิ

หลังจากที่ โด่งดัง จากเรื่อง เส้อเตียวเอ็งฮ้งตึ่ง (มังกรหยก ภาค 1) แล้ว กิมย้งได้พัฒนารูปแบบงานเขียนของตนเองอีกครั้งหนึ่ง โดยนำลักษณะการแต่งแบบเรื่อง ราโชมอน ของ ญี่ปุ่น เข้ามาใช้ คือ เรื่อง เสาะซัวปวยฮู้ ( Xue Shan Fei Hu : จิ้งจอกภูเขาหิมะ) ซึ่ง อุนสุยอัน (นักเขียนนิยายกำลังภายในชาวมาเลย์) ได้กล่าวถึงเรื่อง เสาะซัวปวยฮู้ ว่า "... เสาะซัวปวยฮู้ เขียนในรูปแบบของการเล่าเรื่องราว ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์พิเศษเฉพาะ ตลอดทั้งเรื่องล้วนเล่าเรื่องราว บางครั้งใช้บุคคลที่แตกต่าง มุมมองที่แตกต่าง เล่าเรื่องราวที่แตกต่าง บางคราใช้บุคคลแตกต่าง แง่มุมที่แตกต่าง เล่าเรื่องราวเดียวกัน เรื่องราวทั้งหมดที่เล่าออกมา รวมกันเป็นเรื่อง เสาะซัวปวยฮู้ ..."

ต่อจากนั้นกิมย้งได้เขียนนิยายมาหลายเรื่อง ทุกเรื่องล้วนแล้วแต่สร้างปรากฏการณ์ในวงการนิยายกำลังภายในทั้งสิ้น เส้อเตียวเฮียบหลือ (Shen Diao Xia : มังกรหยกภาค 2 ) ได้ทำให้นามของ กิมย้ง แพร่หลายไปสู่ทุกมุมโลกที่มีชาวจีนอยู่ ด้วยการเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครฝ่ายประเพณีนิยม นำโดยก๊วยเจ๋ง และ อึ้งย้ง กับฝ่ายธรรมชาตินิยม นำโดยเอี้ยก้วย และ เสียวเล้งนึ้ง เป็นแก่นหลักของเรื่อง ผ่านความรักแบบหนุ่มสาวระหว่างเอี้ยก้วยและเสียวเล้งนึ้ง ที่ยึดมั่นการแสดงความรู้สึก ความต้องการ ตามธรรมชาติของมนุษย์โดยอิสระเสรี ไม่ยอมตกอยู่ใต้กรอบค่านิยมสังคม หรือประเพณีที่มนุษย์สร้างขึ้นดังที่ก๊วยเจ๋งและอึ้งย้งยึดมั่นอยู่ เท่ากับเป็นการต่อสู้ระหว่างแนวคิดธรรมชาตินิยมของเต๋า และ แนวคิดจารีตนิยมของขงจื้อ เรื่องนี้ส่งผลสะท้านสะเทือนวงการวรรณกรรมนิยายกำลังภายในอย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อน

(Lian Chen Que : กระบี่ใจพิสุทธิ์) เป็นนิยายขนาดกลางของกิมย้ง เรื่องนี้แสดงถึงความเลวร้ายสารพัดอย่างของมนุษย์ อาจารย์ แกล้งบอกเคล็ดวิชาผิดๆให้ศิษย์ บิดาฆ่าลูกสาวเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ตลอดจนความเลวร้ายอีกนานัปการ จอมยุทธในเรื่องนี้เมื่อมีความตายมาเยือนก็หวาดกลัวคิดเอาตัวรอด บางคนกล้าทำความชั่วเพียงเพื่อให้ตัวมีชีวิตรอด การกลัวตายเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกคน กิมย้ง ชี้ให้เห็นว่า คนยิ่งสูงใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งรักตัวกลัวตายและพลัดพรากจากสิ่งที่รักมากขึ้นเท่านั้น

อี้ทีโต้วเล้งกี่ (Yi Tian Tu Long Ji - ดาบมังกรหยก : บันทึกอิงฟ้า พิฆาตมังกร) หรือ มังกรหยกภาค 3 ภาคนี้เป็นการนำจินตนิยมผสมผสานกับสัจนิยมได้อย่างแนบเนียน เรื่องนี้มีตัวละครมาก มีโครงเรื่องย่อยแทรกซ้อนอยู่หลายตอนแต่ไม่สับสน ดำเนินเรื่องได้อย่างน่าอ่าน หักมุมอย่างคาดไม่ถึง เน้นให้เห็นถึงความเด่นของพรรคเม้งก้าเอาลักษณะกลุ่มเป็นตัวเอก แต่สามารถทำให้บทเจี่ยซุนและเตียบ่อกี้เด่นควบคู่ไปกับบทบาทของกลุ่ม ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ยากมาก วิธีการนี้กิมย้ง ล้มเหลวในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ แต่สามารถพัฒนาจนประสบผลสำเร็จอย่างงดงามในเรื่องนี้

เทียนเล้งโป๊ยโป๋ว (Tian Long Ba Bu : แปดเทพอสูรมังกรฟ้า) เรื่องนี้ถือเป็นสุดยอดนิยายจินตนิยมของ กิมย้ง เพียงชื่อเรื่องก็ให้จินตนาการเร้าความสนใจอย่างยิ่ง เรื่องนี้มีตัวละครมากมาย มีเหตุการณ์สารพัดอย่างในยุทธจักร ถ้าฝีมือไม่พอไม่ถึง ยิ่งจะทำให้เรื่องยุ่งเหยิงถึงที่สุด ตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่องสะท้อนภาพการเมืองในจีนและประชาคมโลกไปด้วย จำลองภาพมนุษย์ไว้สารพัดประเภท เป็นยอดเขาแห่งความสำเร็จของกิมย้ง อีกยอดหนึ่งที่ผู้เขียนอื่นขึ้นถึงได้ยาก

เรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า มีวิทยายุทธหลากหลายชวนให้บันเทิงใจได้หลายรส มีเหตุการณ์ตื่นเต้นพิศดาร แสดงให้เห็นถึงจินตนาการอันลึกล้ำและกว้างไกล สาระของเรื่องมีมากมายหลายประการ แต่สาระสำคัญที่สุดน่าจะเป็นการต่อต้านสงครามสร้างความรักสากลในหมู่ มนุษยชาติ เขตแดนและเผ่าพันธุ์ไม่ควรเป็นเครื่องกีดกั้นไมตรีจิตของมนุษย์ ดังนั้นต้วนอวี้ แห่งแคว้นตาลีฟู ซีจู๋ของจีน เฉียวฟงแห่งต้าเหลียว จึงได้สาบานเป็นพี่น้องกัน มีอุดมการณ์ร่วมกัน แต่ละคนต่างมีบุคลิคและชะตากรรมต่างกัน

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า มีฉากการต่อสู้ขนาดใหญ่และขนาดเล็กแทรกไว้มากมาย เช่น เฉียวฟงบุกตึกชุมนุมผู้กล้า หักหาญกับเหล่าจอมยุทธเพื่ออาจู ทั้งห้าวหาญองอาจ ทั้งแกร่งกล้าทรงพลัง ฉากหลวงจีนคิ้วเหลืองประลองหมากกับเอี่ยงเค่งไทจื้อฉากการวางแผนของชาวยุทธ เพื่อลอบฆ่าบิดาของเฉียวฟง และอีกหลายฉากมากมายคณานับแปดเทพอสูรมังกรฟ้าคล้ายกับคลื่นลูกแล้วลูกเล่า หนุนเนื่องทยอยไล่พัดพาผู้อ่านไหลบ่าไปตามสายธารแห่งวรรณกรรมโดยไม่หยุดยั้ง ดุจดังมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาลอย่างแท้จริง

เฮียบแขะเห็ง (Xia Ke Xing : เทพบุตรทลายฟ้า - มังกรทลายฟ้า ) เป็นเรื่องเกี่ยวกับชายฝาแฝดคู่หนึ่งที่มีรูปร่างเหมือนกัน คนหนึ่งซื่อสัตย์จริงจัง อีกคนหนึ่งกลิ้งกลอกมีมารยาตัวเอกไม่รู้หนังสือ ไม่เข้าใจธรรมเนียมแต่ถูกม้วนเข้าสู่วังวนยุทธจักร ฝึกวิทยายุทธในสภาพแวดล้อมไม่คาดฝันแต่สามารถรู้ซึ้งถึงแก่นแท้ ในขณะที่ผู้ทรงภูมิปัญญาหลายคนเข้าไปกลับออกมาไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเส้นทางน้อยที่กิมย้งแหวกไปสู่ทางใหญ่สายใหม่ ไม่ใช่งานเด่นแต่มีประดิษฐการใหม่ แสดงให้เห็นถึงกิมย้งเป็นนักเขียนที่ไม่ยอมย่ำรอยของตัวเอง ก้าวใหม่จะสั้นยาวประสบความสำเร็จแค่ไหนก็ต้องก้าวต่อไป

เซี่ยวโหงวกังโอ้ว (Xiao Ao Jiang Hu : กระบี่เย้ยยุทธจักร - เรื่องราวของความล้มเหลวทางมโนธรรม) เรื่องแสดงถึงความขัดแย้งระหว่างเหตุผลของสังคมกับธรรมชาติของมนุษย์และจบลง ด้วยดีงามตามธรรมชาติเป็นผู้ชนะ สะท้อนการเมือง สังคม มนุษย์ได้ดีเยี่ยม แยกแยะดีชั่วได้ถ่องเที่ยงทั่วด้าน แฝงสารอันลึกซึ้ง สลัดพ้นจากค่านิยมของสังคมอันเป็นโซ่ตรวนใหญ่ที่สุดของมนุษย์เหล็งฮู้ชงไม่ ใช่วีรบุรุษอย่างก๊วยเจ๋งแต่เป็นมนุษย์ที่แท้ ยึดความถูกต้องดีงามตามหลักธรรมชาติเป็นหลักดำรงชีวิตไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ ของสังคม ไม่ยอมให้คุณค่าเทียมที่มนุษย์กำหนดเป็นเครื่องพันธนาการตัวเองอยู่เพื่อตัว เองทำตามเสรีภาพที่มนุษย์พึ่งมีโดยไม่ขัดกับจริยธรรมตามธรรมชาติ เหล็งฮู้ชงเป็นคนมีคุณธรรม ไม่ใช่แบกคุณธรรมไว้อวดสังคม ชีวิตเขาจึงไม่หนัก แม้ประสบปัญหาสารพัดก็แก้ไขได้อย่างเหมาะสมโดยไม่เสียความเป็นตัวของตัวเอง สารัตถะของนิยายเรื่องนี้คือ " มนุษย์ควรรักเสรีภาพและความดีงามตามธรรมชาติมากกว่าหลงผูกมัดตัวเองอยู่กับ คุณค่าเทียมของสังคม "

เต็กเตี้ยกี้ (Lu Ding Ji - อุ้ยเสี่ยวป้อ : ไร้กระบวนท่าสยบกระบวนท่าทั้งแผ่นดิน) เป็นนิยายเรื่องสุดท้ายของ กิมย้ง ซึ่ง เหง่ยคัง ถือว่าเรื่องนี้เป็นสุดยอดพัฒนาการทางการประพันธ์ของกิมย้ง และเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือกิมย้งว่า " ไม่มีใครเป็นคู่แข่งได้ " ความเป็นยอดของเรื่องนี้อยู่ที่เป็นนิยายกำลังภายในที่ไม่ใช่นิยายกำลังภาย ใน นิยายกำลังภายในโดยทั่วไปมีขนบในการแต่งที่เห็นได้ง่ายอยู่สองประการคือ ตัวเอกต้องเป็นจอมยุทธหรืออย่างน้อยต้องมีวิทยายุทธ และตัวเอกต้องเป็นคนดีในแง่ของคุณธรรม แต่อุ้ยเสี่ยวป้อในเรื่องนี้มีลักษณะตรงข้ามกับขนบดังกล่าวทุกประการ ลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏในนิยายกำลังภายในเรื่องใดมาก่อน และเหง่ยคังว่าไม่มีเรื่องอื่นอีกต่อไป เรื่องนี้กิมย้งหันกลับไปใช้ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ชิง มีส่วนสะท้อนการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่หลังปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย แต่ความเด่นอยู่ที่สะท้อนธรรมชาติวิสัยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่ต้องลดมาตรา ฐานศีลธรรมลงเพื่อความอยู่รอด เป็นนิยายที่มุ่มสะท้อนความจริงมากกว่าจะชี้นำผู้อ่านอย่างที่กิมย้งเคยสอด แทรกไว้ในแทบทุกเรื่องนับเป็นการแหวกวงล้อมครั้งยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์เอก ผู้นี้

ในด้านศิลปะการประพันธ์นั้น งานของกิมย้งมีความประณีตแยบยลทุกด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ด้านสำนวนภาษา กิมย้งมีทัศนะว่านิยายกำลังภายในเป็นวรรณกรรมแบบจีนแท้ แม้จะใช้ศิลปะการประพันธ์นวนิยายช่วยในการแต่ง แต่ไม่ควรใช้สำนวนภาษาแบบนวนิยาย ของตะวันตก ควรใช้สำนวนภาษาแบบนิยายรุ่นเก่าเช่นสามก๊กของจีน เป็นแนวทางพัฒนาให้เหมาะแก่ยุคสมัย

เนื่องจากความโด่งดัง ของ ยุทธจักรนิยายของ กิมย้ง จึงมีผู้คิดจะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่เนื่องด้วย นิยายของ กิมย้งเป็นยุทธจักรนิยายที่มีขนาดยาวมาก และมีตัวละครมาก เมื่อมีการทำเป็นภาพยนตร์จอเงินจึงไม่สามารถทำให้จบเพียงตอนเดียวได้ ต้องมีการสร้างแบบหลายจนจบ ซึ่งทำให้ขาดช่วงในการติดตามชม และสูญเสียอรรถรสของภาพยนตร์ไปบ้าง

สำหรับการนำเอา ยุทธจักรนิยายของกิมย้ง มาสร้างเป็นภาพยนตร์ เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1958 ผู้กำกับ Wu Pang นำเอา She Diao Ying Xiong Chuan (มังกรหยกภาค 1) ซึ่งกำลังโด่งดังในขณะนั้น มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ถือได้ว่าเป็นการนำเอานิยายของกิมย้งมาสร้างเป็นเรื่องแรก โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤาว่า Story of the Vulture Conqueror โดยสร้างขึ้นมา 2 ภาค ภาคแรกออกฉายเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1958 และภาค 2 ออกฉายเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959 เรื่องนี้นำแสดงโดย Walter Tso Tat-Wah , Yung Siu Yi , Lee Ching , Mui Yee , Lam Gam Tong , Lam Kau

ในเดือน ธันวาคม ปี ค.ศ. 1958 ก็ปรากฏภาพยนตร์เรื่อง Sword of Blood and Valour เรื่องนี้กำกับการแสดง และเขียนบทโดย Lee Sun-Fung ซึ่งนำเอาบทประพันธ์ชิ้นที่สองของกิมย้ง Bi Xue Jian (เพ็กฮ้วยเกี่ยม) มาสร้างนำแสดงโดย Ng Cho-Fan , Law Yim Hing , Walter Tso Tat-Wah , Seung Goon Gwan Wai ซึ่งเรื่องนี้ ก็แบ่งออกเป็น 2 ภาคเช่นกัน โดยที่ภาค 1 ออกฉายเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1958 และ ภาค 2 ออกฉายเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1959

หลังจากนั้นมา ยุทธจักรนิยายของกิมย้ง ก็ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จอเงินในยุค ทศวรรษ 60 - 80 แทบทุกเรื่อง ในปี ค.ศ. 1960 มีเรื่อง Book and the Sword 2 ภาค (Shu Jian En Chou Lu - ตำนานอักษรกระบี่ - จอมใจจอมยุทธ์) กำกับการแสดงโดย Lee Sun-Fung นำแสดงโดย Cheung Ying , Tsi Law-Lin , Chan Gam Tong , Yung Siu Yi และ เรื่อง The Story of the Great Heroes 2 ภาค (Shen Diao Xia Lu - มังกรหยกภาค 2) กำกับการแสดงโดย Lee Dut นำแสดงโดย Patrick Tse Yin , Nam Hung Geung Chung Ping , Kong Suet

ปี ค.ศ. 1961 ผู้กำกับ Lee Dut สร้าง เรื่อง The Story of the Great Heroes(Shen Diao Xia Lu - มังกรหยกภาค 2) ภาค 3 และ 4 ต่อ นอกจากนี้ ยังหยิบเอาบทประพันธ์เรื่อง Yuan Yang Dao (ดาบอวงเอียงตอ) มาสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่อง Twin Swords นำแสดงโดย Lam Fung , Lee Ching , Chow Chung , Yam Yin

ปี ค.ศ. 1963 ผู้กำกับ Choi Cheong ร่วมมือกับ Cheung Ying สร้างเรื่อง Story of the Sword and the Sabre (Yi Tian Tu Long Ji - ดาบมังกรหยก) ขึ้น 2 ภาค นำแสดงโดย Cheung Ying , Pak Yin , Yeung Sai , Sek Kin

ปี ค.ศ. 1964 ผู้กำกับ Lee Dut หยิบเอาเรื่อง Xue San Fei Hu (จิ้งจอกภูเขาหิมะ ) มาสร้างในชื่อเรื่อง The Flying Fox in the Snowy Mountains 2 ภาค นำแสดงโดย Chiang Han , Au Ka-Wai , Lee Yuet Ching , Sek Kin

ปี ค.ศ. 1965 ผู้กำกับ Yeung Kung-Leung นำเอาเรื่อง Yi Tian Tu Long Ji (ดาบมังกรหยก ) มาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง ในชื่อเรื่อง Story of the Sword and the Sabre 2 ภาค นำแสดงโดย Lam Ka-Sing , Chan Hiu Kau , Connie Chan Po-Chu , Lee Hung

หลังจากนั้นก็เว้นว่าง มาถึง สิบกว่าปี ถึงมีผู้นำเอา ผลงานของกิมย้งมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง และส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่อง เด่น ๆ ของกิมย้งทั้งสิ้น และส่วนใหญ่เป็นฝีมือการกำกับการแสดงของ Chang Che (จางเชอะ) คือเรื่อง The Brave Archer(มังกรหยก ภาค 1) ในปี ค.ศ. 1977 The Proud Youth (กระบี่เย้ยยุทธจักร) , Brave Archer Part II (มังกรหยก ภาค 1) , Heaven Sword and Dragon Sabre Part 1 & 2 (ดาบมังกรหยก) ในปี ค.ศ. 1978 , A Deadly Secret (กระบี่ใจพิสุจน์) และ Legend of the Fox (จิ้งจอกอหังการ์) ในปี ค.ศ. 1980

ปี ค.ศ. 1981 มี 3 เรื่อง คือ Sword Stained with Royal Blood (เพ็กฮ้วยเกี่ยม) , The Emperor and His Brother (จอมใจจอมยุทธ์) และ The Brave Archer Part III (มังกรหยก ภาค1) ปี ค.ศ. 1982 มี 3 เรื่อง คือ Brave Archer and His Mate (มังกรหยก ภาค 2) Ode to Gallantry (มังกรทลายฟ้า) และ Demi-Gods and Semi-Devils (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า) ปี ค.ศ. 1983 มี 2 เรื่อง คือ Tales of a Eunuch (อุ้ยเสี่ยวป้อ) และเรื่อง Little Dragon Maid (มังกรหยก ภาค 2) ปี ค.ศ. 1984 เรื่อง New Tales of the Flying Fox (จิ้งจอกอหังการ์) ปี ค.ศ. 1987 มี เรื่อง 1 เรื่อง แต่แบ่งเป็น 2 ภาค คือ เรื่อง จอมใจจอมยุทธ์ โดยภาคแรกใช้ชื่อว่า The Romance of Book and Sword และภาค 2 ใช้ชื่อว่า Princess Fragrance

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 90 ยุทธจักรนิยายของกิมย้งก็ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งโดยผู้กำกับ Tsui Hark (ฉีเคอะ) เปิดศักราชด้วย เรื่อง Swordsman (เดชคัมภีร์เทวดา - กระบี่เย้ยยุทธจักร ) 3 ภาค ในปี ค.ศ. 1990 - 1993 ผู้กำกับ Wang Jing(หวังจิง) สร้าง Royal Tramp 1 & 2 (อุ้ยเสี่ยวป้อ ) ในปี ค.ศ. 1992 และเรื่อง The Kung Fu Cult Master (ดาบมังกรหยก) ในปี ค.ศ. 1993 ผู้กำกับ Poon Man-Kit สร้างเรื่อง Sword of Many Lovers (จิ้งจอกอหังการ์ - เข้ามาฉายในไทยในชื่อเรื่อง จิ้งจอกภูเขาหิมะ) ในปี ค.ศ. 1993 ผู้กำกับ Wong Kar-Wai(หว่องกาไว) สร้างเรื่อง The Eagle Shooting Heroes ในปี ค.ศ. 1993 และ Ashe Of Time ในปี ค.ศ. 1994

จวบจนมีการนำเอา มังกรหยกภาค 1 -2 ที่มี มาสร้างป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ โดย CTVที่มี ไป่เปียว แสดงเป็น ก๊วยเจ๋ง หมีเซียะ แสดง เป็น อึ้งย้ง หลอเล่อหลิน แสดงเป็น เอี้ยก้วย เฉินหมิงทง แสดงเป็น เซียวเหล่งนึ้ง ในยุคต้นของทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ก็ได้มีการนำเอา ยุทธจักรนิยายของ กิมย้งมาสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์แทบทุกเรื่อง

ยุคที่ถือว่าเป็นยุคทอง ของการสร้างภาพยนตร์ จากผลงานการประพันธ์ของ กิมย้ง คือ ยุคปลายทศวรรษที่ 70 ต่อ ต้นยุคทศวรรษที่ 80 เพราะได้มีการนำเอายุทธจักรนิยายของ กิมย้ง มาสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ต่อเนื่อง กัน แทบทุกเรื่อง

ยุคที่ เจิ้งเส้าชิว หวังหมิงฉวน เจ้าหยาจือ โด่งดัง ก็ได้รับบท ตัวเอก ของยุทธจักรนิยายของกิมย้ง หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น บท เฉินเจียลั่ว(เจิ้งเส้าชิว) ฮาซิลโซม (หวังหมิงฉวน) ในเรื่อง Shu Jian En Chou Lu (จอมใจจอมยุทธ์) ในปี ค.ศ. 1978 ต่อด้วยเรื่อง Yi Tian Tu Long Ji (ดาบมังกรหยก) ที่เจิ้งเส้าชิว รับบท เตียบ่อกี้ ใน ปี ค.ศ. 1979

และยิ่งดังมากขึ้นไปอีก เมื่อมีการนำเอา มังกรหยก ภาค 1 มังกรหยก ภาค 2 และ อุ้ยเสียวป้อ มาสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ในยุคต้นทศวรรษที่ 80โดยนำเอานักแสดงที่โด่งดังขณะนั้น คือ ห้าพยัคฆ์ทีวีบี อันมี ทังเจิ้นเยี่ย , หวงเย่อหัว , หลิวเต๋อหัว , เหมียวเฉียวเหว่ย , เหลียงเฉาเหว่ย เป็นผู้แสดงนำ

ในยุคทศวรรษที่ 80 ได้มีการนำเอา นิยายของกิมย้ง มาสร้างเป็น ภาพยนตร์จอเงินหลายเรื่อง อาทิเช่น เดชคัมภีร์เทวดา อุ้ยเสียวป้อ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ดาบมังกรหยก จิ้งจอกภูเขาหิมะ และก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

เนื่องจากมีการนำเอายุทธจักรนิยายของกิมย้งมาสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ทำให้ครั้งหลัง ๆ ไม่ค่อยได้รับความนิยมเช่นเหมือนเมื่อครั้งสร้างแรก ๆ อาจเป็นไปได้ว่า คนดูต่างรู้เรื่องราวเหล่านั้นจนอาจจะเกิดความเบื่อ แล้ว หรืออาจจะเป็นได้ว่า ยุคคหลัง ๆ นี้แม้จะมีการใช้ กราฟฟิคทางคอมพิวเตอร์เข้าช่วยแต่ก็ยังทำสู้ของเก่าที่สร้างในอดีตไม่ค่อย ได้นั่นเอง


ทีี่มาของข้อมูล  : เวบ thaifilm กระทู้ของคุณ จักรพรรดิ์  วงศ์สุข ครับ


ความเห็น

[1]


แบบจัดเต็ม ... http://www.peoplecine.com/wboard/default.php




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113107653 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :MichaelaWah , AnnaFlego , bkNer , Davidhkc , Davidsjc , Glenntiktub , Ambroseatut , Vikinax , Vilianavft , Pedronet ,