Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน
รูป
หนังไทยในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-สบายดี หลวงพะบาง ปี 2551.. 17/4/2565 16:46
-อัศวินดาบกายสิทธิ์.. 1/12/2564 13:22
-เกียรติศักดิ์ ทหารเสือ ปี 2508.. 19/11/2564 12:39
- เห่าดง พ.ศ. 2501.. 14/11/2564 15:48
-"ผู้ชนะสิบทิศ" .. 13/11/2564 14:33
-#หอแต๋วแตกแหกโควิดปังปุริเย่ยังไม่มีคนตอบ
-ส้มป่อยเดอะมูฟวี่ยังไม่มีคนตอบ
-GAME CHANGER | โกง พลิก เกมยังไม่มีคนตอบ
-แหวนทองเหลืองปี พ.ศ. 2516.. 21/10/2564 23:03
-มนต์รักทรานซิสเตอร์ ปี พ.ศ. 2544.. 21/10/2564 18:36
-"ดาบคู่สะท้านโลกันต์ ปี 2514.. 17/10/2564 19:02
-ทรชนคนสวย ปี พ.ศ. 2510ยังไม่มีคนตอบ
-โทนปี พ.ศ. 2513.. 15/10/2564 17:37
-น้อยไจยา ปี พ.ศ. 2509.. 15/10/2564 17:36
- อัศวินดาบกายสิทธิ์ ปี1971 .. 9/10/2564 18:16
-ชายชาตรี ปีพ.ศ 2507 .. 7/10/2564 13:16
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33] [34]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 533

ชายชาตรี ปีพ.ศ 2507


ขอขอบคุรข้อมูลจากพี่วิวัยครับ...
รําลึก มิตร ชัยบัญชา พระเอกอมตะ
เกิด 28 มกราคม พ.ศ.2477 - เสียชีวิต 8 ตุลาคม พ.ศ.2513
ชายชาตรี ปีพ.ศ 2507 ภาพยนตร์ที่นำสองดารานำแสดงชื่อดังแห่งยุค โคจรมาพบกันครั้งแรก มิตรชัย บัญชา กับ พิศมัย วิไลศักดิ์
ที่ต้องมาแสดงบทเชือดเฉือนปะทะกันชนิดว่าเป็นที่ถูกใจแฟนหนังไทยกันเต็มๆ
เป็นหนัง16มม.สร้างจากบทประพันธ์ของส.เนาวราช (สนิท โกศะรถ)อํานวยการสร้างโดย คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร ผู้อำนวยการสร้าง & ผู้กำกับภาพยนตร์ แห่งบริษัทภาพยนตร์ไทยไตรมิตร ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2542
ชายชาตรี (2507) โดยบริษัทไทยไตรมิตรภาพยนตร์ สร้างจากบทประพันธ์ของ
ส.เนาวราช (สนิท โกศะรถ)
แท้ ประกาศวุฒิสาร อำนวยการสร้าง
ผู้กำกับการแสดงเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ)
ถ่ายภาพ แท้ ประกาศวุฒิสาร
อุไร ศิริสมบัติ ฝ่ายศิลป์
แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ
นักแสดง
* มิตร ชัยบัญชา
* พิศมัย วิไลศักดิ์
* พันคำ
* ประจวบ ฤกษ์ยามดี
* อดุลย์ ดุลยรัตน์
* เชาว์ แคล่วคล่อง
* วิไลวรรณ วัฒนพานิช
* ปรียา รุ่งเรือง
* อุษา อัจฉรานิมิตร
* แก่นใจ มีนะกนิษฐ์
* ชุมพร เทพพิทักษ์
* ทองฮะ วงศ์รักไทย
* สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
* ทานทัต วิภาตะโยธิน
* หม่อมชั้น พวงวัน
#ข้อความบนใบปิด #ไทยไตรมิตรภาพยนตร์ “สู้ด้วยเลือดเนื้อ สู้ด้วยชีวิต สู้ด้วยความคิด สู้อย่าง... ชายชาตรี “
ตอนภาพยนตร์เข้าฉาย ใช้วิธีการพากย์เสียงสดนำทีมโดย คุณสมพงษ์ วงษ์รักไทย อดีตนายกสมาคมนักพากย์
ภาพยนตร์ยกกองไปถ่ายทําในไร่แถวจังหวัดปราจีนบุรีเป็นโลเคชั่นหลัก เน้นถ่ายทำวิวทิวทัศน์ บรรยากาศธรรมชาติในพื้นที่
เเป็นเรื่องเป็นราวของ ชายชาตรี หรือ กฤษฏา อภิรักษ์ภูมินทร์ ผู้ที่เป็นคนมีใจนักสู้ใจถึง ไม่ยอมใคร
เดินทางมาหานายสดคนเฝ้าไร่ที่จังหวัดปราจีนบุรี โดยไร่อยู่ตรงระหว่างไร่เวียงทอง กับ ไร่ปัทมา ซึ่ง2ไร่นี้ไม่ถูกกันจึงก่อศึกวิวาทกันอย่างหนัก
การมาของชายชาตรี เป็นที่สนใจของคนไร่แถวนั้น ที่มีผู้ทรงอิทธิพล อย่างกําธร กับพิพัฒน์ อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งทั้งปวง ด้วยมุ่งหวังที่จะฮุปเอาไร่เวียงทองไว้เป็นของพวกตัวเอง จึงวางแผนจัดการจะจัดการกับชาตรีพระเอกของเรื่อง
ตัวหนังจึงออกมาในแนวการต่อสู้เข้มข้น บู้กันดุเดือดเดือดพล่านถูกใจคอหนังบู้ยิ่งนัก
หนังเข้าฉายที่โรงหนังเอ็มไพร์ เมื่อวันที่28สิงหาคม ปี2507 หนังประสบความสําเร็จระดับกลางๆแต่เป็นที่ชื่นของแฟนๆหนังบู้มากมาย
ซึ่งคุณแท้ ประกาศวุฒิสาร (ศิลปินแห่งชาติ) ท่านเคยเขียนบันถึง มิตร ชัยบัญชา กับการร่วมงานด้วยกันในภาพยนตร์เรื่อง ชายชาตรี ว่า
“หนังไทยยุคก่อนๆนักแสดงหญิง- นางเอก เคยเป็นแม่เหล็กสําคัญ ช่วงหลังเปลี่ยนมาเป็นดาราชาย ซึ่งพระเอกด้วยกันนี่เรียกว่าไม่มีใครเกินมิตร ชัยบัญชา
เมื่อผมคิดจะสร้างหนังเรื่อง ชายชาตรีจึงต้องมี มิตร ชัยบัญชา เป็นดารานำแสดงตามสมัยนิยม ซึ่งนางเอกในครั้งแรกตั้งใจว่า จะนํา เพชราคู่ขวัญของมิตร มาแสดง
แต่คิวไม่ได้ เพราะตอนนั้น อี๊ดเพชรา คิวถ่ายหนังแน่นตลอด
ผมจึงเลือกเอาคุณพิศมัย วิไลศักดิ์ มาแสดงนำ เมื่อหนังเข้าฉาย ชายชาตรีทํารายพอใช้ได้
ซึ่งผมทําโฆษณาเรื่องนี้พลาด คือไม่ทันได้คิด ตอนก่อนหนังจะเข้าโปรแกรม ผมไปสั่งทําไฟโฆษณาภาพยนตร์ เป็นไฟนีออนติดที่หน้าโรงหนังเอ็มไพร์
โดยใส่ชื่อพิศมัย วิไลศักดิ์ นำแสดง ขึ้นต้นก่อนชื่อพระเอก ด้วยสาเหตุว่ามีชื่อเสียงโด่งดังมาก่อน
(พิศมัย วิไลศักดิ์ เจ้าของฉายา ดาราเงินล้าน แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกโดยการชักนำของนักเขียนชื่อดัง ครูศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) เมื่อ พ.ศ. 2501 เป็นนางเอกเรื่อง การะเกด คู่กับลือชัย นฤนาท และชนะ ศรีอุบล เป็นที่รู้จักจากฉากรำฉุยฉายในเรื่อง ภาพยนตร์ฉายติดต่อกันประมาณ 2 เดือน ทำรายได้มากกว่า 2 ล้าน นับเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟูในยุคนั้น)
ทําให้มิตร ชัยบัญชา มีอาการน้อยใจ
เมื่อผมมารู้เรื่องนี้ที่หลัง ผมก็ส่งทีมงานไปขอโทษคุณมิตรแกทันที
ซึ่งเมื่อตอนภาพยนตร์เรื่อง ชายชาตรี เข้าฉาย ผมพบว่า ถ้ามีเวลาว่างมิตร จะแว๊บแอบมาดูหนังที่เขาแสดงและดูบรรยากาศ ดูอารมณ์คนที่มาเข้าชม โดยจะมาแอบดูที่ห้องฉายหนังอยู่บ่อยๆ
จนทำให้ผมได้มีโอกาสพูดคุยเปิดใจกับมิตร ชัยบัญชา ด้วยตัวเองอีกครั้ง และเราก็เข้าใจซึ่งกันและมากขึ้นอีกด้วย
เมื่อพูดคุยกันแล้ว มิตร รู้ว่าผมเองก็เคยรับราชการ ทำงานเป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ของกรมข่าวทหารบก และ เคยทำงานในกองภาพยนตร์ทหารอากาศ คราวนี้เราก็ยิ่งคุยกันถูกคอ ตามประสาลูกทัพฟ้าด้วยกัน
ซึ่งมิตรชัย บัญชา เองก็เคยเป็นทหารอากาศ และ เป็นนักบิน ซึ่งเขารักการเป็นทหารอากาศมาก
หลังคุยกันถูกคอ ผมก็เกิดความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์จากวีรกรรมสําคัญ ของคุณศานิต นวลมณี ตั้งใจว่าจะดำเนินการไปขออนุญาตทางกองทัพอากาศ สร้างภาพยนตร์เรื่อง #จอมเวหาศานิต
ที่เป็นเรื่องราวของวีรกรรมของ คุณศานิต นวลมณี นักรบไทยที่ปลุกใจให้คนทั้งประเทศรักชาติ จนมีจารึกชื่อไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ซึ่งตั้งใจว่าถ้าได้มีโอกาสสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้จะต้องให้มิตร ชัยบัญชา ลูกทัพฟ้าตัวจริง มารับบทบาทนี้อย่างแน่นอน
แต่แล้วก็ไม่ทันได้ดำเนินการโครงการสร้าง คุณมิตรแกก็มาด่วนจากไปก่อนวัยอันควรเสียก่อน โครงการสร้างสรรค์งานเรื่องนี้จึงถูกพับเก็บไปโดยปริยาย”
#วิวัยจิตต์แจ้ง เขียนและเรียบเรียง
Thai film movie และเจ้าของภาพทุกท่าน
:
:
#หมายเหตุประกอบเรื่อง #จอมเวหาศานิต เป็นเรื่องราวจากจริงของ คุณศานิต นวลมณี นักรบไทยที่ปลุกใจให้คนทั้งประเทศรักชาติและเป็นบุคคลผู้ได้รับการจารึกชื่อไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
จากวีรกรรม ในปี ๒๔๘๓ ที่เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ไม่มีคนไทยคนไหนแม้แต่เด็กจะไม่รู้จักชื่อ “ศานิต นวลมณี” เสืออากาศไทยที่สามารถรวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศให้รักชาติและชื่นชมในวีรกรรมของเขา
คุณศานิต นวลมณี เป็นชาวอุดรธานี เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมที่ ร.ร.อุดรพิทยานุกูลแล้ว ได้เข้าเรียนต่อเตรียมอุดมที่ ร.ร.เทพศิรินทร์ กรุงเทพฯ
จากนั้นได้เข้าเป็นศิษย์การบินของกองทัพอากาศ และจบการศึกษาในปี ๒๔๘๑ ได้ประดับยศเรืออากาศตรี
ตอนจะเกิดสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศสเมืองแม่ถูกเยอรมันบุกยึดครองไปแล้ว ฝรั่งเศสเกรงว่าไทยจะถือโอกาสแก้แค้นส่งทหารเข้ายึดดินแดนในอินโดจีนคืน จึงส่งทหารเข้าข่มขู่ตามชายแดนหวังจะให้ไทยเกรงกลัวอย่างที่เคยทำมาตลอด เมื่อสถานการณ์ชายแดนด้านแม่น้ำโขงไม่น่าไว้วางใจ กองทัพอากาศได้ส่งเครื่องบินขับไล่จำนวนมากไปประจำที่สนามบินอุดรธานี อุบลราชธานี และนครพนม เมื่อเครื่องบินฝรั่งเศสล่วงล้ำเข้ามา เครื่องบินไทยก็บินขึ้นไปขับไล่ ฝรั่งเศสก็หนีไปทุกครั้ง
จนในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ เวลา ๐๘.๐๐ น.ฝรั่งเศสได้ส่งฝูงบินเข้ามาทิ้งระเบิดนครพนม เรืออากาศตรีศานิต นวลมณี ซึ่งประจำการอยู่ที่สนามบินหนองขอนกว้าง หรือสนามบินอุดรธานีในปัจจุบัน ได้รับคำสั่งให้นำเครื่องบินคอร์แซร์ที่ไทยสร้างเองขึ้นสกัด โดยมี จ.ท.ประยูร สุกุมลจันทร์ เป็นพลปืนหลัง เครื่องบินโมรานของฝรั่งเศส ๕ เครื่องจึงเข้ารุมทันที พอดีกับที่ พ.จ.อ.ทองใบ พันธุ์สบาย กับ จ.อ.นาม พุ่มรุ่งเรือง นำ ฮอล์ค ๓ เครื่องบินที่ไทยสร้างเองอีกเช่นกัน ๒ เครื่องขึ้นมาช่วย ยุทธการเวหา ๕ ต่อ ๓ จึงเกิดขึ้นเหนือท้องฟ้าจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ไทยทำสงครามทางอากาศ และเลือกคู่เอาจ้าวเวหาของยุโรปเสียด้วย หลังการต่อสู้นาน ๒๐ นาที ฝรั่งเศสก็หย่อนระเบิดใส่นครพนมได้ ๓ ลูก แล้วบินข้ามโขงกลับไป โดยมีโมรานเครื่องหนึ่งถลาเข้าไปตกในเขตท่าแขกของตน ส่วนเครื่องบินไทยทำไทยใช้ทั้ง ๓ เครื่องกลับลงสนามได้อย่างปลอดภัย
ต่อมาในวันที่ ๘ ธันวาคม เรืออากาศโทศานิต นวลมณี ที่เพิ่งประดับยศใหม่ ได้รับคำสั่งให้ไปโจมตีสนามบินเวียงจันทน์ตอบแทนฝรั่งเศส และออกบินจากสนามบินอุดรธานีไปในเวลา ๖.๐๐ น.
แม้ข้าศึกจะเตรียมปืนกลต้อนรับอย่างหนาแน่น ตั้งรังปืนตั้งแต่บนถังน้ำประปาริมฝั่งโขง แต่เรืออากาศโทศานิตก็ฝ่าห่ากระสุนลงทิ้งระเบิดในระยะต่ำเพียง ๒๐๐ เมตร ทำให้ระเบิดเข้าเป้าได้อย่างแม่นยำ สร้างความเสียหายให้ข้าศึกอย่างหนักตามเป้าหมาย แม้เครื่องบินจะถูกยิงหลายแห่งแต่ก็ประคองตัวกลับมาลงสนามบินอุดรได้ และเมื่อสำรวจความเสียหายก็ปรากฏว่าถูกกระสุนปืนกลถึง ๒๐ แห่ง จนปลายปีกด้านซ้ายขาดกระจุย
ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดที่อุดรธานีตั้งแต่ ๐๕.๐๐ น. ทำให้ราษฎรเสียชีวิตไป ๓ คน และบาดเจ็บอีกหลายคน กองทัพอากาศจึงได้ส่งฝูงบินออกจากสนามบินอุดรไปตอบแทนทันที และได้รับการต้อนรับจากฝรั่งเศสเช่นเดิม แต่ก็ไม่ทำให้เสืออากาศไทยหวั่นไหว ปฏิบัติภารกิจอย่างไม่ย่อท้อ และได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมาย
แต่ในปฏิบัติการครั้งนี้เครื่องบินของเรืออากาศโทศานิตถูกยิงเข้าที่ถังน้ำมันทำให้ไฟลุกไหม้ นักบินถูกไฟลวกและยังถูกยิงเข้าที่เข่าด้วย ส่วนพลปืนหลัง จ่าอากาศเอกเฉลิม ดำสัมฤทธิ์ถูกไฟลวกหนัก
แต่ศานิตก็นำเครื่องบินข้ามโขงกลับมาได้ และกระโดดร่มลงที่หนองน้ำบ้านพรานพร้าว อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส ถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทหารกรุงเทพ และเสียชีวิตในวันที่ ๒๓ ธันวาคมนั้น ขณะที่อายุได้ ๒๓ ปี
คนไทยทั้งประเทศได้ติดตามชื่อของศานิต นวลมณี มาตั้งแต่วันแรกที่ไทยทำสงครามเวหากับฝรั่งเศสอย่างห้าวหาญ ต่างสะใจที่ถูกฝรั่งเศสเอาเรือปืนเข้ามาข่มขู่ยึดเอาดินแดนไปมากมาย แม้ในตอนนั้นทั้ง ฮอร์ค ๓ และคอร์แซร์ที่ไทยซื้อลิขสิทธิ์จากอเมริกามาสร้างเอง และใช้มานานจนถือว่าตกรุ่นไปแล้ว แต่ฝรั่งเศสกำลังเป็นจ้าวเวหาของยุโรป และส่งเครื่องบินขับไล่แบบโมรันกับเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบฟาร์มัง ซึ่งเป็นแบบทันสมัยทั้งคู่มาประจำอยู่ในอินโดจีน มีความเร็วและสมรรถภาพสูงกว่าเครื่องบินไทยมาก แต่ฝรั่งเศสก็เสียเปรียบไทยตรงที่ใจนักบิน ที่รบเพื่อประเทศชาติ กับรบเพื่อรุกรานเขาในดินแดนที่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน นอกจากเสียงของคนไทยทั้งประเทศจะกระหึ่มเชียร์ทหารแล้ว เหล่าทหารต่างก็มีใจฮึกเหิมที่จะปกป้องแผ่นดินเกิดและศักดิ์ศรีคนไทย จนกระทั่งฝรั่งเศสต้องไปขอให้ญี่ปุ่นมาช่วยเจรจาสงบศึก
เมื่อมีการเซ็นสัญญาสงบศึกกันไปแล้ว คณะรัฐมนตรีก็ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติของผู้เสียชีวิตในสงครามอินโดจีน และได้สร้างขึ้นที่บริเวณสี่แยกถนนราชวิถีจรดกับถนนพญาไทและต้นถนนพหลโยธิน ซึ่งตอนนั้นเรียกกันว่า “สี่แยกสนามเป้า” ให้ชื่อว่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” โดยมอบให้ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล เป็นผู้ออกแบบ
อนุสาวรีย์เป็นรูปดาบปลายปืน อันเป็นอาวุธประจำกายของทหารเวลาเข้าประจัญบานถึงตัวข้าศึก จำนวน ๕ เล่ม ซึ่งหมายถึงนักรบ ๕ เหล่าในสงครามครั้งนี้ คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน ตั้งเอาสันดาบจดกันหันคมดาบแยกออกเป็นรูปกลีบมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบนสูงจากพื้นดิน ๕๐ เมตร ส่วนด้ามดาบตั้งอยู่เหนือเพดานห้องโถงซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของผู้เสียชีวิต
ด้านนอกของโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดงขนาด ๒ เท่าของคนธรรมดา เป็นรูปของนักรบ ๕ เหล่าเช่นกัน จากฝีมือของศิลปินผู้ปั้นที่เป็นกลุ่มลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ฐานเป็นแผ่นหินอ่อนจารึกนามผู้เสียชีวิตในการรบครั้งนี้ โดยตัวอักษรหล่อด้วยทองแดง เริ่มแรกมีรายชื่อเพียง ๑๖๐ คน จากสงครามอินโดจีน ต่อมาได้นำรายชื่อของผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๒ รวมทั้งเสรีไทย และผู้เสียชีวิตในสงครามเกาหลีมาบรรจุอยู่ด้วย รวมเป็น ๘๐๑ นาย คนเหล่านี้สละได้แม้แต่ชีวิตเพื่อชาติ
ศานิต นวลมณี ประกอบวีรกรรมในสงครามครั้งนี้ไว้แค่ไหน เขาจึงเป็นวีรบุรุษของคนทั้งชาติ ก็ดูได้จากการได้รับการเลื่อนยศจากผู้บังคับบัญชา คือ
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ ได้รับการเลื่อนยศเป็น เรืออากาศโท
วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๓ ได้รับการเลื่อนยศเป็น เรืออากาศเอก
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๘๓ ได้รับการเลื่อนยศเป็น นาวาอากาศตรี และได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ
นาวาอากาศตรีศานิต นวลมณี ยังได้รับยกย่องนำชื่อมาตั้งชื่อฝูงบินอุดรว่า “ฝูงบินศานิต” ซึ่งเป็นฝูงบินแรกที่ได้รับประดับสายยงยศไหมสีเขียวประดับฝูง
นี่ก็คือเรื่องราวของวีรชนไทยคนหนึ่งซึ่งสละได้แม้แต่ชีวิต เช่นเดียวกับบรรพบุรุษในอดีตตลอดมา เพื่อให้ลูกหลานไทยมีประเทศอยู่อาศัยอย่างมีศักดิ์ศรีและมีความผาสุกมาจนถึงวันนี้
เครดิตข้อมูล :คุณโรม บุนนาค





ความเห็น

[1]













เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113105697 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :MichaelaWah , AnnaFlego , bkNer , Davidhkc , Davidsjc , Glenntiktub , Ambroseatut , Vikinax , Vilianavft , Pedronet ,