Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
ภาพกิจกรรมเวบพีเพิลซีน เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ท่านใดมีรูปหน่วยหนังขายยาศรีสุวรรณโอสถเอามาลงให้ดูบ้างยังไม่มีคนตอบ
-ฉิ่งฉับทัวร์ไปเยี่ยมเยียนหน่วยหนังยาหม่องตราถ้วยทองครับ.. 25/7/2555 12:41
-ฉายหนังวันสงกรานต์-เล่นเกมส์.. 14/7/2555 5:20
-ไข่เต่า มินิภาพยนตร์ ......ฉายอีกครั้ง.. 10/7/2555 19:07
-ต่อพงศ์ ภาพยนตร์ ฉายเล่นๆ งานทำบุญบ้านและเข้างานแต่งหลาน.. 23/6/2555 16:44
-ภาพงานพิธีเททองหล่อพระพนัสบดีที่พนัสนิคม.. 23/6/2555 16:21
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อไปหาอาจารย์ใหญ่ทางด้านเครื่องฉายภาพยนต์.. 18/6/2555 22:29
-ไข่เต่า มินิภาพยนตร์.......ฉายงานแก้บน ( 31 / 5 / 55 ).. 1/6/2555 13:10
-นิราศอุดรและตลุยไปดูหนังกลางแปลงกับ สมบูรณ์ภาพยนตร์ อุดรธานี กันอีกหน.. 30/5/2555 13:36
-สัมภาษณ์ศิลปินเตเต.. 26/5/2555 19:34
-ไข่เต่า มืนืภาพยนตร์..........ฉายงานบุญ 2 งาน.. 25/5/2555 17:15
-แจ่มจันทณ์ภาพยนตร์ จัดเต็มอีกแล้วครับ ในงาน อาม่าแซ ของศาลเจ้าปู่ย่า จังหวัดอุดรธานี.. 24/5/2555 2:40
-วันนี้ทีมงานบุกถ้ำเสือถึงรังสันป่าตอง บรรยากาศจะเป็นอย่างไร ไปดูกัน.. 19/4/2555 13:31
-สวัสดีปีใหม่ไทย คะ สงกรานต์.......... 19/4/2555 6:17
-+ งานอนุรักษ์มรดกศิลปินอีสาน เและแสดงมุทิตาจิต อ.พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา 2 เมย. 2555 จัดโดยฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.. 11/4/2555 9:55
-หน่วยหนังย้อนยุค..ไข่เต่า มินิภาพยนตร์ ฉายงานศพที่ อ.นาแก จ.นครพนม.. 10/4/2555 10:59
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 444

ฉิ่งฉับทัวร์ไปเยี่ยมเยียนหน่วยหนังยาหม่องตราถ้วยทองครับ


งานนี้ต้องขอขอบคุณเจ้าของบริษัทยาหม่องตราถ้วยทองด้วยครับที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้พวกเราเข้าไปถ่ายทำครับ






ความเห็น

[1] [2]


ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ดร.ยศพร ลีลารัศมี ผู้บริหารหนุ่มและผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด ที่ได้ให้โอกาสทีมงานเวป THAICINE ได้เข้าเยี่ยมชมหน่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าในรูปแบบหนังกลางแปลง หรือที่เราเรียกกันว่า "หนังขายยา" ในอดีตครับ(เดี๋ยวจะบอกสาเหตุครับ ว่าทำไมเดี๋ยวนี้เขาไม่เรียกว่า "หนังขายยา")

         เรื่องของเรื่องก็เริ่มมาจากกระทู้เรื่อง "หนังขายยา" ที่คุณลุงสามารถจากเชียงใหม่ได้โพสต์ไว้เมื่อเดือนก่อน มีสมาชิกในเวปและผู้ที่สนใจเข้าดูข้อมูลค่อนข้างมาก โดยรูปที่นำมาลง เป็นรูปสมัยคุณลุงยังหนุ่ม ๆ เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งหาดูค่อนข้างยาก และน่าสนใจ โดยมีรูปที่คุณลุงเป็นผู้ดูแลหน่วยหนังขายยาของบริษัท ถ้วยทอง จำกัด หลายรูป ณ จุดนี้ จึงเป็นที่มาให้ผมอยากพิสูจน์ว่าทางบริษัทยังมีหน่วยหนังขายยาอยู่หรือไม่





นี่ล่ะครับภาพอันเป็นที่มาของกระทู้นี้ ภาพหน่วยหนังขายยาของถ้วยทองโอสถที่คุณลุงสามารถโพสต์เมื่อเดือนก่อน บทพิสูจน์ว่า "หนังขายยา" ยังมีหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยหรือไม่









ในที่สุดความหวังที่จะได้เห็นรถหน่วยหนังขายยาก็เป็นจริง ทางดร.ยศพร ได้นัดหมายให้ทีมงานเยี่ยมชมในวันเสาร์ที่ 10 พ.ย เวลา บ่ายสามโมง ที่บริษัทอันเป็นที่ตั้งของโรงงานด้วย ที่ใกล้ๆกับปากซอยพาณิชย์ธน เมื่อถึงเวลานัดหมาย พวกเราซึ่งประกอบด้วยคุณเจทีอาร์ คุณแอ๊ดและทีมงาน คุณกำธร คุณลพย์และทีมงานรวมทั้งตัวผมอีกหนึ่งคน ได้มีโอกาสพบ ดร. ยศพร ที่บริษัทถ้วยทองโอสถ และทางด๊อกเตอร์ได้แนะนำให้รู้จักกับคุณลุงเลื่อน พนักงานเก่าแก่ของบริษัท รับผิดชอบเรื่องหน่วยหนังขายยาของบริษัทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี และพี่ปรีชา หัวหน้าหน่วยรถ ที่เพิ่งนำรถกลับจากการออกพื้นที่ทางตะวันออกมาหมาดๆ





ดร.ยศพร ลีลารัศมี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทถ้วยทองโอสถจำกัด ได้ให้ข้อมูลในภาพรวมของหน่วยหนังขายยาของบริษัทว่า บริษัทถ้วยทองโอสถจำกัด ก่อตั้งมากว่า 60 ปีจนถึงปัจจุบัน สำหรับตนเองถือเป็นทายาทรุ่นที่สาม ที่ดำเนินธุรกิจต่อมา สินค้าหลักของบริษัทได้แก่ยาหม่องตราถ้วยทองที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว นอกจากนั้นก็มียาบรรเทาปวด ลดไข้ตราถ้วยทอง ลูกค้าเป้าหมายหลักอยู่ตามต่างจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งบริษัทยาในสมัยก่อน นิยมใช้กลยุทธ์"หนังขายยา"ในการเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากันอย่างมาก สำหรับปัจจุบันบริษัทมีหน่วยรถหนังขายยาทั้งสิ้น 13 คัน ตระเวณออกพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ รถหน่วยทุกคันติดตั้งอุปกรณ์ติดตามประจำรถผ่านดาวเทียม(GPS) เพื่อความปลอดภัย และง่ายต่อการประสานงาน เพราะแต่ละหน่วยจะลงพื้นที่ครั้งละไม่ต่ำกว่า 3 เดือน โดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ที่บริษัท และที่สำคัญเราได้เปลื่ยนรูปแบบการนำเสนอและชื่อเรียกจาก"หน่วยหนังขายยา"เป็น"หน่วยโฆษณาเคลื่อนที่ในรูปแบบหนังกลางแปลง" แทน ทั้งนี้เนื่องจากยาเป็นสินค้าที่ไม่สามารถซื้อขาย จ่ายแจก โดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือไม่มีเภสัชกรดูแล ตามข้อบังคับของคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งบริษัทก็ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด โดยเราเปลื่ยนมาขายสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่นที่สามารถกระทำได้แทน ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละหน่วยมีรายได้มาหล่อเลี้ยงตัวเอง โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากบริษัทมากนัก และเรามาเน้นที่การจัดดิสเพลย์แสดงภาพ โลโก้ หรือข้อความสินค้าที่ตัวรถ และเหนือผ้าจอภาพยนตร์


ต่อข้อถามที่ว่าบริษัทคาดหวังอะไรจาก"หน่วยโฆษณาเคลื่อนที่"ดังกล่าว ดร.ยศพร กล่าวว่า แน่นอน ก็ถือว่าเป็นสื่อโฆษณาตัวหนึ่งของบริษัท เป็นตัวช่วยตอกย้ำแบรนด์สินค้าให้คนจดจำ และที่สำคัญหน่วยโฆษณาสามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากบริษัทมากนัก


ดร.ยศพร กล่าวทิ้งท้ายว่า ยังไงแล้ว บริษัทก็ยังดำเนินนโยบาย"หน่วยโฆษณาเคลื่อนที่ในรูปแบบหนังกลางแปลง"อยู่ต่อไป เพราะเป็นอะไรที่เราทำมานานตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ คนรู้จักเรา ส่วนหนึ่งก็มาจากหนังกลางแปลงนี่แหละ แม้ว่าบริษัทยาอื่นๆ อาจจะเลิกรากันไปหมดแล้ว แต่สำหรับเราแล้ว มันเป็นส่วนหนึ่งของเราครับ











  • คุณลุงเลื่อน พนักงานเก่าแก่ของบริษัท ทำงานที่บริษัทตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม รับผิดชอบหน่วยหนังทั้งหมดของบริษัท (สวมเสื้อสีน้ำเงิน ด้านขวา) ครับ  คุณลุงได้ให้ข้อมูลว่า รู้จักและจำคุณลุงสามารถ(เชียงใหม่)ได้ หลังจากได้เห็นภาพที่ ดร.ยศพร ปริ้นท์จาก THAICINE มาให้ดู น่าจะประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว สมัยนั้น ยังใช้เครื่องฉาย 16 มม. ฉาย ยี่ห้อดังๆ สมัยนั้นก็มี RCA, BELL&HOWELL ของอเมริกา จอก็มีสัดส่วนแบบ 4:3 หนังที่ฉายก็มีทั้งหนังไทย หนังฝรั่ง หนังอินเดีย ฉายคืนละประมาณ 1 - 2 เรื่อง ทางบริษัทเพิ่งเปลื่ยนมาใช้เครื่องฉาย 35 มม เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา  ปัจจุบันคุณลุงเลื่อนดูแลรับผิดชอบหน่วยรถทั้งหมด 13 คัน รถทุกคันมีอายุกว่า 35 ปี ต่อและประกอบเองในประเทศ โดยใช้หัวเครื่องและแชซซีของ HINO ทั้งหมด ประกอบเป็นรถบัสขนาดเล็ก โดยอู่สมนึกการช่าง ที่นครปฐม รถแต่ละคันจะมีเครื่องฉาย 35 มม ใช้เตาอาร์ค หัวเครื่อง TOKIWA ตำแหน่งของเครื่องฉาย วางขวาง หันหน้าออกด้านข้างรถ เวลาฉายก็เปิดกระจกหน้าต่างรถ ภายในรถออกแบบเรียบง่าย และยกพื้นไม้ทำเป็นเตียงขนาดใหญ่ที่สามารถนอนได้ 3 คน รวมทั้งมีชั้นวางเครื่องเสียง , POWER SUPLY , ลำโพง และที่ขาดไม่ได้ก็คือเครื่องปั่นไฟ ที่วางซ่อนท้ายรถ ดูแล้วเหมือนบ้านขนาดเล็กเคลื่อนทีได้ เพราะพนักงานหน่วยต้องใช้ชีวิตกินนอนกับรถคันนี้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และสลับผลัดเปลื่ยนพื้นที่กันปีละครั้ง แต่ละหน่วยจะดูแลพื้นที่หน่วยละ 3 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกัน เช่นน่าน ,แพร่,อุตรดิตถ์ เป็นต้น โดยจะตระเวณเข้าหมู่บ้านที่อยู่ลึก ๆ ห่างไกลความเจริญ จะมีคนดูมากกว่าหมู่บ้านที่เจริญแล้ว   เมื่อถามถึงจำนวนคนดูเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ลุงบอกว่า สมัยก่อนไปฉายครั้งนึง คนดู 300 -500 เป็นอย่างต่ำ เคยถึงหลักพันก็มี แต่ปัจจุบันมีแผ่นซีดีหนังระบาด ผู้คนก็ดูอยู่ที่บ้าน ไม่ค่อยออกมาดูกัน เป็นเรื่องธรรมดา สำหรับการดูแลบำรุงรักษารถหน่วย ลุงบอกว่ารถอายุขนาด 30 กว่าปี ก็ย่อมมีปัญหาบ้าง ซึ่งคนขับรถและพนักงานในหน่วยก็มีความสามารถด้านซ่อมแซมรถอยู่แล้ว เพราะอยู่กับมันมานาน ก็หาซื้ออะไหล่ที่พื้นที่ ซ่อมได้เอง แต่โดยปกติเมื่อครบกำหนดกลับมารายงานตัวที่บริษัทแต่ละครั้ง ก็มีช่างเครื่องประจำของบริษัทตรวจเช็คเครื่องให้อยู่แล้ว 





พี่ปรีชา หัวหน้าหน่วยรถหนังของบริษัท ปัจจุบันรับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออก ทำงานกับบริษัทมากว่า 30 ปี (ใส่เสื้อเหลือง คนกลางครับ) ตั้งแต่ยุคใช้เครื่องฉาย 16 มม เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ก่อนจะเปลื่ยนมาใช้เครื่อง 35 มม เตาอาร์คในปัจจุบัน พี่ปรีชาได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีหลงเหลือเพียงสองบริษัทที่ยังมีหนังขายยา คือยาหม่องตราถ้วยทอง และบริษัทเยาวราชจำกัด เจ้าของหมากหอมเยาวราช และยาบวดหาย นอกนั้นก็ล้มหายตายจากกันไป เพราะหนังกลางแปลงเริ่มมีคนให้ความสนใจน้อยลง อันเนื่องมาจากการแพร่หลายของซีดี สำหรับตัวเองก็เน้นเข้าตระเวณฉายในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ ก็ยังพอมีคนดูอยู่บ้าง ถ้าคนดูหลักร้อยก็ถือว่าโอเคแล้วครับ โดยจะมีภาพยนตร์ติดรถประมาณ 2 เรื่อง โดยหาซื้อตามสายหนังที่ซื้อขายกันประจำ เป็นหนังเพิ่งออกโรงประมาณ 2 ปี เป็นหนังที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง สามารถฉายได้ไม่ผิดกฏหมาย ที่ติดรถปัจจุบันมีอยู่เรื่องเดียว คือ "เกิดมาลุย"


เมื่อถึงพื้นที่ ในช่วงเช้าก็จะหาทำเลสถานที่ฉายก่อน มีการติดต่อกับเทศบาล หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ขออนุญาติใช้เสียงดัง และบ่ายก็จะขับประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงไปรอบๆหมู่บ้าน ว่าจะมีหนังกลางแปลงมาฉาย


เริ่มฉายจริงประมาณ 1-2 ทุ่ม ฉายคืนละ 1 เรื่อง หลังจากฉายเสร็จที่หนึ่ง วันรุ่งขึ้นก็เดินทางไปอีกที่ เฉลี่ยในหนึ่งอาทิตย์ จะได้ลงพื้นที่ฉายจริงประมาณ 3 คืน




เจ้าของยาหม่องตราถ้วยทองรุ่นที่สามแล้วครับ ส่วนรายละเอียดพี่ JTR และคุณสุรินทร์จะมาให้ข้อมูลเองครับ





กำลังสัมภาษณ์ข้อมูลกันอย่างขมักเขม้นครับและภาพบรรยากาศภายในรถฉายหนังครับปัจจุบันนี้เหลืออยู่แค่ 13 หน่วยครับ





ต้องขอขอบคุณเจ้าของยาหม่องตราถ้วยทองที่ยังอนุรักษณ์หนังกลางแปลงให้ชาวบ้านที่อยู่ในชนบทได้มีโอกาสสัมผัสกับหนังกลางแปลงครับ





รถคันนี้นอนได้เลยครับเหมือนบ้านเคลื่อนที่ดีๆนี่เองครับ





ถ่ายกับเจ้าของยาหม่องตราถ้วยทองและพี่ JTR (ทำตาหวานเยิ้มอีกเช่นเคย ฮิฮิฮิ)







ใบอนุญาติถูกต้องครับ





รูปเยอะจริงๆ





เป็นทั้งห้องนอนและห้องฉายหนังเลยนะเนี่ย





อุปกรณ์ฉายเพียบและยังใช้เตาถ่านฉายอยู่นะครับ





หัวรถแบบโบราณ สำหรับรถคันนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีแล้วครับ





เดินทางไกลก็ต้องมีที่พึ่งทางใจครับ





เสื้อและรังแคของคุณต้าโถครับ 55555





เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 25

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113105382 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :AnnaFlego , bkNer , Davidhkc , Davidsjc , Glenntiktub , Ambroseatut , MichaelaWah , Vikinax , Vilianavft , Pedronet ,