Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
หนังจีนในอดีต ทุกยุค ทุกสมัยเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-จอมคนกระบี่เงา10273.. 6/11/2561 16:27
-วันคัท ซอมบี้งับๆๆๆ 11632.. 3/10/2561 15:16
-“EUROPE RAIDERS พยัคฆ์สำอาง กระแทกยุโรป”10970ยังไม่มีคนตอบ
-CHINA NIGHT 194015134.. 3/9/2561 10:39
-PROJECT GUTENBERG 無雙12821.. 18/5/2561 16:41
-ฤทธิ์หมัดฝังเข็ม - Clan Of The White Lotus 198020752.. 13/5/2561 5:24
-รักเรา...จะพบกัน Tonight, At Romance Theater12660ยังไม่มีคนตอบ
- 闪光少女 Our Shining Days 201716192.. 15/2/2561 17:54
-The Monkey King 3 ตอนเมืองแม่หม้าย 18233.. 23/1/2561 13:42
-Bleeding Steel โคตรใหญ่ฟัดเหล็ก...14271.. 21/1/2561 22:52
- SENSEI ! MY TEACHER หัวใจฉัน แอบรักเซนเซย์13501.. 6/1/2561 19:30
-จอมใจจักรพรรดิ... THE KINGDOM AND THE BEAUTY35564.. 28/11/2560 21:24
-FILM REMAINING: One - Armed Swordsman เดชไอ้ด้วน (พ.ศ. 2510 / ค.ศ. 1967)16509.. 19/9/2560 10:15
-FILM REMAINING: Tokyo Olympiad โตเกียว โอลิมปิค 1964 (พ.ศ. 2508)216815.. 8/8/2560 13:35
-โลโก้ Golden Harvest15260ยังไม่มีคนตอบ
-โลโก้ Shaw Brothers13091.. 17/7/2560 21:28
เลือกหน้า
[<<] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [>>]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 1117

(ID:23757) FILM REMAINING: Tokyo Olympiad โตเกียว โอลิมปิค 1964 (พ.ศ. 2508)


* ข้อความต่อไปนี้ เป็นฉบับที่ร่างไว้ก่อนหน้า เมื่อวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ. 2557 และได้แก้ไขข้อความอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 ก.พ. พ.ศ. 2560 ให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน...


เปลี่ยนบรรยากาศมารำลึกกับภาพจากภาพยนตร์ที่ไม่มีภาพตัวฟิล์มบ้างครับ เพราะเมื่อ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้สนับสนุนอยู่ที่ต่างประเทศได้จัดส่งภาพยนตร์มาให้
เป็นไฟล์ดิจิทัลต้นฉบับที่เทเลซีนจากฟิล์มภาพยนตร์ มีทั้งภาพยนตร์ข่าว ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทย ภาพยนตร์ประเภทให้ความรู้  ภาพยนตร์ตัวอย่าง และเบ็ดเตล็ด ก็มีบางเรื่องที่เว็บมาสเตอร์เคยชมมาแล้ว ทั้งในรูปแบบฟิล์ม 16 ม.ม., 35 ม.ม. และ DCP ประกอบกับช่วงนี้ เว็บมาสเตอร์ยังไม่ได้กลับนครสวรรค์เพื่อขนย้ายฟิล์มภาพยนตร์และสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์กลับมาที่อยู่ใหม่ (คาดว่าประมาณปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ราวๆ เดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน) ดังนั้น สมาชิกที่ติดตาม คงต้องชมหัวข้อกระทู้ในเนื้อหาลักษณะเดียวกันนี้ไปพลางๆ ก่อน และยังมีที่ทำไว้ก่อนหน้าซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ มีเวลาเมื่อใดจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ

เมื่อไม่นานนี้ ทางคณะกรรมการโอลิมปิกได้มีมติให้กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นเจ้าภาพมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563 ต่อจากประเทศบราซิล เมื่อนับจากศักราชปัจจุบัน ก็อีกราวๆ 3 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นครั้งที่สองที่เคยจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาดังกล่าวในปี ค.ศ. 1964 หรือปี พ.ศ. 2507

 

หลังจากข่าวดังกล่าวถูกนำเสนอไปได้ไม่นาน ก็ได้พบหลักฐานชิ้นหนึ่งเป็นภาพใบปิดภาพยนตร์ที่มีผู้ประกาศขายในเว็บไซต์ วาดโดยช่างเขียนใบปิดคนไทย ซึ่งเป็นภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนั้น จึงทราบว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เคยเข้าฉายในบ้านเรามาแล้ว ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์คือ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น และ แคปปิตอลฟิล์ม (อยู่ในโรงภาพยนตร์แคปปิตอล) ซึ่งมีสัญญากับบริษัทโตโฮ สตูดิโอของญี่ปุ่นในเวลานั้น

 

เมื่อนานมาแล้ว เคยมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ จึงทราบว่าเคยมีผู้นำภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬามาฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย นอกเหนือจากการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ ซึ่งมีเพียง 2 สถานี คือ ช่อง 4 บางขุนพรหม และช่อง 7 สนามเป้า (สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปัจจุบัน) แม้จะล่าช้ากว่าสื่อมวลชนที่เป็นหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องรอจนกว่าจะมีการจัดทำในลักษณะสรุปข่าว ก่อนที่จะส่งฟิล์มชุดนั้นมาที่บ้านเรา ที่สำคัญ เวลานั้นยังไม่มีการถ่ายทอดสดพร้อมกันทั่วโลกเหมือนในตอนนี้

+
+

ความเห็น

[1]


(ID:201989)
สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นบันทึกเหตุการณ์ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 18 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยจะเล่าเรื่องตั้งแต่ก่อนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ตามด้วยสรุปการแข่งขันกีฬาในรอบชิงชนะเลิศแต่ละประเภท จนถึงพิธีปิดการแข่งขัน ในคืนวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ตลอดความยาว 2 ชั่วโมง 5 นาที มาทราบในภายหลังว่า ตอนฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีความยาวถึง 2 ชั่วโมง 49 นาที เนื่องจากมีช่วงพักครึ่ง (intermission) ที่ทำเป็นฟิล์ม 35 ม.ม. โดยมีดนตรีประกอบที่เรียบเรียงโดย “โตชิโย มายูซามิ” (Toshiro Mayuzumi) ตลอดความยาวกว่า 44 นาที ดังนั้นการที่ไม่ใส่ช่วง intermission จึงไม่ส่งผลต่อหนังแต่อย่างไร

+
+


(ID:201990)
เนื้อหาที่นำเสนอ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “สารคดีเชิงข่าว” (Newsreel Tradition) ซึ่งต่างจากภาพยนตร์ข่าวที่เป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำเสนอเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหว หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ “สารคดีเชิงข่าว” จะต้องนำภาพข่าวมานำเสนอพร้อมด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ข่าวนั้นมีความน่าสนใจชวนติดตาม ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า

+
+


(ID:201991)
ดังนั้น ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ (มาจากบริษัท โตโฮ ซึ่งเป็นสตูดิโอชั้นนำในยุคนั้น) ใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์แบบซีนีมาสโคปกว่า 100 ตัว อุปกรณ์บันทึกเสียงกว่า 40 ชิ้น และบุคลากรกว่า 500 คน ทำหน้าที่บันทึกภาพเหตุการณ์ครั้งสำคัญลงฟิล์ม 35 มิลลิเมตร จำนวนหลายร้อยม้วน

+
+


(ID:201992)
จากความตั้งใจของ “คอน อิชิกาว่า” (Kon Ichikawa) ผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ต้องการจะเล่าเรื่องผ่านความรู้สึกของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ต่างจากภาพยนตร์ข่าวที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ แม้จะมีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่าเขาไม่สามารถที่จะเล่าเรื่องในลักษณะนี้ได้ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างมหาศาล หากจะถ่ายทำตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจากภายในประเทศอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง จนในที่สุดก็เปลี่ยนแผนการถ่ายทำ ขณะเดียวกัน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ได้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก หลังจากก่อนหน้านี้ต้องรอจัดทำเป็นฟิล์ม ซึ่งมีข้อเสียคือ ล่าช้าเสียเวลา และไม่ทันเหตุการณ์

+
+


(ID:201994)

สำหรับเกร็ดความรู้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้  

 

* การแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ มี 19 ชนิด มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจาก 94 ประเทศทั่วโลก เป็นนักกีฬาชาย 4,457 คน นักกีฬาหญิง 683 คน ส่วนประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งที่ 4 จำนวน 6 คน ทั้งหมดไม่ได้เหรียญรางวัลใดๆ เลย

+
+


(ID:201995)

* สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ทรงเป็นประธานในพิธี โยชิโนริ ซาไก ผู้จุดคบเพลิง และ ทาเคชิ โอโนะ นักกีฬาปฏิญาณตน


+
+


(ID:201996)
สำหรับผู้จุดคบเพลิง และนักกีฬาปฏิญาณตนอยู่ที่ภาพนี้ครับ

+
+


(ID:201997)

* เมื่อครั้งที่ออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ผู้ให้เสียงบรรยายการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย “อิจิโร่ มิคูนิ” (Ichiro Mikuni)


+
+


(ID:201998)
อย่างที่บอกไปในตอนต้น สำหรับกีฬาแต่ละประเภทที่ถ่ายทำในภาพยนตร์สารคดีเชิงข่าวเรื่องนี้ เป็นการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศครับ

สำหรับตัวไฟล์ดิจิทัลที่ได้รับมอบนั้น เป็นการเทเลซีนจากฟิล์ม 35 ม.ม. ก็อบปี้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งก็มีรอยขูดขีด เส้นฝน และรอยต่อฟิล์มในบางช่วง คุณภาพของการเทเลซีนถือว่าใช้ได้ สีจึงยังสวยสดตามคุณภาพ ที่สำคัญ การเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ชวนน่าติดตามอย่างไม่น่าเบื่อ หากเอาบรรยากาศในยุคปัจจุบันที่มีการถ่ายทอดสดให้ชมเฉพาะช่วงที่นักกีฬาจากประเทศไทยเข้าแข่งขัน ก็ยังรู้สึกว่าเหมือนขาดบรรยากาศร่วมอยู่บ้าง


+
+


(ID:201999)
นำภาพจากภาพยนตร์ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ มาให้ชมกัน

+
+


(ID:202000)
รู้สึกว่าเว็บเหมือนจะหนืดๆ อยู่บ้าง เลยขอตัดไปเป็นช่วงท้ายๆ ละกัน

+
+


(ID:202001)
มาดูภาพใบปิดต้นฉบับของแต่ละประเทศครับ ภาพบนคือเวอร์ชั่นที่ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น ส่วนภาพล่างคือเวอร์ชั่นที่ฉายในอเมริกา และถูกตัดเหลือเพียงชั่วโมงครึ่ง

* ได้เข้าฉายในต่างประเทศจากการจัดจำหน่ายโดย บริษัท โตโฮ เริ่มจากในทวีปยุโรป และประเทศไทย ตามลำดับ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าฉายเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2508 จากการจัดจำหน่ายโดย American International Pictures, Pan - World Film Exchange และ Jack Douglas Enterprises ซึ่งตัดหนังออกไปเหลือเพียง 93 นาที ให้เสียงบรรยายการแข่งขันกีฬาเป็นภาษาอังกฤษโดย “แจ็ค ดักลาส” กลายเป็นหนังเกรดบี ต่อมาได้มีผู้นำฉบับสมบูรณ์มาฉายเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ที่กรุงนิวยอร์ก ปิดท้ายด้วยประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 กระทั่งปี พ.ศ. 2527 ได้นำกลับมาฉายซ้ำในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการจัดจำหน่ายโดย  Janus Films และ Night Kitchen, Inc. เป็นฉบับสมบูรณ์ มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ

+
+


(ID:202002)

สำหรับภาพนี้เป็นดีวีดีที่ผลิตออกมา ซึ่งไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย รวมทั้งข้อมูลล่าสุดของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการปิดท้าย


* ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ได้ดำเนินการบูรณะฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ของประเทศญี่ปุ่นที่จัดขึ้น 3 ครั้ง ได้แก่ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2543, เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฟุกุโอกะ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 และเทศกาลภาพยนตร์เอเซีย เมืองกีฟู (Gifu Asia Film Festival) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่จะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)


* ภาพยนตร์เรื่องนี้เคยวางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี Criterion Collection จัดจำหน่ายโดย Homevision ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ Tartan Video ในประเทศอังกฤษ ซึ่งผลิตในจำนวนจำกัด และหมดไปจากตลาดแล้ว คงต้องเสาะหาจากแผ่นมือสองตามเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง “อีเบย์” หรือ “อะเมซอน”


+


(ID:202005)
ฟิล์มของเขาเก็บดีกว่าที่บ้านเรา...ผมเองยังไม่เคยได้ดูสารคดีชุดนี้ครับ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 14

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 113098409 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Pedronet , Vikitxm , 42ot , Vilianapwx , Glenntiktub , Ambroseatut , Irinarv , MichaelaWah , Vikiavd , Vilianauii ,