Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

คลังบทความ

หน้านี้ได้รวบรวมบทความที่มีประโยชน์ทั้งเก่าและใหม่ ข้อมูลเก่าในกระดานสนทนาที่มีประโยชน์จะถูกเรียบเรียงใหม่ มาไว้ที่หน้านี้ครับผม

วิธีการเก็บแผ่น CDR ที่เขียนข้อมูลแล้ว อย่างถูกวิธี

จาก..JTR
เรียบเรียงโดย จาทีเอ
17/4/2552 23:09

เรื่องการเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่าย หรือไฟล์ภาพยนตร์ หรือข้อมูลเอกสารอื่นๆ มักจะนิยมเก็บกัน 3 ประเภทงาน ดังนี้
         1.ทำสำเนาเก็บไว้ในแผ่นดีวีดี สำหรับกรณีที่คุณมีปริมาณข้อมูลสำคัญๆไม่มากมายนัก หากกลัวข้อมูลหายก็ทำการเก็บสำรองข้อมูลที่ต้องการไว้ซักเดือนละครั้งก็พอ ลงในแผ่นดีวีดีที่มีคุณภาพหน่อย อาทิ้เช่น  ยี่ห้อ เวอร์บาทิม (Verbatrim) เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อสำรองข้อมูลแบบนี้จะมีอายุการเก็บรักษายืนยาวประมาณ 15 ปี ทัง้นี้แผ่นดีวีดีตามท้องตลาดโดยทั่วไปสำหรับยี่ห้อที่เกรดดีๆหน่อยอย่าง มิตซู หรือโซนี่ หรือ แม๊กเซล มักจะมีอายุการเก็บรักษาขั้นต่ำประมาณ 5 ปี ผมขอไม่พูดถึงยี่ห้อโนเนม ยี่ห้อประหลาดๆที่พ่อค้าในเมืองไทยตั้งชื่อยี่ห้อกันเองแล้วไปสั่งผลิตที่จีนที่คุณภาพห่วย ถึงแค่พอใช้ได้เท่านั้นเมื่อแลกกับราคาความถูกที่จ่ายไป กับแผ่นที่พอจะขยับเกรดขึ้นมาแค่พอใช้อย่างยี่ห้อ ไรเทคจากโรงงานไต้หวัน ซึ่งแพงขึ้นมาอีกนิด เหล่านี้ กรณีที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าแต่ละยี่ห้อนั้นจะเก็บได้นานขนาดไหนขึ้นอยู่กับน้ำยาเคลือบผิวหน้าแผ่นที่เป็นโพลีเมอร์พาสติก ว่ามีคุณภาพทนต่อสภาวะอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยเราได้ดีแค่ไหน ซึ่งแน่ใจได้เลยว่าแผ่นราคาถูกทั้งหลายในราคาไม่เกิน 10 บาทต่อแผ่นจะมีอายุการเก็บรักษาข้อมูลได้ไม่ยาวนานกว่าแผ่นราคาแพงแน่นอน
แต่การเก็บข้อมูลลงแผ่นดีวีดี ต้องไม่ลืมว่า ท่านจะต้องเก็บแผ่นดีวีดีไว้ในตู้เก็บที่ปิดมิดชิดและมีความชื้นต่ำ(ไม่งั้นต่อให้แผ่นคุณภาพดีอย่างไร ราขึ้นแผ่นเป็นดวงแน่ๆ) เทคนิคการเก็บให้ยาวนานที่ขอแนะนำสำหรับท่านที่รักหนังแผ่นเป็นชีวิตจิตใจ ให้ทำดังนี้กล่าวคือ ท่านต้องหาซองพาสติกมาใส่แผ่นดีวีดีแล้วปิดผนึกซีลแผ่นไม่ให้อากาศเข้าไปน้อยที่สุด โอกาสของการเกิดแผ่นเป็นราขึ้นเป็นดวงๆจากการทำปฏิกิริยาของอากาศกับแผ่นที่เก็บจะมีการเกิดปัญหาน้อยลง อายุของการเก็บรักษาก็จะยืนยาวขึ้นครับ
         หมายเหต : แผ่นซีดี หรือดีวีดี สำหรับใช้เก็บข้อมูลยี่ห้อที่เป็นอันดับหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ในเรื่องของคุณภาพที่สุดยอด ได้แก่ยี่ห้อ ไตโยยูเดน ( Taiyo Yuden  )และแผ่นยี่ห้อรองๆลงมานั้น มียี่ห้ออะไรบ้าง รวมทั้งโปรแกรมในการทดสอบเบื้องต้นสำหรับแผ่นยี่ห้อต่างๆซึ่งหากอยากรู้ข้อมูลที่มากกว่านี้ว่าเป็นอย่างไร..ให้กดดูข้อมูลที่ผมทำลิ้งไว้ให้แล้ว หามาให้เป็น ความรู้รอบตัวล้วนๆ กดดูที่นี่ครับ
   
            2. ทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ในฮาร์ดดิส การเก็บแบบนี้สำหรับกรณีที่ข้อมูลที่จะจัดเก็บมีปริมาณมากเกินกว่า 5 GB ซึ่งเกินกว่าแผ่นดีวีดีจะรับไหว แน่นอนว่าอายุของการเก็บรักษาแบบนี้จะพอๆกันกับแผ่นดีวีดี (ประมาณ  10 ปี เป็นอย่างต่ำ) พอเวลาผ่านไป 3-5 ปี ควรตรวจเช็คฮาร์ดดิสและย้ายข้อมูลไปฮาร์ดิสตัวอื่นต่อไปหากฮาร์ดิสอันเดิมกำลังจะเสียหรือส่อแววว่าใกล้เจ๊งเต็มทีแล้ว ซึ่งตัวแปรของสาเหตที่จะทำให้ฮาร์ดิสเสียได้แก่ ทำฮาร์ดดิสตกกระแทกพื้นจนหัวอ่านข้อมูลหรือแผ่นแม่เหล็กในฮาร์ดดิสเสียหาย หรือตอนนำไปเก็บไม่ได้ใส่ไว้ในซองป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (ESD ย่อมาจากคำว่า Electro static discharge เรื่องไฟฟ้าสถิตย์เนี่ย เอาไว้โรคไม่ขยันทุเลาแล้วจะมาเล่าความเป็นมาให้ฟัง ข้อมูลยาวเป็นหน้าๆขี้เกียจเลคเชอร์ครับ)ควรเก็บฮาร์ดิสไว้ในตู้ปิดมิดชิด ที่มีความชื้นและอุณหภูมิไม่สูงเกินไปนัก

     3. การเก็บสำเนาข้อมูลไว้ในระบบเครือข่ายหรือในเวปไซด์ กรณีที่ข้อมูลของคุณมีมหาศาลเป็นล้านๆเทราไบต์ ควรนำไปเก็บไว้ในระบบฮาร์ดดิสแบบเครือข่าย (Network Attached Storage)จะเป็นการดีกว่า ซึ่งเหมาะกับบริษัทหรือห้างร้านองค์กรต่างๆที่มีระบบเครือข่ายติดต่อสื่อสารในองค์กร แต่ก็ต้องยอมลงทุนจ่ายในราคาที่สูงได้ด้วย
        สำหรับการเก็บข้อมูลรูปภาพที่เฮียแอ๊ดมีปัญหานั้น ขอแนะนำให้ไปฝากไฟล์รูปภาพในเวปไซด์ http://photobucket.com/ จะเป็นการดีที่สุด เพราะทางเวปให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแค่สมัครเข้าใช้บริการเป็นสมาชิกในเวปก็จะสามารถเข้าไป upload รูปภาพที่เราต้องการเก็บเอาไว้ในเวปได้เป็นอัลบั๊มทีเดียว ซึ่งทางเวปดังกล่าวจะทำการเก็บข้อมูลภาพที่เรานำไปฝากเก็บไว้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ และไม่มีการลบทิ้งเก็บได้นานเท่านานจนกว่าเวปจะเจ๊งนั่นแหละ สมาชิกท่านใดที่สนใจจะลองไปใช้บริการดูก็ขอเชิญพิสูจน์ได้
       หมายเหต : ข้อมูลความรู้เหล่านี้ หากท่านใดที่เข้ามาอ่านและต้องการนำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานในเวปอื่นหรือผู้อื่น ขอความกรุณาได้โปรดระบุอ้างอิงว่าท่าน copy ข้อความหรือข้อมูลข้างต้นนี้จากเวปไทยซีน จักขอบคุณยิ่งครับ ผมขอค่าเหนื่อยของการหาข้อมูลองค์ความรู้และการเสียเวลามานั่งจิ้มคีย์บอร์ดเป็นหลายชั่วโมงเพียงแค่นี้ละครับผม)
      แต่ถ้าเฮียแอ๊ดเอาไปอ่านออกอากาศในพีเพิ่ลเรดิโอ..ฮ่าฮ่า..ตรูขอค่าลิขสิทธิ์เป็นเลี้ยงอาหารญี่ปุ่นมื้อนึงละกัน..ฮิฮิ
   

.แผ่นจะเสื่อมรึไม่เสื่อมสาเหตใหญ่มาจากการจัดเก็บแผ่นที่ท่านจะต้องเก็บแผ่นดีวีดีไว้ในตู้เก็บที่ปิดมิดชิดและมีความชื้นต่ำ อย่างที่อธิบายไปข้างต้น รวมทั้งแผ่นที่ใช้ต้องมีคุณภาพดีระดับเกรด A อย่าง ไตโยยูเดน , เวอร์บาทิม , แม๊กเซล. เป็นต้น แต่ถ้าใช้แผ่นยี่ห้อ Printco (ที่ขายดีเพราะราคาถูกแถมยังทะลึ่งมีโรงงานอื่นปลอมยี่ห้อนี้มาขายแข่ง..จากเดิมที่คุณภาพแผ่นแค่พอใช้ ก็เลยอีรุงตุงนังเป็นบรมห่วยเกรด Zไปเลย).ถ้ายังเข้าใจไม่พอให้กลับไปอ่านทบทวนอีกทีเจ้าปวีณ
          ส่วนเครื่อง DVDWRITER นั้นทำหน้าที่.อ่าน.(Read)"และ..เขียน(write)หลุมข้อมูล(pitch)ที่มีขนาดเล็กมากๆบนแผ่นดีวีดี  โดยมีระยะห่างระหว่างแต่ละหลุมเก็บข้อมูล(Track pitch)อยู่ที่ 0.74 ไมครอน ถ้าเป็นของแผ่นซีดีจะอยู่ที่ 1.6 ไมครอน การอ่านแผ่นจะรวดเร็วทันอกทันใจ หรืองุ่มง่ามเชื่องช้าปัญญาอ่อน ในแต่ละยี่ห้อนั้นขึ้นอยู่กับ chip ที่แต่ละบริษัทนำมาใช้งาน โดย chip ส่วนใหญ่ที่หลายๆบริษัทใช้มักจะเป็นของ panasonic หรือไม่ก็ philips (บริษัทที่คิดค้นดีวีดีออกมาจนแพร่หลายไปทั้งโลก และก็เสวยสุขฟันเงินค่าต๋งค่าลิขสิทธิ์จากทุกบริษัทที่ผลิตดีวีดีออกมาขายเป็นที่เปรมอุรา) ในขณะที่ chipของเจ้าอื่นอย่างของ NEC ยังมีปัญหาการอ่านแผ่นอยู่บ้าง สำหรับการที่จะทำยังไงถึงจะรู้ว่าเครื่องไรท์ที่เราใช้อยู่นั้นเป็นของเจ้าไหน และมีประสิทธิผลในการอ่านแผ่นดีแค่ไหน จะต้องใช้โปรแกรมอะไรตรวจสอบ นิมนต์ผู้ที่กังขาทั้งหลาย กลับไปอ่านข้อมูลของแผ่นไตโยยูเดน ที่ผมทำลิ้งไว้ให้กดเข้าไปอ่านกันข้างต้น ที่มีรายละเอียดเรื่องนี้ด้วยกันอีกรอบจะกระจ่างเอง..เหอ.เหอ
       
ตัวแปรอีกตัวที่มีผลต่อการอ่านและไรท์แผ่น กรณีที่อ่านแผ่นแล้วตอยสนองช้ามากๆจนบางทีเครื่องแฮงค์ไปเลยก็คือ firmware ที่บางยี่ห้ออาจต้องมีการ update firmware กันใหม่อีกรอบถึงจะเวิร์ค...อย่างนี้ก็มี
        ส่วนคำถามที่ถามมาเรื่องการไรท์แผ่นช้าหรือเร็วจะมีผลมั๊ยต่อการเสื่อม รวมทั้งแผ่นจะไหม้เกรียมเป็นข้าวเกรียบรึป่าวนั้น ก็อย่างที่เจ้ากาละมังโหน่ง(เรียกจานโหน่งเล็กไปว่ะ..ฮ่าฮ่า)มานว่าไว้น่านแหละ ขืนเป็นอย่างที่ถามนะ..ฮิฮิ..ป่านนี้หน่วยดับเพลิงเป็นลมรับประทานไปทั้งประเทศแย้ว..เพราะไฟไหม้วายวอด.ฮ่าฮ่า
         การเขียนสปีดต่ำสำหรับดีวีดีมีข้อเสียเพียงอย่างเดียวคือ ช้า..โค..ตะ..ระ..ไม่เหมาะสำหรับ วัยสะรุ่นอย่างเฮียแอ๊ด(ขออนุญาตพาดพิงหน่อยนะ..อิอิ)ข้อดีคือ ความเสถียรของการยิงแสงเลเซอร์สีแดงในการทำเป็นหลุมข้อมูลบันทึกลงบนแผ่นนั้น จะทำให้ไม่เกิดการกระตุก เมื่อนำแผ่นที่เขียนด้วยสปีดต่ำนี้ไปเล่นกลับ (ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลสำหรับการอ่านแผ่นดีวีดี เท่ากับ 1350 กิโลไบต์ต่อวินาที)
         การเขียนแผ่นด้วยสปีดสูงจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการยิงแสงเลเซอร์ในการสร้างหลุมข้อมูลบนแผ่นดีวีดีที่กำลังจะเขียน ผลที่ได้จะทำให้หลุมข้อมูลบนแผ่นเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากข้อมูลที่เครื่องได้รับ เวลานำไปเล่นกลับก็จะมีปัญหาเล่นได้มั่งไม่เล่นมั่งคุ้มดีคุ้มร้าย เล่นเครื่องเราเล่นได้ไปเปิดเครื่องคนอื่นดันเล่นไม่ได้ หรือบางทีเล่นไม่ได้ตั้งแต่แรกไปเลย(เพราะมุมองศาของหลุมข้อมูลกับหัวยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านไม่ตรงกัน) อย่างนี้เป็นต้น ..เหอ.เหอ..มันถามสั้นจุ๋นจู๋..แต่คนตอบพิมพ์มือแทบหงิก.เลยว๊อย.!!.เจ้าปวีณ.!!


บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว : 2526 ครั้ง

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117965751 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,