Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ขอถามเรื่องเสียงในฟิล์มหน่อยครับ.. 23/7/2554 18:37
-การเอาฟิล์มเข้ารีลครับ.. 16/5/2554 14:11
-ขอข้อมูลเรื่อง film 35 mm.. 15/5/2554 16:18
-หลักการกรอฟิล์มที่ถูกต้อง.. 1/5/2554 13:04
-+ + ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน.. 17/4/2554 19:48
-ฟิล์มอายุสั้น.. 12/4/2554 15:12
-ถามเรื่องฟิล์มบิดงอครับ.. 3/4/2554 6:36
-การเก็บฟิมล์ที่ดีและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรทำไงครับ .. 31/3/2554 14:03
- ผ่าง....ผ่าง...หนังชอว์ บราเดอร ของแท้ ดั้งเดิม มาแล้วจ้า.. 28/3/2554 10:47
-เกี่ยวกับเส้นเสียงบนแผ่นฟิล์ม.. 28/3/2554 10:17
-การตอกชับไทยในfilmหนังทำอย่างไร .. 28/3/2554 10:12
-เรื่องของฟิล์มครับ จาก POP FILM.. 28/3/2554 9:55
-ทดสอบ ฟิลม์ คู่กรรม เวอร์ชั่น ป๋าเบิร์ด.. 29/11/2553 14:58
-การเช็ดทำความสะอาดฟิล์ม.. 7/11/2553 15:33
-รำลึกความหลังด้วย (คลิป) ภาพยนตร์ตัวอย่าง และโฆษณาที่หาดูได้ยาก ตอนที่ 4.. 30/8/2553 12:52
-ฟิล์มหนังตัวอย่าง โคคูน 2 และภาพยนตร์โฆษณา.. 22/8/2553 18:34
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 167

ขอข้อมูลเรื่อง film 35 mm


ฟิล์ม 35 มม แบบตัดซีน กับแบบสโคป มันเป็นยังงั้ยครับ รบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ

ความเห็น

[1]


พอดียังหาภาพประกอบไม่ได้ อดใจรอนิดนึงนะครับ



ปอลอ หรือถ้าใครว่างๆ ช่วยมาตัดหน้าผมที อิอิอิ



เข้ามาช่วยขยายความกระจ่าง ระหว่างฟิล์ม 35 มม. แบบตัดซีนดังนี้ เพราะจำได้ว่าเคยมีรายละเอียดย่อยเกี่ยวกับรูปแบบที่เรียกว่า Hard Matted หรืออะไรสักอย่างนี่แหละ

โปรดดูรูปฟิล์มตัวอย่างประกอบ (ที่น่าสังเกตบนฟิล์มตัวอย่างเรื่อง เมล์นรก หมวยยกล้อ เห็นไมค์บูมโผล่มาด้วย สงสัยจะบันทึกเสียงผายลมด้วยมั้ง)

ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้มีฟิล์มตัวอย่างซึ่งตัวหนังจริงเป็นแบบสโคป แต่พอไปปรับเป็นตัดซีนภาพเลยออกมาเหมือนตัวอย่างหนังเรื่อง สบายดีหลวงพะบาง ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ


+
+
+
+


35 มม. แบบสโคป
+
+






       ลองสังเกตุดู  ฟิล์มตัดซีน จะมีขนาดของเฟรมภาพแตกต่างกัน ลองดูรูปตาหม่ำ น่าจะเรื่อง "เฉิ่ม" ใช่หรือเปล่าครับครู  ซึ่งเฟรมจะเต็มพอดี  รองลงมาก็ หมวยยกล้อ แทบดำจะหนาออกมาหน่อย ส่วนภาพฟิล์มตัดซีนสองภาพล่าง แทบดำก็จะหนามาก (รูปน้องพีค) สัดส่วนของเฟรมจะออกเป็น wind screen   ซึ่งตัวอย่างหนังฝรั่งมักจะใช้สัดส่วนนี้เป็นส่วนใหญ่  ก็ยังรู้สึกงงอยู่เหมือนกันว่า ทำไมสัดส่วนของเฟรมมันถึงแตกต่างกัน ของแต่ละค่าย ถ้าฉายหนังตัวอย่าง 4 เรื่องนี้ต่อกัน  อย่างนี้เวลาฉายน่าจะต้องใช้ประตูชักสถานเดียว ใช่หรือเปล่า ไม่แน่ใจ  อันนี้ต้องให้เทพทั้งหลายมาชี้แจงเกี่ยวกับเทคนิคการฉายตัดซีน....

         ส่วนฟิล์มสโคป ไม่ต้องสับสนอะไรมาก เพราะขนาดของเฟรมจะเท่ากัน (สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสีดำขั้นระหว่างเฟรมเท่ากันหมด) .....












เท่าที่เคยสังเกตเมื่องาน MEETING THAICINE เมื่อวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา (คืนที่ท่าน POPEYE โทรไปปลุกผมตอนอยู่บนรถไฟไง)

 

ผมไม่แน่ใจว่า หนังตัดซีน ในอัตราส่วน 1.85 แบบตัวอย่างเรื่อง เฉิ่ม หรือ เมล์นรก ฯ นั้น เคยได้ยินมาว่า ตอนพิมพ์ฟิล์มที่เป็นตัวหนังเรื่อง บางช่วงบางตอนจึงมีทั้ง HARD MATTED  บางตอนปล่อยโล่งจนเห็นไมค์บูมโผล่ ที่หนักกว่านั้นก็คือ เห็นรางดอลลี่ เช่นหนังเรื่อง นานาช่า ซึ่งมีกรณีนี้ให้เห็น ถ้าฉายด้วยเลนส์ในธรรมดา แต่ถ้าเป็นประตู / เลนส์ตัดซีน ซึ่งจะบังสิ่งเหล่านี้ไว้หมด ยังไงก็ไม่เห็นครับ

 

ทีนี้มันจะมีอีกประเภทหนึ่ง เหมือนภาพฟิล์มเรื่อง สบายดีหลวงพะบาง ซึ่งตัวหนังเรื่องเป็นสโคป แต่ตัวฟิล์มตัวอย่างเป็นตัดซีน แถมขอบก็หนาขึ้นด้วย เวลาฉายด้วยเลนส์ตัดซีน อาจเห็นขอบดำโผล่บนจอทั้งบนและล่างเพียงเล็กน้อย อีกอย่างหนึ่งตัวอย่างหนังที่เป็นหนังฮอลลีวู้ดที่เป็นหนังตึก เช่น STAR TREK, INDIANA JONES 4 หรือหนังตัวอย่างของสหมงคล ฯ อย่างเรื่อง ยัยนี่น่ารักจัง จะเป็นแบบนี้ทั้งนั้น

 

เคยเห็นในเว็บอีเบย์ ก็มีฟิล์มตัวอย่างหนังตึกเหล่านี้ขายด้วย เท่าที่ดู ส่วนใหญ่เป็นระบบสโคปตามต้นฉบับครับ แต่เห็นราคา (ทั้งประมูลหรือขายขาดยกล็อต) รวมทั้งภาษีนำเข้าแล้ว ไม่คุ้มครับ ราคาระดับนี้ซื้อตัวอย่างหนังได้หลายเรื่องเลย

 

นอกจากนี้ก็ยังมีหนังตัดซีน ในอัตราส่วน 1.85 ซึ่งตอนตัดตัวอย่างออกมาฉายใช้แบบตัดซีน ตัวหนังเรื่องไปขยายสัดส่วนภาพจนเป็นระบบสโคป และพอตอนจะออกแผ่นก็กลับไปใช้อัตราส่วน 1.85 เหมือนเดิม เช่น ม. 3 ปี 4

 

(ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ รอคนช่วยชี้แนะอีกที)



  มันมีมาตรฐานของสัดส่วนภาพ ( Aspectratio) กับ รูปแบบของการพิมพ์ฟิล์ม
  มาตรฐานของสัดส่วนภาพที่พบบ่อยๆ ก็จะมี Anamorphic (2.35:1), Letterbox (16:9) , WideScreen (1.85:1)
  ส่วนรูปแบบของการพิมพ์ฟิล์ม ก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบ แฟลท ( Flat) และแบบ สโคป ( Cinemascope)
  สำฟิล์มที่พิพม์มาแบบแฟลท ภาพจะไม่มีการบีบในแนวนอน (รูปซ้าย) ตอนฉายก็ไม่ต้องใช้เลนส์สโคปช่วย เพียงแค่ใช้เลนส์ฉายที่มีความยาวโฟกัสสั้นลงกว่าเดิมเพื่อขยายภาพให้เต็มจอเท่านั้น สำหรับฟิล์มที่พิมพ์มาเต็มเฟรมหากใช้ประตูมาตรฐาน จะต้องหาอะไรมาบังที่ประตูฟิล์มเพื่อไม่ให้ภาพล้นจอ การทำแบบนี้เรียกว่า soft matt  แต่บางทีแลปก็จะทำขั้นตอนนี้ให้ตั้งแต่ขั้นตอนการพิมพ์ ฟิล์มแบบนี้เลยเห็นเป็นแถบสีดำ ด้่านบนและล่าง แบบนี้เรียกว่า hard matt ขั้นตอนการฉาย จะบังประตูหรือไม่บังประตูก็ได้ พวกตัวอย่างหนังส่วนมากจะพิมพ์มาแบบนี้ครับ   หนังเรื่องแรกที่มีการถ่ายเต็มเฟรมแล้วทำ soft matt ตอนฉายคือเรื่อง Shane ครับ  ต่อมาจึงมีการทำประตูฟิล์มให้ถอดเปลี่ยนได้สะดวก เราก็มักจะเรียกประตูสำหรับทำ soft matt ว่าประตูตัดซีน  รวมถึงเรียกเลนส์สำหรับฉายว่าเลนส์ตัดซีน

 ฟิล์มที่พิมพ์มาแบบสโคป จะบีบภาพในแนวนอน (รูปขวา) ขอไม่อธิบายนะครับเพราะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี



อธิบายกันหมดใส้หมดพุงแล้ว ผมเก๊าะเลยลอยตัว สบายไป อิอิอิ


ชัดเจนขึ้นเยอะเลยครับ เวลาคุยกับพี่ๆที่เล่น 35 จะได้เข้าใจว่าสโคปกับตัดซีนคืออะไร ที่ผ่านมาก็เล่น 8 กับ 16 อย่างเดียวครับ


ลืมไปครับ พอดีอ่านของคุณอนุกูลที่ว่าถ้าประมูลหรือซื้อจาก ebay หรือนำเข้ามาต้องเสียภาษีด้วยหรือครับ ถ้าเป็น 8 กับ 16 จะเสียภาษีมั้ยครับ


พอดีมีตารางอัตราอากรตาม พรก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ก็เลยขอสรุปแบบย่อ ๆ ละกัน

 

* กรณีเป็นฟิล์มบันทึกเหตุการณ์ (ประเภทหนังบ้าน ถ่ายกันเองในครอบครัวหรือญาติมิตร หรือเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์สารคดีซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรผลิตขึ้นมา) และภาพยนตร์สารคดี ไม่ต้องเสียอากร

 

* ภาพยนตร์เรื่อง หรือหนังตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดสั้น ขนาดยาว ทั้งฟิล์มขนาดเล็ก และฟิล์ม 35 มม. กรณีนี้เสียภาษีแน่นอนครับ เมตรละ 30 บาท

 

ที่กล่าวนี้ ยังไม่เคยสั่งซื้อครับ อันนี้ว่าตามระเบียบเท่านั้น เพราะจากการคำนวณราคาแล้ว เป็นจำนวนเงินสูงทีเดียว ก็เลยไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่ นอกจากว่าจะมีสมาชิกที่เคยสั่งซื้อฟิล์มจากอีเบย์อยู่ก่อนแล้ว และมีความยินดีที่จะรับสั่งซื้อ อันนั้นก็ว่าไปอย่าง เพราะถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายให้เค้า + ทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่แล้ว

 

แต่ที่น่ากลัวก็คือ ช่วงผ่านด่านศุลกากรบ้านเรานี่แหละ ถ้าโชคดีก็รอดตัวไป ถ้าโชคร้ายฟิล์มถูกยึดปลายทาง งานนี้อดดูแถมสูญเงินฟรี ๆ ด้วย




       ไม่ต้องพูดถึง ระบบราชการไทย.........


        ขอบคุณท่านอาจารย์นุ  และท่านประธานด้วยครับ  ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับข้อมูลดังกล่าว




สาเหตุที่แลปพิมพ์ตัวอย่างหรือหนังทั้งเรื่องมาแบบไม่สควีซบีบภาพ ที่ต้องฉายด้วยเลนสโคป 
เพราะจะได้ความคมชัดที่เหมือนเดิม  ไม่เสียไปกับเลนส์ฉายสโคป  แต่ที่แลปพิมพ์มาโดยใส่ประตู 1.85:1 บ้าง ไม่ใส่บ้าง 
ก็แล้วแต่สไตล์ของเจ้าหน้าที่แลปแต่ละคน  หรือขึ้นอยู่กับความต้องการของโฟสโปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนั้นๆครับ  
ที่เห็นมีไมค์บูมโผ่ลมาในส่วนบนของเฟรม  ก็เพราะตอนถ่าย เค้าใส่ประตูแบบ Full Gate ครับ
คือเต็มเฟรม 4:3 แต่  กราวน์กลาสของช่องมองภาพในกล้อง  เค้าจะใช้แบบมีกรอบเฟรม Wide Screen 1.85:1
ให้ตากล้อง และผู้กำกับดูเฟรมครับ  ซึ่งไมค์บูม  จะไม่เลยเข้ามาในกรอบนี้แน่นอน 
ซึ่งตัวหนังจริงทางแลปก็จะพิมพ์ฟิล์มฉายให้พอดีกรอบที่ตากล้องเห็นครับ  
ยกเว้นผู้สร้างบางค่ายงบน้อย   จะพิมพ์แบบเดิมๆจากกล้องเลย จึงเห็นว่าจะติดไมค์บูมเข้ามาด้วย   
การพิมพ์แบบใช้ประตู กับประหยัดไม่ใช้ประตู  เวลาฉายจึงไม่ต้องใช้เลนสโคปครับ 
แต่ต้องเปลี่ยนเลนส์ให้เป็นเลนส์ที่ทางยาวโฟกัสสั้นลง  ภาพที่ฉายไปจะได้ใหญ่ขึ้นเต็มจอ 
แต่ส่วนบนล่างจะล้นจอไป ก็อยู่ที่คนฉายว่าจะเอาประตูฟิล์ม ไวด์ มาใส่บังมั้ย

 

 

แต่บางค่ายก็พิมพ์มาแบบโบลอัพสควีซเลย เวลาฉายก็ต้องใช้เลนส์สโคปไงครับ





ข้างล่างนี้เป็นฟุตเตจเดิมๆจากกล้อง ที่ถ่ายมาแบบ FULL GATE  เต็มประตู  จากเรื่อง ผีชีวะ 2   จะเห็นว่าติดไมค์บูมมาด้วย  จะเห็นว่าบางช๊อท คนตัดต่อจะครอปเลื่อนบนล่าง  และหมุ่นเฟรมในบางช็อท ซึ่งเป็นประโยชน์ของการถ่ายมาแบบเต็มประตู มันจะสะดวกต่อการแก้ไของค์ประกอบภาพที่ไม่สวยในบางช๊อท        ส่วนตัวหนังจริงนั้น  จะถูกครอปตัดบนล่างทิ้งไปในแลป เป็นสัดส่วน  2.21:1   

http://www.youtube.com/watch?v=BVniGdjMQmc






ตัดซีน ในงานโพส  ก็คือ การ ครอป ตัดส่วน จัดองค์ประกอบขนาดเฟรมใหม่นั่นเอง


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 14

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117957652 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,