โหดเพื่อชาติ 'โค้ชอ๊อด' เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร
โดย : ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
คุยข้างสนามกับ "ยักษ์ใหญ่ ไล่ดุเด็ก" ที่เคี่ยวเข็ญจนวอลเลย์หญิงทีมชาติไทยทำผลงานท็อปฟอร์ม ...ต้องยอมให้โค้ชโหดคนนี้จริงๆ
วันนี้ "โค้ชอ๊อด" เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร พานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เหินฟ้าไปไต้หวันเพื่อป้องกันแชมป์ วอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย เรียบร้อยแล้ว
ก่อนไป โค้ชร่างใหญ่ วัย 45 บอกว่า ไปแข่งเพื่อป้องกันแชมป์ ยากกว่าแข่งเพื่อชิงแชมป์
ก่อน หน้านั้นอีก ในวันพักผ่อนสบายๆ ปลอดการซ้อม โค้ชอ๊อดเจ้าของส่วนสูง 195 เซ็นติเมตร กลับยุ่งขิงกับการให้สัมภาษณ์ ทั้งแบบเดินสายและมีไมค์มาเกยถึงที่
ระหว่างซ้อมกับออกสื่อ เขาบอกว่า เหนื่อยทั้งคู่ แต่ก็เข้าใจดี เพราะนี่ไม่ใช่ "คิวทอง" ครั้งแรกของเขา ไม่ว่าจะในฐานะอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย หรือ โค้ชวอลเลย์บอลหญิงที่มีแฟนๆ ติดตามมากมาย
คิวแน่นมากที่สุด แค่ไหน?
"ไม่มากเท่าไหร่หรอกครับ ก็แค่เต็มวัน ไปจนถึง 4-5 ทุ่ม" รอยยิ้มผุดขึ้นในใบหน้าโค้ชโหด (ในวงการลูกยางเขาว่ากัน)
แต่ที่ข้อมือ โค้ชโหด เสียงดัง ร่างใหญ่ คนนี้ มีสร้อยประคำติดไว้ตลอดเวลา ว่างๆ ก็ท่องพุทโธ ธัมโม สังโฆ ผ่านประคำทีละลูก
ประคำทั้ง 12 ลูกที่ร้อยไว้ในเส้นเดียวกันนั้น นอกจากจะช่วยทำสมาธิแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนบางอย่าง
เขาให้ทาย...พร้อมอมยิ้มเตรียมเฉลย
"นักกีฬาทั้ง 12 คนของผมครับ"
ทราบว่าคุณพ่อก็เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอล
ครับ เป็นตัวจังหวัด สูง 185 ซม. คุณแม่ก็เป็นนักวิ่งโรงเรียน(หัวเราะ) บ้านผมชอบกีฬา
ผม เห็นคุณพ่อเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ตามไปดูแข่งกีฬาแห่งชาติ กีฬาจังหวัด อีกอย่างผมโตมาในค่ายทหาร จ.นครราชสีมา ในนั้นมีสนามกีฬาเยอะมาก แทบทุกกองพันจะมีสนามวอลเลย์บอลอยู่ด้วย เสาร์-อาทิตย์ ก็จะเห็นรุ่นพี่ๆ ทีมชาติ กลับมาซ้อม เราไปดู พี่เค้าเล่นเก่ง เลยเริ่มสนใจมากขึ้น
แต่มาเอาจริงตอนอายุ 15 คุณพ่อเทรนให้ ตื่นตีห้า วิ่งเช้าเย็น รอบค่ายทหารเป็นสิบกิโล ตอนนั้นคิดอยากจะเก่ง คิดอยากติดทีมชาติแล้ว
เสน่ห์วอลเลย์บอลอยู่ตรงไหน
เกม มันสนุกครับ เร้าใจ ตีไปตีมา สองคือ ผมเรียนรู้เร็วกว่าคนอื่น อาจจะเป็นเพราะสายเลือดก็ได้ (ยิ้ม) ที่เหลือเราก็ฝึกความแข็งแรง เล่นเวท ฟิตเนส สมัยนั้นคุณพ่อฝึกให้กระโดดตียอดกล้วย ยอดไม้
มุ่งมั่น อยู่ 2 ปี อายุ 17 เขาเปิดคัดตัวทีมชาติ พ่อก็พาไป ก็ติด ผมอายุน้อยที่สุด ยังเรียนไม่จบมัธยมปลายเลย ได้เป็นผู้เล่นสำรองเพราะเด็กมาก แล้วก็ถูกส่งไปฝึกที่จีน 1 เดือน ไปอยู่ตำบลไทซาน มณฑลกวางเจา ที่นี่เขามีชื่อเสียงด้านวอลเลย์ เล่นกีฬากันทั้งตำบล ได้แชมป์ระดับประเทศ
ผม ไปกินนอนซ้อม ซ้อมหนักมาก เล่นเวททีละร้อยๆ กิโล ตอนนั้นถือเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้เรารู้ว่า คนที่เล่นเก่ง เค้าต้องฝึกซ้อม นักกีฬาก็ทำเป็นอาชีพเพราะรัฐบาลเขาสนับสนุน
หลังจากกลับมา ก็ไปเข้าไปอยู่สโมสรทหารอากาศ แล้วก็เอนทรานซ์เข้า คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาพลศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ได้ ตอนนั้นได้เล่นเป็นตัวจริงแล้ว แล้วทีมวอลเลย์ชายก็คว้าเหรียญทองซีเกมส์เป็นครั้งแรกด้วย วอลเลย์หญิงก็ได้เข้าชิงแต่ยังไม่ได้แชมป์
เพดานสูงสุดที่มองตอนนั้น ไปไกลแค่ไหน
ตอน นั้นทีมวอลเลย์บอลของเรามีศักยภาพแค่เป็นแชมป์ซีเกมส์ เราไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่น จีน เกาหลีได้ เพราะสมัยนั้นทีมเหล่านี้ติดท็อปเทนของโลก การศึกษา การบริหารจัดการ การฝึกซ้อม เค้าดีกว่าเราเยอะมาก เรามีงบประมาณน้อย ไม่มีเวลาเตรียมตัว
ตอนนั้นมีเบี้ยเลี้ยงไหม
แรกๆ ไม่มี เพิ่งมามีตอน พ.ศ.2528 ได้วันละ 100 บาท ก็กินไป 120 ติดลบครับ (ยิ้ม) เราไม่ได้เงินอะไรจากการเป็นนักกีฬา เงินพวกนี้ก็เอามากินอาหาร จ่ายค่าที่พัก ตอนนั้นสมาคมไม่มีเงิน เพราะยังไม่เก่งมาก สปอนเซอร์ก็ไม่ได้สนับสนุนมาก ค่อนข้างลำบาก ทุกคนมาทำในฐานะสมัครเล่น
ทำไมถึงสนใจการเป็นโค้ช
เพราะ ตอนนั้นเรียนพลศึกษา แล้วเรียนครู แล้วเรียนทางด้าน coaching ด้วย เราก็สงสัยว่าทำไมโค้ชสอนเราอย่างนี้ อย่างนั้น และเราตั้งใจจะเรียนด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย ช่วงปี 1 ก็มีคนมาชวนให้ไปสอบนายร้อย แต่เราไม่เอา เลือกอันนี้แล้ว ไม่เปลี่ยนแล้ว
ตอนที่เลือกคณะนี้ ตั้งเป้าไหมว่าอยากเป็นอะไร
ไม่ ครับ ตอนนั้นแค่อยากเล่นกีฬา เรียนพละเพื่อจะได้เล่นกีฬาอย่างเต็มที่ คิดว่าอนาคตคงเป็นครู และอาจจะเรียนไมเนอร์อื่นๆ สำรอง ตอนนั้นผมเลือกหลายอย่าง ทั้งจิตวิทยาการศึกษา ภาษา การสอนระดับประถม เหมาะกับการเป็นโค้ชหมดเลย (ยิ้ม)
พอเรียนจบก็เล่นให้ทีมชาติ และสโมสรทหารอากาศมาเรื่อยๆ พอปี 40 ตัดสินใจเลิกเล่นทีมชาติเพราะร่างกายไม่ไหว เล่นจนกระดูกหัวเข่าแตก เพราะเป็นตัวตบต้องกระโดดเยอะ ประกอบกับสมาคมมีโปรเจคท์ทำทีมยุวชนหญิง National team 2001 แล้วขอให้ผมมาทำ สร้างยุวชนเพื่อให้เป็นทีมชาติในอีก 4 ปีข้างหน้า เลยตัดสินใจลองดูสักตั้ง
จากนั้น สมาคมฯ เลยส่งผมไปเรียนหลักสูตรผู้ฝึกสอนที่สเปน กลับมาก็ทำทีมเลย
หัวใจสำคัญของการเป็นผู้ฝึกสอนคืออะไร
เรื่อง การทำทีมชาติว่า มีอะไรบ้าง ง่ายๆ คือ 6 T ได้แก่ Theory รู้ทฤษฎี หลักการของการเป็นโค้ช Teaching การสอน รู้กระบวนการการถ่ายทอดความรู้ให้นักกีฬาและการวางแผนการสอน Training กระบวนการในการสอน การฝึกซ้อม Technique กลเม็ดเคล็ดลับ เช่น เราจะสอนตัวเซ็ตอย่างไรให้เก่ง Tactic ในการแข่งขันเราจะเอาชนะคู่แข่งขันอย่างไร และ Teamwork การทำงานเป็นทีม
นอก จากนี้เรายังเรียนรู้เรื่องการวางแผนทั้ง Internal และ External เช่น Internal เราทำ weakness ให้ strength อย่างไร นักกีฬาเรายังทำ skill ไม่ดี เสิร์ฟ หรือตบไม่ดี ร่างกายยังไม่แข็งแรง เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้เขาแกร่งขึ้นมาให้ได้
ส่วน External ต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม สนับสนุน Internal เช่น นักกีฬา ไม่มีเวลาฝึกซ้อม ต้องไปเรียน ต้องกลับบ้าน ผู้ปกครองไม่สนับสนุน เงินทุนไม่พอ เราก็ต้องเข้าใจและส่งแนวความคิด วิธีการให้ผู้บริหารช่วยสนับสนุนแก้ไข
ผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องเล่นกีฬาชนิดนั้นๆ เก่งหรือไม่ โดยเฉพาะวอลเลย์บอล
ผม ว่าไม่จำเป็นต้องเล่นเก่งแต่ให้รู้ว่าจะสอนเทคนิคเค้าอย่างไร ทุกอย่างเรียนรู้กันได้ ใน 6 T แต่ Technique บางครั้งโค้ชต้องเข้าใจ เช่น สอนให้เสิร์ฟให้ข้ามสนาม โค้ชหลายคนสอนได้ แต่จะเสิร์ฟยังไงให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในระดับโลก
จะเห็นว่าโค้ชที่ประสบความสำเร็จในโลก ส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาดังๆ มาก่อน เพราะเขาจะเข้าใจในเทคนิคและแทคติกมาก นี่เป็นหัวใจสำคัญ
การที่เป็นนักกีฬาชายแล้วมาคุมทีมหญิง มีความยากง่าย หรือท้าทายอย่างไร
ตอน นั้นผมอายุ 30 มาคุมเด็กอายุ 16-17 ธรรมชาติก็มีความต่างกันพอสมควร ผู้ชายออกห้าวๆ ผู้หญิงเค้าก็มีความละเอียดอ่อน เป็นเด็กด้วย ช่วงนั้นเค้ายังอ่อนไหว อ่อนแอ พอสมควร แต่เราเข้าใจ เพราะเราเรียนโค้ชมาและเราเรียนวิชาชีพครูมา จิตวิทยาพัฒนาการของเด็กที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัยช่วยได้มาก
ดุ โหด ได้ไหม
ได้ครับ ผู้หญิงเนี่ยสู้มากกว่าผู้ชายด้วยในบางครั้ง เวลาที่เค้าสู้ก็น่ากลัวเหมือนกัน
ความเป็นผู้ชายของโค้ช กับการฝึกสอนผู้หญิง มีช่องว่างบ้างหรือไม่
แรกๆ เราต้องวางตัวหน่อย ผมจะไม่ไปถูกเนื้อต้องตัวนักกีฬา แต่จะพูดคุยกันเป็นอาจารย์-ลูกศิษย์ ผมไม่ให้เค้าเรียกเราว่าพี่ จะเป็นครูเป็นอาจารย์กัน
เพราะอะไรถึงแบ่งชัดเจนอย่างนั้น ขณะที่ครูบางคนสร้างความสนิทสนมโดยเรียกแทนตัวเองว่าพี่
ไม่ ได้ครับ (ตอบทันที) เพราะความเคารพมันจะต่างกัน ถ้าเป็นพี่ก็จะมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ในทางปฏิบัติผมเป็นอาจารย์เค้า ไม่ใช่พี่เค้า เพราะผมต้องสอนทุกอย่าง
คือ บทบาทของโค้ชเป็นหลายอย่าง เป็นครู เพื่อนในบางโอกาส เวลาที่เค้ามาเล่นด้วย เราเล่นได้ แต่ให้อยู่ในขอบเขต เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา ฯลฯ
ช่องว่างเราพยายามทำให้มีน้อยที่สุด แต่ถ้ามันเกิด เช่น ความไม่เข้าใจกัน เพราะวัย เราก็จะมีผู้ช่วยโค้ชคอยช่วย เพราะบางอย่างเค้าไม่สามารถมาคุยกับเราได้ เราก็จะมีผู้หญิงมาช่วย
ตอนผมไปอยู่ยะลา 4 ปี (ฝึกทีมยุวชนหญิง)ผมมีทันตแพทย์หญิงมาช่วยดูแล ยา สุขภาพ ของเด็ก ผมมีจิตแพทย์ ผมเอาตำรา sport science วิทยาศาสตร์การกีฬาไปให้เค้าดู ผมอยากให้จิตแพทย์ช่วยผมเรื่อง ความเครียด กดดัน วิตกกังวล เพราะเด็กๆ ต้องจากบ้านมาไกล อยู่กับเราตั้ง 4 ปี ผมต้องสร้างสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เค้าที่นั่น ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นหน้าที่ที่ผมต้องทำให้เค้า
ผมยังได้สถาบันการศึกษามาช่วยผม ดูแลเรื่องการศึกษา เค้าต้องมีเพื่อนที่โรงเรียนใหม่ ภาษาวัฒนธรรมก็ไม่เหมือนกัน ที่นั่นพูดยาวี เด็กผมมาจากอีสาน เหนือ ต้องปรับตัวพอสมควร และผมได้โรงพยาบาล แพทย์ออโธปีดิกท์ มาดูแลเรื่องการบาดเจ็บ สมัยนั้นเด็กๆ ต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้อนาถา
เพราะอะไร
เพราะ รักษาฟรี ตอนนั้นสมาคมไม่มีเงินจ่าย แต่ต้องไปทำกายภาพบำบัดทุกวัน เรื่องโภชนาการ เราได้สาธารณสุขจังหวัดมาดูแล คำนวณอาหารว่ากินไปกี่กิโลแคลอรี่ ไปดูซ้อมว่าวันนี้ต้องทานอะไรเพิ่มเติมบ้างเพื่อสร้างความแข็งแรง ส่วนผมจะดูเรื่องฟิตเนส สร้างร่างกายให้แข็งแรง ฝึกเทคนิคให้ดี ผมไปสร้างวิทยาศาสตร์การกีฬาที่นั่น โดยได้รับการช่วยเหลืออย่างดีจากนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน (สมพร ใช้บางยาง) ซึ่งเป็นรองผู้ว่าฯ ยะลาสมัยนั้น ที่พานักธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ มาเจอและให้การสนับสนุนเรา
มีวิธีคุมทีมหญิงอย่างไร
หลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทาง ตรงคือพูดกับเค้าตรงๆ แสดงให้เค้าเห็นตรงๆ ว่าเค้าทำไม่ถูก เราไม่พอใจนะ สิ่งที่เค้าทำไม่ถูกต้อง อาจจะมีการทำโทษบ้าง ถ้าไม่ตั้งใจซ้อม อ่อนแออาจจะต้องซ่อม
ซ่อมอย่างไร
เอา ใหม่ ทำใหม่ แล้วนักกีฬาจะกลัวมาก เพราะมันเหนื่อย ผมสั่งให้วิ่ง 2,000 เมตร ในเวลาไม่เกิน 9 นาที ผมต้องการ maximum power ถ้าไม่ผ่านคนเดียว เอาใหม่หมด
ผมบอกแล้ว ผมเป็นคนที่โหด แต่การทำอย่างนี้จะทำให้ทีมรักและสามัคคีกัน เค้าก็จะเกลียดผมทั้งทีม (ยิ้ม) ไม่ ใช่ผมไม่สน ไม่แคร์ รู้ว่าเค้าโมโห นิดๆ หน่อยๆ เดี๋ยวก็หาย หรืออาจจะโกรธสักพัก เดี๋ยวเค้าก็จะคิดได้เอง ว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ดีแล้ว
การเรียนโค้ชมาทำให้เราได้ รู้ว่าการใช้จิตวิทยากับนักกีฬา ทำได้หลายแบบ กีฬาประเภททีมบางอย่าง เพื่อให้เกิดความสามัคคี เค้าจำเป็นต้องยากลำบากด้วยกัน ทำงานด้วยกัน บางครั้งคนนี้ทำผ่าน ดีทุกอย่าง แต่จะมีคนที่อ่อนแออยู่คน เค้าจะต้องช่วยคนที่อ่อนแอให้ผ่านให้ได้
บางครั้งผมสอนเค้า เรื่องการทำงานเป็นทีม ทีมของผม จะแตกออกมาเป็น TEAM คือ Together, Everyone , Achieve และ More ทุกคนต้องช่วยกันมันถึงจะมีความก้าวหน้า มากกว่า ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างเป็น ดังนั้นการเล่นกีฬาเป็นทีมเราต้องรู้จักให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน
ความโหด จำเป็นหรือมีข้อดีอย่างไร
อาจจะมองว่าโหดนะ แต่มันเป็นการพัฒนาคุณภาพทางจิต ภาษาไทยอาจจะเรียกว่าโหด
เงื่อนไข หรือเวลาที่เรากำหนดให้ เขาจะต้องใช้ความพยายามสูงสุดในชีวิต ความสามารถสูงสุดที่เค้าจะทำได้ เค้าอาจจะโกรธโค้ชว่าทำเต็มที่แล้วยังไม่ผ่าน แต่ผมต้องการให้เค้าไปช่วยเพื่อนให้ผ่าน เอาพลังของความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือกัน ทุกอย่างเค้าจะต้องเอาชนะใจโค้ชให้ได้ และการเอาชนะใจผม เค้าจะต้องรักและสามัคคีกัน สองคือ จะต้องมีจิตวิญญาณของการต่อสู้มาก และ ต้องต่อสู้ด้วยกัน นี่คือสิ่งที่ทำให้นักกีฬาพัฒนาเรื่องคุณภาพทางจิต
ผม จะฝึกซ้อมให้นักกีฬามี คุณภาพ 4 ด้านคือ 1.ด้านร่างกาย เช่น ความแข็งแรง เร็ว ทนทาน 2.ด้านเทคนิค ต้องอยู่ในระดับโลก เช่น การเสิร์ฟ ตบ 3.คุณภาพทางจิต ต้องดี ไม่หวั่นไหวเวลาแข่งขัน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ทั้งมีความดุดัน ก้าวร้าวในการเล่น และกระตุ้นเพื่อนร่วมทีมให้เห็นว่าตัวเองมีจิตวิญญาณเรื่องการต่อสู้ที่แท้ จริง ไม่ทำเล่น เช่น การเล่นเวท ระหว่างเล่น ผมจะสอนให้เค้าคิดว่า เค้าต้องเก่ง ขณะที่ยกอยู่ ทีมคู่แข่งขันของเราก็ทำเหมือนกัน อาจจะทำมากกว่าเราด้วยซ้ำ
เมื่อเปรียบเทียบกัน เพราะอะไรทีมหญิงจึงดูโดดเด่นกว่าทีมชาย
หลาย ปัจจัย ทีมชายไม่ได้ซ้อมต่อเนื่อง เพราะนักกีฬาต้องเรียน รับราชการส่วนใหญ่เป็นทหารบก ทหารอากาศกัน สมาคมเองเขาก็อยากทำให้ต่อเนื่อง งบประมาณก็ไม่ค่อยมี และรูปร่างที่ค่อนข้างเสียเปรียบในเอเชีย
แต่นักกีฬาหญิง รูปร่างก็เสียเปรียบเหมือนกัน?
ครับ แต่ระบบวิธีการฝึกซ้อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ชัยชนะตอนเป็นนักกีฬา กับ ตอนเป็นโค้ช แตกต่างหรือเหมือนกัน
เหมือน กัน แต่ตอนโค้ช เรามีความอิ่มใจสุขใจที่ได้เห็นเพื่อนร่วมทีมทุกคนมีความสุข แฟนๆ ก็มีความสุข สตาฟโค้ชก็มีความสุข เพราะผมก็เคี่ยวกับเค้า บางทีตีหนึ่งตีสองยังต้องทำการบ้านที่ผมให้ไป ผมอาจจะบ้าเกินไปหรือเปล่า (ยิ้ม) แต่มันเป็นวิธีการทำงานของผม
ช่วงแข่งขัน เราต้องทำงานต่อเนื่อง เหนื่อยหน่อย เพราะทีมสตาฟผมต้องอยู่สนามทั้งวัน ต้องทำคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์เกมการแข่งขันทุกคู่ เพื่อเอามาศึกษาในตอนค่ำ เช่น วันรุ่งขึ้นเราแข่งกับเกาหลี ผมก็จะเลือกแมตช์ที่เกาหลีเล่นดีเอามาวิเคราะห์ เปรียบเทียบที่เคยเล่นกับเรา ดูจุดอ่อน จุดแข็ง และผู้เล่นกับเราพรุ่งนี้ ต้องเลือกมาศึกษาและสรุปมาพรีเซ็นต์ให้นักกีฬาฟังในวันรุ่งขึ้น เพื่อเตรียมไปฝึกซ้อมตามแผน บ่ายพักผ่อน เย็นแข่งขัน
กับสาวๆ โหดที่สุด แค่ไหน
จริงๆ ผมใจดีนะเวลาอยู่ข้างนอก แต่เวลาซ้อมมีบ้าง คือเราทำให้เค้ามีคุณภาพทางจิตที่สูง ผมเน้นว่าต้องดีมาก เวลาสอนนักกีฬา เราจะสอนให้เค้าใช้ความพยายามสูงสุดเพื่อให้เค้าเก่งกว่าในขั้นที่เค้าดี อยู่แล้ว ผมต้องการให้เค้าใช้ความสามารถให้มากกว่าความพยายามที่มีอยู่ เช่น เรื่องเทคนิคถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเอาใหม่ เราต้องสร้างให้เค้ามีความมั่นคงทางจิต และความมั่นคงด้านเทคนิค ใครเริ่มอ่อนแอจะโดนดุ บางทีก็แกล้ง เล่นดีอยู่แล้วก็บอกว่าเล่นไม่ดี แต่ไม่บ่อย เล่นดีก็ชม ผมจะชมอย่างจริงใจ ชมต่อหน้า ตะโกนเสียงดัง บางทีก็เดินไปชมแบบส่วนตัว หรือถ้าทำไม่ได้ ก็จะตะโกนว่า อีกนิดเดียวๆ พยายามหน่อย
เวลาฝึกซ้อม 2 ชั่วโมงครึ่ง นักกีฬาผมต้องมีสมาธิ ใจจดจ่อ ถ้าเหม่อลอย เล่นผิดพลาด จะกระทบคนอื่นหมด เพราะวอลเลย์บอลเล่นเป็นทีม ทุกคนจะมาทำเล่นไม่ได้ในการฝึกซ้อม แต่เล่นให้สนุกได้
เห็นได้ว่านักกีฬาผมมีทางออกหลายทาง เวลาแข่งขันเค้าจะยิ้มแย้มหัวเราะ แต่จริงๆ เครียดกัน (ยิ้ม) แต่ผมสอนเค้าให้รู้จักให้กำลังใจกัน
ความเป็นผู้หญิง กับกีฬาวอลเลย์บอล มีส่วนให้กีฬาวอลเลย์บอลดีขึ้นอย่างไร
กีฬา วอลเลย์บอลมีเสน่ห์มากขึ้นตรงผู้หญิงเล่น ตรงที่ หนึ่ง ผู้เล่นเป็นผู้หญิง ชุดแข่งขันทำให้นักกีฬาดูมีเสน่ห์ ทำให้เค้าดูสวย รูปร่างดี สอง ธรรมชาติของการแข่งขันวอลเลย์บอลมีการตีโต้กันไปมา ไม่เหมือนผู้ชายที่แรงมาก ตีตู้มหาย ดูไม่ทันเลยแต่มันมันส์ มันสะใจ แต่ผู้หญิงมีการตีโต้ไปมา กว่าจะสำเร็จ มันเป็นเสน่ห์สำหรับคนดู 1 พอยท์อาจจะ 7 วินาที หรือ 14 วินาที เราทำวิจัยกันมา เวลาเท่านี้มันบิวท์อารมณ์พอดี ได้ลุ้นนิดหน่อย นี่คือธรรมชาติการเล่นวอลเลย์บอลหญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแต้ม สำคัญๆ มันเบียดกันมาทีละนิด จนมาถึง 23 24 25 มันบีบคั้นหัวใจพอสมควร ฉะนั้นผมถึงมีการฝึกซ้อมที่เรียนว่า phychology skill training แปลเป็นไทยว่าการฝึกฝนทางจิต เราเพิ่มเงื่อนไขให้นักกีฬาเริ่มซ้อมที่ 23 เท่า เพื่อให้นักกีฬาเคยชิน กับแต้มที่สูสี แต่เงื่อนไขของผมจะยากขึ้นมาอีกนิดคือ ทีมเอห้ามแพ้ ถ้าแพ้เอาใหม่ ที่ 23 เท่า โดยให้ทีมบีเสิร์ฟก่อน แล้วทีมบีของผม ไม่ใช่ผู้หญิงนะ เป็นผู้ชาย
การ ที่เราเล่นกับรัสเซีย คิวบาได้ เพราะความเพียรพยายาม ถ้าเราเอาผู้หญิงมาตี มันไม่คณนามือเค้าแล้ว สบาย แล้วผู้ชายที่ผมเอามา เป็นอดีตทีมชาติ ตบบอลแรงและเร็วมาก
แล้วหัวจิตหัวใจของนักสู้ของนักกีฬาหญิง มีมากแค่ไหน
มี มาก ผู้หญิงเวลาสู้ สู้น่ากลัวนะ สุดใจขาดดิ้นเลย แต่บางทีก็ขาดสติ หลับหูหลับตาตี สู้ชิบหายเลย (หัวเราะ)จะตีให้ตาย ใจสู้ แต่ก็ต้องใช้สมองด้วย
ทีมเราตัวไม่สูง ในเวทีโลกเราเล็กกว่าเค้า สิ่งที่เอาชนะเค้าได้คือความแน่นอนในการเล่น ต้องมีความเร็ว ความคล่องตัวต้องสูง หลอกซ้ายหลอกขวา เทคนิคเหล่านี้นักกีฬาไม่ได้เก่งเอง ต้องฝึกฝน ต้องสร้างร่างกายให้แข็งแรงก่อน
โค้ชจะต้องเป็นคนที่เข้าใจผู้หญิงมากๆ ?
ก็น่าจะอย่างนั้นครับ (ยิ้ม)
การไปแข่งแบบมีชัยชนะพ่วงมาเยอะๆ กับการไปแข่งแบบไร้อันดับ อย่างไหนยากกว่ากัน
ขอบ คุณที่เป็นห่วงครับ เราเตรียมทีมกันอย่างเต็มที่ว่าเราจะไปป้องกันแชมป์ เรามีนักกีฬาบาดเจ็บ เราก็พยายามรักษาฟื้นฟู ทุกคนยอม ทุ่มเท นี่เป็นคุณค่าของการลงทุน
การที่เราจะได้แชมป์หรือไม่ได้ ชัยชนะไม่ได้สำคัญมากกว่าความพยายามที่ได้ชัยชนะ เราคิดว่าทีมเราได้พยายามอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ชัยชนะแต่เราก็รู้ว่ามันมีคุณค่าสำหรับเรา เพราะมันเป็นการลงทุนด้วยความตั้งใจ
ผมเข้าใจว่าบางช่วงเรา ผ่านเวลาที่ยากลำบาก นักกีฬาบาดเจ็บ เราแพ้ เราต้องการกำลังใจ เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ชนะก็ชนะด้วยกัน แพ้ก็แพ้ด้วยกันเพราะเราทำงานกันเป็นทีม
ชัยชนะต่างๆ หรือถ้วยรางวัลเราคงเก็บไว้ที่บ้าน แต่เราจะแบกความภาคภูมิใจ ความหวังไปครับ
นักกีฬาได้เรียนรู้อะไรจากโค้ชเยอะ ในทางกลับกันโค้ชได้เรียนรู้อะไรจากนักกีฬาบ้าง
ได้ เยอะเลยครับ ผมได้ความรัก ที่ผมสัมผัสได้ว่าเค้ารักผม เค้าห่วงใยผม พวกเรามีการเล่นบัดดี้ ให้ของขวัญกัน ในวันเกิดต่างๆ ก็มีเป่าเค้ก ชุดนี้เป็นเจเรชั่นที่ 4 แล้วย รุ่นที่รีไทร์ไปแล้วก็ยังโทรหา มากินข้าว ยังผูกพันกัน กีฬาประเภททีมมันเหนียวแน่นและยาวนาน
ชีวิตจริงผมไม่มีลูก มีพวกเขาเหมือนลูก ความสำเร็จของพวกเขา ก็คือความสุขของผม.



ที่มาของข้อมูล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110913/409038/โหดเพื่อชาติ---โค้ชอ๊อด-เกียรติพงษ์-รัชตเกรียงไกร.html
โดย : ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
คุยข้างสนามกับ "ยักษ์ใหญ่ ไล่ดุเด็ก" ที่เคี่ยวเข็ญจนวอลเลย์หญิงทีมชาติไทยทำผลงานท็อปฟอร์ม ...ต้องยอมให้โค้ชโหดคนนี้จริงๆ
วันนี้ "โค้ชอ๊อด" เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร พานักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เหินฟ้าไปไต้หวันเพื่อป้องกันแชมป์ วอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย เรียบร้อยแล้ว
ก่อนไป โค้ชร่างใหญ่ วัย 45 บอกว่า ไปแข่งเพื่อป้องกันแชมป์ ยากกว่าแข่งเพื่อชิงแชมป์
ก่อน หน้านั้นอีก ในวันพักผ่อนสบายๆ ปลอดการซ้อม โค้ชอ๊อดเจ้าของส่วนสูง 195 เซ็นติเมตร กลับยุ่งขิงกับการให้สัมภาษณ์ ทั้งแบบเดินสายและมีไมค์มาเกยถึงที่
ระหว่างซ้อมกับออกสื่อ เขาบอกว่า เหนื่อยทั้งคู่ แต่ก็เข้าใจดี เพราะนี่ไม่ใช่ "คิวทอง" ครั้งแรกของเขา ไม่ว่าจะในฐานะอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย หรือ โค้ชวอลเลย์บอลหญิงที่มีแฟนๆ ติดตามมากมาย
คิวแน่นมากที่สุด แค่ไหน?
"ไม่มากเท่าไหร่หรอกครับ ก็แค่เต็มวัน ไปจนถึง 4-5 ทุ่ม" รอยยิ้มผุดขึ้นในใบหน้าโค้ชโหด (ในวงการลูกยางเขาว่ากัน)
แต่ที่ข้อมือ โค้ชโหด เสียงดัง ร่างใหญ่ คนนี้ มีสร้อยประคำติดไว้ตลอดเวลา ว่างๆ ก็ท่องพุทโธ ธัมโม สังโฆ ผ่านประคำทีละลูก
ประคำทั้ง 12 ลูกที่ร้อยไว้ในเส้นเดียวกันนั้น นอกจากจะช่วยทำสมาธิแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนบางอย่าง
เขาให้ทาย...พร้อมอมยิ้มเตรียมเฉลย
"นักกีฬาทั้ง 12 คนของผมครับ"
ทราบว่าคุณพ่อก็เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอล
ครับ เป็นตัวจังหวัด สูง 185 ซม. คุณแม่ก็เป็นนักวิ่งโรงเรียน(หัวเราะ) บ้านผมชอบกีฬา
ผม เห็นคุณพ่อเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ตามไปดูแข่งกีฬาแห่งชาติ กีฬาจังหวัด อีกอย่างผมโตมาในค่ายทหาร จ.นครราชสีมา ในนั้นมีสนามกีฬาเยอะมาก แทบทุกกองพันจะมีสนามวอลเลย์บอลอยู่ด้วย เสาร์-อาทิตย์ ก็จะเห็นรุ่นพี่ๆ ทีมชาติ กลับมาซ้อม เราไปดู พี่เค้าเล่นเก่ง เลยเริ่มสนใจมากขึ้น
แต่มาเอาจริงตอนอายุ 15 คุณพ่อเทรนให้ ตื่นตีห้า วิ่งเช้าเย็น รอบค่ายทหารเป็นสิบกิโล ตอนนั้นคิดอยากจะเก่ง คิดอยากติดทีมชาติแล้ว
เสน่ห์วอลเลย์บอลอยู่ตรงไหน
เกม มันสนุกครับ เร้าใจ ตีไปตีมา สองคือ ผมเรียนรู้เร็วกว่าคนอื่น อาจจะเป็นเพราะสายเลือดก็ได้ (ยิ้ม) ที่เหลือเราก็ฝึกความแข็งแรง เล่นเวท ฟิตเนส สมัยนั้นคุณพ่อฝึกให้กระโดดตียอดกล้วย ยอดไม้
มุ่งมั่น อยู่ 2 ปี อายุ 17 เขาเปิดคัดตัวทีมชาติ พ่อก็พาไป ก็ติด ผมอายุน้อยที่สุด ยังเรียนไม่จบมัธยมปลายเลย ได้เป็นผู้เล่นสำรองเพราะเด็กมาก แล้วก็ถูกส่งไปฝึกที่จีน 1 เดือน ไปอยู่ตำบลไทซาน มณฑลกวางเจา ที่นี่เขามีชื่อเสียงด้านวอลเลย์ เล่นกีฬากันทั้งตำบล ได้แชมป์ระดับประเทศ
ผม ไปกินนอนซ้อม ซ้อมหนักมาก เล่นเวททีละร้อยๆ กิโล ตอนนั้นถือเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้เรารู้ว่า คนที่เล่นเก่ง เค้าต้องฝึกซ้อม นักกีฬาก็ทำเป็นอาชีพเพราะรัฐบาลเขาสนับสนุน
หลังจากกลับมา ก็ไปเข้าไปอยู่สโมสรทหารอากาศ แล้วก็เอนทรานซ์เข้า คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาพลศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ได้ ตอนนั้นได้เล่นเป็นตัวจริงแล้ว แล้วทีมวอลเลย์ชายก็คว้าเหรียญทองซีเกมส์เป็นครั้งแรกด้วย วอลเลย์หญิงก็ได้เข้าชิงแต่ยังไม่ได้แชมป์
เพดานสูงสุดที่มองตอนนั้น ไปไกลแค่ไหน
ตอน นั้นทีมวอลเลย์บอลของเรามีศักยภาพแค่เป็นแชมป์ซีเกมส์ เราไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่น จีน เกาหลีได้ เพราะสมัยนั้นทีมเหล่านี้ติดท็อปเทนของโลก การศึกษา การบริหารจัดการ การฝึกซ้อม เค้าดีกว่าเราเยอะมาก เรามีงบประมาณน้อย ไม่มีเวลาเตรียมตัว
ตอนนั้นมีเบี้ยเลี้ยงไหม
แรกๆ ไม่มี เพิ่งมามีตอน พ.ศ.2528 ได้วันละ 100 บาท ก็กินไป 120 ติดลบครับ (ยิ้ม) เราไม่ได้เงินอะไรจากการเป็นนักกีฬา เงินพวกนี้ก็เอามากินอาหาร จ่ายค่าที่พัก ตอนนั้นสมาคมไม่มีเงิน เพราะยังไม่เก่งมาก สปอนเซอร์ก็ไม่ได้สนับสนุนมาก ค่อนข้างลำบาก ทุกคนมาทำในฐานะสมัครเล่น
ทำไมถึงสนใจการเป็นโค้ช
เพราะ ตอนนั้นเรียนพลศึกษา แล้วเรียนครู แล้วเรียนทางด้าน coaching ด้วย เราก็สงสัยว่าทำไมโค้ชสอนเราอย่างนี้ อย่างนั้น และเราตั้งใจจะเรียนด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย ช่วงปี 1 ก็มีคนมาชวนให้ไปสอบนายร้อย แต่เราไม่เอา เลือกอันนี้แล้ว ไม่เปลี่ยนแล้ว
ตอนที่เลือกคณะนี้ ตั้งเป้าไหมว่าอยากเป็นอะไร
ไม่ ครับ ตอนนั้นแค่อยากเล่นกีฬา เรียนพละเพื่อจะได้เล่นกีฬาอย่างเต็มที่ คิดว่าอนาคตคงเป็นครู และอาจจะเรียนไมเนอร์อื่นๆ สำรอง ตอนนั้นผมเลือกหลายอย่าง ทั้งจิตวิทยาการศึกษา ภาษา การสอนระดับประถม เหมาะกับการเป็นโค้ชหมดเลย (ยิ้ม)
พอเรียนจบก็เล่นให้ทีมชาติ และสโมสรทหารอากาศมาเรื่อยๆ พอปี 40 ตัดสินใจเลิกเล่นทีมชาติเพราะร่างกายไม่ไหว เล่นจนกระดูกหัวเข่าแตก เพราะเป็นตัวตบต้องกระโดดเยอะ ประกอบกับสมาคมมีโปรเจคท์ทำทีมยุวชนหญิง National team 2001 แล้วขอให้ผมมาทำ สร้างยุวชนเพื่อให้เป็นทีมชาติในอีก 4 ปีข้างหน้า เลยตัดสินใจลองดูสักตั้ง
จากนั้น สมาคมฯ เลยส่งผมไปเรียนหลักสูตรผู้ฝึกสอนที่สเปน กลับมาก็ทำทีมเลย
หัวใจสำคัญของการเป็นผู้ฝึกสอนคืออะไร
เรื่อง การทำทีมชาติว่า มีอะไรบ้าง ง่ายๆ คือ 6 T ได้แก่ Theory รู้ทฤษฎี หลักการของการเป็นโค้ช Teaching การสอน รู้กระบวนการการถ่ายทอดความรู้ให้นักกีฬาและการวางแผนการสอน Training กระบวนการในการสอน การฝึกซ้อม Technique กลเม็ดเคล็ดลับ เช่น เราจะสอนตัวเซ็ตอย่างไรให้เก่ง Tactic ในการแข่งขันเราจะเอาชนะคู่แข่งขันอย่างไร และ Teamwork การทำงานเป็นทีม
นอก จากนี้เรายังเรียนรู้เรื่องการวางแผนทั้ง Internal และ External เช่น Internal เราทำ weakness ให้ strength อย่างไร นักกีฬาเรายังทำ skill ไม่ดี เสิร์ฟ หรือตบไม่ดี ร่างกายยังไม่แข็งแรง เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำให้เขาแกร่งขึ้นมาให้ได้
ส่วน External ต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม สนับสนุน Internal เช่น นักกีฬา ไม่มีเวลาฝึกซ้อม ต้องไปเรียน ต้องกลับบ้าน ผู้ปกครองไม่สนับสนุน เงินทุนไม่พอ เราก็ต้องเข้าใจและส่งแนวความคิด วิธีการให้ผู้บริหารช่วยสนับสนุนแก้ไข
ผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องเล่นกีฬาชนิดนั้นๆ เก่งหรือไม่ โดยเฉพาะวอลเลย์บอล
ผม ว่าไม่จำเป็นต้องเล่นเก่งแต่ให้รู้ว่าจะสอนเทคนิคเค้าอย่างไร ทุกอย่างเรียนรู้กันได้ ใน 6 T แต่ Technique บางครั้งโค้ชต้องเข้าใจ เช่น สอนให้เสิร์ฟให้ข้ามสนาม โค้ชหลายคนสอนได้ แต่จะเสิร์ฟยังไงให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในระดับโลก
จะเห็นว่าโค้ชที่ประสบความสำเร็จในโลก ส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาดังๆ มาก่อน เพราะเขาจะเข้าใจในเทคนิคและแทคติกมาก นี่เป็นหัวใจสำคัญ
การที่เป็นนักกีฬาชายแล้วมาคุมทีมหญิง มีความยากง่าย หรือท้าทายอย่างไร
ตอน นั้นผมอายุ 30 มาคุมเด็กอายุ 16-17 ธรรมชาติก็มีความต่างกันพอสมควร ผู้ชายออกห้าวๆ ผู้หญิงเค้าก็มีความละเอียดอ่อน เป็นเด็กด้วย ช่วงนั้นเค้ายังอ่อนไหว อ่อนแอ พอสมควร แต่เราเข้าใจ เพราะเราเรียนโค้ชมาและเราเรียนวิชาชีพครูมา จิตวิทยาพัฒนาการของเด็กที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัยช่วยได้มาก
ดุ โหด ได้ไหม
ได้ครับ ผู้หญิงเนี่ยสู้มากกว่าผู้ชายด้วยในบางครั้ง เวลาที่เค้าสู้ก็น่ากลัวเหมือนกัน
ความเป็นผู้ชายของโค้ช กับการฝึกสอนผู้หญิง มีช่องว่างบ้างหรือไม่
แรกๆ เราต้องวางตัวหน่อย ผมจะไม่ไปถูกเนื้อต้องตัวนักกีฬา แต่จะพูดคุยกันเป็นอาจารย์-ลูกศิษย์ ผมไม่ให้เค้าเรียกเราว่าพี่ จะเป็นครูเป็นอาจารย์กัน
เพราะอะไรถึงแบ่งชัดเจนอย่างนั้น ขณะที่ครูบางคนสร้างความสนิทสนมโดยเรียกแทนตัวเองว่าพี่
ไม่ ได้ครับ (ตอบทันที) เพราะความเคารพมันจะต่างกัน ถ้าเป็นพี่ก็จะมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ในทางปฏิบัติผมเป็นอาจารย์เค้า ไม่ใช่พี่เค้า เพราะผมต้องสอนทุกอย่าง
คือ บทบาทของโค้ชเป็นหลายอย่าง เป็นครู เพื่อนในบางโอกาส เวลาที่เค้ามาเล่นด้วย เราเล่นได้ แต่ให้อยู่ในขอบเขต เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา ฯลฯ
ช่องว่างเราพยายามทำให้มีน้อยที่สุด แต่ถ้ามันเกิด เช่น ความไม่เข้าใจกัน เพราะวัย เราก็จะมีผู้ช่วยโค้ชคอยช่วย เพราะบางอย่างเค้าไม่สามารถมาคุยกับเราได้ เราก็จะมีผู้หญิงมาช่วย
ตอนผมไปอยู่ยะลา 4 ปี (ฝึกทีมยุวชนหญิง)ผมมีทันตแพทย์หญิงมาช่วยดูแล ยา สุขภาพ ของเด็ก ผมมีจิตแพทย์ ผมเอาตำรา sport science วิทยาศาสตร์การกีฬาไปให้เค้าดู ผมอยากให้จิตแพทย์ช่วยผมเรื่อง ความเครียด กดดัน วิตกกังวล เพราะเด็กๆ ต้องจากบ้านมาไกล อยู่กับเราตั้ง 4 ปี ผมต้องสร้างสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมให้เค้าที่นั่น ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นหน้าที่ที่ผมต้องทำให้เค้า
ผมยังได้สถาบันการศึกษามาช่วยผม ดูแลเรื่องการศึกษา เค้าต้องมีเพื่อนที่โรงเรียนใหม่ ภาษาวัฒนธรรมก็ไม่เหมือนกัน ที่นั่นพูดยาวี เด็กผมมาจากอีสาน เหนือ ต้องปรับตัวพอสมควร และผมได้โรงพยาบาล แพทย์ออโธปีดิกท์ มาดูแลเรื่องการบาดเจ็บ สมัยนั้นเด็กๆ ต้องมาลงทะเบียนเป็นผู้อนาถา
เพราะอะไร
เพราะ รักษาฟรี ตอนนั้นสมาคมไม่มีเงินจ่าย แต่ต้องไปทำกายภาพบำบัดทุกวัน เรื่องโภชนาการ เราได้สาธารณสุขจังหวัดมาดูแล คำนวณอาหารว่ากินไปกี่กิโลแคลอรี่ ไปดูซ้อมว่าวันนี้ต้องทานอะไรเพิ่มเติมบ้างเพื่อสร้างความแข็งแรง ส่วนผมจะดูเรื่องฟิตเนส สร้างร่างกายให้แข็งแรง ฝึกเทคนิคให้ดี ผมไปสร้างวิทยาศาสตร์การกีฬาที่นั่น โดยได้รับการช่วยเหลืออย่างดีจากนายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน (สมพร ใช้บางยาง) ซึ่งเป็นรองผู้ว่าฯ ยะลาสมัยนั้น ที่พานักธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ มาเจอและให้การสนับสนุนเรา
มีวิธีคุมทีมหญิงอย่างไร
หลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทาง ตรงคือพูดกับเค้าตรงๆ แสดงให้เค้าเห็นตรงๆ ว่าเค้าทำไม่ถูก เราไม่พอใจนะ สิ่งที่เค้าทำไม่ถูกต้อง อาจจะมีการทำโทษบ้าง ถ้าไม่ตั้งใจซ้อม อ่อนแออาจจะต้องซ่อม
ซ่อมอย่างไร
เอา ใหม่ ทำใหม่ แล้วนักกีฬาจะกลัวมาก เพราะมันเหนื่อย ผมสั่งให้วิ่ง 2,000 เมตร ในเวลาไม่เกิน 9 นาที ผมต้องการ maximum power ถ้าไม่ผ่านคนเดียว เอาใหม่หมด
ผมบอกแล้ว ผมเป็นคนที่โหด แต่การทำอย่างนี้จะทำให้ทีมรักและสามัคคีกัน เค้าก็จะเกลียดผมทั้งทีม (ยิ้ม) ไม่ ใช่ผมไม่สน ไม่แคร์ รู้ว่าเค้าโมโห นิดๆ หน่อยๆ เดี๋ยวก็หาย หรืออาจจะโกรธสักพัก เดี๋ยวเค้าก็จะคิดได้เอง ว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ดีแล้ว
การเรียนโค้ชมาทำให้เราได้ รู้ว่าการใช้จิตวิทยากับนักกีฬา ทำได้หลายแบบ กีฬาประเภททีมบางอย่าง เพื่อให้เกิดความสามัคคี เค้าจำเป็นต้องยากลำบากด้วยกัน ทำงานด้วยกัน บางครั้งคนนี้ทำผ่าน ดีทุกอย่าง แต่จะมีคนที่อ่อนแออยู่คน เค้าจะต้องช่วยคนที่อ่อนแอให้ผ่านให้ได้
บางครั้งผมสอนเค้า เรื่องการทำงานเป็นทีม ทีมของผม จะแตกออกมาเป็น TEAM คือ Together, Everyone , Achieve และ More ทุกคนต้องช่วยกันมันถึงจะมีความก้าวหน้า มากกว่า ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างเป็น ดังนั้นการเล่นกีฬาเป็นทีมเราต้องรู้จักให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน
ความโหด จำเป็นหรือมีข้อดีอย่างไร
อาจจะมองว่าโหดนะ แต่มันเป็นการพัฒนาคุณภาพทางจิต ภาษาไทยอาจจะเรียกว่าโหด
เงื่อนไข หรือเวลาที่เรากำหนดให้ เขาจะต้องใช้ความพยายามสูงสุดในชีวิต ความสามารถสูงสุดที่เค้าจะทำได้ เค้าอาจจะโกรธโค้ชว่าทำเต็มที่แล้วยังไม่ผ่าน แต่ผมต้องการให้เค้าไปช่วยเพื่อนให้ผ่าน เอาพลังของความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือกัน ทุกอย่างเค้าจะต้องเอาชนะใจโค้ชให้ได้ และการเอาชนะใจผม เค้าจะต้องรักและสามัคคีกัน สองคือ จะต้องมีจิตวิญญาณของการต่อสู้มาก และ ต้องต่อสู้ด้วยกัน นี่คือสิ่งที่ทำให้นักกีฬาพัฒนาเรื่องคุณภาพทางจิต
ผม จะฝึกซ้อมให้นักกีฬามี คุณภาพ 4 ด้านคือ 1.ด้านร่างกาย เช่น ความแข็งแรง เร็ว ทนทาน 2.ด้านเทคนิค ต้องอยู่ในระดับโลก เช่น การเสิร์ฟ ตบ 3.คุณภาพทางจิต ต้องดี ไม่หวั่นไหวเวลาแข่งขัน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ทั้งมีความดุดัน ก้าวร้าวในการเล่น และกระตุ้นเพื่อนร่วมทีมให้เห็นว่าตัวเองมีจิตวิญญาณเรื่องการต่อสู้ที่แท้ จริง ไม่ทำเล่น เช่น การเล่นเวท ระหว่างเล่น ผมจะสอนให้เค้าคิดว่า เค้าต้องเก่ง ขณะที่ยกอยู่ ทีมคู่แข่งขันของเราก็ทำเหมือนกัน อาจจะทำมากกว่าเราด้วยซ้ำ
เมื่อเปรียบเทียบกัน เพราะอะไรทีมหญิงจึงดูโดดเด่นกว่าทีมชาย
หลาย ปัจจัย ทีมชายไม่ได้ซ้อมต่อเนื่อง เพราะนักกีฬาต้องเรียน รับราชการส่วนใหญ่เป็นทหารบก ทหารอากาศกัน สมาคมเองเขาก็อยากทำให้ต่อเนื่อง งบประมาณก็ไม่ค่อยมี และรูปร่างที่ค่อนข้างเสียเปรียบในเอเชีย
แต่นักกีฬาหญิง รูปร่างก็เสียเปรียบเหมือนกัน?
ครับ แต่ระบบวิธีการฝึกซ้อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ชัยชนะตอนเป็นนักกีฬา กับ ตอนเป็นโค้ช แตกต่างหรือเหมือนกัน
เหมือน กัน แต่ตอนโค้ช เรามีความอิ่มใจสุขใจที่ได้เห็นเพื่อนร่วมทีมทุกคนมีความสุข แฟนๆ ก็มีความสุข สตาฟโค้ชก็มีความสุข เพราะผมก็เคี่ยวกับเค้า บางทีตีหนึ่งตีสองยังต้องทำการบ้านที่ผมให้ไป ผมอาจจะบ้าเกินไปหรือเปล่า (ยิ้ม) แต่มันเป็นวิธีการทำงานของผม
ช่วงแข่งขัน เราต้องทำงานต่อเนื่อง เหนื่อยหน่อย เพราะทีมสตาฟผมต้องอยู่สนามทั้งวัน ต้องทำคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์เกมการแข่งขันทุกคู่ เพื่อเอามาศึกษาในตอนค่ำ เช่น วันรุ่งขึ้นเราแข่งกับเกาหลี ผมก็จะเลือกแมตช์ที่เกาหลีเล่นดีเอามาวิเคราะห์ เปรียบเทียบที่เคยเล่นกับเรา ดูจุดอ่อน จุดแข็ง และผู้เล่นกับเราพรุ่งนี้ ต้องเลือกมาศึกษาและสรุปมาพรีเซ็นต์ให้นักกีฬาฟังในวันรุ่งขึ้น เพื่อเตรียมไปฝึกซ้อมตามแผน บ่ายพักผ่อน เย็นแข่งขัน
กับสาวๆ โหดที่สุด แค่ไหน
จริงๆ ผมใจดีนะเวลาอยู่ข้างนอก แต่เวลาซ้อมมีบ้าง คือเราทำให้เค้ามีคุณภาพทางจิตที่สูง ผมเน้นว่าต้องดีมาก เวลาสอนนักกีฬา เราจะสอนให้เค้าใช้ความพยายามสูงสุดเพื่อให้เค้าเก่งกว่าในขั้นที่เค้าดี อยู่แล้ว ผมต้องการให้เค้าใช้ความสามารถให้มากกว่าความพยายามที่มีอยู่ เช่น เรื่องเทคนิคถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเอาใหม่ เราต้องสร้างให้เค้ามีความมั่นคงทางจิต และความมั่นคงด้านเทคนิค ใครเริ่มอ่อนแอจะโดนดุ บางทีก็แกล้ง เล่นดีอยู่แล้วก็บอกว่าเล่นไม่ดี แต่ไม่บ่อย เล่นดีก็ชม ผมจะชมอย่างจริงใจ ชมต่อหน้า ตะโกนเสียงดัง บางทีก็เดินไปชมแบบส่วนตัว หรือถ้าทำไม่ได้ ก็จะตะโกนว่า อีกนิดเดียวๆ พยายามหน่อย
เวลาฝึกซ้อม 2 ชั่วโมงครึ่ง นักกีฬาผมต้องมีสมาธิ ใจจดจ่อ ถ้าเหม่อลอย เล่นผิดพลาด จะกระทบคนอื่นหมด เพราะวอลเลย์บอลเล่นเป็นทีม ทุกคนจะมาทำเล่นไม่ได้ในการฝึกซ้อม แต่เล่นให้สนุกได้
เห็นได้ว่านักกีฬาผมมีทางออกหลายทาง เวลาแข่งขันเค้าจะยิ้มแย้มหัวเราะ แต่จริงๆ เครียดกัน (ยิ้ม) แต่ผมสอนเค้าให้รู้จักให้กำลังใจกัน
ความเป็นผู้หญิง กับกีฬาวอลเลย์บอล มีส่วนให้กีฬาวอลเลย์บอลดีขึ้นอย่างไร
กีฬา วอลเลย์บอลมีเสน่ห์มากขึ้นตรงผู้หญิงเล่น ตรงที่ หนึ่ง ผู้เล่นเป็นผู้หญิง ชุดแข่งขันทำให้นักกีฬาดูมีเสน่ห์ ทำให้เค้าดูสวย รูปร่างดี สอง ธรรมชาติของการแข่งขันวอลเลย์บอลมีการตีโต้กันไปมา ไม่เหมือนผู้ชายที่แรงมาก ตีตู้มหาย ดูไม่ทันเลยแต่มันมันส์ มันสะใจ แต่ผู้หญิงมีการตีโต้ไปมา กว่าจะสำเร็จ มันเป็นเสน่ห์สำหรับคนดู 1 พอยท์อาจจะ 7 วินาที หรือ 14 วินาที เราทำวิจัยกันมา เวลาเท่านี้มันบิวท์อารมณ์พอดี ได้ลุ้นนิดหน่อย นี่คือธรรมชาติการเล่นวอลเลย์บอลหญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแต้ม สำคัญๆ มันเบียดกันมาทีละนิด จนมาถึง 23 24 25 มันบีบคั้นหัวใจพอสมควร ฉะนั้นผมถึงมีการฝึกซ้อมที่เรียนว่า phychology skill training แปลเป็นไทยว่าการฝึกฝนทางจิต เราเพิ่มเงื่อนไขให้นักกีฬาเริ่มซ้อมที่ 23 เท่า เพื่อให้นักกีฬาเคยชิน กับแต้มที่สูสี แต่เงื่อนไขของผมจะยากขึ้นมาอีกนิดคือ ทีมเอห้ามแพ้ ถ้าแพ้เอาใหม่ ที่ 23 เท่า โดยให้ทีมบีเสิร์ฟก่อน แล้วทีมบีของผม ไม่ใช่ผู้หญิงนะ เป็นผู้ชาย
การ ที่เราเล่นกับรัสเซีย คิวบาได้ เพราะความเพียรพยายาม ถ้าเราเอาผู้หญิงมาตี มันไม่คณนามือเค้าแล้ว สบาย แล้วผู้ชายที่ผมเอามา เป็นอดีตทีมชาติ ตบบอลแรงและเร็วมาก
แล้วหัวจิตหัวใจของนักสู้ของนักกีฬาหญิง มีมากแค่ไหน
มี มาก ผู้หญิงเวลาสู้ สู้น่ากลัวนะ สุดใจขาดดิ้นเลย แต่บางทีก็ขาดสติ หลับหูหลับตาตี สู้ชิบหายเลย (หัวเราะ)จะตีให้ตาย ใจสู้ แต่ก็ต้องใช้สมองด้วย
ทีมเราตัวไม่สูง ในเวทีโลกเราเล็กกว่าเค้า สิ่งที่เอาชนะเค้าได้คือความแน่นอนในการเล่น ต้องมีความเร็ว ความคล่องตัวต้องสูง หลอกซ้ายหลอกขวา เทคนิคเหล่านี้นักกีฬาไม่ได้เก่งเอง ต้องฝึกฝน ต้องสร้างร่างกายให้แข็งแรงก่อน
โค้ชจะต้องเป็นคนที่เข้าใจผู้หญิงมากๆ ?
ก็น่าจะอย่างนั้นครับ (ยิ้ม)
การไปแข่งแบบมีชัยชนะพ่วงมาเยอะๆ กับการไปแข่งแบบไร้อันดับ อย่างไหนยากกว่ากัน
ขอบ คุณที่เป็นห่วงครับ เราเตรียมทีมกันอย่างเต็มที่ว่าเราจะไปป้องกันแชมป์ เรามีนักกีฬาบาดเจ็บ เราก็พยายามรักษาฟื้นฟู ทุกคนยอม ทุ่มเท นี่เป็นคุณค่าของการลงทุน
การที่เราจะได้แชมป์หรือไม่ได้ ชัยชนะไม่ได้สำคัญมากกว่าความพยายามที่ได้ชัยชนะ เราคิดว่าทีมเราได้พยายามอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ชัยชนะแต่เราก็รู้ว่ามันมีคุณค่าสำหรับเรา เพราะมันเป็นการลงทุนด้วยความตั้งใจ
ผมเข้าใจว่าบางช่วงเรา ผ่านเวลาที่ยากลำบาก นักกีฬาบาดเจ็บ เราแพ้ เราต้องการกำลังใจ เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ชนะก็ชนะด้วยกัน แพ้ก็แพ้ด้วยกันเพราะเราทำงานกันเป็นทีม
ชัยชนะต่างๆ หรือถ้วยรางวัลเราคงเก็บไว้ที่บ้าน แต่เราจะแบกความภาคภูมิใจ ความหวังไปครับ
นักกีฬาได้เรียนรู้อะไรจากโค้ชเยอะ ในทางกลับกันโค้ชได้เรียนรู้อะไรจากนักกีฬาบ้าง
ได้ เยอะเลยครับ ผมได้ความรัก ที่ผมสัมผัสได้ว่าเค้ารักผม เค้าห่วงใยผม พวกเรามีการเล่นบัดดี้ ให้ของขวัญกัน ในวันเกิดต่างๆ ก็มีเป่าเค้ก ชุดนี้เป็นเจเรชั่นที่ 4 แล้วย รุ่นที่รีไทร์ไปแล้วก็ยังโทรหา มากินข้าว ยังผูกพันกัน กีฬาประเภททีมมันเหนียวแน่นและยาวนาน
ชีวิตจริงผมไม่มีลูก มีพวกเขาเหมือนลูก ความสำเร็จของพวกเขา ก็คือความสุขของผม.



ที่มาของข้อมูล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110913/409038/โหดเพื่อชาติ---โค้ชอ๊อด-เกียรติพงษ์-รัชตเกรียงไกร.html