ยังมีครับอยู่ที่ท่าน ดร.ปวีณ ประมาณ 15 วิ และอาจอยู่ในบ้านผมอีกประมาณ 15 วิ ฟิล์มตัวนี้นำมาทำเป็นสายชนวนจุดประทัดได้เลยครับ ...
สำหรับผมแล้วคิดว่าก็ต้องใช้ความระมัดระวังครับ ฟิล์มที่อยู่ในม้วนทั้งที่มีรีนและไม่มีรีนน่าจะติดไฟได้ช้าและโอกาสที่จะลุกลามก็น่าจะช้ากว่าการที่คลี่ออกมาเป็นกองครับ ยังไงก็ต้องระวังเพราะคิดว่าติดแล้วน่าจะดับยากครับ
ฟิล์มไนเตรทมันต่างจากฟิล์มอย่างอื่นครับ
ปรกติเวลาเผาไม้ หรือกระดาษ มันก็ลุกไหม้เหมือน ฟิล์มหนังพวก อะซีเตรท (ฟิล์มที่เน่าได้) กับฟิล์มทอง
เวลาเจอความร้อน และมีอากาศมากพอ มันก็ติดไฟครับ พออากาศหมด มันก็ดับ พูดง่ายๆคือ เอาน้ำราดมันก็ดับ
เชื้อเพลิง + อ๊อกซีเจน + ความร้อน = ไฟ
แต่ฟิล์มไนเตรท มันไม่เหมือนกันกับวัสดุอื่นๆ มันมีอ๊อกซีเจน และเชื้อเพลิง(เซลูโลส) รออยู่ในทุกโมเลกุลของฟิล์มแล้วครับ เหลือแค่ความร้อนเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อไฟติดขึ้นมา จึงดับไม่ได้ เพราะทุกองค์ประกอบของการติดไฟมันครบครับ โยนลงน้ำก็ไปลุกไหม้อยู่ในน้ำต่อ
ดินประสิวก็เป็นไนเตรท ปุ๋ยยูเรียก็เป็นไนเตรท ดินปืนก็ทำจากไนเตรทครับ ไนโตรกรีเซอรีน และพวกระเบิดต่างๆ ก็หลักการเดียวกัน
ฟิล์มไนเตรท ไม่มีแล้วครับ เพราะถูกแทนที่ด้วยฟิล์มแบบไม่ติดไฟ ( SAFETY FILM) สังเกตุขอบฟิล์มจะเขียนว่า SAFETY
ในรูปเป็นฟิล์มไนเตรทจากท่านผู้เฒ่า อายุ 44 ปีแล้ว ซาวด์ยังเป็นโมโนแบบเข้ม-จาง ( รุ่นใหม่เป็นแบบเส้น กว้างแคบ) รูหนามเตยยังเน้นโค้งมน
ฟิล์มนี้เป็นฟิล์มขาวดำนะครับ(ขอบฟิล์มเป็นขาวดำนะครับ ที่มันออกสีฟ้าๆเพราะตอนถ่ายตั้ง white balance ผิด) แต่ลงสีทับอีกชั้นตอนพิมพ์ น่าจะเป็นสูตรของ เทคนิกคัลเลอร์ แต่ที่ขอบฟิล์มไม่พิมพ์ IB เพราะก๊อปนี้มันมาจากแลป Deluxe (อันนี้คิดผมเดาเอาเองนะ) สังเกตนะครับ ว่า 44 ปีแล้ว สียังไม่ซีดเลย ใครมีก๊อปที่เป็นสี อีสแมนโกดัก อายุสัก 30 ปีแล้วสียังคงที่แบบนี้มั่งครับ ^_^
เป็นฟิล์ม 35มม.ใช่ไมครับ?
ภาพนี้เป็นฟิล์ม 16 มม. แบบ SAFETY FILM ครับ ไม่ได้เป็นแบบไนเตรด
เห็นฟิมล์ 16 ม.ม.ของคุณแกะแล้วอยากทราบว่าหนังจบเรื่องไม๊ครับเพราะผมสนใจอยากจะนำมาแปลงลงสัญณานเป็นดีวีดีเก็บไว้ดูครับ ไม่ทราบว่าเป็นหนังตลกพูดอีสานรึปล่าวครับหรือว่าเป็นหนังฝรั่งพากย์ลาว