Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-+ เปิดแล้ววันนี้ โรงภาพยนตร์ EGV บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น สุดยอดเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลก 5 โรงภาพยนตร์มาตรฐา.. 30/5/2555 14:14
-ฉายอดีต กับ โรงหนังเก่า.. 9/5/2555 16:10
-โรงภาพยนตร์ ปริ๊นซ์ ขอนแก่น สุดยอดโรงหนัง Stand Alone เบอร์ 1 (ของภาคอีสาน กับช่วงเวลาสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่).. 18/4/2555 2:12
-โรงหนัง ... อดีตที่เคยรุ่งเรือง ปัจจุบัน ...?.. 16/4/2555 22:59
-สถานที่ที่เคยเป็นแหล่งให้ความบันเทิงและความสุขแก่คนทุกชนชั้น.. 10/4/2555 3:28
-โรงหนังเมืองนอก..... 25/3/2555 3:16
-ตรังรามา.. 2/1/2555 20:15
-ยังไม่ได้ตั้งชื่อ.. 27/11/2554 9:34
-โรงหนังเจ้าพระยารามายังเปิดอยู่แต่เป็นที่อพยพคนนะยังไม่มีคนตอบ
-คิดถึงคุณพ่อ.. 12/11/2554 18:43
-รายชื่อโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ.. 1/10/2554 14:54
-ใครอยากเห็นภายในโรงภาพยนตร์ เฉลิมไทย เชิญทางนี้.. 19/9/2554 21:48
-เก่าไป...ใหม่มา.... 31/8/2554 19:39
-โรงหนังส่วนตัว.. 29/8/2554 8:56
-ขอไอเดียด้วยครับโรงหนังในบ้าน ทำแบบนี้จะดีไหม จอ 10เมตร สโคป.. 28/8/2554 18:41
-ล่าโรงหนังเก่า ภาค1 โรงเอเซียรามา พระโขนง.. 26/8/2554 16:02
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 250

โรงหนัง ... อดีตที่เคยรุ่งเรือง ปัจจุบัน ...?


ขออนุญาต เริ่มต้นด้วย โรงภาพยนตร์ ศรีศาลายา เรื่องราวประวัติ ความเป็นมา

หอภาพยนตร์แห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายจากถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ ไปอยู่ที่ตำบลศาลายา ถนนพุทธมณทลสาย ๕ นครปฐม ได้จัดทำโครงการจัดสร้างหอภาพยนตร์ ?ศรีศาลายา? เพื่อน้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นถาวรวัตถุอนุสรณ์ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชันษา ในปีนี้

กรมศิลปากรได้แถลงข่าวว่า โครงการจัดสร้างโรงภาพยนตร์ ?ศรีศาลายา? นี้อยู่ในแผนพัฒนาหอภาพยนตร์แห่งชาติที่ศาลายา ให้เป็นแหล่งให้บริการค้นคว้า ศึกษาและสันทนาการด้านภาพยนตร์แก่สาธารณชน ในฐานะที่ภาพยนตร์เป็นมหรสพยอดนิยมอย่างหนึ่งของสังคม เป็นงานศิลปและเป็นสื่อให้ความรู้ที่เข้าถึงมวลชนได้ดีที่สุด หอภาพยนตร์แห่งชาติจำเป็นต้องมีโรงภาพยนตร์ เปรียบเสมือนวัดจะต้องมีโบสถ์ และโรงภาพยนตร์ที่จะสร้างขึ้นนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นตัวแทนหรือตัวอย่างของสถาปัตยกรรมโรงภาพยนตร์ในยุครัชกาลที่๗ ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่โรงภาพยนตร์ในประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุด เป็นสถานมหรสพประจำเมือง หลายแห่งเป็นอาคารที่เชิดหน้าชูตาของเมืองและส่วนใหญ่จะมีความผูกพันกับผู้คนในท้องถิ่น ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนแบบหนึ่งและเป็นสาธารณสถานที่มีบทบาทสำคัญด้านวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ

ปัจจุบันโรงภาพยนตร์ประเภทนี้หรือที่เรียกว่าโรงอิสระหรือโรงเดี่ยว ซึ่งทั่วประเทศเคยมีอยู่ประมาณ ๗๐๐-๑,๐๐๐ โรง เกือบจะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว เพราะโรงภาพยนตร์ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นกลุ่มโรงภาพยนตร์เล็ก ๆ ในศูนย์การค้า และเกือบจะไม่มีความสัมพันธ์และผูกพันกับชุมชนท้องถิ่น

โรงภาพยนตร์ ?ศรีศาลายา? จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมโรงภาพยนตร์ยุครัชกาลที่๙ ภายในอาคารส่วนหนึ่งจะจัดแสดงนิทรรศการโรงภาพยนตร์ในยุคดังกล่าว กิจกรรมของโรงภาพยนตร์นี้จะเป็นไปเพื่อบริการชุมชนในฐานะเป็นโรงหนังของชุมชน เพื่อสร้างความผูกพันและเอื้ออาทรแก่ชุมชน ขณะเดียวกันจะต้องทำหน้าที่บริการประชาชนทั่วไปในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหอภาพยนตร์แห่งชาติอันเป็นเกียรติภูมิอย่างหนึ่งของชาติ

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของโครงการนี้ จึงบริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์จำนวน ๓ ล้านบาท สนับสนุนการก่อสร้างอาคารโรงภาพยนตร์นี้ ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการแก่สาธารณชนได้ภายในปี พ.ศ.๒๕๔๖ นี้

 เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว ทางรัฐจึงสนับสนุนให้ หอภาพยนตร์แห่งชาติ เป็นองค์การมหาชน ซึ่ง โดม สุขวงศ์ หัวหน้างานอนุรักษ์ภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ เผยว่าพอเป็นองค์การมหาชนแล้ว เจ้าหน้าที่ของเราก็ต้องทำงานหนักขึ้น เงินเดือนดีขึ้นและคล่องตัวขึ้น ซึ่งตอนนี้เราต้องเปิดพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ที่ศาลายา จ.นคร ปฐม ที่สร้างตั้งแต่ปี 2545 ตั้งใจจะเปิดปี 2546 มาตอนนี้ยังไม่เสร็จ 100% เพราะยังไม่มีห้องน้ำ ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ แต่ได้เปิดทดลองให้ใช้ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 13.00-17.00 น. และยังมีของที่ยังขาดอยู่คือ หุ่นขี้ผึ้งอีก 10 กว่าตัว อย่างหุ่นของคุณเชิด ทรงศรี เป็นประติมา กรรมโลหะนั่งเก้าอี้อยู่หน้าลาน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะให้ใครปั้น จริงๆ เราอยากให้คุณยอดชาย เมฆสุวรรณ ปั้น แต่เกรง ใจคุณยอดชาย เพราะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงถึงจะสมกับฝีมือของท่าน เพราะต้องใช้โลหะอย่างดีรวมถึงในพิพิธภัณฑ์จะมีโรงหนังคือโรงหนังศรีศาลายา ซึ่งในอ.พุทธมณฑล ทั้งอำเภอไม่มีโรงหนังเลย ซึ่งโรงหนังนี้จะฉายหนังปกติที่ทุกโรงฉาย และเป็นโรงหนังทางเลือกให้ชุมชน ทั้งหนังเก่าหนังใหม่เราจะหามาฉาย เป็นโรงหนังเดี่ยว โรงหนังจะเป็นแบบสโลป 121 ที่นั่ง เป็นโรงขนาดเล็กถ้าเทียบกับโรงหนังสมัยก่อน แต่เราจะเอาอย่างอื่นมาชดเชย เราจะฉายหนังที่หาดูที่อื่นไม่ได้ด้วย หรือหาหนังระดับชาติและระดับโลกมาฉาย คาดว่าน่าจะเสร็จประมาณต้นปีหน้าครับ หัวหน้างานอนุรักษ์ภาพยนตร์กล่าวในที่สุด

เรื่องราวของ โรงภาพยนตร์ จะนำมาเสนอต่อไป เรื่อย ๆ นะครับ


+
+
+

ความเห็น

[1]


ข้อมูลสุดยอดครับ..


ข้อมูลดีมากๆครับ


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117030182 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :WilliamPHilk , Krendamxgew , LavillKer , mnlemunc , เอก , BobbyHOm , KXMartin , พีเพิลนิวส์ , นนท์ , แสบ chumphon ,