Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
มุมสะสมของเก่า เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
----------------------------------พระบรมราโชวาทจากแผ่นเสียงและเพลงพระราชนิพนน่าฟัง.. 23/9/2553 22:54
-โปสเตอร์หนังที่มี.. 13/9/2553 16:37
-หนังไทยคุณชอบเรื่องไหนมากที่สุดที่นี่มีด้วยแหละ .. 10/9/2553 10:41
-เกมกด นินเทนโด ของเล่นอีกอย่างตอนเด็ก .. 9/9/2553 9:57
-ของสะสมเล็กๆ น้อยๆ .. 1/9/2553 10:09
-หนังสือพิมพ์เก่าๆของนายแขก วิสต้า.. 30/8/2553 22:51
-16 สิงหา วันมรณาของราชาเพลงร็อคแอนด์โรลล์ เอลวิส เพรสลี่ย์.. 26/8/2553 12:50
-เทปเพลงเก่า 3.. 22/8/2553 8:30
-16 สิงหา วันมรณาของราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ.. 16/8/2553 15:16
-แผ่นเสียงเล็ก 7 นิ้ว สปีด 45.. 10/8/2553 11:22
-ตามหาเก้าอี้โรงหนังโบราณยังไม่มีคนตอบ
-เทปคลาสเซ็ท "บทสวดมนต์ภาษาจีน".. 30/7/2553 19:20
-แผ่นเสียงแจ้และแกรนด์เอ็กซ์.. 23/7/2553 10:40
-เทปเพลงเก่า 2 วงแกรนด์เอ็กซ์.. 19/7/2553 11:30
-วิทยุเก่าครับ.. 13/7/2553 16:39
-เทปเพลงเก่า 4 แมคอินทอช.. 13/7/2553 16:31
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 208

16 สิงหา วันมรณาของราชาเพลงร็อคแอนด์โรลล์ เอลวิส เพรสลี่ย์


16 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อวงการเพลงสากลทั้งในต่างประเทศ และบ้านเรามากทีเดียว คนที่เกิดและยังทันได้ยินข่าวดังกล่าว คงจะทราบกันอยู่แล้ว ขณะที่คนรุ่นใหม่ ๆ บางคนอาจจะยังไม่ทราบ หรือทราบแต่เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น ดังนั้น เราจึงพาย้อนเวลากลับไปในวันนั้นกันครับ



ความเห็น

[1]


เอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) มีชื่อจริงว่า เอลวิส แอรอน เพรสลีย์ (Elvis Aaron Presley) (8 มกราคม ค.ศ. 1935 - 16 สิงหาคม ค.ศ. 1977) เป็นนักดนตรีและนักแสดงชาวอเมริกัน เขาถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งเป็นที่รู้จักในชื่ออย่างเดียวว่า เอลวิส เขามักได้รู้จักในฉายา "ราชาแห่งร็อกแอนด์โรลล์" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เดอะคิง"

เขาเกิดที่เมืองทูเพอโล รัฐมิสซิสซิปปี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) ต่อมาย้ายไปทีเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี กับครอบครัวของเขาเมื่ออายุได้ 13 ปี เขาเริ่มอาชีพนักร้องที่นี่เมื่อปี 1954 เมื่อเข้าชิงค่ายซันเรคคอร์ดส์ ที่ชื่อ แซม ฟิลลิปส์ อยากที่จะนำดนตรีของชาวแอฟริกันอเมริกันไปสู่ฐานคนฟังให้กว้างขึ้น และเห็นเพรสลีย์มีความมุ่งมั่นดี ได้ร่วมกับนักกีตาร์ที่ชื่อ สก็อตตี มัวร์และมือเบส บิล แบล็ก

เพรสลีย์ถือเป็น 1 ในคนที่ให้กับเนิดแนวเพลงร็อกอะบิลลี แนวเพลงผสมผสานจังหวะอัปเทมโป แบ็กบีตผสมเพลงคันทรี กับ ริธึมแอนด์บลูส์ เขาได้เซ็นสัญญากับอาร์ซีเอวิกเตอร์ โดยมีผู้จัดการคือโคโรเนล ทอม พาร์กเกอร์ ที่เป็นผู้จัดการให้เขาร่วม 2 ทศวรรษ ซิงเกิ้ลแรกของเพรสลีย์กับอาร์ซีเอคือซิงเกิ้ล "Heartbreak Hotel" ออกขายในเดือนมกราคม ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ติดอันดับ 1 เขาถือเป็นผู้นำภาพลักษณ์ของดนตรีป็อปแบบใหม่ในแบบร็อกแอนด์โรล โดยได้ปรากฏตัวบนเครือข่ายสถานีโทรทัศน์หลายครั้ง รวมถึงมีเพลงอันดับ 1 หลายเพลง เพลงของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง โดยมีหลายส่วนนำมาจากเพลงชาวแอฟริกันอเมริกันและรูปแบบการแสดงซึ่งไม่สามารถยับยั้งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างมากรวมถึงเกิดข้อพิพาทด้วยเช่นกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1956 เขาปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง Love Me Tender

เขาเกณฑ์ทหารเมื่อปี 1958 (พ.ศ. 2501) โดยเพรสลีย์ออกผลงานเพลงหลังนั้น 2 ปีต่อมา กับงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เขาขึ้นเวทีคอนเสิร์ตอยู่หลายครั้ง อย่างไรก็ตามในการจัดการของพารกเกอร์ เขาก็ยังมีผลงานภาพยนตร์ฮอลลีวูดอีกหลายเรื่องในคริสต์ทศวรรษ 1960 รวมถึงผลงานอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ด้วย ที่ส่วนมากถูกวิจารณ์ในเชิงดูถูกผลงานเหล่านั้น ในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) หลังจากห่างหายไปบนเวทีคอนเสิร์ตไป 7 ปี เขากลับมาแสดงสดในรายการโทรทัศน์พิเศษในการกลับมาในลาสเวกัสและยังมีทัวร์คอนเสิร์ต ในปี 1973 (พ.ศ. 2516) เพรสลีย์แสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกที่ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมทั่วโลก ที่ชื่อ Aloha from Hawaii มีผู้ชมราว 1.5 พันล้านคน และจากการที่เขาติดยาจากใบสั่งแพทย์ ทำให้มีผลต่อสุขภาพของเขา จนเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520) ด้วยวัยเพียง 42 ปี




อิทธิพลของเพลงร็อกแอนด์โรลล์ จากเอลวิส ที่มีต่อคนไทย ก็ทำให้วัยรุ่นในยุคนั้นชื่นชอบกัน ประกอบกับช่วงนั้นอิทธิพลของวงชาโดว์ จากหนังเรื่อง เดอะ ยัง วันส์ (The Young Ones) ที่คลิฟฟ์ ริชาร์ด นำแสดง (เข้าฉายที่ศาลาเฉลิมไทย ปี พ.ศ. 2504 ซึ่งคุณพ่อผมมีโอกาสได้เข้าไปดูด้วย) ทำให้วัยรุ่นที่เล่นดนตรีอยู่ก่อนแล้ว หันมาเลียนแบบการเล่นดนตรีอย่างที่วงชาโดว์แสดงในภาพยนตร์ ซึ่งเพลงที่เล่นก็คือเพลงสากลที่ได้รับความนิยมในตอนนั้น รวมทั้งเพลงของเอลวิส เพรสลี่ย์ด้วย

 

ภาพยนตร์ที่เอลวิส เพรสลี่ย์แสดงนั้นมีทั้งหมด 30 เรื่อง หนังเอลวิสยุคแรกนั้นเป็นหนังขาว-ดำ ที่สำคัญ ไม่แน่ใจว่าเคยนำมาฉายบ้านเราครบทั้งหมดหรือไม่ เพราะหนังบางเรื่อง แม้จะมีเอลวิสนำแสดง แต่เนื้อหาอาจจะไม่โดนใจผู้ชมก็เป็นได้ (ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ต้องไปสืบค้นจากหนังสือพิมพ์เก่าที่ หอสมุดแห่งชาติ เท่านั้น แต่ก็รู้มาคร่าว ๆ ว่า หนังเอลวิสบางเรื่องมีชื่อภาษาไทย 2 ชื่อ บางเรื่องตั้งชื่อภาษาไทยแบบทับศัพท์ภาษาอังกฤษ แล้วก็มีชื่อภาษาอังกฤษของหนังเรื่องเดียวกันถึง 2 ชื่อก็มี) ไปดูกันครับว่ามีเรื่องอะไรบ้าง

 

ปี-ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ-สตูดิโอ-ชื่อภาษาไทย-โรงภาพยนตร์ที่ฉาย-วันที่หรือปี (ถ้ามี)

 

1956 LOVE ME TENDER / ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ (ไอ้เสือหาญ / เฉลิมเขตร์ / 29 มกราคม ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)

 

1957 LOVIN, YOU /  พาราเมาท์

 

1957 JAILHOUSE ROCK / เอ็มจีเอ็ม (หนุ่มเลือดร้อน / ครั้งที่สองที่ คิงส์)

 

1958 KING CREOLE / พาราเมาท์ (ครั้งที่หนึ่ง: นักร้อง นักเลง / บรอดเวย์) (ครั้งที่สอง: นักร้อง นักสู้ / พาราเมาท์)

 

1960 G.I. BLUES / พาราเมาท์ (จีไอ บลูส์ / พาราเมาท์)

 

1960 FLAMING STAR / ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ (ไม่ทราบชื่อไทย / เฉลิมเขตร์)

 

1961 WILD IN THE COUNTRY / ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์

 

1961 BLUE HAWAII / พาราเมาท์ (บลู ฮาวาย / พาราเมาท์)

 

1962 FOLLOW THAT DREAM / ยูไนเต็ด อาร์ทิส (คิมหันต์ฝันเฟื่อง / แกรนด์)

 

1962 KID KALAHAD / ยูไนเต็ด อาร์ทิส (นักมวยเสียงทอง / แกรนด์)

 

1962 GIRLS! GIRLS! GIRLS! / พาราเมาท์ (ผู้หญิง ผู้หญิง ผู้หญิง / พาราเมาท์)

 

1963 IT HAPPENNED AT THE WORLDS FAIR / เอ็มจีเอ็ม (เที่ยวเฟื่องเมืองแมน / คิงส์ และศาลาเฉลิมไทย)

 

1963 FUN IN ACAPULCO / พาราเมาท์ (เริงละตินกับเอลวิส / พาราเมาท์)

 

1964 KISSIN COUSIN / เอ็มจีเอ็ม (คิซซิ่น คัสซิ่น / คิงส์)

 

1964 VIVA LAS VEGAS / เอ็มจีเอ็ม (วีวา ลาสเวกัส / คิงส์ และศาลาเฉลิมไทย ซึ่งที่โรงภาพยนตร์คิงส์ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า LOVE IN LASVEGAS)

 

1964 ROUSTABOUT / พาราเมาท์ (ยอดชายเอลวิส)

 

1964 GIRL HAPPY / เอ็มจีเอ็ม

 

1965 TICKLE ME / อัลลายด์ อาร์ทิส

 

1965 HARUM SCARUM / เอ็มจีเอ็ม (ฮาเร็ม ฮอลิเดย์)

 

1966 FRANKIE AND JOHNNY / ยูไนเต็ด อาร์ทิส

 

1966 PARADISE, HAWAIIAN STYLE / พาราเมาท์

 

1966 SPINOUT / เอ็มจีเอ็ม (แคลิฟอร์เนีย ฮอลิเดย์)

 

1967 EASY COME, EASY GO / พาราเมาท์

 

1967 DOUBLE TROUBLE / เอ็มจีเอ็ม (นักร้อง น้องรัก)

 

1967 CLAMBAKE / ยูไนเต็ด อาร์ทิส

 

1968 STAY AWAY, JOE / เอ็มจีเอ็ม

 

1968 SPEEDWAY / เอ็มจีเอ็ม (เทพบุตรรถแข่ง)

 

1968 LIVE A LITTLE, LOVE A LITTLE / เอ็มจีเอ็ม

 

1969 CHARRO! / เนชั่นแนล เจเนอรัล

 

1969 THE TROUBLE WITH GIRLS / เอ็มจีเอ็ม

 

1969 CHANGE OF HABBIT / ยูนิเวอร์แซล

 

โรงภาพยนตร์ที่เอ่ยมาทั้งหมดนั้น ทั้งสาบสูญ และยังคงเหลืออาคารโรง แต่มีการเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ดังนี้

 

* แกรนด์และคิงส์ อยู่แถววังบูรพา

 

แกรนด์ กลายเป็นห้างเมอรี่ คิงส์ วังบูรพา ไปแล้ว

 

คิงส์ ยังมีตัวอาคารโรงอยู่ แต่ภายในเป็นที่จอดรถ

 

* เฉลิมเขตร์ อยู่บริเวณเชิงสะพานกษัตริย์ศึก ปัจจุบันเป็นร้านขายผ้าม่าน

 

* บรอดเวย์ อยู่แถวเยาวราช

 

* พาราเมาท์ ปัจจุบันเป็นธนาคาร (จำชื่อไม่ได้) ตรงข้ามกับ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ




ได้รับโทรศัพท์จากครูนุให้เอาหนังของเอลวิสมาให้ดูหน่อย วันนี้ก็เลยให้เด็กฝึกงานถ่ายภาพมาให้ดูครับ นี่เป็นภาพบางส่วนจากแผ่นเลเซอร์ดิสค์ แผ่นเสียง แผ่นดีวีดีและวีซีดีที่สะสมมานานแล้วครับความจริงยังมีอีกเอาไว้ถ้าหาเจอจะนำมาลงให้ดูอีกนะครับ

ขอถ่ายภาพแบบรวมๆก็แล้วกันเพราะเด็กๆเหนื่อยกันแล้ว


+
+
+
+



+
+
+
+


อย่างเยอะ --"



(ลืมไป เอลวิสนี่ ต้องรุ้นพี่แอ๊ดขึ้นไปอยู่แล้วนี่นา ผมเกิดไม่ทันหรอก อิอิอิ)



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 5

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117959517 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,