Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-เฉลิมทองคำ อดีตเบอร์ 1 แห่งเมืองคนงาม บ้านโป่ง จ.ราชบุรี.. 6/9/2553 22:38
-ขออนุญาตแนะนำ หนังสือ BIOSCOPE ฉบับ 105 สิงหาคม 2553 เรื่องราวโรงหนังเก่า.. 2/9/2553 13:07
-โรงภาพยนตร์ เฉลิมไทย.. 29/7/2553 9:48
-ไปดูชุดฉายที่โรงหนังโคกสำโรง ลพบุรี.. 23/7/2553 20:04
-ดีไซน์โรงหนังเก่า กับโรงหนังใหม่ และโรงหนังที่กำลังจะเปิด .. 23/7/2553 14:52
-เกษียณอายุ 30 ปี ปิดตำนานโรงหนังเบอร์ 1 ของภาคอีสาน ปริ๊นซ์ขอนแก่น (2523-2552).. 22/7/2553 22:39
-โรงหนังครูทวี .. 20/7/2553 16:47
-ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์.. 15/7/2553 12:07
-ฟื้นชีวิตเหยื่อเผาเมือง "โรงหนังสยามต้องไม่ตาย".. 14/7/2553 11:33
-โรงหนัง .. 14/7/2553 0:06
-โรงหนังเปิดใหม่สดๆซิงๆครับ.. 11/7/2553 9:58
-ปิดตำนานโรงหนังเสรีมัลติเพล็ค ลำปาง.. 25/6/2553 23:14
-+ + โรงภาพยนตร์สุวรรณราม่า จ,เลย (พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์).. 13/6/2553 20:31
-ขอไว้อาลัย และปิดตำนานโรงหนังสยาม .. 10/6/2553 18:44
-โรงภาพยนตร์เสริมสุข อ.กุภวาปี จ.อุดรธานี.. 16/5/2553 23:38
-และแล้วก็ถึงตอนอวสานของโรงภาพยนตร์ชานเมือง "เอเซียรามา" เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร.. 26/2/2553 18:34
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 250

โรงภาพยนตร์ เฉลิมไทย


เเป็นภาพที่รวบรวมมาจากหลายๆที่ครับ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นโรงหนังในตำนานของเมืองไทยที่ใหญ่มากๆเลยทีเดียว


 


ศาลาเฉลิมไทย เป็นอาคารที่ตั้งอยู่มุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาชัย ก่อสร้างในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์จะให้เป็นโรงละครแห่งชาติในเวลานั้น และมีรูปแบบของอาคารกลมกลืนกับอาคารอื่นๆ ที่สร้างขึ้นริมถนนราชดำเนินกลาง


เฉลิมไทยเปิดดำเนินการให้เป็นสถานที่แสดงละครเวทีอาชีพระหว่าง พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2496 จึงเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ และในที่สุดถูกรื้อถอนลง ในปี พ.ศ. 2532 เพื่อสร้างเป็นลานพระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร) และเปิดมุมมองด้านหน้าให้กับโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร


โรงละครแห่งนี้มีขนาด 1,200 ที่นั่ง พร้อมที่นั่งชั้นบน เวทีเป็นแบบมีกรอบหน้า ตัวเวที มีเวทีแบบเลื่อนบนราง (Wagon Stage) เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนฉาก


+

ความเห็น

[1]


ภาพจากมุมสูงในสมัยที่ฝั่งธนยังไม่มีตึกสูง


ภาพในมุมต่างๆครับ












+



ภาพสุดท้ายครับดูแล้วค่อนข้างน่าใจหายเล็กน้อยเป็นภาพขณะทุบโรงหนังทิ้ง เหตุเพราะว่าโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยนั้นบดบังทัศนียภาพของพระที่นั่งโลหะปราสาท จึงมีมติให้รื้อถอนโรงหนังครับ

เป็นภาพจากเว็บ บริษัทรับเหมาและปฏิรูปที่ดิน




โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย เกิดขึ้นในยุคสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี โดยมีจุดประสงค์ให้สร้างอาคารของทั้ง 2 ฝั่งให้ใหญ่โต เทียบเท่ากับถนน "ฌอง-เอลิเซ" ในประเทศฝรั่งเศส โดยหนึ่งในนั้นก็คือการสร้างโรงละครมาตรฐานสากล ออกแบบโดย นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ในระหว่างการก่อสร้างนั้น ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทำให้ต้องยุติลงชั่วคราว โดยตัวอาคารก็เป็นอาคารเปล่า ยังไม่มีประตูหรือหน้าต่าง ต่อมาทางหน่วยราชการจึงนำมาเป็นโกดังเก็บของ

 

ต่อมา นายบัณฑูร องควิสิษฐ์ ได้ชักชวนเพื่อนสนิทตั้งบริษัท ศิลป์ไทย และได้สานต่ออาคารดังกล่าวนี้เพื่อให้เป็นโรงมหรสพ โดยทำสัญญาเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จากนั้นจึงทำการก่อสร้างเพิ่มเติม โดย นายศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา หลังจากก่อสร้างเสร็จก็ได้ใช้ชื่อว่า "ศาลาเฉลิมไทย"

 

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เปิดเป็นโรงละครเวที เรื่อง "ราชันย์ผู้พิชิต"

 

หลังจากนั้น ศาลาเฉลิมไทย ก็สร้างนักแสดงขึ้นมากมาย เช่น ส. อาสนจินดา , สุพรรณ บูรณพิมพ์ , กัณฑรีย์ นาคประภา ฯลฯ

 

พ.ศ. 2495 ศาลาเฉลิมไทยได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นโรงภาพยนตร์

 

พ.ศ. 2496 ศาลาเฉลิมไทยฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ ในระบบ 3 มิติ เรื่อง MAN IN THE DARK ใต้อุ้งมือโจร

 

หลังจากนั้นไม่นาน ศาลาเฉลิมไทยได้ฉายภาพยนตร์ระบบซีนีมาสโคป เรื่องแรก ของบริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ นั่นคือ THE ROBE อภินิหารเสื้อคลุม

 

19 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ศาลาเฉลิมไทยได้ฉายภาพยนตร์ข่าว การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรรอบปฐมทัศน์ และเป็นรอบการกุศล รายได้ทั้งหมดมอบให้มูลนิธิคนตาบอด

 

หลังจากนั้น ศาลาเฉลิมไทยก็ฉายภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ เช่น

 

เรือนแพ (พ.ศ. 2504) , เป็ดน้อย (พ.ศ. 2511) ,โทน (พ.ศ. 2513) , เขาสมิง (พ.ศ. 2516 ขณะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ฯ พอดี) , สปาร์ตาคัส (SPARTACUS) ฯลฯ

 

พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้รื้อถอนโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อเปิดโล่งให้เห็นโลหะปราสาท วัดราชนัดดา ป้อมมหากาฬ ภูเขาทองและสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพลับพลาต้อนรับราชอาคันตุกะ  

 

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ทางศาลาเฉลิมไทยได้จัดแสดงละครเวทีเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" เป็นการอำลาอาลัย หลังจากนั้นก็ปิดตัวเป็นการถาวร โดยได้ขนย้ายอุปกรณ์ เครื่องฉาย และตัวอักษรชื่อโรง จากนั้นจึงทำการรื้อถอนทั้งหมด

 

ตัวอักษรชื่อโรงภาพยนตร์ ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งอยู่ที่ร้านขายของเก่า ริมถนนสายเอกชัย แต่จากนั้นไม่นานนัก ก็ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวอีกเลย

 

ส่วนเครื่องฉายภาพยนตร์ ปัจจุบันถูกเก็บจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟ ข้างสวนจตุจักร ผมเคยเข้าไปดูมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ แต่มีข้อมูลของเครื่องฉายด้วยครับโอกาสหน้าค่อยมาเพิ่มเติมต่อ




ขอบคุณอาจารย์นุ มากเลยครับสำหรับข้อมูล


อ่านกำลังมันส์ดันจบซะก่อน อย่าลืมเอาข้อมูลดีๆแบบนี้มาลงอีกนะ ชอบๆๆๆๆๆๆ


ตัวอักษรชื่อโรงภาพยนตร์ ที่อาจารย์นุได้กล่าวไว้ว่าวางไว้ที่ร้านขายของเก่า ริมถนนสายเอกชัย แต่จากนั้นก็มีแฟนพันธุ์แท้คนนึงของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย มาขอซื้อไปเป็นที่ระลึก ซึ่งผู้ขอซื้อนั้นยินยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนมหาศาลด้วยความเต็มใจ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าเศษเหล็กทั่วไป เปรียบสเหมือนเป็นของล้ำค่าทางจิตใจ
+


หนังไทยที่ฉายเรื่องสุดท้ายถ้าจำไม่ผิด  เพราะว่าฉันรักเธอ 

หนุ่มเสก แสดงคู่ หมิวลลิตา    ผมนั่งรถเมย์ผ่านไปมาช่วงนั้นพอดีเห็น cut out และรายการตามไปดูยังไปถ่ายทำอีกก่อนทุบ




เข้ามามั่วข้อมูลมั่ง (นิ้สนึง)

เครื่องฉายของเฉลิมไทย ผมเข้าใจว่าน่าจะมี 3 เครื่อง...
-เครื่องแรก ยี่ห้อ Century ยืนยันว่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟอย่างที่ครูนุว่าครับ ผมเคยไปดูสองสามครั้งได้
-อีกสองเครื่อง ก็ Century แต่เป็นรุ่น 35/70mm เคยเห็นที่หอภาพยนตร์ ตั้งแต่ตอนอยู่ที่เก่า ตรงหอศิลป์เจ้าฟ้า(ชื่อนี้ป่าวหว่า --a ) แต่พอย้ายไปอยู่ศาลายาแล้วนี่ก็ไม่รู้เหมือนกันครับ



เฉลิมไทยในมุมต่างๆ





+


รูปแรกเป็นรูปการฉายหนังโปแรมสุดท้าย ก่อนจะรื้อถอนโรงภาพยนตร์

ซึ่งจากที่ครูนุได้กล่าวไว้ว่าหลังจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ทางศาลาเฉลิมไทยได้จัดแสดงละครเวทีเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" เป็นการอำลาอาลัย หลังจากนั้นก็ปิดตัวเป็นการถาวร

จากนั้นก็เป็นการฉายภาพยนตร์โปรแกรมสุดท้าย เรื่องเพราะว่าฉันรักเธอหนุ่มเสก แสดงคู่ หมิวลลิตา เช่นเดียวกันกับที่คุณลภได้กล่าวมา

 

ส่วนอีกรูปเป็นรูปเครื่องฉายหนังของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟ





ภาพโรงหนังสมัยก่อนหาอยากจริงๆครับสำหรับคนหรือเด็กรุ่นหลังอย่างผมไม่ได้ดูและเห็นโรง
เมื่อก่อนครับ



ลงเรื่องของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยแล้ว ขอเรื่องของโรงภาพยนตร์เฉลิมเขตด้วยครับ


ขอขอบคุณ อาจารย์อนุกูลที่ให้ข้อมูลอย่างที่ดีและชัดเจนมากเกี่ยวกับศาลเฉลิมไทย  ก็ทำให้ผมคิดถึงความหลัง ตอนที่ปี 2530 ผมเลิกพากย์หนังกลางแปลงจากต่างจังหวัด และเดินทางเข้ากรุงเทพฯมาเรียนต่อที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ ในระหว่างเรียนต่อได้ไปทำงานที่โรงงานทอผ้า แถวครุใน วัดชมนิมิตร พระประแดง ได้มีโอกาสพาสาวโรงงานทอผ้ามาที่ยวดูหนังที่ศาลาเฉลิมไทย นั่งรถเมล์สาย 56 ที่สี่แยกบ้านแขก ถนนอิสรภาพ ผ่านสะพานพระปิ่นเกล้าตรงมาที่วังบูรพา ผ่านเรือนจำกลาง วัดเทพธิดาราม มาลงที่ป้ายผ่านฟ้าหน้าโรงหนังพอดี




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 16

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117029620 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :WilliamPHilk , Krendamxgew , LavillKer , mnlemunc , เอก , BobbyHOm , KXMartin , พีเพิลนิวส์ , นนท์ , แสบ chumphon ,