Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-เฉลิมทองคำ อดีตเบอร์ 1 แห่งเมืองคนงาม บ้านโป่ง จ.ราชบุรี.. 6/9/2553 22:38
-ขออนุญาตแนะนำ หนังสือ BIOSCOPE ฉบับ 105 สิงหาคม 2553 เรื่องราวโรงหนังเก่า.. 2/9/2553 13:07
-โรงภาพยนตร์ เฉลิมไทย.. 29/7/2553 9:48
-ไปดูชุดฉายที่โรงหนังโคกสำโรง ลพบุรี.. 23/7/2553 20:04
-ดีไซน์โรงหนังเก่า กับโรงหนังใหม่ และโรงหนังที่กำลังจะเปิด .. 23/7/2553 14:52
-เกษียณอายุ 30 ปี ปิดตำนานโรงหนังเบอร์ 1 ของภาคอีสาน ปริ๊นซ์ขอนแก่น (2523-2552).. 22/7/2553 22:39
-โรงหนังครูทวี .. 20/7/2553 16:47
-ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์.. 15/7/2553 12:07
-ฟื้นชีวิตเหยื่อเผาเมือง "โรงหนังสยามต้องไม่ตาย".. 14/7/2553 11:33
-โรงหนัง .. 14/7/2553 0:06
-โรงหนังเปิดใหม่สดๆซิงๆครับ.. 11/7/2553 9:58
-ปิดตำนานโรงหนังเสรีมัลติเพล็ค ลำปาง.. 25/6/2553 23:14
-+ + โรงภาพยนตร์สุวรรณราม่า จ,เลย (พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์).. 13/6/2553 20:31
-ขอไว้อาลัย และปิดตำนานโรงหนังสยาม .. 10/6/2553 18:44
-โรงภาพยนตร์เสริมสุข อ.กุภวาปี จ.อุดรธานี.. 16/5/2553 23:38
-และแล้วก็ถึงตอนอวสานของโรงภาพยนตร์ชานเมือง "เอเซียรามา" เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร.. 26/2/2553 18:34
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 250

ขอไว้อาลัย และปิดตำนานโรงหนังสยาม


จากเวปไซต์ผู้จัดการครับ

ผมขอไว้อาลัยต่อการจากไปของโรงภาพยนตร์ที่อยู่คู่กับย่านราชประสงค์ เกือบ 40 ปี

ประมวลภาพความเสียหายของโรงหนังสยาม ภายหลังถูกพระเพลิงเผาจนวอดวาย จากการตรวจสอบความเสียหายพบว่า โรงหนังสยามได้พังลงมาแล้ว เหลือเพียงแต่ซากปรักหักพังจากการถูกเผา ซึ่งกินบริเวณแถบหน้าสยามทั้งหมด ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสยามพารากอน






ความเห็น

[1] [2]


ใครมีภาพครั้งอดีตที่รุ่งเรือง ขอชมบ้างนะครับ


จุดก่อกำเนิดของโรงภาพยนตร์ที่สยามสแควร์ เนื่องจากคุณพิสิฐ ตันสัจจา โชว์แมนคนสำคัญของเมืองไทยในขณะนั้น

หลังจากที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการทำโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยจากที่เคยเป็นโรงละครมาเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยที่ทำรายได้มากมาย เป็นผู้ริเริ่มคนแรกในการนำเข้าระบบการฉายภาพยนตร์ในแบบต่างๆ เช่น

- ระบบสามมิติ
- ระบบ ทอคค์ - เอ โอ
- ซีเนมาสโคป
- ซีเนรามา (เลนส์เดียว)
- 70 ม.ม.
- ซีเนรามา ฉายพร้อมกัน 3 เลนส์


จากความสามารถที่ปรากฏให้เห็นในด้านธุรกิจบันเทิงของคุณพิสิฐ ตันสัจจา จึงทำให้ได้รับการติดต่อจากคุณกอบชัย ซอโสตถิกุล เจ้าของบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณนี้มาปรับปรุงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างอาคารต่างๆ บนที่ดินผืนนี้ คุณพิสิฐ ตันสัจจา มาร่วมด้วยโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ทั้งสามโรง

เดิมแต่แรกตอนเริ่มต้นก่อสร้างใหม่ๆ บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ยังไม่มีร้านค้าใดเลย สมัยที่โรงภาพยนตร์โรงแรกเสร็จยังต้องส่งปิ่นโตให้กับพนักงานทาน เพราะแถวนี้ไม่มีร้านอาหารเลย จะต้องไปไกลถึงสามย่าน ซึ่งสมัยนั้นกว่าจะถึงสามย่านก็ต้องใช้เวลานานมากมีรถเมล์น้อยสาย ไม่ทันที่จะกลับมาทำงาน ตามรอบได้ทันเวลา แสงสว่างรอบๆ โรงภาพยนตร์จะต้องใช้ไฟของโรงภาพยนตร์ต่อไปใช้ตามที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาชมภาพยนตร์รอบค่ำ และสมัยนั้นค่าชมภาพยนตร์ราคาตั้งแต่ 10 บาท 15 บาท สูงสุด 30 บาท

โรงภาพยนตร์สยาม 800 ที่นั่ง เปิดฉายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2509 ด้วยเรื่อง "รถถังประจัญบาน" (BATTLE OF THE BULGE) ของบริษัทภาพยนตร์ วอร์เนอร์ บราเดอร์สฯ นำแสดงโดย เฮนรี่ ฟอนด้า, โรเบิร์ต ชอว์ และเป็นโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุด มีบันได้เลื่อนขึ้นลงเป็นแห่งแรก

ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน 2511 เปิดโรงภาพยนตร์ลิโด ที่นั่ง 1,000 ที่ ด้วย ภาพยนตร์เรื่อง "ศึกเซบาสเตียน" (GAMES FOR SAN SEBASTIAN) ของบริษัท เมโทร โควิลด์ฯจำกัด นำแสดงโดย แอนโธนี่ ควินส์ ฯลฯ และต่อมาวันที่ 31 ธันวาคม 2512 เปิดโรงภาพยนต์ สกาลา จำนวนที่นั่ง 1,000 ที่ ด้วยภาพยนตร์เรื่อง "สองสิงห์ตะลุยศึก" นำแสดงโดยจอห์น เวนย์, ร็อค ฮัดสัน และ ไท ฮาดีน ฯลฯ เป็นโรงภาพยนตร์ซีเนรามาที่สมบูรณ์ขั้นมาตรฐานโลกแห่งที่ 3 ณ บริเวณศูนย์การค้าแห่งนี้

โรงภาพยนตร์ "สยาม" เดิมทีเดียวตั้งใจจะใช้ชื่อว่าโรงภาพยนตร์ "จุฬา" แต่มีผู้ใหญ่คัดค้านเข้าใจว่าจะเป็น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ บอกว่าเป็นชื่อของพระมหากษัตริย์และเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ไม่สมควรจะใช้ชื่อเดียวกัน จึงเปลี่ยนเป็น "สยาม"

โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงนี้ เป็นผู้นำในการจัดฉายภาพยนตร์เพื่อการกุศลโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น รายได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยทูลเชิญเสด็จล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินรอบปฐมทัศน์ อาทิเช่น เรื่อง "OLIVER" และเรื่อง "HELLO DOLLY" และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จรอบปฐมทัศน์ รายได้สมทบทุน "ประชาธิปก" ภาพยนตร์เรื่อง "LOST HORIZON" ฯลฯ

การโฆษณาให้คนรู้จักโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 มากขึ้น ทางผู้บริหารโรงภาพยนตร์ได้จัดพิมพ์หนังสือซึ่งเรียกว่า "สูจิบัตร" ข่าวภาพยนตร์ขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2513 เรียกตุลาบันเทิง

เพราะในสมัยนั้นจัดว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่โก้ที่สุดในเมืองไทย สูจิบัตรนี้แจกฟรีกับผู้ที่มาดูภาพยนตร์จะมีข้อมูลทุกอย่าง ออกเป็นรายเดือน เล่มใหญ่ มีเนื้อหาสาระมากเกี่ยวกับภาพยนตร์ และคำว่า "สยามสแควร์" ที่เป็นที่รู้จักกันมาจนทุกวันนี้มาจากคุณพอใจ ชัยเวฬ เขียนคอลัมน์ ซุบซิบเกี่ยวกับคนบันเทิง และผู้ที่มีชื่อเสียงรู้จักมักคุ้น เขียนเป็นคอลัมน์ "สยามสแควร์" ในหนังสือสูจิบัตรข่าวภาพยนตร์นี้เอง โดยจะมีผู้มีเกียรติเขียนลงในหนังสือเล่มนี้ อาทิเช่น สันตศิริ หรือครูสงบ สวนสิริ, ประมูล อุณหธูป, วิลาศ มณีวัตร, บัวบาน , สุจิตต์ วงษ์เทศ สายัณห์ แห่ง เดลินิวส์, ขรรค์ชัย บุนปาน, เวทย์ บูรณะ, ประจวบ ทองอุไร ฯลฯ

จากหนังสือแจกฟรี ก็มีจดหมายติชม ขอบคุณ ที่ทางผู้บริหารโรงภาพยนตร์ได้มอบสิ่งดีๆ ตอบแทนให้กับผู้มาใช้บริการโรงภาพยนตร์ และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ สยามสแควร์ ก็ยังคงเป็นความทันสมัย เป็นสีสรรบันเทิงของคนกรุงเทพฯ เป็นสถานที่สำหรับวัยรุ่นพบปะกัน เป็นแหล่งซื้อหาเสื้อผ้าที่นำสมัย อยู่ตลอดระยะเวลา 36 ปี ทุกอย่างยังคงดำเนินไป และคงเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนกับแห่งอื่นคือเป็นผู้นำตลอดมา โดยความร่วมมือร่วมกันของชาวสยามสแควร์ และรวมถึงการสนับสนุนจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ทุกอย่างมีผู้บริหารคิดทำขึ้นก็เพื่อต้องการให้ผู้รับบริการของเราได้ในสิ่งที่ดี ไม่ถูกการเอาเปรียบ แม้แต่การเลือกภาพยนตร์ในสมัยก่อนจะต้องศึกษาอย่างจริงจังและล่วงหน้าว่าบริษัทฯไหนมีภาพยนตร์ที่ดี, ใหญ่ ก็จะเซ็นสัญญาล่วงหน้ากันไว้ การที่มีโรงภาพยนตร์หลายโรงก็เพื่อต้องการให้มีความหลากหลาย ไม่เหมือนการจัดหนังในปัจจุบันนี้ทุกโรงฉายเหมือนกันหมด

ศูนย์การค้าแต่ละแห่งที่ผ่านๆ มา ก็จะหยุดหายกันไป ไม่มีใครอยู่ได้นานเท่ากับสยามสแควร์แห่งนี้ มองจากโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงดังกล่าวข้างต้นนั้นแล้ว จะเห็นความสวยงามกันคนละแบบ เป็นโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่มีความงามในตัวของเขาเอง แม้ 36 ปีล่วงมาแล้ว

โรงภาพยนตร์สกาลายังคงความสวยงามในด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก และยังคงเป็นที่กล่าวถึงมาจนทุกวันนี้ ซึ่งผู้บริหารโรงภาพยนตร์มีความภาคภูมิใจมาก แม้มีโรงภาพยนตร์ขึ้นมาอีกมากมายก็ไม่สามารถสร้างได้ใหญ่และสวยเท่า ยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินงานปรับปรุงและเสริมสิ่งใหม่ๆ ให้กับโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงในสยามสแควร์นี้ ก็เป็นไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหน้าโรงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของถนนพระราม 1 การติดตั้ง"DOLBY DIGITAL" ที่ได้ติดตั้งก่อนผู้อื่นตามด้วยระบบ SRD DTS SDDS รวมทั้ง SURROUND ที่ติดตั้งก่อนผู้อื่นเช่นกัน และล่าสุดติดตั้ง "OZONE" ให้อากาศสดชื่นบริสุทธิ์ เพื่อความสุขอีกระดับของผู้ชม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงในสยามสแควร์ ยังคงตรองใจในการให้ความสุขครบถ้วน แก่ผู้ชมภาพยนตร์ทุกท่าน

โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 แห่ง นอกจากจะเป็นผู้นำระบบต่างๆ แล้วยังมีความเป็นผู้นำในการทำร้านเล็กๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่มีทุนน้อยเริ่มทำงานใหม่ เริ่มต้นจากการเช่าร้านเล็กๆ จากใต้ถุนโรงภาพยนตร์ของเรา ต่อมาเขาสามารถเป็นผู้ส่งออกได้ หรือทำเป็นร้านขายส่งได้ หลายคนที่ประสพความสำเร็จจากการริเริ่มของเรา และต่อมาได้มีคนมาเอาอย่างของเราไปทำกันมากมายในศูนย์การค้าอื่น


ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์



ขณะนี้ ไม่มีโรงหนังสยามอีกแล้ว เนื่องจากได้ถูกเผาทำให้อาคารเกิดการทรุดตัว ถล่มลงมาในวันที่ 19 พฤษภาคมแล้ว  เศร้าอย่างแรง Y_Y





โรงหนังไม่เคยทำร้ายใคร ไว้อาลัยการจากไปของ "สยาม"




เห็นแล้วใจหายหมดเลย พนักงานตกงานอีกแล้ว


ไม่คิดว่าจะมีเหตุการณ์ ถึงขั้นนี้เลย...ขอไว้อาลัยด้วยครับ....




ถ้ามันปิดเพราะกิจการไปไม่รอดก็ยังพอทำใจได้ แต่โดนเผาเลยเสียตายมาก ไม่รู้ว่าผู้บริหารจะสร้างใหม่หรือเปล่านะครับ   ฝั่งตรงข้ามอย่างเซ็นทรัลเวิล์ด ที่มีโรงเอสเอฟอีกนะครับ แม้จะเป็นโรงใหม่ก็น่าเสียดาย ผมไม่รู้ว่าแกรนด์อีจีวี โรงหนังในพารากอน อีจีวีเมโทรโพลิศในบิ๊กซีราชดำริอีก ไม่รู้เป็นไงบ้าง ถือว่าเป้นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการโรงหนังก็ว่าได้นะครับ


ผมก็เสียดายครับคงจะไม่มีให้เห็นอีกแล้วโรงหนังที่มีไว้ให้ดูหนังแนวอินดี้ดีๆและก็ที่พบปะเพื่อนฝูงที่ทำกิจกรรมหลายๆอย่างในอดีตของผมเสียใจจริงๆครับ และที่  ctw  ก็เช่นกันครับเมื่อก่อนเรียนที่ กทม ไปเกือบทุกอาทิตใจหายครับขอไห้เหตการนี้เป็นเหตการสุดท้ายนะครับ


น่าเสียดาย เคยดูนานแล้ว สมัยเรียนอยู่พาณิชราชดำเนินกับสาว ๆ พาณิชย์อ่ะ ถ่ายรูปไว้แต่ขึ้นไม่ได้อ่ะ เสียว


ไม่อยากจะพูด เฮ้อ


"ก็ถือว่าเป็นโรงหนังเก่า เป็นโรงหนังสแตนอโลน เป็นโรงหนังทางเลือกที่มีแฟนอยู่เป็นประจำ ซึ่งสำหรับคนที่ดูหนัง จริงๆ ผมว่ามันก็เหมือนกับโบสถ์น่ะครับ คือนอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว มันยังให้ความคิดและปัญญาอีกด้วย มันก็น่าเสียดายนะ..."  โดม สุขวงศ์  หัวหน้างานอนุรักษ์ภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากรเผยถึงความรู้สึกหลังหนึ่งในโรงภาพยนตร์ที่เป็นตำนานที่มีลมหายใจของบ้านเราต้องถูกเผาวอดวาย



      ขอไว้อาลัยด้วย เช่นกันครับ  เขาเรียกว่าโดนลูกหลงแท้ๆ   ยิ่งมีน้อยๆ อยู่ สำหรับโรงหน้งประเภทนี้    หมดกัน!  ยิ่งจำพวกอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องเสียง เครื่องฉาย  ฟิล์ม(คาดว่าที่นี่ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่เขาเก็บฟิล์มไว้เยอะเหมือนกัน)  กลายเป็นเถ้าถ่านไปซะแล้ว

      และโรง SFX ที่เซ็นทรัลเวิลด์ด้วย เฉพาะอุปกรณ์ต่างๆ  ไม่ต้องพูดถึง  แต่ก็ไม่แน่ใจดูตามภาพ ในสื่อต่างๆ   บริเวณจุดที่ถล่มลงมา ตรงกับโรงหนังหรือเปล่า...   ผมก็เคยไปอยู่ โรงหนังจะอยู่ชั้น 6 ติดกับ โซนอีเซตัน




ความเห็นส่วนตัวในฐานะที่เป็นคนชอบหนังเหมือนกัน ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นกับโรงหนังที่เป็นตำนานแบบนี้เลย ขอให้คนที่ไปเผาได้รู้ไว้ว่าคุณได้ทำลายประวัติศาตร์ทางโรงหนังของเมืองไทยไปแล้ว เชื่อว่ากรรมคงตามทัน เสียใจจริงๆ




จุก พูดไม่ออก




ตอนที่ผมกำลังพิมพ์อยู่ ในทีวีก็กำลังเป็นภาพโรงหนังสยามอยู่พอดี

เห็นแล้ว ไม่มีคำพูดอะไรแล้วครับ

T_T



 

 

"ลุง ๆ สูทเหลือง" ที่อยู่หน้าโรงภาพยนตร์ใจดีมากเลย 

เจ๊ตุ๊กเคยคุยกับพวกลุง ๆ ก่อนที่ภาพยนตร์จะเริ่มฉายในแต่ละรอบ (ลุงคนหนึ่งชอบเข้ามาทักทายคนดู)

ตั้งแต่สมัยที่เจ๊ยังสาว ๆ อยู่  ก็ประมาณ 40 ปีมาแล้ว.

 

 

 




น่าเสียดาย


เสียดายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ   เคยไปนั่งดูเมื่อหลายปีก่อน




พวกเรามีวิธีใดบ้างที่จะทำให้โรงภาพยนตร์แห่งนี้ฟื้นคืนชีพมาอีกครั้ง

มาช่วยกันแชร์ความคิดกันนะครับ.....




 

 

เวลาเข้าไปที่  "สกาลา" ... มีความรู้สึกเหมือนจะเป็น "โรงแรมหรู ๆ " มากกว่า "โรงภาพยนตร์"

 

เหมือนมีมนต์ขลังด้วย...ดูโอ่อ่า

 

 

แล้วตอนนี้ "สกาลา" ยังสบายดีอยู่หรือเปล่า ?

 

 

 

 

 




เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 24

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117029499 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :WilliamPHilk , Krendamxgew , LavillKer , mnlemunc , เอก , BobbyHOm , KXMartin , พีเพิลนิวส์ , นนท์ , แสบ chumphon ,