Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
มุมสะสมของเก่า เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-จะคุยเรื่อง "ดิ อิมพอสซิเบิ้ลส์".. 12/7/2553 17:07
-อำลาอาลัย ฟลอปปีดิสก์ ฉันจะคิดถึงเธอ..... 10/7/2553 11:55
-เทปเพลงเก่าครับ.. 5/7/2553 11:28
-ค่าโวลต์.. 1/7/2553 12:19
-โดเรม่อน มาฟังนิทานกัน.. 4/6/2553 11:42
-หนังอัพเดทที่นี่จ้า...ยังไม่มีคนตอบ
-ของเก่าที่มาจากร้านของเก่า.. 26/5/2553 14:39
-เพลงเก่า ๆ หาได้จ้ายังไม่มีคนตอบ
----------------เปิดกรุหนังเก่า----ที่นี่เร็วๆนี้ครับ----------------.. 4/5/2553 19:39
-เปิดห้องใหม่.. 1/5/2553 23:15
-เพลงประกอบภาพยนตร์ฝร่งเก่าๆจากแผ่นเสียง ตอน 3.. 8/11/2551 5:06
-แผ่นเสียงเพลงจากหนังจีนยุค 50 - 70 ครับ.. 25/9/2551 1:48
-ม้วนวีดีวีโอเก่าๆ.. 19/9/2551 1:18
-แผ่นเสียงระดับออดิโอฟายๆๆๆๆๆ.. 25/10/2550 21:37
-แผ่นซีดีออดิโอฟายครับ.. 15/10/2550 21:37
-อภิมหาอมตะแผ่นออดิโอ ฟายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.. 15/10/2550 21:36
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 208

อำลาอาลัย ฟลอปปีดิสก์ ฉันจะคิดถึงเธอ...


สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน หากอยู่ในวัยเบญจเพสขึ้นไป ก็คงจะคุ้นเคยกับวัสดุเก็บข้อมูลที่เรียกกันว่า 'ฟลอปปีดิสก์' หรือที่เรียกกันติดปากว่าไดร์ฟ-เอ หรือฟลอปปี-เอ เป็นอย่างดี
       
แต่ถ้าหากเป็นกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ อาจจะคุ้นๆ อยู่บ้าง แต่ส่วนมากมักจะนึกหน้าตาของมันไม่ค่อยออก เพราะว่าในปัจจุบันการเก็บข้อมูลนั้น ไม่ค่อยมีการใช้แผ่นฟลอปปีดิสก์สักเท่าไหร่ ค่าที่มันเก็บข้อมูลได้น้อย และทันสมัยสู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง ซีดี ดีวีดี หรือทัมป์ไดรฟ์ไม่ได้
       
ก็คงเป็นธรรมดาที่ของตกรุ่น ก็ต้องล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา

ล่าสุด บริษัทโซนี่ก็ได้ประกาศจะยกเลิกการผลิตแผ่นฟลอปปีดิสก์ ออกจากสายงานการผลิตของบริษัทแล้ว ถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านมา โซนี่จะมียอดการจำหน่ายมากถึง 12 ล้านแผ่นก็ตาม
       
แต่ยอดขาย 12 ล้านแผ่นที่ว่านี้มันเป็นเพราะโซนี่เป็นบริษัทขนาดยักษ์ใหญ่บริษัทเดียว ที่ยังคงผลิตฟลอปปีดิสก์อยู่ต่างหาก
       
อันที่จริงวี่แววการจากไปของฟลอปปีดิสก์นั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่การที่แอปเปิล ไม่ยอมใส่อุปกรณ์อ่านฟลอปปีดิสก์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไอแมกของตนใน 1998 แล้ว ซึ่งตอนนั้นแอปเปิลก็โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แต่พอมาในปี 2004 บริษัทเดล และ เกทเวย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ ก็ดำเนินรอยตามแอปเปิ้ล
       
มาถึงวันนี้ หากเราเดินดูคอมพิวเตอร์ที่มีขายอยู่ตามร้านรวงต่างๆ ก็จะพบว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ตัวไหนที่มีเครื่องอ่านฟลอปปีดิสก์ ติดมากับเครื่องเลย หรือนั่นจะเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาอันสมควรแล้วของการจากไปของฟลอปปีดิสก์...


+

ความเห็น

[1]


รู้จักฟลอปปีดิสก์
       
            ฟลอปปีดิสก์ เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2513 เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยฟลอปปีดิสก์แผ่นแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกนั้น มีขนาดใหญ่ถึง 8 นิ้ว เลยทีเดียว และมีความจุแค่ 80 กิโลไบต์เท่านั้น
       
            หากจินตนาการไม่ออก ก็ลองคิดง่ายๆ ว่าหากจะเก็บเพลง 1 เพลง (โดยเฉลี่ยแล้วจะมีขนาด 4 เมกกะไบท์) ก็ต้องใช้แผ่นรุ่นแรกนี่ถึง 50 แผ่น แต่ต่อมาความจุของแผ่นก็ถูกพัฒนามาเป็น 256 กิโลไบท์ และใช้เวลาพัฒนาต่อมาอีก 10 ปี ก่อนที่จะลดขนาดแผ่นลงมาเป็น 5 นิ้วกว่าๆ และมีความจุประมาน 1.2 เมกกะไบท์
       
            ซึ่งแผ่นรุ่นนี้นี่เอง ที่เข้ามามีบทบาทในเมืองไทย ถ้าใครเกิดทันก็คงจะจำโปรแกรมเวิร์ดจุฬา และเวิร์ด ราชวิถี ซึ่งเป็นโปรแกรมเวิร์ด โปรเซสเซอร์ (โปรแกรมพิมพ์งาน) โปรแกรมแรกๆ ของไทยกันได้ ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ก็ใช้เจ้าแผ่นฟลอปปีดิสก์นี่แหละเป็นตัวเก็บข้อมูล
       
            ต่อมา ก่อนเข้าทศวรรษที่ 90 ฟลอปปีดิสก์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยปรับขนาดไปอยู่ที่ 3 นิ้วครึ่ง และมีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 1.44 เมกะไบต์ และใช้เป็นมาตรฐานเรื่อยมา
       
            จวบจนเดินทางมาถึงวันนี้ วันที่แผ่นฟลอปปีดิสก์ จะจากไปอย่างเป็นการถาวร
       
       

       เรื่องของคนร่วมสมัย (ก่อน)
       
            "ตอนนั้นคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้ยังเป็นเทคโลโลยีรุ่นเก่ามากๆ นะ จอยังเป็นจอเขียว จำได้ว่าคอมพ์เครื่องแรกของผมยังไม่มีฮาร์ดดิสก์เลย แต่ใช้แผ่นฟลอปปีดิส 5 นิ้วครึ่ง (จริงๆ มันมีขนาด 5 กับเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว แต่คนทั่วไปเรียกติดปากกว่าเป็นแผ่น 5 นิ้วครึ่ง) เป็นตัวเก็บข้อมูล"
       
            นั่นคือเสียงรำลึกความหลังของ กมล อุ่นชู นักบริหารองค์ความรู้ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ผู้ที่มีโอกาสได้สัมผัสเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ที่เข้ามายังประเทศไทย
       
            "คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของผมมันมีไดรฟ์อยู่ 2 ไดรฟ์ ใส่แผ่น 5 นิ้ว ได้ 2 แผ่น ไดรฟ์แรกเอาแผ่นดอส ใส่เข้าไป ส่วนไดรฟ์ที่สองก็เอาแผ่นที่มีโปรแกรมเวิร์ดจุฬาใส่ลงไป ก็ใช้งานได้ แต่ถัดมาในช่วงมหาวิทยาลัย คอมพิวเตอร์ก็เข้าสู่ยุคถัดมาซึ่งถือเป็นยุคเปลี่ยนผ่าน คือไดรฟ์หนึ่ง เป็นขนาด 5 นิ้วครึ่ง ส่วนอีกไดรฟ์ เป็นขนาด 3 นิ้วครึ่งซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมา"
       
       
     และเมื่อคอมพิวเตอร์แบบจอสีเข้ามา กมลก็ไม่รีรอที่จะหามาใช้งาน โดยเขาใช้งานมันเกี่ยวกับเรื่องของภาพเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า การทำงานกับภาพ ก็ย่อมจะมีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย จนทำให้แผ่นฟลอปปีดิสก์ที่มีขนาดจุเพียง 1.44 เมกะไบต์ เริ่มไม่พอใช้งาน
       
            "เครื่องสมัยก่อนมันประมวลผลช้า แรมก็มีน้อย ดังนั้นรูปที่ทำก็ขนาดไม่มาก แค่ 100 200 เค ก็หรูแล้ว ตอนนั้นซีดีออกมาแล้ว แต่ก็ยังมีราคาแพง นอกไปจากนั้นก็มีแผ่นซิปไดรฟ์ที่เก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่นฟลอปปีดิสก์อีกด้วย แต่ซิปไดรฟ์นี่ไม่ค่อยนิยมกันเพราะมันต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะของมันในการอ่าน"
       

       
     ซี่งเมื่อเราเอาเรื่องของการเอาข้อมูลจำนวนมากๆ ไป เก็บไว้ในฟลอปปีดิสก์มาลองคิดดูกับขนาดของไฟล์งานต่างๆ ในสมัยนี้ เราจะเห็นได้ว่า ฟลอปปีดิสก์นั้น มันเล็กและล้าสมัยเกินไปจริงๆ
       
            "โอ้โห ! จินตนาการไม่ออกครับ คงต้องใช้ฟลอปปีดิสก์เป็นร้อย สมมติว่าต้นฉบับงาน 100 เมกฯ ก็ร้อยแผ่นแล้ว ดีวีดีแผ่นหนึ่ง 4 กิ๊กกว่าๆ ก็ต้องใช้ 4 พันแผ่น"
       

       
     เป็นคำตอบที่ต้องอาศัยจินตนาการปริมาณมาก เมื่อเราถาม ปรัชญา สิงห์โต เว็บมาสเตอร์ f0nt.com วัย 28 ปี ว่า ด้วยปริมาณงานอย่างปัจจุบันนี้ ต้องใช้ฟลอปปีดิสก์กี่แผ่นเพื่อเก็บข้อมูล
       
            สำหรับปรัชญา ที่เคยผ่านยุคฟลอปปีดิสก์มา (นั่นคงบ่งบอกอายุได้) เขาเล่าว่า สมัยก่อน เขาต้องเรียนวิชาแบ่งไฟล์ขนาดใหญ่ออกเป็นไฟล์ย่อยๆ เพื่อที่จะเก็บมันลงไปในฟลอปปีดิสก์หลายๆ แผ่น
       
            แต่เขาก็บอกว่า มันไม่ใช่ความยุ่งยาก?
       
            นั่นเป็นเพราะว่าในยุคนั้น เทคโนโลยีมีอยู่เท่านั้น ไม่มีตัวเลือกอื่น ขณะที่ปริมาณงานและพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เหมือนยุคนี้
       
            "เทคโนโลยีก็ทำให้ไฟล์ยังไม่ใหญ่มาก อย่างเกมเกมหนึ่งแค่ไม่กี่เมกฯ ก็เล่นได้แล้ว เกมหนึ่ง 3 เมกฯ ก็พกแผ่นไป 3 แผ่น แต่พอวันหนึ่งมีซีดีออกมา ทำไมแผ่นฟลอปปีดิสก์มันเล็กจัง สมัยนั้นถ้าลงวินโดวส์ก็ใช้แผ่น 9 แผ่น ลงออฟฟิศก็ใช้ 11 แผ่น ยังจำได้ แล้วก็ต้องมัดใส่กล่องรวมกัน ถ้ามันเจ๊งแผ่นหนึ่งก็เจ๊งทั้งแผง อ๋อ! แล้วก็ต้องเขียนเบอร์ด้วยว่าแผ่นไหนก่อนหลัง"
       
       
     ซึ่งนั่นเป็นความหลังแสนหวาน ที่อยู่ในความทรงจำของคนรุ่นก่อน และมันก็กำลังจะกลายเป็นความทรงจำไปตลอดกาล
       
       
เจเนอเรชัน 'ทัมป์ไดรฟ์'
       

            แต่กับคนอีกรุ่นหรือเจเนอเรชันหนึ่ง ฟลอปปีดิสก์ อาจจะไม่มีความสำคัญหรือมีความหลังครั้งก่อนร่วมกับเขาเหล่านั้นเลย อย่างเช่น วิภาพรรณ วงศ์สว่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเธอทำกราฟิกดีไซน์เป็นงานอดิเรก เธอบอกว่ารู้จัก เคยเห็น
       
         
   "แต่ไม่เคยใช้ เกิดไม่ทัน ตอนที่เขาใช้กัน ยังอยู่อนุบาล"
       

            วิภาพรรณเล่าว่าใช้คอมพ์ครั้งแรกตอน ป.1 ซึ่งตอนนั้นเทคโนโลยีแผ่นซีดีก็เข้ามาในเมืองไทยแล้ว เธอจึงคุ้นเคยกับแผ่นซีดีรอมมาจนถึงชั้น ม.1 ซึ่งเธอใช้เก็บรูปภาพที่ถ่ายกับเพื่อนๆ
       
            "ประมาณ ม.2 ก็เปลี่ยนมาใช้แฟลชไดรฟ์ แต่ยังไม่ค่อยได้เก็บข้อมูลมากนัก มันสะดวกกว่ามากๆ ซีดี ณ ตอนนั้น มันไม่ใช่ซีดีที่ไรต์ทับๆ กันได้ แต่ถ้าเป็นแฟลชไดรฟ์ เราจะลบหรือจะเก็บข้อมูล มันง่าย เดี๋ยวนี้แฟลชไดรฟ์ความจุเยอะๆ ก็มี เอาไปเสียบเครื่องอื่นก็ง่ายกว่าซีดีเยอะ"
       
       
     ดังนั้น การที่แผ่นฟลอปปีดิสก์จะเหือดหายไปจากพิภพ จึงไม่ทำให้วิภาพรรณรู้สึกอะไร ในเมื่อทั้งเธอและเพื่อนๆ ต่างก็ไม่เคยใช้งานเจ้าฟลอปปีดิสก์เลย
       แล้วในมุมมองของคนที่ติดตามข่าวสารในวงการไอทีอย่างใกล้ชิดล่ะ เขาจะมองเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง?
       
            "เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของนวัตกรรมที่เจริญก้าวหน้าไป อีกขั้นหนึ่ง เพราะฟลอปปี-เอ มันจุไฟล์ได้แค่ 1.44 เมกะไบต์เอง มันเก็บอะไรไม่ได้อยู่แล้ว อย่างเพลงยังเก็บได้ไม่ครึ่งไฟล์เลย ขณะที่ในยุคนี้มันมีอะไรใหม่ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นซีดี ดีวีดี ยูเอสบี แฟลชไดรฟ์ เข้ามาแทนที่ ซึ่งถ้าเทียบในเชิงประสิทธิภาพแล้ว ก็มีสูงกว่า เข้ามาแทนที่"
       
       
     นั่นเป็นความเห็นของ ซี-ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ พิธีกรรายการไอทีชื่อดัง ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเธอเป็นคนรุ่นทัมป์ไดรฟ์คนหนึ่ง เพราะถ้าพิธีกรรายการไอทียังใช้สื่อรุ่นคุณลุงอย่างฟลอปปีดิสก์อยู่ก็คงจะไม่งามเป็นแน่
       
            "สำหรับตัวซีเองก็อาจจะไม่ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ แต่เราคงตอบไม่ได้หรอกว่ามันควรจะมีอยู่ไหม เพราะเรื่องแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมผู้ใช้ เพราะอย่างเด็กๆ ก็ไม่ได้เล่นฟลอปปี-เอ กันแล้ว แต่ถามอีกมุมหนึ่งว่าเขาลืมไหม ซีคิดว่าคงไม่หรอก เพราะถ้าสังเกตดีๆ เวลาเซฟไฟล์ข้อมูลต่างๆ ปุ่ม Save As ของเรามันยังมีไอคอนของเรา มันยังมีไอคอนฟลอปปี-เอ อยู่เลย ทำไมมันถึงไม่เป็นรูปซีดีล่ะ เพราะมันเป็นต้นกำเนิดรุ่นแรกของการเซฟข้อมูลไง ทุกวันนี้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศรุ่นใหม่ๆ เขาก็ยังเป็นรูปนี้อยู่เลยนะ ไม่เห็นจะเปลี่ยนเลย"
       

       
                      
            อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง เชื่อขนมกินได้เลยว่า ในอนาคต อุปกรณ์เก็บข้อมูลจะต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปอีก ทั้งในด้านความจุ ความสะดวก และความเร็ว เช่น ยูเอสบีเวอร์ชัน 2 ที่เราใช้อยู่ก็คาดว่าจะคืบคลานเข้าสู่เวอร์ชันต่อไปในอีกไม่ช้านานนี้
       
            และหากวันหนึ่ง อินเตอร์เน็ตยุค 3 จี เกิดขึ้นจริง การเก็บข้อมูลก็อาจจะเก็บไว้ในอินเตอร์เน็ต แทนที่จะเก็บใส่ทัมป์ไดรฟ์อันเล็กๆ ที่ชวนให้เผลอลืมได้ ถึงวันนั้น คนเราก็คงต้องฝากชีวิตไว้กับเทคโนโลยีมากกว่าที่เป็นอยู่
       

                            ..........
       

                     ****เกร็ดน่ารู้****
       

       
       หล่นหายไปตามเวลา
       

            เปล่าเลย ฟลอปปีดิสก์ไม่ใช่เทคโนโลยีเพียงประเภทเดียวที่ถูกเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าผลักไสให้เป็นโบราณวัตถุ แล้วจึงค่อยๆ หล่นหายไปจากเวที ไม่ได้บอกว่ามันหายไปโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ว่าจำนวนคนที่ใช้สิ่งของเหล่านั้นจำกัดวงแคบเข้าทุกที บางอย่างเด็กรุ่นใหม่อาจต้องใช้จินตนาการแทนการนึกจากภาพที่เคยเห็น
       หลายสิ่งอย่างที่ว่า ขอยกตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ สัก 4-5 อย่าง
       

       - พิมพ์ดีด ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2237 เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว มันช่างไม่สะดวกเลยกับการพิมพ์งานเอกสาร ยิ่งเมื่อไมโครซอฟต์เวิร์ดเข้ามา พิมพ์ดีด ไม่ว่าจะแบบใช้และไม่ใช้ไฟฟ้า ก็ค่อยๆ หายไป คงมีแต่คนรุ่นเก่าๆ หรือนักเขียนที่รักความคลาสสิกไม่กี่คนที่ยังใช้อยู่
       

       - เครื่องเล่นวิดีโอเทป สร้างขึ้นในปี 2499 เชื่อว่าเด็กหลายคนอาจไม่รู้จักอุปกรณ์ชิ้นนี้ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเครื่องแสดงฐานะของผู้มีอันจะกิน ที่สามารถหาซื้อภาพยนตร์บรรจุกล่องมาดูที่บ้านได้ แต่เดี๋ยวนี้เหรอ? มันเทอะทะเกินไปแล้วเมื่อเปรียบกับแผ่นดีวีดีเล็กๆ เบาๆ สักแผ่น แถมคมชัดกว่า
       

       - เทปคลาสเซ็ต ผลิตขึ้นในปี 2506 มันส่งผลอย่างแรงต่อวงการอุตสาหกรรมดนตรี ไม่น่าเชื่อว่าเพียง 4 ทศวรรษ เทปคลาสเซ็ตก็ถูกแทนที่ด้วยซีดีอย่างรวดเร็ว
       

       - ฟิล์มถ่ายภาพ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2428 ในยุคที่การถ่ายภาพสามารถกดเก็บภาพได้ไม่จำกัด เพียงแค่มีเมมโมรีการ์ด ยังไม่ต้องพูดถึงกล้องที่ติดมากับโทรศัพท์มือถือ ฟิล์มจึงกลายเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มช่างภาพมืออาชีพเท่านั้น ที่ยังคงหลงใหลสิ่งที่จับต้องได้มากกว่าจำนวนพิกเซลล์ที่ลอยในอากาศ
       

       - โทรเลข ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี 2380 และไปรษณีย์ไทยก็เพิ่งประกาศหยุดบริการไปเมื่อปีที่แล้ว ก็จะมัวเสียค่าบริการเป็นคำคำ อยู่ทำไม ในเมื่อโทรศัพท์มือถือทำให้เราคุยกับใครก็ได้ในโลก ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ขอเพียงแค่มีสัญญาณโทรศัพท์



ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากเว็บ ผู้จัดการออนไลน์ ครับ

คอมพิวเตอร์ที่ผมใช้อยู่ก็มีช่องเสียบ Floppy Disk นี้ด้วย ตั้งแต่ผมสั่งประกอบคอมพิวเตอร์เมื่อเดือน ก.พ. 2548 ก็ใช้งานไม่ถึง 10 ครั้ง หลังจากนั้นก็ปล่อยไว้อย่างนั้นไม่ได้ใช้งานอีกเลย




ครูนุครับ ผมเอาของมาฝากแล้วนะครับ แต่ลืม Copy link มาอิอิ

อยู่แถวๆถิ่นป๋าจุ๋มอ่ะครับ 555


แวะมาเยี่ยมหมวดกระทู้ใหม่เหมือนกันครับ ผมจำได้ว่า Office 4.3 ของแท้สมัยก่อน ลงทีนึงเกือบยี่สิบ สามสิบแผ่นได้มั้ง ผมลงที่นึงก็เกือบวันเหมือนกันครับ




ฟิล์มภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง(ประมาณ 2 ช.ม.)ถ้าคิดเป็นพื้นที่จะได้พื้นที่ประมาณกี่ตารางเมตร?


(แอบมาขุดกระทู้ อิอิอิ)



โดนมากครับครูนุ กระทู้นี้โดนอย่างจังเลย

-วิดีโอเทป ทันเห็นตั้งแต่ national เครื่องแรกที่ป๊ะป๋าซื้อ ความตื่นเต้นที่ได้เห็นว่าตลับพลาสติกตลับเดียว แบกหนังไว้ได้ทั้งเรื่อง ก่อนจะเข้าสู่ยุคระบบเสียง Hi-Fi Stereo (ไฮโซมาก ขอบอก) เก็บสะสมหนังไว้เป็นตู้ๆ ลองคูณราคามาดูเล่นๆแล้ว เป็นหมื่นนะนั่น




ตอนนี้เหรอครับ...ที่เห็นๆอยู่ในรูปน่ะ ไม่ต้องสงสัยครับ เสียไปค่อนตู้แล้ว กลายเป็นอนุสรณ์ประดับฝาบ้านอยู่อย่างนั้นแหละ T_T

+


เทปคาสเซ็ต - อันนี้ก็พอๆกัน โดยเฉพาะช่วงผมเรียนมหา'ลัย ยุคดนตรีอินดี้กำลัีงเบ่งบาน (2537-2540) ซื้อเทปมาฟังเกือบร้อยม้วนเห็นจะได้ แล้วไม่ใช่เปิดกับเครื่องเสียงดีเด่อะไรนะครับ วิทยุกระเป๋าหิ้วป๋องแป๋งนี่แหละ ก็ฟังกันมาได้เรื่อยๆ


ตอนนี้เหรอครับ...อัลบั้มที่ผมชอบฟังทั้งหลา่ย ก่ายกองกันอยู่ในฮาร์ดดิสค์คอมพ์เครื่องนี้หมดละ



-ฟล็อปปี้ดิสค์ ยังจำความตื่นตาตื่นใจ ตอนที่เห็นแผ่น 3.5" เป็นครั้งแรกไ้ด้อยู่เลยครับ (โอ้ว พระเจ้าจอร์จ มันช่างเยี่ยมจริง ขนาดกะทัดรัด พกใส่กระเป๋าเสื้อก็ได้ มีแผ่นปิดอยู่ข้างนอกด้วย แข็งแรงทนทานกว่าแผ่น 5" เยอะเลย ฯลฯ)

ตอนนี้ แผ่น 3.5"กล่องสุดท้ายในชีวิตที่ซื้อมา ไปซุกอยู่กรุใหนแล้วหว่า --a



-ฟิล์มถ่ายรูป อันนี้ขอไม่พูดละกันครับ สะเทือนใจอย่างหนัก T_T กระทู้ก่อนก็พูดไปหมดแล้ว




   PC เครื่องแรกที่ผมเล่น ยังไม่มีฟล๊อปปี้เลยครับเป็นระบบ MSX  ใช้วิธีต่อสัญญาณลงเทปใบ้ แล้วบันทึกลงบนเทปเพลงธรรมดา  บันทึกแล้วโหลดกลับได้มั่ง ไม่ได้มั่ง เปิดฟังแล้วเสียงดังเหมือนเสียงเครื่อง fax ข้อมูลในเทปส่วนมากก็มีแต่เกมส์ อิๆๆ
   ฮิทอยู่แป๊บเดียวก็โดนเครื่องจอเขียว IBM 8088 (ก๊อป) ออกมาตีตลาด เครื่อง MSX เลยหายไปหมดเลย ก็เริ่มได้ใช้แผ่นดิสกันก็ใช้กันเรื่อยมาตั้งแต่ แผ่นหน้าเดียว , 2 หน้า , double density , high density จนถึงแผ่น 3 นิ้วครึ่ง DD และ HD
ผทสังเกตุดูนะครับ แผ่นรุ่นใหม่ๆบันทึกข้อมูลได้ไม่ดีเท่าแผ่น 5 นิ้วครึ่งเลย บางทีแกะกล่องมา ก็ format ไม่ได้ซะแล้ว ติด bad sector ตลอด
 ผมเคยเชื่อว่าแผ่นดิสเล็ก จะอยู่คู่สังคมไทยไปอีกสักพัก เพราะอีเล็กโทน ยังใช้แผ่น 720k สำหรับบันทึก midi กันอยู่
แต่ตอนนี้ เครื่องดนตรีหันไปใช้ SD CARD กันหมดแล้ว แผ่นดิสก็เลยสูญพันธุ์จริงๆล่ะครับ

  จริงๆยุกต์นั้นยังมีเทปแม่เหล็กอีกนะครับ ม้วนใหญ่ๆเหมือนที่เห็นในหนังนั่นล่ะครับ  ม้วนนึงเก็บข้อมูลได้ 4 Mb
ตอนเป็นเด็กผมเคยเอามาเปิดฟังกับเครื่องเล่นเทป open real นึกว่าจะได้ยินเสียงข้อมูลเป็นคำพูด 555 แต่พอเปิดฟังเข้าจริงๆ ก็ดังแค่   วูบ ๆ ๆๆ ๆ   ตุบ ๆ ๆๆ ๆ  เบาๆ  




ผมยังเก็บแผ่นฟลอฟปี้ บี แผ่น 5 นิ้ว ที่ใช้เรียนโปรแกรมปาสคาล และ ซียูเวิร์ด ไว้อย่างดี  แต่ไม่แน่ใจว่าข้อมูลข้างในจะยังดีอยู่มั้ย


เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 9

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117958645 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,