Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
โรงหนังเมื่อครั้งอดีต เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ตามไปดู เจาะลึกโรงหนังมงคลรามา สะพานควาย.. 21/2/2553 14:08
-โรงหนังชั้นสองกับความทรงจำสีจางๆ.. 26/1/2553 15:19
-ตั๋วหนังเก่าสมัยโรงหนัง ศาลาเฉลิมไทย.. 10/12/2552 10:24
-โฆษณายุคก่อน.. 30/8/2552 22:18
-ฟิล์มสไลด์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ ปริ๊นซ์ ขอนแก่น.. 30/8/2552 20:12
-บังเอิญจริงๆ กับ โรงหนังอิมพีเรียล จ.สกลนคร.. 6/8/2552 18:36
-อยากทราบว่าใครเป็นแฟนบริการหนังแจ่มจันทร์ภาพยนตร์บ้างงงงง บอกหน่อยค่ะ.. 30/7/2552 18:27
-นายายอาม เธียเตอร์ อ. นายายอาม จ. จันทบุรี.. 26/7/2552 23:39
-โรงหนังในอดีตของ อ. หนองบัว จ. นครสวรรค์ (ตอนที่ 2): โรงภาพยนตร์หนองบัวรามา.. 25/7/2552 22:52
-++ ลำลึกความหลัง โรงหนังศรีอุดร นครอุดรธานี.. 17/7/2552 15:37
-+++โรงภาพยนตร์ แฟรี่ Cineplex ชั้น4 แฟรี่พลาซ่า นครขอนแก่น.. 8/7/2552 8:56
-โรงภาพยนตร์ อัมรินทร์ จ.เลย.. 7/7/2552 17:06
-บัญชีรายชื่อโรงภาพยนตร์ต่างจังหวัดในอดีต (บัญชีเก่ามากเลยทีเดียว) ตอนที่ 1.. 7/7/2552 11:56
-วิกเถ้าแก่เทียน ตลาดเก่าระยอง.. 23/6/2552 12:29
-โรงหนังของ รพ. ภฺมิพล.. 19/5/2552 0:29
-มาดูฝรั่งฉายหนังในโรงกันบ้างว่าจะเป็นยังไง.. 16/5/2552 7:00
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 250

โรงหนังในอดีตของ อ. หนองบัว จ. นครสวรรค์ (ตอนที่ 2): โรงภาพยนตร์หนองบัวรามา


เย็นวันนี้ (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) ผมได้ไปถ่ายภาพโรงหนังอีกแห่งหนึ่งก็คือ โรงภาพยนตร์หนองบัวรามาครับ


+

ความเห็น

[1]


โรงภาพยนตร์หนองบัวรามา ซึ่งภาพที่เห็นนี้ เป็นภาพถ่ายตัวอาคารเดิมก่อนถูกปรับปรุง แต่ก่อนนั้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ผมเคยเข้าไปสำรวจที่โรงนี้ เนื่องจากตอนนั้นมีประตูด้านหนึ่งถูกงัดโดยฝีมือพวกติดยาที่แอบเข้าไปดมกาว หรือเสพยาบ้าในนั้น (แต่ตอนที่ผมไปเป็นเวลากลางวันซึ่งมีคนพลุกพล่าน จึงไม่มีคนเหล่านี้อยู่นะครับ) ผมก็เลยเข้าไปดูโดยไม่ได้ติดกล้องถ่ายภาพไปด้วย แต่ด้วยหน่วยความจำที่อยู่ในสมอง จึงสามารถจดจำรายละเอียดได้ ดังนี้

 

1. สภาพโรงทรุดโทรมมาก มีฝุ่นและหยากไย่อยู่เต็มไปหมด

2. เก้าอี้เป็นเก้าอี้ขนาดเล็กเรียงกันเป็นแถว ๆ ละ 15 ตัว โดยวิธีเชื่อมเหล็กให้ติดกัน

3. ด้านบนเป็นห้องฉาย ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย นอกจากเศษขยะ

4. จอภาพยนตร์ขาด ใช้งานไม่ได้เลย

5. มีพัดลมขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างโรง



ประมาณปี พ.ศ. 2545 หรือ พ.ศ. 2546 ก็มีคนในอำเภอหนองบัว มาติดต่อธนาคารโดยขอซื้ออาคารหลังนี้ เพื่อปรับปรุงเป็นบ้านพักส่วนตัว และใช้เป็นโกดังเก็บอุปกรณ์สำหรับเดินสายไฟ (เนื่องจากประกอบอาชีพให้บริการตรงนี้) ซึ่งหลังจากที่ดำเนินการเกี่ยวกับทางธนาคารแล้ว ก็เริ่มปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เรื่อยมาจนแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2548 หรือ พ.ศ. 2549 โดยรื้อสิ่งของที่อยู่ภายในออกทั้งหมด และทำการปรับปรุงโดยให้คงสภาพโครงสร้างของตัวอาคารเดิมไว้ พร้อมทั้งทาสีใหม่ ถ้าขับรถผ่านไป-มา อาจจะสังเกตยากสักนิด เพราะทางเข้าไปยังตัวโรงเป็นตรอกเข้าไป และเป็นทางตันอีกต่างหาก แต่ถ้าคนเก่าที่อยู่มานานจะทราบกันเป็นอย่างดีครับ
+


ด้านหน้าของโรง
+
+


ด้านข้างของโรง
+


เข้าไปดูด้านในกันดีกว่า

 

ทางเจ้าของได้ปรับปรุงภายใน เพื่อเป็นโกดังเก็บของไปแล้ว โดยยังคงสภาพโครงสร้างไว้ บางส่วนก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติม เช่น หลังคา เสาตรงกลาง

+
+
+
+


ภาพนี้แต่เดิมคือห้องฉายภาพยนตร์ โดยยังคงสภาพไว้ไม่เปลี่ยนแปลง

 

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณเจ้าของสถานที่ที่อนุญาตให้ผมเข้าไปถ่ายภาพเป็นอย่างยิ่งครับ

+


เยียมครับ รายละเอียดชัดเจนดี


หลังจากที่ผมได้นำเสนอเรื่องนี้ไปประมาณอาทิตย์กว่า ๆ ก็มีคนใน อ. หนองบัว ให้ความสนใจความเป็นมาของโรงภาพยนตร์ดังกล่าว

ล่าสุด คุณเสวก ใยอินทร์ (ชาว อ. หนองบัว) ได้โพสต์ลงในเว็บไทยฟิล์ม พร้อมทั้งแนะนำให้รู้จักบุคคลท่านหนึ่ง คือ อ. วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ซึ่งท่านได้สร้างบล็อกขึ้นมาที่เว็บ http://www.gotoknow.org ในหัวข้อ "แรกมีของอำเภอหนองบัว" ซึ่งท่านก็ได้เอ่ยถึงโรงภาพยนตร์นี้ด้วย ผมเลยก็อบปี้ข้อความเพิ่มเติม ครับ

V

V

         ....ต่อมา ก็มีโรงหนังแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โรงหนังแห่งที่สองนี้สร้างขึ้นที่เยื้องๆ หน้าอำเภอหนองบัว อยู่คนละฟากถนน ของศาลาประชาคมและที่ว่าการอำเภอหนองบัว สภาพดีกว่าและทันสมัยกว่าโรงหนังแห่งแรกทุกอย่าง แต่ว่าในยุคนั้นต้องถือว่าหลุดออกไปเกือบนอกตัวเมืองของอำเภอ โรงหนังโรงใหม่นี้มักฉายหนังไทย หนังจีน และหนังฝรั่ง หลายครั้งมีหนังโป๊แทรก โดยทำให้ดูเหมือนกับใส่ฟิล์มผิด ซึ่งก็จะมีอยู่เป็นประจำ เป็นการแข่งขันเรียกลูกค้าอย่างหนึ่งเหมือนกัน

            อำเภอเล็กๆแค่นั้น เวลาจะฉายหนังก็ต้องช่วงชิงคนดูโดยใช้รถตระเวนโฆษณา รอบแล้วรอบเล่า  และเวลาจะฉายก็สร้างบรรยากาศเร้าให้คนตื่นตัวที่จะไปดูอยู่นั่นแล้ว  แต่ก็ไม่ฉายสักที 

           บางทีก็เปิดเพลงมาร์ชหมดเกลี้ยงทั้ง 4 เหล่าทัพ  เพราะโดยปรกติ  เวลาได้ยินเพลงมาร์ช  ก็จะเป็นที่รู้กันของผู้คนว่าหนังกำลังจะฉาย เร้าให้รีบออกไปดูหนังและจ้ำเท้าก้าวเดิน แต่คนก็ยังน้อยอยู่ดี  เลยก็ต้องเปิดมาร์ชทั้งสี่เหล่า วนแล้ววนอีก  พอฉายจบและปิดโรงหนัง  จึงจะเปิดเพลงสรรเสริญบารมี ไม่เหมือนกับปัจจุบันของทั่วไปที่จะเปิดก่อนเริ่มต้นฉาย...




พระมหาแล อาสโย ได้กล่าวถึงช่วงเวลานั้นดังนี้ครับ

V

เจริญพรโยมอาจารย์วิรัตน์

  • โรงหนังแห่งแรกในตลาดสดหนองบัวจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว จำแต่ชื่อแต่ก็ยังไม่มั่นจ่าจะใช่หรือไม่ โรงหนังศรีประทุม นึกจำสภาพได้เลือนรางมากเลย
  • แต่ถ้าโรงหนังไทยประเสริฐแล้วละก็ยังพอจำได้อยู่
  • ชาวบ้านจะเรียกว่าวิกไทยประเสริฐมากกว่าโรงหนังไทยประเสริฐ
  • ไม่น่าเชื่อเลยว่าเพลงมาร์ชที่โยมอาจารย์พูดถึงมันจะผุดขึ้นมาในความทรงจำได้ทันทีแปลกมากเลย
  • โฆษกโรงหนังผู้ประกาศก็ประกาศได้เร้าใจดีเหลือเกินเปิดเพลงมาร์ชไปพร้อมกับสลับการพูดเชิญชวนคนทางบ้านให้มาดู บ้านอยู่ไม่ไกลแค่เนินตาโพจึงได้ยินเพลงมาร์ชสบาย ๆ และเมื่อเปิดเพลงมาร์ชแล้วอยู่ที่บ้านยังสามารถเดินจากบ้านมาทันได้ดูพร้อมกับคนที่มาก่อนได้
  • จนเมื่อบวชแล้วอยู่วัดใหญ่ (วัดหนองกลับ) ก็ยังได้ยินเพลงมาร์ชทุกวัน
  • นับเป็นความทรงจำที่ยังแจ่มชัดแจ๋วเกี่ยวกับเพลงมาร์ช แต่ก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเพลงมาร์ชว่ามีกี่เหล่า และที่จำได้ถึงตอนนี้ก็ยังไมรู้ว่าเป็นเพลงมาร์ชของเหล่าไหนอีกเหมือนกัน
  •  จนกระทั่งต่อมาได้ประสบอัคคีภัยไฟไหม้ทั้งหลัง จึงได้ยุติกิจการไปนับว่าวิกหนังไทยประเสริฐเป็นโรงหนังโรงสุดท้ายในหนองบัว.

                                 ขอเจริญพร

                          พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)




อ. วิรัตน์ ได้ตอบดังนี้ครับ

V

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล ขำสุข (อาสโย)

  • ดูเหมือนชื่อโรงหนังที่พระคุณเจ้าให้มานั้นจะใช่ครับ ผมก็พอจะนึกออก แล้วที่โรงที่สองใช้ชื่อว่า วิกไทยประเสริฐนี่ ก็เป็นจุดขายเลยเหมือนกัน ทำนองว่าทันสมัยและก้าวหน้ากว่า
  • เรื่องเพลงมาร์ชฉายหนังนี่ แทบจะเป็นความทรงจำร่วมเกี่ยวกับบรรยากาศยามมืดค่ำของชาวหนองบัวได้เลย เพราะตกกลางคืนก็แทบจะไม่เสียงอะไรเลย เงียบแบบบ้านนอกจริงๆ 
  • เวลาเขาติดใบปิดฉายหนัง ก็จะบอกเป็นรอบๆ  เดือนหนึ่งก็จะมีหนังฉายไม่กี่ครั้ง ถึงวันที่หนังฉาย ตอนกลางวันก็จะมีรถติดเครื่องเสียงโฆษณา ตกค่ำก็จะเปิดเพลง แล้วก็ตามด้วยเพลงมาร์ช ๔ เหล่า ใครได้ยินก็คงนอนใจเต้นตึ่กตึ่ก อยากไปดูหนัง

ขอบพระคุณที่พระคุณเจ้าเข้ามาเสริมข้อมูลให้มีรายละเอียดมากขึ้นครับ




คุณเสวก ใยอินทร์ ได้เข้ามาเพิ่มเติมดังนี้ครับ

V

พอพูดถึงโรงหนังหน้าอำเภอหนองบัว ผมเองก็ทันเพราะแต่ก่อนมันปิดร้างไว้เมื่อประมาณปี พศ. 2529 ผมเองเรียนอยู่ชั้นเตรียม หรือชั้นเด็กเล็ก ในโรงพิธีเก่าของวัดใหญ่ ทางโรงเรียนหนองบัวเทพได้จัดงานขายบัตรฉายหนังเป็นครั้งสุดท้ายให้นักเรียนรุ่นนั้นได้เข้าชมในราคา10 บาท ฉายหนัง 1 เรื่อง คือ สมเด็จพระนเรศวร มันเก่าจนเป็นลายเส้น

นักเรียนเดินเข้าแถวตั้งแต่โรงเรียนมาที่โรงหนัง แม้ว่าแดดร้อนตอนบ่ายก็ยังตื่นเต้นกันทุกคน ในขณะที่ฉาย ฝนเกิดตกลงมา มีน้ำไหลเข้าโรงหนัง เพราะเป็นพื้นดินลูกรัง เก้าอี้ไม้ เป็นม้านั่งยาว ผิดกับสมัยนี้ที่ติดแอร์ ชาวบ้านมักเรียกชุมชนนั้นว่า คนหน้าวิก และที่เป็นที่รู้จักกันในนามมือกลองยาวคือ ลุงลานหน้าวิกแกเป็นคนที่ตีกลองยาวที่ชาวบ้านชอบมาก แต่ปัจจุบันโรงหนังหน้าอำเภอได้สร้างเป็นโกดังของแจ๊กแล้ว และชาวบ้านก็ยังเรียกหน้าวิกอยู่ครับ

^

^

เป็นไปได้ว่า ภาพยนตร์ที่ฉายเป็นโปรแกรมสุดท้ายก่อนที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในภายหลัง เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่อง มหาราชดำ ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของ ทรนง ศรีเชื้อ ครับ




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 11

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117029439 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :WilliamPHilk , Krendamxgew , LavillKer , mnlemunc , เอก , BobbyHOm , KXMartin , พีเพิลนิวส์ , นนท์ , แสบ chumphon ,