Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
แหล่งความรู้หนัง 8,16 มม. และ Digital VCD-DVDเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-มีหัวฉายมาให้ชมครับ.. 23/12/2554 17:17
-เลนส์สโคป 16ม.ม... 18/12/2554 13:41
-เครื่องฉายหนัง 16 ม.ม. Siemens Projektor 2000 ยังไม่มีคนตอบ
-มีใครเคยใช้แผ่นเปล่ารุ่นนี้บ้างครับ.. 6/12/2554 12:15
-รับลมหนาว..๒๘ ธ.ค.๕๓ ภาพรีสอร์ทที่ใกล้จะเสร็จรอรับสมาชิกมาเยี่ยมเยือน..ใน.๑๙มีนาคมนี้.... 15/11/2554 21:46
-8 ม.ม. จ๋า...ลาก่อนจ๊ะ..... 8/11/2554 13:55
-มีเรื่องถามครับ เกี่ยวกับ การเปรียบเทียบหนังในฟิล์มกับหนังในดีวีดี.. 26/10/2554 10:54
-เมื่อ 15 ปีที่แล้ว....ฉายหนุมาน เจ็ดยอดมนุษย์.. 4/10/2554 10:29
-เครื่องก๊อฟปี้ฟิมล์หนัง 8 ม.ม... 14/9/2554 19:01
-จอนี้ ตุลาคม นี้ ที่ดอนตาลครับ... 11/9/2554 11:59
-ก่อนฉาย.. 7/9/2554 22:13
-หน้ากากโซโล ใครชอบหนังคาบอยบ้าง.. 5/9/2554 12:02
-ฟิล์มหนัง 8 ม.ม... 5/9/2554 7:55
-ตูนก่อนนอน.. 23/8/2554 9:58
-เครื่องเทเลซีนฟิล์ม 16 มม ชนิด PORTTABLE ที่ชื่อ ELMO TRV-16G.. 19/8/2554 12:47
-View Lex System 16ยังไม่มีคนตอบ
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 492

เครื่องเทเลซีนฟิล์ม 16 มม ชนิด PORTTABLE ที่ชื่อ ELMO TRV-16G


ในช่วงเวลาที่การบันทึกภาพและการชมภาพที่ได้จากการบันทึกในรูปแบบอนาล็อก ด้วยการใช้กล้องถ่ายฟิล์ม 8 และ 16 มม เริ่มเสื่อมความนิยม และล้าสมัยไป จากการแทนที่ของเทคโนโลยีการเก็บบันทึกและการรับชมภาพภาพผ่านแถบเทปแม่เหล็ก (VDO CASSETE) พลอยทำให้บรรดาผู้ผลิตเครื่องฉาย 8 และ 16 มม เริ่มยอมรับการนวัตกรรมใหม่ที่มาแทนที่  หลายๆค่ายในญี่ปุ่นโดยเฉพาะเจ้าตลาดอย่าง ELMO เริ่มปรับตัว และได้ออกแบบผลิตเครื่อง TELECINE ในรูปแบบ 8 และ 16 มม ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ก่อนที่จะปิดไลน์การผลิตเครื่องฉายหนัง 8 และ 16 มม อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา




ความเห็น

[1]


เครื่องเทเลซีน ก็คือการเก็บและบันทึกภาพจากฟิล์มภาพยนตร์ ในรูปแบบอนาล็อก แปลงลงสู่ระบบเทปแม่เหล็ก หรือลงสู่แผ่นDVD ในระบบดิจิตอล เพือเก็บภาพจากแผ่นฟิล์มที่มีอายุขัยสั้นและใกล้สูญสลายเหล่านี้ให้ลงสู่ระบบเก็บบันทึกรูปแบบใหม่ที่สามารถเก็บบันทึกได้ยาวนานขึ้น โดยเทคโนโลยีการเก็บบันทึกดังกล่าวทำได้หลากหลายวิธี ในระยะแรกผู้ผลิตหลายราย ได้ผลิตกล่องสะท้อนแสง โดยติดตั้งเข้ากับเครื่องฉายบริเวณด้านหน้าเลนส์ฉาย เพี่อรับภาพสะท้อนในมุมหักเห 45ํ แล้วใช้กล้องถ่ายวีดีโอบันทึกภาพที่ได้จากกระจกสะท้อนแสง
ซึ่งคุณภาพของภาพที่ได้ก็เป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง

+


ELMO TRV - 16G เป็นเครื่องเทเลซีนที่แปลงภาพจากฟิล์มภาพยนตร์ 16 มม เป็นภาพระบบดิจิตอลบนจอมอนิเตอร์หรือจอภาพ LCD หรือ LED ก่อนที่จะบันทึกลงสู่ม้วนเทปวีดีโอ หรือ แผ่น DVD หรือ แผ่น BLUREY ในระบบ REALTIME โดยสามารถปรับแต่งคุณภาพของภาพได้ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทนสี ความคมชัด และอื่นๆ โดยระบบการปรับแต่งภาพ ก็ได้ติดตั้งมากับเครื่องเทเลซีนตัวนี้แล้ว


+
+



+
+
+
+


ELMO TRV-16G นับเป็นเทคโนโลยีสูงสุดในการผลิตเครื่องเทเลซีนของ ELMO และรุ่นนี้นับเป็นรุ่นหลังสุด หลังจากก่อนหน้านี้ ทาง ELMO ได้ผลิตเครื่องเทเลซีน รุ่น TRV-16 ออกวางจำหน่ายมาก่อน โดย TRV-16G ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการปรับแต่งภาพ และเฉดสี เข้ามาอีก
+
+



+
+



+
+
+
+



+
+
+
+


ดูกลไกภายในของเครื่องเทเลซีน แตกต่างจากลไกเครื่องฉายหนังอย่างไร
+
+
+
+



+
+
+


ขออนุญาต จขกท. เอารายละเอียดคุณสมบัติของเจ้าเครื่องนี้มาแปะซะก่อน (อันนี้เป็นมาตรฐานของสัญญาณวิดีโอเป็นแบบ NTSC นะครับ ไม่ใช่ระบบ PAL เหมือนบ้านเรา รวมไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ ที่แตกต่างกันบ้างนะครับ)

* การใส่ฟิล์มก็ง่ายมาก แค่ดึงฟิล์ม แล้วก็สอดฟิล์มเข้าในช่องเท่านั้นเอง (เครื่องฉาย EIKI และ ELMO บางรุ่นที่เป็นเครื่องฉาย ก็มีเหมือนกัน) ไม่ต้องโหลดให้เสียเวลา ร้อยฟิล์มเข้ารีล ต่อสายเสียง สายภาพ เข้าโทรทัศน์และอุปกรณ์บันทึกวิดีโอ เปิดสวิทช์ เดินเครื่องทำงานได้เลย เพียงแค่ปรับโฟกัส ปรับความชัด ก็แค่นั้นเอง

โดยส่วนตัวแล้ว ตัวนี้ก็น่าสนใจ และน่าหามาไว้ครอบครองเหมือนกันครับ เหตุผลก็คือ ไม่มีเวลามานั่งฉายดูบนจอแล้ว เจอฟิล์ม 16 ม.ม. เมื่อใด เอามาทำความสะอาด ซ่อมแซม แล้วก็บันทึกเก็บเป็นไฟล์วิดีโอไว้ ตัวฟิล์มก็เก็บอนุรักษ์ไว้เป็นอันจบ เวลาจะเอาไปใช้งานก็สะดวกง่ายดาย แต่ถึงอย่างไรก็ต้องคอยมานั่งสำเนาไฟล์วิดีโออยู่เรื่อยๆ ทุกๆ 3 - 5 ปี แต่ถึงอย่างไร Cinematheque ที่ผมดำเนินการอยู่ก็รองรับไว้อยู่แล้ว ไม่ใช่แค่หนังอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงไฟล์ดิจิตอลที่เป็นกิจกรรมหรือบันทึกเหตุการณ์ของเว็บไซต์ ก็จะถูกนำมารวมไว้ที่ผมนี้ทั้งหมด เพราะในอนาคตจะยังต้องใช้เรื่อยไปครับ

* เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเพิ่งจะสำเนาไฟล์วิดีโอพวกหนังตัวอย่างที่เก็บใส่แผ่นไว้นานกว่า 5 ปีแล้ว ซึ่งยังใช้งานได้เป็นปกติ มันจะเหนื่อยก็ตอนนั่งทำนี่แหละครับ




หลักการทำงานและวิธีการใช้งานเครื่องเทเลซีนก็ไม่ซับซ้อน ตามขั้นตอนดังนี้

  • ติดตั้ง OUTPUT ทั้งAUDIO และ VIDIO จากตัวเครื่องออกไปยังINPUT ของจอมอนิเตอร์ (จอคอมพิวเตอร์, จอทีวี CRT , จอLCD, จอ LED) 
  • ติดตั้งม้วนฟิล์มที่ต้องการเทเลซีนที่ขารีลหน้า และติดตั้งรีลเปล่าที่ขารีลหลัง 
  • ปรับสวิตช์ OPTICAL หรือ MAGNETIC ตามชนิดของฟิล์ม
  • ใส่ฟิล์มเข้าระบบลำเลียงฟิล์มของเครื่อง (SLOT LOAD)
  • บิดสวิตช์ไปตามเข็มนาฬิกาเพื่อเดินเครื่อง(FOWARD) 
  • บิดสวิตช์ตามเข็มนาฬิกาอีกครั้ง ภาพจะปรากฏบนจอมอนิเตอร์
  • ปรับเฟรมที่คันโยกเฟรม ปรับเฉดสี ปรับโฟกัส




ขอบคุณคุณอนุกูลมากครับ ที่ให้ข้อมูลในเชิงลึกแก่สมาชิก เพราะผมเองก็ศึกษาวิธีใช้เครื่องจากประสบการณ์ตรงครับ อันนี้เป็นคู่มือและอุปกรณ์พ่วงที่ให้มาพร้อมกับเครื่อง สำหรับเจตนาที่นำเครื่องเทเลซีนรุ่นนี้มาเผยแพร่ มิได้ต้องการให้เพื่อนสมาชิกไปหาซื้อมาใช้ เพราะข้อจำกัดเรื่องราคาและความคุ้มค่าหรือความจำเป็นที่ได้รับ คงไม่คุ้มกับมูลค่าของมัน แต่ต้องการให้เพื่อนสมาชิกได้เห็นรูปร่างหน้าตาที่แท้จริงของเครื่องเทเลซีนที่เรามักพูดกันบ่อยๆ แต่ไม่เคยเห็นตัวเป็นๆของมัน ให้ได้เห็นกลไก การทำงานว่าเป็นอย่างไร


+
+


เคยเห็นทีมข่าวไทยซีน เปิดกระทู้เกี่ยวกับเครื่องเทเลซีน ลองดูครับ
  http://www.peoplecine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=61&Begin=30&ID=8101

+
+


อย่าลืมแปลงหนังเบื้องหลังหนังไทย 16 ม.ม. มาให้ผมดูบ้างนะครับ (ที่เคยโพสถามกันไว้เมื่อหลายเดือนก่อนจำได้ไม๊ครับ)




ถ้าในระดับกึ่งสตูดิโอละก็ Elmo เครื่องนี้ น่าจะเป็นเครื่องฉายเทเลซีนระดับ Top ของยุคนั้นแล้วล่ะครับ

 

สรุปว่า นี่มันเครื่องเทเลซีนในฝันผมเลยนะเนี่ย...

 

 

 

(ก็ได้แต่ฝันกันต่อไป T_T)




เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 15

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117959639 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,