รําลึก มิตร ชัยบัญชา พระเอกอมตะ
เกิด 28 มกราคม พ.ศ.2477 - เสียชีวิต 8 ตุลาคม พ.ศ.2513
ตอนที่แล้ว พูดถึงวิสัยทัศน์ ของมิตร ชัยบัญชา ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการได้ไปสัมผัสไกล้ชิดกับวิธีทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิงของฮ่องกง
ซึ่งยุคนั้นประมาณปี2512 เป็นยุคที่หนังจีนกำลังภายในโดยเฉพาะหนังจาก ค่ายชอว์ บราเดอร์ ได้รับความนิยมไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยโปรเจคการร่วมผลิตภาพยนตร์ระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นตามไปด้วย
และโครงการสร้างหนังจีน ประเภทแนวบู๊กำลังภายใน โดยมีนักแสดงไทยเข้าร่วมแสดง ก็ถือเป็นโอกาสดีที่อุตสาหกรรมหนังไทยจะเปิดตัวลงเข้าแข่งขันและป้อนสู่ตลาดภาพยนตร์บู้กำลังภายในทั่วโลกจึงเกิดขึ้น
ในส่วนนี้จำได้ว่าเคยได้ยินเรื่องราวมาจาก คุณอิงคศักย์ เกตุหอม หรือ
#คุณเอ็มเฉลิมกรุง ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อมูลคุณมิตร ชัยบัญชา ซึ่งปัจจุบันท่านก็คือ พระอิงคศักย์ เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ให้ฟังว่า
เจ้าสัวเจริญ พูลวรลักษณ์ นักธุรกิจผู้บุกเบิกด้านโรงภาพยนตร์ โดยเริ่มมาจากย่านชานเมืองอย่างโรงหนัง ศรีตลาดพลู ฝั่งธน และค่อยๆขยายเข้าเมือง เช่น โรงหนังเมโทร โรงหนังเพชรรามา โรงหนังแมคเคนน่า ซึ่งบริหารงานภายใต้ชื่อ บริษัทโก บราเดอร์ (Co Brother) (ปัจจุบันตระกูล พูลวรลักษณ์ เจ้าของโรงภาพยนตร์ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” )
เจ้าสัวท่านเป็นผู้ริเริ่มในการเจรจา สร้างความร่วมมือ ที่จะนำนักแสดงคนดังของไทย มิตร ชัยบัญชา ไปแสดงเป็นพระเอกในหนังจีนกำลังภายใน ของชอร์บราเดอร์
ซึ่งหากถามว่าแล้วทำไมจึงต้องเป็นพระเอกไทยที่ชื่อ " มิตร ชัยบัญชา " ด้วยละ?
คำตอบเด่นชัดเลย คือว่า ด้วยรูปร่าง หน้าตาภายนอกกันก่อนยุคนั้นพระเอกหนังไทย มีเพียงคนเดียวที่ความหล่อเข้มแบบชายไทยแท้ๆ บวกกับความสูงถึง 185 เซ็นติเมตร ซึ่งยุคนั้นชายไทยที่จะสูงระดับนี้หาได้น้อยมา
ตามมาด้วย ความสามารถในการแสดง และความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ทั้งเชิงชั้นหมัดมวย การใช้อาวุธ อันมีผลมาจากการที่มิตรเคยรับราชการทหารมาก่อนนั่นเอง รวมไปถึงประสบการณ์การทำงานในการทำงานกองถ่ายทำภาพยนตร์
บวกกับข้อสำคัญคือความเป็นคนระเบียบวินัย (ผลมาจากการเป็นทหาร)มีความรับผิดชอบ
และข้อสำคัญที่สุดก็คือ การมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม(สำคัญมากในการทำงานต่างประเทศ)
ซึ่งเรื่องนี้ยืนยันจากปากของพระเอกยุคเดียวกันคือ คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า วงการภาพยนตร์ไทยยุคนั้น พระเอกที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีที่สุดก็คือตัวคุณอดุลย์เอง และรองลงมาก็คือ มิตร ชัยบัญชา
เมื่อสรุปข้อเด่นชัดดังนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า งานระดับภาพยนตร์อินเตอร์แบบนี้ ต้อง “มิตร ชัยบัญชา” เท่านั้นแน่นอน!!
ซึ่งส่งผลทันทีให้พระเอกขวัญใจคนไทย มิตรชัยบัญชา ก้าวสู่ระดับการเป็นพระเอกอินเตอร์เต็มตัว
จากการติดต่อของเจ้าสัว เจริญ พูลวรลักษณ์ ที่จะส่งเสริมให้มิตร ชัยบัญชา ก้าวสู่การเป็นดาราระดับเอเซีย ซึ่งจะเป็นก้าวต่อสู่ตลาดโลกต่อไป
จึงมาถึงขั้นตอนประสานเชิญให้มิตรไปเซ็นสัญญาที่ประเทศฮ่องกง
งานนี้มิตรตอบตกลงทันที และด้วยความที่มิตรเป็นคนที่มีความกตัญญู มีจิตใจงดงามเค้าคิดเสมอว่า
ตัวเองก้าวมาถึงจุดนี้นี้ได้ก็ด้วยผู้มีพระคุณ อย่างท่านสื่อมวลชนทั้งหลายที่คอยช่วยให้การสนับสนุนส่งเสริม ให้มิตรมีอาชีพนักแสดงและได้สื่อสารถึงแฟนคลับของเค้าอย่างต่อเนื่องเสมอมา
การเดินทางไปเซ็นสัญญาที่ฮ่องกงครั้งนี้ มิตรจึงเชิญสื่อมวลชน ร่วมเดินทางไปพร้อมกัน นำทีมโดยคุณสุรัฐ พุกกะเวส นักแต่งเพลงและผู้กํากับภาพยนตร์ ซึ่งเป็น
อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 2 สมัย ,คุณสมชาย จันทวังโส สื่อมวลชนและตากล้อง “มือวางอันดับหนึ่ง” ของวงการหนังไทย,คุณกิ่งแก้วประเสริฐ ผู้ที่เคยชักนําสู่วงการ ,คุณประเดิม เขมะศรีสุวรรณ สื่อที่เป็นทหารอากาศลูกทัพฟ้านักเขียนและจัดรายการอยู่สถานีวิทยุทหารอากาศ และสื่อมวลฯลฯอีกจำนวนมาก เรียกได้ว่า ยกทัพสื่อไทยไปฮ่องกงกันเลยทีเดียว ฮือฮามากที่สุดในยุคนั้นเลยทีเดียว
ตอนแรกของการเซ็นต์สัญญา คือมิตรจะรับแสดงนำในหนังเรื่องเดียว คือ อัศวินดาบกายสิทธิ์ (飛俠神刀 : Flyer & Magic Sword) ปี1971 กำกับการแสดงโดย เฉิน เลี่ยผิน(陳烈品) อำนวยการสร้างในนามบริษัทเซ้าท์อีสท์เอเชียฟิล์ม
แต่หลังจากการร่วมทำงานในเรื่องแรก ผ่านไปราบรื่นดีเยี่ยม ทางฮ่องกงชื่นชอบบุคลิกและวิธีการทำงานแบบมืออาชีพของมิตร เป็นอย่างมาก ทำให้มีการพูดคุยเพิ่มเติมว่าสร้างภาพยนตร์ร่วมกันเพิ่มอีก 3 เรื่อง สรุปจากงานพระเอกหนังฮ่องกงเรื่องเดียว
กลับเป็นว่ามิตรได้เซ็นสัญญา รับงานแสดงนำในหนังจีนกำลังภายในพร้อมกัน 4 เรื่อง คือ
ภาพยนตร์เรื่องแรก
#อัศวินดาบกายสิทธิ์ เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องแรก ที่มิตรร่วมแสดงโดยใช้ชื่อจีนว่า ไหน่-มี่ (乃密) มาจากการสะกดภาษาไทยว่า นายมิตร นั่นเอง
หนังเรื่องนี้มีการถ่ายทำเป็นสองเวอร์ชั่น โดยมีกว่าง หลินรับบทนางเอกสำหรับหนังฉบับที่จะฉายในต่างประเทศ
และ มีเพชรา เชาวราษฎร์ ใช้ชื่อจีนว่า ปี้ -ช่า-ลา มาจากสะกดชื่อ เพชรา รับบทนางเอกในเวอร์ชั่นที่จะฉายในประเทศไทย
อำนวยการสร้างในนามบริษัทเซ้าท์อีสท์เอเชียฟิล์ม
คุณสมชาย อัตตานุรักษ์ กำกับการแสดง...อูเทียนฉือ
นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา,ลือชัย นฤนาท ,สุทิศา พัฒนุช ,ชาติ ชัยภูมิ ,ถันซิง ,เถียนแหย่ ,ฟ่างหลินฯลฯ
และเรื่องที่4 ยังได้ตั้งชื่อหนังเพียงแต่มีการ คิดพล็อตวางโครงเรื่อง เอาไว้คร่าวๆ สรุปไว้แต่เพียงว่า ตัวพระเอกฝ่ายไทยคือมิตรชัยบัญชา
ซึ่งโปรเจกต์ที่เซ็นสัญญาไว้ทั้ง4 เรื่อง ถ่ายทำเสร็จไปบางเรื่อง บางเรื่องถ่ายทำไม่จบสมบูรณ์
โดยในเรื่องสุดท้ายต้องยกเลิกไปเพราะการเสียชีวิตของมิตร ชัยบัญชา
ซึ่งภาพยนตร์เรื่องอัศวินดาบกายาสิทธิ มิตรเดินทางไปถ่ายทำเมื่อวันที่ 30 กันยายน ถ่ายทำอยู่จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม แล้วบินกลับมาถ่ายทำภาพยนตร์ไทยต่อเนื่องและเสียชีวิตในวันที่ 8 ตุลาคม 2513
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวการทำงานของมิตร ในภาพยนตร์เรื่องอัศวินดาบกายสิทธิ์ ที่มิตรได้กระทบไหล่เคียงข้างกับพระเอกชื่อดังของฮ่องกงคือ ตี้หลุง และ เดวิดเจียงที่เดินทางมาร่วมในงานแถลงข่าวที่ฮ่องกง
และในการทำงานในกองมิตร ชัยบัญชา ยังคงเป็นนักแสดงมากน้ำใจเหมือนเดิม เล่ากันว่าในเรื่องนี้ส่วนมากจะถ่ายทำฉากบู๊เป็นหลัก มีตีลังกา ลอยตัว กระโดดฟัน ทุกรูปแบบ
มีวันหนึ่งที่ยกกองถ่ายทำลานกว้างบนภูเขา สูงมาก ฉากนี้ขณะถ่ายทํากันอยู่นั้น สตั๊นหนุ่มคนหนึ่งที่ร่วมในฉาก เกิดอุบัติเหตุพลาดคิว หกล้ม จนขาหัก
มิตร ชัยบัญชา ไม่รอช้า ช่วยแบก อุ้มเอาสตันท์แมนคนนั้นพาดไหล่ นำตัวลงมาส่งถึงบริเวณด้านล่างของภูเขา
ส่งต่อให้ทีมงานนำตัวไปโรงพยาบาลได้ทันท่วงที สร้าวความรู้สึกประทับใจให้ทุกคนในกองถ่ายทำเป็นอย่างมากว่า นักแสดงระดับพระเอกชื่อดัง มาให้ความช่วยเหลือนักแสดงในระดับสตันท์แมนขนาดนี้
เค้าจึงเป็นพระเอกไทยที่ได้รับความรักและได้รับการชื่นชมจากคนบันเทิงฮ่องกงอย่างมาก
Thai film movie และเจ้าของภาพทุกท่าน