Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-Film to Digital: The Demise of the Projectionist.. 8/2/2557 11:57
-Cinema Kinoton Endless loop.. 8/2/2557 11:56
-สมาชิกท่านใดจำชื่อหนังเรื่องนี้ได้บ้างครับ.. 26/12/2556 6:18
-(เศษฟิล์ม) ตัวอย่างหนังไทย หาดูได้ยาก และบางเรื่อง (อาจจะ) สูญหายไปแล้ว.. 28/11/2556 22:55
-คลิป ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี.. 24/11/2556 13:27
-70 mm film projectorยังไม่มีคนตอบ
-อุปกรณ์เอาฟิล์มใส่รีลแบบเซราะกราว (ลูกทุ่ง) ให้คุณม่อมครับ.. 28/9/2556 22:20
-วงจรภาคจ่ายไฟ ซาวด์แดงครับ.. 23/9/2556 7:54
-เบื้องหลังผู้ที่ทำซับไทยในหนังต่างประเทศ และซับอังกฤษในหนังไทย (ซับตอก).. 20/9/2556 12:15
-ข้อมูลเกี่ยวกับฟิล์มภาพยนตร์สำหรับถ่ายทำ.. 16/9/2556 21:45
-ฟิล์มหนังปีนี้ เวลาเปลี่ยนม้วนไม่มีจุดดำแล้วเหรอครับ.. 26/8/2556 12:49
-เอามาฝากจากfacebook starpicครับ.. 21/8/2556 11:49
-ตามล่าหารีล!!.. 9/8/2556 16:30
-การซื้อฟิล์มหนังที่กำลังฉายในโรง.. 3/8/2556 18:08
-Film Chemistry: "The Alchemist In Hollywood" ASC 1940ยังไม่มีคนตอบ
-ADHESIVE RESIDUE ภัยเงียบที่พีงระวัง.. 21/7/2556 22:41
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 167

คลิป ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี


มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งสำหรับการแสดงมหรสพทุกชนิดนั่นคือ จะต้องพร้อมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการยืนตรงต่อบทเพลงสรรเสริญพระบารมี เฉกเช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์ ก่อนที่หนังจะฉาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบมาก่อนว่า ช่วงระยะเวลาของการยืนสงบนิ่งต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เพียงแค่นาทีกว่า ๆ นี้ มีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมาย

คุณโดม สุขวงศ์ จาก หอภาพยนตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า ธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงภาพยนตร์แล้ว โดยเฉพาะโรงหนังญี่ปุ่นหลวง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งแรกในสยาม และเป็นโรงแรกที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดิน

ธรรมเนียมนี้อาจได้แบบอย่างมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมืองสิงคโปร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในปกครองของอังกฤษ มีการฉายพระบรมรูปพระราชินีอังกฤษและบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี คือเพลง "God Save the Queen ; ก็อด เซฟ เดอะ ควีน" เมื่อจบรายการฉายภาพยนตร์ ให้ผู้ชมยืนถวายความเคารพ

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสชวา เมื่อ พ.ศ. 2439 มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บรรจบกัน 2 ประการ คือ ได้ทอดพระเนตรประดิษฐกรรมผลิตภาพยนตร์ที่พระตำหนักเฮอริเคนเฮาส์ เมืองสิงคโปร์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ผู้แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย ชื่อ มิสเตอร์ ยี.เอช. แวนสัชเตเลน ที่เมืองดยกชาการ (อ่านว่า ดะ-ยก-ชา-การตา) หรือจาร์การตาในปัจจุบัน

เมื่อเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้ มิสเตอร์ เฮวุดเซน ครูแตรทหารมหาดเล็ก แต่งทำนองเพลงคำนับรับเสด็จอย่างเพลง God Save the Queen โดยพระราชทานทำนองเพลงที่นายแวนสัชเตเลนแต่งให้ นายเฮวุดเซนได้นำทำนองเพลงนั้นมาปรับปรุงเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเป็นต้นเค้าของทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้อยู่ โดยบทที่บรรเลงในปัจจุบัน สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์คำร้อง ส่วนทำนองประพันธ์โดย นายปโยตร์ สซูโรฟสกี้ ชาวรัสเซีย

ต่อมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแก้คำในวรรคสุดท้าย จาก "ดุจจะถวายชัย ฉะนี้"  เป็น "ดุจจะถวายชัย ไชโย" และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456

เพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เอง ที่ภายหลังเมื่อมีภาพยนตร์เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนังเงียบ ซึ่งจะต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมทำการบรรเลงดนตรีประกอบการฉาย วงดนตรีดังกล่าวจึงได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อถวายความเคารพเมื่อภาพยนตร์ฉายจบ โดยในช่วงแรก ๆ เป็นการบรรเลงแต่เพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงมีผู้ผลิตกระจกที่เป็นพระบรมรูปของพระเจ้าแผ่นดิน หรือ แลนเทิร์น สไลด์ (Lantern Slide) โดยทำการฉายกระจกพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินขึ้นบนจอด้วย และถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด แต่ในที่สุดก็มีระเบียบออกมาบังคับใช้ เมื่อ พ.ศ. 2478 พอเข้าสู่ยุคภาพยนตร์เสียงในฟิล์มแล้ว โรงภาพยนตร์ทุกโรงก็ยังคงฉายสไลด์พระบรมรูปและเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี

ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นการฉายสไลด์พระบรมฉายาลักษณ์และเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนการฉายภาพยนตร์ จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นการจัดทำเป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจฉายประกอบเพลง และกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอก็มีความแตกต่างกันไปอีกด้วย

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการฉายสไลด์พระบรมรูปพร้อมกับเปิดแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีในขณะนั้นว่า มีเจ้าของโรงภาพยนตร์บางแห่งไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ โดยนำสไลด์กระจกรูปของบุคคลอื่น เช่น ผู้นำชาติอื่น ๆ  หรือผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ มาฉายพร้อมกับเปิดเพลงและมีถ้อยคำปลุกใจให้ผู้ชม ซึ่งผิดธรรมเนียมปฏิบัติและไม่สมควรอย่างยิ่ง จนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาตรวจสอบโรงภาพยนตร์อยู่เนือง ๆ

นอกจากนี้ ยังเคยมีบุคคลบางคนได้เสนอแนะให้ยกเลิกการฉายภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ โดยให้เหตุผลว่า มีโรงภาพยนตร์บางแห่งได้ฉายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะหนังที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร หรือเนื้อหาที่มีความรุนแรง ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะสมเท่าไหร่ แต่เรื่องดังกล่าวก็หายไปเพราะไม่มีใครเห็นด้วย ปัจจุบันถือว่า การฉายภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมี ถือเป็นระเบียบที่ทางโรงภาพยนตร์จะต้องถือปฏิบัติ และได้กลายเป็น "จารีต" ที่ผู้ประกอบการล้วนแล้วแต่ทำด้วยความจงรักภักดีกันทั้งสิ้น

สำหรับการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ประกอบเพลงสรรเสริญพระบารมี จะต้องทำหนังสือส่งไปที่สำนักพระราชวังเพื่อขอใช้พระบรมฉายาลักษณ์ต่าง ๆ หรืออาจจะขอคัดพระบรมฉายาลักษณ์เท่านั้น และเมื่อดำเนินการผลิตเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องนำมาผ่านตรวจจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจภาพยนตร์แต่อย่างใด



.....



(คัดลอกจากกระทู้เก่า และแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนโดยเจ้าของกระทู้)


เท่าที่สำรวจและจากประสบการณ์การดูหนัง ฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ได้ผลิตออกมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 เวอร์ชั่น ทั้งที่ผลิตโดยร้านขายอุปกรณ์ฉายหนังที่เฉลิมกรุง และฉบับที่ผลิตขึ้นเฉพาะโรงภาพยนตร์ของตนเองครับ


เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ผลิตขึ้นเฉพาะโรงภาพยนตร์ของตนนั้น


 


เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มี 6 เวอร์ชั่นดังนี้ (ต่อจากชุด "ใบโพธิ์" ที่ผลิตโดย "เป็ดทอง")


 


* ชุดแรก เริ่มต้นด้วยภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่วางอยู่บนโต๊ะ ไปจบที่จุดเทียนชัยถวายพระพรที่ท้องสนามหลวง พิมพ์ที่กันตนา


 


* ชุดที่สอง "ในหลวงของเรา" เริ่มต้นด้วยภาพเด็กถือธงชาติเดินผ่าน ไปจบที่คำว่า "ทรงพระเจริญ" แทรกบนท้องฟ้า พิมพ์ที่สยามพัฒนาฟิล์ม


 


* ชุดที่สาม (ไม่ทราบชื่อ) เริ่มต้นด้วยภาพเด็กฝรั่งกล่าวให้ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในภาพจะมีช่วงหนึ่งที่นำเสนอ "พระมหาชนก" ด้วย


 


* ชุดที่สี่ (ไม่ทราบชื่อ) เริ่มต้นด้วยภาพพระบรมฉายาลักษณ์ตามที่ต่าง ๆ เช่น แสตมป์, นักมวยในการแข่งขันกีฬา ฯลฯ


 


* ชุดที่ห้า "สามัคคี" ที่มีภาพที่ผู้คนช่วยกันเข็นรถเมล์ ชุดนี้มีทั้งแบบไม่มีเนื้อเพลง และมีเนื้อเพลง


 


* ชุดที่หก "พลังความสุข จากพ่อของแผ่นดิน"


 


อีจีวี จะมีชุด กราฟฟิค ขึ้นต้นด้วยภาพเรือสุพรรณหงส์ และเพลงประสานเสียง แต่ภายหลังจากที่มารวมกับเมเจอร์แล้ว ก็ใช้ฟิล์มแบบเดียวกันกับที่เมเจอร์ใช้ ฯ ครับ


 


เซ็นจูรี่ ใช้ชุด ดนตรีแจ๊ส


 


เอสเอฟ ซีนีมา มี 2 ชุด ซึ่งนำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว ทั้งที่เป็นภาพส่วนพระองค์จริง ๆ และภาพพระราชกรณียกิจครับ


 


ในส่วนของฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ผลิตในลักษณะ "ทั่วไป" (General Use) กล่าวคือ โรงภาพยนตร์หรือหนังกลางแปลงชอบแบบไหนก็ซื้อไปใช้ได้ เท่าที่มีข้อมูล (ทั้งจากการสังเกต และฟิล์มของตนเอง) สารมารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มครับ


 


กลุ่มแรกก็คือ ระบบเสียงเป็นแบบโมโน น่าจะไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น


 


กลุ่มที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบ DOLBY SR (แทรคออพติคเป็น สเตอริโอ ซ้าย-ขวา ไม่มีแทรคดิจิตอล) และ DOLBY DIGITAL (ที่กล่องฟิล์มจะระบุข้อความ DOLBY SR-D) ก็น่าจะไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น เช่นกัน


 


กระทู้นี้จึงขอนำเสนอ คลิปซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในโรงภาพยนตร์ และหนังกลางแปลงที่เป็น General Use เท่านั้นครับ


 


ส่วนที่เป็นแบบเฉพาะของโรงภาพยนตร์นั้น จขกท. จะไม่นำมาลง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา แต่เชื่อว่าผู้ที่เคยเข้าไปดูในเว็บ YOUTUBE ก็จะทราบกันอยู่แล้วนะครับ และข้อความร่วมมือ สมาชิกที่เข้ามาชมนั้น งดโพสต์ หรือกระทำด้วยวิธีการใด ที่ทำให้ปรากฏคลิปเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นแบบเฉพาะของโรงภาพยนตร์ เพราะจะทำให้ทางเว็บเดือดร้อนครับ

ประกาศเรื่องสำคัญ: ขณะนี้ ผมมีความจำเป็นต้องลบคลิปเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ปรากฏในกระทู้นี้ออกไปเป็นการชั่วคราวก่อนครับ

จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน


ความเห็น

[1] [2]


เพลงสรรเสริญพระบารมี ชุดที่ผลิตเพื่อใช้ในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก

 

จากหลักฐานพอประมาณได้ว่า น่าจะเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ. 2523 หรือ พ.ศ. 2524 ที่เริ่มฉายฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนหนังเรื่องยาว




ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี อีกหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะมาจากร้านขายอุปกรณ์การฉายภาพยนตร์แถวเฉลิมกรุงครับ

 

ชุดนี้ ผลิตโดยร้านใหญ่จัดทำ (ปัจจุบันย้ายออกไปอยู่แถวยานนาวา) ซึ่งนำเสนอในแบบเพลงร้องครับ

 

สำหรับคลิปนี้ ผมเอาตัวไฟล์จากฟิล์มที่เป็นแบบบรรเลงของท่าน W/M มาใช้ แล้วแทรกที่เป็นเพลงร้องแทน เนื่องจากว่า ผมมีฟิล์มชุดนี้ที่เป็นเพลงร้อง แต่สีเริ่มเฟดแล้วครับ เลยใช้วิธีนี้แทน ซึ่งก็ตรงกันกับฟิล์มที่ผมมีครับ




ส่วนคลิปนี้เป็นแบบบรรเลงครับ

 

ผมไปร้านใหญ่จัดทำ เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาที่ผ่านมา ก็ได้ความว่า ฟิล์มชุดนี้ไม่มีแล้วครับ ที่ผมได้ไปนั้นเป็นชุดสุดท้ายของทางร้านแล้ว เพราะตอนนั้นทางร้านได้สั่งพิมพ์ไว้จำนวนหนึ่ง ก็มีลูกค้าทยอยซื้อไปเรื่อย ๆ จนเหลือชุดสุดท้ายที่ผมมีนั้นแหละครับ

 

ที่สำคัญ ฟิล์มเนกาตีฟก็หายไปอีก หายไปพร้อมกับแล็บที่พิมพ์ฟิล์มครับ เพราะแล็บที่ล้างและพิมพ์ฟิล์มนั้นเป็นแล็บระดับล่าง




ส่วนคลิปนี้เป็นแบบบรรเลงครับ

 

สำหรับฟิล์มชุดนี้ ภาพเป็นอัตราส่วน 1.33 : 1 คาดว่าน่าจะเป็นการทำขึ้นมาเพื่อใช้ฉายต่อจากหนังตัวอย่างหรือฟิล์มโฆษณาที่เป็น FLAT (ตัดซีน) ในยุคนั้น ซึ่งในตอนนั้นทางโรงน่าจะยังไม่มีเลนส์ตัดซีนครับ ดังนั้นเวลาฉายจึงฉายแต่เลนส์ในเพียงอย่างเดียว




ส่วนคลิปนี้เป็นแบบเพลงร้องครับ

 

ภาพบนฟิล์มเป็นอัตราส่วน 1.33 : 1 เหมือนกัน




สำหรับฟิล์มชุดนี้ ผมเคยเห็นช่วงทศวรรษของปี พ.ศ. 2530 ครับ

 

ฟิล์มชุดนี้สันนิษฐานว่าเป็นของคุณเจี๊ยบ สมาชิกของเรานี่เอง

 

ฟิล์มชุดนี้ ช่วงต้นมีรอยถลอกบ้าง ช่วงท้ายเพลงขาดตอนไปนิด แต่ก็ถือว่าสมบูรณ์ครับ ที่สำคัญก็คือ หายากแล้วครับ




สำหรับฟิล์มชุดนี้ ผมเคยเห็นช่วงทศวรรษของปี พ.ศ. 2530 ครับ

 

ฟิล์มชุดนี้มาจาก จ. พิจิตร ครับ ชุดนี้เป็นเพลงบรรเลง ส่วนที่คุณอุ้ย ธวัชชัยมีนั้น เป็นแบบเพลงบรรเลง และภาพมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยครับ




นอกจากนี้ ก็มีเพิ่มเติมอีกว่า ยังมีฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมี (เสียงโมโน) ที่นอกเหนือจาก 6 คลิปที่กล่าวมา อยู่ 2 ชุด

ชุดหนึ่งอยู่ที่บริการหนังกลางแปลงที่ จ. พิจิตร ครับ ชุดนี้ผมไปดูมาแล้วด้วยตนเอง (คนละเวอร์ชั่นกับคลิปบนครับ)

 

อีกชุดหนึ่งอยู่ที่ กรุงเทพ ฯ นี่แหละครับ

 

และอาจจะยังมีชุดอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่นำเสนอไปแล้ว แต่ยังหาไม่เจอเท่านั้นเอง

 

ต่อไปนี้เป็นฟิล์มเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ผลิตในยุคระบบเสียงดอลบี้ ดิจิตอลครับ

 

จากข้อมูลที่มาจากประสบการณ์การดูหนัง หรือจากภาพถ่ายที่ผมเก็บไว้ พบว่ามีไม่น้อยกว่า 5 เวอร์ชั่น ทั้งที่ผลิตโดยเป็ดทอง หรือผู้ผลิตรายอื่น ๆ

 

ตัวอย่างเช่น

 

เพลงสรรเสริญพระบารมี ในอัลบั้ม เพลงแห่งชาติ ทั้งที่เป็นแบบบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ และแบบบรรเลงด้วยวงเครื่องสาย ก็นำมาสร้างสรรค์กับตัวฟิล์ม เพราะจำได้ว่าตอนดูหนังที่นครสวรรค์ ในโรงแฟรี่ เธียเตอร์ และธนารุ่งโรจน์รามา จะใช้แบบบรรเลงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ ส่วนที่ศรีไกรลาสใช้แบบบรรเลงด้วยวงเครื่องสาย กระทั่งปี พ.ศ. 2541 จึงมีเวอร์ชั่น จิ๊กซอว์ ออกมา ซึ่งทั้งโรงศรีไกรลาส และธนา ฯ ก็เปลี่ยนไปใช้เวอร์ชั่น จิ๊กซอว์ แทน

 

สำหรับคลิปนี้ เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ใช้ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในอัลบั้ม เพลงแห่งชาติ ที่เป็นแบบวงออร์เคสตร้าชุดใหญ่ครับ




เพลงสรรเสริญพระบารมี เวอร์ชั่น "จิ๊กซอว์"

 

ก็ยังมีให้เห็นตามโรงภาพยนตร์ทั่วไปครับ รวมทั้งหนังกลางแปลงด้วย

 

ตัวฟิล์มชุดนี้ มีทั้งแบบสโคป และแบบตัดซีนครับ



เพลงสรรเสริญพระบารมี เวอร์ชั่น "สายฝน" (ส่วนใหญ่ชอบเรียกกันว่า "หยาดฝน")

 

โรงภาพยนตร์ตามชานเมือง และต่างจังหวัด รวมทั้งหนังกลางแปลงก็ใช้ชุดนี้ครับ

 

ผลิตโดยร้านเป็ดทอง มีทั้งแบบสโคป และแบบตัดซีนเช่นกัน ซึ่งราคาขายปลีกล่าสุด (ของร้าน) อยู่ที่ 1,500 บาท ซึ่งมีแต่แบบสโคปเท่านั้นครับ




จริง ๆ แล้วก็ยังมีเวอร์ชั่น "จิตรกรไทย" ด้วยครับ ผลิตโดยร้านเป็ดทอง เช่นกัน ตัวเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นแบบเดียวกับที่เครือเมเจอร์ใช้อยู่ในทุกวันนี้ แต่มีความแตกต่างในช่วงท้ายของเพลง ฟิล์มชุดนี้อยู่ที่ผมครับ คงต้องรออีกสักพักใหญ่ ๆ จึงจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป

 

ก็ถือว่าข้อมูลตรงนี้ยังไม่สมบูรณ์ ก็น่าจะเกิน 60 เปอร์เซ็นต์แล้วครับ




ขออนุญาตใช้สิทธิพาดพิงครับครูนุ (เลียนแบบในสภา) ผมมีเวอร์ชั่นตอนที่ช่วงท้ายเป็น

รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ(ภาพนิ่ง)..เป็นเวอร์ชั่นที่ออกปีไหนครับ 

รูปนี้เป็นเวอร์ชั่นที่อ้างถึง...เป็นของคุณโอ เทพมงคลครับ







รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ (ภาพนิ่ง)..เป็นเวอร์ชั่นที่ออกปีไหนครับ 

ตำตอบ ช่วงกลางถึงปลายของทศวรรษ พ.ศ. 2520 ครับ (ประมาณ พ.ศ. 2525 ขึ้นไป ไม่เกิน พ.ศ. 2529)

 

ต้องขอบคุณคุณอุ้ย ธวัชชัย ที่ช่วยรื้อฟื้นความจำ เพราะชุดนี้ เมื่อตอนเป็นเด็กเคยเห็นจากหนังกลางแปลง (จำชื่อบริการไม่ได้) ที่กาญจนบุรี และเป็นครั้งสุดท้ายก่อนย้ายตามพ่อแม่ไปอยู่ที่ จ. กำแพงเพชร ต่อมามาเห็นอีกทีจากหนังกลางแปลงของบริษัท โค้ก เมื่อนานมาแล้วครับ




รูปพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วก็มีพลุ (ภาพนิ่ง)

ใช่เวอร์ชั่น สีธงชาติที่ข้างจอซ้ายขวา ใช่มั้ยครับ?




ขอค้านกั๊บทั่นประธาน...
(เอามั่งๆ อิอิอิ)



คือผมมั่นใจว่า จะต้องมีเพลงสรรเสริญเวอร์ชั่นที่เก่าๆ กว่าที่เห็นอยู่นี้ หลงเหลืออยู่อีกแน่นอนครับ!

เพราะคำนึงถึงที่ครูนุบอกว่า ธรรมเนียมการเปิดเพลงสรรเสริญฯเริ่มมาตั้งแต่ก่อนพศ.2480 โน่นแล้วละก็ ช่วงระหว่างปี 2480-2520 ก็น่าจะนานพอ ที่จะมีการผลิตเพลงสรรเสริญฯที่เป็นฟิล์มสำหรับฉายขึ้นมา(น่าจะหลายเวอร์ชันด้วยซ้ำ)แล้วละครับ


ซึ่งผมเชื่อว่า ถ้ารวบรวมเพลงสรรเสริญในยุคที่เป็น General Use ทั้งหมดที่มี (คือ ก่อนยุคโรงหนัง Multiplex ทำเองใช้เอง โดยประมาณละกัน) น่าจะไม่ต่ำกว่า 20-30 เวอร์ชั่นก็เป็นได้

เอาว่า เท่าที่ผมนึกออก ก็จะมีเวอร์ชันที่เป็นเพลงบรรเลงอีกอย่างน้อยๆ 1-2 เวอร์ชัน ที่ผมเคยเห็นตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก แต่ปัจจุบัน ยังไม่พบว่ามีสมาชิกทั่นใหนมีครอบครองอยู่เลย


สรุปว่า ใครที่มีเวอร์ชันอื่นๆ นอกเหนือจากที่เห็นอยู่ในกระทู้นี้แล้ว ช่วยกันเข้ามาแจ้งให้ทราบด้วย จะขอบคุณหลายๆเลยนะครับ



เกือบลืม...


-เพลงสรรเสริญฯ V. 2.2 กับ 2.3 ผมว่าภาพคล้ายๆกันเลย เพียงแต่อันหนึ่งเป็นสโคป อีกอันไม่ใช่เท่านั้นเอง คิดว่าน่าจะเก่าพอๆกันนั่นแหละ

-แล้วตกลง V. 2.2 นี่ ไม่มีฟิล์มเนกาทีฟต้นฉบับเหลือแล้วเหรอครับ!?!?!? เวรของกรรม T_T
(จำได้ว่า เป็นเวอร์ชันที่ผมเห็นบ่อยที่สุด สมัยเด็กๆด้วย)

-อ้อ ส่วนใน V.4 นั่น ไม่ใช่ของคุณเจี๊ยบหรอกครับ ของผมเองตะหาก อิอิอิ (และได้ยินว่า มีสมาชิกท่านอื่น มีฟิล์มเวอร์ชันนี้ ที่สภาพสมบูรณ์กว่านี้อยู่ด้วยนะ)


-สุดท้ายละ เข้าใจว่าในรูปของคุณอุ้ย น่าจะเป็นตัวเดียวกับใน v.5 รึเปล่าครับ??
(สนใจจะเอามาถ่ายลงแผ่นมั้ยครับ??? อิอิอิอิอิ)



ขอแก้ไขเพิ่มเติมจาก W/M นิดหนึ่งครับ

 

เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่เริ่มใช้ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2520 จะเป็นกระจกสไลด์นะครับ

 

แต่ถ้าหลังจากนั้นไปแล้ว เพลงสรรเสริญพระบารมีจะเป็นฟิล์มภาพยนตร์ครับ

 

ในคลิปที่เป็น V 2.1 และ V 2.2 นั้น ร้านใหญ่จัดทำเป็นผู้ผลิตทั้งคู่ครับ คือใช้เนกาตีฟภาพชุดเดียว แต่เนกาตีฟเสียงมีทั้งแบบร้องและบรรเลง ทีนี้เวอร์ชั่นที่เป็นเพลงร้อง ภาพช่วงท้ายจะเหลือยาวหน่อย ไม่เหมือนเพลงบรรเลง พอเพลงจบก็ตัดภาพเลย

 

ที่น้องอ๊อฟ (บัญชาภาพยนตร์ จ. พิจิตร) ถามมานั้น คิดว่าน่าจะเป็นฟิล์มตัวที่ผมไปเห็นที่ร้าน เมื่อปีก่อนนั่นแหละครับ




"-สุดท้ายละ เข้าใจว่าในรูปของคุณอุ้ย น่าจะเป็นตัวเดียวกับใน v.5 รึเปล่าครับ??
(สนใจจะเอามาถ่ายลงแผ่นมั้ยครับ??? อิอิอิอิอิ)"

 

สนใจเหมือนกันครับ..พี่โหน่ง..เดี๋ยวคงได้ใช้บริการในเร็วๆนี้แน่นอน

(โดยเฉพาะ โฆษณาฮอนด้า) ..อิอิอิๆๆ




เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 27

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117957178 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,