Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ
+
[1]
ที่ผมมองไว้ ฟิล์มอาจไม่ต้องผ่านกลไกบางส่วน หาชุดควบคุมมอเตอร์ แปลงเป็นแบบใช้เท้าเหยียบเร่งความเร็วและหยุดได้กลไกภายใน และบางส่วนต้องปรับเป็นจุดหมุนแทน....
ไว้ขอความเห็นจากสมาชิกเพิ่มครับ คิดเองคิดไม่ออก...
แต่ว่างๆ ก็จะลองคิดต่อดู....
ช่วงนี้เสาะหาที่กรอฟิล์ม รู้สึกว่า ....1000- 1500 บาท แถมต้องปั่นอีก....เมื่อยด้วยทีนี้หัวฉายของผม...ที่มอเตอร์ใช้งานได้ก็ทำเป็นที่กรอฟิล์มได้แน่ๆ ใส่ฟิลม์ขารีลบน ..รีลเปล่าอันล่าง
เดินเครื่อง..ก็คอยประคองฟิล์มไม่ให้สีกับหัวเครื่อง.....ก็สบาย....
แต่สมาชิกทุกท่านก็กลัวว่ากรอกับหัวเครื่อง นานๆ ทำให้กลไกเครื่องสึกหรอ........ผมก็เลยคิดว่าเป็นหัวฉายที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็พอนำมาทำได้สบาย....
ราคา หัวฉายซินเกียว..ที่ไม่เกิน 1500.บาท น่าจะพอหาได้....ก็เข้าท่านะ....
และมันคงต้องกรอแบบไม่ต้องจับฟิลืมให้มันหนุนภายในหัวแาย แต่อาจเป็นจุดหมุนแทน...
ระบบกระปุกจำปาก็ไม่ต้องใช้...เพราะอาศัยการหมุนขารีลเก็บฟิล์มเท่านั้น.....
ไว้จะหาสภาพหัวแายเก่าที่สุดที่คิดว่าทำได้มาลองให้เป็นแนว....
ช่วงนี้ รอหาความคิดจากเพื่อนสมาชิกต่อ....เพื่ออยากให้ทำความสะอาจฟิล์มไปในระบบการกรอด้วย
เป็นที่เช็ดคราบน้ำมัน....หรือสิ่งสกปรกที่อยู่บนฟิล์ม....
*****สงสัย....ระบบที่เขาคิดไว้ คงมีแน่ๆ เครื่องกรอฟิล์มพร้อมกับการทำความสะอาดฟิล์ม...แต่ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง....
แนวดิด ระบบหนามเตย ไม่ใช้ ปรับเป็นจุดหมุนแทน....
อาศัยการดึงฟิล์มออกจาก ขารีลล่าง.( จะหมุนไหวเปล่ายังไม่เคยลอง เพราะเดิมมันมีหนามเตยดึงฟิล์ม...รีลล่างหมุนเก็บเฉพาะฟิลืมหลังหนามเตยส่งออก แต่คิดแบบใช้มอเตอร์ส่งหมุนจากขารีลเก็บฟิล์มไปเลย.)..
-ควบคุมการกรอ เร็ว ช้า หยุด บังคับด้วยระบบบังคับควบคุมความเร้วมอเตอร์ (ใช้เท้าเหยียบ)
มีชุดสัมผัสฟิล์มด้วยผ้าสะอาด...มาโอบฟิลืมไว้ทั้งสองด้าน และอาจมีการหยุดเพื่อดูความสะอาดของผ้าที่สัมผัสฟิล์ม...
ไอเดียดีมากครับ...
ความคิดผม....
ผมว่าวิธีนี้ ทำความสะอาดแค่เศษฝุ่นผมว่าน่าจะได้ ถ้า..น้ำมันยากครับ..ไม่หมด
และอีกอย่างน่าจะเป็นการเพิ่มการสึกหร่อของฟิล์มนะครับ
อย่างที่คุณแพมมี่ว่าล่ะครับ เสริมนิดนึง แล้วเราจะเปลี่ยนวัสดุในการเช็ดอย่างไรโดยไม่ขาดตอน เพราะใส่ไปแป๊ปเดียวน้ำมันก็ชุ่มแล้วครับ
ใช่แล้วยากไป....ฟิลืมเสียอีก...งั้นถอดชุดจับเลนส์ในออก ตรงนั้นให้โล่ง...เพื่อให้ใช้ผ้าสะอาดไปไว้ลูปฟิล์มเป็นจังหวะ สลับผ้าดูว่าสกปรก ก็เปลี่ยนผ้า ที่เราถือไว้เช็ดเอาแทน...
เอาเป็นแบบ อัตโนมือ.... เอา...
พี่กิตครับ ดูแล้วเหมือนจะยากกว่าเอามอเตอร์ออกมาติดตั้งกับที่กรอครับ ซึ่งจุดเสียดสีจะน้อยกกว่า และแปลงน้อยกว่าด้วย
แบบว่า ....เสียดายหัวฉายที่จะทิ้ง นำมาตั้งโชว์....ใช้อะไม่ได้ รื้ออะหลั่ยออก เลยอยากให้หัวเครื่องมีชีวิตชีวา..ได้ประโยชน์ ไว้กรอฟิล์มฟิล์มได้ยังดี.....
จะทิ้งบอกน้องด้วยครับพี่กิต เสียดายจัง
104 วางไว้นิ่งๆไม่มีคุณค่า น่าเอามาให้มันมีชีวิตชีวาครับ.
***ขอบคุณพรชัยที่ว่า จะทไม่ได้ทำที่กรอฟิล์มมธรรมดา แต่เอาหัวฉายที่เหลือเฉพาะโครงให้ใช้งานให้กรอฟิล์มได้....มันจะมีประโยชน์อีกแบบ....
***แจ้งจอกระดาษ ลองมาชมดูว่าทำไมผมถึงไม่อยากปล่อยหัวฉายออก...มี่แต่เข้าอย่างเดียว....
*** โอโห คุณแก้ว ตามมาถึงนี่เลยแน่นอน....ยังไม่ได้ประกอบชุดซีนอลกลับเลย....และคงจะขอเก็บไว้ทำเป็นหัวฉายด้วยแสงหลอดโปรเจคเตอรื เพราะชอบความเงียบของระบบเครื่อง 104
นั้นๆ5555
ภาพตัวอย่างคุ้นๆแฮะ..แนวคิดดีครับน่าจะเป็นไปได้นะ ถ้ามีหัวเหลือเยอะๆแบบคุณกิตจะลองทำดูบ้าง
เพื่อให้กรอฟิล์มได้ไวๆ คงต้องดัดแปลงขนาดพู่เล่หรือต่อกับมอเตอร์โดยตรง
ต้องตัดตัวที่ไม่จำเป็นออก ให้ฟิล์มสัมผัสกับเครื่องให้น้อยที่สุดไม่งั้นจะทำให้ฟิล์มสึกหรอหรือเสียหายได้
ต้องลองทำเลยครับคุณกิตจะได้รู้ว่าติดตรงไหนบ้าง เอาใจช่วยครับ อิอิ...
ใช่แล้ว ภาพหัวแายของท่าน Nantawut ลืมขออนุญาต แต่ก็ยังไม่ทำกับหัวที่ผมเก็บไว้ ยังรักอยู่ แต่จะต้องเป็นหัวฉายที่อาจปลดระวางจริงๆ....ก็พร้อมจะลุย.....
ขายเป็นอะไหล่เอาทุนคืน ดีกว่าครับ เป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นด้วย
ขอแจม...ส่วนมากถ้ามีการกรอฟิล์ม ก็มักต้องตรวจฟิล์มไปด้วย(ยิ่งในสมัยก่อนที่เป็นฟิล์มธรรมดา) ถ้าเป็นฟิล์มโพลีเอสเตอร์ ก็อาจไม่ต้องตรวจบ่อยเท่าไร(แต่เอากันจริงๆก็ต้องตรวจอยู่ดีเช่น รอยต่อฟิล์ม ว่ายังโอเคอยู่หรือเปล่า เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุกับฟิล์มก็อาจจะเสียฟิล์มส่วนนั้นไปอย่างถาวร น่าเสียดาย นี่แหละครับคนเล่นเครื่องฉายหนัง พลาดไม่ได้เลย ไม่มีปุ่ม PLAY-(เล่น) ทุกอย่างต้องเอาจริงถ้าเล่นๆของก็เสียหาย)
ถ้าเป็นฟิล์มธรรมดารุ่นเก่าๆ วิธีใช้เครื่องฉายเป็นเครื่องกรอนี้ อาจจะตรวจสภาพฟิล์มได้ไม่ดีเท่าไร เพราะฟิล์มธรรมดามีรอยแตกตามร่องหนามเตยหรือขอบฟิล์มง่ายกว่าฟิล์มโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมือธรรมดาๆนี่แหละครับที่เป็นเซนเซอร์ที่ดีที่สุดในการตรวจรอยฉีกขาดของฟิล์มดังกล่าว ถ้าวิ่งผ่านผ้าที่ออกแบบไว้ แล้วสะดุดรอยฉีกขาดก็อาจทำให้ฟิล์ม(โดยเฉพาะฟิล์มรุ่นเก่า)ขาดแบบผ่าครึ่งแล้วอาจจะออกมากลายเป็นฟิล์ม16มม.ก็เป็นได้.....555
เห็นด้วยกับท่านเอสอาร์ครับ อันไหนปลดระวาง อย่าทิ้งนะพี่เสียดายอะครับ คนที่อยากมีไว้ศึกษา และอนุรักษ์ยังมีอีกหลายคน ไม่อยากให้หัวฉายสูญพันธุ์ครับ ..... อันไหนใช้ไม่ได้ไม่เป็นไร เต็มใจที่จะฟื้นฟูให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม..
เลือกหน้า [1] จำนวนหัวข้อทั้งหมด 17
ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116967078
ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :RobertMIGH , Carrra , นนท์ , Bryantoxymn , Jerekioxgew , ProlBlask , Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony ,