Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
สาระน่ารู้ กลอนสอนใจ และเรื่องขำๆเจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-ชีวิตเลือกเกิดไม่ได้...แต่เลือกที่จะเป็นได้.. 28/4/2558 20:57
-โลกใบนี้ยังมีความหวังเสมอ.. 9/3/2558 7:56
-คำคมจากหลิวเต๋อหัว.. 4/3/2558 16:19
-ไปโรงแรม.. 15/2/2558 16:24
-อวยพรปีใหม่อย่างฮา..... 2/1/2558 8:42
-ขออวยพรให้เจ้าของเวปและทุกคน.. 1/1/2558 19:15
-คำคมในหนัง..... 26/12/2557 8:07
-มาม่ารสแซ่บ..... 22/12/2557 22:01
-เริ่มหนาวแล้วล่ะ..... 17/12/2557 6:46
-วันหยุดยาว....ยังไม่มีคนตอบ
-เพลงไทยดังไกลต่างประเทศ ขอใจเธอแลกเบอร์โทร เมื่อสาวจีนร้องเพลงฮิตของคนไทยยังไม่มีคนตอบ
-คุณเช่าหนังม้วนวีดีโอมาดูที่บ้านครั้งสุดท้ายเมื่อไร...ยังไม่มีคนตอบ
-ช่างงดงามยิ่งนัก.. 13/10/2557 10:08
-สิบอมตะภาพยนตร์จีนยังไม่มีคนตอบ
-ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐานยังไม่มีคนตอบ
-จะรับสักเครื่องไม๊ครับ.. 9/10/2557 12:06
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 499

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวปผู้จัดการ...
ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
        ปีค.ศ.1905 นับจากภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือคนจีน 'ติ้งจวินซัน' (定军山) ออกฉายเป็นครั้งแรกในกรุงปักกิ่ง และนาทีที่ภาพแรกของดารางิ้ว ถันซินเผย (谭鑫培) ผู้สวมบทบาทและลีลาในแบบฉบับที่เขาถนัดที่สุดได้ผ่านหน้ากล้องออกสู่สายตาผู้ชม นั้นเป็นการแหวกม่านวิถีการนำเสนอความบันเทิงสู่แนวทางแปลกใหม่ที่ทันสมัยที่สุด และนับเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่โลกของฉาก แสงเงา และแผ่นฟิล์มของกิจกรรมบันเทิงในประเทศจีน 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
อุปรากรเรื่อง ''ติ้งจวินซัน'' ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของจีน
        ปฐมบทของการค้าที่พอจะเรียกได้ว่า 'ค่อนข้างภูมิฐาน'
       
       ไม่ว่าคนรุ่นหลังจะตีค่า 'ติ้งจวินซัน' ไว้สูงส่งหรือต่ำต้อยเพียงใด หนังเรื่องนี้ก็หนีไม่พ้นฐานะที่เป็น 'ภาพยนตร์เรื่องแรกของจีน' ซึ่งได้เปิดฉากกิจการภาพยนตร์ในจีนได้งดงามและถือเป็นหน้าเป็นตาของชาติเลยทีเดียว
       
       ความจริงภาพยนตร์จีนเกือบได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในพระราชวังของพระนางซูสีไทเฮาในวันเฉลิมพระชนมายุครบ 70 พรรษา
       
       ในปีค.ศ.1904 หนึ่งปีก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง 'ติ้งจวินซัน' ซึ่งเป็นปีที่มีการจัดพิธีสมโภชวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ 70 พรรษาของพระนางซูสีไทเฮาแห่งราชวงศ์ชิง(ค.ศ.1644-1911) ในการนี้อัครราชทูตอังกฤษได้น้อมเกล้าฯถวายเครื่องฉายภาพยนตร์ 1 เครื่องพร้อมภาพยนตร์จำนวนหนึ่งเป็นของขวัญ
       
       ทว่า จะเป็นด้วยเทคนิคการติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์หรือเป็นเพราะคุณภาพของเครื่องฉายหนังไม่มีใครทราบได้ ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นขณะทำการทดสอบให้หมู่พระบรมวงศานุวงศ์ทอดพระเนตร ทำให้พระนางซูสีไทเฮาทรงปริวิตกว่านี่อาจเป็นลางร้าย จึงมีพระราชเสาวนีย์ห้ามไม่ให้มีการฉายภาพยนตร์ในวังอย่างเด็ดขาด
       
       หากการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น พระนางอาจทรงกระทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม และภาพยนตร์จีนคงมีประวัติศาสตร์และฐานะที่ต่างไปจากวันนี้
       
       ............................. 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
ดารางิ้วเลื่องชื่อ ถันซินเผย
        ประวัติศาสตร์เริ่มต้นจากเถ้าแก่ร้านถ่ายรูป เฟิงไท่ (丰泰照相馆) ผู้เบื่อหน่ายภาพยนตร์ที่ฉายกันอยู่ในกรุงปักกิ่งสมัยนั้น บ้างเป็นหนังตลกจากต่างประเทศ หรือไม่ก็หนังปาหี่ไร้สาระความยาวไม่กี่นาที เถ้าแก่ เหรินชิ่งไท่ (任庆泰) อีกชื่อคือ จิ่งเฟิง ได้แรงบันดาลใจจากการฉลองครบรอบวันเกิด 60 ปี ของดารางิ้ว ถันซินเผย ที่กำลังมีชื่อในสมัยนั้น เขาได้บันทึกการแสดงของถันลงบนแผ่นฟิล์ม เป็นหนังเงียบ ขาว-ดำ ออกฉายที่โรงภาพยนตร์ต้ากวนโหลว (大观楼影院) ในปีนั้นคือ ค.ศ.1905
       
       หลังจากพี่น้องตระกูลลูมิแยร์ของฝรั่งเศสสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกในปีค.ศ.1895 ผู้ชมในโลกฝั่งตะวันออกได้รับประสบการณ์ความตื่นตาตื่นใจในโลกภาพยนตร์ไม่น้อยหน้าชาวตะวันตก ชาวผิวเหลืองในจีนแผ่นดินใหญ่ได้เห็นทิวทัศน์ของบ้านเมืองในประเทศแถบคนขาว ได้หัวร่อกับเรื่องราวตลกขบขันที่เคลื่อนไหวบนแผ่นฟิล์ม และได้รู้จักกับสังคมและศิลปะที่ต่างออกไปจากการรับรู้รอบตัว ชาวจีนเริ่มคุ้นตากับการนำเสนอในหนังต่างประเทศมาบ้างแล้ว 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
เหรินชิ่งไท่กับห้องภาพเฟิงไท่
        ถึงแม้การตัดสินใจเลือกถ่ายทำการแสดงงิ้วของ ถันซินเผย จะมาจากเหตุที่ธรรมดาที่สุด แต่มันก็เป็นองค์ประกอบที่ลงตัวที่สุดของการเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยชาวจีน เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นจุดกำเนิดของการผสมผสานศิลปการแสดงอันเก่าแก่ของชาติกับแนวทางการพัฒนาไปสู่ธุรกิจการค้าแล้ว
       
       ในเวลานั้น การแสดงอุปรากรยังเป็นมหรสพที่ยังมี 'ชีวิต' และได้รับการเชิดชูให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ดารางิ้วยังถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจีนทั้งผอง การหยิบดารางิ้วมาแสดงนำในภาพยนตร์ยังเปิดทางให้กับ 'การผลิตดารา' โดยไม่ได้ตั้งใจอีกด้วย 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
โรงหนังต้ากวนโหลวในกรุงปักกิ่ง
        แม้ภายหลังที่ผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นที่ 5 ของจีนหลายคนจะพยายามเดินตามรอยเท้า 'ติ้งจวินซัน' โดยการหันกลับมาค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรมและแก่นแท้แห่งชีวิต หลัง 'ความตาย' ของศิลปการแสดงของชาติ และขณะที่ภาพยนตร์จีนได้ผ่านหนทางลุ่มๆดอนๆของการพัฒนาไปสู่การค้ามาเนิ่นนานแล้ว พวกเขาก็ยังไม่สามารถสร้างความ 'ภูมิฐาน' เยี่ยงที่เกิดขึ้นกับหนังเรื่อง 'ติ้งจวินซัน' ได้
       
       ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้ชื่อว่า ถึงพร้อมทั้งความเป็นภาพยนตร์ ศิลปการแสดง และการค้า ที่เป็นไปอย่างธรรมดาและเรียบง่าย !
       
       เข้าสู่ต้นทศวรรษที่ 1920 แม้ว่าการฉายภาพยนตร์ในเมืองใหญ่ๆจะเป็นภาพคุ้นเคยของชาวจีนแล้ว ทว่า แนวคิดในการสร้างภาพยนตร์ของผู้ผลิตสัญชาติจีนก็ยังไม่มีการหยั่งรากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็นว่า การเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์จีนแท้จริงแล้วเกิดขึ้นตามมาหลังการผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดในฤดูฝนของโรงฉายหนังมืออาชีพ 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
บรรยากาศในโรงน้ำชาในอดีต
        เมื่อปีค.ศ.1908 A.RAMOS พ่อค้าชาวสเปนได้เปิดตัวโรงภาพยนตร์ระดับมืออาชีพบนสี่แยกถนนหงโข่วไห่หนิงตัดกับถนนจ้าผู่ ในมหานครเซี่ยงไฮ้เมืองที่ใครๆไม่อาจมองข้าม รามอส อาศัยอยู่ในเซี่ยงไฮ้และสั่งสมประสบการณ์การฉายหนังมามากมาย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้านวงการจนก่อให้เกิดกลุ่มผู้ชมและพวกลอกเลียนแบบตามมาอีกเป็นขบวน
       
       จากโรงน้ำชาถึงโรงหนัง จากคนดูธรรมดาถึงคนดูผู้มีฐานะ
       
       บันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ครั้งแรกที่ชาวจีนได้รู้จักกับภาพยนตร์เริ่มมาตั้งแต่การนำหนังต่างประเทศสั้นๆมาฉายคั่นรายการแสดงกายกรรม การร้องงิ้ว หรือปาหี่ตามโรงน้ำชา ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.1896 ณ ห้องแสดง ‘โย่วอี๋ชุน’ (又一村) ของโรงน้ำชาในสวนสีว์หยวน (徐园) เมืองเซื่ยงไฮ้ บรรยากาศในห้องฉายหนังในเวลานั้นเต็มไปด้วยคนดูที่บ้างดื่มชาไปด้วยนั่งแทะเมล็ดแตงไปด้วย ข้างๆตัวพวกเขายังมีเด็กขายของขบเคี้ยวมาเดินเกาะแกะไม่ห่าง
       
       ถึงกระนั้นคนดูก็ยังไม่ละสายตาจากฉากกษัตริย์ชาวตะวันตกทรงราชรถเสด็จประพาส หรือภาพคนอินเดียถือกระบองเต้นรำ หรือภาพสาวผมทองสาดน้ำเล่นขณะอาบน้ำ บางครั้งพวกเขาก็ยังโห่ร้องชื่นชมด้วยความชอบใจว่า ‘ห่าว’ (แปลว่า ดี, เยี่ยม) ไปพร้อมๆกัน
       
       ด้วยความแตกต่างในการนำเสนอระหว่างหนังกับการแสดงงิ้ว ภายหลังโรงน้ำชาจึงต้องเปิดห้องฉายหนังพิเศษ 1 ห้องเพื่อผู้ชมหนังโดยเฉพาะ และมีที่ขายตั๋วแยกต่างหาก และแล้ว เมื่อการค้าเริ่มดีวันดีคืนจนน้ำชาเหือดแห้ง บริการไม่พอกับแถวผู้ชมที่ยาวเหยียดราวกับมังกรยักษ์ โรงภาพยนตร์ก็ ‘หลุด’ ออกจากโรงน้ำชาและสวนอุปรากร และเริ่มมีที่ทางเป็นของตัวเองนับแต่นั้น 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
โรงภาพยนตร์ต้ากวงหมิงในเซี่ยงไฮ้
        ราวยุคทศวรรษที่ 20-30 ธุรกิจการฉายหนังในเซี่ยงไฮ้เริ่มบูมสุดขีด ยิ่งมีการสร้างโรงภาพยนตร์มากเท่าไหร่ ความใหญ่โตโอ่อ่าก็ยิ่งทวีความหรูหรามากขึ้นเท่านั้น ราคาตั๋วเข้าชมก็สูงลิ่วไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน กล่าวกันว่า ภาพยนตร์ 1 เรื่องที่ฉายในโรงหนังต้ากวงหมิง ราคาตั๋วแพงตั้งแต่ 6 เหมาถึง 2.5 หยวน ซึ่งหากเทียบกับค่าข้าวสารในเวลานั้น ( 1 หาบ ราคา 8 หยวน ) ที่ชาวเมืองธรรมดาๆจะบริโภคได้โดยเฉลี่ยใน 1 เดือนแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า ปรากฏการณ์ของคนดูหนังในสมัยนั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงจากการเข้าโรงน้ำชาในยุคเริ่มแรก
       
       สำหรับกลุ่มคนผู้ชมนั้น จากการสำรวจของหนังสือพิมพ์เก่าฉบับหนึ่งในเมืองเซี่ยงไฮ้ พบว่า ผู้ชมส่วนใหญ่ในสมัยนั้นมีด้วยกัน 5 ประเภท คือ หนุ่มสาวที่กำลังมีความรัก สตรีที่เบื่อหน่ายการดูงิ้ว คนร่ำรวยที่ไม่มีอะไรทำ วันรุ่นและบรรดานักวิจารณ์หนังที่อยากหลีกหนีชีวิตซ้ำซาก และกลุ่มคนที่ละทิ้งศิลปะวรรณคดีที่พรรณนาด้วยตัวอักษร ซึ่งกลุ่มสุดท้ายนี้ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยเต็มที
       
       ผู้กำกับชื่อดังในจีน ทังเสี่ยวตัน รำลึกถึงความหลังว่า ถึงแม้โรงหนังหลายแห่งในต้นศตวรรษที่แล้วจะสร้างขึ้นจากการ ‘ขูดเลือด’ ของพ่อค้าชาวสเปนที่ทำกับชาวจีน หากทว่าในเวลาเดียวกัน การได้เข้าไปในโรงหนังและได้ดูความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทุกฉากทุกตอนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดความยาว 10 กว่าชั่วโมงจากหนังเรื่องหนึ่งๆนั้น มันก็มีส่วนในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์และหยั่งรากความใฝ่ฝันของกลุ่มผู้ชม และผู้พิสมัยในศิลปะบนแผ่นฟิล์มที่เป็น ‘เสาเหล็ก’ ยุคแรกในวงการหนังจีนด้วยเช่นกัน
       
       *************** 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
เซี่ยงไฮ้ มหานครที่เฟื่องฟูตลอดกาล ถ่ายเมื่อค.ศ.1938
        หมายเหตุ ‘ติ้งจวินซัน’ (定军山) หนังจีนเรื่องแรก
       
       ‘ติ้งจวินซัน’ (定军山) ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยคนจีนในปีค.ศ.1905 ‘ติ้งจวินซัน’ เป็นตอนหนึ่งในนวนิยายเรื่องสามก๊ก (chapter ที่ 70 -71) ซึ่งนิยมนำมาสร้างเป็นอุปรากรจีน ไม่ว่าจะเป็นงิ้วปักกิ่งหรืองิ้วท้องถิ่นต่างๆ แต่มีคำเรียกชื่อเรื่องต่างๆกันไป และยังเป็นงิ้วมงคลที่ใช้แสดงเพื่อฉลองวันตรุษจีนด้วย
       
       เนื่องจากเป็นเรื่องราวในสมรภูมิรบสมัยสามก๊ก จึงมีความโดดเด่นที่ตัวละครซึ่งเป็นแม่ทัพที่จะวาดลวดลายในฉากการต่อสู้กันอย่างเต็มที่ ทั้งนี้การโชว์การร่ายรำในอุปรากรเรื่อง ‘ติ้งจวินซัน’ ถูกนำมาทดลองบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มเรื่องแรกเป็นหนังเงียบขาวดำ กำกับการแสดงโดย เหรินจิ่งเฟิง (เหรินชิ่งไท่ เจ้าของห้องภาพเฟิงไท่ ในปักกิ่ง) ถ่ายทำโดย หลิวจ้งหลุน นำแสดงโดยดารางิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยนั้น ถันซินเผย 

ศตวรรษภาพยนตร์จีน (1) : ปฐมบทที่เรียบง่ายแต่ภูมิฐาน
        * สารคดีชุด ‘ศตวรรษภาพยนตร์จีน’ นำเสนอทุกเช้าวันอาทิตย์ โปรดติดตามตอนหน้า ‘แสงโชติช่วงที่เกิดในปีค.ศ.1909 - 1914’
       
       เรียบเรียงจากเว็บไซต์ซีน่า / ซินหวา ภาพเก่าจาก แฟ้มภาพต้าจี้หยวนเน็ต 


ความเห็น


เลือกหน้า
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 0

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117967672 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jamessak , Robertbaito , Jerekioxgew , Landexpzgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ ,