Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ร่วมทดสอบ Peoplecine mobile Beta0.1


รูป
พูดคุย-แลกเปลี่ยนเรื่อง ฟิล์มภาพยนตร์เจ้าของ ผู้ตอบหลังสุด
-คลิปประดับความรู้ "เมื่อฟิล์มมาถึงหอภาพยนตร์".. 7/1/2556 12:12
-เสือโจรพันธุ์เสือ.. 18/10/2555 19:50
-เมื่อฟิล์มกำลังจะหมดไป.... 3/10/2555 12:26
-...เลิกไปอีกรายละครับ..... 19/9/2555 0:51
-อยากรู้มากเลยครับพี่.. 20/8/2555 21:23
-วิธีเอาฟิล์มเข้าเครื่องฉาย 35 มม... 10/8/2555 16:00
-ฟิล์มหนังตัวอย่าง ที่หายาก 2.. 18/7/2555 0:52
-RED ONE vs Kodak 250D .. 16/7/2555 12:45
-ขอคำแนะนำเรื่องเก็บฟิล์ม.. 16/7/2555 7:53
-ฟิล์มเป็นเส้นหรือเส้นฝนตก มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้างครับ.. 16/7/2555 4:42
-เครื่องตัดต่อฟิล์มหนัง 35 ม.ม... 16/7/2555 3:21
-ปัญหาฟิล์มหนังที่สายหนังนำมาฉายหรือปล่อยเช่าจากประสบการณ์ที่เจอคือหนังมา 6 ม้วนจะถูกนำมาตัดให้เหลือ 5 ม้วน จะพบว่าตอนท้ายม้วนน้ำหนักของรีลจะหนักมากและไม่มีแรงหมุนแต่ถ้าเป็นแบบเดิมๆคือ 6 ม้วนไม่มีปัญหา.. 16/7/2555 2:53
-ทำไมผู้กำกับหนังเขาจึงนิยมสร้างหนังตัดซีน.. 16/7/2555 2:46
-เคยสงสัยไหม ว่าทำไมฟิล์มหนัง เวลาฉายจะต้องหันเอาด้านอาบน้ำยาเข้าหาหลอด ?.. 13/7/2555 15:45
-ท่านใดทราบมั่งว่า รหัสเหล่านี้ในฟิล์ม มีความหมายอย่างไรบ้าง.. 13/7/2555 4:29
-อยากรู้จริงๆครับ! ว่าเธอคนนี้! เขาชื่ออะไร! ยังมีชีวิตอยู่ไหม! ผมเห็นเธอตั้งแต่เป็นเด็กเหมือนกัน!.. 13/7/2555 3:02
เลือกหน้า [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 167

ทำไมผู้กำกับหนังเขาจึงนิยมสร้างหนังตัดซีน


  ปกติแล้วจอหนังทั่วไปนั้นทำเพื่อรองรับหนังสโคบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่มาตอนนี้มีแต่หนังตัดซีน ซึ่งจะมีปัญหาตอนที่ฉายก็คือหนังไม่เต็มจอ ชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องก็บ่นว่าหนังไม่เต็มจอ ฉะนั้นหน่วยหนังก้ต้องไปตัดจอหนังตัดซีนอีก เพื่อตามให้ทันกับการสร้างหนังระบบนี้ออกมา ผมจึงขอตั้งคำถามว่าทำไมผู้กำกับถึงสร้างหนังระบบตัดซีนออกมา ทั้งๆที่ระบบสโคปก็ดีอยู่แล้วและจอหนังปกติก็เป็นจอสโคปอยู่แล้ว ผมอยากทราบว่าข้อดีของหนังตัดซีนมันมีข้อดีอยู่ตรงไหนครับ ขอบคุณครับ เพราะผมไม่เข้าใจจริงๆครับ รบกวนท่านผู้รู้ตอบหน่อยครับ

 



ความเห็น

[1] [2]


ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ...แต่ขอเดาเอาเองว่า

1.อาจจะลดต้นทุนการผลิตหรือเปล่า

2.ทุกวันนี้หนังกลางแปลงลดน้อยถอยลงเลยต้องทำแบบที่ว่าไว้ฉายโรงอย่างเดียวล่ะครับท่านเน้นฉายโรงเป็นหลัก

3.อื่นๆต้องหาคนมาตอบเพิ่มครับ




เอ้า ร่วมด้วยช่วยเสริม

1.จริงครับ เรื่องของต้นทุนก็มีส่วน ถือถ้าถ่ายเป็นตัดซีน(จริงๆเค้าเรียก Flat) ค่าเช่ากล้อง/เลนส์ถ่ายก็ถูกกว่าเลนส์สโคป การถ่ายทำก็ง่าย ไม่ยุ่งยาก

2.ตอนฉายกลางแปลงมีปัญหา แต่ตอนฉายโรงเค้าไม่มีปัญหา เค้าก็เลยถือว่าไม่มีปัญหาครับ หรือพูดตรงๆ(อย่าเสียใจนะ)ก็คือ เดี๋ยวนี้ผู้สร้างหนัง ให้น้ำหนักกับการฉายกลางแปลงค่อนข้างน้อยแล้วครับ

3.ตอนเอาฉายทางทีวีก็ง่ายกว่า ถ้าฉายแบบ Letterbox คือ มีขอบดำบนล่าง ขอบดำก็ไม่หนามาก พอหยวนๆได้อยู่ หรือถ้าฉายแบบ Full Screen คือเอาเต็มจอเข้าว่า ก็จะตกซ้ายขวาไม่มาก แต่ถ้ามีการวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนถ่ายแล้วละก็ อาจใช้วิธีถ่ายมาเต็มๆเฟรม 4ต่อ3 อยู่แล้ว ตอนฉายโรงก็บังเฟรมบน-ล่างตามปรกติ แต่พอฉายออกทีวีก็ใส่เต็มๆเฟรมไปเลย แบบนี้ก็จะกลายเป็นว่า ตอนฉายออกทีวี กลับจะเห็น"เยอะ"กว่าตอนฉายในโรงไปซะงั้น


ปอลอ เดาไปตั้งเยอะ มันต้องถูกซักข้อละวะ(อ้าว)




ทำแบบโรงหนังสิ ม่านสีดำ ให้จินตนาการเอาเอง


นึกถึงหนังเรื่องที่ฉายสโคป ในโรงหนัง


เมื่อฉายตัวอย่างที่เป็นตัดซีนจบ จอก็จะค่อยๆ เลื่อนให้กว้างขึ้น  

ตัวเลื่อนนั่นคือม่านที่ใช้ผ้าสีดำปิดไว้




ถ้าจะประหยัดฟิล์ม 35 มมเต็ม ฯฯ แต่ใช้งานได้ครึ่งเดียว  น่าจะกอ็ปเป็น ฟิล์ม 16  มม เสียหมดเรื่องไปเลย จะได้ประหยัดฟิล์ม




เท่าที่จำได้ เมื่อครั้งตอนช่วงหนังโฆษณา (ที่เป็นหนังขายยานะครับ) เค้าถ่ายแบบ FLAT เพราะจะสะดวกเวลาตอนเอาไปฉายออกอากาศทางทีวี (เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2527 นั่นคือช่วงที่เคยดูโฆษณาจากทีวี ซึ่งตอนนั้นยังมีการถ่ายทำเป็นฟิล์มอยู่ พร้อม ๆ กับการเข้ามาของ วิดีโอ VHS สำหรับบ้าน และระบบเบต้า สำหรับงานออกอากาศ) เพราะสัดส่วนภาพมันจะดูไม่ออก แต่ถ้าฟิล์มโฆษณาที่ถ่ายแบบสโคป จะเสียรายละเอียดด้านข้างอย่างมาก แต่ถ้าปรับแบบเครื่องฉายที่สวมเลนส์ในภาพก็จะยืด ดูแล้วไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (หมายถึงตอนออกอากาศทางทีวีนะครับ)

 

มาถึงช่วงปี พ.ศ. 2530 หรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย หนังไทยเรื่อง "กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน" ถือว่าเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ถ่ายในระบบ FLAT แบบนี้ น่าเสียดายที่ยังไม่มีโอกาสได้ดู แต่กลับไปปรากฏอีกที เป็นหนังไทยเรตอาร์ เรื่อง "เพื่อน" ครับ ที่เริ่มเห็นขอบดำ (กรุณาอย่าคิดลึก) ปรากฏบนจอหนังเป็นครั้งแรก ๆ ตอนนั้น จุ๊ยเจริญ ฯ เอามาฉาย ต้องเอาเลนส์สโคปตัวนอกออกครับ เลนส์ FLAT อาจจะมีเข้ามาแล้ว (หรือยัง ?) ถ้ามีราคาคงแพงมาก

 

จนเวลาผ่านไปหลายปี น่าจะช่วงปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาหนังไทยก็ค่อย ๆ เปลี่ยนระบบภาพมาเป็น FLAT เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นระบบสโคป ยังพอให้เห็นอยู่บ้าง (ล่าสุดก็เรื่อง โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต) ส่วนหนังฝรั่งกับหนังจีน เอาแน่นอนไม่ได้ครับ บางทีก็ FLAT บางทีก็สโคป

 

นอกจากนี้อุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการตัดต่อ ในการ Transfer ภาพจากฟิล์มลงสู่วิดีโอ เทป เบต้าแคม (เทเลซีน) เพื่อนำไปลำดับภาพผ่านคอมพิวเตอร์ หรือไปทำ CG ก่อน แล้วค่อย Transfer ลงฟิล์มเนกาตีฟ รวมทั้งเครื่องพิมพ์ฟิล์มที่สามารถปรับรูปแบบของภาพได้ทั้ง 2 ระบบ คือ FLAT และสโคป ก็สามารถทำได้ตามที่เจ้าของหนังต้องการครับ

 

อย่างว่าแหละครับ เดี๋ยวนี้คนที่ดูหนังกลางแปลงที่อาจจะเคยชินกับการดูหนังแบบสโคปมานาน พอมีหนังแบบ FLAT ออกมา ก็ต้องมีเสียงบ่นจากผู้ชม ซึ่งอาจจะไม่คุ้นเคย ยิ่งถ้าคืนไหนฉาย 2 เรื่อง 2 ระบบ คือ FLAT กับสโคป อย่างละเรื่อง โดยใช้เครื่องฉายเพียงเครื่องเดียว อาจจะเสียอารมณ์ก็ตอนเปลี่ยนเลนส์ แต่บางคราวก็ขี้เกียจเปลี่ยน คือฉายด้วยเลนส์ FLAT ตัวเดียว ทั้งหนัง FLAT กับ หนังสโคป ซึ่งเลนส์ FLAT กับฟิล์มระบบสโคป ภาพที่ออกมา ทั้งยืด ทั้งล้นครับ





ผมว่าเขาเอาไว้รองรับพวกทีวี lcd , plasma มากกว่าเพราะภาพที่ออกมาจะพอดีจอเลย คือ 16:9 หรือ 1.75:1 นั่นเอง ผมสังเกตุจากด้านหลังของแผ่น dvd เขาจะเขียนบอก อัดตราส่วนบอกไว้ด้วย หรือง่ายๆ ลองเอาฟิล์มไปส่องเทียบหน้าจอดูพอดีเลย และระบบทีวีในอนาคตจะเป็น 16:9 หมดสังเกตุจากตลาดขายทีวีดูเขาจะเน้นทีวี lcd , plasma เพราะอุปกรณ์ใหม่ๆจะเป็น 16:9 หมดที่ทำงานผมสั่งรถ hd มาแล้ว 1คันแต่สัญญาณ out put มีให้เลือกเป็นสองระบบ คือ 16:9 และ 4:3 และก็ทุกวันนี้สัญญาณที่มาจากต่างประเทศเวลาถ่ายทอดสดก็เป็น 16:9 แล้วเรามาแปลงเป็น 4:3 อีกทีครับ ( centercut ) ภาพด้านข้างบนล่างจะหายไป...





ตอนนี้สบายใจได้ หนังไทยเริ่มมีการถ่ายสโคปแล้ว เพราะมี บริษัท จอกว้างฟิล์ม ของค่าย จีทีเอช

เช่น สี่แพร่ง บอดี้ศพ#19  และ โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต




ตอนถ่าย ปัจจุบันไม่มีกองไหนใช้เลนส์ อนามอฟิคแล้วครับ หรือที่เรียกว่าซีเนมาสโคป  เพราะมันจะลดคุณภาพความคมชัดลง  จะใช้เลนส์ธรรมดา ไม่มีการบีบภาพในแนวนอน แต่จะอยู่กับการเลือกใช้ฟิล์มเกท(ประตูฟิล์ม) และกราวน์กลาส(จอวิวไฟเดอร์ในกล้อง ที่มีเส้นกรอบภาพ 4:3 หรือ 1.85:1 ไวด์ ประตูฟิล์มที่นิยมกันในหนังไทยจะเป็น 1.85:1 ส่วนหนังฝรั่งประตูฟิล์มจะเป็น 4:3 full frame แล้วติดกราวน์กลาส 1.85:1 ซึ้งบางครั้งจะถ่ายติดไมค์บูมมาด้วยในส่วนบนเหนือหัวผู้แสดง จะเห็นในก๊อปปี้ที่หนังกลางแปลงเอามาฉายเมื่อก่อน ซึ่งความคมชัดจะสูงมาก ถ้าเทียบกับหนังที่ต้องใช้เลนส์สโคป ถ้าเป็นก๊อปปี้ที่ส่งฉายโรง ทางแลปก็จะพิมพ์ฟิล์มเปนแบบ ไวด์บนฟิล์มเลย ซึ้งตอนฉายจะต้องใช้เลนส์ที่ความยาวโฟกัสสั้นลง เพื่อกรอบไวด์บนฟิล์มจะได้ใหญ่ขึ้นพอดีกับขนาดจอ ซึ่งการพิมพ์แบบนี้จะไม่ต้องใช้เลนส์สโคปในการฉาย ทำให้คุณภาพความคมชัดไม่ลดลง


แต่ที่หนัง GTH  มีฟิล์มที่ฉายด้วยเลนส์สโคปได้นั้น  ค่ายหนังเค้าเอาใจโรงหนังต่างจังหวัด และหนังกลางแปลงครับ  เพราะรู้ว่าชอบฉายแบบนี้  ถึงจะเสียความคมชัดลงไปบ้างแต่ก็เสียไปเกือบ 20 % นะ  ก็แค่สั่งแลปให้พิมพ์ก๊อปปี้ รีลีสแบบ โบลวอัพ ขยายจากไวด์ 1.85:1 ในฟิล์มต้นฉบับ ขึ้นมาเป็นแบบบีบภาพให้เต็มเฟรม 4:3 ตอนฉายจึงต้องเอาเลนส์ขยายสโคปมาขั้น ซึ่งมันจะลดทอนความคมชัดลงไปอีก แต่คนฉายดูเท่ 555555 กำ... ผมว่าเอาฟิล์ม 1.85:1  ไปฉายจะคมชัดกว่านะ  แค่เปลี่ยนเลนส์นิดหน่อย ตอนเด็กๆผมยังชอบดูหนังฝรั่ง หรือหนังฮ่องกงที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคปฉาย  เพราะภาพมันคมชัดกว่าเห็นๆ เรื่องแรกที่ไม่ต้องใช้เลนส์สโคป รู้สึกจะเป็นเรื่อง หย่าเพราะมีชู้นะ เท่าที่ดูจากกลางแปลงมา ( 1.85:1 หรือที่ในเวบนี้เรียกกันว่า ตัดซีน)




อยากรู้ว่าอันไหนกว้างกว่าครับ ระหว่าง 2.40 : 1 กับ 2.35:1

จะได้ดูดีวีดีให้ถูก




ถ้า หนังเรื่องใหน ถ่ายมาแบบสโคปแท้ๆ และแายด้วยเลนส์สโคปดีๆ ภาพชัดส่วยกว่า Flat แน่นอนอยู่แล้วครับ พื้นที่รับภาพใหญ่กว่าเห็นๆ


แต่กรณีฉายด้วยเลนส์สโคป อายุ 40 ปี ข้างในมีแต่ฟาร์มเห็ด+ขนม้า(ขนแมวเล็กไป)ละก็ -_______-"



สรุปแล้ว ผู้สร้าง มองหนังกลางแปลงเป็นลูกเมียน้อยใช่เปล่าครับ จึงให้ความสำคัญกับการที่จะนำไปฉายในโรง และผลิตเป็นดีวีดีออกขาย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็น่าเสียดายนะครับ




2.35 จอจะแคบกว่า 2.40 แล้วแต่ชอบครับ ปรกติสัดส่วนมาตรฐานของ Anamorphic คือ 2.35 ครับ ใครเคยต่อหนังที่เป็น scope print จะรู้ดีว่า รายต่อเฟรมมันเล็กมาก เวลาฉายมันจะเห็นรอยขูดที่ขอบบนและขอบล่างของเฟรม  เขาเลยตกลงกันให้บีบประตูฟิล์มลงนิดนึงเพื่อซ่อนรอยต่อพวกนี้ สำหรับหนังบางเรื่องที่ยังตัดต่อที่เนกาตีฟอยู่ครับผม   แต่หนังที่ตัดต่อเป็นดิจิทัลแล้ว ก็จะไม่มีรอย
  หนังที่ถ่ายด้วยระบบ Cinemascope เต็มระบบ ภาพจะชัดกว่า 1:85:1  เนื่องจากใช้พื้นที่เฟรมมากกว่าครับ
จะมีหนัง Cinemascope บางระบบที่มีให้เห็นน้อยแล้ว คือระบบ Technicscope ที่จะถ่ายเนกาตีฟใช้พื้นที่ครึ่งนึงของปรกติโดยไม่ใช่เลนส์บีบภาพ ( 1 เฟรมสูงเท่าแค่หนามเตยแต่ 2 รู) แล้วไปโบลว์ให้เต็มเฟรม 4 รูหนามเตยในแลป Titanic ฉากแรกที่เป็นภาพใต้น้ำใช้เทคนิกนี้ครับ
   การที่เลนส์สโคปไปขยายภาพในแนวนอนแล้วทำให้เกิดความผิดเพี้ยนนั้นจริงครับ แต่ความเพี้ยนที่เกิดในแนวนอนนั้นจับผิดด้วยตาทำได้ยากครับ เพราะสายตาเราจับผิดความผิดพลาดในแนวตั้งได้ง่ายกว่า
ส่วนการขยายภาพด้วยเลนส์ตัดซีนนั้นจะเห็นเกรนของภาพชัดกว่าสโคปครับ นอกจากนี้การฉายหนังในสัดส่วน 1.85:1 ยังทำให้หนังเต้น( jump and weave)ง่ายกว่าสโคปด้วยครับ
อย่างไรก็ตาม คุณภาพการฉายขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์  เหมือนท่านโหน่งว่านั่นล่ะครับ



เรื่องเลนส์นี่ผมว่าสำคัญมากครับโดยเฉพาะเลนส์ที่เรียกกันว่าเลนส์ใน ถ้า Focus แล้วไม่เห็นเกรนหรือมีอาการแสงแฟร์(อาการฟุ้งของแสงส่วนเกิน)รอบๆจอเป็นบริเวณกว้างก็แสดงว่าเลนส์หมดคุณภาพแล้วครับ สมาชิกที่เล่นกล้องน่าจะรู้เรื่องนี้ดี ดังนั้นเลนส์จึงมีหลายเกรดหลายราคาครับ

ถ้าได้เลนส์ดีแล้วภาพไม่นิ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นเวรกรรมของคนที่ชอบจับผิดภาพครับเพราะมันคงน่ารำคาญน่าดู หัวเครื่องฉายที่เหมาะกับการฉายหนังประเภทฟิล์ม 1.85:1 น่าจะเป็นหัวนอกหรือหัวที่มีหนามเตยอยู่ใต้ประตูครับประเภทจีนแดง, รัสเซีย, ซินเกียว,... รวมทั้งตระกูลหัวโรงทั้งหลาย หัวที่ไม่น่าเอามาฉายมากที่สุดน่าจะเป็น Yamakiwa, Tokiwa ทั้งของในและนอก โดยเฉพาะเมื่อฟิล์มโดนน้ำมันมาเนี่ยเต้นน่ารำคาญหัวใจซะจริงๆ อัดประตู้แล้วก็ยังเอวไม่ค่อยจะอยู่ แต่ถ้าเป็นฟิล์มใหม่ไม่มีน้ำมันอันนี้ส่วนใหญ่จะเดินได้ปกติครับ




หายากนะครับความรู้ในเชิงลึกแบบนี้ .....


ฟิล์มสโคปที่จอแคบคือฟิล์มแบบอะไรครับ

แบบหนังเรื่อง น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ




ฟิล์มสโคปที่จอแคบ ก็คือฟิล์มสโคปนั่นล่ะครับ  ต้นฉบับจะเป็นตัดซีน แต่โบลวเป็นสโคป โดยให้ขอบบนพอดีเฟรม ผลคือทำให้ขอบข้างไม่เต็มจอ
 จุดประสงค์คือเพื่อทำให้กลางแปลงเอาไปฉายได้ เพราะไม่ต้องใช้เลนส์ตัดซีนช่วยตอนฉายครับ เรื่องนางนาค ก็เป็นปริ๊นแบบนี้ครับ
ภาพจะไม่ค่อยชัด  แต่ข้อดีคือ ฉายควบหนังที่เป็นสโคปได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ครับผม



แต่ช่วงหลังๆก็เห็นหนังไทยทำระบบสโคบทั้งนั้นแล้วครับ หนังฝรั่งส่วนมากก็จะเป็นหนังสโคปกันทั้งนั้น


เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 24

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 117960847 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Jerekioxgew , พีเพิลนิวส์ , นุกูล , จาทีเอ , อั้น , เอก , นนท์ , แสบ chumphon , วัตร , เอ๋ ,