อ่านตรงนี้แล้ว นึกถึงสมัยก่อนเลยนะครับ
เมื่อหลายปีก่อน ช่องทีวีหลายช่อง มักจะมีหนังจีนออกมาฉายเยอะมาก ตัวอยางเช่น
ช่อง 7
คืนวันศุกร์ 4 ทุ่ม - เที่ยงคืน ภาพยนตร์วันศุกร์ (เมื่อก่อนเป็นหนังไทยครับ ชื่อรายการว่า "ภาพายนตร์ไทยที่รัก"
ส่วนมากจะเป็นหนังแอคชั่นมันส์ ๆ ทั้งนั้นเลยครับ เคยดูที่จำได้ เช่น 2 ใหญ่ทะลุใหญ่, ขบวนฆาตไม่นับญาติ
วันเสาร์ หลังละครจักร ๆ วงศ์ วงศ์ (จำได้เคยดู เรื่อง "ยอพระกลิ่น") 10 โมงถึงเที่ยง รู้สึกว่าจเป็นหนังไทย เคยดูจำพวกหนังไทยวัยรุ่น กระโปงบานขาสั้น และหนังของพันนา หลาย ๆ เรื่อง
วันอาทิตย์ หลังละครจักร ๆ วงศ์ วงศ์ 10 โมงถึงเที่ยง ยอดภายพนตร์ (ตอนนี้ยังมีให้ดูอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นหนังเกาหลี และซี่รี่ยส์เอเชียแทนเสียแล้ว หนังจีนไม่ค่อยจะมีแล้ว)
ช่อง 5
รายการซันเดย์มูฟวี่ 11 โมง ถึงบ่ายโมง (ฉายหนังจีนโดยเฉพาะ) เคยดูเรื่อง ใหญ่มาจากเซี่ยงไฮ้ ตำรวจหญิงโหดกว่าผี จับผีกัดต้องกัดผีตอบ ฯลฯ
ช่อง 9
รายการสตาร์เธียเตอร์ (ฉายเฉพาะหนังจีน) 11 โมง ถึงบ่ายโมง เคยดูเรื่อง 3ดีเดือด ยิ่งนิ่ม ยิ่งเชือด หลังกระแทกฝา ภาค 1 ภาค 2
ช่อง 3
รายการภาพยนตร์จีนเงินล้านน ตอนแรกออกเวลา 12.00 - บ่ายสองโมง ตอนหลังออกเวลา บ่ายโมง ถึงบ่ยสามโมง เคยดูเรื่อง ขบวนโหดมาโปรดสัตว์ 2 โหดองศาแตก เทวดาท้าสู้ ผีกัดพริกขี้หนู เชือด เชือดนิ่ม ๆ
แสดงว่าสมัยก่อน หนังจีนมีเข้ามาฉายในเมืองไทยเยอะเหลือเกินนะครับ สมัยนี้ เหมือนจะหาดูหนังจีนใหม่ ๆ ได้น้อยเต็มทีนะครับ และดาราเก่า ๆ ของหนังจีน ไม่ค่อยจะมีให้เห็นแล้วนะครับ
สมัยนี้มีแต่หนังเกาหลี และหนังญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาดแทน
ขอแก้ไขนิดนึง
รายการซันเดย์มูฟวี่ ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. นะครับ หลังจบการ์ตูน ที่จำได้แม่นยำก็คือ เอาอินโทรเพลง "พังเพย" ของคุณแจ้ ดนุพล มาเป็นไตเติ้ลก่อนเข้าเรื่อง ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำรายการแทน
ช่วงเย็น ๆ ของวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ทางช่อง 7 มีหนังจีนชอว์ บราเดอร์มาฉายด้วย (ช่วยนึกที)
ช่อง 7 นี่ พอวันไหนที่หนังจบก่อนเวลาที่กำหนด หรือวันไหนที่ถ่ายทอดมวยไทยช่อง 7 สี แล้วปรากฏว่า มีนักมวยถูกน็อคหลายคู่ เวลาที่เหลือก็จะเอาหนังการ์ตูนมาฆ่าเวลา ส่วนใหญ่จะเป็นชุด "นกหัวขวานเจ้าเล่ห์" (ของ UNIVERSAL) ถ้าเป็นช่อง 9 ก็จะเป็นการ์ตูน "บั๊ก บันนี่" ครับ
ระบบเครื่องเทปที่ทำงานผมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะเป็นระบบ BETA SP กับระบบ BETA SX sp เป็นระบบ analog ส่วน sx imx เป็น digital หลักๆเลยจะเป็น sp กับ sx ส่วน imx ที่เจอเป็นของบริษัท กันตนา รายการ เรื่องจริงผ่านจอ ส่วนเครื่องเทปใช้งานได้ทั้ง 3 ระบบคือ play ได้ในระบบ sp แต่ บันทึกไม่ได้ บันทึกได้แต่ระบบ sx กับ imx out put มีให้เลือกทั้ง sdi และ analog ส่วน u-matic เลิกใช้ไปกว่า 10 ปีแล้วสำหรับข้อมูลก็ถูก transfer ลง dvd หมดแล้ว ส่วนหนังที่นำมาออกอากาศก็เป็นเทป BETA จากผู้ผลิตหรือไม่ก็ dvd 9 แล้วมา transfer ลงเทป BETA ถ้าเป็นระบบ NTSC ก็ต้องมาแปลงให้เป็นระบบ PAL บางเรื่องก็ต้องมาพากย์เสียงใหม่เช่นหนังชุด เมื่อก่อนเป็นฟิล์มแต่ตอนนี้เครื่อง transfer เสียไม่มีอะไหล่ก็เลยยกเลิกไป
![]() | |
u-matic สมัยก่อนไปถ่าย MV กันก็ใช้แบบโลว์แบร์นตอนหลังก็เปลี่ยนมาใช้ไฮแบร์นแทน จนถึงทุกวันนี้อย่างที่คุณลพบอกว่ามันไปถึงระบบ imx กันแล้ว ว่าแต่ว่าทางช่อง 7 มีฟิลม์หนังทีวียุคเก่าๆมาโล๊ะขายบ้างไม๊ครับ (ผมหมายถึงฟิมล์หนัง 16 ม.ม.ที่เคยฉายในทีวีทั้งหนังการ์ตูนและหนังฝรั่ง) ผมคิดว่าทางช่องน่าจะพอมีหลงเหลืออยู่บ้างนะครับ ยังไงอย่าลืมแจ้งข่าวด้วยครับ
ส่วนที่คุณอนุกูลเคยบอกว่าหนังทีวีเก่าเรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย MISSION: IMPOSSIBLE / นักสืบหัวเห็ด ฉายเป็นฟิมล์แล้วยังมีเรื่องซุปเปอร์แมนและแบดแมน หนังม้าพูดได้ และยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์ ส่วนหนังไทยก็จะมีหุ่นไล่กา ขุนแผน ห้องหุ่น สนิมสังคม พิภพมัจจุราช และมีอีกหลายเรื่องมากครับเพราะตะก่อนฉายด้วยฟิมล์ซะเป็นส่วนใหญ่ก็เหมือนกับที่ผมเล่นหนัง 8 ม.ม.มาตั้งแต่ ป.1 จนมาถึงชั้น ม. 2 ถึงจะเริ่มมีเครื่องเล่นวีดีโอเข้ามาขายในบ้านเราและก็ทำให้หนัง 8 ม.ม.หมดยุคไปเลยครับ ทุกวันนี้ต้องไปเล่นดีวีดีหรือบูลเรย์ดิสค์กันแล้ว ข้อสำคัญการโหลดหนังมาดูที่บ้านกำลังมาแรงมากเดี๋ยวนี้รายการทีวีหรือละครและหนังก็เริ่มที่จะโหลดมาดูที่บ้านกันหมดแล้วครับ เทคโนโลยีในระยะ 30 กว่าปีนี้เปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจำได้ว่าตอนเด็กๆสมัยนั้นเรียนอยู่ชั้น ป.3 ที่ อสช.โคราช เป็นเด็กประจำอยู่ที่นั่นและคุณพ่อผมได้ซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบกระเป๋าให้ไปด้วยพร้อมแผ่นเสียงอีก 3 แผ่นเป็นแบบใส่ถ่านก้อนใหญ่ 4 ก้อนและใช้ไฟฟ้าได้ เอาไว้วันหลังจะไปค้นแล้วถ่ายรูปมาให้ดูครับสภาพยังใช้งานได้ดีครับเพราะผมเล่นมือเดียวตลอดทุกวันนี้เปลี่ยนมาเล่นเป็นเครื่องรุ่นใหญ่ๆแล้วครับ
มีอยู่วันนึงขณะที่กำลังเปิดแผ่นเสียงเพลงดาวลูกไก่ของพรภิรมย์ฟังอยู่นั้นผมได้พูดเล่นๆกับเพื่อนผมว่าถ้าในอนาคตข้างหน้าแผ่นเสียงที่เราฟังเพลงอยู่นี้สามารถมีภาพได้ในตัวก็น่าจะดีกว่านี้นะ (ช่วงนั้นเรียนชั้น ป.3ระบบวีดีโอแบบ VHS ยังไม่มีนอกจากฉายหนัง 8 ม.ม.ในบ้านเท่านั้น) แต่ถัดมาอีกประมาณ 20 ปี เลเซอร์ดิสค์เกิดขึ้นมีทั้งภาพและเสียง ใครจะไปคิดว่ามันจะมีได้ก็ตอนนั้นยังคุยเล่นๆกับเพื่อนเลยนี่หว่า 5555 ทุกวันนี้ยังพอมีแผ่นเลเซอร์ดิสค์เหลือประมาณ 200 แผ่นกับเครื่องเล่นอีก 3 เครื่อง (ตะก่อนสมัยฮิตๆเคยมีถึง 30 เครื่องกับแผ่นอีกร่วมๆ 700 - 800 แผ่นชอบเล่นมากเพราะแผ่นมันขนาดใหญ่เหมือนแผ่นเสียงเลยเพียงแต่ระบบไม่เหมือนกัน) หลายคนคงสงสัยว่าทำไมมีเครื่องเยอะจังต้องขอบอกว่ามันก็เหมือนกับคุณกำธรที่ชอบหนังก็เก็บเต็มบ้านเหมือนกันครับ 5555 งานนี้ต้องให้อนุกูลมาเล่าต่อเพราะขานั้นก็ชอบดูหนังเก่าๆเหมือนกับผมครับเพียงแต่จะเน้นเกี่ยวกับหนังไทยมากหน่อยครับ
ยังพอมีอยู่ครับพี่แอ๊ด ทั้งหนังไทย หนังการ์ตูน ทั้งภาพข่าวสมัยก่อนถ่ายด้วยฟิล์มระบบ 16 ม.ม. ตอนนี้กำลังหาทาง transfer ลง dvd อยู่จำนวยก็ประมาณตึกเกือบทั้งชั้นยกให้เขาเลย เรื่องจำหน่ายคงยากครับ ข้อมูลพวกนี้ไม่ได้เลยหวงมาก
ผมเข้ามาอ่านกระทู้นี้หลายวันแล้วครับ แต่ไม่ได้ตอบสักที วันนี้เลยไปหาข้อมูลฉบับย่อเกี่ยวกับเทคโนโลยีความบันเทิงภายในบ้าน ในยุคของวิดีโอเทประบบ VHS และแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ครับ (คัดลอกจากนิตยสาร "แฟนหนังไทย" ฉบับที่ 9 ปี พ.ศ. 2547 บางส่วน)
ในยุคที่วิดีโอ เทประบบ VHS เข้ามาใหม่ ๆ นั้น (ประมาณ พ.ศ. 2526) เครื่องเล่นและบันทึกเทปมีบอดี้ค่อนข้างใหญ่ และหนัก ราคาขายตอนนั้น ถ้าเป็นระบบธรรมดา (เสียงโมโน) ราคาเฉลี่ยโดยประมาณ เครื่องละ 17,000 บาท ถึง 25,000 บาท ถ้าเป็นระบบเสียงสเตอริโอ ราคาเฉลี่ยโดยประมาณ เครื่องละ 30,000 บาท ถึง 35,000 บาท ส่วนราคาสมาชิกของร้านวิดีโอในขณะนั้น 1,000 - 1,500 บาท (ราคานี้เป็นราคาเมื่อปี พ.ศ. 2527) โดยสมาชิกสามารถเช่าเทปได้ 3 - 5 ม้วน ครับ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสมัยก่อนค่าลิขสิทธิ์จะแพงมาก ส่วนราคาขายขาดของหนัง 1 เรื่อง ก็จะอยู่ที่ 350 - 400 บาท ส่วนเทปเปล่าราคาม้วนละ 150 - 250 บาท
ลืมบอกไปนิดนึง ระบบภาพทีวีที่บันทึกลงวิดีโอ เทปในบ้านเราจะเป็นระบบ PAL ขณะที่ยุโรปและบางประเทศจะเป็นระบบ MESECAM ส่วนระบบ NTSC จะใช้ในอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งอเมริกาจะเป็นแบบ 3.58 ส่วนญี่ปุ่นจะเป็น 4.43 ด้วยเหตุนี้ในช่วงราว ๆ ปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา จึงเริ่มมีเครื่องเล่นวิดีโอแบบมัลติซิสเต็ม รวมทั้งเครื่องรับโทรทัศน์แบบมัลติซิสเต็มเข้ามาวางจำหน่ายในบ้านเราครับ
ยุคต่อมาก็คือ แผ่นเลเซอร์ ดิสก์ ถูกเปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2524 โดยบริษัท ฟิลิปส์ หลังจากนั้นก็มีบริษัทไพโอเนียร์ผลิตตามออกมา โดยช่วงนั้นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดทุกเรื่องได้ถูกผลิตออกมาในรูปแบบนี้ แต่การเข้ามาของแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ในบ้านเรา ต้องยกให้เฮีย แอ๊ด หรือป๋า JTR ก็แล้วกันครับ
สำหรับราคาสมาชิกร้านให้เช่าแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ ราคาไม่ใช่ถูก ๆ ครับ ราคาสมาชิกจะอยู่ประมาณ 5 - 6 พันบาท นอกจากนี้จะต้องลงทุนติดตั้งชุดโฮม เธียเตอร์ อีกต่างหาก ระบบเสียงที่อยู่ในแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ในยุคแรก ๆ ก็คือ ดอลบี้ โปร-ลอจิค ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นระบบดอลบี้ ดิจิตอล ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า ดอลบี้ เอซี-3 ครับ
เนื่องจากแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ที่ให้เช่านั้นจะเป็นหนังฮอลลีวู้ด (ซึ่งตอนนั้นได้รับสิทธิ์จากบริษัทซีวีดี) จะไม่มีเสียงพากย์ไทยเช่นเดียวกับวิดีโอ ดังนั้นจึงมีเครื่องถอดคำบรรยายไทยออกมา โดยผู้ที่เช่าแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ ถ้าจะต้องการตลับคำบรรยายภาษาไทยก็ต้องเช่าต่างหาก (ถ้าจำไม่ผิด ราคาให้เช่าแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ แผ่นละ 100 หรือ 150 บาทนี่แหละ ส่วนตลับคำบรรยาย ตลับละ 30 - 40 บาท หนังใหม่เช่าได้ 3 วัน หนังเก่า เช่าได้ 5 วัน ถ้าเกินก็ถูกปรับ)
แผ่นเลเซอร์ ดิสก์ คือแผ่นที่มีขนาด 12 นิ้ว เท่ากับแผ่นเสียง แต่จะมีลักษณะสะท้อนแสงเหมือนแผ่นซีดี (แต่ต่างกันที่ขนาด) เลเซอร์ ดิสก์ 1 แผ่นสามารถบันทึกได้ 2 หน้า หน้าละ 1 ชั่วโมง (ต้องเป็นการบันทึกแบบ CLV นะครับ จำได้ว่าเคยมีแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ที่บันทึกลงแผ่นแบบ CAV แต่ขนาดแผ่นจะเล็กลงมาหน่อย แต่ไม่ค่อยนิยมครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นสาธิตมากกว่า) สำหรับหนังที่มีความยาวเกิน 2 ชั่วโมง ต้องทำเพิ่มอีก 1 แผ่น บางทีก็มีเบื้องหลังแถมมาอีกด้วย) เวลาเล่นก็เหมือนกับเครื่องเล่นซีดี / วีซีดี / ดีวีดี ในปัจจุบันนี้แหละครับ แต่ว่าพอหมดด้านหนึ่งแล้วก็ต้องกดปุ่มเลื่อนถาดออกมา จากนั้นก็หยิบแผ่นพลิกอีกด้านหนึ่งใส่ลงในถาดแล้วกดปุ่มเพื่อให้ถาดเลื่อนเข้าไป (ก็เหมือน ๆ กับแผ่นวีซีดีในตอนนี้เลย เพียงแต่แผ่นนี้จะมี 2 หรือ 3 - 4 แผ่น) และก็ยังมีเครื่องเล่นบางรุ่นที่สามารถเปลี่ยนด้านอัตโนมัติโดยไม่ต้องกดปุ่มแต่อย่างใด เพราะเครื่องมันจะทำงานของมันเอง เนื่องจากจะมีหัวอ่านเลเซอร์ที่ด้านบนอีกหนึ่งหัวครับ ที่สำคัญราคาของเครื่องรุ่นนี้จะแพงกว่าเครื่องเลเซอร์ที่เปลี่ยนด้านไม่ได้เพียง 4 - 5 พัน เท่านั้น
ช่วงนี้แหละครับที่ผมเริ่มสนใจเรื่อง โฮมเธียเตอร์ และเคยมีโอกาสได้สัมผัสเครื่องเลเซอร์ ดิสก์ไม่กี่ครั้ง ครั้งแรกก็คือตอนขึ้นไปหาน้าที่ขอนแก่นครั้งแรก ที่จำได้แม่นยำก็คือเป็นวันที่บุญพิทักษ์ จิตกระจ่างเสียชีวิต ที่สำคัญ บริเวณสนามก่อนถึงหมู่บ้าน มีหนังกลางแปลงมาฉายปิดวิกล้อมผ้า โดยมีโปรแกรมเรื่อง "รักแท้บทที่หนึ่ง" ที่เธอแสดงอีกต่างหาก ครั้งที่สองก็ตอนเรียนที่ราชภัฏนครสวรรค์ พอดีมีโอกาสได้ไปหาญาติที่นครสวรรค์ แล้วตอนนั้นญาติคนดังกล่าวไปซื้อเครื่องเล่นเลเซอร์ ดิสก์ ยี่ห้อ NEC จากญี่ปุ่นเข้ามา (เป็นแบบใช้ไฟทั่วโลกครับ) ที่สำคัญ ปุ่มกดทุกปุ่ม แม้แต่รีโมทก็เป็นภาษาญี่ปุ่นอีก เลยต้องนำรีโมทไปหาอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่นในราชภัฏ ตอนนั้น ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ (เธอชื่อ คูมิโกะ อิดะ KUMIKO IIDA ครับ ผมยังเก็บภาพถ่ายไว้อยู่เลย เธอน่ารักและเป็นกันเองอย่างมาก) จากนั้นค่อยไปอธิบายให้กับเจ้าของเครื่องอีกที
และด้วยความที่น้าผมเล่นเลเซอร์ ดิสก์ ถ้าเจอแผ่นที่ถูกใจก็จะอัดลงวิดีโอ เทป VHS ไว้ ซึ่งเครื่องบันทึกวิดีโอ เทปนั้น เป็นยี่ห้อ อาไก (AKAI) รุ่น VSX-590 แบบ 6 หัวเทป ไฮ-ไฟ สเตอริโอ มัลติซิสเต็ม ราคาร่วม ๆ 2 หมื่นเลยทีเดียว น่าเสียดายที่หัวเทปมีปัญหาเรื่องสีเพี้ยน แถมร้านที่เคยซื้อมา (เนื่องจากเป็นตัวแทนจำหน่ายในขอนแก่น) ก็ไม่ยอมส่งไปซ่อมที่ศูนย์ สุดท้ายก็เอาเก็บไว้ดูต่างหน้า ตอนนี้ผมเลยเอามาใช้เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงผ่านไมโครโฟนลงคอมพิวเตอร์เวลาอัดสปอตวิทยุครับ
จากการที่สังเกตวิดีโอ เทปที่อัดจากแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ ทำให้ได้ความรู้ใหม่ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือ สัญญาณภาพของแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ เป็นระบบ NTSC 3.58 ครับ และถ้าหนังเรื่องนั้นยาว 2 ชั่วโมง ต้องใช้เทปเปล่า VHS ความยาว 180 นาทีจึงจะอัดได้จนจบ (จริง ๆ แล้วสามารถอัดได้ถึง 129 นาที ในระบบ NTSC 3.58 บนเทปวิดีโอเปล่า E-180) แต่ถ้าเป็นเทป E-120 ที่อัดได้ 2 ชั่วโมง ถ้าอัดจากแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ จะอัดได้แค่ 80 นาทีเท่านั้น ตอนนั้นจะอัดหนังเรื่อง TOP GUN แล้วก็มีคอนเสิร์ตของมาดอนน่า 2 ม้วน อีกทั้งยังมีมิวสิควิดีโอ ของไมเคิล แจ็กสัน ในชุด DANGEROUS ด้วย แต่ตอนนี้ราขึ้นหมดเรียบร้อย
และจำได้ว่า เมื่อตอนที่มีวิดีโอ หนังฝรั่งเสียงซาวด์แทรคบรรยายไทยที่อัดจากแผ่นเลเซอร์ มาขาย แต่ทำไมความยาวหนังในวิดีโอยังอยู่ครบถ้วน มารู้ในภายหลังว่า เป็นการอัดโดยมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณระบบภาพทีวีเป็นตัวช่วย แต่ภาพไม่ค่อยคมชัดสักเท่าไหร่ ที่สำคัญเทปเปล่าที่อัดมาก็จะเป็นยี่ห้อคุณภาพต่ำ อย่าง SKG ของเกาหลีครับ
นอกจากหนังฮอลลีวู้ดที่นำมาผลิตเป็นแผ่นเลเซอร์แล้ว ส่วนหนังไทยมี 3 เรื่องเท่านั้นครับที่ได้มีการผลิตเป็นแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ นั่นคือ คู่กรรม (แกรมมี่ฟิล์ม), โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (อาร์เอส) และ กาเหว่าที่บางเพลง (กันตนา) ในราคาแผ่นละ 2,700 บาท นอกนั้นก็จะเป็นแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ คาราโอเกะ ของโรส วิดีโอ กับโปร มีเดียมาร์ท
ส่วนแผ่นวีซีดี ที่ทุกคนรู้จักกันดี ถือกำเนิดในบ้านเราเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยบริษัทแรกที่ผลิตออกมาก็คือ ไรท์ พิคเจอร์ส ซึ่งราคาขายตอนนั้นแผ่นละ 450 บาทครับ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตออกมาในรูปแบบแผ่นวีซีดีนั้น คือเรื่อง ดิจิตอลแมน (เป็นหนังไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่) ส่วนภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ผลิตเป็นวีซีดีก็คือ กาเหว่าที่บางเพลง
กระทั่งปี พ.ศ. 2541 เมื่อดีวีดีเริ่มเข้ามา บรรดาแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ที่เคยให้เช่า ก็นำมาขายในราคาถูก ตอนนั้นน้าที่อยู่ขอนแก่นไปซื้อแผ่นเลเซอร์ ดิสก์ เรื่อง SPEED, คนเหล็ก 2 และ พรีเดเตอร์ ภาคแรก ที่ทางร้านอำมาตย์ ฯ นำมาขายในราคาถูกแถมตลับบรรยายไทยให้ฟรี น่าเสียดายที่ตอนย้ายมาอยู่ที่หนองบัวไม่สามารถนำมาได้ครับ ตอนนี้เลยต้องไว้อย่างนั้นหรือป่านนี้หายไปแล้วก็ไม่ทราบได้
ภาพประกอบนี้ไม่ใช่ของญาติที่อ้างถึงนะครับ ไปเอามาจากอีเบย์
![]() | ![]() |
เห็นครูนุเอากระทู้นี้ขึ้นมาโพสอีกผมก็เลยอยากนำรูปของเลเซอร์ดิสค์มาให้ดูกันครับ
หนังไทย 2 เรื่องที่ครูนุโพสเอาไว้ครับ ส่วนหนังไทยอีกเรื่องผมขายไปนานแล้วครับ
เครื่องแปลภาษาไทยครับ (ใช้กับเลเซอร์ดิสค์เท่านั้น)
และรูปภาพแผ่นหนังเลเซอร์ดิสค์เรื่องกรีส ภาค 1 ครับ
เอ แล้ววเจ้าเลเซอร์ดิสก์นี้ เข้ามาในไทยให้ความบันเทิงกันนี้ นานไหมครับ เหมือนผมเองจะยังไม่รู้จักเลยครับ
ผมเคยซื้อวีซีดี ตอนออกมาใหม่ ๆ ที่แพงที่สุด คือ 500 บาท ของไร้ท์พิคเจอร์นั่นแหละครับ เรื่องเร็วฟ้าผ่า หนังของเฉินหลง ที่เชียงใหม่ ซ้อที่ร้านทิพย์เนตร อินเตอร์ไพร้ส์ ราคา 500 บาทจริง ๆ ตอนนี้แผ่นเน่าไปแล้วครับ
และวีซีดี เรื่องเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เดอะมูฟวี่ (หลิวเต๋อหัว) ตอนนั้นขายในราคา สามร้อยกว่าบาท เกือบสี่ร้อยบาทน่ะครับ ตอนซื้อก็ตื่นเต้นกับแผ่นวีซีดีมากครับ (หนังเก็บในแผ่นได้ยังไงฟะน่ะ เคยเห็นแต่เป็นม้วน ๆ วีดีโอ)
แต่แผ่นวีซีดีที่ออกมาตอนแรก ๆ นั้น รู้สึกว่าแผ่นจะทนมาก ๆ เลยนะครับ (ถ้าไม่หายไปเสียก่อน) รักษาดี ๆ เก็บไว้ดูได้นานมากนะครับ ไม่เหมือนกับสมัยนี้ เพียงแค่เก็บไว้ไม่เปิดดูก็เสียเอง โดยไม่ปรึกษาใครเลย