เมื่อเช้าดูรายการคันปากทางช่อง 7 เลยเก็บมาเล่าให้ฟังครับ
ข่าว"ทรนง ศรีเชื้อ" คิดสั้นฆ่าตัวตาย เหตุ 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร
ความเครียดที่ภาพยนตร์เรื่องล่าสุด "2022 สึนามิ วันโลกสังหาร" ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร ทั้งที่ทุ่มทุนสร้างร่วม 160 ล้านบาท แถมยังใช้ระยะเวลาในการถ่ายทำหลายปี แต่กลับไม่เปรี้ยงปร้างอย่างที่ตั้งใจ ทรนง ศรีเชื้อจึง คิดสั้นฆ่าตัวตาย เลขาได้เข้าไปเคาะประตูเห็นกำลังถือปืนอยู่จึงได้เรียกให้คนมาช่วยกันห้าม ก่อนจะพาตัวส่งโรงพยาบาลรามคำแหง เพื่อระงับสติอารมณ์
เห็นข่าวนี้แล้วรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าใหร่ เราคนไทยก็ควรช่วยอุดหนุนหนังไทยนะครับ อย่างน้อยเราก็จะได้ดูหนังไทยที่ลงทุนสร้างด้วยเทนนิคใหม่ๆอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้
รายละเอียดข่าวมีอีกเยอะนะครับ แต่ผมจำได้คร่าวๆเท่านี้ ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้ดูไม่ค่อยสมจริงเท่าไหร่
ผมดูตัวอย่างก็รู้ครับว่า Computer Graphic มันไม่เนียนเหมือนหนังต่างประเทศครับ
ผมซื้อแผ่นดีวีดีเรื่อง เดอะเดย์ อาฟเตอร์ ทูมอร์โรว์ วิกฤตวันสิ้นโลก หลังเหตุการณ์สึนามิแค่2วัน
และเปรียบเทียบได้เลยว่า หนังไทยควรทำได้ดีกว่านี้ และต้องหา software ที่เหมาะสม
ผมเชื่อว่า CG ฝีมือคนไทยนั้นไม่ด้อยกว่าของฮอลลีวู้ดครับ
แต่ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับ CG ในหนังไทยที่เป็นอยู่ในตอนนี้ก็คือ เงินทุน ครับ
เทคนิคภาพพิเศษ CG นั้น มีตั้งแต่แบบไม่สลับซับซ้อน ค่าใช้จ่ายก็จะถูกลงมาหน่อย (แต่จำนวนเงินก็ถือว่ามากพอสมควร) แต่ถ้าต้องการความสลับซับซ้อน เพื่อให้ภาพออกมาเหมือนจริง และเนียนเหมือนหนังฮอลลีวู้ด ค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้น (ค่าใช้จ่ายระดับนี้ สามารถสร้างหนังไทยฟอร์มยักษ์ ประมาณ "พระนเรศวร" ได้ถึง 3 - 4 เรื่อง)
ผมเคยอ่านในหนังสือฟลิกส์ ซึ่งเป็นบทความเขียนโดย สนจ. (ผู้กำกับ ขังแปด และซุ้มมือปืน) ได้เขียนไว้ว่า นายทุน (ผู้อำนวยการสร้าง) นี่แหละ ต้องการให้ CG ในภาพยนตร์มีความเนียนและสมจริง ตามที่ตนเอง รวมทั้งผู้กำกับต้องการ แต่...ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถูกจำกัด และต้องไม่แพงเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ อยากได้ของดี แต่ลงทุนน้อย (เรียกว่าตั้งแต่พรี-โปรดักชั่น ไปจนถึงโพสต์ โปรดักชั่น และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก) แต่ก็มีผู้กำกับบางคนที่ยอมทุ่มทุนในเรื่องนี้ แต่ผลที่ออกมาก็อาจจะไม่ถูกใจผู้ชมบ้าง
กลับมาที่ผู้กำกับก็คือ คุณทรนง ศรีเชื้อ ซึ่งยอมลงทุนซื้อที่ดินที่เพชรบุรีสร้างสตูดิโอเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ของตนเอง หรือให้เช่าเฉพาะกองถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ ซึ่งคาดหวังไว้สูงว่าน่าจะได้ทุนคืน แต่การรีเทิร์นในครั้งนี้อาจจะไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ
จำได้ว่า เคยมีหนังสือเกี่ยวกับประวัติของผู้กำกับคนนี้ และเมื่อตอนเรียนที่สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ ผมมีโอกาสได้อ่านที่ห้องสมุดเมื่อครั้งโน้น (ไม่รู้ว่าทุกวันนี้หนังสือเล่มนั้นจะยังอยู่หรือเปล่า เพราะไม่ได้เข้าไปนานแล้วครับ) มีหลายประเด็นที่ยังจดจำในสมองผม ซึ่งเป็นเบื้องหลังการถ่ายทำมากกว่า เช่น
นักแสดงเกือบตายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้กำกับ (น่าจะเป็นเรื่อง "สัตว์สงคราม")
ฉากพัง และช้างน้ำตาไหล (ภาพยนตร์เรื่อง มหาราชดำ)
ฉากเผายางที่อยู่ในภาพยนตร์ (ภาพยนตร์เรื่อง กัมพูชา)
เรื่องฮา ๆ ของ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก (เขียนไว้หลังจากที่จุ๋มจิ๋ม เสียชีวิตได้ไม่นาน ตอนนั้นแสดงภาพยนตร์เรื่อง ถล่มค่ายนรกจางซีฟู ที่ตอนแรกนายทุนไม่เห็นด้วย)
ผมว่าหนังเรื่องนี้ ตอนแรกคนตั้งใจจะดูเยอะ แต่พอชนคนเหล็ก4 ก็ต้องยอมรับสภาพ ที่สำคัญ วิธีการโปรโมทตามสื่อของคุณทรนง ศรีเชื้อ (ที่ผมติดตามผลงานมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก) ค่อนข้างที่จะหวือหวาไปหน่อย เพื่อหวังให้เป็นท็อลคอ๊อฟเดอะทาวน์ ซึ่งก็ได้ผลในแง่การประชาสัมพันธ์ แต่กลับล้มเหลวในเรื่องรายได้
เพราะบางครั้ง แต่สร้างข่าวจนเวอร์ ก็ทำให้คนรับไม่ได้ เช่นให้คนอดข้าวประท้วง โรงถ่ายถูกเผา กระทั่งล่าสุดบอกว่าเครียด ที่หนังไม่ทำเงิน ทั้งที่เขาตั้งใจทำ และขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย โดยบอกว่าเป็นความผิดของคนไทยกว่า 60 ล้าน ที่ไม่ยอมไปดูหนังเรื่องนี้ ทั้งที่เขาตั้งใจทำให้ดูอย่างสุดฝีมือ และที่สำคัญทำให้เขาไม่สามารถหาเงินไปถวายมูลนิธิคุณพุ่มที่เขาตั้งใจไว้แต่แรกไม่ได้ ซึ่งทำให้ถูกมองว่า เกินเลย ล้ำเส้นไปหน่อย
ที่ท่าน เสี่ยวเอ้อ ว่ามาก็มีเหตุผลครับ แต่ก็ให้กำลังใจผู้กำกับ อย่าเพิ่งท้อ แล้วกลับมาทำหนังที่ดีๆให้เราได้ดู แต่ไม่ต้องถึงขนาดทำหนังทุนสร้างร้อยล้าน พันล้าน หรอกครับ อย่างหนังเรื่อง กัมพูชา ที่ผู้กำกับท่านนี้เคยทำไว้ผมว่าก็น่าดูไม่น้อย หรือ กลกลามแห่งความรัก ที่เคยโด่งดังในอดีต ก็ไม่เห็นต้องใช้ CG ให้เปลืองตังค์.....
(ความเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะผมไม่พิศมัยกับหนังส่วนใหญ่ที่ใช้ CG สักเท่าไหร่ครับ)
แหยมยโสธรไม่มี CG แฟนฉันมีแค่ 0000000.000001 % ( ฉากต้นคูนเปลี่ยนฤดูกาล ) จดหมายรัก ก็แค่หนังรักธรรมดา ชัตเตอร์ก็แค่หนังผี แต่ทำไมหนังพวกนี้ถึงยังอยู่ในความทรงจำ ( แค่บทก็กินขาดแล้วครับ ) ผมเคยอ่านในหนังสือเ่ล่มหนึ่ง ท่านกล่าวว่า บางคนนำบทหนังไปเสนอเป็นเล่มใหญ่กว่า 100 หน้ากับบริษัททำหนัง สามารถสร้างหนังได้ทันที แต่พอสร้างเสร็จ ทำงินได้ แค่ล้านกว่าๆ ค่าจ่ายตากล้องยังไม่ได้คืนเลย แต่บางคน เขียนไปแค่ ครึ่งหน้ากระดาษ A4 พอสร้างเสร็จ ยอดทะลุ 100 ล้าน ( มันอยู่ที่ไอเดียครับท่าน ) ไม่ใช่จะใช้แต่เงินเท่านั้นสร้างหนัง ต้องมีความคิดด้วย
ผมว่า คุณทรทง แต่มีความคิดที่แปลก คนอื่นพัฒนาขึ้น แต่แกเหมือนจะยิ่งถอยหลัง
ยุคแรก หนังสงครามที่สร้าง หนังดีๆ คนทรนงรับรางวัลมาไม่ถ้วนครับ กัมพูชา สุดยอดของหนังครับ
เรื่องอื่นๆ ก็น่าสนใจ เช่น
พ.ศ. 2523 - สัตว์สงคราม (รางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)
พ.ศ. 2524 - มหาราชดำ (รางวัลตุ๊กตาทองกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากสำนักนายกรัฐมนตรี)
พ.ศ. 2525 - ถล่มค่ายนรกจางซีฟู (รางวัลตุ๊กตาทองกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานภาพยนตร์อาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์)
พ.ศ. 2528 - กัมพูชา (รางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากมหกรรมเอเชียแปซิฟิกที่ญี่ปุ่น และรางวัลตุ๊กตาทองเพลงประกอบยอดเยี่ยม)
พ.ศ. 2531 - อุบัติโหด (รางวัลตุ๊กตาทองบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม)
ต่อมายุคที่ 2 เป็นหนังที่สร้าง เพื่อปั้น ดาริน กรสกุล โดยตรง ออกเรทอาร์ หวือหวานิด ครับ
เช่นกลกามแห่งความรัก สวรรค์ชั้น 7 มาม่าซัง ก็ได้แค่หวือหวาเหมือนที่สร้างคับ
ล่าสุดเข้าสู่ยุคที่ 3 ก็มาเสียฟอร์มในเรื่อง สันามิ ที่ละครับ หลังจากหายไปถึง 5 ปี จากเรื่องอมนุษย์ ผลงานปี 47
แต่ละท่านเขียนกันยาวจัง....อ่านเมื่อยตาเลย
สงสัยไม่สงสารคนอ่าน...ฮิ