เข้ามาช่วยขยายความกระจ่าง ระหว่างฟิล์ม 35 มม. แบบตัดซีนดังนี้ เพราะจำได้ว่าเคยมีรายละเอียดย่อยเกี่ยวกับรูปแบบที่เรียกว่า Hard Matted หรืออะไรสักอย่างนี่แหละ
โปรดดูรูปฟิล์มตัวอย่างประกอบ (ที่น่าสังเกตบนฟิล์มตัวอย่างเรื่อง เมล์นรก หมวยยกล้อ เห็นไมค์บูมโผล่มาด้วย สงสัยจะบันทึกเสียงผายลมด้วยมั้ง)
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้มีฟิล์มตัวอย่างซึ่งตัวหนังจริงเป็นแบบสโคป แต่พอไปปรับเป็นตัดซีนภาพเลยออกมาเหมือนตัวอย่างหนังเรื่อง สบายดีหลวงพะบาง ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ
![]() | |
ลองสังเกตุดู ฟิล์มตัดซีน จะมีขนาดของเฟรมภาพแตกต่างกัน ลองดูรูปตาหม่ำ น่าจะเรื่อง "เฉิ่ม" ใช่หรือเปล่าครับครู ซึ่งเฟรมจะเต็มพอดี รองลงมาก็ หมวยยกล้อ แทบดำจะหนาออกมาหน่อย ส่วนภาพฟิล์มตัดซีนสองภาพล่าง แทบดำก็จะหนามาก (รูปน้องพีค) สัดส่วนของเฟรมจะออกเป็น wind screen ซึ่งตัวอย่างหนังฝรั่งมักจะใช้สัดส่วนนี้เป็นส่วนใหญ่ ก็ยังรู้สึกงงอยู่เหมือนกันว่า ทำไมสัดส่วนของเฟรมมันถึงแตกต่างกัน ของแต่ละค่าย ถ้าฉายหนังตัวอย่าง 4 เรื่องนี้ต่อกัน อย่างนี้เวลาฉายน่าจะต้องใช้ประตูชักสถานเดียว ใช่หรือเปล่า ไม่แน่ใจ อันนี้ต้องให้เทพทั้งหลายมาชี้แจงเกี่ยวกับเทคนิคการฉายตัดซีน....
ส่วนฟิล์มสโคป ไม่ต้องสับสนอะไรมาก เพราะขนาดของเฟรมจะเท่ากัน (สี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสีดำขั้นระหว่างเฟรมเท่ากันหมด) .....
เท่าที่เคยสังเกตเมื่องาน MEETING THAICINE เมื่อวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา (คืนที่ท่าน POPEYE โทรไปปลุกผมตอนอยู่บนรถไฟไง)
ผมไม่แน่ใจว่า หนังตัดซีน ในอัตราส่วน 1.85 แบบตัวอย่างเรื่อง เฉิ่ม หรือ เมล์นรก ฯ นั้น เคยได้ยินมาว่า ตอนพิมพ์ฟิล์มที่เป็นตัวหนังเรื่อง บางช่วงบางตอนจึงมีทั้ง HARD MATTED บางตอนปล่อยโล่งจนเห็นไมค์บูมโผล่ ที่หนักกว่านั้นก็คือ เห็นรางดอลลี่ เช่นหนังเรื่อง นานาช่า ซึ่งมีกรณีนี้ให้เห็น ถ้าฉายด้วยเลนส์ในธรรมดา แต่ถ้าเป็นประตู / เลนส์ตัดซีน ซึ่งจะบังสิ่งเหล่านี้ไว้หมด ยังไงก็ไม่เห็นครับ
ทีนี้มันจะมีอีกประเภทหนึ่ง เหมือนภาพฟิล์มเรื่อง สบายดีหลวงพะบาง ซึ่งตัวหนังเรื่องเป็นสโคป แต่ตัวฟิล์มตัวอย่างเป็นตัดซีน แถมขอบก็หนาขึ้นด้วย เวลาฉายด้วยเลนส์ตัดซีน อาจเห็นขอบดำโผล่บนจอทั้งบนและล่างเพียงเล็กน้อย อีกอย่างหนึ่งตัวอย่างหนังที่เป็นหนังฮอลลีวู้ดที่เป็นหนังตึก เช่น STAR TREK,
เคยเห็นในเว็บอีเบย์ ก็มีฟิล์มตัวอย่างหนังตึกเหล่านี้ขายด้วย เท่าที่ดู ส่วนใหญ่เป็นระบบสโคปตามต้นฉบับครับ แต่เห็นราคา (ทั้งประมูลหรือขายขาดยกล็อต) รวมทั้งภาษีนำเข้าแล้ว ไม่คุ้มครับ ราคาระดับนี้ซื้อตัวอย่างหนังได้หลายเรื่องเลย
นอกจากนี้ก็ยังมีหนังตัดซีน ในอัตราส่วน 1.85 ซึ่งตอนตัดตัวอย่างออกมาฉายใช้แบบตัดซีน ตัวหนังเรื่องไปขยายสัดส่วนภาพจนเป็นระบบสโคป และพอตอนจะออกแผ่นก็กลับไปใช้อัตราส่วน 1.85 เหมือนเดิม เช่น ม. 3 ปี 4
(ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ รอคนช่วยชี้แนะอีกที)
พอดีมีตารางอัตราอากรตาม พรก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ก็เลยขอสรุปแบบย่อ ๆ ละกัน
* กรณีเป็นฟิล์มบันทึกเหตุการณ์ (ประเภทหนังบ้าน ถ่ายกันเองในครอบครัวหรือญาติมิตร หรือเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์สารคดีซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรผลิตขึ้นมา) และภาพยนตร์สารคดี ไม่ต้องเสียอากร
* ภาพยนตร์เรื่อง หรือหนังตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดสั้น ขนาดยาว ทั้งฟิล์มขนาดเล็ก และฟิล์ม
ที่กล่าวนี้ ยังไม่เคยสั่งซื้อครับ อันนี้ว่าตามระเบียบเท่านั้น เพราะจากการคำนวณราคาแล้ว เป็นจำนวนเงินสูงทีเดียว ก็เลยไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่ นอกจากว่าจะมีสมาชิกที่เคยสั่งซื้อฟิล์มจากอีเบย์อยู่ก่อนแล้ว และมีความยินดีที่จะรับสั่งซื้อ อันนั้นก็ว่าไปอย่าง เพราะถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายให้เค้า + ทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่แล้ว
แต่ที่น่ากลัวก็คือ ช่วงผ่านด่านศุลกากรบ้านเรานี่แหละ ถ้าโชคดีก็รอดตัวไป ถ้าโชคร้ายฟิล์มถูกยึดปลายทาง งานนี้อดดูแถมสูญเงินฟรี ๆ ด้วย
ไม่ต้องพูดถึง ระบบราชการไทย.........
ขอบคุณท่านอาจารย์นุ และท่านประธานด้วยครับ ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับข้อมูลดังกล่าว
สาเหตุที่แลปพิมพ์ตัวอย่างหรือหนังทั้งเรื่องมาแบบไม่สควีซบีบภาพ ที่ต้องฉายด้วยเลนสโคป
เพราะจะได้ความคมชัดที่เหมือนเดิม ไม่เสียไปกับเลนส์ฉายสโคป แต่ที่แลปพิมพ์มาโดยใส่ประตู 1.85:1 บ้าง ไม่ใส่บ้าง
ก็แล้วแต่สไตล์ของเจ้าหน้าที่แลปแต่ละคน หรือขึ้นอยู่กับความต้องการของโฟสโปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนั้นๆครับ
ที่เห็นมีไมค์บูมโผ่ลมาในส่วนบนของเฟรม ก็เพราะตอนถ่าย เค้าใส่ประตูแบบ Full Gate ครับ
คือเต็มเฟรม 4:3 แต่ กราวน์กลาสของช่องมองภาพในกล้อง เค้าจะใช้แบบมีกรอบเฟรม Wide Screen 1.85:1
ให้ตากล้อง และผู้กำกับดูเฟรมครับ ซึ่งไมค์บูม จะไม่เลยเข้ามาในกรอบนี้แน่นอน
ซึ่งตัวหนังจริงทางแลปก็จะพิมพ์ฟิล์มฉายให้พอดีกรอบที่ตากล้องเห็นครับ
ยกเว้นผู้สร้างบางค่ายงบน้อย จะพิมพ์แบบเดิมๆจากกล้องเลย จึงเห็นว่าจะติดไมค์บูมเข้ามาด้วย
การพิมพ์แบบใช้ประตู กับประหยัดไม่ใช้ประตู เวลาฉายจึงไม่ต้องใช้เลนสโคปครับ
แต่ต้องเปลี่ยนเลนส์ให้เป็นเลนส์ที่ทางยาวโฟกัสสั้นลง ภาพที่ฉายไปจะได้ใหญ่ขึ้นเต็มจอ
แต่ส่วนบนล่างจะล้นจอไป ก็อยู่ที่คนฉายว่าจะเอาประตูฟิล์ม ไวด์ มาใส่บังมั้ย
แต่บางค่ายก็พิมพ์มาแบบโบลอัพสควีซเลย เวลาฉายก็ต้องใช้เลนส์สโคปไงครับ
ข้างล่างนี้เป็นฟุตเตจเดิมๆจากกล้อง ที่ถ่ายมาแบบ FULL GATE เต็มประตู จากเรื่อง ผีชีวะ 2 จะเห็นว่าติดไมค์บูมมาด้วย จะเห็นว่าบางช๊อท คนตัดต่อจะครอปเลื่อนบนล่าง และหมุ่นเฟรมในบางช็อท ซึ่งเป็นประโยชน์ของการถ่ายมาแบบเต็มประตู มันจะสะดวกต่อการแก้ไของค์ประกอบภาพที่ไม่สวยในบางช๊อท ส่วนตัวหนังจริงนั้น จะถูกครอปตัดบนล่างทิ้งไปในแลป เป็นสัดส่วน 2.21:1
http://www.youtube.com/watch?v=BVniGdjMQmc