Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ตำนานนักพากย์ผู้ยิ่งใหญ่เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ขออนุญาติโพสต์ นักพากย์รุ่นเก่ามากค่ะ16763.. 17/5/2557 2:27
-สิทธิโชคอินเตอร์ จูเนียร์ ร่วมกับ รายการ เนชั่นมิดไนท์ โชว์ถ่ายทำหนังกลางแปลงพากย์สดของเด็กชายซ้ง&คนกระดังงา31616.. 24/4/2557 0:44
-งานไหว้ครูบูชาพ่อ "ทิดเขียว"15872.. 21/3/2557 16:11
-กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์69404.. 19/12/2556 8:59
-เมื่อต้องไปกินข้าวกับนักพากย์หนัง1175020.. 11/12/2556 18:09
-มาแล้วครับ...คลิปออกอากาศของ.....ทีมงานแม่นางกวักอินเตอร์ และ...นักพากย์เด็กชายซ้ง&คนกระดังงา พากย์..โชว์กระบี่มือหนึ่ง31201.. 4/12/2556 13:05
-แม่นางกวักอินเตอร์ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับรายการกระบี่มือหนึ่ง และช่อง7สี เสนอ ตัวอย่างรายการกระบี่มือหนึ่ง จะออกอากาศวันที่ 2 ธันวาคม 2556 เวลา 24.00 น.27253.. 2/12/2556 21:55
-กำเนิดเจ้าแม่กวนอิม (เสียงเอก)30170ยังไม่มีคนตอบ
-เด็กชายซ้ง&คนกระดังงา*******หนังกลางแปลงพากษ์สด แรมโบ้4+3โหด36794.. 21/10/2556 6:08
-ป้านิด นักพากย์โนบิตะ26401.. 8/10/2556 21:29
-ปลายทาง"พันธมิตร" ทีม"พากย์หนัง"ระดับตำนาน39104.. 26/9/2556 23:34
- มาแล้วบรรยากาศ เด็กชายซ้ง&คนกระดังงา โชว์ พากย์ถ่ายทำกระบี่มือหนึ่ง29096.. 24/9/2556 21:19
-รายการกระบี่มือหนึ่งติดต่อแม่นางกวักอินเตอร์พร้อมโชว์พากย์สดแบบจัดเต็มพร้อมกับเด็กชายซ้ง&คนกระดังงา30455.. 20/9/2556 22:58
-นักพากย์แถวอีสานใต้70233.. 20/9/2556 20:50
-พงษ์พิทักษ์ นักพากย์ชื่อดังสายอีสาน เสียชีวิตแล้ว983722.. 20/9/2556 19:53
-หนังกลางแปลงพากษ์สด โดย ด.ช.ซ้ง&คนกระดังงา ฮาไปกับ กั๋งสุดขีด37615.. 20/9/2556 19:39
เลือกหน้า
[<<] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 265

(ID:1616) กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์


 

บทความข้างล่างนี้ ได้มาจาก :

"สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย" (Film Versionist Association)

----------------------------------------------------------------------------------------

 

ยุคของภาพยนตร์ (โดยใช้ "เทคโนโลยี" เป็นตัวแบ่งยุค)

1. ยุคภาพยนตร์เงียบ - สื่อความหมายด้วยภาษาท่าทาง

2. ยุคภาพยนตร์เสียง

3. ยุคกำเนิดโทรทัศน์

4. ยุคบันทึกเสียง

5. ยุคบันทึกเสียงโดยการคัดเลือกเสียง (Voicing Casting)

 

การถือกำเนิดของ "การพากย์ภาพยนตร์" ทำให้การสร้างภาพยนตร์ไทย แตกแขนงออกเป็น 2 สาขา คือ :-

1. ภาพยนตร์เงียบ

2. ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film)

 

แรกเริ่มที่มีการนำ "ภาพยนตร์จากต่างประเทศ (หนังฝรั่ง)" เข้ามาฉายในประเทศไทยนั้น

เป็นการฉาย "ภาพยนตร์เงียบ"  ยังไม่มีการพากย์ใด ๆ  โรงภาพยนตร์จะใช้วิธีพิมพ์ใบปลิวแจก

เพื่อแจ้งโปรแกรมภาพยนตร์  และเล่าเรื่องย่อ ๆ เป็นภาษาอังกฤษ  ไทย  และจีน 

แต่เน้นที่ภาษาไทยและจีน  เพราะภาพยนตร์เงียบที่ฉาย ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ฝรั่ง

โดยจะมีข้อความบรรยายเรื่อง หรือบทเจรจาของตัวแสดงเป็นภาษาฝรั่ง

ผู้ชมภาพยนตร์จะต้องอ่านเอง  แต่ผู้ชมชาวสยามส่วนมากจะไม่สามารถอ่านภาษาฝรั่งได้

แฟนภาพยนตร์ชาวสยามจึงต้องอ่านใบปลิว เพื่อเป็นคู่มือในการชมภาพยนตร์เงียบ

 

ต่อมา มีการตีพิมพ์เรื่องย่อของภาพยนตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์ 

และหลังจากนั้นก็มีการตีพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ ออกจำหน่ายด้วย

 

ในปี พ.ศ. 2471  นายต่วน ยาวะประภาษ เจ้าหน้าที่ของบริษัทภาพยนตร์พัฒนากร

ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่บรรยายอยู่ข้างจอภาพยนตร์ ในขณะที่ภาพยนตร์กำลังฉาย

วิธีการพากย์ภาพยนตร์ในลักษณะนี้ 

นายต่วนได้นำแบบอย่างมาจากธรรมเนียมการฉายภาพยนตร์เงียบในประเทศญี่ปุ่น

 

วิธีการพากย์ภาพยนตร์ของนายต่วน  คือเตรียมบทพากย์เอาไว้ก่อนที่ภาพยนตร์จะฉาย

เมื่อถึงเวลาฉาย นายต่วนจะนุ่งผ้าม่วง  สวมเสื้อราชปะแตนลงมานั่งอยู่บนเวทีหน้าจอภาพยนตร์

พร้อมด้วยไฟส่องบทดวงหนึ่ง  โทรโข่งอีกตัว

เมื่อภาพยนตร์เดินเรื่อง  นายต่วนก็จะอ่านบทพูดและบทบรรยาย ที่เตรียมไว้ตามไปด้วย

โดยพยายามให้เข้ากับภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์

เมื่อถึงฉากที่ต้องมีเสียงประกอบ *** (ดูฟุตโน้ตข้างล่าง)  ก็จะทำเสียงประกอบตามไปด้วย

 

แม้การพากย์ภาพยนตร์ครั้งแรกนี้ จะไม่เป็นไปตามที่ต้องการ  เพราะเป็นมือใหม่

แต่ก็มีผลทำให้ผู้คนแตกตื่นมาดูภาพยนตร์ที่มีการพากย์มากขึ้น 

นายต่วนจึงหาลูกมือมาช่วยพากย์   นายต่วนพากย์ภาพยนตร์อยู่ได้ไม่กี่วัน 

ก็ได้นายสิน สีบุญเรือง อาสาเข้ามารับหน้าที่แทน 

ซึ่งในขณะนั้น นายสินเป็นบรรณาธิการนิตยสารภาพยนตร์ของ "สยามภาพยนตร์บริษัท"

โดยใช้นามปากกว่า "ทิดเขียว"

 

เมื่อนายสินมาพากย์ภาพยนตร์ 

นายต่วนจึงแนะนำให้ใช้ชื่อ "ทิดเขียว" เป็นชื่อในการพากย์ภาพยนตร์ต่อไป

นายสินปกติเป็นคนช่างพูด ชอบพูดตลกโปกฮาเป็นทุนอยู่แล้ว

จึงสามารถทำหน้าที่พากย์ภาพยนตร์

ที่ต้องใช้ลูกเล่นลูกฮา  สองแง่สองง่ามให้ถูกใจผู้ชมภาพยนตร์ได้ไม่ยาก

จึงกลายเป็นนักพากย์ที่มีแฟนคลับมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ในปี พ.ศ. 2474  มีภาพยนตร์เงียบของอินเดีย ชื่อ "รามเกียรติ์ ตอนหนุมานเผาลงกา" เข้ามาฉาย

ทิดเขียว หรือ นายสิน สีบุญเรือง ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยาย

นายสินได้คิดนำ "วิธีพากย์โขน" ของไทยมาใช้ในการบรรยายภาพยนตร์เรื่องนี้

ปรากฏว่า เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมภาพยนตร์เป็นอย่างยิ่ง

 

การพากย์เสียงภาษาไทยให้กับภาพยนตร์ต่างประเทศ เป็นที่นิยมมากขึ้นทุกที

จนโรงภาพยนตร์ทั่วทั้งประเทศ จัดให้มีห้องสำหรับนักพากย์ คู่กับ ห้องฉาย

ต่อมาเมื่อมีไมโครโฟนใช้  นักพากย์ก็ไม่ต้องไปยืนตะโกนพากย์อยู่ข้างจอภาพยนตร์อีกต่อไป

นับจากนั้นมา ก็เกิดอาชีพ "นักพากย์ภาพยนตร์" อย่างกว้างขวาง

 

การถือกำเนิดของการพากย์ภาพยนตร์  ทำให้การสร้างภาพยนตร์ไทยแตกแขนงออกเป็น 2 สาขาคือ :-

1. ภาพยนตร์เงียบ            ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2470  และในที่สุดได้พัฒนาเป็น "ภาพยนตร์พากย์"

2. ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม   ซึ่งพี่น้องตระกูลวสุวัต เป็นผู้บุกเบิก

 

การสร้างภาพยนตร์พากย์ ใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม 

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้างภาพยนตร์พากย์เกิดขึ้นมากมาย 

และภาพยนตร์พากย์ก็กลายเป็นภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมของชาวบ้านร้านตลาด

เรื่องที่นำมาสร้างนั้น มักเป็นนิทานพื้นบ้าน หรือวรรณคดีที่รู้จักกันดี  หรือไม่ก็นิยายยอดนิยม.

 

(โปรดอ่านต่อ "เสียงประกอบภาพยนตร์")

 

 



ความเห็น

[1]


(ID:16341)

 

 

(ต่อจากข้างบน)

เสียงประกอบภาพยนตร์  มักใช้เด็ก ๆ เป็นผู้ทำหน้าที่ เช่น :-

- ใช้กรวด ทราย หรือเมล็ดถั่วเขียว โปรยลงบนแผ่นสังกะสี  ให้เป็นเสียงฝนตก

- ใช้ไม้ตีแผ่นสังกะสี  ให้เป็นเสียงฟ้าร้อง

- สะบัดแผ่นสังกะสี  ให้เป็นเสียงลมพายุ

- ขยำขยี้กระดาษแก้ว  ให้เป็นเสียงไฟไหม้

- เคาะกะลากับพื้น  ให้เป็นเสียงฝีเท้าม้าวิ่ง

- ช้อนเคาะกัน  ให้เป็นเสียงฟันดาบ

- เคาะแผ่นสังกะสี  ให้เป็นเสียงฟ้าผ่า

- ปาปะทัดลม  ให้เป็นเสียงยิงปืน

 

------------------------------------------------------------------------------

แหล่งข้อมูล :

1. www.rimpingfunds.com

    เรื่อง "กำเนิดหนังพากย์"

 

2. www.thaifilm.com

    เรื่อง "หนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ในประเทศไทย"  โดย...โดม สุขวงศ์

-------------------------------------------------------------------------------

ขอได้รับความขอบคุณจาก...

"สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย" (Film Versionist Association).

 

 




(ID:16367)
อ่านดูวิธีสร้างเสียงภาพยนตร์แบบธรรมชาติแล้วเห็นภาพครับ นึกถึงนิยายทางวิทยุที่ฟังจนติดงอมแงมสมัยเป็นเด็ก



(ID:119307)
ขอบคุณมาก



(ID:168276)
ในช่วงหนึ่งของชีวิตก็ได้อาศัยหนังเงียบหากิน สำหรับหนังเสียงพวกนักพากยผู้หาเช้ากินค่ำถือว่ามันมาฆ่ากันชัดๆ แต่เราก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ความเจริญมันหยุดไม่อยู่ครับในที่สุดพวกเราต้องตกงานกันและต้องมาเริ่มนับหนึ่งกับอาชีพใหม่ๆกันครับ.......ระทมสุดๆ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 4

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116947345 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :RobertMIGH , LavillKer , Maciedetpailt , BobbyHOm , Sallycgriet , CarolyncJuh , แสบ chumphon , LouieTub , rudgoodcomua , AdamLR ,