เผลอๆ จะได้ลามปามไปถึงหลักการทำงานของเครื่องฉายทั้งหมดด้วย --" อธิบายกันสามวันสามคืนไม่จบ
ผมถึงอยากให้โทรมาพูดคุยกันดีกว่าครับ จะได้เจาะเป็นเรื่องๆไป (ใจจริงผมก็อยากเขียนเป็นกระทู้ปักหมุดไว้เหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราวซัุกที ติดงานประจำตลอด ~>.<~)
แต่ถ้าจะเอาอย่างรวดเร็ว+สำเร็จรูปที่สุดละก็ แนะนำให้ลองศึกษาตรงแท็บ ***เครื่องคิดเลข*** ดูก่อนละกันครับ
(ID:139726)
พอจะมีเวลา&ตั้งสติ เอ๊ย สมาธิได้ เลยลองเขียนเป็นฉบับย่อไว้ก่อน ถ้าสงสัยจุดใหนเป็นพิเศษ เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีครับ
เวลาฉายหนัง โดยพื้นฐานแล้ว ยังไงๆก็ต้องมีเลนส์ในอย่างน้อย 1 ตัวยืนพื้น เพื่อให้เกิดภาพขึ้นบนจอ ไม่มีเลนส์ ก็ไม่มีภาพขึ้นจอ(กำปั้นทุบดินไปมั้ย ฮึ)
ทีนี้ มีค่าของเลนส์ 2 ตัว ที่จะมีผลโดยตรงต่อภาพที่ฉายขึ้นจอ
1.ทางยาวโฟกัส เลนส์รุ่นเก่าส่วนมากกำหนดเป็นนิ้ว ส่วนเลนส์ใหม่ๆ มักกำหนดเป็นมม. ค่านี้ แปรผันกับขนาดภาพที่ขึ้นจอ ก็คือ ยิ่งโฟกัสยาว ภาพที่ได้ก็จะยิ่งเล็ก ยิ่งโฟกัสสั้น ภาพก็จะยิ่งใหญ่โตเต็มจอ
2.ขนาดรูรับแสง เขียนเป็นตัวเลขลอยๆไม่มีหน่วย หรือบางทีก็บอกเป็น F1.x อะไรทำนองนี้ ยิ่งค่านี้ต่ำ แปลว่ารูรับแสงกว้าง เก็บแสงที่ผ่านประตูฟิล์มได้มากกว่าเลนส์ที่ค่าสูง ภาพก็จะสว่างกว่า
(ในที่นี้ ขอละข้อ 2 ไว้ก่อนละกันครับ เอาข้อแรกให้รอดก่อนดีกว่า เพราะสำคัญที่สุด)
สมัยก่อน ไม่มีหนังสโคป ก็ใช้แค่เลนส์ในตัวเดียว ฉายออกไปตรงๆง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนมาก ชุดฉาย 1 ชุด มีเลนส์ในตัวเดียวก็จบละ
เรื่องมันเริ่มมาซับซ้อนขึ้น เมื่อมีการคิดหนังสโคปขึ้นมา ก็คือการเพิ่มเลนส์หน้ากล้องตอนถ่ายอีก 1 ตัว เพื่อ"บีบ"ภาพจากด้านซ้าย-ขวาเข้ามาได้มากขึ้น ภาพที่ถ่ายได้ ก็เลยมีลักษณะผอมๆแบนๆ แล้วใช้เลนส์ทำนองเดียวกัน มา"ถ่าง"ภาพออกให้ได้สัดส่วนตามปกติ ภาพก็จะมีความกว้างมากกกว่าเดิม (สัดส่วนของฟิล์มจริงๆ ก่อนยุคหนังสโคป ก็ประมาณจอทีวีปกตินั่นแหละครับ)
ดังนั้น ถ้าฉายหนังสโคป ก็เลยต้องมีเลนส์ 2 ตัว 1.เลนส์ใน ไว้ฉายภาพขึ้นจอ 2.เลนส์นอก ไว้ยืดให้ภาพได้สัดส่วนปกติ&เต็มจอ
ส่วนหนังตัดซีน(ฝาหรั่งเรียก flat ) จริงๆไม่มีอะไรเลย แค่ใช้เลนส์ฉายโฟกัสสั้นกว่าเดิม เพื่อให้ภาพใหญ่เต็มจอในแนวซ้าย-ขวา ส่วนด้านบน-ล่างก็ล้นจอออกไป แล้วใช้ประตูฟิล์มบังเอาไว้ ถ้าดูในฟิล์มจริงๆ จะเห็นภาพเป็นสัดส่วนปกติ แต่ด้านบน-ล่าง(มักจะ)มีแต่แถบดำคาดไว้ ไม่มีภาพอะไร
หลักเบื้องต้นที่สุดในการเลือกเลนส์ฉาย ก็คือค่าระยะโฟกัสของเลนส์นั่นแหละครับ เพื่อให้ได้ภาพถูกต้องเต็มจอพอดีเมื่อฉาย
ทีนี้ เนื่องจากขนาดภาพที่จะขึ้นจอ จะถูกกำหนดด้วย 3 ปัจจัยดังนี้
1.ขนาดของเลนส์ ว่ามีทางยาวโฟกัสเท่าไหร่
2.ระยะฉาย จากเครื่องฉาย-จอหนัง
3.ขนาดจอหนัง ตัดมากว้างยาวเท่าไหร่ยังไง
ดังนั้น เราก็ต้องกำหนดตัวแปรไว้ 2 อย่าง แล้วเลือกอย่างที่ 3 ให้ตาม 2 ตัวแรก เช่น...
-มีจออยู่แล้ว รู้ระยะฉายแน่นอน ก็ต้องไปเลือกเลนส์ที่มีขนาดเหมาะสม
-ได้เลนส์มายกชุด รู้ระยะฉาย แต่ยังไม่มีจอ ก็ต้องคำนวณดูว่าจะตัดจอขนาดเท่าไหร่ ถึงจะรับกับเลนส์ที่มี
-เลนส์มีแล้ว จอมีแล้ว ไม่อยากเปลี่ยน งั้นก็ต้องหาระยะฉายที่เหมาะสมดู
การคำนวณเบื้องต้น ใช้เครื่องคิดเลขของเว็บได้เลยครับ Dr.ปวีณทำไว้นานแล้ว ผลการใช้งานจริง ราบรื่นดี ไม่มีปัญหา แนะนำเลยครับ : )
ตอนนี้เอาแค่นี้ก่อน ถ้าจะให้เพิ่มเติมเรื่องใหน เดี๋ยวมาว่ากันอีกทีครับ
(ID:140355)
เออ นึกออกอีกนิดนึง
จากหลักการข้างต้น ก็แปลว่า ขนาดภาพที่ได้ ขึ้นกับทั้งทางยาวโฟกัสของเลนส์ และระยะฉายด้วย
นั่นทำให้ ไม่มีข้อกำหนดตายตัวอะไรทั้งสิ้น ว่าเลนส์ตัวนี้"ต้อง"เป็นเลนส์(ใน)สโคป only เลนส์ตัวนี้"ต้อง"เป็นเลนส์flat only...
เพียงแต่ว่า ด้วยความสะดวกเรื่องระยะฉาย ทำให้นิยมใช้เลนส์ช่วงประมาณ 45-60mm เป็นเลนส์ flat และเลนส์ช่วงประมาณ 80-120mm เป็นเลนส์สโคป ก็เท่านั้นเอง
เอ้า ยกตัวอย่างซักนิดละกัน
(เอาจากที่ผมเคยคำนวณไว้ จำได้เลาๆว่าประมาณนี้&เพียงแค่ยกเป็นตัวอย่าง เลยไม่คำนวณใหม่ละ)
สมมุติว่า ผมมีจอหนังสโคปอยู่ ใช้เลนส์ใน 3"ฉาย ซึ่งที่ระยะฉายเดียวกัน ใช้เลนส์ 2" ฉายหนังตัดซีนแบบในโรง คือเอาพอดีบนล่าง แล้วปล่อยว่างพื้นที่จอทั้งซ้าย-ขวาเอา จะใกล้เคียงพอดี ขาดเหลือไม่เกิน 2-3%
ทีนี้ เกิดเปลี่ยนที่ฉาย ย้ายที่ตั้งจอกันใหม่ ปรากฏว่าต้องเพิ่มระยะฉาย คำนวณมาคำนวณไป ปรากฏว่า สามารถใช้เลนส์3"ตัวเดิม เอามาฉายตัดซีนพอดี เราก็แค่หาเลนส์ 4.5" เพิ่มแค่ตัวเดียว เพื่อมาฉายหนังสโคปแทน อะไรทำนองนี้ก็ได้ครับ
ปอลอ ผมอธิบายไม่ค่อยเก่ง แต่คงพอเห็นภาพนะครับ ว่าเลนส์ตัวเดียว ใช้งานได้มากกว่า1ลักษณะยังไง...
ปอลอสอง หนีไปเที่ยวทะเลมา ตัดขาดตัวเองจากที่กำลังเป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่ในเว็บไปสองวัน สบายใจขึ้นเยอะครับ : )