Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
มุมสะสมของเก่า เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-จะคุยเรื่อง "ดิ อิมพอสซิเบิ้ลส์"55396.. 12/7/2553 17:07
-อำลาอาลัย ฟลอปปีดิสก์ ฉันจะคิดถึงเธอ...50049.. 10/7/2553 11:55
-เทปเพลงเก่าครับ49403.. 5/7/2553 11:28
-ค่าโวลต์511718.. 1/7/2553 12:19
-โดเรม่อน มาฟังนิทานกัน43535.. 4/6/2553 11:42
-หนังอัพเดทที่นี่จ้า...42770ยังไม่มีคนตอบ
-ของเก่าที่มาจากร้านของเก่า53359.. 26/5/2553 14:39
-เพลงเก่า ๆ หาได้จ้า43700ยังไม่มีคนตอบ
----------------เปิดกรุหนังเก่า----ที่นี่เร็วๆนี้ครับ----------------47113.. 4/5/2553 19:39
-เปิดห้องใหม่43212.. 1/5/2553 23:15
-เพลงประกอบภาพยนตร์ฝร่งเก่าๆจากแผ่นเสียง ตอน 3470013.. 8/11/2551 5:06
-แผ่นเสียงเพลงจากหนังจีนยุค 50 - 70 ครับ610214.. 25/9/2551 1:48
-ม้วนวีดีวีโอเก่าๆ912423.. 19/9/2551 1:18
-แผ่นเสียงระดับออดิโอฟายๆๆๆๆๆ43643.. 25/10/2550 21:37
-แผ่นซีดีออดิโอฟายครับ621212.. 15/10/2550 21:37
-อภิมหาอมตะแผ่นออดิโอ ฟายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ468914.. 15/10/2550 21:36
เลือกหน้า
[<<]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 208

(ID:582) แผ่นซีดีออดิโอฟายครับ


เป็นแผ่นที่ผมพึ่งซื้อมาใหม่ครับบันทึกเสียงในระบบ 24 bit/192khz remastering    audiophile recording ซื้อมา 2 ชุดครับ ชุดแรกเป็นของ cris delanno  ชุด jazz loungo บันทึกเสยีงในระบบ hdcd  เป็นแผ่นนำเข้าครับท่าน โดยนำเพลงเก่าๆที่โด่งดังในอดีตมาขับร้องใหม่ในสไตล์ jazz ครับ ชุดนี้มีเพลงที่พวกเราคุ้นหูอยู่หลายเพลงครับเช่น  as time goes by    moon river   over the rainbow (เพลงนี้จูดี้การ์แล๊นเคยขับร้เองไว้ในหนังเรื่องพ่อมดแห่งออส)  lover ltters  the sound of music   summer   laura สรุปมีแต่เพลงเพราะๆทั้งนั้นครับ เดี๋ยวจะมาเปิดออกอากาศในรายการวิทยุใรวันเสาร์หน้าครับ

ความเห็น

[1]


(ID:5589)

แผ่นเป็นของค่าย premium  ชื่อชุด the hifi sound of orchestar  volume 2

เป็นการนำเพลงในหนังเก่าๆมาบรรเลงใหม่ในรูปแบบ orchestra ครับ

มีเพลงดังๆอาธิเช่น  unchained melody   when i fall in love   fallings   hero  the sound of silence  somewhere

5hkgbfdjvosoy'Ckp,us;y'8of^s]y[cojg]p8iy[lesiy[lw9]Nvpjk'ouhz,0t=v[,kdgxHorbgLK8iy[




(ID:5590)
โห แผ่น 2 เป็นเพลงหนังทั้งนั้นเลยนี่ครับ น่าฟังอ่ะ
ว่าแต่ 24 bit/192khz นี่มันเป็นยังงัยหรอครับ บีบอัดหรือเปล่าอ่ะครับ  พี่จาทีเอ มาอธิบายหน่ิอยสิครับ





(ID:5592)
เจ้าปวีณ..ไอ้ที่ถามมาเนี่ยถามง่ายดีเนาะ..แต่คนตอบปวดกระโหลกว๊อย..ตอบ(ให้เข้าใจ)ยากชมัด
ไหนๆก็ถามมาแล้ว..จำต้องหาข้อมูลมาให้..ฮ่า..เจอข้อมูลพอดีได้มาจากเวปของคุณวิจิตร บุญชู ซึ่งเขาอธิบายเอาไว้ึพอสังเขปดังนี้
 เครื่องเล่นDVDAudio/Video อันเป็นเครื่องเล่นดีวีดีที่สามารถเล่นได้ทุกรูปแบบ คือ ดีวีดีออดิโอ หรือดีวีดีวิดีโอ โดยความหมายแล้วทางเทคนิค ควรเรียกว่า Universal DVD
มีบางรุ่นผนวกSACDเข้าไปด้วยเลย เพื่อให้มันยูนิเวอร์แซลเต็มบริบูรณ์

ในความเป็นจริงแล้ว แผ่นดีวีดีออดิโอ บางประเภทจะมีโปรแกรมเป็นภาพนิ่งให้ด้วย สำหรับ การแจ้งรายละเอียดของศิลปิน เนื้อเพลง หรือภาพปก ภาพศิลปิน ตามแต่ต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาพเคลื่อนไหวแต่อย่างใด

แผ่นดีวีดีเชสกี้เรคคอร์ด ของพานาโซนิค บางแผ่น ที่เป็นการแสดงคอนเสิร์ตภาพเคลื่อนไหว แต่เสียงบันทึกในระบบ24/96 ก็ไม่ใช่ดีวีดีออดิโอครับ เป็นการนำเอาเทคนิคดีวีดีวิดีโอมาใช้เท่านั้นเอง

ในส่วนของแผ่นซอฟท์แวร์ดีวีดีออดิโอ
สมาคมดีวีดีได้วางรูปแบบกว้างๆ เอาไว้ว่าให้แผ่นนั้นมีสามแบบคือ แผ่นดีวีดีออดิโอแบบมีแต่เสียงเพลงหรือAudio Only แผ่นดีวีดี ประเภทaudio+video ซึ่งจะมีทั้งเพลงและภาพนิ่ง หรือวิดีโอคอนเสิร์ต  เป็นการแถมพกสำหรับการโปรโมทเพลง แผ่นดีวีดีประเภทสุดท้ายคือ ดีวีดีวิดีโอที่เรารู้จักกันอย่างกว้างขวางนั้นเอง

การจัดระบบแซมปลิ้งเรตที่ ต้องพิจารณา คือค่ายดีวีดีนั้นเปิดกว้างมากเกินไป ด้วยการจัดให้มีการแซมปลิ้งถึงสองตระกูล ความถี่ คือ จากตระกูล44.1กิโลเฮิตรซ์ มีค่าแซมปลิ้งยกระดับขึ้นเป็น 88.2,176.4กิโลเฮิรตซ์

ส่วนอีกตระกูลหนึ่งคือค่าแซมปลิ้งเรตตั้งแต่48,96 และ192กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งก็จะทำให้ระบบเหล่านี้มีความสลับซับซ้อนหรือมีให้เลือกมากเกินไป ผู้ผลิตแผ่นดีวีดีเองก็คงจะมีความสับสนไปด้วย

เพราะแซมปลิ้งเรตของตระกูล44.1นั้นเป็นของซีดีหรือระบบPCM ซึ่งมีใช้อยู่ในซีดีตามปกติ และข้อกำหนดทางเทคนิค ยังทำให้ มีแชนแนลของเสียงออกมาได้สองประเภทคือ มัลติแชนแนล และ สเตอรีโอ

ระบบที่เป็นค่าแซมปลิ้งสูงสุด อย่าง176.4 และ192กิโลเฮิรตซ์ จะมีแต่เฉพาะ แชนแนลเสียงแบบโมโน และสเตอรีโอ เท่านั้น ส่วนระบบมัลติแชนแนล จากช่องเสียงเดี่ยวไปจนถึง6แชนแนล จะทำการแซมปลิ้งได้ ที่ค่า44.1,48,88.2,96กิโลเฮิรตซ์ และจำนวนบิตเรทเองก็แตกต่างกัน หากเป็นแบบ24บิตจะใช้กับระบบที่เป็นสเตอรีโอสองแชนแนล และหากแบ่งเป็นหลายช่องเสียงจะให้เป็นแค่16 และ20บิตเป็นหลักเท่านั้น

ในปัจจุบันระบบดีวีดีออดิโอนั้นมีการกำหนดเทคนิคสำหรับการบันทึกหลายแชนแนล หลายอย่างเช่นใช้อัตราบิตเรทของตระกูลแรกที่24บิต96กิโลเฮิรตซ์เพื่อบัททึกสัญญาณหลักแชนแนลหน้า และใช้บิตเรตตระกูลที่สอง16บิต48กิโลเฮิรตซ์ สำหรับแชนแนล
กลางหรือเซ็นเตอร์  นี่คือกรณีการบันทึกแบบสามช่องเสียง

ส่วนที่บันทึกแบบ6ช่องเสียงนั้น จะบันทึกสัญญาณแบบ24บิต96กิโลเฮิรตซ์ แชนแนล หน้า ซ้ายขวา และแชนแนลหลังซ้ายขวา ส่วนสัญญาณเสียงของเซ็นเตอร์แชนแนล และซับวูฟเฟอร์ บันทึกเป็น16บิต 96กิโลเฮิรตซ์

การบันทึกเสียงแบบดีวีดีออดิโอนั้น เมื่อมีหลายรูปแบบก็จะทำให้ได้มาซึ่งคุณภาพที่ต่างกัน  ใช้จำนวนบิตเรต หรือการไหลของข้อมูลต่อวินาทีไม่เท่ากัน เมื่อบันทึกลงในแผ่นดีวีดีแบบหน้าเดียวชั้นเดียวDVD 5 จะได้ความแตกต่างดังต่อไปนี้

จำนวนบิตเรต 16บิต แซมปลิ้ง44.1 KHZ จำนวนช่องเสียง2 ช่อง ส่งข้อมูล 1.41เมกกะบิต/วินาที บันทึกได้ 422นาที

จำนวนบิตเรต16บิต แซมปลิ้ง48 KHZ จำนวนช่องเสียง2ช่อง ส่งข้อมูล 1.54 เมกกะบิตต่อวินาที บันทึกได้ 388นาที

จำนวนบิตเรต 20บิต แซมปลิ้ง 96KHZจำนวนช่องเสียง 4ช่อง ส่งข้อมูล 7.68เมกกะบิตต่อวินาที บันทึกได้ 78นาที

จำนวนบิตเรต24บิต แซมปลิ้ง192KHZ จำนวนช่องเสียง 2ช่อง ส่งข้อมูล 9.22เมกกะบิตต่อวินาที บันทึกได้65นาที

หากมีการเปรียบเทียบกับระบบของซีดีแล้ว จะเป็นข้อมูลที่สามารถบันทึกได้เพียง 74นาทีในแผ่นขนาดเดียวกับดีวีดีออดิโอ ดังนั้นระบบดีวิดีออดิโอจึงเป็นฟอร์แมตช์ ที่ให้คุณประโยชน์มากถ้าใช้เป็น หรือผู้ผลิตร่วมกันออกอัลบัมมาให้พอเพียงต่อความต้องการ

แต่ในความเป็นจริงนั้น แรกสุดบรรดาผู้ผลิตนั้นต่างเกรงกลัวว่า ระบบการป้องกัน ของดีวีดีนั้นไม่ดีพอสำหรับป้องกันการก็อปปี้ ดังนั้น จึงกล้าๆกลัวๆที่จะออกอัลบัมใหม่ๆ ลองสังเกตดูจะพบว่า แผ่นที่ออกจำหน่ายนั้นล้วนเป็นชุดเก่าๆ หรือถ้าเป็นแผ่นใหม่ ก็ไม่ใช่ของศิลปินดังๆ  และการตัดสินใจในการผลิตแต่ละครั้งดูจะมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องศึกษาเทคนิคที่เหมาะสม ควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากช่วงระยะแรกนั้นการกำหนดทางเทคนิคจะมีความสับสนมาก

กว่าระบบดีวีดีออดิโอจะนิ่ง ก็ย่างเข้าปี2001 บริษัท วอร์เนอร์มิวสิค เป็นบริษัทค่ายเพลงค่ายแรกที่ประกาศสนับสนุนอย่างเป็นทางการ และเริ่มวางตลาดแผ่นศิลปินในสังกัด อาทิThe Corrs แต่ก็ยังเป็นแผ่นที่มีระดับการแซมปลิ้ง 96กิโลเฮิรตซ์ สำหรับเสียงแบบรายละเอียดสูงหรือ High Resolution  และใช้แบบมัลติแชนแนลที่16บิต เป็นการเริ่มต้น

ส่วนแผ่นดีวีดีออดิโอที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นแผ่นแซมปลิ้ง48กิโลเฮิรตซ์ และเป็นแผ่นเพลงคลาสสิคคัลเป็นส่วนใหญ่

ระบบดีวีดี192กิโลเฮิรตซ์ เต็มระบบนั้นมีจำหน่ายในตลาดปี2002เป็นต้นมา
ความสามารถในการสนองตอบต่อความถี่สูงมากกว่าการได้ยิน คือประมาณ48กิโลเฮิรตซ์

แต่ก็น่าแปลกว่าดีวีดีเพลงกลับไม่แพร่หลายนัก
ส่วนใหญ่ออกมาในระดับราคาสูงแต่คุณภาพไม่สมกับราคา

เหมือนเป็นตัวบ่งชี้ว่า
เทคโนโลยีสูง หาใช่ว่า จะให้คุณภาพสูงตามที่เราต้องการได้เสมอไป
มันจึงทำท่าเจียนอยู่เจียนไปอยู่อย่างนี้แหละครับ
 
กลัวว่าเจ้าปวีณยังจะงงอยู่อีก งั้นเพิ่มความมึนประสาทให้อีกบทความนึง เป็นองค์ความรู้ล้วนๆ เอ้า..ลองเบิ่งดูเน้อ

เกร็ดเครื่องเสียง: HDCD, XRCD คืออะไร?



ขั้นตอนของการผลิตแผ่น CD ในระดับอุตสาหกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วทางโรงงานจะได้รับตัว Master ต้นฉบับจากทางต้นสังกัดในรูปของม้วนเทปแบบ U-matic ทั้งนี้ไม่ว่าทางต้นสังกัดจะใช้ความพิถีพิถันในขั้นตอนของการเตรียม Master ต้นฉบับให้ดีเลิศเพียงใดก็ตาม คุณภาพของแผ่น CD ที่ได้ออกมาจากกระบวนการผลิตของโรงงานก็กลับกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คล้าย กับว่าต้องอาศัยโชคช่วยภาวนาอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการเดินทางของกระบวนข้อมูล Digital Streaming นั้นมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่มากมาย ในขณะที่ความเข้าใจของคนทั่วไปกลับคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่มากไปกว่าการส่งถ ่ายตัวเลขแค่ 2 ตัวคือ 0 กับ 1

ด้วยเหตุที่ว่า การเดินทางของสัญญาณโดยนับเริ่มจากตัว Original Master ต้นฉบับที่กว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทางซึ่งก็คือแผ่น CD นั้นมีอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการอยู่มากมาย และแน่นอนที่สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเนื้องานที่ได้อย่างไม่ ต้องสงสัย

จากการค้นคว้าวิจัยทำให้ JVC ได้ตระหนักว่าแผ่น CD ทั่วๆ ไปในท้องตลาดที่มาจากกระบวนการผลิตที่ขาดความพิถีพิถันอย่างเพียงพอนั้นจะมี คุณภาพเสียงที่ด้อยกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มากหากเปรียบเทียบกับขีดขั้นความสาม ารถของเทคโนโลยีที่สามารถจะให้ออกมาได้จริงๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทาง JVC จึงได้คิดค้นและออกแบบกระบวนการผลิตแผ่น CD ขึ้นมาใหม่ โดยหวังให้มีการสูญเสียคุณภาพน้อยกว่าหากเปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตทั่วๆ ไป

กระบวนการผลิตแผ่น CD ที่มีความพิถีพิถันมากเป็นพิเศษจึงถือกำเนิดขึ้น โดยทาง JVC ได้ตั้งชื่อให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์จากกระบวนการนี้ว่า Extended Resolution Compact Disc หรือ XRCD นั่นเอง ซึ่งก็ได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้กับผู้ใช้งานทั่วไปในวงกว้าง หากแต่ในความเป็นจริงนั้น XRCD ก็คือแผ่น CD ธรรมดาๆ ที่มีข้อมูลบันทึกอยู่ในรูปแบบ 16-bit PCM Digital และสามารถใช้ได้กับเครื่องเล่น CD Player ปกติทั่วๆ ไปโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์หรือวงจรถอดรหัสพิเศษอื่นใดเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับการใช้งานแผ่น XRCD นี้




การผลิตแผ่น XRCD นั้นจะใช้ความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งก็คือตัว Master ต้นฉบับไปถึงจุดสุดท้ายปลายกระบวนการ ซึ่งก็คือการตัดเป็นตัวแผ่น XRCD ออกมา โดยมีเทคโนโลยี K2 Super Coding ที่เปรียบเสมือนเป็นเฟืองจักรตัวสำคัญในหลายๆ ส่วนของกระบวนการผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆ จะได้รับการเลือกสรรมาเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญกับความสะอาดของระบบไฟฟ้า, ระบบการตรวจเทียบความสอดคล้องเชิงเวลาของสัญญาณ Digital ในแต่ละขั้นตอน, รูปลักษณะการเชื่อมต่อรวมถึงคุณภาพของสายสัญญาณต่างๆ แม้แต่ชนิดของเนื้อวัสดุที่ใช้ทำตัวแผ่น XRCD ก็มีการทดสอบฟังเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพเสียงที่ได้อย่างระมัดระวังก่อนที่จะ ฟันธงกำหนดให้ใช้ Aluminum เป็นคำตอบสุดท้าย



HDCD ย่อมาจาก High Definition Compatible Digital พัฒนาขึ้นโดยคุณ Keith Johnson และคุณ Pflash Pflaumer


HDCD เป็นชื่อของกระบวนการเข้าและถอดรหัส (Encode/Decode) แบบพิเศษสำหรับใช้บันทึกข้อมูลลงแผ่น CD ปกติทั่วไป (รวมถึงบางอัลบัมของแผ่น CD แบบ XRCD และ DVD-Audio ด้วย)

ในกรณีของแผ่น CD Audio ทั่วๆ ไปนั้น ข้อมูลจะถูกบันทึกลงไปในแบบ PCM Digital ที่ความละเอียด 16 bits แต่สำหรับแผ่น CD ที่มีเครื่องหมาย HDCD นั้นจะมีการเพิ่มข้อมูลแฝงรวมเข้าไว้กับชุดข้อมูลปกติด้วยเทคนิคพิเศษซึ่งจะ ทำให้ได้ความละเอียดของข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก 4 bits รวมได้เป็นความละเอียดที่ 20 bit ในขณะเดียวกันที่ยังสามารถใช้แผ่น HDCD นี้กับเครื่องเล่น CD แบบปกติทั่วไปได้

การจะได้รับอรรถประโยชน์จากแผ่น HDCD ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นั้น เครื่องเล่น CD จะต้องมีออปชั่นการถอดรหัส HDCD ด้วย ซึ่งโดยปกติจะมีสัญลักษณ์ HDCD บอกไว้ที่หน้าปัดของเครื่องเล่น


ด้วยความละเอียดของข้อมูล HDCD ที่ 20 bits จะทำให้ได้คุณภาพเสียงสูงกว่าขีดข้อจำกัดของระบบข้อมูล 16 bits ของแผ่น CD ปกติทั่วๆ ไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ผลิตด้วย และสำหรับแผ่น HDCD ที่มีคุณภาพเข้าขั้นแล้วก็จะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าแผ่น CD ในเวอร์ชั่นปกติในหลายๆ ด้าน

ที่มา
 http://www.sound-map.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=99232&Ntype=2

     



(ID:5593)

พรุ่งนี้ผมจะนำแผ่นซีดีออดิโอฟายมาให้ดูกันอีกนะครับ (มีหลายร้อยแผ่นครับท่าน 55555 จะให้ดูจนตาแฉะเลยครับท่าน)

ถ้าอยากฟังก็จะเปิดในรายการวิทยุของผมนะครับเฉพาะเสาร์และอาทิตย์เท่านั้นนะครับ




(ID:5595)

นี่เป็นชุดแรกของ hi fi sound ครับมีแต่เพลงเพราะๆทั้งนั้นครับ




(ID:5596)
แผ่นนี้ก็เป็นเพลงะในหนังเก่าๆทั้งนั้นล่ะครับโดยบันทึกเสียงเป็นระบบ DVD audio ต้องเล่นในเครื่องดีวีดีเท่านั้นครับ คุณภาพเสียงดีมากแต่เวลาเปิดต้องระวังอย่าให้ดังจนเกินไปเพราะอันตรายจะเกิดกับลำโพงได้ครับ



(ID:5597)
ด้านในแผ่นครับ



(ID:5598)

ใครอยากทราบข้อมูลให้ถามพี่ JTR ได้ครับ (เพราะผมขี้เกียจโพสแล้วเด้อท่าน 55555)




(ID:5602)

โอ้ย.... ไม่รู้เรื่องครับ ว่าแต่ว่า ใครเอาผมเอาด้วย 1 ชุด อิๆ(สรุปเลยแล้วกัน...555)




(ID:5612)
มึนครับ ตามเทคโนโลยีไม่ค่อยทันจริงๆ  เท่าที่อ่านจากที่คุณ จาทีเอ โพสไว้
สรุปได้ว่า  เป็นความพยายามจะบันทึกข้อมูลเสียงให้ละเอียดกว่ามาตรฐานของ CD Audio ธรรมดา เพื่อเอาใจคน หูทอง ทั้งหลาย
- CD Audio ธรรมดา  แปลงจากอะนาล๊อกที่ความละเอียด 44.1kHz/16bit   บันทึกที่ความละเอียดนั้นเลย
็- HDCD เพิ่มความละเอียดในการแปลงอนาล๊อกเป็นดิจิทัลจาก 16 บิตไปเป็น 20 บิต  แล้วใช้เทคนิกในการเข้ารหัส เวลาเอาไปเปิดในเครื่องเล่นธรรมดา ก็จะมองเห็นว่ามี 16 บิต  แต่เอาไปเปิดบนเครื่องเล่น HDCD ก็จะมองเห็นบิตที่เหลืออีก 4 บิต การเป็นเล่นที่ความละเอียด 20 บิต
- XRCD คล้ายๆ HDCD คือเริ่มต้นจะแปลงอนาล๊อกเป็นดิจิทัลที่ 20 บิต หลังจากประมวลผลเสร็จแล้ว ตอนบันทึก ลงแผ่น CD ก็จะแปลงไปเป็น 16 บิต เหมือน CD ธรรมดา
- DVD Audio ใช้วิธีการบันทึกบน format ของ DVD ซึ่งเปิดให้บันทึกเสียงในรูปแบบอะไรก็ได้  และแผ่นก็จุได้เยอะด้วย ก็เลยอัดซะเต็มที่เลย ที่ 24 บิต/192khz

ส่วนคนหูเหล็กอย่างผม  ก็ยังมีความสุขอยู่กับ MP3 เหมือนเดิม ครับ อิๆๆ

** เพิ่มเติม **
 หูคนเราฟังเสียงได้ในย่าน 20- 20kHz   ปรกติ CD เพลงจะสุ่มที่ 44.1kHz  (เผื่อ 1 เท่า)
การเพิ่มอัตราสุ่มให้สูงขึ้น จะทำให้แถบกว้างของสัญญาณ( bandwidth)สูงขึ้น ทำให้เก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้ ยิ่งสุ่มสูงยิ่งเพี้ยนน้อย เพราะยิ่งสุ่มสูงรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนตัวอย่างแต่ละชิ้นจะแคบลง
ความละเอียด(resolution)ในการสุ่ม หรือ อัตราบิตยิ่งสูงจะทำให้ สัญญาณรบกวน ( noise) ยิ่งต่ำลง
      



(ID:5616)
แม่นแล้วท่านปวีณ...Thank you หลายๆที่สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ขนาดผมโพสเองยังงงเลย.อิอิ



(ID:5634)
สรุปว่าท่านพี่ JTR หูทอง ท่านปวีณหูเหล็ก ส่วนไอ้กะผม .... หูหนวก ......ว่าไงนะ ... ไม่ได้ยิน พูดดังๆๆ หน่อยซิคร๊าบบบบบ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 12

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116951698 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley , RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap ,