Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ภาพนิ่ง /วีดีโอ/ เสียง /การตัดต่อ/ เทคนิค/ อุปกรณ์ /หนังสั้น-โชว์รีลเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ระดับเสียงไม่เท่ากัน43863.. 21/7/2553 14:28
-Nikon ออกกล้องตัวใหม่ ถ่ายหนังความละเอียด 8K45732.. 21/7/2553 10:41
-Workprint และการตัดต่อในยุคก่อนมี PC และเทปเบต้า505912.. 20/7/2553 15:47
-Dolby Digital .ac3 on SONY software44360ยังไม่มีคนตอบ
-พาไปดูหนังสั้นที่นายลพย์ถ่ายทำที่อุดร ตอน 2432713.. 19/7/2553 1:10
-เข้ามาคุยเรื่อง "การตัดต่อ" เยอะ ๆ นะคะ489811.. 15/7/2553 11:28
-มาดูการใช้งานอุปกรณ์ steadi-O กันดีกว่าครับ39447.. 13/7/2553 8:43
-เปิดห้องใหม่39966.. 11/7/2553 13:17
-Dynamic Cut 48610ยังไม่มีคนตอบ
-sceneandframe media48132.. 9/7/2553 11:22
-ยินดีกับห้องใหม่ครับ39691.. 9/7/2553 0:02
-เอาอีกแล้ว ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง..กะปิ..ริมหาดบ้านกรูด แถวๆ บ้านผมครับ คิกๆๆๆๆๆๆ461216.. 8/2/2553 20:32
-ถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง my valentine ใต้ถุนบ้านผมเอง....ฮิๆๆๆๆ521413.. 27/1/2553 17:51
-มาแล้วครับ มิวสิควีดีโอตัวใหม่ของผม โอ มีเดียครับ (มาดูกันเลยครับทำทั้งคืน)450814.. 9/1/2553 18:47
-ถ่ายทำโฆษณาคลองแถวๆบ้าน.....คิกๆๆๆๆๆว48963.. 15/12/2552 22:45
เลือกหน้า
[<<]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 223

(ID:5195) Workprint และการตัดต่อในยุคก่อนมี PC และเทปเบต้า


















สมัยที่ระบบตัดต่อแบบเทปเบต้า และ Non-Linear ด้วยคอมพิวเตอร์ยังไม่กำเนิดขึ้นในโลก การตัดต่อภาพยนตร์นั้น  เค้ามีวิธีการอย่างไร  จะเอามาแฉกันในกระทู้นี้ครับ





หลังการถ่ายทำในแต่ละวัน ฟิล์มจะถูกส่งไปล้างที่แลป ฟิล์มที่ล้างแล้ว จะมีสีและแสงที่ตรงข้ามความจริง หรือเรียกว่าเนกาตีฟ  กระบวนการต่อไปแลปก็จะเอาฟิล์มเนกาตีฟ  พิมพ์ใส่แบบประกบกับฟิล์มดิบเนกาตีฟ หลังพิมพ์แล้ว จะได้ฟิล์มอีกชุดที่สีตรงความจริง โดยมีภาพการตีสเลทที่หัวคัท หรือท้ายคัทติดมาด้วย เรียกว่าฟิล์ม Workprint   แล้วเสียงจากเทปเสียงที่ใช้ไมค์บูมบันทึกเสียงพูดของตัวแสดงจากกองถ่ายมา  ก้จะถูกบันทึกลงบนฟิล์มเสียงแม่เหล็ก  ที่มีขนาดและรูหนามเตยเหมือนฟิล์ม Workprint  โดยจะยังมีเสียงกระดานสเลทที่ตีหัว หรือท้ายช๊อทติดมาด้วย





จากนั้นก้ส่งฟิล์มภาพเวิร์คพริ้นท์ กับฟิล์มเสียงไดอะลอกไปให้คนตัดต่อภาพยนตร์ที่เจ้าของหนังจ้างไว้ ตัดต่อ โดยตัดด้วยกรรไกร สปลิสเซอร์ และเทปใส่สำหรับต่อฟิล์ม โดยจะมีภาพการตีสเลท กับเสียงแป๊กในฟิล์มเสียง  เป็นจุดซิงค์ให้ภาพและเสียงตรงกันตลอดทั้งช๊อท





หลังได้ฟิล์มภาพ กับ เสียงที่ตัดต่อแล้ว ตรวจแก้ไขกันเรียบร้อยแล้ว  ก็จะส่งกลับไปที่แลป   แลปก็จะเอาฟิล์มภาพมาเทียบกับฟิล์มเนกาตีฟต้นฉบับจากกล้อง เพื่อตัดต่อเนกาตีฟตามเวิร์คพริ้นท์ โดยการดูตำแหน่งจากเลข และแถบที่ขอบฟิล์ม  ส่วนการตัดเนกกาตีฟ  ก้มีอยู่ 2 แบบ คือ 1. A-B Roll  2.กรรไกรสปลิสเซอร์ ต่อด้วยกาวซีเมน





บ.หนังที่มีทุนสูง มักจะตัดแบบ A-B Roll  เพราะได้ภาพที่ต่อช๊อทแบบสนิทไร้เส้นรอยต่อรบกวนสายตา แบบต่อด้วยกาวขอข้ามไปเลยละกันเพราะง่ายต่อการทำความเข้าใจ





A-B Roll  ไม่ใช่การม้วนผมดัดหยิกนะครับ 





  มันเป้นการตัดต่อเนกกาตีฟแบบแบ่งเนกกาตีฟเป็น 2 ม้วน โดยหลังจากเทียบซอยช๊อทตามเวิร์คพริ้นท์แล้ว ก็จะมีการนับช๊อทเรียงไปจาก 1-2-3-4-5-6-..... xxxx โดยจะเอาช๊อทเลขคี่มาไว้ที่ม้วย A โดยมีฟิล์มดำทึบแสงมาต่อสลับแทนช๊อทเลขคู่ไว้ ทำแบบนี้สลับไปจนครบก็จะได้ความยาวม้วน A เท่ากับม้วนเวิร์คพริ้นท์ที่เอามาเทียบ ในม้วน B เช่นเดียวกัน แต่เริ่มด้วยฟิล์มดำที่แทนช๊อท 1  จากนั้นก้เอาช๊อทเลขคู่สลับกับฟิล์มดำที่แทนตำแหน่งของช๊อทเลขคี่ครับ  ทำไปตลอดทั้งม้วน เสดแล้วก็จะได้ความยาวเท่าม้วนเวิร์คพริ้นท์เช่นกัน





หลังได้ม้วน A และ B แล้ว ก็นำ 2 ม้วนนี้ไปพิมพ์ใส่เนกาตีฟม้วนเดียวกันอีกที ม้วนละรอบ โดยพิมพ์แบบคอนตินิว คอนแท๊ก (ประกบฟิล์มและเดินฟิล์มต่อเนื่อง) ซึ่งพิมพ์ได้งานที่เร็วและคมชัด เนกที่พิมพ์แล้ว ก้จะล้างออกมาสีตรงตามจริง(รัชพริ้นท์หรือ Answer print) โดยจะพิมพ์ 2 ชุด แล้วส่งฟิล์ม1ใน2ไปเทียบกับเสียงไดอะลอกเพื่อมิกซ์เสียง หลังได้ฟิล์มเสียงแมกเนติกที่มิกซ์แล้ว ก็จะนำกลับมาสู่การพิมพ์พร้อมภาพ โดยเอาฟิล์มภาพรัชพริ้นท์อีกชุดมาพิมลงเนกาตีฟ พร้อมกับเขียนแทร็กเสียงด้วยลำแสงสีขาว โดยแสงจะสะท้อนกระจกที่ติดแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะสั่นกระจกตามสัญญาณเสียงที่เข้ามาที่ขดลวดของแม่เหล็กไฟฟ้า (หลักการเดียวกันกับหัวเข็มแผ่นเสียง) แสงที่สะท้อนกระจกก็จะผ่านเลนส์โฟกัสลำแสงลงบนฟิล์ม หลังจากล้างฟิล์มนี้ เราก็จะได้ฟิล์มเนกาตีฟที่เรียกว่า Copy A  เป็นต้นฉบับสำหรับพิมพ์ฟิล์มฉายส่งไปโรงภาพยนตร์  ฟิล์มฉายก็จะเป็นฟิล์มเนกาตีฟที่พิมพ์จาก Copy A ที่เป็นเนกาตีฟเหมือนกัน  เมื่อล้างออกมา เราจะได้ฟิล์ม ที่สีตรงตามความจริง...

ไว้จะหาภาพมาประกอบนะครับ  ใครมีข้อสงสัยก็โพสถามได้ครับ

















ความเห็น

[1]


(ID:48182)
จะสังเกตว่าฟิล์มดิบที่ใช้ในแลป  จะเป็นฟิล์มเนกาตีฟทั้งนั้นเลย  นั่นเพราะในกองถ่าย  ใช้ฟิล์มเนกาตีฟถ่ายทำ  หรือว่าเพราะแลปใช้เนกาตีฟ  กองถ่ายจึงต้องใช้เนกาตีฟด้วย...



(ID:48184)
พอมาในยุควิดีโอ  เนกกาตีฟก็ถูกเทเลซีนใส่เทปวิดีโอแทน โดยเลขฟุต กับเฟรมจะติดไปในภาพตลอด เช่นยูเมติก หรือเบต้า  แล้วก็เอามาตัดต่อ ตัดเสดก็เอาวีดีโอไปเทียบตัดเนกาตีฟ  โดยจะมีเลขฟุต และเลขเฟรมเป็นตัวเทียบกับฟิล์มเนกาตีฟ



(ID:48185)

แล้วก็มาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การตัดต่อแบบ Non-Linear  ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ยุคแรกๆ ทำได้แค่ตัดแบบออฟไลน์  ไม่สามารถเอาไฟล์ที่ตัดต่อไปเผยแพร่ได้เลย เพราะความละเอียดน้อยมาก  ทำได้แค่เอา EDL มาเทียบตัดเนกาตีฟเท่านั้น แล้วก้พัฒนาเรื่อยมาจนเดี๋ยวนี้สามารถเทเลซีนเนกาตีฟเป็นไฟล์ดิจิตอลซีเนม่าความละเอียดสูง แล้วตัดต่อแบบออนไลนืได้เลย แล้วสามารถนำไฟล์ที่ตัดต่อใส่CGแล้ว สแกนกลับใส่ฟิล์มได้อย่างง่ายๆ ได้ความคมชัดไม่ค่อยต่างจากฟิล์มต้นฉบับเลย




(ID:48187)

หลายท่านเข้าใจว่า  ฟิล์มที่ใช้ฉายกันทุกวันนี้เป็นฟิล์ม โพสิตีฟ  ความจริงแล้ว  มันคือเนกาตีฟครับ  แต่เพราะว่ามันพิมพ์จากต้นฉบับ CopyA ที่เป็นเนกาตีฟ  ตัวมันจึงมีสีที่ตรงข้ามกับเนกาตีฟให้เราเห็นบนจอ




(ID:48254)
ขอบคุณมากเลยครับ ได้สาระและความรู้ดีมากๆครับ



(ID:48255)
ไม่เป็นไรครับ ขอบคุณครับที่ติดตาม คิดว่าจะไม่มีใครอ่านสะแล้ว



(ID:48512)

เพิ่มเติมอีกนิด  Copy A จะใช้ฟิล์มเนกาตีฟ หรือใช้ รีเวอซัล (โพสิตีฟ)  ก็ได้ ซึ่งแพงกว่าฟิล์มเนกาตีฟ ส่งผลให้ ฟิล์มฉาย หรือ รีลีสพริ้นท์ release print ต้องใช้รีเวอซัลเหมือนกัน ซึ้งทำให้งบประมาณสูงขึ้นไปอีก  ทั้งนี้ก็แล้วแต่โปรดิวเซอร์หนังเรื่องนั้นๆว่าต้องการยังไง ก็สั่งแลปไป




(ID:48601)
ผมมีฟิล์มอยู่ชิ้นนึง ไม่มี sound เฟดแล้ว เข้าใจว่าเป็น workprint
 พอจะดูออกไหมครับว่าเป็นฟิล์มในขั้นตอนใหนครับ  ( รีบเอามาถามก่อนฟิล์มจะเน่า)
สงสัยมานานแล้วครับ .

+


(ID:48672)

555  ต้องถามกลับว่า ฟิล์มปีอะไรครับ  เพราะถ้ายุคหลังๆ  กล้องจะไม่ติดเลนส์อะนามอรฟิค(สโคป)ถ่าย   ถ้าฟิล์มนี้เป็นยุค 25 ปีหลัง  7 เฟรมนี้จะไม่ใช่ workprint แน่นอน ฟันธง  มันจะอยู่ในโปรเซส แถวๆ Answer print ที่ Blow up เป็นอนามอร์ฟิค(สโคป)แล้ว และฟิล์มนี้เป็นเนกาตีฟครับ  เพราะเส้นเสียงเมื่อไม่พิมพ์ มันจะใส คือไม่มีแสงมากระทบ แต่ถ้ารีเวอร์ซัล(โพสิตีฟ) เวลาไม่มีแสงมากระทบ ล้างออกมาจะดำมืดครับ ส่วนเนกาตีฟ ไม่โดนแสงล้างออกมาจะใส   ..... ไม่ใช่ Copy A หรือ Release Print แน่นอน  เพราะไม่ได้พิมพ์เส้นเสียงไว้ด้วย ไม่ได้เฝดครับ ที่เห็นคือไม่ได้พิมพ์แทร๊กเสียง 

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ




(ID:48681)







ตั้งแต่การเข้ามาของเทปยูเมติก   และเทปเบต้า การพิมพ์เวิร์คพริ้นท์เพื่อมาตัดต่อ ก็ลงความนิยมลงเรื่อยๆ   หันมาเทเลซีนเนก.ใส่เทปมาตัดต่อออฟไลน์ด้วยวิดีโอแทน




เพิ่มเติมนิดนึง ประตูฟิล์มของกล้องถ่ายหนังหลายๆรุ่น มันจะไม่เว้นพื้นที่สำหรับแทร็กเสียงครับ   หมายความว่า  กล้องมันจะบันทึกภาพเต็มพื้นที่เลย  ชิดรูหนามเตยด้านซ้าย และด้านขวา  เวิร์คพริ้นท์มันก็จะไม่มีที่ว่างของแทร็กเสียงครับจากประสบการณ์เท่าที่เคยผ่านมือมาตอนตัดต่อฟิล์มเวิร์คพริ้นท์สมัยเรียนภาพยนตร์ครับ 



 



เชิญคำถามข้อต่อไปครับ  5555 










(ID:48730)
 อ้อ อย่างนี้นี่เอง ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ



(ID:48741)
  ไม่เป็นไรครับ   เรารักหนังเหมือนกัน



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 12

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116948018 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap , LavillKer , Maciedetpailt , BobbyHOm , Sallycgriet , CarolyncJuh , แสบ chumphon ,