Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไปเจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ทุกอย่างต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดครับ29272.. 14/8/2556 13:28
-เกาะกระแส "3D" ที่กำลังซบเซาในสหรัฐฯ-อังกฤษ29342.. 8/8/2556 9:31
-ประสงค์ภาพยนตร์ อ.โพธาราม โดนถล่มยิงด้วยอาวุธสงคราม40กว่านัด23122.. 8/8/2556 8:37
-กันตนาผุดโรงหนังโลว์คอสต์ ยึดคอนเซ็ปต์คล้ายสายการบิน..19681.. 7/8/2556 12:52
-ขอแสดงความเสียใจ 19858.. 7/8/2556 10:51
-ไปทำงาน...18662.. 3/8/2556 23:25
-เห็นเปรยกันมาได้สักระยะหนึ่ง คราวนี้มาแล้วครับ APP สำหรับดูหนังจากค่ายอารมณ์ดี GTH27770ยังไม่มีคนตอบ
-พี สะเดิด แวะมาทักทายที่ พีเพลิเรดิโอ FM.96.25 MHz.อุดรธานี26872.. 30/7/2556 16:56
-ปิดฉาก ฟิล์มภาพยนตร์สู่ระบบดิจิตอล...421320.. 6/7/2556 22:10
-เบื้องหลัง MV เพลงดาวประดับใจ..1 กค. 2556494418.. 6/7/2556 7:58
-“เมเจอร์ฯ-เอสเอฟ”ยันไม่ลดราคาตั๋ว อ้างป๊อปคอร์นแพงนำเข้าจากต่างประเทศ334917.. 4/7/2556 20:20
-รายการ IDENTITY ใครคือใคร21065.. 3/7/2556 15:13
-เบื้องหลังถ่ายทำ MV ไหมไทย หัวใจศิลป์ ชุดใหม่..686115.. 2/7/2556 16:24
-“สปีลเบิร์ก-ลูคัส” ฟันธงอุตสาหกรรมหนังอนาคตมืดมนถึงขั้นล่มสลาย!28127.. 29/6/2556 23:31
-MVP เปิดฉายแล้วที่บิ๊กซี จ.เลย104717.. 24/6/2556 23:34
-ขอบคุณข้อมูลจากเวปไทยรัฐ..25084.. 2/6/2556 10:59
เลือกหน้า
[<<] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 347

(ID:15904) ทุกอย่างต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดครับ


» ทำไมฟูจิอยู่ได้ ขณะที่โกดักล้มละลาย !! โดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย
       
ในขณะที่แบรนด์ยักษ์ระดับตำนานของโลก อย่างโกดักกำลังจะถึงกาลอวสาน คู่ปรับ คู่ชก คู่แข่งตัวฉกาจ จากอีกซีกหนึ่งของโลก อย่าง ฟูจิ กลับรุ่ง พุ่งทะยาน ตรงข้ามอย่างน่าฉงน?!?! ไฉนเลยจึงลงเอยเช่นนี้หนอออ
       
ทั้งคู่ อยู่ในธุรกิจฟิล์มถ่ายรูป เผชิญคลื่นยักษ์ของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปสู่ดิจิตอล 
       

ในทศวรรษ 1980 ฟูจิเริ่มเชื่อว่า การเป็นบริษัทระดับโลกไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน ฟูจิได้วางเป้าที่จะมี World Class FUJIFILM status
       
ในอีกด้านหนึ่ง...ฟูจิก็ได้เป็นหนึ่งในผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ที่นำไปประยุกต์ใช้กับภาพถ่าย การแพทย์ และการพิมพ์ กระแสดิจิตอลที่คืบคลานมาเรื่อย ๆ ทำให้ฟูจิรู้ดีว่า หากนิ่งเฉยเสีย เห็นทีอนาคตจะร่วง
       
ในปี 2006 ฟูจิตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการใหม่ ด้วยการก่อตั้งบริษัท FUJIFILM Holdings Corporation ขึ้นมา เพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไป

::::::::::::::::::::

       
แม้ปัจจุบัน...ฟูจิจะเน้นการผลิตไปที่กล้องดิจิตัล เครื่องปรินท์เตอร์ และเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ฟูจิยังก็ยืนยันที่จะผลิตฟิล์มต่อไป แม้ว่ายอดจำหน่ายจะมีเพียงแค่ร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทเท่านั้น
       
แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่า คือ การขยายไปยังปริมณฑลใหม่ ๆ ทางธุรกิจโดยฟูจิพยายามถามตัวเอง ว่าอะไรคือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่ตนมี 

หนึ่งในนั้น คือ...การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางเคมีชั้นยอด ที่แต่เดิมใช้กับภาพถ่าย ไปใช้กับ ผิวพรรณ ก่อเกิดเป็นธุรกิจความงามขึ้นมา
       
ฟูจิร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพอย่าง Astalift ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำด้านความงามชื่อดังของญี่ปุ่น เมื่อ 5 ปีก่อน 

ล่าสุด...ฟูจิยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Mitsubishi Corporation เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์ เพื่อขยายธุรกิจจากการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีภาพถ่ายและเครื่องถ่ายเอกสาร ไปสู่วงการเวชภัณฑ์อีกด้วย
       
อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชะตากรรมของฟูจิ แตกต่างจากโกดัก? 

และบทเรียนจากฟูจิ ให้แรงบันดาลใจอะไร กับบริษัทในธุรกิจที่ล่อแหลมต่อการล่มสลายบ้าง?

::::::::::::::::::

       
• บทวิเคราะห์
       
ในที่สุดโกดักก็ถึงกาลล้มละลาย ปิดตำนาน 131 ปีของบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยมีสถานะเท่าเทียมกับ Google และ Apple ในปัจจุบัน
       
แต่ทว่าไม่ได้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการการเติบโตของกล้องดิจิตอลและสมาร์ทโฟน จนกระทั่งทำลายธุรกิจฟิล์มซึ่งเป็นธุรกิจหลักนั้นไม่ได้มีเพียงโกดักเท่านั้น ฟูจิซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญก็ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ด้วยเช่นกัน
       
แล้วทำไมฟูจิถึงยังรุ่งเรืองอยู่ได้ ขณะที่โกดักต้องล้มละลาย... นี่เป็นคำถามที่หลายคนยังสงสัยอยู่
       
ผู้บริหารฟูจิมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างจากผู้บริหารโกดัก ที่คิดว่าฟิล์มจะคงอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง นั่นคือไม่ตกลงเป็นรูปตัววีอย่างแน่นอน ดังนั้นโกดักคงคิดว่าจะเก็บเกี่ยวไปได้นานพอดู 

แต่ฟูจิคิดว่าท้ายที่สุดแล้ว ดิจิตอลต้องมากินเนื้อฟิล์มอย่างแน่นอนและรวดเร็วด้วย
       
ผู้นำฟูจิจึงมี Sense of Urgency มากกว่าโกดัก เพราะเห็นเทรนด์ดิจิตอลพร้อม ๆ กัน แต่เชื่อว่าตลาดฟิล์มจะสูญพันธุ์อย่างเร็ว

 ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะฟิล์มเป็นธุรกิจหลัก ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและสร้างธุรกิจใหม่ทันท่วงที ชะตากรรมก็คงไม่พ้นล้มละลาย
       
เมื่อมีสำนึกแห่งความเร่งรีบแล้ว ฟูจิรู้ว่าอะไรที่ควรต้องทำและต้องทำทันทีไม่อาจรอช้าได้ แม้แต่วินาทีเดียว นั่นคือการเก็บเกี่ยวจากธุรกิจฟิล์มให้เร็วที่สุดและมากที่สุด จากนั้น Diversify ออกนอกธุรกิจฟิล์มเพราะเชื่อว่าในที่สุดฟิล์มจะหมดอนาคตอย่างแน่นอน 
       
นั่นคือการตั้งคำถามว่าความเชี่ยวชาญที่ฟูจิมีนั้นจะขยายไปสู่ธุรกิจใดได้บ้างที่มีศักยภาพและ ด้วยวิธีใด

::::::::::::::::::

       
ความเชี่ยวชาญของฟูจิเกี่ยวกับเคมี สามารถนำไปประยุกต์กับธุรกิจเครื่องสำอางค์ ฟูจิจึงขยายไปสู่ธุรกิจเครื่องสำอางค์

 และยังขยายไปสู่ธุรกิจฟิล์มที่เคลือบหน้าจอแอลซีดี ซึ่งทำให้สามารถมองภาพจากด้านข้างได้ 

จากนั้นก็ขยายเข้าไปสู่ Medical Imaging equipment business โดยเข้าไปซื้อบริษัทหลายบริษัทที่อยู่ในเซ็กเตอร์นี้
       
การอยู่รอดของฟูจิคือการมองการณ์ไกล และสำนึกแห่งความเร่งรีบของผู้นำองค์กร ที่เมื่อเห็นภัยอันตรายจาก Disruptive Technology แล้ว ก็ไม่อยู่นิ่งเฉย เปลี่ยนวิสัยทัศน์และ กลยุทธ์องค์กรอย่างรีบด่วน
       
ขณะที่โกดักปรับตัวช้าเกินไป และอ่านสถานการณ์ไม่ขาด ยังคิดว่่าฟิล์มยังคงอยู่ได้อีกระ ยะหนึ่ง การขยายตัวไปสู่ธุรกิจช้าและไม่ประสบความสำเร็จ
       
และทั้ง ๆ ที่โกดักเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดิจิตอลเป็นรายแรก กลับไม่เอาจริงเอาจังกับ มันเท่าที่ควร เพราะกลัวว่าดิจิตอลจะมากินเนื้อฟิล์มซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ทำรายได้ดี
       
แต่สุดท้ายมันก็เข้ามากินจริง ๆ ผลก็คือต้อง...ล้มละลาย!

::::::::::::::::::


Credit : อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย


#Life101Page #โกดักvsฟูจิ
» ทำไมฟูจิอยู่ได้ ขณะที่โกดักล้มละลาย !! โดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย

ในขณะที่แบรนด์ยักษ์ระดับตำนานของโลก อย่างโกดักกำลังจะถึงกาลอวสาน คู่ปรับ คู่ชก คู่แข่งตัวฉกาจ จากอีกซีกหนึ่งของโลก อย่าง ฟูจิ กลับรุ่ง พุ่งทะยาน ตรงข้ามอย่างน่าฉงน?!?! ไฉนเลยจึงลงเอยเช่นนี้หนอออ

ทั้งคู่ อยู่ในธุรกิจฟิล์มถ่ายรูป เผชิญคลื่นยักษ์ของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปสู่ดิจิตอล 


ในทศวรรษ 1980 ฟูจิเริ่มเชื่อว่า การเป็นบริษัทระดับโลกไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน ฟูจิได้วางเป้าที่จะมี World Class FUJIFILM status

ในอีกด้านหนึ่ง...ฟูจิก็ได้เป็นหนึ่งในผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอล ที่นำไปประยุกต์ใช้กับภาพถ่าย การแพทย์ และการพิมพ์ กระแสดิจิตอลที่คืบคลานมาเรื่อย ๆ ทำให้ฟูจิรู้ดีว่า หากนิ่งเฉยเสีย เห็นทีอนาคตจะร่วง

ในปี 2006 ฟูจิตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการใหม่ ด้วยการก่อตั้งบริษัท FUJIFILM Holdings Corporation ขึ้นมา เพื่อรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไป

::::::::::::::::::::


แม้ปัจจุบัน...ฟูจิจะเน้นการผลิตไปที่กล้องดิจิตัล เครื่องปรินท์เตอร์ และเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ฟูจิยังก็ยืนยันที่จะผลิตฟิล์มต่อไป แม้ว่ายอดจำหน่ายจะมีเพียงแค่ร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทเท่านั้น

แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่า คือ การขยายไปยังปริมณฑลใหม่ ๆ ทางธุรกิจโดยฟูจิพยายามถามตัวเอง ว่าอะไรคือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่ตนมี 

หนึ่งในนั้น คือ...การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางเคมีชั้นยอด ที่แต่เดิมใช้กับภาพถ่าย ไปใช้กับ ผิวพรรณ ก่อเกิดเป็นธุรกิจความงามขึ้นมา

ฟูจิร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพอย่าง Astalift ที่เป็นแบรนด์ชั้นนำด้านความงามชื่อดังของญี่ปุ่น เมื่อ 5 ปีก่อน 

ล่าสุด...ฟูจิยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Mitsubishi Corporation เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์ เพื่อขยายธุรกิจจากการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีภาพถ่ายและเครื่องถ่ายเอกสาร ไปสู่วงการเวชภัณฑ์อีกด้วย

อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชะตากรรมของฟูจิ แตกต่างจากโกดัก? 

และบทเรียนจากฟูจิ ให้แรงบันดาลใจอะไร กับบริษัทในธุรกิจที่ล่อแหลมต่อการล่มสลายบ้าง?

::::::::::::::::::


• บทวิเคราะห์

ในที่สุดโกดักก็ถึงกาลล้มละลาย ปิดตำนาน 131 ปีของบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยมีสถานะเท่าเทียมกับ Google และ Apple ในปัจจุบัน

แต่ทว่าไม่ได้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการการเติบโตของกล้องดิจิตอลและสมาร์ทโฟน จนกระทั่งทำลายธุรกิจฟิล์มซึ่งเป็นธุรกิจหลักนั้นไม่ได้มีเพียงโกดักเท่านั้น ฟูจิซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญก็ตกอยู่ในสถานการณ์นี้ด้วยเช่นกัน

แล้วทำไมฟูจิถึงยังรุ่งเรืองอยู่ได้ ขณะที่โกดักต้องล้มละลาย... นี่เป็นคำถามที่หลายคนยังสงสัยอยู่

ผู้บริหารฟูจิมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างจากผู้บริหารโกดัก ที่คิดว่าฟิล์มจะคงอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง นั่นคือไม่ตกลงเป็นรูปตัววีอย่างแน่นอน ดังนั้นโกดักคงคิดว่าจะเก็บเกี่ยวไปได้นานพอดู 

แต่ฟูจิคิดว่าท้ายที่สุดแล้ว ดิจิตอลต้องมากินเนื้อฟิล์มอย่างแน่นอนและรวดเร็วด้วย

ผู้นำฟูจิจึงมี Sense of Urgency มากกว่าโกดัก เพราะเห็นเทรนด์ดิจิตอลพร้อม ๆ กัน แต่เชื่อว่าตลาดฟิล์มจะสูญพันธุ์อย่างเร็ว

ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะฟิล์มเป็นธุรกิจหลัก ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและสร้างธุรกิจใหม่ทันท่วงที ชะตากรรมก็คงไม่พ้นล้มละลาย

เมื่อมีสำนึกแห่งความเร่งรีบแล้ว ฟูจิรู้ว่าอะไรที่ควรต้องทำและต้องทำทันทีไม่อาจรอช้าได้ แม้แต่วินาทีเดียว นั่นคือการเก็บเกี่ยวจากธุรกิจฟิล์มให้เร็วที่สุดและมากที่สุด จากนั้น Diversify ออกนอกธุรกิจฟิล์มเพราะเชื่อว่าในที่สุดฟิล์มจะหมดอนาคตอย่างแน่นอน 

นั่นคือการตั้งคำถามว่าความเชี่ยวชาญที่ฟูจิมีนั้นจะขยายไปสู่ธุรกิจใดได้บ้างที่มีศักยภาพและ ด้วยวิธีใด

::::::::::::::::::


ความเชี่ยวชาญของฟูจิเกี่ยวกับเคมี สามารถนำไปประยุกต์กับธุรกิจเครื่องสำอางค์ ฟูจิจึงขยายไปสู่ธุรกิจเครื่องสำอางค์

และยังขยายไปสู่ธุรกิจฟิล์มที่เคลือบหน้าจอแอลซีดี ซึ่งทำให้สามารถมองภาพจากด้านข้างได้ 

จากนั้นก็ขยายเข้าไปสู่ Medical Imaging equipment business โดยเข้าไปซื้อบริษัทหลายบริษัทที่อยู่ในเซ็กเตอร์นี้

การอยู่รอดของฟูจิคือการมองการณ์ไกล และสำนึกแห่งความเร่งรีบของผู้นำองค์กร ที่เมื่อเห็นภัยอันตรายจาก Disruptive Technology แล้ว ก็ไม่อยู่นิ่งเฉย เปลี่ยนวิสัยทัศน์และ กลยุทธ์องค์กรอย่างรีบด่วน

ขณะที่โกดักปรับตัวช้าเกินไป และอ่านสถานการณ์ไม่ขาด ยังคิดว่่าฟิล์มยังคงอยู่ได้อีกระ ยะหนึ่ง การขยายตัวไปสู่ธุรกิจช้าและไม่ประสบความสำเร็จ

และทั้ง ๆ ที่โกดักเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดิจิตอลเป็นรายแรก กลับไม่เอาจริงเอาจังกับ มันเท่าที่ควร เพราะกลัวว่าดิจิตอลจะมากินเนื้อฟิล์มซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ทำรายได้ดี

แต่สุดท้ายมันก็เข้ามากินจริง ๆ ผลก็คือต้อง...ล้มละลาย!

::::::::::::::::::


Credit : อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย


ความเห็น

[1]


(ID:160083)
หึหึหึหึหึ...

Bookmark ไว้ก่อน มีเวลาเดี๋ยวค่อยมาโพสต์บ้างครับ



(ID:160160)
ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ

จากบทความนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ธุรกิจของฟิล์มทั้งสองแบรนด์เท่านั้น แต่กำลังจะได้เห็นในธุรกิจประเภทอื่นทั้งในบ้านเรา และในต่างประเทศ ทั้งที่ยังอยู่ในเริ่มต้น อยู่ในวงแคบๆ ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ๆ กว่าจะเป็นที่นิยม กับอีกบางประเภทก็เดินหน้าไปแล้ว

ผมชอบประโยคหนึ่งจากคุณเล็ก วงศ์สว่าง ที่กล่าวว่า "ถ้าไม่ริ แล้วใครจะเริ่ม" ผมว่ายังใช้ได้ในสถานการณ์แบบนี้

เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มทำหนังสือเพลง และใส่คอร์ดกีตาร์ ในชื่อ I.S. SONG HITS (หรือ "เดอะ กีตาร์" มั้ง) เป็นรายแรก ทั้งๆ ที่เขายังจัดรายการวิทยุอยู่ และเป็นเพลงสากลด้วยนะครัีบ กระทั่งเพลงสตริงได้รับความนิยมก็ขยายงานเพื่อต่อยอดออกไป จนกลายเป็นสำนักพิมพ์วงศ์สว่างในที่สุด และมีหนังสืออื่นๆ ในเครืออีกหลายหัว อย่าง ศาลาคนเศร้า และ "ทะลึ่ง"

พอหนังสือเริ่มบูม ก็มีเจ้าอื่นผลิตหนังสือเพลงตามมาอีกเพียบ

นี่ก็คือตัวอย่างหนึ่ง ลองเอาบทความ และตัวอย่างที่ผมยกมานั้น ไปปรับใช้กันครับ



เลือกหน้า
[1]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 2

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116951235 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Sallycgriet , BrianerpGep , AnthonykDraib , Kristenmswony , Edwinjophorie , Stanley , RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap ,