Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ตำนานนักพากย์ผู้ยิ่งใหญ่เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ก่อนเข้าเรื่อง "คุยเฟื่องเรื่องนักพากย์" ของ "ชัยเจริญ"49510ยังไม่มีคนตอบ
-เรียน คุณลุงชัยเจริญ ดวงพัตรา (นักพากย์ภาคใต้)53417.. 21/10/2552 9:58
-คุณปราศรัย กีรกะจินดา56741.. 11/9/2552 13:58
-จาก...ผู้เชี่ยวชาญการทำ Sub. ของภาพยนตร์ทางเคเบิลทีวี58571.. 19/8/2552 8:53
-ให้เสียงภาษาไทยโดย "พันธมิตร"55575.. 18/8/2552 19:48
-พี่โต๊ะ พันธมิตรและลุงศุภชัยมาเยี่ยมอุดร 30 พค. 2552660222.. 7/8/2552 18:35
-อุตสาหกรรมหนังไทย847134.. 7/8/2552 18:09
-ทีมพากย์ในดวงใจ2034842.. 7/8/2552 17:58
-การพากย์ภาพยนตร์ในประเทศเยอรมัน768421.. 6/7/2552 12:58
-เรียน tongkonrukluktung45013.. 6/7/2552 12:30
-จาก "สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย"59132.. 9/6/2552 11:57
-คลิป นักพากย์ ในวันงาน thaicine ฌ โรงภาพยนตร์ BMC ดาวคะนอง วันที่ 17 พ.ค. ครับ47615.. 23/5/2552 18:19
-เยี่ยมบ้านนักพากย์หนังรุ่นใหญ่49157.. 18/5/2552 19:29
-การพากย์หนัง (โดย รศ. ดร. ปราณี ศิริจันทพันธ์)510210.. 11/5/2552 9:21
-หารูปทีมภาคของพันธมิตรมาลงมั่งซิครับ1063323.. 11/5/2552 9:17
-ศัพท์ภาพยนตร์1367737.. 11/5/2552 8:51
เลือกหน้า
[<<] [16] [17]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 265

(ID:2561) อุตสาหกรรมหนังไทย






 



 



บทความข้างล่างนี้ได้มาจาก...



"สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย" (Film Versionist Association).



 



 



เรื่อง   อุตสาหกรรมหนังไทย



 



หนังเงียบต้องหลีกทางให้หนังเสียง  โดยค่อย ๆ เลือนหายไปทั้งโลก  การมาแทนที่ของหนังเสียงก็ก่อปัญหา



 



เพราะผู้ชมส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าใจภาษาพูดอื่นใด นอกจากภาษาไทย 



 



แต่ไม่ทันไรก็มีบุคคลได้คิดทางออก



 



โดยการแปลบทพูดในหนังเป็นไทยและพูดเสียงผ่านไมโครโฟนทับไปขณะกำลังฉายในโรง



 



ซึ่งคล้ายกับการพากย์โขน



 



นายสิน สีบุญเรือง  เป็นผู้คิดดัดแปลงและทดลอง 


 


โดยเขาเป็นผู้พากย์ภาพยนตร์เสียงด้วยตัวเองคนเดียว



 



ซึ่งต้องทำทั้งเสียงผู้ชายและผู้หญิง  เด็กและคนแก่  



 



ต้องร้องไห้  



 



ต้องหัวเราะ  



 



ต้องโกรธ  



 



ต้องร้องเพลง



 



เป็นไปตามบทในหนัง



 



 



แม้กระทั่งบางครั้งต้องทำเสียงประกอบอื่น ๆ  เช่น



 



เสียงสัตว์



 



เสียงรถยนต์



 



เสียงปืน



 



กลายเป็นสิ่งที่ผู้ชมชื่นชอบอย่างยิ่ง  ทำให้เกิดอาชีพ  "นักพากย์ภาพยนตร์" 



 



 



 



จากนักพากย์เดี่ยวผู้ชาย ไปเป็นการพากย์เป็นคณะชาย - หญิง



 



 



/  รัชกาลที่ 7...



 







ความเห็น

[1] [2]


(ID:25470)


 


รัชกาลที่ 7  ทรงเป็นแฟนหนังโดยแท้  โดยเฉพาะหนังฮอลลีวู้ด  ทรงจัดให้มีห้องฉายภาพยนตร์ทุกแห่ง 


 


แม้แต่ในเรือพระที่นั่งยามที่ประพาสทางทะเลนานวัน เพื่อทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นประจำ

ทุกคืนวันพุธและวันเสาร์


 


 


นอกจากนั้น ยังโปรดการถ่ายทำภาพยนตร์อย่างสมัครเล่น ซึ่งไม่เป็นรองใครในโลก 


 


พระราชนิยมนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วงการภาพยนตร์ในรัชสมัยของพระองค์เข้มแข็งคึกคักยิ่ง


 


พระบรมราชินี  พระบรมวงศานุวงศ์  ตลอดจนข้าราชบริพาร


 


ต่างพากันนิยมเล่นถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็กโดยเฉพาะ  16  มิลลิเมตร (มม.)


 


 


 


/ ในปี พ.ศ. 2473 ...


 





(ID:25471)

 

 

ในปี พ.ศ. 2473  โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่น 

 

เพื่อเป็นศูนย์กลางของนักภาพยนตร์สมัครเล่น

 

และเป็นที่แลกเปลี่ยนและจัดฉายหนังของสมาชิก 

 

พระองค์น่าจะมีส่วนในการผลักดัน  จนรัฐบาลสามารถออกพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473

 

อันเป็นกฎหมายควบคุมตรวจตรา หรือเซ็นเซอร์ภาพยนตร์  และยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

 

 

/  เหตุการณ์...




(ID:25511)




 



 



เหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งในรัชสมัยของพระองค์ คือ...



 



ปี พ.ศ. 2475  ราชวงศ์จักรีมีอายุยั่งยืนมาถึง  150  ปี  



 



ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ  

และอีกอย่างหนึ่งคือ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง



 



และโปรดฯ ให้จัดตั้ง  บริษัท สหศีนิมา จำกัด  ให้เป็นบริษัททำธุรกิจค้าภาพยนตร์



 



ซึ่งในระหว่างที่กำลังจัดตั้งบริษัทอยู่นั้น    สยามภาพยนตร์ ... บริษัทยักษ์ใหญ่



 



กำลังประสบปัญหาขาดทุนจากเศรษฐกิจตกต่ำ



 



ถึงต้องขายทอดกิจการให้แก่ บริษัท สหศีนิมา  จำกัด



 



ทำให้บริษัทใหม่นี้ได้กลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ในกิจการค้าภาพยนตร์



 



 



/ กิจการ...







(ID:25513)

 

 

กิจการค้าภาพยนตร์และจัดฉายหนัง ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในระบอบราชาธิปไตยเกือบสิ้นเชิง

 

สืบเนื่องไปจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2   และต่อไปจนสิ้นสงคราม

 

 

/ คณะพี่น้องวสุวัต...




(ID:25514)


 


 


คณะพี่น้องวสุวัตได้หันไปสนใจบุกเบิกการสร้างหนังเสียงในฟิล์ม  ผลิตหนังเสียงในฟิล์ม 


 


นำออกฉายได้ในปี พ.ศ. 2473


 


โดยใช้ชื่อกิจการว่า  ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง    

 

หนังเรื่องยาวเสียงในฟิล์มหรือหนังไทยพูดได้เรื่องแรกคือ


 


"หลงทาง"


 


ออกฉาย พ.ศ. 2475


 


 


ปี พ.ศ. 2475  นับเป็นปีแห่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสยามและเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดก็คือ


 


เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง...


 


จากระบอบราชาธิปไตย ... เป็นประชาธิปไตย


 


 


/  พี่น้องวสุวัต...





(ID:25515)


 


 


พี่น้องวสุวัต ซึ่งมีความสัมพันธ์วงในค่อนข้างใกล้ชิดกับคณะราษฎร์ผู้ทำการปฏิวัติ


 


จึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ถ่ายทำหนังบันทึกเหตุการณ์สำคัญนี้


 


ต่อมารัฐบาลใหม่ได้จัดตั้งกรมโฆษณาการและตั้งแผนกภาพยนตร์ขึ้นในกรมนี้


 


ทำหน้าที่เป็นหน่วยผลิตภาพยนตร์ของรัฐบาล 


 


ในขณะเดียวกันก็ยุบเลิกกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวในกรมรถไฟหลวง


 


ซึ่งเป็นหน่วยผลิตภาพยนตร์ของรัฐบาลราชาธิปไตย


 


 


 


หลวงกลการเจนจิตแห่งพี่น้องสุวัต ยังคงได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลใหม่

 

ให้เป็นหัวหน้าแผนกภาพยนตร์ของกรมโฆษณาการ


 


 


/  บริษัท...





(ID:25517)


 


บริษัท ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง   ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลใหม่ 


 


ก็สามารถจัดสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขนาดเล็ก แต่สมบูรณ์แบบขึ้นกลางทุ่งนาชานเมืองกรุงเทพฯ


 


เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตและพัฒนาภาพยนตร์เสียงที่สำคัญของสยาม


 


 


จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง...จึงหยุดชะงักลง


 


 


/ พ.ศ. 2470 - 2475...





(ID:25518)

 

พ.ศ. 2470 - 2475  ล้วนเป็นผู้สร้างหนังเงียบซึ่งทุนไม่มาก  และไม่ต้องใช้โรงถ่ายตลอดจนอุปกรณ์ที่ยุ่งยาก

 

ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นการสร้างหนังเสียงในฟิล์มได้ 

 

การกำเนิดการพากย์ภาพยนตร์

โดย

"ทิดเขียว"

ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

 

โดยมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยพากย์ขึ้นแทนหนังเสียงในฟิล์ม

 

ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมไม่แพ้หนังเสียง  และดูเหมือนจะถูกใจผู้ชมชาวบ้านได้ดีกว่าหนังเสียงเสียอีก

 

 

/ กิจการ...




(ID:25519)


 


 


กิจการสร้างภาพยนตร์บันเทิงของสยาม จึงแตกออกเป็นสองแนวทาง  คือ


 


หนังเสียงในฟิล์มและหนังพากย์


 

 

 


 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480  มีผู้จัดสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขึ้นอีกรายหนึ่งในกรุงเทพฯ  คือ 


 


บริษัทไทยฟิล์ม


 


ซึ่งเป็นการรวมทุนของผู้มีทุนทรัพย์และเป็นนักเรียนนอก 


 


ดำเนินกิจการอยู่ได้เพียงสามปีก็ต้องเลิก  และขายโรงถ่ายให้รัฐบาลในปี พ.ศ. 2484 


 


ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลมีนโยบายชาตินิยม ประสงค์ที่จะสร้างภาพยนตร์เพื่อ การโฆษณาชวนเชื่อ


 


ส่วนการสร้างภาพยนตร์พากย์นั้น มีผู้สร้างเกิดขึ้นหลากหลาย  ไม่มีการจัดตั้งเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการ


 


 


/  เมื่อกองทัพ...





(ID:25566)

 

เมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ในวันที่  8  ธันวาคม  พ.ศ. 2484

ประเทศไทยก็เข้าสู่ภาวะสงคราม

กิจการโรงหนังทั่วประเทศประสบปัญหาขาดแคลนหนัง เพราะไม่มีการค้าขายกับประเทศสัมพันธมิตร

 

 

เมื่อไม่มีหนังจากฮอลลีวู้ด จึงต้องนำหนังที่มีอยู่ออกฉายหมุนเวียนซ้ำแล้วซ้ำอีก

แม้ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบริษัทจำหน่ายภาพยนตร์ชื่อ...

 

เองะ ไฮคิวชะ ...ในกรุงเทพฯ

 

เพื่อนำภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อการสงครามของญี่ปุ่นและของนาซีเยอรมันบ้าง มาป้อนโรงหนังในไทย

 

แต่ก็ไม่อาจทดแทนภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดได้

 

 

/ รัฐบาล...




(ID:25567)

 

 

รัฐบาลได้จัดให้มีการแสดงดนตรีและระบำสลับการฉายหนัง  เพื่อบำรุงขวัญพลเมืองไม่ให้โรงหนังต้องหยุดกิจการ

กิจการละครเวทีซึ่งเคยเฟื่องฟูคู่กับภาพยนตร์ในยุคหนังเงียบ ก็ได้โอกาสกลับมาลงโรงอีกบ้าง

 

แต่ช่วงปลายสงคราม คือปี พ.ศ. 2486 - 2487    กรุงเทพฯ ตกเป็นเป้าโจมตีทางอากาศ

หนังขึ้นโรงหนังต่างต้องหยุดกิจการเกือบสิ้นเชิง

 

 

/ สงคราม...




(ID:25568)

 

 

สงครามทำให้เกิดการขาดแคลนฟิล์มและสารเคมี 

ประกอบกับปี พ.ศ. 2485 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ ทำให้ต้องหยุดกิจการจนตลอดสงคราม

 

/ สงครามโลก...




(ID:25569)

 

 

สงครามโลกครั้งที่ 2   กิจการภาพยนตร์ค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมาพร้อมกับการเริ่มต้นยุครัชกาลที่ 9

ไทยเลือกไปมีความสัมพันธ์อันดียิ่งกับสหรัฐอเมริกา

ทำให้ประเทศเริ่มตกอยู่ใต้อิทธิพลของมหามิตรสหรัฐอเมริกา

 

หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ได้เข้าช่วยเหลือ

และการลงทุนหนึ่งในธุรกิจ หรือบริษัทแรก ๆ ที่เข้าสู่ประเทศ คือ...

บริษัทตัวแทนจำหน่ายหนังจากฮอลลีวู้ด ซึ่งเข้ามาจับกลุ่มกันอยู่ในกรุงเทพฯ

โรงหนังเริ่มเกิดขึ้นอีก  และยังมีบริษัทตัวแทนจำหน่ายหนังจากประเทศอื่น ๆ เช่น...

 

---  ญี่ปุ่น

---  ไต้หวัน

---  ฮ่องกง

---  อินเดีย

และประเทศในยุโรป

 

 

 

/  ผู้สร้างอิสระ...

 

 




(ID:25571)

 

ผู้สร้างอิสระรายเล็กรายน้อย สามารถฟื้นคืนกลับมาได้  ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นหนังขนาด 16 มิลลิเมตรแทน

และใช้วิธีพากย์สดขณะฉายในโรง

กิจการสร้างหนังไทย จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

วิธีการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จ คือ...

 

การจัดรถยนต์ฉายหนังเคลื่อนที่

 

นำหนังขนาด  16  มิลลิเมตร  และสินค้าของตนไปจัดฉาย

ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชานเมืองกรุงเทพฯ ไปจนถึงหมู่บ้านทุรกันดาร

ชาวบ้านจึงเรียกกิจการฉายหนังแบบนี้ว่า...

หนังขายยา

 

 

ความสำเร็จของ หนังขายยา ทำให้มีผู้คิดทำกิจการ หนังกลางแปลง ในรูปแบบอื่น คือ...

 

การทำกิจการหนังเร่

 

ซึ่งหมายความว่า นำภาพยนตร์ไปตั้งจอฉายกลางแปลง แต่มีการล้อมรั้วผ้าหรือใบไม้

เพื่อเก็บค่าเข้าชม

 

หนังเร่ ยังหมายถึง กิจการหนังกลางแปลง ซึ่งเจ้าภาพเหมาให้ไปฉายในงานทางสังคมต่าง ๆ

 

 

/ สำหรับ...




(ID:25648)

 

 

สำหรับกิจการสร้างภาพยนตร์ของรัฐนั้น  สหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงในรัฐบาลไทย

มีการจัดตั้งสำนักข่าวสารอเมริกันหรือยูซิส ขึ้นในกรุงเทพฯ

มีบทบาทเสมือนเป็นศูนย์กลางโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไทยภายใต้การกำกับสหรัฐฯ

ทั้งยังจัดตั้งแผนกภาพยนตร์ขึ้นในสำนักงาน

หน่วยราชการเกือบทุกหน่วยจะได้รับบริจาคอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือภาพยนตร์  16  มิลลิเมตร (มม.)

 

 

/  ปี พ.ศ. 2497...




(ID:25649)

 

 

ปี พ.ศ. 2497   รัตน์ เปสตันยี  นักถ่ายภาพและภาพยนตร์สมัครเล่น

ได้ลงทุนตั้งบริษัท หนุมานภาพยนตร์  และสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขึ้นในถนนวิทยุ

โดยตั้งใจจะผลิตหนังไทยเสียงในฟิล์ม  35  มิลลิเมตร

 

เขาได้สร้างหนังเรื่องแรกของบริษัท  คือ ...

 

"สันติ - วีณา"

 

เป็นภาพยนตร์สี - เสียงในฟิล์ม  ส่งเข้าร่วมงานประกวดภาพยนตร์แห่งเอเชียอาคเนย์ครั้งแรก

ที่โตเกียวในปีนั้น  ได้รับรางวัลด้านการถ่ายภาพกำกับศิลป์ 

และรางวัลพิเศษจากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา

 

 

/  ในระยะนี้...




(ID:25651)

 

 

ในระยะนี้รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม  ได้หันไปสนใจสื่ออย่างใหม่ของโลก  คือ...

 

โทรทัศน์

 

และสามารถจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศและภูมิภาคได้ในปี พ.ศ. 2498  ที่บางขุนพรหม

แต่ก็มิได้ละทิ้งภาพยนตร์แต่อย่างใด  โดยเฉพาะเมื่อหนังไทยได้รับรางวัลจากการประกวดเป็นครั้งแรก

รัฐบาลพยายามที่จะจัดตั้ง...

 

เมืองภาพยนตร์แบบฮอลลีวู้ดที่บางแสน

 

โดยการรวมบริษัทผู้สร้างที่ตั้งใจผลิตภาพยนตร์มาตรฐานเข้าด้วยกัน

แต่ได้เกิดการรัฐประหาร  โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐ 

 

----- โครงการจึงล้มไป -----

 

 

 

/ ประเทศไทย...




(ID:25652)

 

ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ

จอมพลสฤษดิ์  จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2502

รัฐบาลไทยผูกพันใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามากขึ้นไปอีก  สหรัฐได้ทุ่มความช่วยเหลือเข้ามาอย่างขนานใหญ่

โดยเฉพาะการเร่งรัดพัฒนาชนบทเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ 

รัฐบาลได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม    ฉบับที่ 1    พ.ศ. 2505

 

 

/ กิจการภาพยนตร์...




เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 33

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116948868 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Stanley , RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap , LavillKer , Maciedetpailt , BobbyHOm , Sallycgriet , CarolyncJuh ,