Mobile Version / สำหรับโทรศัพท์มือถือ ยินดีต้อนรับท่านผู้มาเยือน www.peoplecine.com ท่านยังไม่ได้ log in นะครับ เข้าใช้งานระบบ / สมัครสมาชิก/ ลืมรหัสผ่าน

ประธานกรรมการ :ปวีณ เขื่อนแก้ว
เวบมาสเตอร์:อนุกูล วิมูลศักดิ์ 084-819-7374,095-308-6840


= ภายใน24ชั่วโมง , = ภายใน 3 วัน = ทั่วไป , = คลาส2 , = คลาส3 ,
รูป
ตำนานนักพากย์ผู้ยิ่งใหญ่เจ้าของ อ่าน ตอบ ผู้ตอบหลังสุด
-ก่อนเข้าเรื่อง "คุยเฟื่องเรื่องนักพากย์" ของ "ชัยเจริญ"49520ยังไม่มีคนตอบ
-เรียน คุณลุงชัยเจริญ ดวงพัตรา (นักพากย์ภาคใต้)53427.. 21/10/2552 9:58
-คุณปราศรัย กีรกะจินดา56741.. 11/9/2552 13:58
-จาก...ผู้เชี่ยวชาญการทำ Sub. ของภาพยนตร์ทางเคเบิลทีวี58571.. 19/8/2552 8:53
-ให้เสียงภาษาไทยโดย "พันธมิตร"55575.. 18/8/2552 19:48
-พี่โต๊ะ พันธมิตรและลุงศุภชัยมาเยี่ยมอุดร 30 พค. 2552660322.. 7/8/2552 18:35
-อุตสาหกรรมหนังไทย847234.. 7/8/2552 18:09
-ทีมพากย์ในดวงใจ2034842.. 7/8/2552 17:58
-การพากย์ภาพยนตร์ในประเทศเยอรมัน768421.. 6/7/2552 12:58
-เรียน tongkonrukluktung45013.. 6/7/2552 12:30
-จาก "สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย"59132.. 9/6/2552 11:57
-คลิป นักพากย์ ในวันงาน thaicine ฌ โรงภาพยนตร์ BMC ดาวคะนอง วันที่ 17 พ.ค. ครับ47615.. 23/5/2552 18:19
-เยี่ยมบ้านนักพากย์หนังรุ่นใหญ่49157.. 18/5/2552 19:29
-การพากย์หนัง (โดย รศ. ดร. ปราณี ศิริจันทพันธ์)510210.. 11/5/2552 9:21
-หารูปทีมภาคของพันธมิตรมาลงมั่งซิครับ1063423.. 11/5/2552 9:17
-ศัพท์ภาพยนตร์1367737.. 11/5/2552 8:51
เลือกหน้า
[<<] [16] [17]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 265

(ID:2722) การพากย์ภาพยนตร์ในประเทศเยอรมัน



 


บทความข้างล่างนี้ได้มาจาก...


"สมาคมนักพากย์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย" (Film Versionist Association).


 


 


การพากย์ภาพยนตร์มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน  แต่วิธีที่นิยมกันในวงการภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ เยอรมัน


ก็คือ  ,,post-synchronization"    วิธีการนี้จะเริ่มต้นด้วยการแยกฉากออกจากเสียงก่อน


ซึ่งทั้งคู่จะถูกนำกลับมาผนวกกันอีกครั้งในภายหลังที่ถูกนำไปใส่เสียงในเวอร์ชั่นที่แปลและเสียงประกอบอื่น ๆ เรียบร้อยแล้ว


 


 


/  อย่างไรก็ตาม...


 




ความเห็น

[1] [2]


(ID:26708)

 

อย่างไรก็ตาม  ก่อนขั้นตอนของการเริ่มอัดเสียงพากย์ในสตูดิโอที่ค่อนข้างยุ่งยาก

 

ขั้นตอนการเตรียมการ หรือการนำบทภาพยนตร์นั้น ๆ มาแปลภาษาเยอรมัน...นี่ก็สำคัญ

มีความยุ่งยากและใช้เวลานานไม่แพ้กัน  ซึ่งโดยปกติแล้วที่เยอรมันจะแปลบทภาพยนตร์นำเข้านี้ถึงสามขั้นด้วยกัน  ดังนี้

 

 

/  ขั้นแรก...

 




(ID:26709)

 

ขั้นแรก

 

เป็นการนำบทภาพยนตร์มาแปลทำการแปลแบบดิบ ๆ ตามตัวอักษรก่อน  โดยจะยังไม่มีการปรับเปลี่ยน

หรือขัดเกลาใด ๆ ทั้งสิ้น  เรียกว่า  ,,Rohubersetzung"   และเรียกบทแปลในขั้นนี้ว่า  ,,preproduction-script"

 

บทแปลในขั้นนี้ถ้านำไปใช้อัดจริงในสตูดิโอเลย  การพากย์ก็จะออกมาแข็งทื่อ  ไม่เข้ากับบริบทจริง ๆ

หรือขาดความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในแต่ละฉาก 

นักพากย์เองก็ต้องประสบปัญหาบทแปลไม่เข้าหรือสอดคล้องกับท่าทางหรือปากของนักแสดง

ดังนั้น โดยปกติแล้วเยอรมันจะยังไม่ใช่บทแปลในขั้นนี้ในการพากย์

(แอบคิดว่า...ไอ้บทแปลในขั้นนี้แหละที่บ้านเราเอามาใช้...อิ อิ)
                   
                   
                   
                   
                   
                   
                   

แล้วแค่การแปลดิบ ๆ นี่...เขาก็ใช้เวลากันราว ๆ  2 - 6 วันแล้วนะครับ  ทำเป็นเล่น...

 

 

 

/  ขั้นที่สอง...




(ID:26710)

 

 

ขั้นที่สอง

 

ด้วยบทดิบ ๆ ดังกล่าวนี่ล่ะ  มันจะถูกนำมาแปลอีกครั้งหนึ่ง 

โดยมีการปรับปรุง  ขัดเกลา  และเลือกสรรคำให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  ท่าทาง  มือไม้  หน้าตา 

และที่สำคัญคือ  การขยับริมฝีปากของนักแสดงมากขึ้น

 

จะเป็นขั้นของการขจัดถ้อยคำ  เมโลดี้  และความไม่สอดคล้องต่าง ๆ กันทั้งหลายให้หมดไป

กลายเป็นบทแปลอีกขั้นที่เรียกว่า  Synchronbuch     หรือบางทีก็ใช้คำว่า  Synchronautor

 

ขั้นนี้ใช้เวลาอีกราว ๆ   10 วัน  หรือมากกว่านั้นตามความยาก - ง่ายของระดับภาษาที่ใช้ในแต่ละเรื่อง

 

 

 

/  ขั้นสุดท้ายของการแปล...




(ID:26717)











 





 





ขั้นสุดท้ายของการแปล





 





คือการขัดเกลาภาษาอีกครั้ง  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเวลานำไปฉายจริงในประเทศ (เยอรมัน)





เหตุผลที่ต้องมีขั้นนี้อีกก็เพราะประเด็นความแตกต่างทางด้าน...





 





---  การเมือง 




---  การปกครอง 




---  วัฒนธรรม 




---  พื้นฐานความคิด







และ อื่น ๆ อีกมากมายของคนดู





 




 




/  บางบทพากย์...














(ID:26721)

 

 

บางบทพากย์เลยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน  หรือบางครั้งต้องตัดออกไป

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบประเด็นละเอียดอ่อน   เช่น...

 

กรณีถ้อยคำในหนังบางเรื่อง  ในภาษา  หรือวัฒนธรรมนั้น ๆ  อาจเป็นคำธรรมดา

แต่สำหรับอีกภาษา  หรือในอีกวัฒนธรรมหนึ่งแล้ว กลับกลายเป็นคำไม่ดี

หรือมีลักษณะดูหมิ่นชนชาติ

 

 

ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือว่าค่อนข้างลำบากมาก จนบอกไม่ได้เลยว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่

เนื่องจากที่เยอรมัน...นี้ แม้จะยอมให้มีการปรับเปลี่ยนบทหรือเสียงบางอย่างได้

แต่เขาก็มีหลักที่ต้องยึดถือกันว่า...

 

"ต้นฉบับก็ควรคงความเป็นต้นฉบับไว้เสมอ"

(Das Original bleibt eben immer das Original)

 

กว่าจะจะผ่านขั้นนี้ไปได้...จึงต้องถกเถียงกันหลายวัน

 

 

/  หลังจากการแปลบท...




(ID:26722)


 


หลังจากการแปลบท ซึ่งก็หมดไปเกือบครึ่งเดือนแล้ว ก็เข้าสู่...การอัดเสียงพากย์ในสตูดิโอ (Synchronstudio) จริง ๆ


 


ปกติแล้วสตูดิโอจะประกอบไปด้วยคนทำหน้าที่หลายส่วน  กล่าวคือ...


 


---  นักพากย์ (Synchronsprecher)


---  ผู้กำกับการพากย์ (Synchronregisseur)


---  คนทำหน้าที่ฉายฉากแต่ละฉาก และคอยสั่งคัท (Cut)


 


และ


 


---  ผู้เชี่ยวชาญด้านการใส่เสียงเพลง และเสียงประกอบอื่น ๆ ในแต่ละฉาก (Toningenieur  หรือ  Tonmeister)


 


 


โดยปัจจุบัน...สตูดิโอพากย์ใหญ่ ๆ ก็มีอยู่ที่...


 


มิวนิค


ฮัมบวร์ก


โคโลนญ์


โพสดัม


และ      เบอร์ลิน


 


เท่านั้น


 


 


/  ในขั้นตอน...


 


 





(ID:26723)

 

ในขั้นตอนการพากย์

ฟิล์มภาพยนตร์...ซึ่งก่อนหน้านี้ จะมีฝ่ายหนึ่งนำไปเตรียมไว้  ด้วยการตัดแบ่งออกจากส่วนที่เรียกว่า  Cutter

ให้เล็กลงไปอีก...เรียกว่า  Takes  ซึ่งจะประกอบด้วยประโยคไม่เกินสองหรือสามประโยคเท่านั้น

จะถูกฉายมาจากห้องส่ง 

 

และด้วยเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่าย และข้อจำกัด

ในทางปฏิบัติ...ฉากแต่ละฉากมักไม่ได้ถูกพากย์ไปตามลำดับเนื้อเรื่อง 

แต่ฉากไหนจะถูกนำขึ้นมาพากย์ก่อนพากย์หลัง ล้วนขึ้นอยู่กับเวลาของนักพากย์ของฉากนั้น ๆ

 

 

/  ผู้กำกับการพากย์...




(ID:26750)

 

 

ผู้กำกับการพากย์นั้น  นอกจากต้องทำหน้าที่คอยกำกับให้การพากย์สอดคล้อง

กับความสามารถของนักแสดงแต่ละคนในฉากสั้น ๆ แต่ละฉากซึ่งก็ไม่ฉายเรียงลำดับกันด้วย 

แล้วยังมีหน้าที่สำคัญ คือ ต้องคอยกำกับความสอดคล้องของถ้อยคำกับการขยับปากของนักแสดงด้วย

บ่อยครั้ง เมื่อผู้กำกับเห็นว่า คำใดหรือประโยคใดไม่เข้ากับการขยับริมฝีปากของนักแสดง

บทนั้นก็จะถูกปรับเปลี่ยนคำและอัดเสียงใหม่กันอีกรอบ

 

 

 

/  สำหรับเสียง...




(ID:26758)

 

สำหรับเสียงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาพยนตร์ต้นฉบับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ รองจากเนื้อเรื่องเลยก็ว่าได้  เช่น ...

 

เสียงเพลงประกอบ

เสียงฝน

เสียงการจราจร

จานชาม

ฯลฯ

 

เหล่านี้จะถูกอัดบันทึกไปพร้อม ๆ กันจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว

ซึ่งต้องทำกันอย่างพิถีพิถันมาก แม้บางครั้งจะไม่ได้ใช้เพลงของต้นฉบับ แต่ก็ต้องคัดสรร  Mix ใส่ให้เข้ากัน

หรือแตกต่างจากต้นฉบับให้น้อยที่สุด

ด้วยเหตุนี้เอง  ปรากฏการณ์แบบบ้านเราที่ใส่เสียงพากย์แล้วเสียงประกอบอื่น ๆ หายไปหมด

หรือมีเสียงประกอบอยู่เพลงเดียว  ท่อนเดียว  ก็เลยไม่มี

 

 

 

/  จะเห็นได้ว่า....

 




(ID:26759)

 

จะเห็นได้ว่า  กว่าหนังพากย์ภาษาเยอรมันแต่ละเรื่องจะออกมาสู่สายตาคนเยอรมันได้

ต้องผ่านกระบวนการยุ่งยากขนาดไหน 

เผลอ ๆ อาจยากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายพอ ๆ กับการสร้างหนังหนึ่งเรื่องที่บ้านเราเลยทีเดียวก็ว่าได้ (อิ อิ)

 

 

/  มีปัจจัย...




(ID:26760)

 

มีปัจจัยมากมายที่ทีมพากย์เยอรมันต้องคำนึงถึง 

ว่ากันตั้งแต่บทแปลที่ต้องผ่านการขัดเกลาภาษาหลายรอบ

จากนั้นก็ต้องมีการคัดสรรนักพากย์ที่มีโทนเสียงเหมาะสมกับนักแสดงแต่ละตัวอย่างพิถีพิถัน

โดยที่เยอรมันจะยึดหลักการในการคัดสรรนี้ว่า...

 

ตัวประกอบทุกตัวไม่ว่าจะเล็กใหญ่แค่ไหน ต้องมีนักพากย์เสียงเฉพาะ

เขาจะไม่ใช้นักพากย์คนเดียวพากย์หลาย ๆ เสียงนะครับ

ที่สำคัญ...นักแสดงนำดัง ๆ ที่เป็นที่รู้จักแล้ว  เช่น...

 

จอร์ท  ครูนี่

 

จูเรีย  โรเบิร์ต

 

ทอมแฮงค์

 

ฯลฯ

 

เหล่านี้  จะใช้คนพากย์คนเดียวกันในทุก ๆ เรื่อง

 

 

 

/  นักพากย์ต้อง...

 

 




(ID:26761)


 


 


นักพากย์ต้องมีความสามารถในการใช้โทนเสียงที่ถูกต้อง 


อ้อ ... ลืมเล่าไปว่า เยอรมันให้ความสำคัญกับการพากย์ให้ถูก  "สำเนียง"  ท้องถิ่นด้วยนะครับ


มีเรื่องเล่ากันว่า  ทีมพากย์เยอรมันเคยประสบปัญหากับภาพยนตร์เรื่อง  Braveheart  อย่างมาก


เพราะต้องใช้สำเนียง  "คนสก็อตแลนด์"  เกือบทั้งเรื่อง  ไม่รู้จะพากย์กันอีท่าไหนดี


สุดท้ายต้องถอดใจ จำเป็นต้องใช้ภาษาเยอรมันกลางไปตลอดเรื่อง 


 


(แอบคิดว่า...ถ้า  "สิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด"  ไปฉายที่เยอรมัน  คงสนุกพิลึก)


 


 


 


/  นอกจากนี้...





(ID:26762)

 

 

นอกจากนี้  นักพากย์ต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อเรื่อง 

ต้องพากย์ให้เข้ากับท่าทาง 

การเคลื่อนไหวร่างกาย 

มือไม้

และสีหน้าของนักแสดง

 

ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม  ที่สำคัญและย้ำมาตลอด คือ ต้องพากย์ให้สอดคล้องกับการขยับริมฝีปาก

 

สุดท้าย  ก็คือ  เพลง และเสียงประกอบต่าง ๆ จะต้องได้รับการยอมรับในระดับระหว่างประเทศ

และบางครั้งอาจต้องมีการทำแทรกพิเศษโดยเฉพาะเพื่อเสริมเข้าไป

 

 

/  ด้วยเหตุดังกล่าว...




(ID:26763)

 

ด้วยเหตุดังกล่าวไปข้างต้นนี้เอง  ใคร ๆ ในเยอรมันก็ไม่ควรแปลกใจอีกต่อไปว่า

เหตุใดภาพยนตร์นำเข้าจากต่างประเทศ จึงลงโรงที่เยอรมันช้ากว่าที่อื่น ๆ เขา

แถมหนังในโรงแต่ละเรื่องยังแพงหูดับตับไหม้อีกต่างหาก

[วันปกติ ที่ไม่ใช่วันแห่งการดูหนัง (Kinotag)  ก็ตกที่ราว ๆ เรื่องละ 10-15 ยูโร ครับ]

แต่เพื่อคุณภาพ  ความบันเทิง  และอรรถรส ที่คอหนังชาวเยอรมันจะได้รับกันไปอย่างสะดวกสบาย

โดยไม่ต้องคอยถ่างตาอ่านคำบรรยายใต้ภาพ 

ก็ถือว่า...คุ้มค่าอยู่หรอก  น่าที่จะยอมเสียตังค์เข้าไปชม

 

 

 

/  สุดท้ายครับ...

 




(ID:26765)

 

 

สุดท้ายครับ  หันกลับมาถามว่า  แล้วบ้านเราควรหันมาพัฒนาหรือควรจะเอาอย่างเขาบ้างดีไหม  ??

 

ผมว่า ก็คงไม่จำเป็นต้องถึงขนาดนั้นกันหรอก  เพราะดั่งที่บอกไปแล้วว่า...

ทั่วโลกเขาก็ยอมรับวิธีการกันทั้งสอบแบบ  คือ

 

1.  การพากย์

2.  การใส่คำบรรยายใต้ภาพยนตร์ (SubTitle)

 

ไม่ใช่เรื่องหัวสง  หัวสูงอะไร

 

ส่วนจะใช้วิธีไหนมากน้อยกว่ากันก็ขึ้นอยู่กับความนิยม

ถ้าวงการผู้นำเขาภาพยนตร์บ้านเราเห็นว่า  แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน  คนนิยมกว่ากัน  ก็เน้นไปที่วิธีการนั้น

แล้วก็ทำให้ดีซะ 

 

ส่วนใครจะดูแบบไหนก็แล้วแต่ความชอบใจ  ไม่ต้องนั่งกระแนะกระแหนกันให้เสียเวลาว่า  "โง่"  หรือ  "หัวสูง"

 

 

 

/  เยอรมัน...

 




(ID:26766)

 

 

เยอรมันเขาพากย์กันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์  ก่อนมีเทคนิคการบรรยายใต้ภาพเสียอีก  จนกลายเป็นวัฒนธรรม

มีการพัฒนาเครื่องมือ และให้ความสำคัญกันเรื่อยมา

 

เขาทำได้ดี  และพิถีพิถัน  จนพลเมืองทั้งที่อ่านหนังสือได้  และไม่ได้

อ่านได้เร็ว  อ่านได้ช้า

ไม่อยากดูด้วยวิธีการแบบอื่น...การพากย์เลยยังอยู่ได้ต่อไปและคุ้มค่ากับการลงทุน

 

 

/  ในขณะที่...




(ID:26767)

 

 

ในขณะที่บ้านเรา...การพากย์ไทยมันก็เป็นแบบนี้  และยังทำได้ไม่ดี  ไม่มืออาชีพอย่างเขา

รสนิยมคนดูบ้านเราก็เป็นอีกแบบ 

 

วงการผู้นำเข้าควรหันไปแปลหนังกันทุกเรื่องโดยให้ลงทุนมาก ๆ  ใช้วิทยาการที่ทันสมัย

เพื่อการพากย์ที่เป็นเลิศ ทัดเทียมต่างประเทศ

ในยุคสมัยที่มีเทคนิคการใส่คำบรรยายใต้ภาพยนตร์ (SubTitle)  เป็นทางเลือกให้แล้วก็คงไม่ใช่เรื่อง

 

 

/  หรือกลับกัน...




(ID:26768)

 

หรือกลับกัน  การเรียกร้องให้คอหนังต้องเสียเงินไปนั่งดูหนังกันแบบแกน ๆ   ขาดอรรถรส

โดยอ้างว่า  เพื่อ ...

 

"ให้กำลังใจ และสนับสนุนทีมพากย์ไทยให้เจริญขึ้น"

 

ก็คงเลอะเทอะ  และก็ดูยังห่างไกลกับประเด็นการพัฒนาวงการพากย์อยู่โข

เพราะเอาเข้าจริง  การจะปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาเรื่องนี้ได้  มันยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบมากมาย 

 

ไม่ใช่แค่  "ตัวเงิน"

 

 

/  อย่างไรก็ตาม...




เลือกหน้า
[1] [2]
จำนวนหัวข้อทั้งหมด 21

กลับขึ้นข้างบน / กลับหน้าแรก

ค้นกระดานข่าว:


ถูกเปิด: ถูกคลิ๊กแล้ว: 116949136 ตอนนี้มีผู้เข้าชม : 1 ล่าสุด :Stanley , RobertMIGH , ProlBlask , Robbsf , Jamesfap , LavillKer , Maciedetpailt , BobbyHOm , Sallycgriet , CarolyncJuh ,